เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

สาราณิยสูตร หลักการอยู่ร่วมกัน สงเคราะห์กันของเพื่อนพรหมจรรย์ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ด้วยเมตตา 2241
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒

สาราณิยสูตรที่ ๑ หลักการอยู่ร่วมกันของเพื่อนพรหมจรรย์
(๑) มี กายกรรม ประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อน พรหมจรรย์ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง
(๒) มี วจีกรรม ประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อน พรหมจรรย์ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง
(๓) มี มโนกรรม ประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อน พรหมจรรย์ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง
(๔) แบ่งปันลาภ ที่ได้มาโดยธรรม แม้อาหารบิณฑบาต ย่อมบริโภคร่วมกัน
(๕) มีศีลไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทย อันวิญญูชนสรรเสริญ
(๖) มีทิฐิอันเป็นอริยะ เป็นเครื่องนำออก นำออกไปเพื่อ ความสิ้นทุกข์โดยชอบ

สาราณิยสูตรที่ ๒ ธรรมเพื่อความสงเคราะห์กัน
(เนื้อความเช่นเดียวกับข้างต้นทั้ง ๖ ข้อ)

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๐๑

๑. สาราณิยสูตรที่ ๑
หลักการอยู่ร่วมกันของเพื่อนพรหมจรรย์

            [๒๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สาราณิยธรรม ๖ ประการนี้

๖ ประการเป็นไฉน คือ

           (๑) ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าไปตั้งกายกรรมประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อน พรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง แม้ข้อนี้ก็เป็นสาราณิยธรรม

           (๒) อีกประการหนึ่ง ภิกษุเข้าไปตั้งวจีกรรมประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อน พรหมจรรย์ ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง แม้ข้อนี้ก็เป็นสาราณิยธรรม

           (๓) อีกประการหนึ่ง ภิกษุเข้าไปตั้งมโนกรรมประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อน พรหมจรรย์ ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง แม้ข้อนี้ก็เป็นสาราณิยธรรม

           (๔) อีกประการหนึ่ง ภิกษุแบ่งปันลาภทั้งหลายที่ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดย ธรรม แม้โดยที่สุดบิณฑบาต ย่อมบริโภคร่วมกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายผู้มีศีล แม้ข้อนี้ ก็เป็นสาราณิยธรรม

          (๕)  อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีศีลไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทย อันวิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาทิฐิไม่ยึดถือเป็นไปพร้อมเพื่อสมาธิ เสมอกันกับ เพื่อน พรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง แม้ข้อนี้ก็เป็นสาราณิยธรรม

          (๖)  อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีทิฐิอันเป็นอริยะ เป็นเครื่องนำออก นำออกไปเพื่อ ความสิ้นทุกข์โดยชอบ แก่ผู้กระทำตาม เสมอกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้ง ต่อหน้า และลับหลัง แม้ข้อนี้ก็เป็นสาราณิยธรรม

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย สาราณิยธรรม ๖ ประการนี้แล


-----------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๐๒-๓๐๓

๒. สาราณิยสูตรที่ ๒
ธรรมเพื่อความสงเคราะห์กัน

            [๒๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการนี้ เป็นที่ตั้งแห่งการให้ระลึกถึง กระทำให้เป็นที่รัก เป็นที่เคารพ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงเคราะห์เพื่อความ ไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ

           (๑) ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าไปตั้งกายกรรมประกอบด้วยเมตตาในเพื่อน พรหมจรรย์ ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง แม้ธรรมข้อนี้ก็เป็นที่ตั้งแห่งการระลึกถึงกัน กระทำให้ เป็นที่รัก เป็นที่เคารพ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความ ไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

           (๒)  อีกประการหนึ่ง ภิกษุเข้าไปตั้งวจีกรรมประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อน พรหมจรรย์ ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ...

           (๓)  อีกประการหนึ่ง ภิกษุเข้าไปตั้งมโนกรรมที่ประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อน พรหมจรรย์ ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ...

           (๔)  อีกประการหนึ่ง ภิกษุแบ่งปันลาภทั้งหลายที่ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดย ธรรม แม้โดยที่สุดบิณฑบาต ย่อมบริโภคร่วมกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายผู้มีศีล ...

           (๕) อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้มีศีลไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทย อัน วิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาทิฐิไม่ยึดถือ เป็นไปเพื่อสมาธิ เสมอกันกับเพื่อน พรหมจรรย์ ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ...

           (๖)  อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีทิฐิอันเป็นอริยะ เป็นเครื่องนำออก นำออกไปเพื่อ ความสิ้นทุกข์โดยชอบแก่ผู้กระทำตาม เสมอกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้ง ต่อหน้า และลับหลัง แม้ธรรมข้อนี้ก็เป็นที่ตั้งแห่งการระลึกถึงกัน กระทำให้เป็นที่รัก เป็นที่เคารพ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกันเพื่อความ พร้อมเพรียง เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นที่ตั้งแห่งการระลึกถึงกัน กระทำให้ เป็นที่รัก เป็นที่เคารพ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน


 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์