เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

ชีวกัมพวนสูตร เธอจงเจริญสมาธิ เพราะเมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว สิ่งทั้งปวงย่อมปรากฏ จักษุ ไม่เที่ยง รูปไม่เที่ยง 2034
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘

ชีวกัมพวนสูตรที่ ๑ (การเจริญสมาธิในชีวกัมพวัน)
เธอทั้งหลาย จงเจริญสมาธิ เพราะเมื่อภิกษุมีจิตตั้งมั่นแล้ว สิ่งทั้งปวงย่อมปรากฏตามความเป็นจริง
ก็อะไรเล่าปรากฏตามความเป็นจริง (อายตนะภายใน-ภายนอก-วิญญาณ-ผัสสะ-เวทนา)
จักษุ ย่อมปรากฏตามความเป็นจริงว่า ไม่เที่ยง
รูป ย่อมปรากฏตามความเป็นจริงว่า ไม่เที่ยง
จักษุวิญญาณ ย่อมปรากฏตามความเป็นจริงว่า ไม่เที่ยง
จักษุสัมผัส ย่อมปรากฏตามความเป็นจริงว่า ไม่เที่ยง
สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขฯ
ย่อมปรากฏตามความเป็นจริงว่า ไม่เที่ยง ฯลฯ
(โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย ใจ ก็ปรากฏตามความเป็นจริงเช่นเดียวกับ จักษุ)

ชีวกัมพวนสูตรที่ ๒ (การหลีกเร้นในชีวกัมพวัน)
เธอทั้งหลายจงหลีกเร้นบำเพ็ญความเพียร เพราะเมื่อภิกษุ หลีกเร้นอยู่ สิ่งทั้งปวงย่อมปรากฏตามความเป็นจริง จักษุ ย่อมปรากฏตามความเป็นจริงว่า ไม่เที่ยง
รูป..ไม่เที่ยง จักษุวิญญาณ..ไม่เที่ยง  จักษุสัมผัส..ไม่เที่ยง เวทนา..ไม่เที่ยง

มหาโกฏฐิกสูตรที่ ๑ (ทรงแสดงความไม่เที่ยงแก่พระมหาโกฏฐิกะ)
ขอพระองค์โปรดทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ... ดูกรโกฏฐิกะ สิ่งใดแล ไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้น ก็สิ่งอะไรเล่า ไม่เที่ยง จักษุไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในจักษุนั้น รูปไม่เที่ยง ฯลฯ

มหาโกฏฐิกสูตรที่ ๒ (ทรงแสดงความทุกข์แก่พระมหาโกฏฐิกะ)
ขอพระองค์โปรดทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ... ดูกรโกฏฐิกะ สิ่งใดแล เป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้น ก็สิ่งอะไรเล่า เป็นทุกข์ จักษุเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจใน จักษุนั้น รูปเป็นทุกข์ ฯลฯ

มหาโกฏฐิกสูตรที่ ๓ (ทรงแสดงอนัตตาแก่พระมหาโกฏฐิกะ)
ขอพระองค์โปรดทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ... ดูกรโกฏฐิกะ สิ่งใดแล เป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้น ก็สิ่งอะไรเล่า เป็นอนัตตา จักษุเป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจใน จักษุนั้น รูปเป็นอนัตตา

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๖๒

ชีวกัมพวนสูตรที่ ๑
การเจริญสมาธิในชีวกัมพวัน

            [๒๔๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ชีวกัมพวันใกล้พระนครราชคฤห์ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงเจริญสมาธิ เพราะเมื่อภิกษุมีจิตตั้งมั่น แล้ว สิ่งทั้งปวงย่อมปรากฏตามความเป็นจริง

            ก็อะไรเล่าปรากฏตามความเป็นจริง คือ
จักษุ ย่อมปรากฏตามความเป็นจริงว่า ไม่เที่ยง
รูป ย่อมปรากฏตามความเป็นจริงว่า ไม่เที่ยง
จักษุวิญญาณ ย่อมปรากฏตามความเป็นจริงว่า ไม่เที่ยง
จักษุสัมผัส ย่อมปรากฏตามความเป็นจริงว่าไม่เที่ยง แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ย่อมปรากฏ ตามความเป็นจริงว่า ไม่เที่ยง ฯลฯ

ใจ ย่อมปรากฏตามความเป็นจริงว่า ไม่เที่ยง
ธรรมารมณ์ ย่อมปรากฏตามความเป็นจริง ว่า ไม่เที่ยง
มโนวิญญาณ ย่อมปรากฏตามความเป็นจริงว่า ไม่เที่ยง
มโนสัมผัส ย่อมปรากฏตามความเป็นจริงว่า ไม่เที่ยง แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุข เวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ย่อมปรากฏตามความเป็นจริงว่า ไม่เที่ยง

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิ เพราะเมื่อภิกษุมีจิตตั้งมั่นแล้ว สิ่งทั้งปวงย่อมปรากฏตามความเป็นจริง

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๖๒-๑๖๓

ชีวกัมพวนสูตรที่ ๒
การหลีกเร้นในชีวกัมพวัน

            [๒๕๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ชีวกัมพวัน ใกล้ พระนครราชคฤห์ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงหลีกเร้นบำเพ็ญความเพียร เพราะเมื่อภิกษุ หลีกเร้นอยู่ สิ่งทั้งปวงย่อมปรากฏตามความเป็นจริง

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าย่อมปรากฏตามความเป็นจริง คือ จักษุย่อม ปรากฏตามความเป็นจริงว่า ไม่เที่ยง รูปย่อมปรากฏตามความเป็นจริงว่า ไม่เที่ยง จักษุวิญญาณ ย่อมปรากฏตามความเป็นจริงว่า ไม่เที่ยง จักษุสัมผัสย่อมปรากฏตาม ความเป็นจริงว่า ไม่เที่ยง แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยก็ย่อมปรากฏตามความเป็นจริงว่า ไม่เที่ยง ฯลฯ

            ใจย่อมปรากฏตามความเป็นจริงว่าไม่เที่ยง ธรรมารมณ์ย่อมปรากฏตามความ เป็นจริงว่า ไม่เที่ยง มโนวิญญาณย่อมปรากฏตามความเป็นจริงว่า ไม่เที่ยง มโนสัมผัส ย่อมปรากฏตามความเป็นจริงว่าไม่เที่ยง แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุข เวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็ย่อมปรากฏตาม ความเป็นจริงว่า ไม่เที่ยง

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงหลีกเร้นบำเพ็ญความเพียร เพราะเมื่อภิกษุ หลีกเร้น อยู่สิ่งทั้งปวงย่อมปรากฏตามความเป็นจริง


------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๖๓-๑๖๔

มหาโกฏฐิกสูตรที่ ๑
ทรงแสดงความไม่เที่ยงแก่พระมหาโกฏฐิกะ

            [๒๕๑] ครั้งนั้นแล ท่านพระมหาโกฏฐิกะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอพระองค์โปรดทรงแสดงธรรม แก่ข้าพระองค์โดยย่อ ที่ข้าพระองค์ฟังแล้ว พึงเป็นผู้หลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วอยู่เถิด

            พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

            ดูกรโกฏฐิกะ สิ่งใดแล ไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้น ก็สิ่งอะไรเล่า ไม่เที่ยง จักษุไม่เที่ยงเธอพึงละความพอใจในจักษุนั้น รูปไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจ ในรูปนั้นจักษุวิญญาณไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในจักษุวิญญาณนั้น จักษุสัมผัส ไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในจักษุสัมผัสนั้น

            แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัส เป็นปัจจัยไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยนั้นเสีย หูไม่เที่ยง ... จมูกไม่เที่ยง... ลิ้นไม่เที่ยง... กายไม่เที่ยง... ใจไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในใจนั้น

            ธรรมารมณ์ไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในธรรมารมณ์นั้น มโนวิญญาณ ไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในมโนวิญญาณนั้น มโนสัมผัสไม่เที่ยง เธอพึงละความ พอใจในมโนสัมผัสนั้น แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้น เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยนั้นเสีย

            ดูกรโกฏฐิกะ สิ่งใดไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้นเสีย

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๖๔-๑๖๕

มหาโกฏฐิกสูตรที่ ๒
ทรงแสดงความทุกข์แก่พระมหาโกฏฐิกะ

            [๒๕๒] ครั้งนั้นแล ท่านพระมหาโกฏฐิกะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอพระองค์ โปรดทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ที่ข้าพระองค์ฟังแล้ว พึงเป็นผู้หลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนอันส่งไปแล้วอยู่เถิด

            พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

            ดูกรโกฏฐิกะสิ่งใดแลเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้นเสีย ก็สิ่งอะไรเล่า เป็นทุกข์จักษุแลเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในจักษุนั้น รูปเป็นทุกข์ เธอพึงละความ พอใจในรูปนั้น จักษุวิญญาณเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในจักษุวิญญาณนั้น จักษุสัมผัสเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในจักษุสัมผัสนั้น แม้สุขเวทนาทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยเป็นทุกข์ เธอพึงละความ พอใจในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้น เพราะจักษุสัมผัสนั้นเสีย หูเป็นทุกข์... จมูกเป็นทุกข์... ลิ้นเป็นทุกข์...กายเป็นทุกข์... ใจเป็นทุกข์ เธอพึงละความ พอใจ ในใจนั้น

            ธรรมารมณ์เป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในธรรมารมณ์นั้น มโนวิญญาณเป็น ทุกข์ เธอพึงละความพอใจในมโนวิญญาณนั้น มโนสัมผัสเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจ ในมโนสัมผัสนั้น แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้น เพราะ มโนสัมผัส เป็นปัจจัยเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัส เป็นปัจจัยนั้นเสีย

            ดูกรโกฏฐิกะสิ่งใดแลเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้นเสีย

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๖๕- ๑๖๖

มหาโกฏฐิกสูตรที่ ๓
ทรงแสดงอนัตตาแก่พระมหาโกฏฐิกะ

            [๒๕๓] ครั้งนั้นแล ท่านพระมหาโกฏฐิกะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง
ที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอประทานพระวโรกาส ขอพระองค์โปรดทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ
ที่ข้าพระองค์ฟังแล้ว พึงเป็นผู้หลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว เป็นผู้ไม่ประมาท มี
ความเพียร มีตนอันส่งไปแล้วอยู่เถิด พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

            ดูกรโกฏฐิกะ ก็สิ่งใดแลเป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้น ก็สิ่งอะไรเล่า เป็นอนัตตาดูกรโกฏฐิกะ จักษุแลเป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจในจักษุนั้น รูปเป็น อนัตตา เธอพึงละความพอใจในรูปนั้น จักษุวิญญาณเป็นอนัตตา เธอพึงละความ พอใจในจักษุวิญญาณนั้น จักษุสัมผัสเป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจในจักษุสัมผัสนั้น แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้น เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เป็น อนัตตา เธอพึงละความพอใจในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยนั้นเสีย หูเป็นอนัตตา...จมูกเป็นอนัตตา... ลิ้นเป็นอนัตตา... กายเป็นอนัตตา... ใจเป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจในใจนั้น

            ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจ ในธรรมารมณ์นั้น มโนวิญญาณ เป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจในมโนวิญญาณนั้น มโนสัมผัสเป็นอนัตตา เธอพึงละ ความพอใจในมโนสัมผัสนั้น แม้สุขเวทนาทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้น เพราะมโนสัมผัส เป็นปัจจัยเป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้น เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยนั้นเสีย

            ดูกรโกฏฐิกะ สิ่งใดแลเป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้นเสีย



 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์