เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

ติตถิยสูตร พวกท่านประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักพระโคดม เพื่อประสงค์อะไร 2030
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘

ติตถิยสูตร เมื่อพวกปริพาชกถาม ให้ภิกษุตอบดังนี้
พวกท่านประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักพระโคดม เพื่อประสงค์อะไร ?
พวกเรา อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ .. เพื่อกำหนดรู้ทุกข์

ทุกข์ที่ท่านทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ เป็นไฉน ?
จักษุ ทุกข์ คือ รูปทุกข์ คือ จักษุวิญญาณทุกข์ คือ จักษุสัมผัสทุกข์
คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
อินทรียสูตร ผู้เพียบพร้อมด้วยอินทรีย์
ภิกษุเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอินทรีย์ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ?
ถ้าภิกษุ
พิจารณาเห็นความเกิดขึ้น และความเสื่อมไป ในจักขุนทรีย์ ย่อมเบื่อหน่ายในจักขุนทรีย์ พิจารณาเห็นความเกิดขึ้น และความเสื่อมในมนินทรีย์(ใจเป็นใหญ่) ย่อมเบื่อหน่าย ในมนินทรีย์ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณ หยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ธรรมกถิกสูตร การถามเรื่องพระธรรมกถึก

ภิกษุเป็นพระธรรมกถึก ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ
ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัดเพื่อดับจักษุ ควรเรียกได้ว่า ภิกษุเป็นพระธรรมกถึก
ถ้าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อหน่ายเพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับจักษุ ควรเรียกได้ว่า ภิกษุปฏิบัติธรรมสมควร แก่ธรรม

ถ้าเป็นผู้หลุดพ้นเพราะหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะดับ เพราะไม่ถือมั่นจักษุ ควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้บรรลุนิพพานในปัจจุบัน ฯลฯ
เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๕๕

ติตถิยสูตร
เมื่อพวกปริพาชกถามมาให้ภิกษุตอบดังนี้

           [๒๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ถ้าว่าพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ พึงถามพวกเธอ อย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย พวกท่านอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในสำนัก พระสมณโคดม เพื่อประสงค์อะไร พวกเธอเมื่อ ถูกถามอย่างนี้ พึงพยากรณ์แก่พวกเขาอย่างนี้ว่า พวกเรา อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในสำนักพระผู้มีพระภาค เพื่อกำหนดรู้ทุกข์

ก็ถ้าพวกเขาถามอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ก็ทุกข์ที่ท่านทั้งหลายอยู่ประพฤติ พรหมจรรย์ ในสำนักพระสมณโคดมเพื่อกำหนดรู้นั้น เป็นไฉน พวกเธอพึงพยากรณ์ แก่ พวกเขาอย่างนี้ว่า พวกเราอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักพระผู้มีพระภาค เพื่อกำหนด รู้ทุกข์ คือ จักษ ทุกข์ คือ รูปทุกข์ คือ จักษุวิญญาณทุกข์ คือ จักษุสัมผัสทุกข์ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ

           พวกเราอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในสำนักพระผู้มีพระภาค เพื่อกำหนดรู้ทุกข์ คือ ใจ ทุกข์ คือธรรมารมณ์ทุกข์ คือมโนวิญญาณ ทุกข์ คือมโนสัมผัส ทุกข์ คือสุขเวทนา ทุกขเวทนาหรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย

           ดูกรอาวุโสทั้งหลาย พวกเธอเมื่อถูกถามอย่างนี้ พึงพยากรณ์แก่พวกปริพาชก อัญญเดียรถีย์เหล่านั้น อย่างนี้แล


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๕๗-๑๕๘

อินทรียสูตร
ผู้เพียบพร้อมด้วยอินทรีย์

           [๒๔๓] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่พระองค์ตรัสว่า ภิกษุผู้ถึง พร้อมด้วยอินทรีย์ๆ ดังนี้ ภิกษุเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอินทรีย์ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

           ดูกรภิกษุ ถ้าว่าภิกษุพิจารณาเห็นความเกิดขึ้น และความเสื่อมไป ในจักขุนทรีย์ ย่อมเบื่อหน่ายในจักขุนทรีย์ ฯลฯ พิจารณาเห็นความเกิดขึ้น และความเสื่อมในมนินทรีย์ ย่อมเบื่อหน่าย ในมนินทรีย์ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี

           ดูกรภิกษุภิกษุเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอินทรีย์ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๕๘-๑๕๙

ธรรมกถิกสูตร
การถามเรื่องพระธรรมกถึก

           [๒๔๔] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่าภิกษุเป็นพระ ธรรมกถึกๆ ดังนี้ ภิกษุเป็นพระธรรมกถึกด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

           ดูกรภิกษุ
           ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัดเพื่อดับจักษุ ควรเรียกได้ว่า ภิกษุเป็นพระธรรมกถึก
           ถ้าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อหน่ายเพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับจักษุ ควรเรียกได้ว่า ภิกษุปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
           ถ้าเป็นผู้หลุดพ้นเพราะหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะดับ เพราะไม่ถือมั่นจักษุ ควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้บรรลุนิพพานในปัจจุบัน ฯลฯ

           ภิกษุแสดงธรรมเพื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับใจ ควรเรียกได้ว่า ภิกษุเป็น พระธรรมกถึก
           ถ้าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับใจ ควรเรียกได้ว่า ภิกษุเป็น ผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
           ถ้าเป็นผู้หลุดพ้นเพราะหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะดับ เพราะไม่ถือมั่นใจ ควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้บรรลุนิพพานในปัจจุบัน

 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์