เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

สัมพหุลสูตร เวทนามีเท่าไร ความเกิด-ความดับแห่งเวทนา ปฏิปทา..คุณและโทษ.. อุบายเครื่องสลัดออก 2041
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘

สัมพหุลสูตรที่ ๑ (ว่าด้วยภิกษุหลายรูป)
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
เวทนามีเท่าไร ..เวทนามี ๓ เหล่านี้ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา
ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา เป็นไฉน
...เพราะผัสสะเกิดขึ้น เวทนาจึงเกิด
ความดับแห่งเวทนาเป็นไฉน
...เพราะผัสสะดับไปเวทนาจึงดับ
ปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับแห่งเวทนาเป็นไฉน
..อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้นั่นแล คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯ
อะไรเป็นคุณแห่งเวทนา
... สุข โสมนัส ย่อมเกิดขึ้น เพราะอาศัยเวทนา
อะไรเป็นโทษแห่งเวทนา
. เวทนาใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวน เป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งเวทนา
อะไรเป็นอุบายเครื่องสลัดออก
..การกำจัด การละฉันทราคะในเวทนา เป็นอุบาย เครื่องสลัดออกแห่งเวทนา

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๕๕-๒๕๖

สัมพหุลสูตรที่ ๑
ว่าด้วยภิกษุหลายรูป สูตร ๑

            [๔๐๔] ครั้งนั้นแล ภิกษุมากรูปด้วยกันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถาม พระผู้มีพระภาคว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
เวทนามีเท่าไร
ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา เป็นไฉน
ความดับแห่งเวทนาเป็นไฉน
ปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับแห่งเวทนาเป็นไฉน
อะไรเป็นคุณแห่งเวทนา
อะไรเป็นโทษแห่งเวทนา
อะไรเป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่ง เวทนา


            พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนามี ๓ เหล่านี้ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา

            ดูกรภิกษุทั้งหลายเหล่านี้เราเรียกว่าเวทนา เพราะผัสสะเกิดขึ้น เวทนาจึงเกิด เพราะผัสสะดับไปเวทนาจึงดับ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้นั่นแล คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ เป็นปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับแห่งเวทนา สุข โสมนัส ย่อมเกิดขึ้น เพราะอาศัยเวทนาใด นี้เป็นคุณแห่งเวทนา เวทนาใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวน เป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งเวทนา การกำจัด การละฉันทราคะในเวทนาใด นี้เป็นอุบาย เครื่องสลัดออกแห่งเวทนา

            [๔๐๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โดยที่แท้ เราได้กล่าวความดับแห่งสังขารทั้งหลาย โดยลำดับแล้ว คือ เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาย่อมดับ ฯลฯ ราคะโทสะ โมหะของภิกษุ ผู้ขีณาสพย่อมดับ

            [๔๐๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โดยที่แท้ เราได้กล่าวความสงบแห่งสังขารทั้งหลาย โดยลำดับแล้ว คือ เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาย่อมสงบ ฯลฯ ราคะโทสะ โมหะ ของภิกษุผู้ขีณาสพ ย่อมสงบ

            [๔๐๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัสสัทธิ ๖ ประการนี้ คือ เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาย่อมระงับ เมื่อเข้าทุติยฌาน วิตกวิจารย่อมระงับ เข้าตติยฌาน ปีติย่อมระงับ เมื่อเข้าจตุตถฌาน ลมอัสสาสะปัสสาสะย่อมระงับ เมื่อเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญา และ เวทนาย่อมระงับ ราคะ โทสะ โมหะ ของภิกษุผู้ขีณาสพย่อมระงับ

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๕๖

สัมพหุลสูตรที่ ๒
ว่าด้วยภิกษุหลายรูป สูตร ๒

            [๔๐๘] ครั้งนั้นแล ภิกษุมากรูปด้วยกัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาค ได้ตรัสถามภิกษุเหล่านั้นว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนามีเท่าไร ฯลฯ อะไรเป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่งเวทนา ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลายของพวกข้าพระองค์มีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้ากระนั้นพวกเธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายเวทนา ๓ เหล่านี้ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เราเรียกว่า เวทนา ฯลฯ (พึงขยายความให้พิสดารเหมือนสูตรต้นๆ)



 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์