เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

อายตนะภายนอก-ภายใน ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา นั่นไม่ใช่ของเรา เธอพึงละความพอใจ เสีย 2036
 
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ ๖๐ สูตร
๑. ฉันทสูตรที่ ๑
๒. ราคสูตรที่ ๑
๓. ฉันทราคสูตรที่ ๑
๔. ฉันทสูตรที่ ๒
๕. ราคสูตรที่ ๒
๖. ฉันทราคสูตรที่ ๒
๗. ฉันทสูตรที่ ๓
๘. ราคสูตรที่ ๓
๙. ฉันทราคสูตรที่ ๓
๑๐. ฉันทสูตรที่ ๔
๑๑. ราคสูตรที่ ๔
๑๒. ฉันทราคสูตรที่ ๔
๑๓. ฉันทสูตรที่ ๕
๑๔. ราคสูตรที่ ๕
๑๕. ฉันทราคสูตรที่

๑๖. ฉันทสูตรที่ ๖
๑๗. ราคสูตรที่ ๖
๑๘. ฉันทราคสูตรที่ ๖
๑๙. อตีตสูตรที่ ๑
๒๐. อนาคตสูตรที่ ๑
๒๑. ปัจจุปันนสูตรที่ ๑
๒๒. อตีตสูตรที่ ๒
๒๓. อนาคตสูตรที่ ๒
๒๔. ปัจจุปันนสูตรที่ ๒
๒๕. อตีตสูตรที่ ๓
๒๖. อนาคตสูตรที่ ๓
๒๗. ปัจจุปันนสูตรที่ ๓
๒๘. อตีตสูตรที่ ๔
๒๙. อนาคตสูตรที่ ๔
๓๐. ปัจจุปันนสูตรที่ ๔
๓๑. อตีตสูตรที่ ๕
๓๒. อนาคตสูตรที่ ๕
๓๓. ปัจจุปันนสูตรที่ ๕
๓๔. อตีตสูตรที่ ๖
๓๕. อนาคตสูตรที่ ๖
๓๖. ปัจจุปันนสูตรที่ ๖
๓๗. อนิจจสูตรที่ ๑
๓๘. อนิจจสูตรที่ ๒
๓๙. อนิจจสูตรที่ ๓
๔๐. ทุกขสูตรที่ ๑
๔๑. ทุกขสูตรที่ ๒
๔๒. ทุกขสูตรที่ ๓
๔๓. อนัตตสูตรที่ ๑
๔๔. อนัตตสูตรที่ ๒
๔๕. อนัตตสูตรที่ ๓
๔๖. อนิจจสูตรที่ ๔
๔๗. อนิจจสูตรที่ ๕
๔๘. อนิจจสูตรที่ ๖
๔๙. ทุกขสูตรที่ ๔
๕๐. ทุกขสูตรที่ ๕
๕๑. ทุกขสูตรที่ ๖
๕๒. อนัตตสูตรที่ ๔
๕๓. อนัตตสูตรที่ ๕
๕๔. อนัตตสูตรที่ ๖
๕๕. อัชฌัตตายตนสูตรที่ ๑
๕๖. อัชฌัตตายตนสูตรที่ ๒
๕๗. อัชฌัตตายตนสูตรที่ ๓
๕๘. พาหิรายตนสูตรที่ ๑
๕๙. พาหิรายตนสูตรที่ ๒
๖๐. พาหิรายตนสูตรที่ ๓
เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๖๙-๑๗๐

(สูตรที่ ๑)
ฉันทสูตรที่ ๑

จักษุไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในจักษุ นั้นเสีย

            [๒๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละความพอใจ ในสิ่งนั้นเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรเล่าไม่เที่ยง

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุไม่เที่ยง เธอทั้งหลาย พึงละความพอใจ ในจักษุ นั้นเสีย หูไม่เที่ยง ... จมูกไม่เที่ยง... ลิ้นไม่เที่ยง ... กายไม่เที่ยง ... ใจไม่เที่ยงเธอ ทั้งหลาย พึงละความพอใจ ในใจนั้นเสีย

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจ ในสิ่งนั้นเสีย


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๖๙-๑๗๐

(สูตรที่ ๒)
ราคสูตรที่ ๑

จักษุไม่เที่ยง เธอพึงละความรักใคร่ ในจักษุนั้นเสีย

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอทั้งหลาย พึงละความรักใคร่ ในสิ่งนั้นเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรเล่าไม่เที่ยง

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุไม่เที่ยง เธอทั้งหลาย พึงละความรักใคร่ ในจักษุ นั้นเสีย หูไม่เที่ยง ... จมูกไม่เที่ยง ... ลิ้นไม่เที่ยง ... กายไม่เที่ยง ... ใจไม่เที่ยง เธอทั้งหลาย พึงละความรักใคร่ ในใจนั้นเสีย

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละความรักใคร่ ในสิ่งนั้นเสีย


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๖๙-๑๗๐

(สูตรที่ ๓)
ฉันทราคสูตรที่ ๑
จักษุไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจและความ รักใคร่ ในจักษุนั้นเสีย

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอทั้งหลาย พึงละความพอใจและความ รักใคร่ ในสิ่งนั้นเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรเล่าไม่เที่ยง

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุไม่เที่ยง เธอทั้งหลาย พึงละความพอใจและความ รักใคร่ ในจักษุนั้นเสีย หูไม่เที่ยง ... จมูกไม่เที่ยง ... ลิ้นไม่เที่ยง ... กายไม่เที่ยง ... ใจไม่เที่ยงเธอทั้งหลาย พึงละความพอใจและความรักใคร่ ในใจนั้นเสีย

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยงเธอทั้งหลาย พึงละความพอใจ และความ รักใคร่ ในสิ่งนั้นเสีย


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๗๐-๑๗๑

(สูตรที่ ๔)
ฉันทสูตรที่ ๒

จักษุเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจ ในจักษุนั้นเสีย

            [๒๕๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นทุกข์เธอทั้งหลาย พึงละความพอใจในสิ่งนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรเล่าเป็นทุกข์

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็นทุกข์ เธอทั้งหลาย พึงละความพอใจ ในจักษุนั้น หูเป็นทุกข์ ...จมูกเป็นทุกข์ ...ลิ้นเป็นทุกข์ ... ายเป็นทุกข์ ... ใจเป็นทุกข์เธอทั้งหลาย พึงละความรักใคร่ ในใจนั้นเสีย

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นทุกข์เธอทั้งหลาย พึงละความพอใจ ในสิ่งนั้นเสีย


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๗๐-๑๗๑

(สูตรที่ ๕)
ราคสูตรที่ ๒
จักษุเป็นทุกข์ เธอพึงละความรักใคร่ ในจักษุนั้นเสีย

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอทั้งหลาย พึงละความรักใคร่ ในสิ่งนั้นเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรเล่าเป็นทุกข์

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละความรักใคร่ ในจักษุนั้น เสีย หูเป็นทุกข์ ... จมูกเป็นทุกข์... ลิ้นเป็นทุกข์ ... กายเป็นทุกข์ ... ใจเป็นทุกข์ เธอทั้งหลาย พึงละความรักใคร่ในใจนั้นเสีย

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละความรักใคร่ในสิ่งนั้นเสีย


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๗๐-๑๗๑

(สูตรที่ ๖)
ฉันทราคสูตรที่ ๒
จักษุเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจและความรักใคร่ ในจักษุนั้นเสีย

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอทั้งหลาย พึงละความพอใจและความ รักใคร่ ในสิ่งนั้นเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรเล่าเป็นทุกข์

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็นทุกข์ เธอทั้งหลาย พึงละความพอใจและความ รักใคร่ ในจักษุนั้นเสีย หูเป็นทุกข์ ... จมูกเป็นทุกข์ ... ลิ้นเป็นทุกข์ ... กายเป็นทุกข์... ใจเป็นทุกข์เธอทั้งหลา ยพึงละความพอใจ และความรักใคร่ ในใจนั้นเสีย

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอทั้งหลาย พึงละความพอใจ และความ รักใคร่ ในสิ่งนั้นเสีย


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๗๑-๑๗๒

(สูตรที่ ๗)
ฉันทสูตรที่ ๓
จักษุเป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจในจักษุนั้นเสีย

            [๒๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย พึงละความพอใจ ในสิ่งนั้นเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรเล่าเป็นอนัตตา

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละความพอใจ ในจักษุนั้น เสีย หูเป็นอนัตตา ... จมูกเป็นอนัตตา ... ลิ้นเป็นอนัตตา ... กายเป็นอนัตตา ... ใจเป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย พึงละความพอใจ ในใจนั้นเสีย

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย พึงละความพอใจ ในสิ่งนั้นเสีย


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๗๑-๑๗๒

(สูตรที่ ๘)
ราคสูตรที่ ๓
จักษุเป็นอนัตตา เธอพึงละความรักใคร่ ในจักษุนั้นเสีย

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย พึงละความรักใคร่ ในสิ่งนั้น เสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรเล่าเป็นอนัตตา

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละความรักใคร่ ในจักษุนั้น เสีย หูเป็นอนัตตา ...จมูกเป็นอนัตตา ... ลิ้นเป็นอนัตตา ... กายเป็นอนัตตา ... ใจเป็น อนัตตาเธอทั้งหลายพึงละความรักใคร่ในใจนั้นเสีย

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นอนัตตาเธอทั้งหลาย พึงละความรักใคร่ ในสิ่งนั้น เสีย


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๗๑-๑๗๒

(สูตรที่ ๙)
ฉันทราคสูตรที่ ๓
จักษุเป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจ และความรักใคร่ ในจักษุนั้นเสีย

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย พึงละความพอใจและความ รักใคร่ ในสิ่งนั้นเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรเล่าเป็นอนัตตา

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละความพอใจ และความ รักใคร่ ในจักษุนั้นเสีย หูเป็นอนัตตา ... จมูกเป็นอนัตตา ... ลิ้นเป็นอนัตตา ... กายเป็น อนัตตา ...ใจเป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย พึงละความพอใจและความรักใคร่ ในใจนั้นเสีย

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย พึงละความพอใจ และความ รักใคร่ ในสิ่งนั้นเสีย

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๗๒-๑๗๓

(สูตรที่ ๑๐)
ฉันทสูตรที่ ๔
รูปไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจ ในรูปนั้นเสีย

            [๒๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละความพอใจ ในสิ่งนั้น เสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรเล่าไม่เที่ยง

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละความพอใจ ในรูปนั้นเสีย เสียงไม่เที่ยง ... กลิ่นไม่เที่ยง ... รสไม่เที่ยง ... โผฏฐัพพะไม่เที่ยง ... ธรรมารมณ์ ไม่เที่ยง เธอทั้งหลาย พึงละความพอใจในธรรมารมณ์นั้นเสีย

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึง ละความพอใจ ในสิ่งนั้นเสีย


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๗๑-๑๗๒

(สูตรที่ ๑๑)
ราคสูตรที่ ๔
รูปไม่เที่ยง เธอพึงละความรักใคร่ ในรูปนั้นเสีย

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละความรักใคร่ ในสิ่งนั้นเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรเล่าไม่เที่ยง

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละความรักใคร่ ในรูปนั้นเสีย เสียงไม่เที่ยง ... กลิ่นไม่เที่ยง ... รสไม่เที่ยง ... โผฏฐัพพะไม่เที่ยง ... ธรรมารมณ์ ไม่เที่ยง เธอทั้งหลาย พึงละความรักใคร่ ในธรรมารมณ์นั้นเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใด ไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละความรักใคร่ ในสิ่งนั้นเสีย


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๗๑-๑๗๒

(สูตรที่ ๑๒)
ฉันทราคสูตรที่ ๔
รูปไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจและความรักใคร่ ในรูปนั้นเสีย

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอทั้งหลาย พึงละความพอใจ และความรัก ใคร่ ในสิ่งนั้นเสีย

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรเล่าไม่เที่ยง ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง เธอทั้งหลาย พึงละความพอใจและความรักใคร่ ในรูปนั้นเสีย เสียงไม่เที่ยง ... กลิ่น ไม่เที่ยง ... รสไม่เที่ยง ... โผฏฐัพพะไม่เที่ยง ... ธรรมารมณ์ไม่เที่ยง เธอทั้งหลาย พึงละความพอใจและความรักใคร่ ในธรรมารมณ์นั้นเสีย

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอทั้งหลาย พึงละความพอใจและความ รักใคร่ ในสิ่งนั้นเสีย


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๗๓-๑๗๔

(สูตรที่ ๑๓)
ฉันทสูตรที่ ๕
รูปเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจ ในรูปนั้นเสีย

            [๒๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอทั้งหลาย พึงละความพอใจ ในสิ่งนั้นเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรเล่าเป็นทุกข์

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละความพอใจ ในรูปนั้นเสีย เสียงเป็นทุกข์ ... กลิ่นเป็นทุกข์ ... รสเป็นทุกข์... โผฏฐัพพะเป็นทุกข์ ... ธรรมารมณ์เป็น ทุกข์ เธอทั้งหลาย พึงละความพอใจ ในธรรมารมณ์นั้นเสีย

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอทั้งหลาย พึงละความพอใจ ในสิ่งนั้นเสีย


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๗๓-๑๗๔

(สูตรที่ ๑๔)
ราคสูตรที่ ๕
รูปเป็นทุกข์ เธอพึงละความรักใคร่ ในรูปนั้นเสีย

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอทั้งหลาย พึงละความรักใคร่ ในสิ่งนั้นเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรเล่าเป็นทุกข์

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละความรักใคร่ ในรูปนั้นเสีย เสียงเป็นทุกข์ ... กลิ่นเป็นทุกข์ ... รสเป็นทุกข์ ... โผฏฐัพพะเป็นทุกข์ ... ธรรมารมณ์ เป็น ทุกข์ เธอทั้งหลาย พึงละความรักใคร่ ในธรรมารมณ์นั้นเสีย

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละความรักใคร่ในสิ่งนั้นเสีย

-----------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๗๓-๑๗๔

(สูตรที่ ๑๕)
ฉันทราคสูตรที่ ๕
รูปเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจ และความรักใคร่ ในรูปนั้นเสีย

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอทั้งหลาย พึงละความพอใจและความ รักใคร่ ในสิ่งนั้นเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรเล่าเป็นทุกข์

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละความพอใจ และความรักใคร่ ในรูปนั้นเสีย เสียงเป็นทุกข์ ... กลิ่นเป็นทุกข์ ... รสเป็นทุกข์ ... โผฏฐัพพะเป็นทุกข์ ...ธรรมารมณ์เป็นทุกข์ เธอทั้งหลาย พึงละความพอใจและความรักใคร่ ในธรรมารมณ์ นั้นเสีย

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอทั้งหลาย พึงละความพอใจ และความรัก ใคร่ ในสิ่งนั้นเสีย


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๗๔-๑๗๕

(สูตรที่ ๑๖)
ฉันทสูตรที่ ๖

รูปเป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจในรูปนั้นเสีย

            [๒๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย พึงละความพอใจ ในสิ่งนั้นเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรเล่าเป็นอนัตตา

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย พึงละความพอใจ ในรูปนั้น เสียงเป็นอนัตตา ...กลิ่นเป็นอนัตตา ... รสเป็นอนัตตา ... โผฏฐัพพะเป็นอนัตตา ... ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย พึงละความพอใจ ในธรรมารมณ์นั้นเสีย

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นอนัตตาเธอทั้งหลายพึงละความพอใจในสิ่งนั้นเสีย

-----------------------------------------------------------------------------------------------

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๗๔-๑๗๕

(สูตรที่ ๑๗)
ราคสูตรที่ ๖
รูปเป็นอนัตตา เธอพึงละความรักใคร่ ในรูปนั้นเสีย

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย พึงละความรักใคร่ ในสิ่งนั้น เสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรเล่าเป็นอนัตตา

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย พึงละความรักใคร่ ในรูปนั้นเสีย เสียงเป็นอนัตตา ...กลิ่นเป็นอนัตตา ... รสเป็นอนัตตา ... โผฏฐัพพะเป็นอนัตตา ... ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย พึงละความรักใคร่ ในธรรมารมณ์นั้นเสีย

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นอนัตตาเธอทั้งหลายพึงละความรักใคร่ในสิ่งนั้นเสีย

-----------------------------------------------------------------------------------------------

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๗๔-๑๗๕

(สูตรที่ ๑๘)
ฉันทราคสูตรที่ ๖
รูปเป็นอนัตตา เธอพึงละพึงละความพอใจ และความใคร่ ในรูปนั้นเสีย

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย พึงละความพอใจและ ความรักใคร่ ในสิ่งนั้นเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรเล่าเป็นอนัตตา

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย พึงละความพอใจและความ รักใคร่ ในรูปนั้นเสีย เสียงเป็นอนัตตา ...กลิ่นเป็นอนัตตา ...รสเป็นอนัตตา ... ผฏฐัพพะ เป็นอนัตตา ... ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย พึงละความพอใจและความรักใคร่ ในธรรมารมณ์นั้นเสีย

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย พึงละความพอใจและความ รักใคร่ ในสิ่งนั้นเสีย


-----------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๗๕-๑๗๖

(สูตรที่ ๑๙)
อตีตสูตรที่ ๑
อายตนะภายในที่เป็นอดีต ไม่เที่ยง

            [๒๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุที่เป็นอดีตเป็นของไม่เที่ยง หูที่เป็นอดีตเป็น ของ ไม่เที่ยง จมูกที่เป็นอดีตเป็นของไม่เที่ยง ลิ้นที่เป็นอดีตเป็นของไม่เที่ยง กายที่เป็น อดีตเป็นของไม่เที่ยง ใจที่เป็นอดีตเป็นของไม่เที่ยง

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในจักษุ แม้ในหู แม้ในจมูก แม้ในลิ้น แม้ในกาย แม้ในใจ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลาย กำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้น แล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อ ความเป็นอย่างนี้มิได้มี


-----------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๗๖

(สูตรที่ ๒๐)
อนาคตสูตรที่ ๑
อายตนะภายในที่เป็นอนาคต ไม่เที่ยง

            [๒๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุที่เป็นอนาคตเป็นของไม่เที่ยง หูที่เป็นอนาคต เป็นของไม่เที่ยง จมูกที่เป็นอนาคตเป็นของไม่เที่ยง ลิ้นที่เป็นอนาคตเป็นของไม่เที่ยง กายที่เป็นอนาคตเป็นของไม่เที่ยง ใจที่เป็นอนาคต เป็นของไม่เที่ยง

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อ ความเป็นอย่างนี้มิได้มี


-----------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๗๖

(สูตรที่ ๒๑)
ปัจจุปันนสูตรที่ ๑
อายตนะภายในที่เป็นปัจจุบัน ไม่เที่ยง

            [๒๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุที่เป็นปัจจุบันเป็นของไม่เที่ยง หูที่เป็นปัจจุบัน เป็นของไม่เที่ยง จมูกที่เป็นปัจจุบันเป็นของไม่เที่ยง ลิ้นที่เป็นปัจจุบันเป็นของ ไม่เที่ยง กายที่เป็นปัจจุบันเป็นของไม่เที่ยง ใจที่เป็นปัจจุบันเป็นของไม่เที่ยง

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่น เพื่อความ เป็นอย่างนี้มิได้มี


-----------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๗๖-๑๗๗

(สูตรที่ ๒๒)
อตีตสูตรที่ ๒
อายตนะภายในที่เป็นอดีต เป็นทุกข์

            [๒๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุที่เป็นอดีตเป็นทุกข์ หูที่เป็นอดีตเป็นทุกข์ จมูกที่เป็นอดีตเป็นทุกข์ ลิ้นที่เป็นอดีตเป็นทุกข์ กายที่เป็นอดีตเป็นทุกข์ใจ ที่เป็นอดีต เป็นทุกข์

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความ เป็นอย่างนี้มิได้มี


-----------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๗๖-๑๗๗

(สูตรที่ ๒๓)
อนาคตสูตรที่ ๒

อายตนะภายในที่เป็นอนาคต เป็นทุกข์

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์ หูที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์จมูก ที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์ ลิ้นที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์ กายที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์ใจ ที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี


-----------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๗๖-๑๗๗

(สูตรที่ ๒๔)
ปัจจุปันนสูตรที่ ๒

อายตนะภายในที่เป็นปัจจุบัน เป็นทุกข์

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์ หูที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์จมูก ที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์ ลิ้นที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์ กายที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์ ใจที่เป็น ปัจจุบันเป็นทุกข์

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความ เป็นอย่างนี้มิได้มี


-----------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๗๗-๑๗๘

(สูตรที่ ๒๕)
อตีตสูตรที่ ๓
อายตนะภายในที่เป็นอดีต เป็นอนัตตา

            [๒๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุที่เป็นอดีตเป็นอนัตตา หูที่เป็นอดีตเป็นอนัตตา จมูกที่เป็นอดีตเป็นอนัตตา ลิ้นที่เป็นอดีตเป็นอนัตตา กายที่เป็นอดีตเป็นอนัตตา ใจที่เป็นอดีตเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี


-----------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๗๗-๑๗๘

(สูตรที่ ๒๖)
อนาคตสูตรที่ ๓

อายตนะภายในที่เป็นอนาคต เป็นอนัตตา

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุที่เป็นอนาคตเป็นอนัตตา หูที่เป็นอนาคตเป็นอนัตตา จมูกที่เป็นอนาคตเป็นอนัตตา ลิ้นที่เป็นอนาคตเป็นอนัตตา กายที่เป็นอนาคตเป็นอนัตตา ใจที่เป็นอนาคตเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี


-----------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๗๗-๑๗๘

(สูตรที่ ๒๗)
ปัจจุปันนสูตรที่ ๓
อายตนะภายในที่เป็นปัจจุบัน เป็นอนัตตา

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุที่เป็นปัจจุบันเป็นอนัตตา หูที่เป็นปัจจุบันเป็นอนัตตา จมูกที่เป็นปัจจุบันเป็นอนัตตา ลิ้นที่เป็นปัจจุบันเป็นอนัตตา กายที่เป็นปัจจุบันเป็นอนัตตา ใจที่เป็นปัจจุบันเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี


-----------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๗๘-๑๗๙

(สูตรที่ ๒๘)
อตีตสูตรที่ ๔
อายตนะภายนอกที่เป็นอดีต ไม่เที่ยง

            [๒๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอดีตเป็นของไม่เที่ยง เสียงที่เป็นอดีต เป็นของไม่เที่ยง กลิ่นที่เป็นอดีตเป็นของไม่เที่ยง รสที่เป็นอดีตเป็นของไม่เที่ยง โผฏฐัพพะที่เป็นอดีตเป็นของไม่เที่ยง ธรรมารมณ์ที่เป็นอดีต เป็นของไม่เที่ยง

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อ ความเป็นอย่างนี้มิได้มี


-----------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๗๘-๑๗๙

(สูตรที่ ๒๙)
อนาคตสูตรที่ ๔
อายตนะภายนอกที่เป็นอนาคต เป็นทุกข์

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอนาคตเป็นของไม่เที่ยง เสียงที่เป็นอนาคตเป็นของ ไม่เที่ยง กลิ่นที่เป็นอนาคตเป็นของไม่เที่ยง รสที่เป็นอนาคตเป็นของไม่เที่ยง โผฏฐัพพะ ที่เป็นอนาคตเป็นของไม่เที่ยง ธรรมารมณ์ที่เป็นอนาคต เป็นของไม่เที่ยง

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อ ความ เป็นอย่างนี้มิได้มี


-----------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๗๘-๑๗๙

(สูตรที่ ๓๐)
ปัจจุปันนสูตรที่ ๔

อายตนะภายนอกที่เป็นปัจจุบัน ไม่เที่ยง

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นปัจจุบันเป็นของไม่เที่ยง เสียงที่เป็นปัจจุบันเป็น ของ ไม่เที่ยง กลิ่นที่เป็นปัจจุบันเป็นของไม่เที่ยง รสที่เป็นปัจจุบันเป็นของไม่เที่ยง โผฏฐัพพะที่เป็นปัจจุบันเป็นของไม่เที่ยง ธรรมารมณ์ที่เป็นปัจจุบัน เป็นของไม่เที่ยง ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความ เป็น อย่างนี้มิได้มี


-----------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๗๙-๑๘๐

(สูตรที่ ๓๑)
อตีตสูตรที่ ๕
อายตนะภายในที่เป็นอดีต เป็นทุกข์

            [๒๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอดีตเป็นทุกข์ เสียงที่เป็นอดีตเป็นทุกข์ กลิ่นที่เป็นอดีตเป็นทุกข์ รสที่เป็นอดีตเป็นทุกข์ โผฏฐัพพะที่เป็นอดีตเป็นทุกข์ ธรรมารมณ์ ที่เป็นอดีตเป็นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี


-----------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๗๙-๑๘๐

(สูตรที่ ๓๒)
อนาคตสูตรที่ ๕

อายตนะภายนอกที่เป็นอนาคต เป็นทุกข์

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์ เสียงที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์ กลิ่นที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์ รสที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์ โผฏฐัพพะที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์ ธรรมารมณ์ที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี


-----------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๗๙-๑๘๐

(สูตรที่ ๓๓)
ปัจจุปันนสูตรที่ ๕

อายตนะภายนอกที่เป็นปัจจุบัน เป็นทุกข์

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์ เสียงที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์ กลิ่นที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์ รสที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์ โผฏฐัพพะที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์ ธรรมารมณ์ที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี


-----------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๘๐

(สูตรที่ ๓๔)
อตีตสูตรที่ ๖
อายตนะภายนอกที่เป็นอดีต เป็นอนัตตา

            [๒๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอดีตเป็นอนัตตา เสียงที่เป็นอดีตเป็นอนัตตา กลิ่นที่เป็นอดีตเป็นอนัตตา รสที่เป็นอดีตเป็นอนัตตา โผฏฐัพพะที่เป็นอดีตเป็นอนัตตา ธรรมารมณ์ที่เป็นอดีตเป็นอนัตตา

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่น เพื่อความ เป็นอย่างนี้มิได้มี


-----------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๘๐

(สูตรที่ ๓๕)
อนาคตสูตรที่ ๖

อายตนะภายนอกที่เป็นอนาคต เป็นอนัตตา

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอนาคตเป็นอนัตตา เสียงที่เป็นอนาคตเป็นอนัตตา กลิ่นที่เป็นอนาคตเป็นอนัตตา รสที่เป็นอนาคตเป็นอนัตตา โผฏฐัพพะที่เป็นอนาคตเป็น อนัตตา ธรรมารมณ์ที่เป็นอนาคตเป็นอนัตตา

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อ ความ เป็นอย่างนี้มิได้มี


-----------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๘๐

(สูตรที่ ๓๖)
ปัจจุปันนสูตรที่ ๖
อายตนะภายนอกที่เป็นปัจจุบัน เป็นอนัตตา

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นปัจจุบันเป็นอนัตตา เสียงที่เป็นปัจจุบันเป็นอนัตตา กลิ่นที่เป็นปัจจุบันเป็นอนัตตา รสที่เป็นปัจจุบันเป็นอนัตตา โผฏฐัพพะที่เป็นปัจจุบัน เป็นอนัตตา ธรรมารมณ์ที่เป็นปัจจุบันเป็นอนัตตา

             ดูกรภิกษุทั้งหลายอริยสาวก ผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อ ความ เป็นอย่างนี้มิได้มี


-----------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๘๑

(สูตรที่ ๓๗)
อนิจจสูตรที่ ๑
อายตนะภายในเป็นอดีต ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่ใช่ของเรา

            [๒๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุที่เป็นอดีตไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็น ทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง อย่างนี้ หูที่เป็นอดีตไม่เที่ยง ... จมูกที่เป็นอดีตไม่เที่ยง ... ลิ้นที่เป็นอดีตไม่เที่ยง ... กายที่เป็น อดีตไม่เที่ยง ... ใจที่เป็นอดีตไม่เที่ยง ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตาสิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความ เป็นอย่างนี้มิได้มี


-----------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๘๑

(สูตรที่ ๓๘)
อนิจจสูตรที่ ๒
อายตนะภายในเป็นอนาคต ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่ใช่ของเรา

            [๒๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุที่เป็นอนาคตไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้น เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้พึงเห็นด้วยปัญญา อันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ หูที่เป็นอนาคตไม่เที่ยง ... จมูกที่เป็นอนาคตไม่เที่ยง ...ลิ้นที่เป็นอนาคตไม่เที่ยง ... กายที่เป็นอนาคตไม่เที่ยง ... ใจที่เป็นอนาคตไม่เที่ยง...ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็น อย่างนี้มิได้มี


-----------------------------------------------------------------------------------------------

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๘๑-๑๘๒

(สูตรที่ ๓๙)
อนิจจสูตรที่ ๓
อายตนะภายในเป็นปัจจุบัน ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่ใช่ของเรา

            [๒๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุที่เป็นปัจจุบันไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้น เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา

             ข้อนี้พึงเห็นด้วยปัญญา อันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ หูที่เป็นปัจจุบัน ไม่เที่ยง ... จมูกที่เป็นปัจจุบันไม่เที่ยง ...ลิ้นที่เป็นปัจจุบันไม่เที่ยง ... กายที่เป็นปัจจุบัน ไม่เที่ยง ... ใจที่เป็นปัจจุบันไม่เที่ยงฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี


-----------------------------------------------------------------------------------------------

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๘๒-๑๘๓

(สูตรที่ ๔๐)
ทุกขสูตรที่ ๑
อายตนะภายในเป็นอดีต เป็นทุกข์

            [๒๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุที่เป็นอดีตเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์สิ่งนั้น เป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ หูที่เป็นอดีตเป็นทุกข์ ... จมูกที่เป็นอดีตเป็นทุกข์ ... ลิ้นที่เป็นอดีตเป็นทุกข์ ... กายที่เป็นอดีตเป็นทุกข์ ... ใจที่เป็นอดีตเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้พึงเห็นด้วยปัญญา อันชอบตามความเป็นจริง อย่างนี้

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อ ความเป็นอย่างนี้มิได้มี


-----------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๘๒-๑๘๓

(สูตรที่ ๔๑)
ทุกขสูตรที่ ๒
อายตนะภายในเป็นอนาคต เป็นทุกข์

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้พึงเห็นด้วย ปัญญาอันชอบตาม ความเป็นจริงอย่างนี้ หูที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์ ... จมูกที่เป็นอนาคต เป็นทุกข์ ... ลิ้นที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์ ...กายที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์ ...ใจที่เป็นอนาคต เป็นทุกข์ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี


-----------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๘๒-๑๘๓

(สูตรที่ ๔๒)
ทุกขสูตรที่ ๓
อายตนะภายในเป็นปัจจุบัน เป็นทุกข์

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้พึงเห็นด้วย ปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ หูที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์ ...จมูกที่เป็นปัจจุบัน เป็นทุกข์ ... ลิ้นที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์ ... กายที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์ ... ใจที่เป็น ปัจจุบัน เป็นทุกข์ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี


-----------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๘๓-๑๘๔

(สูตรที่ ๔๓)
อนัตตสูตรที่ ๑
อายตนะภายในเป็นอดีต เป็นอนัตตา

            [๒๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุที่เป็นอดีตเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ หูที่เป็นอดีตเป็นอนัตตา ... จมูกที่เป็นอดีตเป็นอนัตตา ... ลิ้นที่เป็นอดีตเป็นอนัตตา ... กายที่เป็นอดีตเป็นอนัตตา ... ใจที่เป็นอดีตเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้พึงเห็นด้วย ปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อ ความเป็นอย่างนี้ มิได้มี


-----------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๘๓-๑๘๔

(สูตรที่ ๔๔)
อนัตตสูตรที่ ๒
อายตนะภายในเป็นอนาคต เป็นอนัตตา

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุที่เป็นอนาคตเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตาสิ่งนั้น ไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ หูที่เป็นอนาคตเป็นอนัตตา ... จมูกที่เป็นอนาคตเป็นอนัตตา ... ลิ้นที่เป็นอนาคตเป็นอนัตตา ... กายที่เป็นอนาคตเป็นอนัตตา ...ใจที่เป็นอนาคตเป็น อนัตตา ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี


-----------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๘๓-๑๘๔

(สูตรที่ ๔๕)
อนัตตสูตรที่ ๓
อายตนะภายในเป็นปัจจุบัน เป็นอนัตตา

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุที่เป็นปัจจุบันเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตาสิ่งนั้น ไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความ เป็นจริงอย่างนี้ หูที่เป็นปัจจุบันเป็นอนัตตา ... จมูกที่เป็นปัจจุบันเป็นอนัตตา ... ลิ้นที่เป็น ปัจจุบันเป็นอนัตตา ... กายที่เป็นปัจจุบันเป็นอนัตตา ... ใจที่เป็นปัจจุบันเป็นอนัตตา ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี


-----------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๘๔-๑๘๕

(สูตรที่ ๔๖)
อนิจจสูตรที่ ๔
อายตนะภายนอกที่เป็นอดีต ไม่เที่ยง

            [๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอดีตไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ เสียงที่เป็น อดีตไม่เที่ยง ... กลิ่นที่เป็นอดีตไม่เที่ยง ... รสที่เป็นอดีตไม่เที่ยง ... โผฏฐัพพะที่เป็นอ ดีตไม่เที่ยง ... ธรรมารมณ์ที่เป็นอดีตไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเ ป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตาสิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตน ของเรา ข้อนี้พึงเห็น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อ ความเป็นอย่างนี้มิได้มี


-----------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๘๔-๑๘๕

(สูตรที่ ๔๗)
อนิจจสูตรที่ ๕
อายตนะภายนอกที่เป็นอนาคต ไม่เที่ยง

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอนาคตไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเราไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ เสียงที่เป็นอนาคตไม่เที่ยง ... กลิ่นที่เป็นอนาคตไม่เที่ยง ... รสที่เป็นอนาคตไม่เที่ยง ... โผฏฐัพพะที่เป็นอนาคตไม่เที่ยง ... ธรรมารมณ์ที่เป็นอนาคตไม่เที่ยง ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี


-----------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๘๔-๑๘๕

(สูตรที่ ๔๘)
อนิจจสูตรที่ ๖
อายตนะภายนอกที่เป็นปัจจุบัน เป็นทุกข์

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นปัจจุบันไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ เสียงที่เป็นปัจจุบันไม่เที่ยง ... กลิ่นที่เป็นปัจจุบันไม่เที่ยง ... รสที่เป็นปัจจุบันไม่เที่ยง ... โผฏฐัพพะที่เป็นปัจจุบันไม่เที่ยง ... ธรรมารมณ์ที่เป็นปัจจุบันไม่เที่ยง ฯลฯ กิจอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี


-----------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๘๕-๑๘๖

(สูตรที่ ๔๙)
ทุกขสูตรที่ ๔
อายตนะภายนอกที่เป็นอดีต เป็นทุกข์

            [๒๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอดีตเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์สิ่งนั้น เป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ เสียงที่เป็นอดีตเป็นทุกข์ ... กลิ่นที่เป็นอดีตเป็นทุกข์ ... รสที่เป็นอดีตเป็นทุกข์ ... โผฏฐัพพะที่เป็นอดีตเป็นทุกข์ ... ธรรมารมณ์ที่เป็นอดีตเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อ ความเป็นอย่างนี้มิได้มี

-----------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๘๕-๑๘๖

(สูตรที่ ๕๐)
ทุกขสูตรที่ ๕
อายตนะภายนอกที่เป็นอนาคต เป็นทุกข์

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอนาคต เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้พึงเห็นด้วย ปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ เสียงที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์ ... กลิ่นที่เป็น อนาคตเป็นทุกข์ ... รสที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์ ... โผฏฐัพพ ที่เป็นอนาคต เป็นทุกข์ ... ธรรมารมณ์ที่เป็นอนาคต เป็นทุกข์ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี


-----------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๘๕-๑๘๖

(สูตรที่ ๕๑)
ทุกขสูตรที่ ๖
อายตนะภายนอกที่เป็นปัจจุบัน เป็นทุกข์

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้พึงเห็นด้วย ปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ เสียงที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์ ... กลิ่นที่เป็น ปัจจุบันเป็นทุกข์ ... รสที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์ ...โผฏฐัพพะที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์ ... ธรรมารมณ์ที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี


-----------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๘๖-๑๘๗

(สูตรที่ ๕๒)
อนัตตสูตรที่ ๔
อายตนะภายนอกที่เป็นอดีต เป็นอนัตตา

            [๒๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอดีตเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้น ไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ เสียงที่เป็นอดีตเป็นอนัตตา ... กลิ่นที่เป็นอดีตเป็นอนัตตา ... รสที่เป็นอดีตเป็นอนัตตา ... โผฏฐัพพะที่เป็นอดีตเป็นอนัตตา ...ธรรมารมณ์ที่เป็นอดีต เป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความ เป็นอย่างนี้มิได้มี


-----------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๘๖-๑๘๗

(สูตรที่ ๕๓)
อนัตตสูตรที่ ๕

อายตนะภายนอกที่เป็นอนาคต เป็นอนัตตา

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอนาคตเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้น ไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ เสียงที่เป็นอนาคตเป็นอนัตตา ... กลิ่นที่เป็นอนาคตเป็น อนัตตา ... รสที่เป็นอนาคต เป็นอนัตตา ... โผฏฐัพพะที่เป็นอนาคตเป็นอนัตตา ...ธรรมารมณ์ที่เป็นอนาคตเป็น อนัตตา ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี


-----------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๘๖-๑๘๗

(สูตรที่ ๕๔)
อนัตตสูตรที่ ๖
อายตนะภายนอกที่เป็นปัจจุบันเป็นอนัตตา

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นปัจจุบันเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความ เป็นจริง อย่างนี้ เสียงที่เป็นปัจจุบันเป็นอนัตตา ... กลิ่นที่เป็นปัจจุบันเป็นอนัตตา ... รสที่เป็นปัจจุบันเป็นอนัตตา ... โผฏฐัพพะที่เป็นปัจจุบันเป็นอนัตตา ... ธรรมารมณ์ ที่เป็นปัจจุบันเป็นอนัตตา ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความอย่างนี้มิได้มี


-----------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๘๗-๑๘๘

(สูตรที่ ๕๕)
อัชฌัตตายตนสูตรที่ ๑
อายตนะภายในไม่เที่ยง

            [๒๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็นของไม่เที่ยง หูเป็นของไม่เที่ยงจมูก เป็นของไม่เที่ยง ลิ้นเป็นของไม่เที่ยง กายเป็นของไม่เที่ยง ใจเป็นของไม่เที่ยง

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อ ความเป็นอย่างนี้มิได้มี


-----------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๘๘

(สูตรที่ ๕๖)
อัชฌัตตายตนสูตรที่ ๒
อายตนะภายในเป็นทุกข์

            [๒๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็นทุกข์ หูเป็นทุกข์ จมูกเป็นทุกข์ลิ้นเป็นทุกข์ กายเป็นทุกข์ ใจเป็นทุกข์

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในจักษุ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี


-----------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๘๘

(สูตรที่ ๕๗)
อัชฌัตตายตนสูตรที่ ๓
อายตนะภายในเป็นอนัตตา

            [๒๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็นอนัตตา หูเป็นอนัตตา จมูกเป็นอนัตตา ลิ้นเป็นอนัตตา กายเป็นอนัตตา ใจเป็นอนัตตา

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน จักษุ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี


-----------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๘๘

(สูตรที่ ๕๘)
พาหิรายตนสูตรที่ ๑
อายตนะภายนอกไม่เที่ยง

            [๒๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง เสียงไม่เที่ยง กลิ่นไม่เที่ยงรสไม่เที่ยง โผฏฐัพพะไม่เที่ยง ธรรมารมณ์ไม่เที่ยง

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อ ความเป็นอย่างนี้มิได้มี


-----------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๘๙

(สูตรที่ ๕๙)
พาหิรายตนสูตรที่ ๒
อายตนะภายนอกเป็นทุกข์

            [๒๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นทุกข์ เสียงเป็นทุกข์ กลิ่นเป็นทุกข์ รสเป็น ทุกข์ โผฏฐัพพะเป็นทุกข์ ธรรมารมณ์เป็นทุกข์

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อ ความเป็นอย่างนี้มิได้มี


-----------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๘๙-๑๙๐

(สูตรที่ ๖๐)
พาหิรายตนสูตรที่ ๓
อายตนะภายนอกเป็นอนัตตา

            [๒๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา เสียงเป็นอนัตตา กลิ่นเป็นอนัตตา รสเป็นอนัตตา โผฏฐัพพะเป็นอนัตตา ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน รูป แม้ในเสียง แม้ในกลิ่น แม้ในรส แม้ในโผฏฐัพพะ แม้ในธรรมารมณ์ ฯลฯ กิจอื่น เพื่อความ เป็นอย่างนี้มิได้มี

 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์