เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

นันทิขยสูตร ภิกษุเห็น จักษุ โสตะ ฆานะ ...อันไม่เที่ยงว่าไม่เที่ยง ชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นชอบ 2033
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘

๑. นันทิขยสูตรที่ ๑
ภิกษุเห็นจักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย และใจ อันไม่เที่ยงนั่นแลว่า ไม่เที่ยง
ความเห็นของภิกษุนั้น ชื่อว่าเป็นความเห็นชอบ

๒. นันทิขยสูตรที่ ๒
ภิกษุเห็น รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ อันไม่เที่ยงนั่นแลว่า ไม่เที่ยง
ความเห็นของภิกษุนั้น ชื่อว่าเป็นความเห็นชอบ

๓. นันทิขยสูตรที่ ๓
เธอทั้งหลาย จงใส่ใจถึง จักษุ โดยอุบายอันแยบคาย และจงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง แห่งจักษุตามความเป็นจริง ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย และใจ
เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน จึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นความเพลิดเพลินและราคะ เราจึงเรียกว่าจิตหลุดพ้นดีแล้ว

๔. นันทิขยสูตรที่ ๔
เธอทั้งหลาย จงใส่ใจถึง รูป โดยอุบายอันแยบคาย และจงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง แห่งรูปตามความเป็นจริง ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์
เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน จึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นความเพลิดเพลินและราคะ เราจึงเรียกว่าจิตหลุดพ้นดีแล้ว

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๖๐
นันทิขยวรรคที่ ๑

นันทิขยสูตรที่ ๑
ความสิ้นไปแห่งความเพลิดเพลินในอายตนะภายใน

            [๒๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเห็นจักษุอันไม่เที่ยงนั่นแลว่า ไม่เที่ยง ความเห็นของภิกษุนั้น ชื่อว่าเป็นความเห็นชอบ เมื่อเห็นชอบย่อมเบื่อหน่าย เพราะสิ้น ความเพลิดเพลิน จึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นความ เพลิดเพลิน และราคะ เราจึงเรียกว่า จิตหลุดพ้นดีแล้ว ฯลฯ

            ภิกษุเห็นใจ อันไม่เที่ยงนั่นแลว่า ไม่เที่ยง ความเห็นของภิกษุนั้น ชื่อว่าเป็น ความเห็นชอบ เมื่อเห็นชอบย่อมเบื่อหน่าย เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน จึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน และราคะ เราจึง เรียกว่า จิตหลุดพ้นดีแล้ว

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๖๐

นันทิขยสูตรที่ ๒
ความสิ้นไปแห่งความเพลิดเพลินในอายตนะภายนอก

            [๒๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเห็นรูปอันไม่เที่ยงนั่นแลว่า ไม่เที่ยง ความเห็นของภิกษุนั้น ชื่อว่าเป็นความเห็นชอบ เมื่อเห็นชอบ ย่อม เบื่อหน่ายเพราะ สิ้นความ เพลิดเพลิน จึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นความ เพลิด เพลินและราคะ เราจึงเรียกว่า จิตหลุดพ้นดีแล้ว

            ภิกษุเห็น เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ อันไม่เที่ยงนั่นแลว่า ไม่เที่ยง ความเห็นของภิกษุนั้น ชื่อว่าเป็นความเห็นชอบ เมื่อเห็นชอบย่อมเบื่อหน่าย เพราะสิ้น ความเพลิดเพลิน จึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นความ เพลิดเพลินและราคะ เราจึงเรียกว่า จิตหลุดพ้นดีแล้ว

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๖๑

นันทิขยสูตรที่ ๓
ความสิ้นไปแห่งความเพลิดเพลินในอายตนะภายในที่ไม่เที่ยง

            [๒๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงใส่ใจถึงจักษุโดยอุบายอันแยบคาย และจงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง แห่งจักษุตามความเป็นจริง เมื่อใส่ใจถึงจักษุโดย อุบาย อันแยบคาย และพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งจักษุ ตามความเป็นจริง ย่อม เบื่อหน่ายแม้ในจักษุ

            เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน จึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นความเพลิดเพลินและราคะ เราจึงเรียกว่าจิตหลุดพ้นดีแล้ว ฯลฯ

            เธอทั้งหลายจงใส่ใจถึงใจ โดยอุบายอันแยบคาย และจงพิจารณาเห็นความ ไม่เที่ยงแห่งใจ ตามความเป็นจริง เมื่อใส่ใจถึงใจ โดยอุบายอันแยบคาย และพิจารณา เห็นความไม่เที่ยงแห่งใจ ตามความเป็นจริง ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในใจ เพราะสิ้นความ เพลิดเพลิน จึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะจึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน และราคะ เราจึงเรียกว่าจิตหลุดพ้นดีแล้ว

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๖๑-๑๖๒

นันทิขยสูตรที่ ๔
ความสิ้นไปแห่งความเพลิดเพลินในอายตนะภายนอก ที่ไม่เที่ยง

            [๒๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงใส่ใจถึงรูป โดยอุบายอันแยบคาย และจงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งรูป ตามความเป็นจริง เมื่อใส่ใจถึงรูปโดยอุบาย อันแยบคาย และพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งรูป ตามความเป็นจริง ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในรูป เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน จึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะจึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน และราคะ เราจึงเรียกว่า จิตหลุดพ้นดีแล้ว ฯลฯ

            เธอทั้งหลายจงใส่ใจถึงธรรมารมณ์โดยอุบายอันแยบคาย และจงพิจารณา เห็นความไม่เที่ยง แห่งธรรมารมณ์ตามความเป็นจริง เมื่อใส่ใจถึงธรรมารมณ์โดย อุบายอันแยบคาย และพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งธรรมารมณ์ ตามความเป็นจริง ย่อมเบื่อหน่ายในธรรมารมณ์

             เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน จึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นความเพลิดเพลินและราคะ เราจึงเรียกว่า จิตหลุดพ้นดีแล้ว



 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์