เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

วีณาสูตร (อุปมาจิตด้วยพิณ) พึงห้ามจิตเสียจากรูป เสียง กลิ่น รส ..มนสิการว่าหนทางนั้นมีภัย เป็นทางผิด 2040
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘

วีณาสูตร ว่าด้วยอุปมาด้วยพิณ
บุคคลพึงห้ามจิตเสียจากรูป (และเสียง กลิ่น รส สัมผัสทางกาย และใจ) อันบุคคลพึงรู้แจ้ง ด้วย มนสิการว่า หนทางนั้นมีภัย มีภัยตั้งอยู่เฉพาะหน้า มีหนาม มีรกชัฏ เป็นทางผิด เป็นทางที่บัณฑิต เกลียด และเป็นทางที่ไปลำบาก เป็นทางอันอสัตบุรุษเสพ คราวใดที่จิตของภิกษุข่มไว้ดีแล้วใน
ผัสสายตนะ ๖ คราวนั้น จิตย่อมดำรงอยู่ สงบนิ่งในภายใน มีธรรมเอกผุดขึ้นย่อมตั้งมั่น ฉันนั้น

พระราชาให้นำเสียงพิณมาให้
พระราชายังไม่เคยฟังเสียงพิณ นั่นเสียงอะไรหนอ น่าชอบใจ ขอเดชะ เสียงนั้นเป็นเสียงพิณ แน่ะ ท่านผู้เจริญ จงนำพิณนั้นมาให้แก่เรา แต่ ฉันไม่ต้องการพิณ ท่าน จงนำเสียงพิณ มาให้เรา เถิด ขอเดชะพิณนี้มีเครื่องประกอบหลายอย่างจึงจะเปล่งเสียงได้ พระราชาทรงผ่าพิณนั้น ๑๐ เสี่ยง หรือ ๑๐๐ เสี่ยง กระทำให้เป็นส่วนน้อยๆ แล้วเผาด้วยไฟ ทำให้เป็นเขม่าโปรยไปด้วยลมแรง พึงลอยไปเสียในแม่น้ำมีกระแสอันเชี่ยว

ท้าวเธอตรัสอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญได้ยินว่า ชื่อว่าพิณนี้เลวทราม สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่จะเลวทรามกว่า พิณนี้ ไม่มี เพราะพิณนี้ คนต้องมัวเมาประมาทหลงใหลจนเกินขอบเขต ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นนั่นแล ย่อมแสวงหารูป เสียง กลิ่น รส...


เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๒๗-๒๒๙

วีณาสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยพิณ

            [๓๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความพอใจ ความกำหนัด ความขัดเคืองความหลง หรือแม้ความคับแค้นใจในรูป อันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุ หรือแก่ ภิกษุณี รูปใดรูปหนึ่ง ภิกษุหรือภิกษุณี พึงห้ามจิตเสียจากรูป อันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วย จักษุนั้น ด้วยมนสิการว่า หนทางนั้นมีภัย มีภัยตั้งอยู่เฉพาะหน้า มีหนาม มีรกชัฏ เป็นทาง ผิด เป็นทางที่บัณฑิตเกลียด และเป็นทางที่ไปลำบาก เป็นทางอันอสัตบุรุษ เสพ ไม่ใช่ทาง ที่สัตบุรุษเสพ ท่านไม่ควรเสพหนทางนั้น ภิกษุหรือภิกษุณี พึงห้ามจิต เสียจากรูปอันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยจักษุนั้น ฯลฯ(พึงห้ามจิตเสียจากรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสกาย)

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความพอใจ ความกำหนัด ความขัดเคือง ความหลง หรือ แม้ความคับแค้นใจ ในธรรมารมณ์ อันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยใจ พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุ หรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง ภิกษุหรือภิกษุณี พึงห้ามจิตเสียจากธรรมารมณ์นั้น ด้วย มนสิการว่า หนทางนั้นมีภัย มีภัยตั้งอยู่เฉพาะหน้า มีหนาม มีรกชัฏ เป็นทางผิด เป็นทาง อันบัณฑิตเกลียด และเป็นทางที่ไปลำบาก เป็นทางอันอสัตบุรุษเสพ ไม่ใช่ทาง ที่ สัตบุรุษ เสพ ท่านย่อมไม่ควรเสพหนทางนั้น ภิกษุหรือภิกษุณี พึงห้ามจิตเสียจาก ธรรมารมณ์ อันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยใจนั้น

            [๓๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้าวกล้าถึงสมบูรณ์ แต่เจ้าของผู้รักษาข้าวกล้า เป็นผู้ประมาท และโคกินข้าวกล้า ลงสู่ข้าวกล้าโน้น พึงถึงความเมา ความประมาท ตามต้องการ แม้ฉันใด ปุถุชนผู้ไม่สดับแล้ว ไม่ทำความสำรวมในผัสสายตนะ ๖ ย่อมถึง ความเมา ความประมาทในกามคุณ ๕ ตามความต้องการฉันนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้าวกล้าสมบูรณ์แล้ว เจ้าของผู้รักษาข้าวกล้าเป็นผู้ไม่ประมาท และโคกินข้าวกล้าพึงลง สู่ข้าวกล้าโน้น

            เจ้าของผู้รักษาข้าวกล้า พึงจับโคนั้นสนสะพาย แล้วผูกรวมไว้ที่ระหว่างเขา ทั้งสอง ครั้นแล้วพึงตีกระหน่ำด้วยท่อนไม้ แล้วพึงปล่อยไป โคตัวกินข้าวกล้า พึงลง สู่ข้าวกล้าโน้น แม้ครั้งที่ ๒...แม้ครั้งที่ ๓ เจ้าของผู้รักษาข้าวกล้า พึงจับโคสนสะพาย แล้วผูกรวมไว้ที่ระหว่างเขาทั้ง ๒ ครั้นแล้ว พึงตีกระหน่ำด้วยท่อนไม้ แล้วพึงปล่อยไป โคกินข้าวกล้านั้นอยู่ในบ้านก็ดี อยู่ในป่าก็ดี พึงเป็นสัตว์ยืนมากหรือนอนมาก ไม่พึงลง สู่ข้าวกล้านั้นอีก พลางระลึกถึงการถูกตีด้วยไม้ครั้งก่อน นั้นนั่นแหละ ฉันใด

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย คราวใด จิตอันภิกษุข่มแล้ว ข่มไว้ดีแล้ว ในผัสสายตนะ ๖ คราวนั้น จิตย่อมดำรงอยู่ สงบนิ่งในภายใน มีธรรมเอกผุดขึ้น ย่อมตั้งมั่น ฉันนั้น เหมือนกันแล

            [๓๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระราชาหรือมหาอำมาตย์ แห่งพระราชา ยังไม่เคย ได้ฟังเสียงพิณ พระราชา หรือมหาอำมาตย์ แห่งพระราชา ฟังเสียงพิณแล้วพึงกล่าว อย่างนี้ว่า แน่ะท่านผู้เจริญ นั่นเสียงอะไรหนอ น่าชอบใจ น่าใคร่ น่าบันเทิง น่าหมกมุ่น น่าพัวพันอย่างนี้

            บุรุษนั้นกราบทูลว่า ขอเดชะ เสียงนั้นเป็นเสียงพิณ พระราชาหรือมหาอำมาตย์ แห่งพระราชาพึงกล่าวว่า แน่ะท่านผู้เจริญท่านทั้งหลาย จงนำพิณนั้นมาให้แก่เรา ราชบุรุษ ทั้งหลายพึงนำพิณมาถวาย พึงกราบทูลว่า นี่คือพิณนั้น พระราชา หรือ มหาอำมาตย์ แห่งพระราชานั้นพึงกล่าวว่าแน่ะท่านผู้เจริญ ฉันไม่ต้องการพิณนั้น ท่านทั้งหลาย จงนำเสียงพิณนั้นมาให้แก่เราเถิด

            ราชบุรุษกราบทูลว่า ขอเดชะ ขึ้นชื่อว่าพิณนี้ มีเครื่องประกอบหลาย อย่างมี เครื่องประกอบมาก นายช่างประกอบดีแล้ว ด้วยเครื่องประกอบหลายอย่าง คือธรรมดา ว่าพิณนี้ อาศัยกระพอง อาศัยแท่น อาศัยลูกบิด อาศัยนม อาศัยสายอาศัยคัน และ อาศัยความพยายามของบุรุษ ซึ่งสมควรแก่พิณนั้น มีเครื่องประกอบหลายอย่าง มีเครื่องประกอบมาก นายช่างประกอบดีแล้ว ด้วยเครื่องประกอบหลายอย่าง จึงจะ เปล่งเสียงได้ พระราชาหรือมหาอำมาตย์ ของพระราชาทรงผ่าพิณนั้น ๑๐ เสี่ยงหรือ ๑๐๐ เสี่ยง แล้วกระทำให้เป็นส่วนน้อยๆ แล้วพึงเผาด้วยไฟแล้ว พึงกระทำให้เป็น เขม่า โปรยไปด้วยลมแรง หรือพึงลอยไปเสียในแม่น้ำ มีกระแสอันเชี่ยว

            ท้าวเธอตรัสอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญได้ยินว่า ชื่อว่าพิณนี้เลวทราม สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่จะเลวทรามกว่าพิณนี้ ไม่มี เพราะพิณนี้ คนต้องมัวเมา ประมาทหลงใหลจนเกิน ขอบเขต ฉันใด

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นนั่นแล ย่อมแสวงหารูปเท่าที่มีคติ เวทนา ... สัญญา ... สังขารทั้งหลาย ... วิญญาณเท่าที่มีคติอยู่ เมื่อเธอแสวงหารูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเท่า ที่มีคติอยู่ ความยึดถือโดยคติ ของภิกษุนั้นว่า เรา หรือว่าของเรา หรือว่าเป็นเรา แม้นั้นก็ไม่มีแก่เธอ

 



 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์