เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

กุมมสูตร อุปมาด้วยเต่าหดหัวในกระดอง ยวกลาปิสูตร ว่าด้วยฟาดฟ่อนข้าวเหนียวของบุรุษทั้ง ๖ 2039
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘

กุมมสูตร อุปมาด้วยเต่า
เต่าหากินอยู่ที่ริมแม่น้ำ พอเห็นสุนัขจิ้งจอก ก็หด ๕ อวัยวะ คือหดขาทั้ง4 และคอ หลบเข้าไปใน กระดอง แล้วนิ่งอยู่ สุนัขจิ้งจอกก็ทำอันตรายไม่ได้ ๕ อวัยวะก็คือ ตา หู จมูก ลิ้น กายหรือใจ ของบุคคลที่ เป็นผู้คุ้มครองทวาร ในอินทรีย์ทั้งหลาย

ยวกลาปิสูตร ว่าด้วยฟ่อนข้าวเหนียว

ฟ่อนข้าวเหนียว กองไว้ในหนทางใหญ่ ๔ แพร่ง บุรุษ ๖ คนถือไม้คานมา ฟาดฟ่อนข้าวเหนียว ด้วยไม้คาน ๖ อัน ..ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้วก็ฉันนั้น ถูกรูปกระทบแล้วก็รู้สึกพอใจ หรือไม่พอใจ คือถูกอายตนะทั้ง ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ กระทบกับอายตนะภายใน(รูป+ตา ดสียง+หู ...) ก็เหมือนฟ่อนข้าวเหนียว ถูกบุรุษฟาดกระหน่ำด้วยไม้คาน

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๑๑-๒๑๒

กุมมสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยเต่า

            [๓๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว มีเต่าตัวหนึ่ง เที่ยวหากิน อยู่ที่ ริมฝั่งแม่น้ำน้อยแห่งหนึ่ง ในเวลาเย็น สุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่งก็ได้เที่ยวหากินอยู่ที่ริมฝั่ง แม่น้ำน้อยแห่งหนึ่งในเวลาเย็น เต่าได้แลเห็นสุนัขจิ้งจอก ซึ่งเที่ยวหากินอยู่แต่ไกลแล้ว ก็หดอวัยวะ ๕ ทั้งหัว (หดขาทั้ง ๔ มีคอเป็นที่ ๕) เข้าอยู่ในกระดองของตนเสีย มีความ ขวนขวายน้อย นิ่งอยู่

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฝ่ายสุนัขจิ้งจอก ก็ได้แลเห็นเต่า ซึ่งเที่ยวหากินอยู่แต่ไกล แล้ว เข้าไปหาเต่าถึงที่แล้ว ได้ยืนอยู่ใกล้เต่าด้วยคิดว่า เวลาใดเต่าตัวนี้ จักเหยียดคอ หรือขาข้างใดข้างหนึ่งออกมา เวลานั้นเราจักงับมัน ฟาดแล้ว กัดกินเสีย เวลาใด เต่าไม่เหยียดคอหรือขาข้างใดข้างหนึ่งออกมา เวลานั้น สุนัขจิ้งจอกก็หมดความอาลัย ไม่ได้โอกาส จึงหลีกไปจากเต่าฉันใด

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย มารผู้ใจบาป อันท่านทั้งหลายเข้าใกล้อยู่เสมอๆ แล้วก็คิดว่า บางทีเราจะพึงได้โอกาสทางจักษุ หู จมูก ลิ้น กายหรือใจ ของภิกษุเหล่านี้บ้าง เพราะ ฉันนั้นแล ท่านทั้งหลาย จงเป็นผู้คุ้มครองทวาร ในอินทรีย์ทั้งหลายอยู่ เห็นรูปด้วยจักษุ แล้ว อย่าถือนิมิต อย่าถืออนุพยัญชนะ จงปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวม แล้ว จะพึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรม อันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัส ครอบงำนั้น ชื่อว่า รักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวม ในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงด้วยหู... ดมกลิ่นด้วยจมูก... ลิ้มรสด้วยลิ้น... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...

            รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว อย่าถือนิมิต อย่าถืออนุพยัญชนะ จงปฏิบัติเพื่อ สำรวม มนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้ อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌา และโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษามนินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในมนินทรีย์

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวลาใด ท่านทั้งหลายจักเป็นผู้คุ้มครองทวาร ในอินทรีย์ ทั้งหลายอยู่ เวลานั้นมารผู้ใจบาป ก็จักหมดความอาลัย ไม่ได้โอกาส หลีกจากท่าน ทั้งหลายไป ดุจสุนัขจิ้งจอก หมดความอาลัยหลีกจากเต่า ก็ฉันนั้นเหมือนกัน

            [๓๒๑] ภิกษุผู้มีใจตั้งมั่นในมโนวิตก อันตัณหามานะและทิฐิไม่ อิงอาศัย ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ดับกิเลสได้แล้ว ไม่ติเตียนผู้ใด ผู้หนึ่ง เหมือนเต่าหดคอและขา อยู่ในกระดองของตน ฉะนั้น


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๓๒

ยวกลาปิสูตร
ว่าด้วยฟ่อนข้าวเหนียว

            [๓๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฟ่อนข้าวเหนียวบุคคล กองไว้ในหนทางใหญ่ ๔ แพร่ง ทีนั้นบุรุษ ๖ คนถือไม้คานมา บุรุษเหล่านั้นพึงฟาดฟ่อนข้าวเหนียวด้วยไม้คาน ๖ อัน ฟ่อนข้าวเหนียวนั้น ถูกบุรุษเหล่านั้นฟาดกระหน่ำอยู่ด้วยไม้คาน ๖ อันอย่างนี้แล ทีนั้นบุรุษคนที่ ๗ ถือไม้คาน มาฟาดฟ่อนข้าวเหนียวนั้นด้วยไม้คานอันที่ ๗ ฟ่อนข้าวเหนียวนั้น ถูกบุรุษฟาดกระหน่ำอยู่ด้วยไม้คานอันที่ ๗ อย่างนี้แลแม้ฉันใด

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้ว ก็ฉันนั้นแล ถูกรูปอันเป็นที่พอใจ และไม่เป็นที่พอใจกระทบจักษุ ฯลฯ ถูกธรรมารมณ์ อันเป็นที่พอใจ และไม่เป็นที่พอใจ กระทบใจ ถ้าว่าปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้วนั้น ย่อมคิดเพื่อเกิดต่อไป ปุถุชนนั้นเป็นโมฆบุรุษ เป็นผู้ถูกอายตนะ กระทบกระหน่ำแล้ว เหมือนฟ่อนข้าวเหนียว ถูกบุรุษฟาดกระหน่ำด้วยไม้ คานอันที่ ๗ ฉะนั้นแล



 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์