พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๘๑
มาตุคามพลวรรคที่ ๓
วิสารทสูตร
[๔๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำลังของมาตุคาม ๕ ประการนี้ ๕ ประการ เป็นไฉน กำลังคือรูป ๑ กำลังคือโภคะ ๑ กำลังคือญาติ ๑ กำลังคือบุตร ๑ กำลังคือศีล ๑ กำลังของมาตุคาม ๕ นี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย มาตุคามผู้ประกอบด้วยกำลัง ๕ ประการนี้แล เป็นผู้สามารถ อยู่ครองเรือน
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๘๑
๒. ปัสสัยหสูตร
[๔๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำลังของมาตุคาม ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน กำลังคือรูป ๑ กำลังคือโภคะ ๑ กำลังคือญาติ ๑ กำลังคือบุตร ๑ กำลังคือศีล ๑ กำลังของมาตุคาม ๕ นี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย มาตุคามผู้ประกอบด้วยกำลัง ๕ ประการนี้แล ย่อมบังคับ สามีอยู่ครองเรือนได้
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๘๑
๓. อภิภุยยสูตร
[๔๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำลังของมาตุคาม ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน กำลังคือรูป ๑ กำลังคือโภคะ ๑ กำลังคือญาติ ๑ กำลังคือบุตร ๑ กำลังคือศีล ๑ กำลัง ของมาตุคาม ๕ นี้แล มาตุคามผู้ประกอบด้วยกำลัง ๕ ประการนี้ ย่อมประพฤติข่มขี่ สามีได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุรุษ ผู้ประกอบด้วยกำลังอย่างเดียว ย่อมประพฤติข่มขี่ มาตุคามได้ กำลังอย่างเดียวเป็นไฉน ได้แก่กำลังคือความเป็นใหญ่ กำลังคือรูป ย่อม ป้องกันมาตุคาม ผู้ถูกบุรุษข่มขี่แล้วไม่ได้ กำลังคือโภคะ กำลังคือญาติ กำลังคือบุตร กำลัง คือศีล ป้องกันไม่ได้
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๘๒
๔. อังคสูตร
[๔๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำลังของ มาตุคาม ๕ ประการนี้ ๕ ประการ เป็นไฉน กำลังคือรูป ๑ กำลังคือโภคะ ๑ กำลังคือญาติ ๑ กำลังคือบุตร ๑ กำลังคือศีล ๑
[๔๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็มาตุคามผู้ ประกอบด้วยกำลังคือรูป แต่ไม่ประกอบด้วยกำลังคือโภคะ อย่างนี้ ชื่อว่ายังไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น แต่เมื่อมาตุคามประกอบด้วยกำลังคือรูป และกำลังคือ โภคะ อย่างนี้ชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยองค์นั้น
ก็มาตุคามผู้ ประกอบด้วย กำลังคือรูป และ กำลังคือโภคะ แต่ไม่ประกอบด้วยกำลังคือญาติ อย่างนี้ชื่อว่ายังไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น
แต่เมื่อมาตุคามประกอบด้วย กำลังคือรูป กำลังคือโภคะ และกำลังคือญาติ อย่างนี้ชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยองค์นั้น
ก็มาตุคามผู้ ประกอบด้วยกำลังคือรูป กำลังคือโภคะ และกำลังคือญาติ แต่ไม่ประกอบด้วยกำลังคือบุตร อย่างนี้ชื่อว่ายังไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น แต่เมื่อมาตุคาม ประกอบด้วยกำลังคือรูป กำลังคือโภคะ กำลังคือญาติ และกำลังคือบุตร แต่ไม่ประกอบ ด้วยกำลังคือศีล อย่างนี้ชื่อว่า ยังไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น แต่เมื่อมาตุคามประกอบด้วย กำลัง คือรูป กำลังคือโภคะ กำลังคือญาติ กำลังคือบุตร และกำลังคือศีล อย่างนี้ชื่อว่า บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำลังของมาตุคาม ๕ ประการนี้แล
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๘๒-๒๘๓
๕. นาสยิตถสูตร
[๔๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำลังของมาตุคาม ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน กำลังคือรูป ๑ กำลังคือโภคะ ๑ กำลังคือญาติ ๑ กำลังคือบุตร ๑ กำลังคือศีล ๑
[๔๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็มาตุคามผู้ประกอบด้วยกำลังคือรูป แต่ไม่ประกอบด้วยกำลังคือศีล พวกญาติ ย่อมยังมาตุคามนั้นให้พินาศ คือไม่ให้อยู่ในสกุล
มาตุคามผู้ประกอบด้วยกำลังคือรูป และกำลังคือโภคะ แต่ไม่ประกอบด้วย กำลังคือศีล พวกญาติย่อมยังมาตุคามนั้นให้พินาศ คือไม่ให้อยู่ในสกุล
มาตุคามผู้ประกอบด้วยกำลังคือรูป กำลังคือโภคะ และกำลังคือญาติ แต่ไม ่ประกอบด้วยกำลังคือศีล พวกญาติย่อมยังมาตุคามนั้นให้พินาศ คือไม่ให้อยู่ในสกุล
มาตุคามผู้ประกอบด้วยกำลัง คือรูป กำลังคือโภคะ กำลังคือญาติ และกำลัง คือบุตร แต่ไม่ประกอบด้วยกำลัง คือศีล พวกญาติย่อมยังมาตุคามนั้นให้พินาศ คือไม่ให้ อยู่ในสกุล แต่เมื่อมาตุคาม ประกอบด้วยกำลัง คือรูป กำลังคือโภคะ กำลังคือญาติกำลัง คือบุตร และกำลังคือศีล พวกญาติย่อมยังมาตุคามนั้นให้อยู่ในสกุล ย่อมไม่ให้พินาศ
มาตุคามผู้ประกอบด้วยกำลังคือศีล แต่ไม่ประกอบด้วยกำลัง คือรูปพวกญาติ ย่อมยังมาตุคามนั้น ให้อยู่ในสกุล ย่อมไม่ให้พินาศ ก็มาตุคามผู้ประกอบ ด้วยกำลังคือศีล แต่ไม่ประกอบด้วยกำลังคือโภคะ พวกญาติย่อมยังมาตุคามนั้น ให้อยู่ในสกุล ย่อมไม่ให้พินาศ
มาตุคามผู้ประกอบด้วยกำลังคือศีล แต่ไม่ประกอบด้วยกำลัง คือญาติ พวกญาติ ย่อมยังมาตุคามนั้น ให้อยู่ในสกุล ย่อมไม่ให้พินาศ
มาตุคามผู้ประกอบด้วยกำลังคือศีล แต่ไม่ประกอบด้วยกำลัง คือบุตร พวกญาติ ย่อมยังมาตุคามนั้น ให้อยู่ในสกุล ย่อมไม่ให้พินาศ ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำลังของ มาตุคาม ๕ ประการนี้แล
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๘๓-๒๘๔
๖. เหตุสูตร
[๔๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำลังของมาตุคาม ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน กำลังคือรูป ๑ กำลังคือโภคะ ๑ กำลังคือญาติ ๑ กำลังคือบุตร ๑ กำลังคือศีล ๑
[๔๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย มาตุคามเมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ เพราะกำลังคือรูปเป็นเหตุ เพราะกำลัง คือโภคะเป็นเหตุ เพราะกำลังคือ ญาติเป็นเหตุ หรือเพราะกำลังคือบุตรเป็นเหตุ หามิได้ แต่ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกำลังคือศีลเป็นเหตุ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำลังของมาตุคาม ๕ ประการนี้แล
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๘๔-๒๘๕
๗. ฐานสูตร
[๔๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕ ประการนี้
อันมาตุคามผู้มิได้ทำบุญไว้ยากที่จะได้ ฐานะ ๕ ประการเป็นไฉน คือ ขอเราพึง เกิดในสกุลอันสมควร นี้เป็นฐานะข้อที่ ๑
อันมาตุคามผู้มิได้ทำบุญไว้ยากที่จะได้ เกิดในสกุลอันสมควรแล้ว ขอเราพึง ไปสู่สกุลอันสมควร นี้เป็นฐานะข้อที่ ๒...
เกิดในสกุลอันสมควรแล้ว ไปสู่สกุลอันสมควรแล้ว ขอเราพึงอยู่ครองเรือน ปราศจากหญิงร่วมสามี นี้เป็นฐานะข้อที่ ๓ ...
เกิดในสกุลอันสมควรแล้ว ไปสู่สกุลอันสมควรแล้ว อยู่ครองเรือน ปราศจาก หญิงร่วมสามี ขอเราพึงมีบุตร นี้เป็นฐานะข้อที่ ๔...
เกิดในสกุลอันสมควรแล้ว ไปสู่สกุลอันสมควรแล้ว อยู่ครองเรือน ปราศจาก หญิงร่วมสามี มีบุตร ขอเราประพฤติครอบงำสามี นี้เป็นฐานะข้อที่ ๕ อันมาตุคาม ผู้มิได้ทำบุญไว้ยากที่จะได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕ ประการนี้แล อันมาตุคามผู้มิได้ทำบุญไว้ยาก ที่จะได้
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
(พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๘๔-๒๘๕)
๘. วิสารทสูตร
[๔๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕ ประการนี้ อันมาตุคามผู้ทำบุญ ไว้ได้โดย ง่าย ฐานะ ๕ ประการเป็นไฉน คือ
ขอเราพึงเกิดในสกุลอันสมควร นี้เป็นฐานะข้อที่ ๑ อันมาตุคามผู้ทำบุญไว้ได้ โดยง่าย
(ขอเราพึง)เกิดในสกุลอันสมควรแล้ว ขอเราพึงไปสู่สกุล อันสมควร นี้เป็นฐานะข้อที่ ๒...
(ขอเราพึง)เกิดในสกุลอันสมควรแล้ว ไปสู่สกุลอันสมควรแล้ว ขอเราพึงอยู่ ครองเรือน ปราศจากหญิงร่วมสามี นี้เป็นฐานะข้อที่ ๓ ...
(ขอเราพึง)เกิดในสกุลอันสมควรแล้ว ไปสู่สกุลอันสมควรแล้ว อยู่ครองเรือน ปราศจากหญิง ร่วมสามี ขอเราพึงมีบุตร นี้เป็นฐานะข้อที่ ๔ ...
(ขอเราพึง)เกิดในสกุลอันสมควรแล้ว ไปสู่สกุลอันสมควรแล้ว อยู่ครองเรือน ปราศจากหญิง ร่วมสามีมีบุตร ขอเราพึงประพฤติครอบงำสามี นี้เป็นฐานะข้อที่ ๕ อันมาตุคามผู้ทำบุญ ไว้ได้โดยง่าย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕ ประการนี้แล อันมาตุคามผู้ทำบุญไว้ได้โดยง่าย
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๘๕
๙. ปัญจเวรสูตร
[๔๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการเป็นผู้ สามารถ อยู่ครองเรือน ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ มาตุคามเป็นผู้งดเว้นจากการ ฆ่าสัตว์ ๑ จากการลักทรัพย์ ๑ จากการประพฤติผิดในกาม ๑ จากการพูดเท็จ ๑ จากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้สามารถอยู่ครองเรือน
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๘๕-๒๘๖
๑๐. วัฑฒิสูตร
[๔๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวิกาเมื่อเจริญด้วยวัฑฒิธรรม ๕ ประการ ย่อมเจริญด้วยวัฑฒิธรรม อันเป็นอริยะ เป็นผู้ถือเอาสาร ะและถือเอาสิ่งประเสริฐของ กายไว้ได้
วัฑฒิธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ อริยสาวิกา ย่อมเจริญด้วยศรัทธา ๑ ศีล ๑ สุตะ ๑ จาคะ ๑ ปัญญา ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวิกาเมื่อเจริญด้วยวัฑฒิธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเจริญด้วยวัฑฒิธรรม อันเป็นอริยะ เป็นผู้ถือเอาสาระ และถือเอาสิ่งประเสริฐ แห่งกายไว้ได้
สตรีใดเจริญด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา สตรีเช่นนั้น เป็นอุบาสิกา ผู้มีศีล ย่อมถือสาระของตนในโลก นี้ไว้ได้
|