เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

สากัจฉาสูตร ภิกษุผู้ควรสนทนา สาชีวสูตร ภิกษุผู้ควรอยู่ร่วมกัน ปัญหาปุจฉาสูตร ว่าด้วยการถามปัญหา สีลสูตร โทษแห่งการทุศีล คุณแห่งการมีศีล นิสันติสูตร เหตุให้ใคร่ครวญได้เร็ว 2219
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒

๓. สากัจฉาสูตร ภิกษุผู้ควรสนทนา
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสนะ ด้วยตนเอง และเป็นตอบปัญหา ที่มาได้

๔. สาชีวสูตร ภิกษุผู้ควรอยู่ร่วมกัน
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสนะ ด้วยตนเอง และเป็นตอบปัญหา ที่มาได้

๕. ปัญหาปุจฉาสูตร ว่าด้วยการถามปัญหา
ภิกษุบางรูปถามปัญหากะภิกษุอื่น เพราะโง่เขลา เพราะหลงลืม ปราถนาลามก ดูหมิ่น ประสงค์จะรู้ ถามเพื่อตอบเองหากภิกษุตอบไม่ชัดเจน

๘. สีลสูตร โทษแห่งการทุศีล คุณแห่งการมีศีล
เมื่อสัมมาสมาธิของภิกษุผู้ทุศีล มีศีลวิบัติ ย่อมไม่มีสัมมาสมาธิ ย่อมไม่มียถาภูตญาณทัสสนะ ย่อมไม่มีนิพพิทาวิราคะ ย่อมไม่มีวิมุตติญาณทัสสนะ

๙. นิสันติสูตร เหตุให้ใคร่ครวญได้เร็ว
ย่อมเป็นผู้ ฉลาดในอรรถ ฉลาดในธรรม ฉลาดในพยัญชนะ ฉลาดในนิรุตติ ฉลาดในเบื้องต้น และเบื้องปลาย

๑๐. ภัททชิสูตร พระอานนท์ถามพระภัททชิ
๑ การเห็นชนิดไหนเป็นยอดของการเห็น
๒ การได้ยินชนิดไหนเป็นยอด
๓ สุขชนิดไหนเป็นยอด
๔ สัญญาชนิดไหนเป็นยอด
๕ ภพชนิดไหนเป็นยอด

(ข้อสังเกตต่อภัททชิสูตรนี้)

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๙๓

๓. สากัจฉาสูตร
ภิกษุผู้ควรสนทนาด้วย


           [๑๖๓] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นผู้ควรเพื่อสนทนากับ เพื่อนพรหมจรรย์

ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
           ๑ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลโดยตนเอง และเป็นผู้แก้ปัญหา(ตอบปัญหา) ที่มา ด้วยศีลสัมปทา กถาได้
           ๒ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิโดยตนเอง และเป็นผู้แก้ปัญหาที่มาด้วยสมาธิ สัมปทากถาได้
           ๓ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาโดยตนเอง และเป็นผู้แก้ปัญหาที่มาด้วยปัญญา สัมปทากถาได้
           ๔ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติโดยตนเอง และเป็นผู้แก้ปัญหาที่มาด้วย วิมุตติ สัมปทากถาได้
           ๕ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ โดยตนเองและเป็นผู้แก้ปัญหา ที่มาด้วย วิมุตติญาณทัสสนะ สัมปทากถาได้

           ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้ควรเพื่อ สนทนากับเพื่อนพรหมจรรย์


------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๙๓-๑๙๔

๔. สาชีวสูตร
ภิกษุผู้ควรอยู่ร่วมกัน

           [๑๖๔] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นผู้ควรเป็นอยู่ร่วมกับ เพื่อนพรหมจรรย์

ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
           ๑ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลโดยตนเอง และเป็นผู้แก้ปัญหา(ตอบปัญหา) ที่มาด้วย ศีลสัมปทากถาได้
           ๒ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิโดยตนเองและเป็นผู้แก้ปัญหา ที่มาด้วยสมาธิ สัมปทากถาได้
           ๓
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาโดยตนเอง และเป็นผู้แก้ปัญหา ที่มาด้วยปัญญา สัมปทากถา ได้
           ๔
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติโดยตนเอง และเป็นผู้แก้ปัญหา ที่มาด้วยวิมุตติ สัมปทากถาได้
           ๕
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะโดยตนเอง และเป็นผู้แก้ปัญหาที่มา ด้วย วิมุตติญาณทัสสนสัมปทากถาได้

           ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้ควรเป็นอยู่ ร่วมกับ เพื่อนพรหมจรรย์


------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๙๔

๕. ปัญหาปุจฉาสูตร
ว่าด้วยการถามปัญหา

           [๑๖๕] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น รับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า ดูกรอาวุโส ทั้งหลาย ก็ภิกษุบางรูปย่อมถามปัญหากะภิกษุอื่น ด้วยเหตุ ๕ ประการ ทั้งหมด หรือ อย่างใดอย่างหนึ่ง

เหตุ ๕ ประการเป็นไฉน คือ
๑ ภิกษุบางรูปย่อมถามปัญหากะภิกษุอื่น เพราะโง่เขลา เพราะหลงลืม
๒ ภิกษุบางรูป เป็นผู้มีความปรารถนาลามก ถูกความปรารถนาครอบงำ จึงถามปัญหา กะภิกษุอื่น
๓ ภิกษุบางรูป ดูหมิ่น จึงถามปัญหากะภิกษุอื่น
๔ ภิกษุบางรูป ประสงค์จะรู้ จึงถามปัญหากะภิกษุอื่น
* อนึ่ง ภิกษุบางรูปคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุอื่นถ้าถูกเราถามปัญหา ก็จักแก้โดยชอบ ข้อนั้นเป็นความดี แต่ถ้าถูกเราถามปัญหา จักไม่แก้โดยชอบ เราเองจักแก้โดยชอบ แก่เธอ ดังนี้ จึงถามปัญหากะภิกษุอื่น

           ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ก็ภิกษุบางรูปย่อมถามปัญหากะภิกษุอื่น ด้วยเหตุ ๕ ประการ ทั้งหมดหรืออย่างใดอย่างหนึ่ง ส่วนข้าพเจ้าคิดอย่างนี้ว่า ถ้าภิกษุถูกเรา ถามปัญหาจักแก้โดยชอบ ข้อนั้นเป็นความดีแต่ถ้าถูกเราถามปัญหา จักไม่แก้โดยชอบ เราเองจักแก้โดยชอบแก่เธอ ดังนี้ จึงถามปัญหากะภิกษุอื่น

* สำนวนแปลของมหาจุฬา ข้อ ๕ (มีความเข้าใจกว่าฉบับหลวง)
๕. ภิกษุบางรูปคิดอย่างนี้ว่า ‘ภิกษุอื่นถ้าถูกเราถามปัญหาก็จักตอบให้ชัดเจน นั่นเป็นการดี แต่ถ้าตอบไม่ชัดเจน เราเองจักตอบให้ชัดเจน แก่เธอ’ จึงถามปัญหากับภิกษุอื่น

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๐๑-๒๐๓

๘. สีลสูตร
โทษแห่งการทุศีล-คุณแห่งการมีศีล

           [๑๖๘] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า

(ผู้ทุศีล)
           ดูกรอาวุโสทั้งหลาย
-สัมมาสมาธิของภิกษุผู้ทุศีล มีศีลวิบัติ ย่อมเป็นธรรมมี อุปนิสัย(สันดาน) ถูกขจัด

-เมื่อสัมมาสมาธิไม่มี ยถาภูตญาณทัสสนะของภิกษุ ผู้มีสัมมาสมาธิวิบัติ ย่อมเป็นธรรม มีอุปนิสัยถูกขจัด

-เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะไม่มี นิพพิทาวิราคะของภิกษุ ผู้มียถาภูตญาณทัสสนะวิบัติ ย่อมเป็นธรรมมีอุปนิสัยถูกขจัด

-เมื่อนิพพิทาวิราคะไม่มี วิมุตติญาณทัสสนะของภิกษุผู้มีนิพพิทาวิราคะวิบัติ ย่อมเป็นธรรมมีอุปนิสัยถูกขจัด

           เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบวิบัติ แม้กะเทาะของต้นไม้นั้น ก็ย่อมไม่ถึง ความบริบูรณ์ แม้เปลือก กระพี้ แก่นของต้นไม้นั้น ก็ย่อมไม่ถึงความบริบูรณ์ แม้ฉันใด

           ดูกรอาวุโสทั้งหลาย สัมมาสมาธิของภิกษุผู้ทุศีล มีศีลวิบัติ ย่อมเป็นธรรม มีอุปนิสัยถูกขจัด เมื่อสัมมาสมาธิไม่มี ยถาภูตญาณทัสสนะของภิกษุ ผู้มีสัมมาสมาธิวิบัติ ย่อมเป็นธรรมมีอุปนิสัยถูกขจัดเมื่อยถาภูตญาณทัสสนะไม่มี นิพพิทาวิราคะของภิกษุ ผู้มียถาภูตญาณทัสสนะวิบัติ ย่อมเป็นธรรมมีอุปนิสัยถูกขจัด เมื่อนิพพิทาวิราคะไม่มี วิมุตติญาณทัสสนะของภิกษุ ผู้มีนิพพิทาวิราคะวิบัติ ย่อมเป็นธรรมมีอุปนิสัยถูกขจัด ฉันนั้นเหมือนกัน

(ผู้มีศีล)

           ดูกรอาวุโสทั้งหลาย
- สัมมาสมาธิของภิกษุผู้มีศีลสมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมถึงพร้อม ด้วยธรรมเป็นอุปนิสัย

- เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่ ยถาภูตญาณทัสสนะของภิกษุ ผู้มีสัมมาสมาธิสมบูรณ์ ย่อมถึง พร้อม ด้วยธรรมเป็นอุปนิสัย

- เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะมีอยู่ นิพพิทาวิราคะของภิกษุ ผู้มียถาภูตญาณทัสสนะสมบูรณ์ ย่อมถึงพร้อมด้วยธรรมเป็นอุปนิสัย

- เมื่อนิพพิทาวิราคะมีอยู่ วิมุตติญาณทัสสนะของภิกษุผู้มี นิพพิทาวิราคะสมบูรณ์ ย่อมถึง พร้อมด้วยธรรมเป็นอุปนิสัย เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่ง และใบสมบูรณ์ แม้กะเทาะของต้นไม้นั้น ก็ย่อมถึงความบริบูรณ์ แม้เปลือก กระพี้ แก่นของต้นไม้นั้น ก็ย่อมถึงความ บริบูรณ์ แม้ฉันใด

           ดูกรอาวุโสทั้งหลาย สัมมาสมาธิของภิกษุผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมถึงพร้อม ด้วยธรรมเป็นอุปนิสัย เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่ ยถาภูตญาณทัสสนะของภิกษุ ผู้มีสัมมา สมาธิสมบูรณ์ ย่อมถึงพร้อมด้วยธรรมเป็นอุปนิสัย เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะมีอยู่ นิพพิทาวิราคะของภิกษุ ผู้มียถาภูตญาณทัสสนะสมบูรณ์ ย่อมถึงพร้อมด้วยธรรม เป็นอุปนิสัย เมื่อนิพพิทาวิราคะมีอยู่ วิมุตติญาณทัสสนะของภิกษุ ผู้มีนิพพิทาวิราคะ สมบูรณ์ ย่อมถึงพร้อมด้วยธรรมเป็นอุปนิสัย ฉันนั้นเหมือนกัน


------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๐๓

๙. นิสันติสูตร
เหตุให้ใคร่ครวญได้เร็ว
(พระอานนท์กล่าวกะพระสารีบุตร)


           [๑๖๙] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ ได้เข้าไปหาท่าน พระสารีบุตร ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัย กับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้วจึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า

           ดูกรอาวุโสสารีบุตร ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล ภิกษุจึงจะเป็นผู้ใคร่ครวญ ได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย เรียนได้ดี เรียนได้มาก และสิ่งที่เธอเรียนแล้ว ย่อม ไม่เลือนไป

           ท่านพระสารีบุตรได้ตอบว่า ท่านอานนท์แลเป็นพหูสูต ข้อความนั้น จงแจ่มแจ้ง แก่ท่านอานนท์ทีเดียว

           อา. ดูกรอาวุโสสารีบุตร ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ท่านพระสารีบุตร รับคำท่านพระอานนท์ว่า อย่างนั้น อาวุโส

           ท่านพระอานนท์ได้กล่าวว่า

           ดูกรอาวุโสสารีบุตร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้ ฉลาดในอรรถ ฉลาดในธรรม ฉลาดในพยัญชนะ ฉลาดในนิรุตติ และฉลาดในเบื้องต้น และเบื้องปลาย ด้วยเหตุเพียง เท่านี้แล ภิกษุจึงจะเป็นผู้ใคร่ครวญได้เร็วในกุศลธรรม ทั้งหลาย เรียนได้ดี เรียนได้มาก และสิ่งที่เธอเรียนแล้วย่อมไม่เลือนไป

           สา. ดูกรอาวุโส น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแล้ว ตามที่ท่านอานนท์กล่าวไว้ดีแล้วนี้ และพวกเราย่อมทรงจำท่านอานนท์ ผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ นี้ว่า ท่านอานนท์ เป็นผู้ฉลาดในอรรถ ฉลาดในธรรม ฉลาดในพยัญชนะ ฉลาดในนิรุตติและฉลาด ในเบื้องต้น และเบื้องปลาย

(ข้อสังเกตุจาก เว็บไซต์อนาคามี)
น่าแปลกใจที่พระอานนท์ซึ่งยังไม่บรรลุเป็นพระอรหันต์ แต่แสดงธรรมให้กับพระสารีบุตร ซึ่งเป็น พระอรหันต์ และเป็นผู้มีปัญญาเป็นเลิศรองจากพระพุทธเจ้า และแปลกใจยิ่งที่พระอานนท์ กล่าวกะ พระสารีบุตรว่า "ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจะกล่าว" เหมือนพระอานนท์สอนธรรมแก่พระสารีบุตร

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๐๔-๒๐๕

๑๐. ภัททชิสูตร
ท่านพระภัททชิเข้าหาพระอานนท์


           [๑๗๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์ อยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้กรุงโกสัมพี ครั้งนั้นแล ท่านพระภัททชิได้เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่าน พระอานนท์ ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ท่านพระอานนท์ได้ถามท่านพระภัททชิว่า

            ดูกรอาวุโสภัททชิ
บรรดาการเห็น ทั้งหลาย การเห็นชนิดไหนเป็นยอด
บรรดาการได้ยิน ทั้งหลาย การได้ยินชนิดไหนเป็นยอด
บรรดาสุข ทั้งหลาย สุขชนิดไหนเป็นยอด
บรรดาสัญญา ทั้งหลาย สัญญาชนิดไหนเป็นยอด
บรรดาภพ ทั้งหลาย ภพชนิดไหนเป็นยอด

           ท่านพระภัททชิตอบว่า ดูกรอาวุโส
(การเห็น- ความเห็นของพระภัททชิ)
พรหมผู้เป็นใหญ่ยิ่ง ไม่มีใครครอบงำได้ เห็นสิ่งทั้งปวง ยังผู้อื่นให้เป็นไปในอำนาจ มีอยู่ ผู้ใดเห็นพรหม นั้น การเห็นของผู้นั้น เป็นยอดของการเห็นทั้งหลาย (เห็นพรหม)

(การได้ยิน)
เทพเหล่าอาภัสสร
ผู้เพรียบพร้อมด้วยความสุขมีอยู่ เทพเหล่านั้นย่อมเปล่งอุทาน ในการบางครั้งบางคราวว่า สุขหนอๆ ผู้ใดได้ยินเสียงนั้น การได้ยินเสียงของผู้นั้น เป็นยอดของการได้ยินทั้งหลาย (ได้ยินเสียงเทวดาชั้นอาภัสระ)

(สุข)
เทพเหล่าสุภกิณหะมีอยู่ เทพเหล่านั้นยินดีเฉพาะสิ่งที่มีอยู่ ย่อมเสวยสุข การเสวยสุขนี้ เป็นยอดของความสุข ทั้งหลาย พวกเทพผู้เข้าถึงอากิญจัญญายตนภพมีอยู่ (สุขของเทวดาเหล่าสุภกิณหะ)

(สัญญา)
การเข้าถึงอากิญจัญญายตนภพนี้ เป็นยอดของสัญญาทั้งหลาย พวกเทพผู้เข้าถึง เนวสัญญานาสัญญายตนภพมีอยู่ (เข้าถึงอากิญ-เป็นยอดของสัญญา)

(ภพ)
การเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนภพนี้ เป็นยอดของ ภพ ทั้งหลาย (เข้าถึงภพของเนวสัญญา)

           อา. คำพูดของท่านภัททชินี้ ย่อมสมกับชนเป็นอันมาก(เป็นคำกล่าวของปุถุชน)

           ภ. ท่านพระอานนท์เป็นพหูสูต ขอความข้อนั้นจงแจ่มแจ้ง เฉพาะท่าน พระอานนท์เทียว

           อา. ดูกรอาวุโสภัททชิ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวท่าน พระภัททชิ รับคำท่านพระอานนท์ว่า อย่างนั้น อาวุโส ท่านพระอานนท์ได้กล่าวว่า

           ดูกรอาวุโส
(การเห็น-ในทัศนะของพระอานนท์)
ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ย่อมมีในลำดับแห่งบุคคล ผู้เห็นตามเป็นจริง นี้เป็นยอดของการเห็นทั้งหลาย

(การได้ยิน)
ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายย่อมมี ในลำดับแห่งบุคคลผู้ได้ยินตามเป็นจริง นี้เป็นยอดของการได้ยินทั้งหลาย

(ความสุข)
ความสิ้นไป แห่งอาสวะทั้งหลาย ย่อมมีในลำดับแห่งบุคคลผู้ได้รับความสุขตามเป็นจริง นี้เป็นยอดของความสุขทั้งหลาย

(สัญญา)
ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ย่อมมีในลำดับแห่งบุคคล ผู้มีสัญญาตามเป็นจริง นี้เป็นยอดของสัญญาทั้งหลาย

(ภพ)
ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ย่อมมีในลำดับแห่งบุคคล ผู้เป็นอยู่แล้วตามเป็นจริง นี้เป็นยอดของภพทั้งหลาย

  (ข้อสังเกตุจาก เว็บไซต์อนาคามี)

พระสูตร ภัททชิสูตร ดูแปลกๆ

1.การตั้งคำถามของพระอานนท์ ดูไม่สอดคล้อง ไม่เข้ากัน ไม่เป็นเหตุเป็นผลตามคำสอนฯ

2.พระภัททชิ เป็นภิกษุในพุทธศาสนา เป็นผู้อาวุโส บวชมานาน แต่ตอบคำถามที่ดูห่างไกลจาก หลักธรรม และ ไม่มีข้อไหนที่ใกล้เคียงกับความจริง จิตยังหลงไหลเป็นปลึ้มกับภพเทวดา เหมือนไม่เคยได้ยินคำสอนของพระศาสดามาก่อน คำตอบทั้งหมดมีแต่วนเวียนกับภพเทวดาทั้งสิ้น

3.พระอานนท์บอกว่า "ผู้มีสัญญาตามเป็นจริง" คือยอดของสัญญานั้นไม่น่าถูกต้อง และไม่ได้ เกี่ยวข้องกับการสิ้นอาสวะเลย เพราะสัญญาดับ(จากอุปาทาน) ไม่ได้หมายความว่าเป็นยอดของ สัญญา ถ้าหากตรรกะนี้เป็นจริง ดังนั้นการสิ้นราคะก็ต้องถือว่าเป็นยอดของราคะด้วย หรือการสิ้น อวิชชา ก็ต้องถือว่าเป็นยอดของอวิชชาด้วย

4.พระอานนท์บอกว่าการสิ้นไปแห่งอาสวะ เป็นยอดของภพทั้งหลาย นี้ก็ไม่น่าจะใช่ เพราะสิ้นอาสวะ
คือการสิ้นภพ ไม่ใช่ยอดของภพ


5. สรุปว่าพระสูตรนี้ น่าจะเป็นเรื่องที่แต่งขึ้นมาภายหลัง และยังมีอีกหลายพระสูตรในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ ที่มีความน่าสงสัยทำนองเดียวกันนี้
 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์