เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

ปมาทวิหารีสูตร ภิกษุผู้อยู่ด้วยความประมาท สังวรสูตร เห็นรูปแล้วไม่ยินดีพอใจ กุศลธรรมย่อมไม่เสื่อม 2022
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘

ปมาทวิหารีสูตร
ภิกษุผู้อยู่ด้วยความประมาท
เมื่อภิกษุ ไม่สำรวมจักขุนทรีย์ จิตย่อมแส่ ไปในรูปที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ เมื่อภิกษุมีจิตแส่ไปแล้ว ปราโมทย์ก็ไม่มี เมื่อปราโมทย์ไม่มี ปีติก็ไม่มี เมื่อปีติไม่มี ปัสสัทธิ(ความสงบเย็น) ก็ไม่มี เมื่อปัสสัทธิไม่มี ภิกษุนั้นก็อยู่ลำบาก จิตย่อมไม่ตั้งมั่น เมื่อจิตไม่ตั้งมั่น ธรรมทั้งหลาย ก็ไม่ปรากฏ เพราะธรรมทั้งหลายไม่ปรากฏ ภิกษุนั้นก็ถึงความนับว่า เป็นผู้อยู่ด้วยความประมาทแท้จริง
(ผู้ไม่สำรวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)

สังวรสูตร ว่าด้วยความสำรวม
รูปทั้งหลาย อันน่าปรารถนา น่าใคร น่าพอใจ น่ารัก น่าใคร่ ชวนให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุยินดี กล่าวสรรเสริญ พัวพันรูปนั้น ภิกษุพึงทราบ ว่า เราย่อมเสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย
(เห็นรูปแล้ว ไม่ยินดีพอใจ ไม่กล่าวสรรเสริญคุณแห่งรูปนั้น กุศลธรรมย่อมไม่เสื่อม)

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๘๕-๘๖

ปมาทวิหารีสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้อยู่ด้วยความประมาท

            [๑๔๓] พระนครสาวัตถี ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจัก แสดงภิกษุผู้อยู่ด้วยความประมาท และภิกษุผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท เธอทั้งหลาย จงฟังเถิด ก็ภิกษุเป็นผู้อยู่ด้วยความประมาทอย่างไร

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุ ไม่สำรวมจักขุนทรีย์ อยู่ จิตย่อมแส่ไปในรูป ทั้งหลาย ที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ เมื่อภิกษุมีจิตแส่ไปแล้ว ปราโมทย์ก็ไม่มี เมื่อปราโมทย์ ไม่มี ปีติก็ไม่มี เมื่อปีติไม่มี ปัสสัทธิ(ความสงบเย็น) ก็ไม่มี เมื่อปัสสัทธิไม่มี ภิกษุนั้นก็อยู่ ลำบาก จิตของภิกษุผู้มีความลำบาก ย่อมไม่ตั้งมั่น เมื่อจิตไม่ตั้งมั่น ธรรมทั้งหลาย ก็ไม่ปรากฏ เพราะ ธรรมทั้งหลายไม่ปรากฏ ภิกษุนั้นก็ถึงความนับว่า เป็นผู้อยู่ด้วยความ ประมาทแท้จริง ฯลฯ

            เมื่อภิกษุ ไม่สำรวมชิวหินทรีย์ จิตย่อมแส่ไปในรสทั้งหลาย ที่พึงรู้แจ้งด้วย ลิ้น เมื่อภิกษุมีจิตแส่ไปแล้ว ฯลฯ ภิกษุนั้นก็ถึงความนับว่า เป็นผู้อยู่ด้วยความประมาท แท้จริง ฯลฯ เมื่อภิกษุไม่สำรวมมนินทรีย์อยู่ จิตย่อมแส่ไปในธรรมารมณ์ทั้งหลาย ที่พึงรู้แจ้งด้วยใจ เมื่อภิกษุมีจิตแส่ไปแล้ว ปราโมทย์ก็ไม่มี

            เมื่อปราโมทย์ไม่มี ปีติก็ไม่มี เมื่อปีติไม่มี ปัสสัทธิก็ไม่มี เมื่อปัสสัทธิไม่มี ภิกษุนั้นก็อยู่ลำบาก จิตของภิกษุผู้มีความลำบากย่อมไม่ตั้งมั่น เมื่อจิตไม่ตั้งมั่น ธรรมทั้งหลายก็ไม่ปรากฏ เพราะธรรมทั้งหลายไม่ปรากฏ ภิกษุนั้นก็ถึงความนับว่า เป็นผู้อยู่ด้วยความประมาทแท้จริง

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้อยู่ด้วยความประมาท ด้วยประการฉะนี้

            [๑๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาทอย่างไร เมื่อภิกษุสำรวมจักขุนทรีย์อยู่ จิตก็ไม่แส่ไปในรูปทั้งหลาย ที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ เมื่อภิกษุนั้นมีจิตไม่แส่ไปแล้ว ปราโมทย์ก็เกิด

             เมื่อภิกษุเกิดปราโมทย์แล้ว ปีติก็เกิดเมื่อภิกษุมีใจเกิดปีติ กายก็สงบ ภิกษุผู้มี กายสงบ ก็อยู่สบาย จิตของภิกษุผู้มีความสุขก็ตั้งมั่น เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ธรรมทั้งหลาย ก็ปรากฏ เพราะธรรมทั้งหลายปรากฏ ภิกษุนั้นก็ถึงความนับว่า เป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ ประมาทแท้จริง ฯลฯ

            เมื่อภิกษุสำรวมชิวหินทรีย์อยู่ จิตก็ไม่แส่ไปในรสทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยลิ้น ฯลฯเมื่อภิกษุสำรวมมนินทรีย์อยู่ จิตก็ไม่แส่ไปในธรรมารมณ์ทั้งหลาย ที่พึงรู้แจ้งด้วยใจ เมื่อภิกษุมีจิตไม่แส่ไปแล้ว ปราโมทย์ก็เกิด เมื่อภิกษุเกิดปราโมทย์แล้ว ปีติก็เกิด

            เมื่อภิกษุมีใจเกิดปีติ กายก็สงบ ภิกษุผู้มีกายสงบแล้ว ก็อยู่สบาย จิตของภิกษุ ผู้มีความสุขก็ตั้งมั่น เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ธรรมทั้งหลายก็ปรากฏ เพราะธรรมทั้งหลาย ปรากฏ ภิกษุนั้นก็ถึงความนับว่า เป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาทแท้จริงดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท ด้วยประการฉะนี้

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๘๖-๘๗

สังวรสูตร
ว่าด้วยความสำรวม

            [๑๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสังวร และอสังวรแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อสังวรย่อมมีอย่างไร

            รูปทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ ใคร่ ชวนให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุยินดีกล่าวสรรเสริญ พัวพันรูปนั้น ข้อนั้นภิกษุ พึงทราบ ว่า เราย่อมเสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็น ความเสื่อม ฯลฯ

            รสทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยลิ้น อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ฯลฯ

            ธรรมารมณ์ทั้งหลาย ที่พึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุยินดีกล่าวสรรเสริญ พัวพันธรรมารมณ์นั้น ข้อนั้น ภิกษุพึงทราบว่า เราย่อมเสื่อมจาก กุศลธรรมทั้งหลาย เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เป็นความเสื่อม ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสังวรย่อมมีด้วยประการฉะนี้

            [๑๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สังวรย่อมมีอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปทั้งหลาย ที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุไม่ยินดี ไม่กล่าวสรรเสริญ ไม่พัวพันรูปนั้น ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า เราย่อม ไม่เสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นความไม่เสื่อม ฯลฯ

            รสทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยลิ้น ฯลฯ ธรรมารมณ์ทั้งหลาย ที่พึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ชวนให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่ยินดี ไม่กล่าวสรรเสริญ ไม่พัวพันธรรมารมณ์นั้น ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า เราย่อมไม่เสื่อมจาก กุศลธรรมทั้งหลาย เหตุนั้นพระผู้มีพระภาคตรัสว่า เป็นความไม่เสื่อม

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังวรย่อมมีด้วยประการฉะนี้

 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์