เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

มารปาสสูตร หากภิกษุเพลิดเพลินหมกมุ่นพัวพันรูป เรากล่าวว่าไปสู่ที่อยู่ของมาร 2043
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘

มารปาสสูตร

รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนาน่าใคร น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่
(เสียงที่พึงรู้แจ้งด้วยหู.. ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งด้วยใจ)

หากภิกษุเพลิดเพลิน หมกมุ่น พัวพันรูปนั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ไปสู่ที่อยู่ของมาร ตกอยู่ในอำนาจ ของมาร ถูกมารคล้อง รัด มัด ด้วยบ่วง ภิกษุนั้นพึงถูกมารผู้มีบาปใช้บ่วงทำได้ตามปรารถนา ฯลฯ


เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๐๓

โลกกามคุณวรรคที่ ๒

มารปาสสูตรที่ ๑

             [๑๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนาน่าใคร น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ หากภิกษุเพลิดเพลิน หมกมุ่น พัวพันรูป นั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ไปสู่ที่อยู่ของมาร ตกอยู่ในอำนาจของมาร ถูกมารคล้อง รัด มัด ด้วยบ่วง ภิกษุนั้นพึงถูกมารผู้มีบาปใช้บ่วงทำได้ตามปรารถนา ฯลฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ หากภิกษุเพลิดเพลิน หมกมุ่น พัวพัน ธรรมารมณ์นั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ไปสู่ที่อยู่ของมาร ตกอยู่ในอำนาจ ถูกมารคล้อง รัด มัดด้วยบ่วง ภิกษุนั้นพึงถูกมารผู้มีบาปใช้บ่วงทำได้ตามปรารถนา

             [๑๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ หากภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันรูปนั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ไม่ไปสู่ที่อยู่ของมารไม่ตกอยู่ในอำนาจ ของมาร ไม่ถูกมารคล้อง เป็นผู้พ้นจากบ่วงมาร ภิกษุนั้นอันมารผู้มีบาป พึงใช้บ่วง ทำตาม ความปรารถนาไม่ได้ ฯลฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลายธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ หากภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันธรรมารมณ์นั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ไม่ไปสู่ที่อยู่ของมาร ไม่ตกอยู่ในอำนาจ ของมาร ไม่ถูกมารคล้อง เป็นผู้พ้นจากบ่วงมาร ภิกษุนั้นอันมารผู้มีบาป พึงใช้บ่วงทำ ตามความปรารถนาไม่ได้

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๐๔

มารปาสสูตรที่ ๒


             [๑๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนาน่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ หากภิกษุเพลิดเพลิน หมกมุ่น พัวพัน รูปนั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า พัวพันอยู่ในรูป ไปสู่ที่อยู่ของมาร ตกอยู่ในอำนาจของมาร ถูกมารผู้มีบาปทำได้ตามปรารถนา ฯลฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจน่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ หากภิกษุเพลิดเพลิน หมกมุ่นพัวพัน ธรรมารมณ์นั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า พัวพันอยู่ในธรรมารมณ์ ไปสู่ที่อยู่ของมาร ตกอยู่ใน อำนาจของมาร ถูกมารผู้มีบาปทำได้ตามปรารถนา

             [๑๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง รูปที่จะพึงรู้ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนาน่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ หากภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันรูปนั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า พ้นไปจากรูป ไม่ไปสู่ที่อยู่ของมาร ไม่ตกอยู่ใน อำนาจของมาร อันมารผู้มีบาปพึงทำตามปรารถนาไม่ได้ฯลฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่น่า พอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ หากภิกษุไม่เพลิดเพลินไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันธรรมารมณ์นั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า พ้นไปจากธรรมารมณ์ไม่ไปสู่ที่อยู่ของมาร ไม่ตกอยู่ในอำนาจของมาร อันมารผู้มีบาปพึงทำตามปรารถนาไม่ได้

 


 

 

 

 

 

 

 

 

 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์