เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

เทวทหสูตร ไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖ ปัคคัยหสูตร เพลินในรูปย่อมเป็นทุกข์ อัคคัยหสูตร จักษรูปไม่ใช่ของเธอ 2031
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘

เทวทหสูตร ว่าด้วยเทวทหนิคม
ความไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖ ภิกษุเหล่านั้น ควรทำ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะเหตุว่า รูปทั้งหลายอันจะพึงรู้แจ้ง ด้วยจักษุ อันเป็นที่รื่นรมย์ใจก็มี อันไม่เป็นที่รื่นรมย์ใจก็มี
รูปเหล่านั้นถูกต้องแล้วๆ ย่อมไม่กลุ้มรุมจิตของบุคคล ผู้ไม่ประมาทตั้งอยู่ เพราะการไม่ถูกกลุ้มรุม จิต ความเพียรเป็นคุณ อันบุคคลนั้นปรารภแล้ว ไม่ให้ย่อหย่อน สติเป็นธรรมชาติอันบุคคลนั้นเข้าไป ตั้งไว้แล้ว ไม่ให้หลงลืม กายสงบ ไม่กระสับกระส่าย จิตตั้งมั่น มีอารมณ์อันเดียว

ปัคคัยหสูตรที่ ๒ ว่าด้วยผู้ยินดีในรูป สูตรที่ ๒
เทวดาและมนุษย์ เป็นผู้มีรูปเป็นที่มายินดี เป็นผู้ยินดีแล้วในรูป เป็นผู้เพลิดเพลินแล้วในรูป เพราะรูปแปรปรวน คลายไป และดับไป เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมอยู่เป็นทุกข์

อัคคัยหสูตรที่ ๑ ว่าด้วยสิ่งที่ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย สูตรที่ ๑
สิ่งใดไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละสิ่งนั้นเสีย สิ่งนั้นอันเธอทั้งหลายละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข อะไรเล่าไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย
จักษุ... หู ... จมูก ... ลิ้น กาย ... ใจ
(อายตนะภายใน) ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอจงละมันเสีย

อัคคัยหสูตรที่ ๒ ว่าด้วยสิ่งที่ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย สูตรที่ ๒
สิ่งใดไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละสิ่งนั้นเสีย สิ่งนั้นอันเธอทั้งหลายละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข อะไรเล่าไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย
รูป เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ...ธรรมารมณ์
(อายตนะภายนอก)ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอจงละมันเสีย

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๓๙-๑๔๐
เทวทหวรรคที่ ๔

เทวทหสูตร
ว่าด้วยเทวทหนิคม

           [๒๑๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมชื่อว่าเทวทหะ ของ สากยราช ทั้งหลาย ในสักกชนบท ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวว่า ความไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖ อันภิกษุ ทั้งปวงเทียว ควรทำ(ควรไม่ประมาท)
         ดูกรภิกษุทั้งหลาย
แต่เราไม่กล่าวว่าความไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖ อันภิกษุ ทั้งปวงเทียว ไม่ควรทำ

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใดเป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจ ที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงแล้ว มีประโยชน์ตนอันบรรลุโดยลำดับแล้ว มีสังโยชน์ ในภพ หมดสิ้นแล้วเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้โดยชอบ

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ความไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖ อันภิกษุ เหล่านั้น ไม่ควรทำ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไรเพราะเหตุว่า ความไม่ประมาท ของภิกษุ เหล่านั้น ไม่ควรแล้วเพื่อประมาทได้อีกเพราะความไม่ประมาทนั้น

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย แต่ว่าภิกษุเหล่าใด ยังเป็นเสขะยังไม่บรรลุอรหัตผล ปรารถนาธรรม เป็นแดนเกษมจากโยคะ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ความไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖ อันภิกษุ เหล่านั้น ควรทำ ข้อนั้นเพราะเหตุ อะไร เพราะเหตุว่า รูปทั้งหลายอันจะพึงรู้แจ้ง ด้วยจักษุ อันเป็นที่รื่นรมย์ใจก็มี อันไม่เป็น ที่รื่นรมย์ใจก็มี รูปเหล่านั้นถูกต้องแล้วๆ ย่อมไม่กลุ้มรุมจิตของบุคคล ผู้ไม่ประมาทตั้งอยู่ เพราะการไม่ถูกกลุ้มรุมจิต ความเพียร เป็นคุณ อันบุคคลนั้นปรารภแล้ว ไม่ให้ย่อหย่อน สติเป็นธรรมชาติอันบุคคลนั้นเข้าไป ตั้งไว้แล้ว ไม่ให้หลงลืม กายสงบ ไม่กระสับกระส่าย จิตตั้งมั่น มีอารมณ์อันเดียว

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราเห็นผลแห่งความไม่ประมาท นี้แลจึงกล่าวว่า ความ ไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖ อันภิกษุเหล่านั้นควรทำ ฯลฯ ธรรมารมณ์อันจะพึงรู้แจ้ง ด้วยใจ อันเป็นที่รื่นรมย์ใจก็มี อันไม่เป็นที่รื่นรมย์ใจก็มีธรรมารมณ์เหล่านั้นถูกต้องแล้วๆ ย่อมไม่กลุ้มรุมจิตของบุคคลผู้ไม่ประมาทตั้งอยู่ เพราะการไม่กลุ้มรุมจิต ความเพียร เป็นคุณ อันบุคคลนั้นปรารภแล้ว ไม่ให้ย่อหย่อน สติเป็นธรรมชาติอันบุคคลนั้นเข้าไป ตั้งไว้แล้ว ไม่ให้หลงลืม กายสงบไม่กระสับกระส่าย จิตตั้งมั่น มีอารมณ์อันเดียว

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทนี้แล จึงกล่าวว่า ความไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖ อันภิกษุเหล่านั้นควรทำ

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๔๓

ปัคคัยหสูตรที่ ๒
ว่าด้วยผู้ยินดีในรูป สูตรที่ ๒

           [๒๑๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์ เป็นผู้มีรูปเป็นที่มายินดี เป็นผู้ยินดีแล้วในรูป เป็นผู้เพลิดเพลินแล้วในรูป เพราะรูปแปรปรวน คลายไป และดับไป เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมอยู่เป็นทุกข์ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้มีเสียง เป็นที่มา ยินดี ... เป็นผู้มีกลิ่นเป็นที่มายินดี ... เป็นผู้มีรสเป็นที่มายินดี ...เป็นผู้มีโผฏฐัพพะ เป็นที่มายินดี... เป็นผู้มีธรรมารมณ์ เป็นที่มายินดี เป็นผู้ยินดีแล้วใน ธรรมารมณ์ เป็นผู้ เพลิดเพลินแล้ว ในธรรมารมณ์ เพราะธรรมารมณ์แปรปรวน คลายไปและดับไป เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมอยู่เป็นทุกข์

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนตถาคตผู้อรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ รู้แจ้งแล้วซึ่ง ความเกิดขึ้น ความดับไป คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องสลัดออก แห่งรูปทั้งหลาย ไม่เป็นผู้มีรูปเป็นที่มายินดี ไม่เป็นผู้ยินดีแล้วในรูป ไม่เป็นผู้เพลิดเพลินแล้ว ในรูป เพราะรูปแปรปรวน คลายไปและดับไป ตถาคตย่อมอยู่เป็นสุข ตถาคตผู้อรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ รู้แจ้งแล้วซึ่งความเกิดขึ้น ความดับไป คุณ โทษ และอุบายเครื่อง สลัดออกแห่งเสียง ... แห่งกลิ่น ... แห่งรส ... แห่งโผฏฐัพพะ ... แห่งธรรมารมณ์ ตามความเป็นจริง ไม่เป็นผู้มีธรรมารมณ์ เป็นที่มายินดี ไม่เป็นผู้ยินดีแล้วในธรรมารมณ์ ไม่เป็นผู้เพลิดเพลินแล้ว ในธรรมารมณ์

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะธรรมารมณ์แปรปรวนไป คลายไปและดับไป ตถาคต ก็ย่อม อยู่เป็นสุข

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๔๓-๑๔๔

อัคคัยหสูตรที่ ๑
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย สูตรที่ ๑

           [๒๑๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละ สิ่งนั้นเสีย สิ่งนั้นอันเธอทั้งหลายละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ดูกรภิกษุทั้งหลาย อะไรเล่าไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุไม่ใช่ของ เธอ ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละจักษุนั้นเสีย จักษุนั้นอันเธอทั้งหลายละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข หู ... จมูก ... ลิ้น ... กาย ... ใจ ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละใจนั้นเสียใจนั้น อันเธอทั้งหลายละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชนพึงนำหญ้า กิ่งไม้และใบไม้ที่มีอยู่ในเชตวันนี้ไป หรือ พึงเผา หรือพึงทำตามสมควรแก่เหตุ เธอทั้งหลายพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ชนนำพวกเรา ไปหรือเผา หรือทำพวกเราตามสมควรแก่เหตุ ดังนี้บ้างหรือหนอ ภิกษุเหล่านั้นกราบทูล ว่า หาเป็นดังนั้นไม่ พระเจ้าข้า

           พ. ข้อนั้น เพราะเหตุอะไร
           ภิ. เพราะเหตุว่า หญ้าเป็นต้นนั้นมิได้เป็นตน หรือเป็นของเนื่องด้วยตน ของ ข้าพระองค์ ทั้งหลายเลย พระเจ้าข้า

           พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล จักษุไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงละจักษุนั้นเสีย จักษุนั้นอันเธอทั้งหลายละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อ ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข หู ... จมูก ... ลิ้น ... กาย ... ใจ ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละใจนั้นเสีย ใจนั้นอันเธอทั้งหลายละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์ เกื้อกูล เพื่อความสุข

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๔๔-๑๔๕

อัคคัยหสูตรที่ ๒
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย สูตรที่ ๒

           [๒๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละ สิ่งนั้นเสีย สิ่งนั้นอันเธอทั้งหลาย ละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข

           
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อะไรเล่าไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย

            รูปไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงละรูปนั้นเสีย รูปนั้นอันเธอทั้งหลาย ละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์ เกื้อกูล เพื่อความสุข เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ...ธรรมารมณ์ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละธรรมารมณ์นั้น เสีย ธรรมารมณ์นั้นอันเธอทั้งหลายละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชนพึงนำหญ้า กิ่งไม้และใบไม้ที่มีอยู่ในเชตวันนี้ไป หรือพึง เผาหรือ พึงทำตามสมควรแก่เหตุ เธอทั้งหลาย พึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ชนนำพวกเราไป หรือเผา หรือทำตามสมควรแก่เหตุ ดังนี้ บ้างหรือหนอ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า หาเป็น ดั่งนั้นไม่ พระเจ้าข้า

           พ. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร
           ภิ. เพราะเหตุว่า หญ้าเป็นต้นนั้นมิได้เป็นตน หรือเป็นของเนื่องด้วยตนของ ข้าพระองค์ทั้งหลายเลย พระเจ้าข้า

           พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล รูปไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงละรูปนั้นเสีย รูปนั้นอันเธอทั้งหลายละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์ เกื้อกูล เพื่อความสุข เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ... ธรรมารมณ์ไม่ใช่ของเธอ ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละธรรมารมณ์นั้นเสีย ธรรมารมณ์นั้นอันเธอทั้งหลายละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข



 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์