เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

โลหิจจสูตร ว่าด้วยโลหิจจพราหมณ์ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรจึงชื่อว่า เป็นผู้มีทวารไม่คุ้มครอง และคุ้มครอง 2028
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘

โลหิจจพราหมณ์ : ท่านกัจจายนะผู้เจริญ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอ บุคคลจึงชื่อว่าเป็น ผู้มีทวาร อันไม่คุ้มครองแล้ว

พระมหากัจจายนะ : บุคคลบางคนเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมยินดีในรูปที่น่ารัก ย่อมยินร้ายใน รูป ที่ไม่น่ารัก มีสติอันไม่เข้าไปตั้งไว้แล้ว มีจิตมี อารมณ์อันน้อยอยู่ และไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ ตามความเป็นจริง อกุศลธรรมทั้งหลายอันลามก บังเกิดขึ้นแล้วแก่บุคคลนั้น ไม่ดับไป หาส่วนเหลือมิได้ ฟังเสียงด้วยหูแล้ว.. สูดกลิ่นด้วยจมูกแล้ว.. ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว.. ถูกต้องโผฏฐัพพะ ด้วยกายแล้ว... รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ฯลฯ
(ฟังเสียงด้วยหู.. ดมกลิ่นด้วยจมูก..ลิ้มรสด้วยลิ้น..ถูกต้องโผฏ..รู้แจ้งธรรมารมณ์ ก็เช่นเดียวกับเห็นรูปด้วยจักษุ)

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๓๑-๑๓๕

โลหิจจสูตร
ว่าด้วยโลหิจจพราหมณ์

            [๒๐๕] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัจจายนะ อยู่ ณ อรัญญกุฎี ใกล้มักกรกฏนคร ในอวันตีชนบท ครั้งนั้นแล พวกมาณพ ผู้เที่ยวหาฟืนเป็นอันมาก ซึ่งเป็นอันเตวาสิก (ศิษย์) ของโลหิจจพราหมณ์ ได้พากันเข้าไปยังอรัญญกุฎี ของท่านพระมหากัจจายนะ ครั้นแล้ว พากันเดินตามกันไปมา เที่ยวตามกันไปรอบๆกุฎี(เรือนนักบวช) เล่น เสเลยยก กีฬา (เล่นปล้ำกัน) มีเสียงเอ็ด อึงอึกทึก อยู่ว่า อันสมณะโล้นเหล่านี้ เป็นเชื้อแถว คฤหบดี เป็นชั้นเลว เป็นเหล่ากอเกิด แต่เท้าแห่งพรหม อันชาวแว่นแคว้นเหล่านี้สักการะ เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรง ดังนี้

            ครั้งนั้นแลท่านพระมหากัจจายนะ ออกจากวิหารแล้ว ได้กล่าวกะมาณพ เหล่านั้น ว่า ดูกรมาณพทั้งหลาย พวกเธออย่าได้ส่งเสียงไป เราจักกล่าวธรรมให้เธอ ทั้งหลายฟัง เมื่อท่านพระมหากัจจายนะกล่าวอย่างนี้แล้ว มาณพเหล่านั้นก็ได้พากันนิ่ง อยู่ ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัจจายนะ ได้กล่าวกะมาณพเหล่านั้น ด้วยคาถาทั้งหลายว่า

            [๒๐๖] พราหมณ์เหล่าใด ย่อมระลึกถึงธรรมของพราหมณ์ ดั้งเดิมได้ พราหมณ์ เหล่านั้น เป็นผู้สูงสุดโดยศีล เป็นผู้ก่อนกว่าทวารทั้งหลาย ย่อมเป็นอันพราหมณ์ เหล่านั้น คุ้มครองแล้ว รักษาดีแล้ว เพราะครอบงำความโกรธเสียได้

            พราหมณ์ เหล่าใด ระลึกถึงธรรมของพราหมณ์ดั้งเดิมได้ พราหมณ์ เหล่านั้น เป็นผู้ประพฤติในธรรม (กุศลกรรมบถ) และใน ฌาน

            พราหมณ์เหล่าใด ละเลยธรรมข้อนี้เสีย เป็นผู้เมาด้วย โคตรว่า พวกเรา ผู้อัน ความโกรธครอบงำแล้ว ผู้มีอาชญา ในตนมากมาย ผู้ประพฤติผิดในสัตว์ทั้งหลาย ทั้งที่สดุ้งและมั่นคง จึงประพฤติไม่สม่ำเสมอ การสมาทานวัตรทั้งปวง คือ การไม่กิน การนอนบนหนาม การอาบน้ำในเวลาเช้า และพระเวท ๓ ของบุคคลผู้ไม่คุ้มครองทวาร เป็นการเปล่า ผล เหมือนของปลื้มใจอันบุรุษได้แล้ว ในความฝันฉะนั้น

            การกล่าวสรรเสริญบริขารภัณฑ์เหล่านี้ คือ หนังเสือทั้งเล็บ ชะฎา การหมัก หมม มูลฟัน มนต์ ศีลพรตที่กล่าวว่าเป็นตบะ การ ล่อลวง ไม้เท้าอันคด และการประ พรมน้ำ ที่กล่าวว่าเป็น ความรู้ของพวกพราหมณ์ เป็นการบำเพ็ญเพื่ออามิส อันพวก พราหมณ์ทำแล้ว ส่วนจิตอันตั้งมั่นดีแล้ว อันผ่องใส ไม่ หม่นหมอง ไม่เหี้ยมโหดในสัตว์ ทั้งปวง ข้อนั้นเป็นทางแห่ง การถึงความเป็นพรหม

            [๒๐๗] ครั้งนั้นแล มาณพเหล่านั้นขัดเคือง ไม่พอใจ ได้พากันเข้าไปหา ถึงที่อยู่ ครั้โลหิจจพราหมณ์นแล้ว ได้กล่าวกะโลหิจจพราหมณ์ว่า ขอท่านผู้เจริญ พึงทราบเถิด พระสมณมหากัจจายนะค่อนว่า คัดค้านมนต์ของพราหมณ์ทั้งหลาย โดย ส่วนเดียว เมื่อ มาณพเหล่านั้น กล่าวแล้วอย่างนี้ โลหิจจพราหมณ์ก็ขัดเคือง ไม่พอใจ

            ลำดับนั้น โลหิจจพราหมณ์ จึงคิดดังนี้ว่า การที่เราพึงด่าพึงเหน็บแนม พึง บริภาษ พระสมณมหากัจจายนะ เพราะเชื่อฟังคำของมาณพ เป็นแน่นอนนี้ ไม่สมควร แก่เราเลย อย่ากระนั้นเลย เราไปหาแล้วถามดูเถิด ครั้งนั้นแล โลหิจจพราหมณ์ กับ มาณพเหล่านั้น ได้เข้าไปหาท่านพระมหากัจจายนะ ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่าน พระมหากัจจายนะ

            ครั้นผ่านการปราศรัย พอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ถามท่านพระมหากัจจายนะว่า ท่านกัจจายนะผู้เจริญ พวกมาณพผู้เที่ยวหา ฟืน เป็นอันมาก ซึ่งเป็นอันเตวาสิกของข้าพเจ้า ได้มาแล้วในที่นี้หรือหนอแล ท่านพระ มหากัจจายนะตอบว่า

            ดูกรพราหมณ์พวกมาณพ ผู้เที่ยวหาฟืนเป็นอันมาก ซึ่งเป็นอันเตวาสิกของท่าน ได้มาแล้วในที่นี้

            โล. ท่านกัจจายนะผู้เจริญได้ปราศรัยอะไรกับมาณพเหล่านั้นบ้างหรือ
            ก. ดูกรพราหมณ์ อาตมาได้ปราศรัยกับมาณพเหล่านั้นแล

            โล. ก็ท่านกัจจายนะผู้เจริญได้ปราศรัยกับมาณพเหล่านั้นอย่างไรเล่า
            ก. ดูกรพราหมณ์ อาตมาได้ปราศรัยกับมาณพเหล่านั้นอย่างนี้ว่า             พราหมณ์เหล่าใด ย่อมระลึกถึงธรรม ของพราหมณ์ดั้งเดิมได้ พราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้สูงสุดโดยศีล เป็นผู้ก่อนกว่า ฯลฯ ข้อนั้นเป็นทางแห่งการถึงความเป็นพรหม

            ดูกรพราหมณ์ อาตมาได้ปราศรัยกับมาณพเหล่านั้น อย่างนี้แล
------------------------------------------------------------------------------------------------------------

            โล. ท่านกัจจายนะผู้เจริญได้กล่าวว่า ผู้มีทวารอันไม่คุ้มครองแล้ว ดังนี้ ท่าน กัจจายนะผู้เจริญ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอแล บุคคลจึงชื่อว่าเป็นผู้มีทวาร อันไม่คุ้มครองแล้ว

            ก. ดูกรพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมยินดีในรูป ที่น่ารัก ย่อมยินร้ายในรูปที่ไม่น่ารัก มีสติอันไม่เข้าไปตั้งไว้แล้ว มีจิตมี อารมณ์อันน้อยอยู่ และย่อมไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ ตามความเป็นจริงโดย ประการที่ อกุศลธรรมทั้งหลาย อันลามกเหล่านั้น บังเกิดขึ้นแล้วแก่บุคคลนั้น ไม่ดับไป หาส่วนเหลือมิได้ ฟังเสียงด้วยหูแล้ว ... สูดกลิ่นด้วยจมูกแล้ว ... ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว... ถูกต้องโผฏฐัพพะ ด้วยกายแล้ว...

            รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมยินดี ในธรรมารมณ์อันน่ารัก ย่อมยินร้าย ในธรรมารมณ์อันไม่น่ารัก มีสติอันไม่เข้าไปตั้งไว้แล้ว มีจิตมีอารมณ์ อันน้อย อยู่ และ ไม่รู้ชัด ซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ ตามความเป็นจริง โดยประการที่อกุศลธรรม ทั้งหลาย อันลามกบังเกิดขึ้นแล้ว แก่บุคคลนั้นไม่ดับไป โดยหาส่วนเหลือมิได้

            ดูกรพราหมณ์ บุคคลเป็นผู้มีทวารอันไม่คุ้มครองแล้ว ด้วยประการอย่างนี้แล

------------------------------------------------------------------------------------------------------------

            [๒๐๘] ข้าแต่ท่านกัจจายนะผู้เจริญ ข้อที่ท่านกัจจายนะผู้เจริญ กล่าวบุคคล เป็นผู้มีทวารอันไม่คุ้มครองแล้วว่า ผู้มีทวารอันไม่คุ้มครองแล้วนี้ น่าอัศจรรย์ไม่เคยมี ท่านกัจจายนะผู้เจริญได้กล่าวว่า ผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้ว ดังนี้ ด้วยเหตุมีประมาณ เท่าไรหนอแล บุคคลจึงชื่อว่าเป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้ว

            ดูกรพราหมณ์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมไม่ยินดีในรูป ที่น่ารัก ไม่ยินร้ายในรูปที่ไม่น่ารัก มีสติอันเข้าไปตั้งไว้แล้ว มีจิตมีอารมณ์หาประมาณ มิได้อยู่ และย่อมรู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ ตามความเป็นจริง

            โดยประการที่ อกุศลธรรมทั้งหลาย อันลามกบังเกิดขึ้นแล้ว แก่ภิกษุนั้น ดับไป โดยหาส่วนเหลือมิได้ ฟังเสียงด้วยหูแล้ว ... สูดกลิ่นด้วยจมูกแล้ว ... ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว ... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว... รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมไม่ยินดีใน ธรรมารมณ์ ที่น่ารัก ย่อมไม่ยินร้ายในธรรมารมณ์ ที่ไม่น่ารัก มีสติอันเข้าไปตั้งไว้แล้ว มีจิตมีอารมณ์หาประมาณมิได้อยู่ และย่อมรู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ ตามความ เป็นจริง โดยประการที่อกุศลธรรมทั้งหลาย อันลามกบังเกิดขึ้นแล้ วแก่ภิกษุนั้น ดับไป โดย หาส่วนเหลือมิได้

            ดูกรพราหมณ์ ภิกษุเป็นผู้มีทวารอัน คุ้มครองแล้ว ด้วยประการอย่างนี้แล

------------------------------------------------------------------------------------------------------------

            [๒๐๙] ข้าแต่ท่านกัจจายนะผู้เจริญ ข้อที่ท่านกัจจายนะผู้เจริญ กล่าวบุคคล เป็นผู้มีทวาร อันคุ้มครองแล้วว่า เป็นผู้มีทวาร อันคุ้มครองแล้วนี้ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมี ข้าแต่ท่านกัจจายนะผู้เจริญ ภาษิตของท่านแจ่มแจ้งนัก ข้าแต่ท่านกัจจายนะผู้เจริญ ภาษิตของท่านแจ่มแจ้งนัก

            ข้าแต่ท่านกัจจายนะผู้เจริญ ท่านกัจจายนะประกาศธรรม โดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีป ในที่มืดด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูปได้ ฉะนั้น ข้าแต่ท่านกัจจายนะผู้เจริญ ข้าพเจ้านี้ ขอถึงพระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น กับทั้งพระธรรม และภิกษุสงฆ์ เป็นสรณะ ขอท่าน กัจจายนะผู้เจริญจงจำข้าพเจ้าว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงพระรัตนตรัย เป็นสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

            อนึ่ง ขอท่านกัจจายนะผู้เจริญ จงเข้าไปสู่โลหิจจสกุล เหมือนอย่างที่ท่าน กัจจายนะผู้เจริญ เข้าไปสู่สกุลอุบาสกทั้งหลาย ในมักกรกฏนครเถิด มาณพทั้งหลายห รือมาณวิกาทั้งหลายเหล่าใด ในโลหิจจสกุลนั้น จักกราบไหว้ จักลุกขึ้นต้อนรับ ท่านกัจจายนะผู้เจริญ หรือจักนำอาสนะ จักถวายน้ำแก่ท่านกัจจายนะผู้เจริญ สามีจิกรรม มีการกราบไหว้เป็นต้นนั้นจักมีเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขตลอดกาลนาน แก่มาณพหรือมาณวิกาเหล่านั้น



 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์