เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

สมุทรสูตร จักษุ เป็นสมุทรของบุรุษ บุคคลใดอดกลั้นกำลังที่เกิดจากรูปได้ เรียกว่าเป็นพราหมณ์ 2037
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘

สมุทรสูตรที่ ๑
จักษุ และ ใจ เป็นสมุทรของบุรุษ กำลังของจักษุนั้นเกิดจากรูป และใจ บุคคลใดย่อมอดกลั้นกำลัง อันเกิดจากรูปและใจ ได้ บุคคลนี้เรียกว่าเป็นพราหมณ์

สมุทรสูตรที่ ๒
รูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่า ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด นี้เรียกว่าเป็นสมุทร ในวินัย ของพระอริยเจ้า

สัตว์โลก มีอยู่ในสมุทรนี้ โดยมากเป็นผู้เศร้าหมอง เกิดเป็นผู้ยุ่งประดุจด้ายของช่างหูก หาล่วง อบายทุคติ วินิบาตไปได้ บุคคลใดคลายราคะ โทสะ และอวิชชาได้แล้ว ชื่อว่าข้ามสมุทรที่ข้าม ได้แสนยากได้แล้ว เรากล่าวว่า บุคคลนั้นล่วงพ้นเครื่องข้อง ละมัจจุ ไม่มีอุปธิ ละทุกข์ได้

พาลิสิกสูตร อุปมาด้วยพรานเบ็ด
ดูกรภิกษุ ท. ในโลกมีเบ็ดอยู่ ๖ ชนิด เพื่อจะนำสัตว์ทั้งหลายไป เพื่อจะฆ่าสัตว์ทั้งหลายเสีย ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เบ็ด ๖ ชนิด คือรูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจน่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุเพลิดเพลิน สรรเสริญ หมกมุ่นในรูปนั้น ภิกษุนี้เราเรียกว่า กลืนกินเบ็ดของมาร...

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๙๑

สมุทรสูตรที่ ๑

             [๒๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้ว ย่อมกล่าวว่า สมุทรๆ ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย สมุทรนั้นไม่ชื่อว่า เป็นสมุทรในวินัยของพระอริยเจ้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมุทรนั้นเรียกว่า เป็นแอ่งน้ำใหญ่ เป็นห้วงน้ำใหญ่

              ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ เป็นสมุทรของบุรุษ กำลังของจักษุนั้นเกิดจากรูป บุคคลใดย่อมอดกลั้นกำลังอันเกิดจากรูปนั้นได้ บุคคลนี้เรียกว่าเป็นพราหมณ์ข้ามสมุทร คือจักษุ ซึ่งมีทั้งคลื่นมีทั้งน้ำวน มีทั้งสัตว์ร้าย มีทั้งผีเสื้อน้ำ แล้วขึ้นถึงฝั่งตั้งอยู่บนบก ฯลฯ

             ใจ เป็นสมุทรของบุรุษ กำลังของใจนั้น เกิดจากธรรมารมณ์ บุคคลใดย่อม อดกลั้น กำลังอันเกิดจากธรรมารมณ์นั้นได้ บุคคลนี้เรียกว่าเป็นพราหมณ์ข้ามสมุทร คือใจได้ ซึ่งมีทั้งคลื่น มีทั้งน้ำวน มีทั้งสัตว์ร้าย มีทั้งผีเสื้อน้ำ แล้วขึ้นถึงฝั่งตั้งอยู่บนบก

             พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้ จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปว่า

             [๒๘๖] บุคคลใดข้ามสมุทรนี้ ซึ่งมีทั้งคลื่น มีทั้งน้ำวน มีทั้ง สัตว์ร้าย มีทั้ง ผีเสื้อน้ำ น่าหวาดกลัว ข้ามได้แสนยาก ได้ แล้ว บุคคลนั้นเราเรียกว่า เป็นผู้เรียนจบเวท อยู่จบ พรหมจรรย์ ถึงที่สุดแห่งโลก ข้ามถึงฝั่งแล้ว


-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๙๑

สมุทรสูตรที่ ๒

             [๒๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนไม่ได้สดับแล้ว ย่อมกล่าวว่า สมุทรๆดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย สมุทรนั้นไม่ชื่อว่าเป็นสมุทร ในวินัยของพระอริยเจ้า

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมุทรนั้นเรียกว่า เป็นแอ่งน้ำใหญ่ เป็นห้วงน้ำใหญ่ รูปอันจะ พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด นี้เรียกว่าเป็นสมุทรในวินัย ของ พระอริยเจ้า

             โลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลกมารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้ง สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ มีอยู่ในสมุทรนี้ โดยมากเป็นผู้เศร้าหมอง เกิดเป็นผู้ยุ่ง ประดุจด้าย ของช่างหูก เกิดเป็นปมประหนึ่งกระจุกด้าย เป็นดุจหญ้าปล้อง และหญ้า มุงกระต่าย หาล่วงอบายทุคติ วินิบาต สงสารไปได้ไม่ ฯลฯ

             ธรรมารมณ์อันจะพึงรู้ได้ด้วยใจ น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด นี้เรียกว่าเป็นสมุทร ในวินัยของพระอริยเจ้า โลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลกหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ มีอยู่ในสมุทรนี้ โดยมากเป็นผู้เศร้าหมอง เกิดเป็นผู้ยุ่งดุจด้ายของช่างหูก เกิดเป็นปมประหนึ่งกระจุก ด้าย เป็นดุจหญ้าปล้องและหญ้ามุงกระต่าย หาล่วงอบาย ทุคติ วินิบาต สงสารไปได้ไม่

             [๒๘๘] บุคคลใดคลายราคะ โทสะ และอวิชชาได้แล้ว บุคคล นั้นชื่อว่าข้าม สมุทรนี้ ซึ่งมีทั้งสัตว์ร้าย มีทั้งผีเสื้อน้ำ มีทั้ง คลื่นและภัย ที่ข้ามได้แสนยาก ได้แล้ว เรากล่าวว่า บุคคลนั้นล่วงพ้นเครื่องข้อง ละมัจจุ ไม่มีอุปธิ ละทุกข์ได้


-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๙๓-๑๙๔

พาลิสิกสูตร
อุปมาด้วยพรานเบ็ด

             [๒๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พรานเบ็ดหย่อนเบ็ด ที่มีเหยื่อลงในห้วงน้ำลึก ปลาที่เห็นแก่เหยื่อตัวใดตัวหนึ่ง กลืนกินเบ็ดนั้น ปลานั้นชื่อว่า กลืนกินเบ็ดของ นายพรานเบ็ด ถึงความวิบัติ ถึงความพินาศ พรานเบ็ดพึงกระทำได้ตามชอบใจฉันใด

              ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในโลกมีเบ็ดอยู่ ๖ ชนิดเหล่านี้ เพื่อจะนำสัตว์ทั้งหลายไป เพื่อจะฆ่าสัตว์ทั้งหลายเสีย ก็ฉันนั้นเหมือนกัน

             เบ็ด ๖ ชนิด คืออะไรบ้าง คือ รูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจน่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุเพลิดเพลิน สรรเสริญ หมกมุ่นในรูปนั้น ภิกษุนี้เราเรียกว่า กลืนกินเบ็ดของมาร ถึงความวิบัติ ถึงความพินาศ มารใจบาปพึงกระทำได้ตามชอบใจ เสียง ... กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะ ...ธรรมารมณ์ อันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารักชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่

             ถ้าภิกษุเพลิดเพลิน สรรเสริญ หมกมุ่นธรรมารมณ์นั้น ภิกษุนี้เราเรียกว่า กลืนกินเบ็ดของมาร ถึงความวิบัติ ถึงความพินาศ มารใจบาปพึงกระทำได้ตามชอบใจ

             [๒๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนาน่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่สรรเสริญ ไม่หมกมุ่นรูปนั้น ภิกษุนี้เราเรียกว่า ไม่กลืนกินเบ็ดของมาร ได้ทำลายเบ็ด ย่ำยีเบ็ด ไม่ถึงความวิบัติ ไม่ถึงความพินาศ มารใจบาปไม่พึงกระทำได้ตามชอบใจ เสียง ... กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะ ... ธรรมารมณ์อันจะพึงรู้ได้ด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่สรรเสริญ ไม่หมกมุ่น ธรรมารมณ์นั้น ภิกษุนี้เราเรียกว่า ไม่กลืนกินเบ็ดของมาร ได้ทำลายเบ็ด ย่ำยีเบ็ดไม่ถึง ความวิบัติ ไม่ถึงความพินาศ มารใจบาปไม่พึงกระทำได้ตามชอบใจ



 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์