เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

เหตุอัชฌัตตสูตร เหตุพาหิรสูตร เหตุเกิดอายตนะ ภายใน-ภายนอก ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา 2032
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘

เหตุอัชฌัตตสูตรที่ ๑ สูตรที่ ๒
เหตุเกิดแห่งอายตนะภายใน ไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
จักษุเป็นของไม่เที่ยง แม้เหตุและปัจจัย เพื่อความเกิดขึ้นแห่งจักษุนั้นก็ไม่เที่ยง จักษุอันเกิดแต่เหตุที่ไม่เที่ยง ที่ไหนจักเที่ยงเล่า...อริยสาวกผู้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ ฯลฯ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น
จักษุเป็นทุกข์ แม้เหตุและปัจจัย ... จักษุเป็นอนัตตา แม้เหตุและปัจจัย ...

เหตุพาหิรสูตรที่ ๑ สูตรที่ ๒
เหตุเกิดแห่งอายตนะภายนอก ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
รูปเป็นของไม่เที่ยง แม้เหตุและปัจจัยเพื่อความ เกิดขึ้น แห่งรูปก็ไม่เที่ยง ฯลฯ
รูปเป็นทุกข์ แม้เหตุและปัจจัย ... รูปเป็นอนัตตา แม้เหตุและปัจจัย ...


เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๔๕

เหตุอัชฌัตตสูตรที่ ๑
ว่าด้วยเหตุเกิดแห่งอายตนะภายในไม่เที่ยง

           [๒๒๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็นของไม่เที่ยง แม้เหตุและปัจจัย เพื่อความ เกิดขึ้นแห่งจักษุ นั้นก็ไม่เที่ยง จักษุอันเกิดแต่เหตุที่ไม่เที่ยง ที่ไหนจักเที่ยงเล่า ฯลฯ ใจเป็นของไม่เที่ยง แม้เหตุและปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งใจนั้นก็ไม่เที่ยง ใจอันเกิดแต่ เหตุที่ไม่เที่ยง ที่ไหนจักเที่ยงเล่า

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ แม้ในหู แม้ในจมูก แม้ในลิ้น แม้ในกาย แม้ในใจ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็น อย่างนี้มิได้มี

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๔๖

เหตุอัชฌัตตสูตรที่ ๒
ว่าด้วยเหตุเกิดแห่งอายตนะภายในเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

           [๒๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็นทุกข์ แม้เหตุและปัจจัย เพื่อความเกิดขึ้น แห่งจักษุนั้น ก็เป็นทุกข์ จักษุอันเกิดแต่เหตุที่เป็นทุกข์ ที่ไหนจักเป็นสุขเล่า ฯลฯ ใจเป็นทุกข์ แม้เหตุและปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งใจก็เป็นทุกข์ ใจอันเกิดแต่เหตุที่ เป็นทุกข์ ที่ไหนจักเป็นสุขเล่า

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในจักษุ แม้ในหู แม้ในจมูก แม้ในลิ้นแม้ในกาย แม้ในใจ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลาย กำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี

           [๒๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็นอนัตตา แม้เหตุและปัจจัย เพื่อความเกิด ขึ้น แห่งจักษุ ก็เป็นอนัตตา จักษุอันเกิดแต่เหตุที่เป็นอนัตตา ที่ไหนจักเป็น อัตตาเล่า ฯลฯ ใจเป็นอนัตตา แม้เหตุและปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งใจ ก็เป็นอนัตตา ที่ไหนจักเป็น อัตตาเล่า

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ ในจักษุ แม้ในหู แม้ในจมูก แม้ในลิ้น แม้ในกายแม้ในใจ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลาย กำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๔๖-๑๔๗

เหตุพาหิรสูตรที่ ๑
ว่าด้วยเหตุเกิดแห่งอายตนะภายนอกไม่เที่ยง เป็นทุกข์


           [๒๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นของไม่เที่ยง แม้เหตุและปัจจัยเพื่อความ เกิดขึ้น แห่งรูปก็ไม่เที่ยง รูปอันเกิดแต่เหตุที่ไม่เที่ยง ที่ไหนจักเที่ยงเล่า เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์เป็นของไม่เที่ยง แม้เหตุและปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้น แห่ง ธรรมารมณ์ก็ไม่เที่ยง ธรรมารมณ์อันเกิดแต่เหตุที่ไม่เที่ยง ที่ไหนจักเที่ยงเล่า

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป แม้ในเสียง แม้ในกลิ่น แม้ในรส แม้ในโผฏฐัพพะ แม้ในธรรมารมณ์ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี

           [๒๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นทุกข์ แม้เหตุและปัจจัย เพื่อความเกิดขึ้นแห่ง รูป ก็เป็นทุกข์ รูปอันเกิดแต่เหตุที่เป็นทุกข์ ที่ไหนจักเป็นสุขเล่าเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์เป็นทุกข์ แม้เหตุและปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งธรรมารมณ์ก็เป็นทุกข์ ธรรมารมณ์ อันเกิดแต่เหตุที่เป็นทุกข์ ที่ไหนจักเป็นสุขเล่า

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป แม้ในเสียง แม้ในกลิ่น แม้ในรส แม้ในโผฏฐัพพะ แม้ในธรรมารมณ์ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อม คลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้นเมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้วพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๔๗-๑๔๘

เหตุพาหิรสูตรที่ ๒
ว่าด้วยเหตุเกิดแห่งอายตนะภายนอกเป็นอนัตตา

           [๒๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา แม้เหตุและปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้น แห่ง รูป ก็เป็นอนัตตา รูปอันเกิดแต่เหตุที่เป็นอนัตตา ที่ไหนจักเป็นอัตตาเล่า เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา แม้เหตุและปัจจัย เพื่อความเกิดขึ้นแห่ง ธรรมารมณ์ ก็เป็นอนัตตา ธรรมารมณ์อันเกิดแต่เหตุที่เป็นอนัตตาที่ไหนจักเป็นอัตตาเล่า

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป แม้ในเสียง แม้ในกลิ่น แม้ในรสแม้ในโผฏฐัพพะ แม้ในธรรมารมณ์ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อม คลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้วรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี

 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์