เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

โฆสิตสูตร (ความแตกต่างแห่งธาตุ) หาลิททกานิสูตร (ความต่างกันแห่งเวทนา) 2027
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘

โฆสิตสูตร (ความแตกต่างแห่งธาตุ) โฆสิตคฤหบดี เข้าไปหาท่านพระอานนท์
จักขุธาตุ รูปอันน่าพอใจ และ จักขุวิญญาณ สุขเวทนาย่อมบังเกิดขึ้น เพราะอาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา มีอยู่แล (ตา-รูปน่าพอใจ-วิญญาณทางตา)

จักขุธาตุ รูปอันไม่น่าพอใจ และจักขุวิญญาณ ทุกขเวทนาย่อมบังเกิดขึ้น เพราะอาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา มีอยู่แล (ตา-รูปไม่น่าพอใจ-วิญญาณทางตา)

จักขุธาตุ รูปอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา และจักขุวิญญาณทุกขมสุขเวทนา ย่อมบังเกิดขึ้น เพราะ อาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา มีอยู่แล (ตา-รูปที่เป็นอุเบกขา-วิญญาณทางตา)
(โสตธาตุ... ฆานธาตุ... ชิวหาธาตุ .. กายธาตุ...มโนธาตุ)
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หาลิททกานิสูตร (ความต่างกันแห่งเวทนา) หาลิททกานิคฤหบดี เข้าไปหาท่านพระมหากัจจายนะ
ความต่างกันแห่งผัสสะ ย่อมบังเกิดขึ้น เพราะอาศัย
ความต่างกัน แห่งธาตุ
ความต่างกันแห่งเวทนา ย่อมบังเกิดขึ้น เพราะอาศัย
ความต่างกัน แห่งผัสสะ อย่างไรหนอแล

เห็นรูปด้วยตา ย่อมรู้ชัดว่า รูปอย่างนี้ น่าพอใจ สุขเวทนาย่อมเกิดขึ้น ( จักษุ+จักษุวิญญาณ+ผัสสะ)
เห็นรูปด้วยตา ย่อมรู้ชัดว่า รูปอย่างนี้ ไม่น่าพอใจ ทุกขเวทนาย่อมเกิดขึ้น ( จักษ+-วิญญาณ+ผัสสะ)
เห็นรูปด้วยตา ย่อมรู้ชัดว่า รูปอย่างนี้ เป็นอุเบกขา อทุกขมสุขเวทนา ย่อมเกิดขึ้น ( จักษ+วิญญาณ+ผัสสะ)
(ผัสสะทาง หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็ทำนองเดียวกันกับทางตา)

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๒๙-๑๓๐

โฆสิตสูตร
ว่าด้วยโฆสิตคหบดี

            [๒๐๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ พระวิหารโฆสิตาราม ใกล้พระนคร โกสัมพี ครั้งนั้นแล โฆสิตคฤหบดี เข้าไปหาท่านพระอานนท์ ถึงที่อยู่ ฯลฯ ครั้นแล้ว ได้ถามพระอานนท์ว่า ข้าแต่ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ ที่เรียกว่าความแตกต่างแห่งธาตุๆ ดังนี้

            พระผู้มีพระภาค ตรัสความแตกต่างแห่งธาตุไว้ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร หนอแล ท่านพระอานนท์ตอบว่า

ดูกรคฤหบดี มีอยู่แล จักขุธาตุ รูปอันน่าพอใจ และ จักขุวิญญาณ(ตา-รูป-จักขุวิญญาณ) สุขเวทนาย่อมบังเกิดขึ้น เพราะอาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา มีอยู่แล

คฤหบดี จักขุธาตุ รูปอันไม่น่าพอใจ และจักขุวิญญาณ ทุกขเวทนาย่อมบังเกิดขึ้น เพราะ อาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา มีอยู่แล

คฤหบดี จักขุธาตุ รูปอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา และจักขุวิญญาณ อทุกขมสุข เวทนา ย่อมบังเกิดขึ้น เพราะอาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา มีอยู่แล

คฤหบดี โสตธาตุ ... ฆานธาตุ ... ชิวหาธาตุ ... กายธาตุ ...มโนธาตุ ธรรมารมณ์อันน่า พอใจ และมโน วิญญาณ สุขเวทนาย่อมบังเกิดขึ้น เพราะอาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่ง สุขเวทนา มีอยู่แล

คฤหบดี มโนธาตุ ธรรมารมณ์อันไม่น่าพอใจ และมโนวิญญาณ ทุกขเวทนาย่อม บังเกิดขึ้น เพราะอาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้ง แห่ง ทุกขเวทนา มีอยู่แล

คฤหบดี มโนธาตุ ธรรมารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา และมโนวิญญาณ อทุกขมสุข เวทนา ย่อมบังเกิดขึ้น เพราะอาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่ง อทุกขมสุขเวทนา

            ดูกรคฤหบดี พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสความต่างแห่งธาตุไว้ ด้วยเหตุมี ประมาณ เท่านี้

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๓๐-๑๓๑

หาลิททกานิสูตร
ว่าด้วยหาลิททกานิคหบดี

            [๒๐๑] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัจจายนะ อยู่ที่เรือนสกุล ใกล้สังปวัตตบรรพต ในอวันตีชนบท ครั้งแล หาลิททกานิคฤหบดี เข้าไปหาท่านพระมหากัจจายนะถึงที่อยู่ ฯลฯ ครั้นแล้ว ได้ถามท่านพระมหากัจจายนะว่า พระผู้เป็นเจ้าผู้เจริญ พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสไว้ดังนี้ว่า ความต่างกันแห่งเวทนา ย่อมบังเกิดขึ้น เพราะอาศัย ความต่างกันแห่ง ผัสสะ ดังนี้

            พระผู้เป็นเจ้าผู้เจริญ
ความต่างกันแห่งผัสสะ ย่อมบังเกิดขึ้น เพราะอาศัย ความต่างกัน แห่งธาตุ
ความต่างกันแห่งเวทนา ย่อมบังเกิดขึ้น เพราะอาศัย ความต่างกัน แห่งผัสสะ อย่างไรหนอแล

            [๒๐๒] ท่านพระมหากัจจายนะตอบว่า ดูกรคฤหบดี
๑.ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูป ด้วยจักษุ แล้ว ย่อมรู้ชัดว่ารูปอย่างนี้น่าพอใจ สุขเวทนาย่อมบังเกิดขึ้น เพราะอาศัยจักขุวิญญาณและผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา

๒.อนึ่งภิกษุ เห็นรูป ด้วยจักษุอย่างนั้นแล้ว ย่อมรู้ชัดว่ารูปอย่างนี้ไม่น่าพอใจ ทุกขเวทนาย่อมบังเกิดขึ้น เพราะอาศัยจักขุวิญญาณและผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา

๓.อีกประการหนึ่ง ภิกษุ เห็นรูป ด้วยจักษุ อย่างนั้นแล้ว ย่อมรู้ชัดว่ารูปอย่างนี้เป็นที่ตั้ง แห่งอุเบกขา อทุกขมสุขเวทนา ย่อมบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุวิญญาณ และผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่ง อทุกขมสุขเวทนา

            ดูกรคฤหบดี อีกประการหนึ่ง ภิกษุฟังเสียงด้วยหูแล้ว...สูดกลิ่นด้วยจมูกแล้ว ... ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว ... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ...รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมรู้ชัดว่า ธรรมารมณ์อย่างนี้น่าพอใจ สุขเวทนาย่อมบังเกิดขึ้น เพราะอาศัย มโน วิญญาณและผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนาอนึ่ง ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจ อย่างนี้แล้ว ย่อมรู้ชัดว่า ธรรมารมณ์นี้ไม่น่าพอใจ ทุกขเวทนาย่อมบังเกิดขึ้น เพราะอาศัย มโนวิญญาณและผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา

            อีกประการหนึ่ง ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจ อย่างนี้แล้ว ย่อมรู้ชัดว่า ธรรมารมณ์ อย่างนี้เป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา อทุกขมสุขเวทนา ย่อมบังเกิดขึ้นเพราะอาศัย มโนวิญญาณ และผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่ง อทุกขมสุขเวทนา

            ดูกรคฤหบดี ความต่างกันแห่งผัสสะ ย่อมบังเกิดขึ้น เพราะอาศัยความต่างกัน แห่งธาตุ ความต่างกันแห่งเวทนา ย่อมบังเกิดขึ้น เพราะอาศัยความต่างกันแห่งผัสสะ ด้วยประการอย่างนี้แล

 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์