เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

การณปาลีสูตร การณปาลีพราหมณ์ ถามปิงคิยานีพราหมณ์ หลังเข้าเฝ้าฯว่า เหตุใดจึงเลื่อมใสพระโคดมยิ่งนัก 2200
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒

การณปาลีสูตร ว่าด้วยพราหมณ์ชื่อการณปาลี
การณปาลีพราหมณ์ สอบถาม ปิงคิยานีพราหมณ์ หลังเข้าเฝ้าพระสมณะโคดม ว่า
ท่านปิงคิยานีเห็นอำนาจประโยชน์อะไร จึงเลื่อมใสยิ่งนัก ในพระสมณโคดม อย่างนี้
    ๑ ฟังธรรมของพระโคดมแล้ว อิ่มในรสอันเลิศ ไม่ปรารถนารส ที่เลวเหล่าอื่น
    ๒ เปรียบเหมือนบุรุษผู้หิว และอ่อนเพลีย ได้รวงผึ้งมาลิ้มรส ย่อมได้รสดี อันไม่เจือ
    ๓ เหมือนบุรุษได้กลิ่นหอมของไม้จันทน์ ตั้งแต่ยอดถึงราก
    ๔ เหมือนบุรุษอาพาธ มีทุกข์ แล้วมีแพทย์มารักษาโดยเร็ว
    ๕ เหมือนสระน้ำ มีน้ำใส แล้วมีบุรุษเหน็ดเหนื่อย หิว ระหาย เดินทางถึงแล้วลงไปในสระ

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๔๐-๒๔๒

๔. การณปาลีสูตร
การณปาลีพราหมณ์สรรเสริญพระโคดม

            [๑๙๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน ใกล้เมือง เวสาลี สมัยนั้น การณปาลีพราหมณ์ ใช้คนให้ทำการงานของเจ้าลิจฉวีอยู่ ได้เห็น ปิงคิยานีพราหมณ์ เดินมาแต่ไกล ครั้นแล้วได้ถามว่า อ้อ ท่านปิงคิยานี มาจากไหน แต่ยังวัน (แต่วันนัก) ปิงคิยานีพราหมณ์ตอบว่า ข้าพเจ้ามาจากสำนัก พระสมณโคดม

            กา. ท่านปิงคิยานีย่อมเข้าใจพระปรีชา (ความฉลาดด้วยปัญญา) ของพระสมณ โคดมว่า เห็นจะเป็นบัณฑิตนั้นอย่างไร

            ปิ. ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าคือใคร และเป็นอะไร จึงจักรู้พระปรีชาของพระสมณ โคดม ผู้ใดพึงรู้พระปรีชาของพระสมณโคดม แม้ผู้นั้นพึงเป็นเช่นกับพระสมณโคดมนั้น แน่นอน

            กา. ได้ยินว่า ท่านปิงคิยานีสรรเสริญพระสมณโคดมยิ่งนัก

            ปิ. ข้าพเจ้าคือใคร และเป็นอะไรจึงจักสรรเสริญพระสมณโคดม และท่าน พระ สมณโคดม พระองค์นั้น อันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายสรรเสริญแล้วๆ ว่าเป็นผู้ประเสริฐ ที่สุดกว่าเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย

            กา. ก็ท่านปิงคิยานีเห็นอำนาจประโยชน์อะไร จึงเลื่อมใสยิ่งนัก ในพระสมณ โคดม อย่างนี้

            ปิ. ท่านผู้เจริญ เปรียบเหมือนบุรุษ ผู้อิ่มในรสอันเลิศ แล้ว ย่อมไม่ปรารถนารส ที่เลวเหล่าอื่น ฉันใด บุคคลฟังธรรมของท่านพระโคดมพระองค์นั้นโดยลักษณะใดๆ คือ โดยสุตตะ โดยเคยยะ โดยไวยากรณ์ หรือโดยอัพภูตธรรม ย่อมไม่ปรารถนาวาทะ ของสมณะเป็นอันมากเหล่าอื่น โดยลักษณะนั้นๆ ฉันนั้น (ฟังธรรมของพระโคดมแล้ว ไม่อยาก ฟังธรรมของคนอื่น)

            เปรียบเหมือนบุรุษ ผู้ถูกความหิว และความอ่อนเพลียครอบงำ พึงได้รวงผึ้ง เขาพึงลิ้มรส โดยลักษณะใดๆ ก็ย่อมได้รสดี อันไม่เจือ ฉันใด บุคคลฟังธรรมของท่าน พระโคดมพระองค์นั้น โดยลักษณะใดๆ คือ โดยสุตตะ โดยเคยยะโดย ไวยากรณ์ หรือโดยอัพภูตธรรม ย่อมได้ความดีใจ ย่อมได้ความเลื่อมใส แห่งใจ โดยลักษณะนั้นๆ ฉันนั้น (ฟังธรรมของพระโคดมแล้วได้ความดีใจได้ความเลื่อมใส)

            เปรียบเหมือนบุรุษ พึงได้ไม้จันทน์ แห่งจันทน์เหลือง หรือจันทน์แดง พึงสูดกลิ่นจากที่ใดๆ เช่นจากราก จากลำต้น หรือจากยอด ก็ย่อม ได้กลิ่นหอมดี กลิ่นแท้ ฉันใด บุคคลฟังธรรมของท่านพระโคดมพระองค์นั้น โดยลักษณะใดๆ คือ โดยสุตตะ โดยเคยยะ โดยไวยากรณ์หรือโดยอัพภูตธรรม ก็ย่อมได้ความปราโมทย์ ย่อมได้โสมนัส โดยลักษณะนั้น ฉันนั้น (ฟังธรรมของพระโคดมแล้วได้ความปราโมทย์)

            เปรียบเหมือนบุรุษ ผู้อาพาธ มีทุกข์ เป็นไข้หนัก นายแพทย์ผู้ฉลาดพึงบำบัด อาพาธ ของเขาโดยเร็ว ฉันใด บุคคลฟังธรรมของท่านพระโคดมพระองค์นั้น โดย ลักษณะใดๆ คือ โดยสุตตะ โดยเคยยะ โดย ไวยากรณ์ หรือโดยอัพภูตธรรมความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ ความโทมนัส และความคับแค้นใจของเขา ย่อมหมดไปโดย ลักษณะนั้นๆ ฉันนั้น (ฟังธรรมของพระโคดมแล้ว ความทุกข์ ความแค้นใจย่อมหมดไป)

            เปรียบเหมือน สระน้ำ มีน้ำใสน่าเพลินใจ น้ำเย็น น้ำขาว มีท่าราบเรียบ น่ารื่นรมย์ บุรุษผู้ร้อนเพราะแดด ถูกแดดเผา เหน็ดเหนื่อย หิว ระหาย เดินมาถึง เขาลงไปในสระน้ำ นั้น อาบ ดื่ม พึงระงับ ความกระวนกระวาย ความเหน็ดเหนื่อย และความเร่าร้อนทั้งปวง ฉันใด บุคคลฟังธรรมของท่านพระโคดมพระองค์นั้น โดยลักษณะใดๆ คือ โดยสุตตะ โดยเคยยะ โดยไวยากรณ์ หรือโดยอัพภูตธรรม ความกระวนกระวาย ความเหน็ดเหนื่อย และความเร่าร้อน ทั้งปวงของเขา ก็ย่อมระงับไป โดยลักษณะนั้นๆ ฉันนั้น (ฟังธรรมของพระโคดมแล้ว ความเหนื่อย ความเร้าร้อนใจย่อมหมดไป)

            เมื่อปิงคิยานีพราหมณ์กล่าวอย่างนี้แล้ว การณปาลีพราหมณ์ลุกจากที่นั่ง ห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง คุกเข่าข้างขวาลงบนแผ่นดิน ประนมอัญชลีไปทาง ที่พระผู้มี พระภาคประทับอยู่ เปล่งอุทานสามครั้ง ว่า
ขอความนอบน้อม แด่พระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอความนอบน้อม แด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอความนอบน้อมแด่ พระผู้มี พระภาคอรหันตสัมมา สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

            แล้วกล่าวต่อไปว่า ท่านปิงคิยานี ภาษิตของท่านแจ่มแจ้งยิ่งนัก ท่านปิงคิยานี ภาษิตของท่าน แจ่มแจ้งยิ่งนัก ท่านปิงคิยานีประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือน บุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิดบอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่อง ประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูป ได้ฉะนั้น ข้าพเจ้านี้ขอถึงท่าน พระโคดม พระองค์นั้น กับทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่า เป็นสรณะ ขอท่าน ปิงคิยานี จงจำ ข้าพเจ้าว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิตจำเดิม ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์