เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

สังโยชนสูตร ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์และสังโยชน์ อุปาทานสูตร ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทานและอุปาทาน 2025
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘

สังโยชนสูตร
เราจะแสดงธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ และสังโยชน์ เธอทั้งหลายจงฟัง

ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์
ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ คือ รูป
ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ คือ เวทนา
ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ คือ สัญญา
ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ คือ สังขาร
ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ คือ วิญญาณ
(โดยย่อ ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ คือ ขันธ์๕)

สังโยชน์
ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในรูป
ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในเวทนา
ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในสัญญา
ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในสังขาร
ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในวิญญาณ
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
อุปาทานสูตร
เราจักแสดงธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน และอุปาทาน เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน
ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน คือ รูป
ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน คือ เวทนา
ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน คือ สัญญา
ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน คือ สังขาร
ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน คือ วิญญาณ
(โดยย่อ ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน คือ ขันธ์๕)

อุปาทาน
ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในรูป
ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในเวทนา
ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในสัญญา
ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในสังขาร
ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในวิญญาณ
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สังโยชน์และอุปาทาน คือสิ่งเดียวกัน
สังโยชน์ คือเครื่องร้อยรัด (ในขันธ์๕) คือ ฉันทราคะ
อุปาทาน คือความยึดมั่นถือมั่น (ในขันธ์๕) คือ ฉันทราคะ

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้า ๑๒๐-๑๒๑

สังโยชนสูตร

            [๑๘๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันเป็น ที่ตั้งแห่งสังโยชน์และสังโยชน์ เธอทั้งหลายจงฟังธรรมนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรม อันเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ และสังโยชน์เป็นไฉน

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์และสังโยชน์นั้น คือรูป ที่จะ พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่า ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด เหล่านี้ เรียกว่าธรรมเป็นที่ตั้ง แห่งสังโยชน์ ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในรูป นั้น เป็นตัวสังโยชน์ ในรูปนั้น ฯลฯ

            ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ ใคร่ ชวนให้กำหนัด เหล่านี้เรียกว่าธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ ความกำหนัดด้วยอำนาจ ความพอใจในธรรมารมณ์นั้น เป็นตัวสังโยชน์ในธรรมารมณ์นั้น

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้า ๑๒๑

อุปาทานสูตร

            [๑๙๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง
(๑)
ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน และ
(๒)
อุปาทาน
เธอทั้งหลายจงฟังธรรมนั้น

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน และอุปาทานเป็นไฉน
            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทานและอุปาทานนั้น คือรูป ที่จะพึงรู้แจ้ง ด้วย จักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด เหล่านี้ เรียกว่า ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน

            ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในรูปนั้น ป็นตัวอุปาทานในรูปนั้น ฯลฯ ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้ กำหนัด เหล่านี้เรียกธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน

            ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในธรรมารมณ์นั้น เป็นตัวอุปาทานในธรรมารมณ์ นั้น



 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์