เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม

  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ            

  อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคนำ   ที่มา เว็บไซต์ พุทธทาสศึกษา : www.buddhadasa.org ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  2 of 13  
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคนำ ตอน 2 หน้า   อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคนำ ตอน 2 หน้า
อ้างอิงเลขหน้าตามหนังสือ     อ้างอิงเลขหน้าตามหนังสือ  
  ทรงบัญญัติสัจจะ ไม่เข้าใคร ออกใคร 64     เมื่อไม่รู้อริยสัจก็ไม่สามารถลงหลักแห่งความรู้ของตน 100
  ตรัสถ้อยคำโดยโวหารโลก แต่มิได้ทรงยึดถือ 65     สัตว์จำพวกวินิบาตกับการเห็นจตุราริยสัจ 101
  สาวกมาอยู่อาศัยพระองค์ เพราะตอบปัญหาอริยสัจได้ 67     การรู้อริยสัจทำให้มีตาครบสองตา 103
  พระพุทธเจ้า อดีต-อนาคต-ปัจจุบัน ล้วนตรัสรู้อริยสัจสี่ 68     การสิ้นอาสวะมีได้เพราะการรู้อริยสัจ 104
  เหตุที่ต้องมีพระพุทธองค์และธรรมวินัยอยู่ในโลก 69     เหตุที่ทำให้สัจจะเหล่านี้ได้นามว่า “อริยะ” 104-1
  ช่วยให้รู้อริยสัจ นับเนื่องอยู่ในบุคคลผู้มีอุปการะมาก 70     เหตุที่ทำให้สัจจะเหล่านี้ได้นามว่า“อริยะ”(อีกนัย) 105
  การรู้อริยสัจไม่เป็นสิ่งสุดวิสัย อดีต อนาคต ปัจจุบัน 72     อริยสัจสี่สำหรับความเป็นอริยบุคคล 106
  มีบุคคลบวชแล้วรู้ อริยสัจ ทั้งอดีต-อนาคต–ปัจจุบัน 73     อริยสัจจธรรมรวมอยู่ในหมู่ธรรมที่ใครค้านไม่ได้ 108
  ทั้งอดีต-อนาคต-ปัจจุบัน ล้วนแต่มีการรู้อริยสัจ 74     อริยสัจสี่โดยสังเขป(นัยทั่วไป) 111-1
  ตรัสว่าจงหลีกเร้น แล้วจักรู้อริยสัจ 75     อริยสัจสี่โดยสังเขป- ทรงแสดงด้วยปัญจุปาทานขันธ์ 112
         
  ตรัสว่าจงเจริญสมาธิ จักรู้อริยสัจตามเป็นจริง 75-1     อริยสัจสี่โดยสังเขป -ทรงแสดงด้วย อายตนะหก 114
  จิตที่รู้อริยสัจได้แจ่มใส ย่อมเห็นของในนํ้าอันใส 76     ทรงวางลำดับแห่งอริยสัจ อย่างตายตัว 114-1
  เมื่อประพฤติถูกในนิพพานเบาย่อมเหมือนไม้ลอยนํ้า 77     อริยสัจสี่ในรูปแบบพิเศษ 114-2

  การรู้จักอันตคาหิกทิฏฐิไม่เกี่ยวกับ การรู้อริยสัจ

79     การวางลำดับใหม่ ไม่มีเหตุผลเลย 117
  สัจจะและหลักพึงปฏิบัติเกี่ยวกับการถึงสัจจะ 83     หน้าที่อันเกี่ยวกับอริยสัจ มีสี่ชนิด 118
  ความจริงตามแบบของชาวโลกตามธรรมชาติ 83-1     อริยสัจสี่ มีสามรอบ มีสิบสองอาการ 119
  วิธีการตามรักษาไว้ซึ่งความจริง 83-2     อริยสัจสี่ เนื่องกันจนเห็นแต่อริยสัจเดียวไม่ได้ 120
  ลำดับแห่งความเป็ นไป เพื่อจะได้รู้ซึ่งความเป็นจริง 83-3     ขยายความของจตุราริยสัจ-ทรงแสดงด้วย อันตะ 122
  การตามบรรลุถึงซึ่งความจริง 83-4     ขยายความของจตุราริยสัจ-ทรงแสดงด้วย สักกายะ 123
  ธรรมเป็นอุปการะมากแก่การตามบรรลุถึงซึ่งความจริง 83-5     ขยายความของจตุราริยสัจ-ทรงแสดงด้วยคำว่าโลก) 124
         
  การรู้อริยสัจไม่เหลือวิสัยพระอริยบุคคล 93     อริยสัจสี่ ที่ทรงแสดงโดยพิสดาร(นัยที่หนึ่ง) 125
  คุณค่าของอริยสัจ 95     ๑. ทุกข อริยสัจ 125-1
  สัตว์ต้องเวียนว่ายเพราะไม่เห็นอริยสัจ 97     ๒. ทุกข สมุทยอริยสัจ 129
  การรู้อริยสัจ 98     ๓. ทุกข นิโรธอริยสัจ 132
  การรู้อริยสัจควรแลกเอา 99     ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อริยสัจ 135
        อริยสัจสี่ ที่ทรงแสดงโดยพิสดาร(นัยที่สอง) 138

 

    จบภาพนำ  

 

   

 

 
 
 





อริยสัจจากพระโอษฐ์ (ภาคนำ)
ภาคต้น

หน้า 64 อ้างอิงเลขหน้าตามหนังสือ
ทรงบัญญัติสัจจะ ไม่เข้าใคร ออกใคร

ภิกษุ ท. ! ทั้งในกาลก่อนและบัดนี้, เราย่อมบัญญัติแต่ ความทุกข์ และความดับไม่เหลือ ของทุกข์ เท่านั้น. ภิกษุ ท. ! ถ้าหากว่า ในการบัญญัตินั้นจะมีชนเหล่าอื่นมาด่าทอ ตัดพ้อ เสียดสี กระทบ กระทั่ง ตถาคต แล้วไซร้ความอาฆาต ความเกรี้ยวกราด ความไม่ยินดีแห่งจิต จะมีแก่ตถาคต เพราะ เหตุนั้น ก็หามิได้.

ภิกษุ ท. ! ถ้าหากว่า ในการบัญญัตินั้น จะมีชนเหล่าอื่นมาสักการะเคารพ นับถือ บูชา ตถาคต ไซร้ ความเพลิดเพลิน ความโสมนัส ความเห่อเหิมแห่งจิต จะมีแก่ตถาคต เพราะเหตุนั้น ก็หามิได้.

ภิกษุ ท. ! ถ้าหากว่า ในการบัญญัตินั้น มีชนเหล่าอื่น มาสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ตถาคตไซร้ ความรู้สึกในเรื่องนั้น ย่อมเกิดขึ้นแก่ตถาคต ว่า “สิ่งใดที่เรากำหนดรอบรู้แล้ว ในกาลก่อน เราย่อม กระทำ ให้เหมือนกับที่เรารู้ในสิ่งนั้น” ดังนี้.


หน้า 65 (ภาคนำ)
ตรัสถ้อยคำโดยโวหารโลก แต่มิได้ทรงยึดถือ
(เรื่องควรดูประกอบในปฏิจจ.โอ. หน้า ๗๙๐)

โปฏฐปาทะ ! การได้อัตตาเฉพาะอย่าง ๓ อย่างเหล่านี้ มีอยู่ คือการได้อัตตาเฉพาะอย่าง ชนิดหยาบ การได้อัตตาเฉพาะอย่าง ชนิดสำเร็จด้วยใจ การได้อัตตาเฉพาะอย่าง ชนิดไม่มีรูป.

โปฏฐาปาทะ ! การได้อัตตาเฉพาะอย่าง ชนิดหยาบ เป็นอย่างไรเล่า ? ชนิดหยาบคือ อัตตาที่มีรูป ประกอบด้วยมหาภูตสี่ มีกวฬีการาหารเป็นภักษา.การได้อัตตาเฉพาะอย่าง ชนิดสำเร็จด้วยใจ เป็นอย่างไรเล่า ? ชนิดสำเร็จด้วยใจคือ อัตตาที่มีรูป สำเร็จด้วยใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง.

การได้อัตตาเฉพาะอย่าง ชนิดไม่มีรูป เป็นอย่างไรเล่า ? ชนิดไม่มีรูปคือ อัตตาอันหารูปมิได้ สำเร็จด้วยสัญญา.
(ต่อจากนี้ได้ทรงแสดงการละและอานิสงส์แห่งการละซึ่งอัตตาทั้งสามนั้น ในลักษณะที่ น่าสนใจ อย่างยิ่ง แล้วทรงผันไปตรัสกะจิตตหัตถิสารีบุตรผู้นั่งอยู่ด้วยกันกับโปฏฐปาทะ ว่า )

จิตตะ ! ... สมัยใด มีการได้อัตตาเฉพาะอย่างชนิดหยาบ สมัยนั้นไม่ถึงซึ่งการนับว่า ได้อัตตา เฉพาะอย่าง ชนิดสำเร็จด้วยใจ และชนิดไม่มีรูป. คงได้แต่อัตตาชนิดหยาบอย่างเดียวเท่านั้น. จิตตะ ! สมัยใด มีการได้อัตตาเฉพาะอย่างชนิดสำเร็จด้วยใจ สมัยนั้น ไม่ถึงซึ่งการนับว่าได้ อัตตา เฉพาะอย่าง ชนิดหยาบและชนิดไม่มีรูป คงได้แต่อัตตาชนิดสำเร็จด้วยใจ อย่างเดียว เท่านั้น.

จิตตะ ! สมัยใด มีการได้อัตตาเฉพาะอย่างชนิดไม่มีรูป สมัยนั้น ไม่ถึงซึ่งการนับว่าได้อัตตา เฉพา อย่างชนิดหยาบ และชนิดสำเร็จด้วยใจ คงได้แต่อัตตาชนิดไม่มีรูปอย่างเดียวเท่านั้น.

จิตตะ ! เปรียบเหมือน นมสดจากแม่โค นมส้มจากนมสดเนยข้นจากนมส้ม เนยใสจากเนยข้น หัวเนยใสจากเนยใส. สมัยใดเป็นนมสดสมัยนั้นไม่ถึงซึ่งการนับว่านมส้ม เนยข้น เนยใส หัวเนยใส คงนับว่าเป็นนมสดอย่างเดียวเท่านั้น.

สมัยใดเป็นนมส้ม สมัยนั้นไม่ถึงซึ่งการนับว่าเป็นนมสดเนยข้น เนยใส หัวเนยใส คงนับว่าเป็น นมส้ม อย่างเดียวเท่านั้น. สมัยใดเป็นเนยข้น สมัยนั้นไม่ถึง ซึ่งการนับว่าเป็นนมสด นมส้ม เนยใส หัวเนยใส คงนับว่าเป็นเนยข้นอย่างเดียวเท่านั้น.

สมัยใดเป็นเนยใส สมัยนั้นไม่ถึงซึ่งการนับว่าเป็นนมสด นมส้ม เนยข้น หัวเนยใส. คงนับว่า เป็นเนยใส อย่างเดียวเท่านั้น. สมัยใดเป็นหัวเนยใส สมัยนั้นไม่ถึงซึ่งการนับว่าเป็น นมสด นมส้มเนยข้น เนยใส คงนับว่าเป็นหัวเนยใสอย่างเดียวเท่านั้น ฉันใดก็ฉันนั้น.

จิตตะ ! อัตตา ๓ ชนิดเหล่านี้แล เป็นโลกสมัญญา โลกนิรุติ โลกโวหาร โลกบัญญัติที่ตถาคต ก็กล่าวอยู่อย่างชาวโลก แต่มิได้ยึดถือความหมายอย่างชาวโลก ดังนี้.


หน้า 67 (ภาคนำ)
สาวกมาอยู่อาศัยพระองค์ เพราะทรงตอบปัญหาอริยสัจได้

อุทายิ ! ...บางคราวเราบริโภคเสมอขอบปากบาตร บางคราวยิ่งขึ้นไป ถ้าสาวกทั้งหลาย สักการะ เคารพนับถือบูชา และมาอยู่อาศัยด้วยเราเพราะเข้าใจว่าเราเป็นผู้มีอาหารน้อย และกล่าว สรรเสริญ ความมีอาหารน้อย แล้วสาวกพวกที่ฉันอาหาร เพียงจอกน้อย ครึ่งจอกน้อย เท่าผลมะตูม กึ่งผลมะตูม ก็จะหาสักการะเคารพนับถือบูชา แล้วและอยู่อาศัย ด้วยเรา เพราะเหตุนั้น ได้ไม่.

อุทายิ ! ...บางคราวเราครองคหบดีจีวร เนื้อแน่นละเอียด ด้วยเส้นด้ายดุจขนน้ำเต้า ถ้าสาวกทั้งหลาย สักการะ ฯลฯ อยู่อาศัยด้วยเรา เพราะเข้าใจว่า เราเป็นผู้สันโดษด้วยจีวร ตามมีตามได้แล้ว สาวก พวกที่ถือผ้าบังสุกุลทรงจีวรเศร้าหมอง เสาะหาผ้าขาด ๆ จากป่าช้า บ้าง จากกองขยะมูลฝอยบ้าง จากใต้ร้านตลาดบ้าง มาทำเป็นสังฆาฏิครอง ก็จะหาสักการะ ฯลฯ อยู่อาศัยด้วยเรา เพราะเหตุนั้น ได้ไม่.

อุทายิ ! ...บางคราวเราอยู่เกลื่อนกล่นด้วยภิกษุทั้งหลาย ด้วยภิกษุณีทั้งหลาย ด้วยอุบาสก ทั้งหลาย ด้วยอุบาสิกาทั้งหลาย ด้วยพระราชาและอมาตย์ของพระราชาทั้งหลาย ด้วยเดียรถีย์ และสาวก ของเดียรถีย์ ทั้งหลาย ถ้าว่าสาวกทั้งหลาย สักการะ ฯลฯ อยู่อาศัยด้วยเรา เพราะเข้าใจว่า เราเป็นผู้เสพเสนาสนะอันสงัดแล้ว สาวกพวกที่อยู่ป่า ถือเสนาสนะสงัดในป่า มาสู่ที่ประชุมสงฆ์ เฉพาะคราว มีปาติโมกข์ทุก ๆ กึ่งเดือน เท่านั้น ก็จะหาสักการะ ฯลฯ อยู่อาศัยด้วยเรา เพราะเหตุนั้น ได้ไม่. ฯลฯ

อุทายิ ! ...สาวกทั้งหลายของเรา ถูกความทุกข์หยั่งลงแล้ว มีทุกข์อยู่ตรงหน้าแล้ว ด้วยทุกข์ใด เธอเหล่านั้นเข้าไปหาเราแล้ว ถาม ทุกขอริยสัจกะเรา เราถูกถามแล้ว ก็พยากรณ์ให้ เรายังจิต ของเธอ เหล่านั้น ให้ยินดีได้ด้วยการพยากรณ์ปัญหา. ....เธอถาม ทุกขสมุทยอริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ และทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ กะเรา เราถูกถามแล้ว ก็พยากรณ์ให้เรา ยังจิต ของเธอ เหล่านั้น ให้ยินดีได้ด้วยการพยากรณ์ปัญหา.


หน้า 68 (ภาคนำ)
พระพุทธเจ้า ทั้งในอดีต- อนาคต - ปัจจุบัน ล้วนแต่ตรัสรู้อริยสัจสี่

ภิกษุ ท. ! พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ใดๆ ได้ตรัสรู้ตามเป็นจริงไปแล้ว ในกาลยืดยาว นาน ฝ่ายอดีต ท่านทั้งหลายเหล่านั้น ได้ตรัสรู้ตามเป็นจริง ซึ่งความจริงอันประเสริฐสี่อย่าง. ภิกษุ ท. ! พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ใด ๆ จักได้ตรัสรู้ตามเป็นจริง ต่อกาลยืดยาวนาน ฝ่ายอนาคต, ท่านทั้งหลายเหล่านั้น ก็จักได้ตรัสรู้ตามเป็นจริง ซึ่งความจริง อันประเสริฐ สี่อย่าง.

ภิกษุ ท. ! แม้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธะ ผู้ตรัสรู้ตามเป็นจริงอยู่ ในกาลเป็นปัจจุบันนี้ ก็ได้ตรัสรู้ อยู่ ซึ่งความจริง อันประเสริฐ สี่อย่าง. ความจริงอันประเสริฐสี่อย่างนั้น เหล่าไหนเล่า ?

สี่อย่างคือ ความจริงอันประเสริฐคือ ทุกข์ ความจริงอันประเสริฐ คือ เหตุให้เกิดทุกข์ ความจริงอันประเสริฐ คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์ และความจริงอันประเสริฐ คือ ทางดำเนิน ให้ถึงความดับ ไม่เหลือของทุกข์.

ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอพึง ทำความเพียรเพื่อให้รู้ตามเป็นจริง ว่า “นี้เป็นทุกข์ นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ นี้เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์ และนี้เป็นทางดำเนินให้ถึง ความดับไม่เหลือ ของทุกข์ ” ดังนี้เถิด.


หน้า 69 (ภาคนำ)
เหตุที่ต้องมีพระพุทธองค์และธรรมวินัยอยู่ในโลก

ภิกษุ ท. ! ถ้าธรรมชาติ ๓ อย่างเหล่านี้ ไม่พึงมีอยู่ในโลกแล้วไซร้ ตถาคตก็ไม่ต้องเกิดขึ้น ในโลก เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะ และธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ก็ไม่ต้องรุ่งเรือง ไปในโลก. ธรรมชาติ ๓ อย่างนั้น คืออะไรเล่า ? คือ ชาติ ชรา และ มรณะ (ทุกขอริยสัจ).

ภิกษุ ท. ! ธรรมชาติ ๓อย่างเหล่านี้แล ถ้าไม่มีอยู่ในโลกแล้วไซร้ ตถาคตก็ไม่ต้องเกิดขึ้น ในโลก เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะ และธรรมวินัย ที่ตถาคตประกาศแล้วก็ไม่ต้องรุ่งเรือง ไปในโลก.

ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุใดแล ที่ ธรรมชาติ ๓ อย่างเหล่านี้ มีอยู่ในโลก เพราะเหตุนั้น ตถาคต จึงต้อง เกิดขึ้น ในโลกเป็นอรหันต สัมมาสัมพุทธะและ ธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว จึงต้องรุ่งเรืองไป ในโลก.


หน้า 70 (ภาคนำ)
ผู้ช่วยให้รู้อริยสัจ นับเนื่องอยู่ในบุคคลผู้มีอุปการะมาก

ภิกษุ ท. ! บุคคลมีอุปการะมากต่อบุคคล สามจำพวกเหล่านี้ มีอยู่.สามจำพวกเหล่าไหนเล่า ?
ภิกษุ ท. ! บุคคลอาศัยบุคคลใดแล้ว ได้เป็นผู้ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ถึงพระธรรมเป็นสรณะ ถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ.
ภิกษุ ท. ! บุคคลนี้ชื่อว่าเป็นผู้มีอุปการะมากต่อบุคคลนี้.

ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นอีก บุคคลอาศัยบุคคลใดแล้ว ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า “นี้ ทุกข์ นี้ ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา” ดังนี้.
ภิกษุ ท. ! บุคคลนี้ ชื่อว่ามีอุปการะมากต่อบุคคลนี้.

ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นอีก บุคคลอาศัยบุคคลใดแล้ว ได้ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันหา อาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรม เข้าถึงแล้ว แลอยู่.
ภิกษุ ท. ! บุคคลนี้ชื่อว่ามีอุปการะมากต่อบุคคลนี้.
ภิกษุ ท. ! บุคคล ๓ จำพวกเหล่านี้แล ชื่อว่าบุคคลผู้มีอุปการะมากต่อบุคคล.
ภิกษุ ท. ! เรากล่าวว่า ไม่มีบุคคลอื่นที่มีอุปการะมากต่อบุคคล ยิ่งไปกว่าบุคคล ๓ จำพวกนี้.

ภิกษุ ท. ! สำหรับบุคคล ๓ จำพวกนั้น บุคคลจะกระทำปฏิการะได้โดยง่ายหามิได้ แม้ด้วยการอภิวาท การลุกขึ้นยืนรับ การทำอัญชลี การทำสามีจิกรรม และการตามถวายซึ่งจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ คิลานปัจจย-เภสัชชบริขาร แล. (คือไม่เป็นการง่ายที่จะมีโอกาสได้กราบไหว้ รับใช้ .... ถวายปัจจัย ๔ ในบุคคล ๓จำพวกนี้.)


(ภาคนำตอน4)


หน้า 72 (ภาคนำตอน4)
การรู้อริยสัจ ไม่เป็นสิ่งสุดวิสัย ทั้งในอดีต อนาคต ปัจจุบัน
ล้วนมีการประกาศอริยสัจ ตามเป็นจริง


ภิกษุ ท. ! ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีต สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด ประกาศธรรมที่ตนรู้ดี ยิ่งแล้ว ตามเป็นจริง สมณะหรือ พราหมณ์เหล่านั้นทุกท่าน ประกาศแล้ว ซึ่งความจริงอัน ประเสริฐสี่อย่าง ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคต สมณะหรือพราหมณ์ เหล่าใด จักประกาศธรรม ที่ตนรู้ดียิ่งแล้ว ตามเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทุกท่าน จักประกาศซึ่งความจริง อันประเสริฐ สี่อย่าง.

ในกาลเป็นปัจจุบันนี้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดประกาศอยู่ซึ่งธรรมที่ตนรู้ดียิ่งแล้วตามเป็นจริง สมณะหรือ พราหมณ์เหล่านั้น ทุกท่าน ย่อมประกาศอยู่ ซึ่งความจริงอันประเสริฐสี่อย่าง.

ความจริงอันประเสริฐสี่อย่างนั้นเหล่าไหนเล่า ? สี่อย่างคือความจริง อันประเสริฐ คือ ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความดับไม่เหลือของทุกข์ และทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์.

ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอพึง ทำความเพียรเพื่อให้รู้ตามเป็นจริง ว่า “นี้เป็นทุกข์ นี้เป็นเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ นี้เป็นความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ นี้เป็นทางดำเนิน ให้ถึง ความดับ ไม่เหลือ แห่งทุกข์ ” ดังนี้เถิด.


หน้า 73 (ภาคนำ)
มีบุคคลบวชแล้วรู้อริยสัจ ทั้งในอดีต - อนาคต – ปัจจุบัน

ภิกษุ ท. ! ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีต กุลบุตรเหล่าใด ออกจากเรือนบวชแล้ว เป็นผู้ไม่เกี่ยว ข้อง ด้วยเรือน ได้รู้พร้อมยิ่งแล้ว ตามเป็นจริง กุลบุตรทั้งหมดนั้น ได้รู้พร้อมยิ่งแล้ว ซึ่งความจริง อันประเสริฐ สี่อย่าง.

ในกาลยืดยาวนาน ฝ่ายอนาคต กุลบุตร เหล่าใด จักออกจากเรือนบวช เป็นผู้ไม่เกี่ยวข้อง ด้วยเรือน จักรู้พร้อมยิ่งตามเป็นจริง กุลบุตรทั้งหมดนั้น ก็จักรู้พร้อมยิ่งแล้ว ซึ่งความจริง อันประเสริฐ สี่อย่าง.

และในกาลเป็นปัจจุบันนี้ กุลบุตรเหล่าใด ออกจากเรือนบวชอยู่ เป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือน รู้พร้อม ยิ่งอยู่ตามเป็นจริง กุลบุตร ทั้งหมดนั้น ก็รู้พร้อมยิ่งอยู่ ซึ่งความจริงอันประ-เสริฐสี่อย่าง. ความจริง อันประเสริฐ สี่อย่างนั้น เหล่าไหนเล่า ? สี่อย่างคือ ความจริงอันประเสริฐ คือทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความดับไม่เหลือของทุกข์ และทางดำเนิน ให้ถึงความดับไม่เหลือ ของทุกข์.

ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอพึง ทำความเพียรเพื่อให้รู้ตามเป็นจริงว่า “นี้เป็นทุกข์ นี้เป็นเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ นี้เป็นความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ นี้เป็นทางดำเนิน ให้ถึง ความดับ ไม่เหลือ แห่งทุกข์ ”ดังนี้เถิด.


หน้า 74 (ภาคนำ)
ทั้งอดีต-อนาคต-ปัจจุบัน ล้วนแต่มีการรู้อริยสัจ

ภิกษุ ท. ! บุคคลทั้งหลายเหล่าใด จะเป็นสมณะหรือพราหมณ์ ก็ตามในกาลยืดยาวฝ่ายอดีต ได้รู้ พร้อมเฉพาะแล้วตามความ เป็นจริง บุคคลเหล่านั้นทั้งหมด ก็ได้รู้พร้อมเฉพาะแล้ว ตามความ เป็นจริง ซึ่งความจริงอันประเสริฐสี่อย่าง.  

ภิกษุ ท. ! บุคคลทั้งหลายเหล่าใด จะเป็นสมณะหรือพราหมณ์ก็ตามใน กาลยืดยาวฝ่ายอนาคต จักรู้พร้อมเฉพาะตามความเป็นจริง บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดก็จักรู้พร้อมเฉพาะตามความเป็นจริง ซึ่งความจริงอันประเสริฐสี่อย่าง.

ภิกษุ ท. ! บุคคลทั้งหลายเหล่าใด จะเป็นสมณะหรือพราหมณ์ก็ตามใน กาลนี้ รู้พร้อมเฉพาะ ตามความเป็นจริงอยู่ บุคคล เหล่านั้นทั้งหมด ก็รู้พร้อมเฉพาะตามความเป็นจริงอยู่ ซึ่งความจริง อันประเสริฐสี่อย่าง.

ภิกษุ ท. ! ความจริงอันประเสริฐสี่อย่าง เหล่าไหนเล่า ? สี่อย่างคือความจริงอันประเสริฐ เรื่องทุกข์ ความจริงอันประเสริฐ เรื่องเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ ความจริงอันประเสริฐเรื่อง ความดับไม่เหลือ แห่งทุกข์ และความจริงอันประเสริฐ เรื่องทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือ แห่งทุกข์.

ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรม๑ อันเป็นเครื่องทำให้รู้ว่า “ทุกข์ เป็นอย่างนี้ เหตุให้เกิดขึ้นแห่ง ทุกข์ เป็นอย่างนี้ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้” ดังนี้.

๑. โยคกรรม คือ การกระทำความเพียรอย่างมีระบบ อย่างแข็งขันเต็มที่ ในรูปแบบหนึ่ง ๆ เพื่อให้ สำเร็จ ประโยชน์ตามความมุ่งหมาย เรียกกันทั่วไปว่า “โยคะ” เป็นคำกลางใช้กันได้ ระหว่างศาสนา ทุกศาสนา.


หน้า 75 (ภาคนำ)
ตรัสว่าจงหลีกเร้น แล้วจักรู้อริยสัจ

ภิกษุ ท. ! พวกเธอทั้งหลาย จงประกอบความเพียรในการหลีกเร้นเถิด. ภิกษุ ผู้หลีกเร้น ย่อมรู้ได้ ตามเป็นจริง รู้ได้ตามเป็นจริง ซึ่งอะไรเล่า ? รู้ได้ตามเป็นจริง ซึ่ง ความจริง อันประเสริฐ ว่า “นี้เป็นทุกข์ นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ นี้เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์ และนี้เป็นทางดำเนิน ให้ถึง ความดับ ไม่เหลือของทุกข์” ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! พวกเธอทั้งหลาย จงประกอบความเพียรในการหลีกเร้นเถิด. ภิกษุผู้หลีกเร้น ย่อมรู้ได้ ตามเป็นจริง. ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอพึง ทำความเพียร เพื่อให้รู้ ตามเป็นจริงว่า “นี้เป็นทุกข์ นี้เป็นเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ นี้เป็นความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ นี้เป็นทาง ดำเนินให้ถึง ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์” ดังนี้เถิด.


หน้า 75-1(ภาคนำ)
ตรัสว่าจงเจริญสมาธิ จักรู้อริยสัจตามเป็นจริง

ภิกษุ ท. ! พวกเธอทั้งหลาย จงเจริญสมาธิเถิด. ภิกษุ ท. ! ภิกษุผู้มีจิตเป็นสมาธิแล้ว ย่อมรู้ได้ ตามเป็นจริง. รู้ได้ตามเป็นจริง ซึ่งอะไรเล่า ? รู้ได้ตามเป็นจริง ซึ่ง ความจริงอันประเสริฐ ว่า “นี้เป็นทุกข์ นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ นี้เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์ และนี้เป็นทางดำเนินให้ถึง ความดับไม่เหลือ ของทุกข์” ดังนี้. ภิกษุ ท. ! พวกเธอทั้งหลาย จงเจริญสมาธิเถิด. ภิกษุ ท. ! ภิกษุผู้มีจิตเป็นสมาธิแล้ว ย่อมรู้ได้ตามเป็นจริง.

ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอพึง ทำความเพียรเพื่อให้รู้ตามเป็นจริง ว่า “นี้เป็นทุกข์ นี้เป็นเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ นี้เป็น ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ นี้เป็นทางดำเนินให้ถึง ความดับ ไม่เหลือ แห่งทุกข์ ” ดังนี้เถิด.


หน้า 76 (ภาคนำ)
จิตเป็นสมาธิแล้วรู้อริยสัจได้แจ่มใส เหมือนเห็นของในนํ้าอันใส

ครั้นจิตตั้งมั่น บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลสเป็นธรรมชาติอ่อนโยน ควรแก่การ งาน ตั้งอยู่ได้ ไม่หวั่นไหว เช่นนี้แล้ว เธอก็น้อมจิตไปเฉพาะต่อ ญาณเป็นเครื่องสิ้นไปแห่ง อาสวะ ทั้งหลาย.

เธอย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า “นี้เป็นทุกข์, นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ นี้เป็นความดับไม่เหลือของ ทุกข์ และนี้เป็นทางดำเนินให้ถึง ความดับไม่เหลือของทุกข์ เหล่านี้เป็นอาสวะทั้งหลาย นี้เป็นเหตุให้เกิด อาสวะ นี้เป็นความดับไม่เหลือของอาสวะ และนี้เป็น ทางดำเนินให้ถึง ความดับไม่เหลือของอาสวะ ” ดังนี้.

เมื่อเธอรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิตก็พ้นแล้ว จาก อาสวะคือกาม อาสวะคือภพ อาสวะคือ อวิชชา. ครั้นจิตพ้นแล้ว ก็เกิดญาณ หยั่งรู้ ว่า “พ้นแล้ว”เธอรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้วกิจอื่น ที่จะต้องทำเพื่อความเป็น อย่างนี้ มิได้มีอีก” ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนห้วงน้ำใส ที่ไหล่เขา ไม่ขุ่นมัว คนมีจักษุ(ไม่บอด) ยืนอยู่บนฝั่ง ณ ที่นั้น เขาจะเห็นหอยต่าง ๆ บ้าง กรวดและหินบ้าง ฝูงปลาบ้าง อันหยุดอยู่และว่ายไป ในห้วง น้ำนั้น. เขาจำจะสำนึกใจอย่างนี้ว่า “ห้วงน้ำนี้ใสไม่ขุ่นมัวเลย หอย ก้อนกรวด ปลาทั้งหลาย เหล่านี้ หยุดอยู่บ้าง ว่ายไปบ้าง ในห้วงน้ำนั้น” อุปมานี้เป็นฉันใด

ภิกษุ ท. ! อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริง ว่า “นี้เป็นทุกข์ นี้เป็นเหตุ ให้เกิดทุกข์ นี้เป็นความดับ ไม่เหลือของทุกข์ และนี้เป็นทางดำเนินให้ถึง ความดับไม่เหลือ ของทุกข์ เหล่านี้เป็นอาสวะทั้งหลาย นี้เป็นเหตุให้เกิด อาสวะ นี้เป็นความดับไม่เหลือของ อาสวะ และนี้เป็น ทางดำเนิน ให้ถึงความดับไม่เหลือของอาสวะ ” ดังนี้.

เมื่อเธอรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิตก็พ้นแล้ว จากอาสวะคือกาม อาสวะคือภพ อาสวะคือ อวิชชา. ครั้นจิตพ้นแล้วก็เกิดญาณ หยั่งรู้ว่า “พ้นแล้ว” เธอนั้นรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความ เป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก” ดังนี้.


หน้า 77 (ภาคนำ)
เมื่อประพฤติถูกทาง กิริยาที่ไปนิพพาน เบาสบาย เหมือนไม้ ลอยตามนํ้า

ภิกษุ ท. ! พวกเธอได้เห็น ท่อนไม้ใหญ่โน้น ซึ่งลอยมาโดยกระแสแม่น้ำคงคาหรือไม่? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ได้เห็นแล้ว พระเจ้าข้า !”

ภิกษุ ท. ! ถ้าท่อนไม้นั้น จะไม่เข้าไปติดเสียที่ ฝั่งใน หรือฝั่งนอก ไม่จมเสียในกลางน้ำ ไม่ขึ้นไปติด แห้งอยู่บนบก ไม่ถูกมนุษย์ จับไว้ ไม่ถูกอมนุษย์จับไว้ ไม่ถูกเกลียวน้ำวนวนไว้ ไม่ผุเสียเอง ในภายใน ไซร้ ท่อนไม้ที่ กล่าวถึงนี้ จักลอยไหลพุ่งออกไป สู่ทะเล เพราะเหตุว่า ลำแม่น้ำคงคา โน้มน้อมลุ่มลาด เอียงเทไปสู่ทะเล อุปมานี้ฉันใด

ภิกษุ ท. ! อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน แม้พวกเธอทั้งหลาย ถ้าพวกเธอไม่เข้าไปติดเสียที่ฝั่งใน ไม่เข้าไปติดเสียที่ฝั่งนอก ไม่จมเสียในท่ามกลาง ไม่ติดแห้งอยู่บนบก ไม่ถูกมนุษย์จับไว้ ไม่ถูก อมนุษย์จับไว้ ไม่ถูกเกลียวน้ำวนวนไว้ ไม่เน่าเสียเอง ในภายในไซร้ พวกเธอก็จะเลื่อน ไหลไป สู่นิพพาน เพราะเหตุว่า สัมมาทิฏฐิมีธรรมดาที่โน้มน้อม ลุ่มลาด เอียงเทไปสู่นิพพาน ฯลฯ.

ภิกษุ ท. !
คำว่า ฝั่งใน เป็นชื่อของอายตนะภายใน ๖ อย่าง
คำว่า ฝั่งนอก เป็นชื่อของ อายตนะ ภายนอก ๖ อย่าง.
คำว่า จมเสียในท่ามกลาง เป็นชื่อของนันทิราคะ.
คำว่า ขึ้นไปติดแห้งอยู่บนบก เป็นชื่อของอัส๎มิมานะ(ความสำคัญว่าเรามีเราเป็น).

คำว่า ถูกมนุษย์จับไว้ ได้แก่ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้ระคนด้วยคฤหัสถ์ เพลิดเพลินด้วยกัน โศกเศร้า ด้วยกัน มีสุข เมื่อคฤหัสถ์ เหล่านั้นมีสุข เป็นทุกข์ เมื่อคฤหัสถ์เหล่านั้นเป็นทุกข์ ประกอบการงาน ในกิจการที่บังเกิดขึ้นแก่คฤหัสถ์เหล่านั้นด้วยตน ภิกษุนี้ เราเรียกว่าผู้ถูกมนุษย์จับไว้.

คำว่า ถูกอมนุษย์จับไว ได้แก่ ภิกษุบางรูป ในกรณีนี้ ประพฤติพรหมจรรย์ โดยตั้งความ ปรารถนา เทพนิกายชั้นใดชั้นหนึ่ง ว่า ด้วยศีลนี้ หรือด้วยวัตรนี้หรือว่าด้วยตบะนี้ เราจักได้เป็น เทวดา ผู้มีศักดาใหญ่ หรือเป็นเทวดาผู้มีศักดาน้อยอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้

ภิกษุนี้ เราเรียกว่าผู้ถูกอมนุษย์จับไว้ คำว่า ถูกเกลียวนํ้าวนวนไว้ เป็นชื่อของกามคุณ ๕. ภิกษุเป็นผู้เน่าเสียเองในภายใน คืออย่างไรเล่า ? คือ ภิกษุบางรูปในกรณีนี้ เป็นคนทุศีล มีความเป็นอยู่ลามกไม่สะอาด มีความประพฤติชนิดที่ตนเอง นึกแล้ว ก็กินแหนงตัวเอง มีการกระทำที่ต้องปกปิดซ่อนเร้น ไม่ใช่สมณะก็ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ ไม่ใช่คนประพฤติ พรหมจรรย์ ก็ปฏิญญาว่าเป็นคนประพฤติพรหมจรรย์ เป็นคนเน่าใน เปียกแฉะมีสัญชาติ หมักหมม เหมือนบ่อที่เทขยะมูลฝอย

ภิกษุนี้ เราเรียกว่า ผู้เน่าเสียเองในภายใน แล.


หน้า79 (ภาคนำ)
การรู้จัก อันตคาหิกทิฏฐิ ไม่เกี่ยวกับ การรู้อริยสัจ และการประพฤติพรหมจรรย์

มาลุงก๎ยบุตร ! อะไรเล่า เป็นสิ่งที่เราไม่พยากรณ์ ?
มาลุงก๎ยบุตร ! ทิฏฐิว่า โลกเที่ยง ดังนี้ เป็นสิ่งที่เราไม่พยากรณ์
มาลุงก๎ยบุตร ! ทิฏฐิว่า โลกไม่เที่ยง ดังนี้ เป็นสิ่งที่เราไม่พยากรณ์
มาลุงก๎ยบุตร ! ทิฏฐิว่า โลกมีที่สิ้นสุด ดังนี้ เป็นสิ่งที่เราไม่พยากรณ์
มาลุงก๎ยบุตร ! ทิฏฐิว่า โลกไม่มีที่สิ้นสุด ดังนี้ เป็นสิ่งที่เราไม่พยากรณ์
มาลุงก๎ยบุตร ! ทิฏฐิว่า ชีวะก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ดังนี้ เป็นสิ่งที่เราไม่พยากรณ์
มาลุงก๎ยบุตร ! ทิฏฐิว่า ชีวะก็อันอื่น สรีระก็อันอื่น ดังนี้ เป็นสิ่งที่เราไม่พยากรณ์
มาลุงก๎ยบุตร ! ทิฏฐิว่า ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้ว ย่อมมีอีก ดังนี้เป็นสิ่งที่เราไม่พยากรณ์
มาลุงก๎ยบุตร ! ทิฏฐิว่า ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้ว ย่อมไม่มีอีก” ดังนี้เป็นสิ่งที่เราไม่พยากรณ์
มาลุงก๎ยบุตร ! ทิฏฐิว่า ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้ว ย่อมมีอีกก็มี ไม่มีอีกก็มี ดังนี้ เป็นสิ่งเราไม่ พยากรณ์

มาลุงก๎ยบุตร ! ทิฏฐิว่า ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้ว ย่อมมีอีกก็หามิได้ ไม่มีอีก ก็หามิได้ ดังนี้ เป็นสิ่งที่เราไม่พยากรณ์

มาลุงก๎ยบุตร ! เพราะเหตุไร นั่นจึงเป็นสิ่งที่เราไม่พยากรณ์ ? เพราะเหตุว่า นั่นไม่ประกอบด้วย ประโยชน์ ไม่เป็นเบื้องต้นแห่ง พรหมจรรย์ ไม่เป็นไปพร้อมเพื่อความหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับ ความระงับ ความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม และนิพพาน เหตุนั้น นั่นจึงเป็นสิ่งที่เราไม่ พยากรณ์

มาลุงก๎ยบุตร ! อะไรเล่า เป็นสิ่งที่เราพยากรณ์ ?
มาลุงก๎ยบุตร ! สัจจะว่า นี้ ความทุกข์ ดังนี้ เป็นสิ่งที่เราพยากรณ์
มาลุงก๎ยบุตร ! สัจจะว่า นี้ เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ ดังนี้ เป็นสิ่งที่เราพยากรณ์

มาลุงก๎ยบุตร ! สัจจะว่า นี้ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ดังนี้ เป็นสิ่งที่เราพยากรณ์
มาลุงก๎ยบุตร ! สัจจะว่า นี้ ทางเดินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ดังนี้ เป็นสิ่งที่เราพยากรณ์.

มาลุงก๎ยบุตร ! เพราะเหตุไร นั่นจึงเป็นสิ่งที่เราพยากรณ์ ? เพราะเหตุว่า นั่น ประกอบด้วย ประโยชน์ นั่น เป็นเบื้องต้นแห่ง พรหมจรรย์ นั่นเป็นไปพร้อมเพื่อความหน่าย ความคลาย กำหนัด ความดับไม่เหลือ ความระงับความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม และ นิพพาน เหตุนั้น นั่นเราจึงพยากรณ์.

มาลุงกย๎บุตร ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ เธอจงถือเอาสิ่งที่เราไม่พยากรณ์ โดยความเป็นสิ่ง ที่เราไม่พยากรณ์ และสิ่งที่เรา พยากรณ์โดยความเป็นสิ่งที่เราพยากรณ์ ดังนี้เถิด.

มาลุงก๎ยบุตร ! เมื่อทิฏฐิว่า โลกเที่ยง ดังนี้ มีอยู่ มันจะเป็นการประพฤติพรหมจรรย์ขึ้นมา ก็หามิได้ เมื่อทิฏฐิว่า โลกไม่เที่ยง ดังนี้ มีอยู่ มันจะเป็นการประพฤติพรหมจรรย์ขึ้นมา ก็หามิได้อีกนั่นเอง.

มาลุงก๎ยบุตร !เมื่อทิฏฐิว่า โลกเที่ยง หรือว่า โลกไม่เที่ยง ก็ตาม มีอยู่ ชาติก็ยังมี ชราก็ยังมี มรณะก็ยังมี โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส ทั้งหลาย ก็ยังมี อันเป็นสิ่งที่เรา บัญญัติการ กำจัดมันเสียในทิฏฐธรรมนี้.

มาลุงก๎ยบุตร ! เมื่อทิฏฐิว่า “โลกมีที่สิ้นสุด” ดังนี้ มีอยู่, มันจะเป็นการประพฤติพรหมจรรย์ขึ้นมา ก็หามิได้ เมื่อทิฏฐิว่า โลกไม่มีที่สิ้นสุด ดังนี้มีอยู่ มันจะเป็นการประพฤติพรหมจรรย์ขึ้นมา ก็หามิได้อีกนั่นเอง.

มาลุงก๎ยบุตร ! เมื่อทิฏฐิว่า โลกมีที่สิ้นสุด หรือว่า โลกไม่มีที่สิ้นสุด ก็ตาม มีอยู่ ชาติก็ยังมี ชราก็ยังมี มรณะก็ยังมี โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส ทั้งหลายก็ยังมี อันเป็นสิ่งที่เรา บัญญัติ การกำจัดมันเสียในทิฏฐธรรมนี้.

มาลุงก๎ยบุตร ! เมื่อทิฏฐิว่า “ชีวะก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น” ดังนี้ มีอยู่ มันจะเป็นการประพฤติ พรหมจรรย์ขึ้นมา ก็หามิได้ เมื่อทิฏฐิว่า “ชีวะก็อันอื่นสรีระก็อันอื่น” ดังนี้ มีอยู่ มันจะเป็นการ ประพฤติ พรหมจรรย์ขึ้นมาก็หามิได้อีกนั่นเอง.

มาลุงก๎ยบุตร ! เมื่อทิฏฐิว่า ชีวะก็อันนั้นสรีระก็อันนั้น หรือว่าชีวะก็อันอื่น สรีระก็อันอื่น ก็ตาม มีอยู่ ชาติก็ยังมี ชราก็ยังมี มรณะก็ยังมี โสกะปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส ทั้งหลาย ก็ยังมี อันเป็นสิ่ง ที่เราบัญญัติการกำจัดมันเสียในทิฏฐธรรมนี้.

มาลุงก๎ยบุตร ! เมื่อทิฏฐิว่า “ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้วย่อมมีอีก”ดังนี้ มีอยู่ มันจะเป็นการ ประพฤติ พรหมจรรย์ขึ้นมาก็หามิได้ เมื่อทิฏฐิว่า“ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้ว ย่อมไม่มีอีก” ดังนี้ มีอยู่ มันจะเป็น การประพฤติพรหมจรรย์ขึ้นมาก็หามิได้อีกนั่นเอง.

มาลุงก๎ยบุตร ! เมื่อทิฏฐิว่า ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้วย่อมมีอีก หรือว่า ตถาคตภายหลังแต่ ตายแล้ว ย่อมไม่มีอีก ก็ตามมีอยู่ ชาติก็ยังมี ชราก็ยังมี มรณะก็ยังมี โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัสอุปายาส ทั้งหลาย ก็ยังมี อันเป็นสิ่งที่เราบัญญัติการ กำจัดมันเสียในทิฏฐธรรมนี้.

มาลุงก๎ยบุตร ! เมื่อทิฏฐิว่า ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้ว ย่อมมีอีกก็มีไม่มีอีกก็มี ดังนี้ มีอย่, มันจะเป็นการประพฤติพรหมจรรย์ ขึ้นมาก็หามิได้ เมื่อทิฏฐิว่า “ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้ว ย่อมมีอีกก็หามิได้ไม่มีอีกก็หามิได้” ดังนี้มีอยู่ มันจะเป็นการประพฤติ พรหมจรรย์ ขึ้นมา ก็หามิได้อยู่นั่นเอง.

มาลุงก๎ยบุตร !เมื่อทิฏฐิว่า ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้วย่อมมีอีกก็มีไม่มีอีกก็มี หรือว่า ตถาคต ภายหลังแต่ตายแล้ว ย่อมมีอีก ก็หามิได้ไม่มีอีกก็หามิได้ ก็ตาม มีอยู่ ชาติก็ยังมีชราก็ยังมี มรณะก็ยังมี โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส ทั้งหลาย ก็ยังมี อันเป็นสิ่งที่เราบัญญัติ การกำจัดมันเสียในทิฏฐธรรมนี้.


หน้า 83 (ภาคนำ)
สัจจะและหลักพึงปฏิบัติเกี่ยวกับการถึงสัจจะ

(ตามธรรมชาติมนุษย์แต่ละคนมีสิ่งที่เขาเรียกว่าความจริง ที่เขาถือเป็นหลักประจำตัวของเขา อยู่ด้วยกันทั้งนั้น แล้วแต่ว่าเขาได้ ทำให้มันเกิดขึ้นในใจของเขาอย่างไร ซึ่งยากที่จะเปลี่ยนแปลงได้.

แต่ว่าความจริงชนิดนี้ยังไม่ใช่ความจริงที่เด็ดขาด ยังไม่สูงสุด ยังใช้เป็นประโยชน์ในขั้น สูงสุด ไม่ได้. ดังนั้นความจริงนั้น จะต้อง ถูกปรับปรุงให้ชัดเจนแจ่มแจ้งยิ่งขึ้นไป จนกว่าจะกลายเป็น ความจริง ที่ใช้ให้สำเร็จประโยชน์ได้จริง โดยวิธีที่พระพุทธองค์ได้ ตรัสไว้อย่างน่าอัศจรรย์

กล่าวคือไม่ยึดมั่นถือมั่น ความจริงในอันดับแรกนั้น แต่หล่อเลี้ยงมันไว้ในลักษณะ ที่มันจะพิสูจน์ความเป็นของจริง ออกมา ในตัวการ ปฏิบัติ นั้นเอง.

ในพระพุทธภาษิตที่ทรงแนะนำไว้อย่างยืดยาวนี้ จำเป็นที่จะต้องแบ่งออกเป็น ๔ ตอน คือ ลักษณะ ของความจริง ที่ชาวโลกจะได้ มาตามธรรมชาติ ซึ่งยังไม่เป็นความจริงแท้ ยังจะต้องเปลี่ยน ไปตามเหตุตามปัจจัย นี้ตอนหนึ่ง การหล่อเลี้ยงความจริงอันนั้น ไว้ ให้มีโอกาสพิสูจน์ความจริง ที่ยิ่งขึ้นไป นี้ตอนหนึ่ง

การแสวงหาความจริง จากบุคคลที่กำลังปฏิบัติความจริงที่ตนประสงค์จะรู้ให้แน่ชัด นี้ตอนหนึ่ง, เมื่อได้ความแน่ชัดมาแล้ว ตนเองที่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์อันนั้น จนพบความจริงนั้น ด้วยตนเอง โดยประจักษ์ ไม่ต้องคาดคะเน ไม่ต้องคำนวณ ไม่ต้องเชื่อ ตามผู้อื่นอีกต่อไป นับว่าเป็นการเข้าถึงหัวใจ แห่งความจริงในกรณีนั้น เป็นตอนสุดท้าย.

ต่อไปนี้เป็นพระพุทธภาษิตที่ตรัสปรารภ ความจริงที่เป็นไป ตามภาษาชาวโลก ตามธรรมชาติ)


หน้า 83 -1(ภาคนำ)
(ก. ความจริงตามแบบของชาวโลกตามธรรมชาติ)

ภารท๎วาชะ ! เมื่อก่อนท่านได้ถึงความเชื่อ (อย่างใดอย่างหนึ่งลงไปแล้ว) มาบัดนี้ท่านกล่าว มันว่า (เป็นเพียง) สิ่งที่ได้ยินได้ฟังมา. ภารท๎วาชะ สิ่งทั้งห้านี้ อย่างที่เราเห็น ๆ กันอยู่ในบัดนี้ เป็นสิ่งที่มีผล เป็น ๒ ฝ่าย.

สิ่งทั้งห้านั้น คืออะไรเล่า ? คือ ความเชื่อ (ว่าจริง) ความชอบใจ (ว่าจริง) เรื่องที่ฟังตาม ๆ กันมา (ว่าจริง) ความตริตรึกไปตามเหตุผลที่แวดล้อม (ว่าจริง) และข้อยุตติที่ทนได้ ต่อการเพ่ง พินิจด้วย ความเห็นของเขา (ว่าจริง) ดังนี้. นี่แหละคือสิ่งทั้งห้าที่เราเห็น ๆ กันอยู่ในบัดนี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีผลเป็น ๒ ฝ่าย.

ภารท๎วาชะ !สิ่งที่เชื่อ กันแล้วเป็นอย่างดีนั่นแหละ ก็มีอยู่ แต่ว่าสิ่งนั้นเป็นของเปล่า เป็นของ ไม่จริง เป็นของเท็จ อยู่ก็มี แม้ สิ่งที่ไม่เชื่อกันแล้วเป็นอย่างดี ก็มีอยู่ แต่ว่าสิ่งนั้นกลับเป็นของ จริง ของแท้ ของไม่ผิดเป็นอย่างอื่น อยู่ก็มี.

ภารท๎วาชะ !สิ่งที่ชอบใจ กันแล้วเป็นอย่างดีนั่นแหละ ก็มีอยู่ แต่ว่าสิ่งนั้นเป็นของเปล่า เป็นของ ไม่จริง เป็นของเท็จ อยู่ก็มี แม้ สิ่งที่ไม่ชอบใจ กันแล้วเป็นอย่างดี ก็มีอยู่ แต่ว่าสิ่งนั้น กลับเป็นของจริง ของแท้ ของไม่ผิดเป็นอย่างอื่น อยู่ก็มี.

ภารท์วาชะ ! สิ่งที่ได้ฟังตามกันมา แล้วเป็นอย่างดีนั่นแหละ ก็มีอยู่ แต่ว่าสิ่งนั้นเป็นของเปล่า เป็นของไม่จริง เป็นของเท็จ อยู่ก็มี แม้ สิ่งที่ไม่ได้ฟังตามกันมา แล้วเป็นอย่างดี ก็มีอยู่ แต่ว่าสิ่งนั้น กลับเป็นของจริง ของแท้ ของไม่ผิดเป็นอย่างอื่น อยู่ก็มี.

ภารท๎วาชะ ! สิ่งที่ได้ตริตรึก กันมาแล้วเป็นอย่างดีนั่นแหละ ก็มีอยู่ แต่ว่าสิ่งนั้นกลับเป็น ของ เปล่า เป็นของไม่จริง เป็นของเท็จ อยู่ก็มี แม้ สิ่งที่ไม่ได้ตริตรึก กันมาแล้วเป็นอย่างดี ก็มีอยู่ แต่ว่า สิ่งนั้นกลับ เป็นของจริง ของแท้ของไม่ผิดเป็นอย่างอื่น อยู่ก็มี.

ภารท๎วาชะ ! สิ่งที่ได้เพ่งพินิจ กันมาแล้วเป็นอย่างดีนั่นแหละ ก็มีอยู่ แต่ว่าสิ่งนั้นกลับเป็นของ เปล่า เป็นของไม่จริง เป็นของเท็จ อยู่ก็มี แม้ สิ่งที่ไม่ได้เพ่งพินิจ กันมาแล้วเป็นอย่างดี ก็มีอยู่ แต่ว่าสิ่งนั้น กลับเป็นของจริง ของแท้ ของไม่ผิดเป็นอย่างอื่น อยู่ก็มี.

ภารท๎วาชะ !วิญญูชนผู้จะตามรักษาไว้ซึ่งความจริง อย่าพึงถึงซึ่งการสันนิษฐานโดยส่วนเดียว ว่า อย่างนี้ เท่านั้นจริง อย่างอื่นเปล่า ดังนี้.

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! การตามรักษาไว้ซึ่งความจริง (สจฺจานุรกฺขณา)นั้น มีได้ด้วยการ กระทำ เพียงเท่าไร ? บุคคลจะตามรักษาไว้ซึ่งความจริงนั้นได้ ด้วยการกระทำเพียงเท่าไร ? ข้าพเจ้าขอถาม พระโคดมผู้เจริญถึง วิธีการตามรักษาไว้ซึ่งความจริง.

(ต่อไปนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสวิธี การตามรักษาไว้ซึ่งความจริง ในลักษณะที่ไม่ให้ถือเอา ด้วย ความยึดมั่นความที่ตนเชื่อ ตามที่ตนชอบใจ ตามที่ตนได้ยินได้ฟังมาเป็นต้น )


หน้า 83-2 (ภาคนำ)
(ข. วิธีการตามรักษาไว้ซึ่งความจริง)

ภารท๎วาชะ ! ถ้าแม้ ความเชื่อ ของบุรุษมีอยู่ และเขาก็ ตามรักษาไว้ซึ่งความจริง กล่าวอยู่ว่า “ข้าพเจ้า มีความเชื่ออย่างนี้” ดังนี้ เขาก็ อย่าเพ่อถึงซึ่งการสันนิษฐานโดยส่วนเดียว ว่า “อย่างนี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเปล่า” ดังนี้ก่อน.

ภารท๎วาชะ ! ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้แล การตามรักษาไว้ซึ่งความจริง ย่อมมี บุคคลชื่อว่า ย่อมตามรักษาไว้ซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้ และเราบัญญัติการตามรักษาไว้ ซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้ แต่ว่า นั่นยังไม่เป็นการตามรู้ซึ่งความจริง ก่อน.

ภารท๎วาชะ ! ถ้าแม้ ความชอบใจ ของบุรุษมีอยู่ และเขาก็ ตามรักษาไว้ซึ่งความจริง กล่าวอยู่ว่า “ข้าพเจ้ามีความชอบใจอย่างนี้” ดังนี้ เขาก็ อย่าเพ่อถึงซึ่งการสันนิษฐานโดย ส่วนเดียว ว่า “อย่างนี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเปล่า”ดังนี้ก่อน.

ภารท๎วาชะ ! ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้แล การตามรักษาไว้ซึ่งความจริง ย่อมมี บุคคลชื่อว่า ย่อมตามรักษาไว้ ซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้ และเราบัญญัติการตามรักษาไว้ ซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้ แต่ว่า นั่นยังไม่เป็นการตามรู้ ซึ่งความจริง ก่อน.

ภารท๎วาชะ ! ถ้าแม้ เรื่องที่ฟังตามๆ กันมาของบุรุษมีอยู่ และเขาก็ตามรักษาไว้ซึ่งความจริง กล่าวอยู่ว่า ข้าพเจ้ามีเรื่องที่ฟังตาม ๆ กันมาอย่างนี้ ดังนี้ เขาก็ อย่าเพ่อถึงซึ่งการสันนิษฐาน โดยส่วนเดียว ว่า “อย่างนี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเปล่า” ดังนี้ก่อน.

ภารท๎วาชะ ! ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้แล การตามรักษาไว้ซึ่งความจริง ย่อมมี บุคคลชื่อว่า ย่อมตามรักษาไว้ซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้ และเราบัญญัติการตามรักษาไว ้ซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้ แต่ว่า นั่นยังไม่เป็นการ ตามรู้ซึ่งความจริง ก่อน.

ภารท๎วาชะ ! ถ้าแม้ ความตริตรึกไปตามเหตุผลที่แวดล้อม ของบุรุษมีอยู่ และเขาก็ ตามรักษาไว้ ซึ่งความจริง กล่าวอยู่ว่า “ข้าพเจ้ามีความตริตรึกไปตามเหตุผล ที่แวดล้อม อย่างนี้” ดังนี้ เขาก็ อย่าเพ่อถึงซึ่งการสันนิษฐานโดยส่วนเดียวว่า อย่างนี้ เท่านั้นจริง อย่างอื่นเปล่า ดังนี้ก่อน.

ภารท๎วาชะ ! ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้แล การตามรักษาไว้ซึ่งความจริง ย่อมมี บุคคลชื่อว่า ย่อมตามรักษาไว้ ซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้ และเราบัญญัติการตามรักษาไว้ ซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้ แต่ว่านั่นยังไม่เป็นการ ตามรู้ซึ่งความจริง ก่อน.

ภารท๎วาชะ ! ถ้าแม้ข้อยุตติที่ทนได้ต่อการเพ่งพินิจด้วยความเห็นของบุรุษ มีอยู่ และเขาก็ตา มรักษาไว้ ซึ่งความจริง กล่าวอยู่ว่า “ข้าพเจ้ามีข้อยุตติที่ทนได้ต่อการเพ่งพินิจ ด้วยความเห็น อย่างนี้” ดังนี้ เขาก็ อย่าเพ่อถึงซึ่งการสันนิษฐานโดยส่วนเดียว ว่า “อย่างนี้เท่านั้นจริง. อย่างอื่นเปล่า” ดังนี้ก่อน.

ภารท๎วาชะ ! ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้แล การตามรักษาไว้ซึ่งความจริง ย่อมมี บุคคลชื่อว่า ย่อมตามรักษาไว้ ซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้ และเราบัญญัติการตามรักษาไว ้ซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้ แต่ว่า นั่นยังไม่เป็นการตามรู้ซึ่งความจริง ก่อน.

“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! การตามรักษาไว้ซึ่งความจริง ย่อมมีด้วยการกระทำเพียงเท่านี้. บุคคลชื่อว่าย่อมตามรักษาไว้ซึ่ง ความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้.

อนึ่งข้าพเจ้าก็มุ่งหวังซึ่งการตามรักษาไว้ซึ่งความจริง ด้วยการกระทำ เพียงเท่านี้.

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! การตามรู้ซึ่งความจริง (สจฺจานุโพโธ) มีได้ ด้วยการกระทำเพียง เท่าไร ? บุคคลชื่อว่าตามรู้ซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่าไร ? ข้าพเจ้าขอถาม พระโคดมผู้เจริญ ถึงการตามรู้ความจริง”.

(ต่อไปนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสวิธี การตามรู้ซึ่ง ความจริงด้วยการทรงแนะให้สังเกต ธรรมะที่มีอยู่ที่บุคคลผู้ปฏิบัติธรรมะ เพื่อให้รู้จักธรรมะ ซึ่งเป็นตัวความจริงสำหรับจะนำมา ใคร่ครวญ ต่อไป )



หน้า 83 -3 (ภาคนำ)
(ค. ลำดับแห่งความเป็นไป เพื่อจะได้รู้ซึ่งความเป็นจริง)

ภารท๎วาชะ! ได้ยินว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ได้เข้าไปอาศัยอยู่ในบ้าน หรือในนิคมแห่งใด แห่งหนึ่ง. คหบดีหรือคหบดีบุตร ได้เข้าไป ใกล้ภิกษุนั้นแล้วใคร่ครวญดูอยู่ในใจเกี่ยวกับธรรม ๓ ประการ คือธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโลภะ ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ ธรรมเป็น ที่ตั้งแห่งโมหะ ทั้งหลาย (โดยนัยเป็นต้นว่า)

“ท่านผู้มีอายุผู้นี้ จะมีธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโลภะหรือไม่หนอ อันเป็นธรรม ที่เมื่อ ครอบงำจิต ของท่านแล้ว จะทำให้ท่านเป็นบุคคลที่เมื่อไม่รู้ก็กล่าวว่ารู้ เมื่อไม่เห็นก็กล่าวว่าเห็น หรือว่าจะ ชักชวนผู้อื่นในธรรม อันเป็นไปเพื่อความทุกข์ ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล แก่สัตว์ทั้งหลาย เหล่าอื่น ตลอดกาลนาน” ดังนี้

เมื่อเขาใคร่ครวญดูอยู่ในใจซึ่งภิกษุนั้น ก็รู้ว่า “ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโลภะชนิดนั้น มิได้มีแก่ท่าน ผู้มีอายุนี้ อนึ่ง กายสมาจาร วจีสมาจาร ของท่านผู้มีอายุผู้นี้ ก็เป็นไปในลักษณะแห่งสมาจาร ของบุคคล ผู้ไม่โลภแล้ว

อนึ่ง ท่านผู้มีอายุนี้ แสดงซึ่งธรรมใด ธรรมนั้นเป็นธรรมที่ลึก เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก เป็นธรรม ที่รำงับ ประณีตไม่เป็นวิสัยที่จะ หยั่งลงง่ายแห่งความตรึก เป็นธรรมละเอียดอ่อน รู้ได้เฉพาะ บัณฑิต วิสัย ธรรมนั้น มิใช่ธรรมที่คนผู้มีความโลภจะแสดงให้ ถูกต้องได้” ดังนี้. เมื่อเขาใคร่ครวญดูอยู่ซึ่งภิกษุนั้น ย่อมเล็งเห็นว่า เป็นผู้บริสุทธิ์จากธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโลภะ.

ต่อแต่นั้น เขาจะพิจารณาใคร่ครวญภิกษุนั้นให้ยิ่งขึ้นไปในธรรม ทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่ง โทสะ.... ในธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งโมหะ....

(ก็ได้เห็นประจักษ์ในลักษณะอย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งโลภะ ตรงเป็นอันเดียวกัน ทุกตัว อักษรไ ปจนถึงคำ ว่า “เมื่อเขาใคร่ครวญดูอยู่ซึ่งภิกษุนั้น ย่อมเล็งเห็นว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ จากธรรม อันเป็นที่ตั้งแห่ง โมหะ”.)

ลำดับนั้น เขา
(๑) ปลูกฝัง ศรัทธา ลงไป ในภิกษุนั้น ครั้นมีสัทธาเกิดแล้ว
(๒) ย่อม เข้าไปหา ครั้นเข้าไปหาแล้ว
(๓) ย่อม เข้าไปนั่งใกล้ครั้นเข้าไปนั่งใกล้แล้ว
(๔) ย่อม เงี่ยโสตลง ครั้นเงี่ยโสตลง
(๕) ย่อม ฟังซึ่งธรรม ครั้นฟังซึ่งธรรมแล้ว
(๖) ย่อม ทรงไว้ซึ่งธรรม
(๗) ย่อม ใคร่ครวญซึ่งเนื้อความแห่งธรรมทั้งหลาย อันตนทรงไว้แล้ว เมื่อใคร่ครวญซึ่ง เนื้อความแห่งธรรมอยู่
(๘) ธรรมทั้งหลายย่อมทนต่อความเพ่งพินิจ เมื่อการทนต่อการเพ่งพินิจของธรรมมีอยู่
(๙) ฉันทะย่อมเกิดขึ้น ผู้มีฉันทะเกิดขึ้นแล้ว
(๑๐) ย่อมมีอุสสาหะ ครั้นมีอุสสาหะแล้ว
(๑๑) ย่อม พิจารณาหาความสมดุลย์แห่งธรรมครั้นมีความสมดุลแหง่ ธรรมแล้ว
(๑๒) ย่อม ตั้งตนไว้ในธรรมนั้น เขาผู้มีตนส่งไปแล้วอย่างนี้อยู่ ย่อม กระทำให้แจ้งซึ่งปรมัตถสัจจะ ด้วยนามกาย ด้วย

ย่อม แทงตลอดซึ่งธรรมนั้น แล้วเห็นอยู่ด้วยปัญญา ด้วย.

ภารท๎วาชะ !การตามรู้ซึ่งความจริง ย่อมมี ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้ บุคคลชื่อว่าย่อมตามรู้ ซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียง เท่านี้ และเราบัญญัติการตามรู้ซึ่งความจริง ด้วยการกระทำ เพียงเท่านี้ แต่ว่า นั่นยังไม่เป็นการตามบรรลุถึงซึ่งความจริง ก่อน.

“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! การตามรู้ซึ่งความจริง ย่อมมีด้วยการกระทำเพียงเท่านี้. บุคคลชื่อว่า ย่อมตามรู้ ซึ่งความจริง ด้วยการ กระทำเพียงเท่านี้. อนึ่ง ข้าพเจ้าก็มุ่งหวังซึ่งการตามรู้ซึ่ง ความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้.

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ !การตามบรรลุถึงซึ่งความจริง (สจฺจานุปตฺติ) มีได้ ด้วยการกระทำเพียง เท่าไร ? บุคคลชื่อว่าย่อมตาม บรรลุถึงซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่าไร ? ข้าพเจ้า ขอถามพระโคดมผู้เจริญ ถึงการตามบรรลุถึงซึ่งความจริง.

(ต่อไปนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสวิธี การตามบรรลุถึงซึ่งความจริง ด้วยการประพฤติกระทำ ให้มาก ซึ่งธรรมทั้งหลาย ๑๒ ประการ ดังที่กล่าวแล้วใน ข้อ ค.จนกระทั่งบรรลุถึงซึ่งความจริง )


หน้า 83 -4 (ภาคนำ)
(ง. การตามบรรลุถึงซึ่งความจริง)

ภารท๎วาชะ ! การเสพคบ การทำให้เจริญ การกระทำให้มาก ซึ่งธรรมทั้งหลายเหล่านั้นแหละ เป็นการตามบรรลุ ถึงซึ่งความจริง.

ภารท๎วาชะ !การตามบรรลุถึงซึ่งความจริง ย่อมมี ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้ บุคคลชื่อว่าย่อม ตามบรรลุ ถึงซึ่งความจริง ด้วยการ กระทำเพียงเท่านี้ และเราบัญญัติการตามบรรลุถึง ซึ่ง ความจริง ด้วยการกระทำ เพียงเท่านี้.

“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! การตามบรรลุถึงซึ่งความจริง ย่อมมีด้วยการกระทำเพียงเท่านี้. บุคคลชื่อว่า ย่อมตามบรรลุถึงซึ่ง ความจริง ด้วยการกระทำเพียงท่านี้.

อนึ่งข้าพเจ้าก็มุ่งหวังซึ่งการตามบรรลุซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้...”

(ต่อไปนี้ กาปทิกมาณพนั้น ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าถึง ธรรมที่มีอุปการะมากแก่การตาม บรรลุ ถึงซึ่งความจริง ดังที่พระองค์ ได้ตรัสตอบเป็นลำดับไป)


หน้า 83 -5 (ภาคนำ)
(จ. ธรรมเป็นอุปการะมากแก่การตามบรรลุถึงซึ่งความจริง)

ภารท๎วาชะ ! การตั้งตนไว้ในธรรม (ปธาน) เป็นธรรมมีอุปการะมากแก่การตามบรรลุถึง ซึ่ง ความจริง ถ้าบุคคลไม่ตั้งตนไว้ใน ธรรมแล้วไซร้เขาก็ไม่พึงตามบรรลุถึงซึ่งความจริงได้. เพราะเหตุที่เขาตั้งตน ไว้ในธรรม เขาจึงบรรลุถึงซึ่งความจริง เพราะเหตุนั้น การตั้งตน ไว้ในธรรม จึงชื่อว่าเป็นธรรมมีอุปการะมาก แก่การตามบรรลุถึงซึ่งความจริง.

ภารท๎วาชะ ! การพิจารณาหาความสมดุลแห่งธรรม (ตุลนา) เป็นธรรมมีอุปการะมากแก่การ ตั้งตน ไว้ในธรรม ถ้าบุคคลไม่พบ ความสมดุลแห่งธรรมนั้นแล้วไซร้ เขาก็ไม่พึงตั้งตนไว้ ในธรรม. เพราะเหตุที่เขาพบ ซึ่งความสมดุลแห่งธรรม เขาจึงตั้งตนไว้ใน ธรรม เพราะเหตุนั้น การพิจารณาหาความสมดุลแห่งธรรม จึงเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่การตั้งตนไว้ในธรรม.

ภารท๎วาชะ ! อุสสาหะ เป็นธรรมมีอุปการะมากแก่การพิจารณาหาความสมดุลแห่งธรรม ถ้าบุคคลไม่พึงมีอุสสาหะแล้วไซร้ เขาก็ไม่พึงพบซึ่งความสมดุลแห่งธรรม.

เพราะเหตุที่เขามีอุสสาหะ เขาจึงพบความสมดุลแห่งธรรม เพราะเหตุนั้น อุสสาหะจึง เป็นธรรม มีอุปการะมากแก่การพิจารณา หาความสมดุลแห่งธรรม.

ภารท๎วาชะ ! ฉันทะ เป็นธรรมมีอุปการะมากแก่อุสสาหะ ถ้าบุคคลไม่พึงยังฉันทะ ให้เกิด แล้วไซร้ เขาก็ไม่พึง มีอุสสาหะ. เพราะเหตุที่ฉันทะเกิดขึ้น เขาจึงมีอุสสาหะ เพราะเหตุนั้น ฉันทะจึงเป็นธรรม มีอุปการะมากแก่อุสสาหะ.

ภารท๎วาชะ ! ความที่ธรรมทั้งหลายทนได้ต่อการเพ่งพินิจ(ธมฺมนิชฺฌานกฺขนฺติ) เป็นธรรมมี อุปการะมาก แก่ฉันทะ ถ้าธรรม ทั้งหลายไม่พึงทนต่อการเพ่งพินิจแล้วไซร้ ฉันทะก็ไม่พึงเกิด. เพราะเหตุที่ธรรมทั้งหลาย ทนต่อการเพ่งพินิจ ฉันทะจึงเกิด เพราะเหตุนั้น ความที่ธรรม ทั้งหลายทนต่อการเพ่งพินิจ จึงเป็นธรรม มีอุปการะมาก แก่ฉันทะ.

ภารท๎วาชะ ! ความเข้าไปใคร่ครวญซึ่งอรรถะ (อตฺถุปปริกฺขา) เป็นธรรมมีอุปการะมาก แก่ความ ที่ธรรมทั้งหลาย ทนต่อการเพ่ง พินิจ ถ้าบุคคลไม่เข้าไปใคร่ครวญซึ่งอรรถะแล้วไซร้ ธรรมทั้งหลาย ก็ไม่พึงทนต่อการเพ่งพินิจ.

เพราะเหตุที่บุคคลเข้าไป ใคร่ครวญซึ่งอรรถะ ธรรมทั้งหลายจึงทนต่อการเพ่งพินิจ เพราะเหต ุนั้น การเข้าไปใคร่ครวญซึ่งอรรถะ จึงเป็นธรรมมีอุปการะมาก แก่ความที่ธรรมทั้งหลาย ทนต่อการ เพ่งพินิจ.

ภารท๎วาชะ ! การทรงไว้ซึ่งธรรม (ธมฺมธารณา) เป็นธรรมมีอุปการะมากแก่ความเข้าไป ใคร่ครวญ ซึ่งอรรถะ. ถ้าบุคคลไม่ทรงไว้ ซึ่งธรรมแล้วไซร้เขาก็ไม่อาจเข้าไปใคร่ครวญ ซึ่งอรรถะ ได้ เพราะเหตุที่เขาทรงธรรมไว้ได้ เขาจึงเข้าไปใคร่ครวญซึ่งอรรถะได้. เพราะเหตุนั้น การทรงไว้ซึ่งธรรม จึงเป็นธรรมมีอุปการะมาก แก่ความเข้าไป ใคร่ครวญซึ่ งอรรถะ.

ภารท๎วาชะ ! การฟังซึ่งธรรม (ธมฺมสฺสวน) เป็นธรรมมีอุปการะมากแก่การทรงไว้ซึ่งธรรม. ถ้าบุคคลไม่พึง ฟังซึ่งธรรมแล้วไซร้ เขาก็ไม่พึงทรงธรรมไว้ได้ เพราะเหตุที่เขาฟังซึ่งธรรม เขาจึงทรงธรรมไว้ได้. เพราะเหตุนั้น การฟังซึ่งธรรม จึงเป็นธรรมมีอุปการะ มากแก่การทรงไว้ซึ่งธรรม.

ภารท๎วาชะ ! การเงี่ยลงซึ่งโสตะ (โสตาวธาน) เป็นธรรมมีอุปการะมากแก่การฟังซึ่งธรรม. ถ้าบุคคลไม่เงี่ยลง ซึ่งโสตะแล้วไซร้ เขาก็ไม่พึงฟังซึ่งธรรมได้ เพราะเหตุที่เขาเงี่ยลงซึ่งโสตะ เขาจึงฟังซึ่งธรรมได้. เพราะเหตุนั้น การเงี่ยลงซึ่งโสตะ จึงเป็นธรรมมี อุปการะมาก แก่การฟังซึ่งธรรม.

ภารท๎วาชะ ! การเข้าไปนั่งใกล้ (ปยิรุปาสนา) เป็นธรรมมีอุปการะมากแก่การเงี่ยลงซึ่งโสตะ. ถ้าบุคคล ไม่พึงเข้าไปนั่งใกล้แล้ว ไซร้ เขาก็ไม่พึงเงี่ยลงซึ่งโสตะ เพราะเหตุที่เขาเข้าไป นั่งใกล้ เขาจึงเงี่ยลง ซึ่งโสตะได้. เพราะเหตุนั้น การเข้าไปนั่งใกล้ จึงเป็นธรรมมีอุปการะมาก แก่การ เงี่ยลงซึ่งโสตะ.

ภารท๎วาชะ ! การเข้าไปหา (อุปสงฺกมน) เป็นธรรมมีอุปการะมากแก่การเข้าไปนั่งใกล้. ถ้าบุคคลไม่เข้าไปหา แล้วไซร้ เขาก็ไม่พึง เข้าไปนั่งใกล้ได้เพราะเหตุที่เขาเข้าไปหา เขาจึงเข้าไปนั่งใกล้ได้. เพราะเหตุนั้น การเข้าไปหาจึงเป็นธรรม มีอุปการะมากแก่การ เข้าไปนั่งใกล้.

ภารท๎วาชะ ! สัทธา เป็นธรรมมีอุปการะมากแก่การเข้าไปหา. ถ้าสัทธาไม่พึงเกิดแล้วไซร้ เขาก็จะ ไม่เข้าไปหา เพราะเหตุที่ สัทธาเกิดขึ้น เขาจึงเข้าไปหา. เพราะเหตุนั้น สัทธาจึงเป็นธรรม มีอุปการะมาก แก่การไปหา.

(ขอผู้ศึกษาพึงสังเกตว่า สิ่งที่เรียกว่าความจริงในสูตรนี้ มายถึงความจริงทั่วไปไม่มุ่งหมาย เฉพาะ จตุราริยสัจ แต่อาจจะใช้กับ ความจริงอันมีชื่อว่าจตุราริยสัจได้ โดยประการทั้งปวง จึงได้นำมากล่าวไว้ในหนังสือเล่มนี้.)


หน้า 93 (ภาคนำ)
การรู้อริยสัจเป็นของไม่เหลือวิสัยพระอริยบุคคล จึงมีปริมาณมาก

วัจฉะ ! ภิกษุผู้สาวกของเรา บรรลุเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะความสิ้นไป แห่งอาสวะทั้งหลาย ได้กระทำ ให้แจ้งแล้วด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้ มีอยู่ไม่ใช่ร้อยเดียว ไม่ใช่สองร้าย ไม่ใช่สามร้อย ไม่ใช่สี่ร้อย ไม่ใช่ห้าร้อย มีอยู่มากกว่ามาก โดยแท้.

วัจฉะ ! ภิกษุณีผู้สาวิกาของเรา บรรลุเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะความสิ้นไป แห่งอาสวะทั้งหลาย ได้กระทำ ให้แจ้งแล้วด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้ มีอยู่ ไม่ใช่ร้อยเดียว ไม่ใช่สองร้อย ไม่ใช่สามร้อย ไม่ใช่สี่ร้อย ไม่ใช่ห้าร้อย มีอยู่มากกว่ามาก โดยแท้.

วัจฉะ ! อุบาสก ผู้สาวกของเรา พวกเป็นคฤหัสถ์นุ่งขาว อยู่ประพฤติกับผู้ประพฤติพรหมจรรย์ เป็น โอปปาติกสัตว์ (พระอนาคามี) มีปกติปรินิพพานในภพที่ไปเกิดนั้น ไม่เวียนกลับจากภพนั้น เป็นธรรมดา เพราะความสิ้นไปแห่งสัญโญชน์ มีส่วน ในเบื้องต่ำห้าอย่าง ก็ มีอยู่ไม่ใช่ร้อยเดียว ฯลฯ ไม่ใช้ห้าร้อยมีอยู่มากกว่ามาก โดยแท้.

วัจฉะ ! อุบาสก ผู้สาวกของเรา พวกเป็นคฤหัสถ์นุ่งขาว ยังบริโภคกาม เป็นผู้ ทำตามคำสอน เป็นผู้ สนองโอวาท มีความสงสัย อันข้ามได้แล้วไม่ต้องกล่าวด้วยความสงสัยว่า นี่อะไร ๆ เป็นผู้ปราศจาก ความครั่นคร้าม ไม่ใช่ผู้ต้องเชื่อตามคำของผู้อื่น อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในศาสนาของพระศาสดา ก็มีอยู่ไม่ใช่ร้อยเดียว ฯลฯ ไม่ใช่ห้าร้อย มีอยู่มากกว่ามาก โดยแท้.

วัจฉะ ! อุบาสิกา ผู้สาวิกาของเรา พวกเป็นหญิงคฤหัสถ์นุ่งขาว อยู่ประพฤติกับผู้ประพฤติ พรหมจรรย์ เป็น โอปปาติกสัตว์ (พระอนาคามี) มีปกติปรินิพพานในภพที่ไปเกิดนั้น ไม่เวียนกลับจากภพนั้นเป็นธรรมดา เพราะความสิ้นไปแห่งสัญโญชนม์ส่วนในเบื้องต่ำห้าอย่าง ก็ มีอยู่ไม่ใช่ร้อยเดียว ฯลฯไม่ใช่ห้าร้อย มีอยู่โดยมากกว่ามากเป็นแท้.

วัจฉะ ! อุบาสิกา ผู้สาวิกาของเรา พวกเป็นหญิงคฤหัสถ์นุ่งขาว ยังบริโภคกาม เป็นผู้ ทำตาม คำสอน เป็นผู้ สนองโอวาท มีความสงสัยอันข้ามได้แล้ว ไม่ต้องกล่าวด้วยความสงสัยว่า นี่อะไร ๆ เป็นปราศจาก ความครั่นคร้ามไม่ต้องเชื่อตามคำของผู้อื่น อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในศาสนาของพระศาสดา ก็มีอยู่ไม่ใช่ร้อยเดียว ฯลฯ ไมใช่ห้าร้อย มีอยู่โดยมากกว่ามาก เป็นแท้.


(ภาคนำตอน5)


หน้า 95 (ภาคนำ)
คุณค่าของอริยสัจ

อริยสัจสี่เป็นเอกังสิกธรรมที่ทรงแสดง (หลังจากที่ทรงปฏิเสธ การแสดงอันตคาหิกทิฏฐิ สิบ ในฐานะที่เป็นอเนกังสิกธรรม ต่อพระองค์แล้ว ได้ทรงแสดง เอกังสิกธรรม ในธรรมวินัยของ พระองค์ ดังต่อไปนี้ )

โปฎฐปาทะ ! ธรรมที่เราแสดง บัญญัติ ว่าเป็นเอกังสิกะนั้น เป็นอย่างไรเล่า ? โปฏฐปาทะ ! ธรรมที่เราแสดง บัญญัติ ว่าเป็น เอกังสิกะนั้น คือข้อที่ว่า “นี้ เป็นทุกข์” ดังนี้บ้าง .... “นี้ เป็นเหตุให้เกิดทุกข์” ดังนี้บ้าง ....“นี้ เป็นความดับไม่เหลือแห่งทุกข์” ดังนี้บ้าง .... “นี้ เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์” ดังนี้บ้าง.โปฏฐปาทะ ! เพราะเหตุไรเล่า เราจึงแสดงบัญญัติ ธรรมเหล่านั้น ว่าเป็นเอกังสิกธรรม (ธรรมที่ควรแสดงบัญญัติโดยส่วนเดียว) ?

โปฏฐปาทะ ! ข้อนี้เพราะว่าธรรมเหล่านั้น ประกอบด้วยอรรถะ ประกอบด้วยธรรมะ เป็นเบื้องต้น แห่งพรหมจรรย์ เป็นไปเพื่อความ หน่าย เป็นไปเพื่อความคลายกำหนัดเป็นไปเพื่อความดับ เป็นไปเพื่อความ สงบรำงับ เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เป็นไปเพื่อความรู้ พร้อม เป็นไปเพื่อนิพพาน เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้น เราจึงแสดง บัญญัติ ว่าเป็นเอกังสิกธรรม. ทำที่สุดทุกข์โดยไม่รู้อริยสัจ นั้นเป็นไปไม่ได้

ภิกษุ ท. ! ผู้ใด พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้า ไม่รู้เฉพาะตามเป็นจริง ซึ่งอริยสัจคือทุกข์ ซึ่งอริยสัจ คือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ ซึ่งอริยสัจคือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ซึ่งอริยสัจ คือทางดำเนิน ให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ แล้วข้าพเจ้า ก็จักกระทำที่สุด แห่งทุกข์ โดยชอบได้ ดังนี้ ข้อนี้ ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนผู้ใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าจักทำห่อด้วยใบแห่งไม้สีเสียด หรือใบแห่งไม้ สรละ หรือใบแห่งไม้ มะขามป้อม แล้วจักใส่น้ำหรือน้ำตกจากต้นตาล แล้วนำไปได้ ดังนี้ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะ ที่จะมีได้

ภิกษุ ท. ! ฉันใดก็ฉันนั้น ที่ผู้ใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่รู้เฉพาะตามเป็นจริง ซึ่งอริยสัจคือทุกข์ ซึ่งอริยสัจคือเหตุ ให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ ซึ่งอริยสัจคือความดับ ไม่เหลือ แห่งทุกข์ ซึ่งอริยสัจคือทางดำเนินให้ถึง ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ แล้วข้าพเจ้าก็จักกระทำ ที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบได้ ดังนี้ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะ ที่จะมีได้.

ภิกษุ ท. ! ส่วนผู้ใดแลพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้ารู้เฉพาะตามเป็นจริงซึ่งอริยสัจคือทุกข์ ซึ่งอริยสัจคือเหตุ ให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ ซึ่งอริยสัจคือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ซึ่งอริยสัจ คือทางดำเนิน ให้ถึงความดับ ไม่เหลือแห่งทุกข์ แล้วข้าพเจ้าก็จักกระทำ ที่สุดแห่งทุกข์ โดยชอบได้ ดังนี้ ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้.

ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนผู้ใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าจักทำห่อด้วยใบบัว หรือใบปลาสะ หรือใบยางซายแล้วจักใส่น้ำ หรือน้ำตกจากต้นตาล แล้วนำไปได้ ดังนี้ ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้

ภิกษุ ท. ! ฉันใดก็ฉันนั้น ที่ผู้ใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้ารู้เฉพาะตามเป็นจริงซึ่ง อริยสัจ คือทุกข์ ซึ่งอริยสัจคือ เหตุให้ เกิดขึ้น แห่งทุกข์ ซึ่งอริยสัจคือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ซึ่งอริยสัจคือทางดำเนินให้ถึง ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ แล้ว ข้าพเจ้าก็จักกระทำที่สุด แห่งทุกข์โดยชอบได้ ดังนี้ ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้.


ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรมอันเป็นเครื่องกระทำให้รู้ว่า ทุกข์ เป็นอย่างนี้ เหตุให้เกิดขึ้นแห่ง ทุกข์ เป็นอย่างนี้ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ทางดำเนินให้ถึง ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้. ดังนี้.


หน้า 97 (ภาคนำ)
สัตว์ต้องเวียนว่ายเพราะไม่เห็นอริยสัจ

ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนท่อนไม้อันบุคคลซัดขึ้นไปสู่อากาศ บางคราวตกเอาโคนลง บางคราว ตกเอาตอนกลางลง บางคราว ตกเอาปลายลง ข้อนี้ฉันใด ภิกษุ ท. ! สัตว์ที่มีอวิชชาเป็น เครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกแล่นไป อยู่ท่องเที่ยวไปอยู่ ในสังสารวัฏ ก็ทำนองเดียวกัน บางคราวแล่นไป จากโลกนี้สู่โลกอื่น บางคราวแล่นจากโลกอื่นสู่โลกนี้. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! ข้อนั้น เพราะความที่เขาเป็นผู้ไม่เห็นซึ่งอริยสัจทั้งสี่. อริยสัจสี่อย่างไรเล่า ? สี่อย่างคือ อริยสัจคือทุกข์ อริยสัจคือเหตุ ให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์อริยสัจคือความดับไม่เหลือ แห่งทุกข์ อริยสัจคือ ทางดำเนินให้ถึงความ ดับไม่เหลือแห่งทุกข์.

ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรมอันเป็นเครื่องกระทำให้รู้ว่า “ทุกข์ เป็นอย่างนี้ เหตุให้เกิดขึ้น แห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ทางดำเนินให้ถึงความ ดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้.” ดังนี้.


หน้า 98 (ภาคนำ)
การรู้อริยสัจ

รีบด่วนกว่าการดับไฟที่กำลังไหม้อยู่บนศีรษะภิกษุ ท. ! เมื่อไฟลุกโพลงๆอยู่ที่เสื้อผ้าก็ดี ที่ศีรษะก็ดี บุคคลนั้นควรจะทำอย่างไร ? ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เมื่อไฟลุกโพลง ๆ อยู่ที่เสื้อผ้าก็ดี ที่ศีรษะก็ดี เพื่อจะดับเสียซึ่งไฟ ที่เสื้อผ้าก็ดี ที่ศีรษะก็ดี สิ่งที่บุคคลนั้น พึงกระทำโดยยิ่งก็คือ ฉันทะ วายามะ อุสสาหะ อุสโสฬ๎หี อัปปฏิวานี สติ และสัมปชัญญะ (เพื่อจะดับไฟนั้นเสีย).

ภิกษุ ท. ! (แม้กระนั้นก็ดี) วิญญูชนจะไม่ใส่ใจ จะไม่เอาใจใส่กับเสื้อผ้าก็ดีศีรษะก็ดีที่ไฟกำลัง ลุกโพลงอยู่ แต่จะรู้สึกว่าสิ่งที่ ควรกระทำโดยยิ่งก็คือฉันทะ วายามะ อุสสาหะ อุสโสฬ๎หี (ขะมักเขม้น) อัปปฏิวานี (ไม่ถอยหลัง) สติ และสัมปชัญญะ เพื่อรู้เฉพาะตามเป็นจริง ซึ่งอริยสัจทั้งสี่ที่ตนยังไม่รู้เฉพาะ.

อริยสัจสี่ อย่างไรเล่า ? สี่อย่างคือ อริยสัจคือทุกข์ อริยสัจคือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ อริยสัจ คือความดับ ไม่เหลือ แห่งทุกข์ อริยสัจคือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.

ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรมอันเป็นเครื่องกระทำให้รู้ว่า “ทุกข์เป็นอย่างนี้ เหตุให้เกิดขึ้นแห่ง ทุกข์ เป็นอย่างนี้ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ทางดำเนิน ให้ถึงความ ดับไม่เหลือ แห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้” ดังนี้.


หน้า 99 (ภาคนำ)
การรู้อริยสัจควรแลกเอา

แม้ด้วยการถูกแทงด้วยหอกวันละ ๓๐๐ ครั้ง ๑๐๐ ปีภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีอายุร้อยปี พึงกล่าวกะบุรุษผู้มีชีวิตร้อยปี อย่างนี้ว่า “เอาไหมล่ะ ท่านบุรุษผู้เจริญ ! เขาจักแทงท่าน ด้วยหอกร้อยเล่มตลอดเวลาเช้า ร้อยเล่มตลอดเวลาเที่ยง ร้อยเล่ม ตลอดเวลาเย็น.

ท่านบุรุษ-ผู้เจริญ ! เมื่อเขาแทงท่านอยู่ด้วยหอกสามร้อยเล่มทุกวัน ๆ จนมีอายุร้อยปี มีชีวิตอยู่
ร้อยปี โดยล่วงไปแห่งร้อยปี แล้ว ท่านจักรู้เฉพาะซึ่งอริยสัจทั้งสี่ที่ท่านยังไม่รู้เฉพาะแล้ว” ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! กุลบุตรผู้รู้ซึ่งประโยชน์ ควรจะตกลง. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุว่า สังสารวัฏนี้มีเบื้องต้น และที่สุดอันบุคคลไปตามอยู่รู้ไม่ได้แล้ว ดังนั้นเบื้องต้น และที่สุด แห่งการประหาร ด้วยหอกด้วยดาบด้วยหลาวด้วยขวาน ก็จะไม่ปรากฏ นี้ฉันใด

ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็เป็นฉันนั้น เรากล่าวการรู้เฉพาะซึ่งอริยสัจทั้งสี่ ว่าเป็นไปกับด้วยทุกข์ กับด้วย โทมนัส ก็หามิได้ แต่ เรากล่าว การรู้เฉพาะซึ่งอริยสัจทั้งสี่ ว่าเป็นไปกับด้วยสุขกับด้วยโสมนัส ทีเดียว.

อริยสัจสี่ อย่างไรเล่า ? สี่อย่างคือ อริยสัจคือทุกข์อริยสัจ คือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ อริยสัจ คือความดับ ไม่เหลือแห่งทุกข์ อริยสัจคือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.

ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรมอันเป็นเครื่องกระทำให้รู้ว่า “ทุกข์ เป็นอย่างนี้ เหตุให้เกิดขึ้น แห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ทางดำเนินให้ถึงความดับ ไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้” ดังนี้.


หน้า 100 (ภาคนำ)
เมื่อยังไม่รู้อริยสัจก็ไม่สามารถลงหลักแห่งความรู้ของตน

ภิกษุ ท. ! สมณพราหมณ์บางพวก ไม่รู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า นี้คือทุกข์ นี้ คือเหตุให้เกิดขึ้น แห่งทุกข์ นี้ คือความดับไม่เหลือ แห่งทุกข์ นี้คือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ดังนี้ เขาย่อมมองสีหน้า ของสมณพราหมณ์อื่น เพื่อให้รู้ว่า ท่านผู้เจริญนี้ เมื่อรู้ก็รู้จริงหรือ เมื่อเห็นก็เห็นจริงหรือ ดังนี้.

เปรียบเหมือนปุยนุ่นหรือปุยฝ้าย เป็นของเบา ลมพาไปได้ เมื่อวางอยู่บนพื้นที่อันเสมอ ลมทิศ ตะวันออก ก็พัดพามันไป ทางทิศตะวันตก ลมทิศตะวันตกก็พัดพามันไปทางทิศตะวันออก ลมทิศเหนือ ก็พัดพามันไป ทิศใต้ ลมทิศใต้ ก็พัดพามันไป ทางทิศเหนือ.

ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? ภิกษุ ท. ! เพราะปุยฝ้ายนั้น เป็นของเบา

ภิกษุ ท. ! ฉันใดก็ฉันนั้น ที่สมณพราหมณ์บางพวกไม่รู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า นี้ คือทุกข์ นี้ คือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ นี้ คือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ นี้ คือทางดำเนินให้ถึง ความดับ ไม่เหลือ แห่งทุกข์ ดังนี้ เขาย่อม มองสีหน้าของสมณพราหมณ์ อื่น เพื่อให้รู้ว่า ท่านผู้เจริญนี้ เมื่อรู้ก็รู้จริงหรือ เมื่อเห็นก็เห็นจริงหรือ ดังนี้.

ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ภิกษุ ท.!
ข้อนั้น เพราะ ความที่เขา เป็นผู้ไม่เห็น ซึ่งอริยสัจทั้งสี่.

ภิกษุ ท. ! ส่วนสมณพราหมณ์บางพวก รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้คือทุกข์ นี้คือเหตุให้เกิดขึ้นแห่ง ทุกข์ นี้คือความดับไม่เหลือ แห่งทุกข์ นี้คือทางดำเนินให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ดังนี้ เขาย่อม ไม่มองสีหน้าของสมณพราหมณ์อื่น เพื่อให้รู้ว่า ท่านผู้เจริญนี้ เมื่อรู้ก็รู้จริงหรือ เมื่อเห็นก็เห็นจริงหรือ ดังนี้.

เปรียบเหมือนเสาเหล็กหรือเสาอินทขีล มีรากลึก เขาฝังไว้ดีแล้ว ไม่หวั่นไหว ไม่สั่นคลอน แม้พายุฝน อย่างแรงพัดมาจาก ทิศตะวันออก....จากทิศตะวันตก ... จากทิศเหนือ ... จากทิศใต้ ก็ไม่สั่นคลอน ไม่สั่นสะเทือนไม่หวั่นไหว. เพราะเหตุไรเล่า ? เพราะมีรากลึก เพราะฝังไว้ดังนี้ฉันใด

ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉันนั้น ที่สมณพราหมณ์บางพวก รู้ชัดตามเป็นจริงว่า “นี้คือทุกข์ นี้คือเหตุ ให้เกิดขึ้น แห่งทุกข์ นี้คือความดับ ไม่เหลือแห่งทุกข์ นี้คือทางดำเนินให้ถึงความดับ ไม่เหลือ แห่งทุกข์” ดังนี้ เขาย่อม ไม่มองสีหน้าของสมณพราหมณ์อื่น เพื่อให้รู้ว่า “ท่านผู้เจริญนี้ เมื่อรู้ ก็รู้จริง หรือ เมื่อเห็นก็เห็นจริงหรือ” ดังนี้. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! ข้อนั้น เพราะความที่เขาเป็นผู้เห็นซึ่งอริยสัจทั้งสี่ด้วยดีแล้ว. อริยสัจสี่ อย่างไรเล่า ? สี่อย่างคือ อริยสัจคือทุกข์ อริยสัจคือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ อริยสัจคือความดับไม่เหลือแห่ง ทุกข์ อริยสัจ คือทางดำเนิน ให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.

ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรมอันเป็นเครื่องกระทำให้รู้ว่า “ทุกข์เป็นอย่างนี้ เหตุให้เกิดขึ้น แห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ทางดำเนินให้ถึงความดับ ไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้” ดังนี้.


หน้า 101 (ภาคนำ)
สัตว์จำพวกวินิบาตกับการเห็นจตุราริยสัจ

ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนบุรุษทิ้งแอก (ไม้ไผ่?) ซึ่งมีรูอยู่เพียงรูเดียว ลงไปในมหาสมุทร. ในมหาสมุทรนั้น มีเต่าตาบอดตัวหนึ่ง ล่วงไปร้อยปีๆ จะผุดขึ้นมาครั้งหนึ่ง ๆ. ภิกษุ ท. ! เธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร จะเป็นไปได้ไหม ที่เต่าตาบอดตัวนั้น ล่วงไปร้อยปีๆ จึงผุดขึ้นมาครั้งหนึ่งๆ จะพึงยื่นคอเข้าไปในรูซึ่งมีอยู่เพียงรูเดียวในแอกนั้น ? “ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ! ข้อนั้น จะเป็น ไปได้บ้าง ก็ต่อเมื่อล่วงกาลนาน ยาวในบางคราว”.

ภิกษุ ท. ! ข้อที่ เต่าตาบอด ตัวนั้น ต่อ ล่วงไปร้อยปีๆ จึงผุดขึ้นมาสักครั้งหนึ่ง ๆ จะพึง ยื่นคอ เข้าไปในรู ซึ่งมีอยู่เพียง รูเดียว ในแอกนั้น ยังจะเร็วเสียกว่าการที่คนพาลซึ่งเข้าถึง การเกิด เป็นวินิบาตแล้ว จักได้ความ เป็นมนุษย์สักครั้งหนึ่ง.

ข้อนั้นเพราะเหตุอะไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ข้อนั้นเพราะเหตุว่าในหมู่สัตว์จำพวกวินิบาตนั้น ไม่มีธัมมจริยา ไม่มีสมจริยา ไม่มีกุสล กิริยา ไม่มีบุญญกิริยา มีแต่การเคี้ยวกินซึ่งกันและกัน.

ภิกษุ ท. ! การที่ สัตว์มีกำลังมากกว่าเคี้ยวกินสัตว์ที่มีกำลังน้อยกว่า ย่อม เป็นไป เป็นธรรมดา ในหมู่สัตว์จำพวกวินิบาตนั้น. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ข้อนั้น เพราะความที่ไม่เห็น อริยสัจทั้งสี่.

อริยสัจสี่ อย่างไรเล่า ? สี่อย่างคือ อริยสัจ คือทุกข์ อริยสัจคือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ อริยสัจ คือความดับไม่เหลือ แห่งทุกข์อริยสัจ คือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.

ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรมอันเป็นเครื่องกระทำให้รู้ว่า “ทุกข์ เป็นอย่างนี้ เหตุให้เกิดขึ้น แห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์เป็นอย่างนี้ ทางดำเนินให้ถึงความดับ ไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ดังนี้.


หน้า 103 (ภาคนำ)
การรู้อริยสัจทำให้มีตาครบสองตา

ภิกษุ ท. ! บุคคล ๓ จำพวกนี้ มีอยู่ หาได้อยู่ ในโลก. สามจำพวกอย่างไรเล่า ? สามจำพวกคือ คนตาบอด (อนฺโธ) คนมีตา ข้างเดียว(เอกจกฺขุ) คนมีตาสองข้าง (ทฺวิจกฺขุ).

ภิกษุ ท. ! คนตาบอด เป็นอย่างไรเล่า ? คือคนบางคนในโลกนี้ไม่มีตา ที่เป็นเหตุให้ได้ โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ หรือทำโภคทรัพย์ ที่ได้แล้วให้ทวีมากขึ้น นี้อย่างหนึ่ง และไม่มีตา ที่เป็นเหตุ ให้รู้ธรรมที่เป็นกุศลอกุศล - ธรรมมีโทษไม่มีโทษ - ธรรมเลว และธรรมประณีต - ธรรมฝ่ายดำและธรรมฝ่ายขาวนี้อีกอย่างหนึ่ง. ภิกษุ ท. ! นี้แล คนตาบอด (ทั้งสองข้าง).

ภิกษุ ท. ! คนมีตาข้างเดียว เป็นอย่างไรเล่า ? คือคนบางคนในโลกนี้ มีตาที่เป็นเหตุ ให้ได้ โภคทรัพย์ ที่ยังไม่ได้ หรือทำโภค ทรัพย์ที่ได้แล้วให้ทวีมากขึ้น แต่ไม่มีตาที่เป็นเหตุให้รู้ธรรม ที่เป็นกุศลอกุศล - ธรรมมีโทษไม่มีโทษ - ธรรมเลวและธรรมประณีต - ธรรมฝ่ายดำ และ ธรรมฝ่ายขาว.

ภิกษุ ท. ! นี้แล คนมีตาข้างเดียว.ภิกษุ ท. ! คนมีตาสองข้าง เป็นอย่างไรเล่า ? คือคนบางคน ในโลกนี้ มีตาที่เป็นเหตุให้ได้ โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ หรือ ทำโภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้ทวีมากขึ้น นี้อย่างหนึ่ง และ มีตาที่เป็นเหตุให้รู้ธรรม ที่เป็นกุศลอกุศล- ธรรมมีโทษไม่มีโทษ - ธรรมเลว และ ธรรมประณีต - ธรรมฝ่ายดำและธรรมฝ่ายขาว นี้อีกอย่างหนึ่ง.

ภิกษุ ท. ! นี้แล คนมีตาสองข้าง. ...

ภิกษุ ท. ! ภิกษุมีตาสมบูรณ์ (จกฺขุมา) เป็นอย่างไรเล่า ? คือภิกษุในกรณีนี้ ย่อม รู้ชัดตาม เป็นจริงว่า “นี้ ความทุกข์ นี้ เหตุให้ เกิดทุกข์ นี้ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ นี้ ทางดำเนิน ให้ถึงความดับ ไม่เหลือแห่งทุกข์” ดังนี้. ภิกษุ ท. ! นี้แล ภิกษุม ตา สมบูรณ์.


หน้า 104 (ภาคนำ)
การสิ้นอาสวะมีได้เพราะการรู้อริยสัจ

ภิกษุ ท. ! เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ว่ามีได้สำหรับผู้รู้อยู่ผู้เห็นอยู่เท่านั้น หาได้กล่าวว่า มีได้สำหรับผู้ไม่รู้อยู่ ผู้ไม่เห็นอยู่ ไม่.

ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ สำหรับผู้รู้อยู่ผู้เห็นอยู่ ซึ่งอะไรเล่า ? ผู้รู้อยู่ผู้เห็นอยู่ซึ่งสัจจะว่า “ทุกข์ เป็นอย่างนี้ เหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์เป็นอย่างนี้ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างนี้” ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรมอันเป็นเครื่องทำให้รู้ว่า “ทุกข์ เป็นอย่างนี้, เหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ทางดำเนินให้ถึงความไม่เหลือแห่งทุกข์เป็นอย่างนี้” ดังนี้.


หน้า 104 -1 (ภาคนำ)
เหตุที่ทำให้สัจจะเหล่านี้ได้นามว่า “อริยะ”

ภิกษุ ท. ! ความจริงอันประเสริฐเหล่านี้ มีอยู่ ๔ อย่าง.
สี่อย่าง เหล่าไหนเล่า ? สี่อย่าง คือ
ความจริงอันประเสริฐ เรื่องทุกข์
ความจริงอันประเสริฐ เรื่องเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์
ความจริงอันประเสริฐ เรื่องความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
ความจริงอันประเสริฐ เรื่องทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.

ภิกษุ ท. ! ความจริงอันประเสริฐ ๔ อย่าง เหล่านี้แล
เป็น ตถา คือมีความเป็นอย่างนั้น
เป็น อวิตถา คือไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น
เป็น อนัญญถา คือไม่เป็นไปโดยประการอื่นจากความเป็นอย่างนั้น
เพราะเหตุนั้นเรา จึงกล่าวสัจจะเหล่านั้นว่าเป็น “อริยะ (อันประเสริฐ)” ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรมอันเป็นเครื่องกระทำให้รู้ว่า “ทุกข์ เป็นอย่างนี้ เหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์เป็นอย่างนี้” ดังนี้.


หน้า 105 (ภาคนำ)
เหตุที่ทำให้สัจจะเหล่านี้ได้นามว่า “อริยะ”(อีกนัยหนึ่ง)

ภิกษุ ท. ! ความจริงอันประเสริฐ ๔ อย่างเหล่านี้ มีอยู่.

สี่อย่างเหล่าไหนเล่า ? สี่อย่างคือ ความจริงอันประเสริฐเรื่องทุกข์ ความจริงอันประเสริฐ เรื่องเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ ความจริงอันประเสริฐ เรื่องความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ความจริง อันประเสริฐ เรื่องทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.

ผู้กล่าวสัจจะเหล่านั้นคือตถาคตผู้เป็นอริยะ ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้ง สมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดา และมนุษย์ เพราะเหตุนั้น เรา จึงกล่าว สัจจะเหล่านั้น ว่าเป็น “อริยะ” ดังนี้.

เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึง ประกอบโยคกรรมอันเป็นเครื่องกระทำให้รู้ว่า “ทุกข์ เป็นอย่างนี้ เหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ทางดำเนินให้ถึง ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้” ดังนี้.


หน้า106 (ภาคนำ)
อริยสัจสี่สำหรับความเป็นอริยบุคคล

ภิกษุ ท. ! ภิกษุผู้ถึงความเป็นเทพ เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. !ภิกษุในกรณีนี้ สงัดแล้วจากกาม และสงัดแล้วจาก สิ่งอันเป็น อกุศลทั้งหลาย บรรลุฌานที่หนึ่ง ซึ่งมีวิตกวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่

เพราะสงบวิตกวิจารเสียได้ บรรลุฌานที่สอง อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน ทำให้เกิดสมาธิมีอารมณ์อันเดียว ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิดแต่สมาธิ แล้วแลอยู่

เพราะความจางไปแห่งปีติ ย่อมอยู่อุเบกขา มีสติ-สัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุฌานที่สาม อันเป็นฌาน ที่พระอริยเจ้า กล่าวว่า “ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข” ดังนี้ แล้วแลอยู่

เพราะละสุข และละทุกข์เสียได้ และเพราะความ ดับหายไปแห่งโสมนัสและโทมนัส ในกาลก่อน บรรลุฌานที่สี่ อันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีแต่ความที่สติ เป็นธรรมชาติ บริสุทธิ์เพราะ อุเบกขา แล้วแลอยู่.

ภิกษุ ท. ! ภิกษุ ผู้ถึงความเป็นเทพย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้แล.
(ได้ ฌาน ๑ ๒ ๓ ๔ เข้าถึงความเป็นเทพ)

ภิกษุ ท. ! ภิกษุผู้ถึงความเป็น พรหม เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ แผ่จิต อันประกอบด้วย เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา สู่ทิศที่หนึ่ง ทิศที่สอง ที่สาม และที่สี่ โดยลักษณะอย่างเดียวกันตลอดโลกทั้งสิ้น ในที่ทั้งปวงทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ และด้านขวาง ด้วยจิตอันประกอบด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา อันไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท เป็นจิต กว้างขวาง ประกอบด้วยคุณอันใหญ่หลวงหาประมาณมิได้ แล้วแลอยู่.
ภิกษุ ท. ! ภิกษุ ผู้ถึงความเป็นพรหม ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้แล.

ภิกษุ ท. ! ภิกษุ ผู้ถึงอาเนญชา เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เพราะผ่านพ้นการกำหนดหมายในรูปเสียได้ โดยประการทั้งปวง เพราะความดับ แห่งการ กำหนด หมาย ในอารมณ์ที่ขัดใจ และ

เพราะการไม่ทำในใจ ซึ่งการกำหนดหมาย ในภาวะต่าง ๆ เสียได้
เข้าถึง อากาสานัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า “อากาศไม่มีที่สิ้นสุด” ดังนี้ แล้วแลอยู่

เพราะผ่านพ้น อากาสา-นัญจายตนะ เสียได้โดยประการทั้งปวง
เข้าถึง วิญญาณัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า “วิญญาณ ไม่มีที่สิ้นสุด” ดังนี้ แล้วแลอยู่

เพราะผ่านพ้น วิญญาณัญจาย-ตนะ เสียได้โดยประการทั้งปวง
เข้าถึง อากิญจัญญายตนะ อันมีการทำในใจว่า“อะไร ๆ ไม่มี” ดังนี้ แล้วแลอยู่

เพราะผ่านพ้น อากิญจัญญายตนะ เสียได้โดยประการทั้งปวง
เข้าถึง เนวสัญญานาสัญญายตนะ แล้วแลอยู่.

ภิกษุ ท. ! ภิกษุ ผู้ถึง อาเนญชา ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้แล.

ภิกษุ ท. ! ภิกษุผู้ถึงความเป็นอริยะ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้
ย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า “ทุกข์ เป็นเช่นนี้ ๆ”
ย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า “เหตุให้เกิดทุกข์ เป็นเช่นนี้ๆ”
ย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า “ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นเช่นนี้ๆ”
ย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า “ข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นเช่นนี้ๆ ” ดังนี้.
ภิกษุ ท. ! ภิกษุ ผู้ถึงความเป็นอริยะ ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้แล.


หน้า 108 (ภาคนำ)
อริยสัจจธรรมรวมอยู่ในหมู่ธรรมที่ใครค้านไม่ได้

ภิกษุ ท. ! ธรรมนี้นี่แล อันเราแสดงแล้ว เป็นธรรมอันสมณพราหมณ์ผู้รู้ทั้งหลายข่มขี่ไม่ได้ ทำให้เศร้าหมองไม่ได้ ติเตียนไม่ได้ คัดง้างไม่ได้.

ภิกษุ ท. ! ธรรมอันเราแสดงแล้ว เป็นธรรมอันสมณพราหมณ์ผู้รู้ทั้งหลายข่มขี่ไม่ได้ ทำให้เศร้าหมองไม่ได้ ติเตียนไม่ได้ คัดง้างไม่ได้ เป็นอย่างไรเล่า ?
.... (ทรงแสดง ธาตุ หก) ....
.... (ทรงแสดง ผัสสายตนะ หก) ....
.... (ทรงแสดง มโนปวิจาร สิบแปด) ....

ภิกษุ ท. ! ธรรมอันเราแสดงแล้วว่า “เหล่านี้ คือ อริยสัจทั้งหลาย๔ ประการ” ดังนี้ เป็น ธรรมอันสมณพราหมณ์ผู้รู้ ทั้งหลาย ข่มขี่ไม่ได้ ทำให้เศร้าหมองไม่ได้ ติเตียนไม่ได้ คัดง้างไม่ได้. ....ฯลฯ.... ....ฯลฯ....

ภิกษุ ท. ! ธรรมอันเราแสดงแล้วว่า “เหล่านี้ คืออริยสัจทั้งหลาย๔ ประการ” ดังนี้ เป็นธรรมอันสมณพราหมณ์ ผู้รู้ทั้งหลาย ข่มขี่ไม่ได้ ทำให้เศร้าหมองไม่ได้ ติเตียนไม่ได้ คัดง้างไม่ได้. ข้อนี้เป็นธรรมที่เรากล่าวแล้ว อย่างนี้เราอาศัย ซึ่งอะไรเล่า จึงกล่าวแล้วอย่างนี้ ?

ภิกษุ ท. ! เพราะอาศัยซึ่งธาตุทั้งหลาย ๖ ประการ การก้าวลงสู่ครรภ์ย่อมมี เมื่อการก้าวลงสู่ ครรภ์ มีอยู่ นามรูปย่อมมี เพราะมี นามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา

ภิกษุ ท. ! เ ราย่อมบัญญัติว่า “นี้ เป็นความทุกข์” ดังนี้ ว่า “นี้ เป็นทุกข-สมุทัย” ดังนี้ ว่า “นี้ เป็นทุกขนิโรธ” ดังนี้ ว่า “นี้ เป็นทุกขนิโรธคามินี-ปฏิปทา” ดังนี้ แก่สัตว์ผู้สามารถเสวยเวทนา.

ภิกษุ ท. ! ทุกขอริยสัจ เป็นอย่างไรเล่า ? แม้ความเกิด ก็เป็นทุกข์ แม้ความแก่ ก็เป็นทุกข์ แม้ความตาย ก็เป็นทุกข์ แม้โสกะ ปริเทวะ-ทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย ก็เป็นทุกข์ การประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์ ความพลัดพราก จากสิ่งเป็นที่รัก เป็นทุกข์ ปรารถนา สิ่งใดแล้วไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็เป็นทุกข์ กล่าวโดยย่อ ปัญจุปาทานขันธ์ทั้งหลาย เป็นทุกข์.

ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า ทุกขอริยสัจ.

ภิกษุ ท. ! ทุกขสมุทยอริยสัจ เป็นอย่างไรเล่า ?
เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทาน
เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะมีภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ
เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส-อุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อม แห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.

ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า ทุกขสมุทยอริยสัจ.

ภิกษุ ท. ! ทุกขนิโรธอริยสัจ เป็นอย่างไรเล่า ? เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว จึงมีความดับแห่งสังขาร เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ
เพราะมีความดับแห่งวิญญาณ จึงมีความดับแห่งนามรูป
เพราะมีความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ
เพราะมีความดับแห่งสฬายตนะ จึงมีความดับแห่งผัสสะ
เพราะมีความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา
เพราะมีความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา
เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน
เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ
เพราะมีความดับแห่งภพ จึงความดับแห่งชาติ
เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแลชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส อุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.
ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่าทุกขนิโรธอริยสัจ.

ภิกษุ ท. ! ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นอย่างไรเล่า ? มรรคอันประเสริฐ ประกอบด้วย องค์ ๘ ประการ นี้นั่นเอง กล่าวคือ สัมมาทิฏฐิสัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.

ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ.ภิกษุ ท. ! ข้อที่ว่า “ธรรมอันเราแสดง แล้วว่า เหล่านี้ คืออริยสัจ ทั้งหลาย ๔ ประการ ดังนี้ เป็นธรรมอันสมณพราหมณ์ผู้รู้ทั้งหลาย ข่มขี่ ไม่ได้ ทำให้เศร้าหมองไม่ได้ ติเตียนไม่ได้ คัดง้างไม่ได้” ดังนี้อันใด อันเรากล่าวแล้ว ข้อนั้น เรากล่าวหมายถึงข้อความดังกล่าวมานี้ แล.


(ภาคนำตอน6)


หน้า 111 (ภาคนำ)
ประเภทหรือเค้าโครงของอริยสัจ
หลักอริยสัจมีอย่างเดียว แต่คำอธิบายมีปริยายมากมาย

ภิกษุ ท. ! ความจริงอันประเสริฐ ว่า “นี้เป็น ทุกข์.. นี้เป็น เหตุให้เกิดทุกข์.. นี้เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์.. และนี้เป็นทาง ดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์..” ดังนี้ เป็นสิ่งที่เราได้บัญญัติแล้ว

แต่ในความจริงนั้น การพรรณาความ การกำหนด บทพยัญชนะ และการจำแนกเพื่อ พิสดาร มีมากจนประมาณไม่ได้ (อปริมาณา วณฺณา อปริมาณา พฺยญฺชนา อปริมาณา สงฺกาสนา) ว่าปริยายเช่นนี้ๆ เป็นความจริงคือทุกข์ ถึงแม้เช่นนี้ก็เป็นความจริง คือทุกข์ ฯลฯ.

ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้นในกรณีนี้ พวกเธอพึงทำความเพียรเพื่อให้รู้ตามเป็นจริง ว่า “นี้เป็น ทุกข์ นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ นี้เป็น ความดับไม่เหลือของทุกข์ และนี้เป็นทางดำเนิน ให้ถึง ความดับไม่เหลือของทุกข์ ” ดังนี้เถิด.


หน้า 111-1 (ภาคนำ)
อริยสัจสี่โดยสังเขป
(นัยทั่วไป)

ภิกษุ ท. ! นี้แลคือ ความจริงอันประเสริฐ เรื่องความทุกข์ คือความเกิดก็เป็นทุกข์ ความแก่ ก็เป็นทุกข์ ความเจ็บไข้ ก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์ ความประจวบกับสิ่งที่ไม่รัก เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก เป็นทุกข์ ความปรารถนา สิ่งใดแล้ว ไม่ได้สิ่งนั้น เป็นทุกข์ กล่าวโดยย่อ ขันธ์ห้าที่ประกอบด้วยอุปาทาน เป็นทุกข์.

ภิกษุ ท. ! นี้แลคือ ความจริงอันประเสริฐ เรื่องแดนเกิดของความทุกข์ คือตัณหา อันเป็นเครื่องทำให้มีการเกิดอีก อันประกอบอยู่ด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน อันเป็นเครื่องให้เพลิดเพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ ได้แก่ตัณหาในกาม ตัณหาในความมี ความเป็น ตัณหาในความไม่มีไม่เป็น.

ภิกษุ ท. ! นี้แลคือ ความจริงอันประเสริฐ เรื่องความดับไม่เหลือของความทุกข์ คือความดับ สนิท เพราะจางไป โดยไม่มีเหลือ ของตัณหานั้นนั่นเองคือความสละทิ้ง ความสลัดคืน ความปล่อย ความทำไม่ให้มีที่อาศัย ซึ่งตัณหานั้น.

ภิกษุ ท. ! นี้แลคือ ความจริงอันประเสริฐ เรื่องข้อปฏิบัติอันทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือ ของความทุกข์ คือข้อปฏิบัติ อันเป็นหนทางอันประเสริฐอันประกอบด้วยองค์แปดประการนี้ ได้แก่ความเห็นที่ถูกต้อง ความดำริที่ถูกต้องการพูดจา ที่ถูกต้อง การทำการงานที่ถูกต้อง การอาชีพที่ถูกต้อง ความพากเพียรที่ถูกต้อง ความรำลึกที่ถูกต้อง ความตั้งใจมั่น ที่ถูกต้อง.


หน้า 112 (ภาคนำ)
อริยสัจสี่โดยสังเขป(อีกนัยหนึ่ง)
(ทรงแสดงด้วยปัญจุปาทานขันธ์)

ภิกษุ ท. ! ความจริงอันประเสริฐมีสี่อย่างเหล่านี้. สี่อย่างเหล่าไหนเล่า ? สี่อย่างคือ ความจริงอันประเสริฐ คือทุกข์ ความจริงอัน ประเสริฐคือเหตุให้เกิดทุกข์ ความจริงอันประเสริฐ คือความดับไม่เหลือของทุกข์ และความจริงอันประเสริฐ คือทางดำเนินให้ถึง ความดับไม่เหลือของทุกข์.

ภิกษุ ท. ! ความจริงอันประเสริฐ คือทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า? คำตอบคือ ขันธ์อันเป็นที่ตั้ง แห่งความยึดมั่นถือมั่นห้าอย่าง. ห้าอย่างนั้น อะไรเล่า ? ห้าอย่างคือ ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่ง ความยึด มั่นถือมั่น ได้แก่ รูป เวทนาสัญญา สังขาร และวิญญาณ.
ภิกษุ ท. ! อันนี้ เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐ คือทุกข์.

ภิกษุ ท. ! ความจริงอันประเสริฐ คือเหตุให้เกิดทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? คือตัณหาอันใดนี้ ที่เป็นเครื่องนำให้มีการเกิดอีก อันประกอบด้วยความกำหนัดเพราะอำนาจความเพลิน มักทำให้เพลิดเพลินยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ ได้แก่ตัณหาในกาม, ตัณหาใน ความมีความเป็น, ตัณหาในความไม่มีไม่เป็น. ภิกษุ ท. ! อันนี้ เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐ คือ เหตุให้เกิด ทุกข์.

ภิกษุ ท. ! ความจริงอันประเสริฐ คือความดับไม่เหลือของทุกข์เป็นอย่างไรเล่า ? คือความดับสนิท เพราะความจางคลายไป โดยไม่เหลือของตัณหานั้น ความสละลงเสีย ความสลัดทิ้งไป ความปล่อยวาง ความไม่อาลัยถึงซึ่งตัณหานั่นเอง อันใด. ภิกษุ ท. ! อันนี้ เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐคือความดับไม่เหลือของทุกข์.

ภิกษุ ท. ! ความจริงอันประเสริฐ คือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? คือหนทาง อันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์๘ นี้นั่นเอง ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยง ชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.

ภิกษุ ท. ! อันนี้ เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐ คือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือ ของทุกข์.ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แลคือ ความจริงอันประเสริฐสี่อย่าง.ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอพึงทำความเพียรเพื่อให้รู้ตามเป็นจริงว่า “นี้เป็นทุกข์ นี้เป็นเหตุให้เกิดขึ้น แห่ง ทุกข์ นี้เป็นความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ นี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือ แห่งทุกข์”ดังนี้เถิด.


หน้า 114 (ภาคนำ)
อริยสัจสี่โดยสังเขป (อีกนัยหนึ่ง)
(ทรงแสดงด้วยอายตนะหก)

ภิกษุ ท. ! อริยสัจมีสี่อย่างเหล่านี้.. สี่อย่างเหล่าไหนเล่า ? สี่อย่างคือ อริยสัจคือทุกข์ อริยสัจคือทุกขสมุทัย อริยสัจคือ ทุกขนิโรธ อริยสัจคือทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

ภิกษุ ท. ! อริยสัจคือทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? ควรจะกล่าวว่าได้แก่อายตนะภายในหก. อายตนะภายในหก เหล่าไหนเล่า ? คือจักขุอายตนะ โสตะอายตนะ ฆานะอายตนะ ชิวหาอายตนะ กายะอายตนะ มนะอายตนะ.
ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า อริยสัจคือทุกข์.

ภิกษุ ท. ! อริยสัจคือทุกขสมุทัย เป็นอย่างไรเล่า ? คือตัณหาอันใดนี้ ที่เป็นเครื่องนำให้มีการ เกิดอีก อันประกอบด้วย ความกำหนัดเพราะอำนาจความเพลิน มักทำให้เพลิดเพลินยิ่งใน อารมณ์ นั้น ๆ ได้แก่ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา.

ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า อริยสัจคือทุกขสมุทัย.ภิกษุ ท. ! อริยสัจคือทุกขนิโรธ เป็นอย่างไรเล่า ? คือความดับสนิท เพราะความ จางคลายไปโดยไม่เหลือของตัณหานั้น ความสละทิ้ง ความสลัดคืน ความปล่อยวาง ความไม่อาลัยถึง ซึ่งตัณหานั่นเอง.
ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า อริยสัจคือทุกขนิโรธ.

ภิกษุ ท. ! อริยสัจคือทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นอย่างไรเล่า ? คือหนทางอันประเสริฐ ประกอบด้วย องค์แปดประการนี้นั่นเอง ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.
ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า อริยสัจคือทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล อริยสัจ ๔ อย่าง.

ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรมอันเป็นเครื่องกระทำให้รู้ว่า “ทุกข์ เป็นอย่างนี้, ทุกขสมุทัย เป็นอย่างนี้ ทุกข-นิโรธ เป็นอย่างนี้ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นอย่างนี้” ดังนี้.


หน้า 114 -1 (ภาคนำ)
ทรงวางลำดับแห่งอริยสัจ อย่างตายตัว

....แน่ะภิกษุ ! ถูกแล้ว ถูกแล้ว. แน่ะภิกษุ ! เธอจำอริยสัจสี่ประการ อันเราแสดงไว้แล้วโดย ถูกต้อง คือ เราแสดงอริยสัจ คือทุกข์ ไว้เป็นข้อที่หนึ่ง แสดงอริยสัจ คือเหตุให้เกิดทุกข์ ไว้เป็นข้อที่สอง แสดงอริยสัจคือความดับไม่เหลือของทุกข์ ไว้เป็นข้อที่สาม และแสดงอริยสัจ คือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ ไว้เป็นข้อที่สี่. แน่ะภิกษุ ! เธอจงทรงจำ

อริยสัจสี่ไว้โดยประการที่เราแสดงนั้น ๆ เถิด.แน่ะภิกษุ ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอพึง ทำความเพียร เพื่อให้รู้ตามเป็นจริง ว่า “นี้เป็นทุกข์ นี้เป็นเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ นี้เป็นความ ดับไม่เหลือแห่งทุกข์ นี้เป็นทางดำเนิน ให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.”ดังนี้เถิด.


หน้า 114-2 (ภาคนำ)
อริยสัจสี่ในรูปแบบพิเศษ

ภิกษุ ท. ! ธรรม ๔ ประการเหล่านี้ มีอยู่. สี่ประการคืออะไรเล่า?
สี่ประการคือ
ธรรมที่ควรรอบรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง มีอยู่
ธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง มีอยู่
ธรรมที่ควรกระทำให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง มีอยู่
ธรรมที่ควรกระทำให้แจ้ง ด้วยปัญญาอันยิ่ง มีอยู่.

ภิกษุ ท. ! ธรรมที่ควรรอบรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นอย่างไรเล่า ? อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้เรากล่าวว่า เป็นธรรมที่ควรรอบรู้ ด้วย ปัญญาอันยิ่ง.

ภิกษุ ท. ! ธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นอย่างไรเล่า ? อวิชชา และ ภวตัณหา เหล่านี้เรากล่าวว่า เป็นธรรมที่ควรละด้วย ปัญญาอันยิ่ง.

ภิกษุ ท. ! ธรรมที่ควรกระทำให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นอย่างไรเล่า ? สมถะ และ วิปัสสนา เหล่านี้เรากล่าวว่า เป็นธรรม ที่ควรกระทำให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง.

ภิกษุ ท. ! ธรรมที่ควรกระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นอย่างไรเล่า ? วิชชา และ วิมุตติ เหล่านี้เรากล่าวว่า เป็นธรรมที่ควร กระทำ ให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง.

ภิกษุ ท. ! ธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล มีอยู่.

(ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า อริยสัจสี่ในรูปแบบนี้ มีแปลกจากแบบธรรมดาทั้งโดยชื่อและ โดยลำดับ.)


หน้า 117 (ภาคนำ)
การวางลำดับใหม่ ไม่มีเหตุผลเลย

แน่ะภิกษุ ! การที่ผู้ใด จะเป็นสมณะหรือพราหมณ์ ก็ตาม จะพึงกล่าวว่า “อริยสัจที่พระสมณะ โคดม แสดง ทุกข์ ไว้เป็นข้อที่หนึ่ง เหตุให้เกิดทุกข์ ไว้เป็นข้อที่สอง ความดับไม่เหลือของ ทุกข์ ไว้เป็นข้อที่สาม และทางดำเนินให้ถึง ความดับไม่เหลือของทุกข์ ไว้เป็นข้อที่สี่ นั้น เป็นไปไม่ได้ เราคัดค้าน เราบัญญัติเป็นอย่างอื่น” ดังนี้ จะเป็นคำมีเหตุผล เป็นหลักฐาน ไม่ได้เลย.

แน่ะภิกษุ ! เธอจงทรงจำอริยสัจสี่ อันเราแสดงแล้ว โดย ประการที่แสดงแล้วอย่างนั้นๆ เถิด.

แน่ะภิกษุ ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอพึง ทำความเพียรเพื่อให้รู้ตามเป็นจริง ว่า “นี้เป็น ทุกข์ นี้เป็นเหตุ ให้เกิดขึ้น แห่งทุกข์ นี้เป็นความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ นี้เป็นทางดำเนินให้ถึง ความดับ ไม่เหลือแห่งทุกข์” ดังนี้เถิด.


หน้า 118 (ภาคนำ)
หน้าที่อันเกี่ยวกับอริยสัจ มีสี่ชนิด

ภิกษุ ท. ! ความจริงอันประเสริฐมีสี่อย่างเหล่านี้.
สี่อย่างเหล่าไหนเล่า ? สี่อย่างคือ
ความจริงอันประเสริฐ คือ ทุกข์ - เหตุให้ เกิดทุกข์ - ความดับไม่เหลือของทุกข์ และทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์.
ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แลคือ ความจริงอัน ประเสริฐสี่อย่าง.

ภิกษุ ท. ! ในความจริงอันประเสริฐสี่อย่างเหล่านี้
ความจริงอันประเสริฐ ที่ควรกำหนดรอบรู้ ก็มี
ความจริงอันประเสริฐ ที่ควรละเสียก็มี
ความจริงอันประเสริฐ ที่ควรทำให้แจ้ง ก็มี
และความจริงอันประเสริฐ ที่ควรทำให้เจริญ ก็มี.

ภิกษุ ท. ! ความจริงอันประเสริฐ ที่ควรกำหนดรอบรู้ ได้แก่
ความจริงอันประเสริฐ คือทุกข์
ความจริงอันประเสริฐ ที่ควรละเสีย ได้แก่
ความจริงอันประเสริฐ คือเหตุให้เกิดทุกข์
ความจริงอันประเสริฐ ที่ควรทำให้แจ้งได้แก่
ความจริงอันประเสริฐ คือความดับ ไม่เหลือของ ทุกข์
และ ความจริงอันประเสริฐ ที่ควรทำให้เจริญ ได้แก่
ความจริงอันประเสริฐ คือทางดำเนินให้ถึงความดับ ไม่เหลือของทุกข์.

ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอพึงทำความเพียรเพื่อให้รู้ตามเป็นจริงว่า “นี้เป็นทุกข์ นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ นี้เป็น ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ นี้เป็นทางดำเนินให้ถึง ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์” ดังนี้เถิด.


หน้า 119 (ภาคนำ)
อริยสัจสี่ มีสามรอบ มีสิบสองอาการ

๑. ภิกษุ ท. ! ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา และแสงสว่างของเราได้เกิดขึ้นแล้ว ในธรรมที่เราไม่เคยได้ยินได้ฟังมาแต่ก่อนว่า
       ๑. นี้เป็นความจริงอันประเสริฐคือทุกข์
       ๒. ความจริงอันประเสริฐคือทุกข์นี้ ควรกำหนดรอบรู้
       ๓. ความจริงอันประเสริฐคือทุกข์นี้ เราได้กำหนดรอบรู้แล้ว.

๒. ภิกษุ ท. ! ดวงตา ฯลฯ แสงสว่างของเรา ได้เกิดขึ้นแล้วในธรรมที่เราไม่เคยได้ยิน ได้ฟังมาแต่ก่อนว่า
       ๑. นี้เป็นความจริงอันประเสริฐคือเหตุให้เกิดทุกข์
       ๒. ความจริงอันประเสริฐคือเหตุให้เกิดทุกข์นี้ ควรละเสีย
       ๓. ความจริงอันประเสริฐคือเหตุให้เกิดทุกข์นี้ เราได้ละเสียแล้ว.

๓. ภิกษุ ท. ! ดวงตา ฯลฯ แสงสว่างของเรา ได้เกิดขึ้นแล้วในธรรมที่เราไม่เคยได้ยิน ได้ฟังมาแต่ก่อนว่า
       ๑. นี้เป็น ความจริงอันประเสริฐคือความดับไม่เหลือของทุกข์
       ๒. ความจริงอันประเสริฐคือ ความดับไม่เหลือของทุกข์ นี้ ควรทำให้แจ้ง,
       ๓. ความจริงอันประเสริฐคือ ความดับไม่เหลือของทุกข์ นี้ เราได้ทำให้แจ้งแล้ว.

๔. ภิกษุ ท. ! ดวงตา ฯลฯ แสงสว่างของเรา ได้เกิดขึ้นแล้วในธรรมที่เราไม่เคยได้ยินได้ฟังมาแต่ก่อนว่า
       ๑. นี้เป็น ความจริงอันประเสริฐคือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์
       ๒. ความจริงอันประเสริฐคือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ นี้ ควรทำให้เจริญ
       ๓. ความจริงอันประเสริฐคือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์นี้ เราได้ ทำให้เจริญแล้ว.

ภิกษุ ท. ! ตลอดเวลาที่ ปัญญาเครื่องรู้เห็นตามเป็นจริง ในอริยสัจสี่อันมีรอบสาม มีอาการสิบสอง เช่นนี้ ยังไม่บริสุทธิ์สะอาดด้วยดี เราก็ยังไม่ปฏิญญา ว่า ได้ตรัสรู้ รู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ อยู่เพียงนั้น.

เมื่อใด บริสุทธ์ิสะอาดด้วยดี เมื่อนั้น เราก็ ปฏิญญาว่า ได้ตรัสรู้รู้พร้อมเฉพาะแล้ว ซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ.


หน้า 120 (ภาคนำ)
อริยสัจสี่ เนื่องกันจนเห็นแต่อริยสัจเดียวไม่ได้

ท่านผู้มีอายุ ท. ! ข้าพเจ้าได้รับฟังเรื่องนี้มาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

“ภิกษุ ท. ! ผู้ใดเห็นทุกข์ ผู้นั้น
ย่อมเห็นแม้ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์
ย่อมเห็นแม้ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ย่อมเห็นแม้ซึ่งทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.

ผู้ใดเห็นเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ ผู้นั้น
ย่อมเห็นแม้ซึ่งทุกข์
ย่อมเห็นแม้ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ย่อมเห็นแม้ซึ่งทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.

ผู้ใดเห็นความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ผู้นั้น ย่อมเห็นแม้ซึ่งทุกข์ย่อมเห็นแม้ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ ย่อมเห็นแม้ซึ่งทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.

ผู้ใดเห็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
ผู้นั้น ย่อมเห็นแม้ซึ่งทุกข์
ย่อมเห็นแม้ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์
ย่อมเห็นแม้ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.”
ดังนี้ แล.

(ความหมายของคำว่า “จากพระโอษฐ์” ในกรณีอย่างนี้ หมายความว่าท่านผู้กล่าวเป็นผู้ยืนยัน ในที่นี้ ว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสอย่างนั้นจริง.)

ขยายความแบบกระชับของจตุราริยสัจหรือ “ขยายความแห่งคำว่า รอบสามอาการสิบสอง”

....ภิกษุ ท. ! ธรรมเหล่าไหนเล่า ควรกำหนดรอบรู้ ด้วยปัญญาอันยิ่ง ? คำตอบคือ อุปาทานขันธ์ห้า ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ รูปเป็นอุปาทานขันธ์ เวทนาเป็นอุปาทานขันธ์ สัญญาเป็นอุปาทานขันธ์ สังขารเป็นอุปาทานขันธ์ และวิญญาณ เป็น อุปาทานขันธ์.

ภิกษุ ท. ! ธรรมเหล่าไหนเล่า ควรละ ด้วยปัญญาอันยิ่ง ? คำตอบคือ อวิชชา และ ภวตัณหา

ภิกษุ ท. ! ธรรมเหล่าไหนเล่า ควรทำให้แจ้ง ด้วยปัญญาอันยิ่ง ? คำตอบคือวิชชา และ วิมุตติ. ภิกษุ ท. ! ธรรมเหล่าไหนเล่า ควรทำให้เจริญ ด้วยปัญญาอันยิ่ง ? คำตอบคือ สมถะ และ วิปัสสนา.

อุปาทานขันธ์ = ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือ โดยสรุปได้แก่ ทุกขสัจ อวิชชา และ ภวตัณหา ได้แก่ สมุทัยสัจ วิชชา คือความรู้แจ้งวิมุตติ คือความหลุดพ้น ได้แก่ นิโรธสัจ สมถะคืออุบายสงบใจเป็นสมาธิ วิปัสสนา คืออุบายให้เห็นแจ้ง ในธรรมทั้งปวง ได้แก่ มรรคสัจ จึงอาจจะกล่าวได้ว่าเป็นไวพจน์ของจตุราริยสัจ ในที่นี้ที่ใช้คำว่า “อาจจะกล่าว” ก็เพราะว่า พระองค์มิได้ตรัสโดยตรงเหมือนอย่างเช่น คำที่ใช้แทนชื่อของตถาคตบ้าง หรืออย่างตถาคต วิหาร ที่ใช้แทน อานาปานสติ เป็นต้น. - ผู้รวบรวม.


หน้า 122 (ภาคนำ)
ขยายความของจตุราริยสัจ (อีกนัยหนึ่ง)
(ทรงแสดงด้วยคำว่า อันตะ)

ภิกษุ ท. ! อันตะ ๔ อย่างเหล่านี้ มีอยู่
สี่อย่างเหล่าไหนเล่า? สี่อย่างคือ
  อันตะ คือสักกายะ
  อันตะ คือสักกายสมุทัย
  อันตะ คือสักกายนิโรธ
  อันตะ คือสักกายนิโรธคามินีปฏิปทา.

ภิกษุ ท. ! อันตะ คือสักกายะ เป็นอย่างไรเล่า ?
ควรจะกล่าวว่าได้แก่ อุปาทานขันธ์ห้า. ห้าอย่างไรเล่า ? ห้าอย่างคือ
  รูปูปาทานขันธ์
  เวทนูปาทานขันธ์
  สัญญูปาทานขันธ์
  สังขารูปาทานขันธ์
  วิญญาณูปาทานขันธ์
ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า อันตะ คือสักกายะ.

ภิกษุ ท. ! อันตะ คือสักกายสมุทัย เป็นอย่างไรเล่า ?
คือตัณหาอันเป็นเครื่องทำให้มีการเกิดอีก ประกอบด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจความเพลิน มีปกติทำให้เพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ ได้แก่ตัณหาเหล่านี้คือ
  กามตัณหา
  ภวตัณหา
  วิภวตัณหา.
ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า อันตะคือสักกายสมุทัย.

ภิกษุ ท. ! อันตะ คือสักกายนิโรธ เป็นอย่างไรเล่า ?
คือความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือ
  ความสละทิ้ง
  ความสลัดคืน
  ความปล่อย
  ความทำไม่ให้มีที่อาศัย ซึ่งตัณหานั้นนั่นแหละ.
ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า อันตะคือสักกายนิโรธ.

ภิกษุ ท. ! อันตะ คือสักกายนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นอย่างไรเล่า ?
คือ หนทางอันประเสริฐ ซึ่งประกอบด้วย องค์แปดประการนี้เอง กล่าวคือ
  สัมมาทิฏฐิ
  สัมมาสังกัปปะ
  สัมมาวาจา
  สัมมากัมมันตะ
  สัมมาอาชีวะสัมมาวายามะ
  สัมมาสติ
  สัมมาสมาธิ.
ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า อันตะคือสักกายนิโรธคามินีปฏิปทา.

ภิกษุ ท. ! อันตะ ๔ อย่าง เหล่านี้แล.


หน้า 123 (ภาคนำ)
ขยายความของจตุราริยสัจ (อีกนัยหนึ่ง)
(ทรงแสดงด้วยคำว่า สักกายะ)

ภิกษุ ท. ! เราจะแสดง ซึ่ง สักกายะ สักกายสมุทัย สักกายนิโรธ และ สักกายนิโรธคามินีปฏิปทา แก่พวกเธอ.
เธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.

ภิกษุ ท. ! สักกายะ เป็นอย่างไรเล่า ?
ควรจะกล่าวว่าได้แก่อุปาทานขันธ์ห้า. อุปาทานขันธ์ห้าเหล่าไหนเล่า ?
  อุปาทานขันธ์ห้า คือ
  รูปู-ปาทานขันธ์
  เวทนูปาทานขันธ์
  สัญญูปาทานขันธ์
  สังขารูปาทานขันธ์วิญญาณูปาทานขันธ์.
ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า สักกายะ.

ภิกษุ ท. ! สักกายสมุทัย เป็นอย่างไรเล่า ?
คือ ตัณหาอันเป็นเครื่องทำให้มีการเกิดอีก ประกอบด้วยความกำหนัด เพราะอำนาจ ความเพลินมีปกติทำให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ ได้แก่ตัณหาเหล่านี้ คือ
  กามตัณหา
  ภวตัณหา
  วิภวตัณหา.
ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า สักกายสมุทัย.

ภิกษุ ท. ! สักกายนิโรธ เป็นอย่างไรเล่า ? คือ
  ความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือ
  ความสละทิ้ง
  ความสลัดคืน
  ความปล่อย
  ความทำไม่ให้มีที่อาศัย ซึ่งตัณหานั้นนั่นแหละ.
ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า สักกายนิโรธ.

ภิกษุ ท. ! สักกายนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นอย่างไรเล่า ?
คือหนทางอันประเสริฐ ซึ่งประกอบด้วยองค์แปดประการ กล่าวคือ
  สัมมาทิฏฐิ
  สัมมาสังกัปปะ
  สัมมาวาจา
  สัมมากัมมันตะ
  สัมมาอาชีวะ
  สัมมาวายามะ
  สัมมาสติ
  สัมมาสมาธิ.
ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า สักกายนิโรธคามินีปฏิปทา ดังนี้แล.


หน้า 124 (ภาคนำ)
ขยายความของจตุราริยสัจ (อีกนัยหนึ่ง)
(ทรงแสดงด้วยคำว่า โลก)


ภิกษุ ท. ! โลก เป็นสิ่งที่ตถาคตได้รู้พร้อมเฉพาะแล้ว ตถาคตเป็นผู้ถอนตนจากโลกได้แล้ว. เหตุให้เกิดโลก เป็นสิ่งที่ตถาคตได้รู้พร้อมเฉพาะแล้ว. ตถาคต ละเหตุให้เกิดโลกได้แล้ว. ความดับไม่เหลือแห่งโลก เป็นสิ่งที่ตถาคต รู้พร้อมเฉพาะแล้ว ตถาคต ทำให้แจ้งความดับไม่เหลือแห่งโลกได้แล้ว. ทางให้ถึง ความดับไม่เหลือแห่งโลก เป็นสิ่งที่ตถาคตรู้พร้อมเฉพาะแล้ว. ตถาคต ทำให้เกิดมีขึ้นได้แล้ว ซึ่งทางให้ถึงความดับ ไม่เหลือแห่งโลกนั้น.

....แน่ะเธอ ! ในร่างกายที่ยาววาหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยสัญญาและใจนี่เอง เราได้บัญญัติ โลก เหตุเกิดของโลก ความดับ ไม่เหลือ ของโลก และทางให้ถึงความดับไม่เหลือของโลกไว้.


หน้า 125 (ภาคนำ)
อริยสัจสี่ ที่ทรงแสดงโดยพิสดาร
(นัยที่หนึ่ง)

ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นธรรมในธรรม ท. คืออริยสัจ ๔ อย่างอยู่นั้น เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้
ย่อมรู้แจ้งชัดตามเป็นจริงว่า “นี้คือทุกข์”
ย่อมรู้แจ้งชัดตามเป็นจริงว่า “นี้คือเหตุให้เกิดทุกข์”
ย่อมรู้แจ้งชัด ตามเป็นจริงว่า“นี้คือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์”
ย่อมรู้แจ้งชัดตามเป็นจริงว่า “นี้คือหนทางเป็นเครื่องให้ถึง ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์”



หน้า 125-1 (ภาคนำ)
๑. ทุกขอริยสัจ

ภิกษุ ท. ! ก็ อริยสัจคือทุกข์ นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? ความเกิดก็เป็นทุกข์ ความแก่ก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์ ความโศก ความร่ำไร-รำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์ ความระคนด้วยสิ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ ความที่ตนปรารถนาแล้วไม่ได้สิ่งนั้นสมหวัง ก็เป็นทุกข์ กล่าวโดยย่อ ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือทั้ง ๕ เป็นทุกข์.

ภิกษุ ท. ! ความเกิด เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! การเกิดการกำเนิด การก้าวลง (สู่ครรภ์) การบังเกิด การบังเกิดโดยยิ่ง ภาวะแห่งความปรากฏของขันธ์ทั้งหลาย การที่สัตว์ได้อายตนะทั้งหลาย ในจำพวกสัตว์นั้น ๆ ของสัตว์นั้น ๆ นี้เราเรียกว่าความเกิด.

ภิกษุ ท. ! ความแก่ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ความแก่ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด ความมีผมหงอก ความมีหนังเหี่ยว ความสิ้นไป ๆ แห่งอายุ ความแก่รอบแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ในสัตวนิกายนั้น ๆ ของสัตว์เหล่านั้น ๆ นี้เราเรียกว่าความแก่.

ภิกษุ ท. ! ความตาย เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! การจุติความเคลื่อน การแตกสลาย การหายไป การวายชีพ การตาย การทำกาละการแตกแห่งขันธ์ ท. การทอดทิ้งร่าง การขาดแห่งอินทรีย์คือชีวิต จากจำพวกสัตว์นั้น ๆ ของสัตว์เหล่านั้น ๆ นี้เราเรียกว่าความตาย.

ภิกษุ ท. ! ความโศก เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ความโศกการโศก ภาวะแห่งการโศก ความโศกในภายใน ความโศกทั่วใน ภายใน ของบุคคลผู้ประกอบแล้วด้วยความฉิบหายอันใดอันหนึ่ง หรือของบุคคล ผู้อันความทุกข์ อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว นี้เราเรียกว่าความโศก.

ภิกษุ ท. ! ความรํ่าไรรำพัน เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ความคร่ำครวญ ความร่ำไรรำพัน การคร่ำครวญ การร่ำไรรำพัน ภาวะแห่งผู้คร่ำครวญภาวะแห่งผู้ร่ำไรรำพัน ของบุคคลผู้ประกอบแล้ว ด้วยความฉิบหายอันใดอันหนึ่งหรือของบุคคล ผู้อันความทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว. นี้เราเรียกว่าความร่ำไรรำพัน.

ภิกษุ ท. ! ความทุกข์กาย เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! การทนได้ยากที่เป็นไปทางกาย การไม่ดี (คือไม่สบายเป็นปกติ) ที่เป็นไปทางกายการทนยากที่เกิดแต่ความกระทบทางกาย ความรู้สึกที่ไม่ดีอันเกิดแต่ความกระทบทางกายใด ๆ นี้เราเรียกว่าความทุกข์กาย.

ภิกษุ ท. ! ความทุกข์ใจ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! การทนยากที่เป็นไปทางใจ การไม่ดี (คือไม่สบายเป็นปกติ) ที่เป็นไปทางใจ การทนยากที่เกิดแต่ความกระทบทางใจ ความรู้สึกที่ไม่ดีอันเกิดแต่ความกระทบทางใจใดๆ นี้เราเรียกว่าความทุกข์ใจ.

ภิกษุ ท. ! ความคับแค้นใจ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ความกลุ้มใจ ความคับแค้นใจ ภาวะแห่งผู้กลุ้มใจ ภาวะแห่ง ผู้คับแค้นใจ ของบุคคลผู้ประกอบแล้วด้วยความฉิบหาย อันใดอันหนึ่ง หรือของบุคคลผู้อันทุกข์ อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว นี้เราเรียกว่า ความคับแค้นใจ.

ภิกษุ ท. ! ความระคนด้วยสิ่งไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ในโลกนี้ อารมณ์คือรูป เสียง รส โผฏฐัพพะเหล่านั้น อันเป็นที่ไม่น่า ปรารถนา รักใคร่พอใจ แก่ผู้ใด หรือว่าชนเหล่าใดเป็นผู้ไม่หวังประโยชน์ ไม่หวังความเกื้อกูล ไม่หวัง ความผาสุก ไม่หวังความเกษมจากเครื่องผูกรัด ต่อเขา. การที่ไปด้วยกัน การมาด้วยกัน การหยุดอยู่ร่วมกัน ความปะปนกันกับด้วยอารมณ์ หรือบุคคลเหล่านั้น นี้เราเรียกว่า ความระคน ด้วยสิ่งไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์.

ภิกษุ ท. ! ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักเป็นทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ในโลกนี้ อารมณ์คือรูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะเหล่านั้น อันเป็นที่ปรารถนา รักใคร่พอใจ ของผู้ใด หรือว่าชนเหล่าใด เป็นผู้หวังประโยชน์หวังความเกื้อกูล หวังความผาสุก หวังความเกษมจากเครื่องผูกรัด ต่อเขา คือมารดาบิดา พี่น้องชาย พี่น้องหญิง มิตร อมาตย์ ญาติสาโลหิตก็ตาม การที่ไม่ได้ไปร่วม การที่ไม่ได้มาร่วม การไม่ได้หยุดอยู่ร่วม ไม่ได้ปะปนกับ ด้วยอารมณ์ หรือบุคคลเหล่านั้น นี้เราเรียกว่า ความพลัดพราก จากสิ่งเป็นที่รักเป็นทุกข์.

ภิกษุ ท. ! ความที่สัตว์ปรารถนาแล้วไม่ได้สิ่งนั้นสมหวังเป็นทุกข์เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ความปรารถนาเกิดขึ้น แก่สัตว์ ผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า “โอหนอ ! ขอเรา ท. ไม่พึงเป็นผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา และความเกิดไม่พึงมาถึงเรา ท. หนอ” ก็ข้อนี้ไม่ใช่สัตว์ จะบรรลุได้ด้วย ความปรารถนา. แม้นี้ก็ชื่อว่า ปรารถนาสิ่งใดแล้ว ไม่ได้สิ่งนั้นเป็นทุกข์.

ภิกษุ ท. ! ความปรารถนาเกิดขึ้นแก่สัตว์ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า “โอหนอ ! ขอเรา ท. ไม่พึงเป็นผู้มีความแก่ เป็นธรรมดา และความแก่ไม่พึงมาถึงเรา ท.หนอ” ก็ข้อนี้ไม่ใช่สัตว์ จะบรรลุได้ด้วยความปรารถนา. แม้นี้ก็ชื่อว่า ปรารถนาสิ่งใดแล้ว ไม่ได้สิ่งนั้น เป็นทุกข์.

ภิกษุ ท. ! ความปรารถนาเกิดขึ้นแก่หมู่สัตว์ผู้มีความเจ็บป่วยเป็นธรรมดา.... มีความตายเป็น ธรรมดา.... มีความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ เป็นธรรมดา....(ความทำนองเดียวกันกับข้างต้น) .... ก็ข้อนี้ไม่ใช่สัตว์จะบรรลุได้ด้วยความ ปรารถนา. แม้นี้ก็ชื่อว่า ปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้สิ่งนั้น เป็นทุกข์.

ภิกษุ ท. ! กล่าวโดยย่อ ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือทั้ง ๕ เป็นทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? นี้คือ
ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือได้แก่ รูป
ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือได้แก่ เวทนา
ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือได้แก่ สัญญา
ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือได้แก่ สังขาร
ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือได้แก่ วิญญาณ.

ภิกษุ ท. ! เหล่านี้ เราเรียกว่า กล่าวโดยย่อขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือเป็นทุกข์.

ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่าอริยสัจ คือ ทุกข์.


129 (ภาคนำ)
๒. ทุกขสมุทยอริยสัจ


ภิกษุ ท. ! ก็อริยสัจคือเหตุให้เกิดทุกข์ นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? ตัณหานี้ใด ทำความเกิดใหม่เป็นปกติ เป็นไปกับ ด้วยความกำหนัดเพราะความเพลิน มักเพลินยิ่งในอารมณ์นั้นๆ นี้คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา.

ภิกษุ ท. ! ก็ตัณหานั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่ไหน ? เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในที่ไหน ? สิ่งใดในโลก มีภาวะเป็นที่รักมีภาวะเป็นที่ยินดี (ปิยรูปสาตรูป) ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดย่อมเกิดในสิ่งนั้น เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในสิ่งนั้น. ก็อะไรเล่า มีภาวะเป็นที่รักมีภาวะเป็นที่ยินดีในโลก ?

ตา...หู...จมูก...ลิ้น...กาย...ใจ... (แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะเป็นที่รักมีภาวะเป็น ที่ยินดี ในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ ในที่นั้น.

รูปทั้งหลาย... เสียงทั้งหลาย.... กลิ่นทั้งหลาย.... รสทั้งหลาย.... โผฏฐัพพะทั้งหลาย.... ธรรมารมณ์ทั้งหลาย.... (แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะเป็นที่รักมีภาวะเป็นยินดีในโลก ตัณหานี้เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในที่นั้น.

ความรู้แจ้งทางตา....ความรู้แจ้งทางหู.... ความรู้แจ้งทางจมูก.... ความรู้แจ้งทางลิ้น ....ความรู้แจ้งทางกาย....ความรู้แจ้งทางใจ.... (แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะเป็นที่รัก มีภาวะเป็นที่ยินดีในโลก ตัณหานี้เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในที่นั้น.

การกระทบทางตา...การกระทบทางหู... การกระทบทางจมูก...การกระทบทางลิ้น... การกระทบทางกาย... การกระทบทางใจ... (แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะเป็นที่รักมีภาวะ เป็นที่ยินดีในโลก ตัณหานี้เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไป ตั้งอยู่ในที่นั้น.

ความรู้สึกเกิดแต่การกระทบทางตา... ความรู้สึกเกิดแต่การกระทบทางหู... ความรู้สึกเกิดแต่การกระทบทางจมูก... ความรู้สึกเกิดแต่การกระทบทางลิ้น... ความรู้สึกเกิดแต่การกระทบทางกาย... ความรู้สึกเกิดแต่การกระทบทางใจ... (แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะเป็นที่รัก มีภาวะเป็นที่ยินดีในโลก ตัณหานี้เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในที่นั้น.

ความจำหมายในรูป... ความจำหมายในเสียง... ความจำหมายในกลิ่น...ความจำหมายในรส... ความจำหมายในโผฏฐัพพะ... ความจำหมายในธรรมารมณ์...(แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะเป็น ที่รักมีภาวะเป็นที่ยินดีในโลก ตัณหานี้เมื่อจะเกิดย่อมเกิดในที่นั้น เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อม เข้าไป ตั้งอยู่ในที่นั้น.

ความนึกถึงรูป...ความนึกถึงเสียง... ความนึกถึงกลิ่น... ความนึกถึงรส...ความนึกถึงโผฏฐัพพะ .... ความนึกถึงธรรมารมณ์... (แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะเป็นที่รัก มีภาวะเป็นที่ยินดีในโลก ตัณหานี้เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในที่นั้น.

ความอยากในรูป...ความอยากในเสียง... ความอยากในกลิ่น.. ความอยากในรส... ความอยาก ในโผฏฐัพพะ... ความอยากในธรรมารมณ์... (แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะเป็นที่รัก มีภาวะเป็น ที่ยินดีในโลก ตัณหานี้เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ใน ที่นั้น.

ความตริหารูป...ความตริหาเสียง... ความตริหากลิ่น... ความตริหารส...ความตริหาโผฏฐัพพะ... ความตริหาธรรมารมณ์... (แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะเป็นที่รักมีภาวะเป็นที่ยินดีในโลก ตัณหานี้เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในที่นั้น.

ความไตร่ตรองต่อรูป (ที่ตริหาได้แล้ว)...ความไตร่ตรองต่อเสียง...ความไตร่ตรองต่อกลิ่น... ความไตร่ตรองต่อรส... ความไตร่ตรองต่อโผฏฐัพพะ..ความไตร่ตรองต่อธรรมารมณ์... (แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะเป็นที่รักมีภาวะเป็นที่ยินดีในโลก ตัณหานี้เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น. เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในที่นั้น.

ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่าอริยสัจ คือ เหตุให้เกิดทุกข์.


132(ภาคนำ)
๓. ทุกขนิโรธอริยสัจ

ภิกษุ ท. ! อริยสัจคือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? คือความคลายคืน โดยไม่มีเหลือ และความดับไม่เหลือ ความละวาง ความสละคืนความผ่านพ้น ความไม่อาลัย ซึ่งตัณหานั้นนั่นเทียว.

ภิกษุ ท. ! ก็ ตัณหานั้นเมื่อบุคคลจะละได้ ย่อมละได้ในที่ไหน ? เมื่อจะดับ ย่อมดับได้ในที่ไหน ? สิ่งใดมีภาวะเป็นที่รัก มีภาวะเป็นที่ยินดีในโลก ตัณหานั้นเมื่อบุคคลจะละ ย่อมละได้ในสิ่งนั้น เมื่อจะดับย่อมดับ ได้ในสิ่งนั้น.

ก็อะไรเล่า มีภาวะเป็นที่รัก มีภาวะเป็นที่ยินดี ในโลก ? ตา... หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ... (แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะเป็นที่รัก มีภาวะเป็นที่ยินดี ในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละ ย่อมละได้ ในที่นั้น เมื่อจะดับ ย่อมดับได้ในที่นั้น.

รูปทั้งหลาย... เสียงทั้งหลาย... กลิ่นทั้งหลาย... รสทั้งหลาย... โผฏฐัพพะทั้งหลาย... ธรรมารมณ์ ทั้งหลาย... (แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะเป็นที่รัก มีภาวะเป็นที่ยินดี ในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละ ย่อมละได้ในที่นั้น เมื่อจะดับ ย่อมดับได้ในที่นั้น.

ความรู้แจ้งทางตา ... ความรู้แจ้งทางหู ... ความรู้แจ้งทางจมูก... ความรู้แจ้งทางลิ้น ... ความรู้แจ้งทางกาย ... ความรู้แจ้งทางใจ... (แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะเป็นที่รัก มีภาวะเป็นที่ยินดี ในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละย่อมละได้ในที่นั้น เมื่อจะดับ ย่อมดับได้ในที่นั้น.

การกระทบทางตา... การกระทบทางหู... การกระทบทางจมูก... การกระทบทางลิ้น... การกระทบทางกาย... การกระทบทางใจ... (แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะเป็นที่รัก มีภาวะเป็นที่ยินดี ในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละย่อมละได้ในที่นั้น เมื่อจะดับ ย่อมดับได้ใน ที่นั้น.

ความรู้สึกเกิดแต่การกระทบทางตา... ความรู้สึกเกิดแก่การกระทบทางหู... ความรู้สึกเกิดแต่การกระทบทางจมูก... ความรู้สึกเกิด แต่การกระทบทางลิ้น... ความรู้สึกเกิดแต่การกระทบทางกาย... ความรู้สึกเกิดแต่การกระทบทางใจ... (แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะเป็นที่รัก มีภาวะเป็นที่ยินดี ในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละ ย่อมละได้ในที่นั้น เมื่อจะดับ ย่อมดับได้ในที่นั้น.

ความจำหมายในรูป... ความจำหมายในเสียง... ความจำหมายในกลิ่น... ความจำหมายในรส... ความจำหมายในโผฏฐัพพะ... ความจำหมายในธรรมารมณ์... (แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะเป็นที่รัก มีภาวะเป็นที่ยินดีในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละ ย่อมละได้ ในที่นั้น เมื่อจะดับ ย่อมดับได้ในที่นั้น

ความนึกถึงรูป ... ความนึกถึงเสียง... ความนึกถึงกลิ่น... ความนึกถึงรส... ความนึกถึง โผฏฐัพพะ... ความนึกถึงธรรมารมณ์ ... (แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะเป็นที่รัก มีภาวะเป็น ที่ยินดี ในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละย่อมละได้ในที่นั้น เมื่อจะดับ ย่อมดับได้ในที่นั้น.

ความอยากในรูป... ความอยากในเสียง... ความอยากในกลิ่น....ความอยากในรส... ความอยาก ในโผฏฐัพพะ... ความอยากใน ธรรมารมณ์...(แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะเป็นที่รัก มีภาวะเป็นที่ยินดี ในโลก ตัณหานี้เมื่อจะละ ย่อมละได้ในที่นั้น เมื่อจะดับ ย่อมดับได้ในที่นั้น.

ความตริหารูป ... ความตริหาเสียง ... ความตริหากลิ่น... ความตริหารส... ความตริหาโผฏฐัพพะ... ความตริหาธรรมารมณ์ ... (แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะเป็นที่รัก มีภาวะเป็นที่ยินดี ในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละย่อมละได้ในที่นั้น เมื่อจะดับ ย่อมดับได้ใน ที่นั้น.

ความไตร่ตรองต่อรูป (ที่ตริหาได้แล้ว) ... ความไตร่ตรองต่อเสียง ... ความไตร่ตรองต่อกลิ่น... ความไตร่ตรองต่อรส... ความไตร่ตรองต่อโผฏฐัพพะ ... ความไตร่ตรองต่อธรรมารมณ์... (แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะเป็นที่รัก มีภาวะเป็นที่ยินดี ในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละ ย่อมละได้ในที่นั้น เมื่อจะดับ ย่อมดับได้ในที่นั้น.

ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่าอริยสัจคือ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.


135 (ภาคนำ)
๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ


ภิกษุ ท. ! ก็ อริยสัจ คือหนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? คือ หนทางอันประกอบด้วย องค์แปดอันประเสริฐนี้เอง องค์แปดคือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบอาชีวะชอบ ความเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.

ภิกษุ ท. ! ความเห็นชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุ ท. ! ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์ ความรู้ในความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ความรู้ในหนทาง เป็นเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่ง ทุกข์ อันใด นี้เราเรียกว่าความเห็นชอบ.

ภิกษุ ท. ! ความดำริชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุ ท. ! ความดำริในการออก (จากกาม) ความดำริ ในการไม่พยาบาท ความดำริ ในการ ไม่เบียดเบียน นี้เราเรียกว่า ความดำริชอบ.

ภิกษุ ท. ! วาจาชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุ ท. ! การเว้นจากการพูดเท็จ การเว้นจากการ พูดยุให้ แตกกัน การเว้นจากการพูดหยาบ การเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ นี้เราเรียกว่า วาจาชอบ.

ภิกษุ ท. ! การงานชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุ ท. ! การเว้นจากการฆ่าสัตว์ การเว้นจากการถือ เอา สิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ การเว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า การงานชอบ.

ภิกษุ ท. ! อาชีวะชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุ ท. ! อริยสาวกในกรณีนี้ละการหาเลี้ยงชีพ ที่ผิดเสีย สำเร็จความเป็นอยู่ ด้วยการหา เลี้ยงชีพที่ชอบ นี้เราเรียกว่า อาชีวะชอบ

ภิกษุ ท. ! ความเพียรชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมปลูกความ พอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อความไม่บังเกิดขึ้น แห่งอกุศลธรรม ทั้งหลาย อันลามกที่ยังไม่ได้บังเกิด ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียรย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อการละ เสียซึ่งอกุศลธรรมทั้งหลาย อันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้ว ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคอง จิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อการบังเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลายที่ยังไม่ได้บังเกิด ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภ ความเพียรย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อความยั่งยืน ความไม่เลอะเลือน ความงอกงามยิ่งขึ้น ความไพบูลย์ ความเจริญ ความเต็ม รอบ แห่งกุศลธรรมทั้งหลายที่บังเกิดขึ้นแล้ว. ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า ความเพียรชอบ

ภิกษุ ท. ! ความระลึกชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้เป็นผู้มีปกติ พิจารณา เห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร เครื่องเผาบาปมีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจ และ ความ ไม่พอใจในโลกออกเสียได้ เป็นผู้มีปกติ พิจารณา เห็นเวทนา ในเวทนาทั้งหลาย อยู่ มีความเพียรเครื่องเผาบาป มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจ และ ความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้ เป็นผู้มีปกติ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร เครื่องเผาบาป มีความ รู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลก ออกเสียได้ เป็นผู้มีปกติ พิจารณาเห็นธรรม ในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร เครื่องเผาบาป มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลก ออกเสียได้. ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า ความระลึกชอบ.

ภิกษุ ท. ! ความตั้งใจมั่นชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ สงัดแล้วจากกาม ทั้งหลาย สงัดแล้ว จากอกุศลธรรม ทั้งหลาย เข้าถึงฌานที่หนึ่ง อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่. เพราะวิตกวิจารรำงับลง เธอเข้าถึงฌานที่สอง อันเป็นเครื่องผ่องใส แห่งใจในภายในให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่ สมาธิ แล้วแลอยู่. เพราะปีติจางหายไป เธอเป็นผู้เพ่งเฉยอยู่ได้ มีสติ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม และได้เสวยสุขด้วยนามกาย ย่อมเข้าถึงฌานที่สาม อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย กล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุ ว่า “เป็นผู้เฉยอยู่ได้มีสติ มีความอยู่เป็นปกติสุข” แล้วแลอยู่ เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ และเพราะความดับหายแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน เธอย่อมเข้าถึงฌานที่สี่ อันไม่ทุกข์ และไม่สุข มีแต่สติอันบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่.
ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า สัมมาสมาธิ.

ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า อริยสัจคือหนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.


138 (ภาคนำ)
อริยสัจสี่ ที่ทรงแสดงโดยพิสดาร

(นัยที่สอง)

ภิกษุ ท. ! ธรรมอันเราแสดงแล้วว่า “เหล่านี้ คืออริยสัจทั้งหลาย ๔ ประการ” ดังนี้ เป็นธรรมอันสมณพราหมณ์ ผู้รู้ทั้งหลาย ข่มขี่ไม่ได้ ทำให้เศร้าหมองไม่ได้ ติเตียนไม่ได้ คัดง้างไม่ได้.

ข้อนี้ เป็นธรรมที่เรากล่าวแล้วอย่างนี้ เราอาศัยซึ่งอะไรเล่า จึงกล่าวแล้วอย่างนี้ ?

ภิกษุ ท. ! เพราะอาศัยซึ่งธาตุทั้งหลาย ๖ ประการ การก้าวลงสู่ครรภ์ ย่อมมี เมื่อการก้าวลง สู่ครรภ์มีอยู่ นามรูป ย่อมมี เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะมีสฬายตนะ เป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา.

ภิกษุ ท. !
เราย่อมบัญญัติว่า “นี้ เป็นความทุกข์” ดังนี้ ว่า” นี้ เป็ นทุกขสมุทัย” ดังนี้ ว่า “นี้เป็นทุกขนิโรธ” ดังนี้ ว่า “นี้เป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา” ดังนี้ แก่สัตว์ผู้สามารถเสวยเวทนา.

ภิกษุ ท. ! ทุกขอริยสัจ เป็นอย่างไรเล่า ? แม้ความเกิด ก็เป็นทุกข์,แม้ความแก่ ก็เป็นทุกข์ แม้ความตาย ก็เป็นทุกข์, แม้โสกะปริ เทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย ก็เป็นทุกข์ การประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์ ความพลัดพราก จากสิ่งเป็นที่รัก เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็เป็นทุกข์ กล่าวโดยย่อ ปัญจุปาทานขันธ์ทั้งหลายเป็นทุกข์.
ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า ทุกขอริยสัจ.

ภิกษุ ท. ! ทุกขสมุทยอริสัจ เป็นอย่างไรเล่า ?
เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย
เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.
ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า ทุกขสมุทยอริยสัจ.

ภิกษุ ท. ! ทุกขนิโรธอริยสัจ เป็นอย่างไรเล่า ? เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว
จึงมีความดับ แห่งสังขาร
เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ เพราะมีความดับแห่งวิญญาณจึงมีความดับแห่งนามรูป
เพราะมีความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ
เพราะมีความดับสฬายตนะ จึงมีความดับแห่งผัสสะ
เพราะมีความดับแห่งผัสสะ จึงความดับแห่งเวทนา
เพราะมีความดับแห่งเวทนา จึงความดับแห่งตัณหา
เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน
เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ
เพราะมีความดับแห่งภพ จึงความดับแห่งชาติ
เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.
ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ.

ภิกษุ ท. ! ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นอย่างไรเล่า ? มรรคอันประเสริฐ ประกอบด้วย องค์ ๘ ประการ นี้นั่นเอง กล่าวคือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.
ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ.

ภิกษุ ท. ! ธรรมอันเราแสดงแล้วว่า “เหล่านี้ คืออริยสัจทั้งหลาย ๔ ประการ” ดังนี้ เป็นธรรมอันสมณพราหมณ์ ผู้รู้ทั้งหลายข่มขี่ ไม่ได้ ทำให้เศร้าหมองไม่ได้ ติเตียนไม่ได้ คัดง้างไม่ได้ ดังนี้อันใด อันเรากล่าวแล้ว ข้อนั้น เรากล่าวหมายถึงข้อความดังกล่าว มานี้ ดังนี้ แล.

ภาคนำ

ว่าด้วย ข้อความที่ควรทราบก่อนเกี่ยวกับจตุราริยสัจ

จบภาคนำ