เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในจักษุ ในหู ในจมูก ในลิ้น ในกาย ในใจ นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต 2014
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗

ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ
-ในจักษุ ในหู ในจมูก ในลิ้น ในกาย ในใจ นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต
-ในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ ในธรรมารมณ์ นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต
-ในจักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ในฆานะ ในชิวหา ในกายะ ในมโนวิญญาณ นี้เป็น...
-ในจักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส นี้เป็น...
-จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัส.. ฆานสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัสส มโนสัมผัส..
-ในรูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธรรมสันี้เป็น... นี้เป็น...
-ในรูปสัญเจตนา สัททสัญ.. คันธสัญ.. รสสัญ.. โผฏฐัพพสัญ.. ธรรมสัญเจตนา นี้เป็น...
-ในรูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธรรมตัณหา นี้เป็น...
-ในปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุ นี้เป็น...
-ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ นี้เป็น...


๑. จักขุสูตร
๒. รูปสูตร
๓. วิญญาณสูตร
๔. ผัสสสูตร
๕. เวทนาสูตร
๖. สัญญาสูตร
๗. เจตนาสูตร
๘. ตัณหาสูตร
๙. ธาตุสูตร
๑๐. ขันธสูตร


เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๕๙

๑. จักขุสูตร
ว่าด้วยอุปกิเลสแห่งจิต

            [๔๙๙] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในจักษุ นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต
ความกำหนัด ด้วยอำนาจความพอใจ ในหู นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต
ความกำหนัด ด้วยอำนาจความพอใจ ในจมูก นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต
ความกำหนัด ด้วยอำนาจความพอใจ ในลิ้น นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต
ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในกาย นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต
ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในใจ นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต.

            ดูกรภิกษุทั้งหลายเมื่อใดแล ภิกษุละอุปกิเลสแห่งใจในฐานะ ๖ นี้ได้ เมื่อนั้น จิตของเธอย่อมเป็นจิตน้อมไป ในเนกขัมมะ อันเนกขัมมะ อบรมแล้ว ควรแก่การงาน ปรากฏในธรรมอันทำให้แจ้งด้วยอภิญญา

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๕๙

๒. รูปสูตร
ว่าด้วยอุปกิเลสแห่งจิต

            [๕๐๐] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความกำหนัด ด้วยอำนาจความ พอใจในรูป นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ความกำหนัด ด้วยอำนาจความพอใจ ในเสียง ฯลฯ ในกลิ่น ฯลฯในรส ฯลฯ ในโผฏฐัพพะ ฯลฯ ในธรรมารมณ์ นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต.

            ดูกรภิกษุทั้งหลายเมื่อใดแล ภิกษุและอุปกิเลสแห่งใจในฐานะ ๖ นี้ได้ เมื่อนั้น จิตของเธอย่อมเป็นจิตน้อมไป ในเนกขัมมะ อันเนกขัมมะอบรมแล้ว ควรแก่การงาน ปรากฏในธรรมอันจะพึงทำให้แจ้งด้วยอภิญญา

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๖๐

๓. วิญญาณสูตร
ว่าด้วยอุปกิเลสแห่งจิต

            [๕๐๑] ก. พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความกำหนัด ด้วยอำนาจความ พอใจ ใน จักขุวิญญาณ นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจใน โสตวิญญาณ ฯลฯในฆานวิญญาณ ฯลฯ ในชิวหาวิญญาณ ฯลฯ ในกายวิญญาณ ฯลฯ ในมโนวิญญาณ นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต.

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุละอุปกิเลสแห่งจิตในฐานะ ๖ นี้ได้ เมื่อนั้นจิตของเธอ ย่อมเป็นจิตน้อมไปในเนกขัมมะ อันเนกขัมมะอบรมแล้ว ควรแก่การงาน ปรากฏในธรรมที่จะพึงทำให้แจ้งด้วยอภิญญา

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๖๐

๔. ผัสสสูตร
ว่าด้วยอุปกิเลสแห่งจิต

            [๕๐๑] ข. พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความกำหนัด ด้วยอำนาจความ พอใจ ใน จักขุสัมผัส นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจใน โสตสัมผัส ฯลฯในฆานสัมผัส ฯลฯ ในชิวหาสัมผัส ฯลฯ ในกายสัมผัส ฯลฯ ในมโนสัมผัส นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต.

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุละกิเลสแห่งจิตในฐานะ ๖ นี้ได้ เมื่อนั้น จิตของเธอย่อมเป็นจิตน้อมไป ในเนกขัมมะ อันเนกขัมมะอบรมแล้ว ควรแก่การงาน ปรากฏในธรรมที่จะพึงทำให้แจ้งด้วยอภิญญา

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๖๐-๒๖๑

๕. เวทนาสูตร
ว่าด้วยอุปกิเลสแห่งจิต

            [๕๐๒] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความกำหนัด ด้วยอำนาจความพอใจ ใน จักขุสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ ในโสตสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ ในฆานสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ ในฆานสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ ในชิวหาสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ ในกายสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯในมโนสัมผัสสชาเวทนา นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต.

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุละอุปกิเลส แห่งจิตในฐานะ ๖ นี้ได้ เมื่อนั้น จิตของเธอ ย่อมเป็นจิตน้อมไป ในเนกขัมมะ อันเนกขัมมะอบรมแล้ว ควรแก่การงาน ปรากฏในธรรมที่พึงทำให้แจ้งด้วยอภิญญา

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๖๑

๖. สัญญาสูตร
ว่าด้วยอุปกิเลสแห่งจิต

            [๕๐๓] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความกำหนัด ด้วยอำนาจความ พอใจ ในรูปสัญญา นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจใน สัททสัญญา ฯลฯในคันธสัญญา ฯลฯ ในรสสัญญา ฯลฯ ในโผฏฐัพพสัญญา ฯลฯ ในธรรมสัญญา นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต.

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุละอุปกิเลสแห่งจิต ในฐานะ ๖ นี้ได้ เมื่อนั้น จิตของเธอ ย่อมเป็นจิตน้อมไปในเนกขัมมะ อันเนกขัมมะอบรมแล้ว ควรแก่การงาน ปรากฏในธรรมที่พึงทำให้แจ้งด้วยอภิญญา

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๖๑

๗. เจตนาสูตร
ว่าด้วยอุปกิเลสแห่งจิต

            [๕๐๔] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความกำหนัด ด้วยอำนาจความ พอใจ ใน รูปสัญเจตนา นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจใน สัททสัญเจตนา ฯลฯในคันธสัญเจตนา ฯลฯ ในรสสัญเจตนา ฯลฯ ในโผฏฐัพพสัญเจตนา ฯลฯ ในธรรมสัญเจตนา นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต.

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุละอุปกิเลสแห่งจิต ในฐานะ ๖ นี้ได้เมื่อนั้น จิตของเธอ ย่อมเป็นจิตน้อมไปในเนกขัมมะ อันเนกขัมมะอบรมแล้ว ควรแก่การงาน ปรากฏ ในธรรมที่พึงทำให้แจ้งด้วยอภิญญา

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๖๒

๘. ตัณหาสูตร
ว่าด้วยอุปกิเลสแห่งจิต

            [๕๐๕] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความกำหนัด ด้วยอำนาจความ พอใจ ในรูปตัณหา นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจใน สัททตัณหา ฯลฯ ในคันธตัณหา ฯลฯ ในรสตัณหา ฯลฯ ในโผฏฐัพพตัณหา ฯลฯ ในธรรมตัณหา ฯลฯ นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต.

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุละอุปกิเลสแห่งจิต ในฐานะ ๖ นี้ได้ เมื่อนั้น จิตของเธอ ย่อมเป็นจิตน้อมไป ในเนกขัมมะ อันเนกขัมมะอบรมแล้ว ควรแก่การงาน ปรากฏในธรรมที่พึงทำให้แจ้งด้วยอภิญญา

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๖๒

๙. ธาตุสูตร
ว่าด้วยอุปกิเลสแห่งจิต

            [๕๐๖] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความกำหนัด ด้วยอำนาจความ พอใจ ในปฐวีธาตุ นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ความกำหนัด ด้วยอำนาจความพอใจใน อาโปธาตุ ฯลฯ ในเตโชธาตุ ฯลฯ ในวาโยธาตุ ฯลฯ ในอากาสธาตุ ในวิญญาณธาตุ นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต.

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุละอุปกิเลสในฐานะ ๖ นี้ได้ เมื่อนั้น จิตของเธอ ย่อมเป็นจิตน้อมไป ในเนกขัมมะ อันเนกขัมมะอบรมแล้ว ควรแก่การงาน ปรากฏในธรรมที่พึงทำให้แจ้งด้วยอภิญญา

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๖๒-๒๖๓

๑๐. ขันธสูตร
ว่าด้วยอุปกิเลสแห่งจิต

            [๕๐๗] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ความกำหนัด ด้วยอำนาจความพอใจ ในรูป นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต
ความกำหนัด ด้วยอำนาจความพอใจ ในเวทนา นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต
ความกำหนัด ด้วยอำนาจความพอใจ ในสัญญา นี้เป็นกิเลสแห่งจิต
ความกำหนัด ด้วยอำนาจความพอใจ ในสังขาร นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต
ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในวิญญาณ นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต.

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุละอุปกิเลสแห่งจิต ในฐานะ ๖ นี้ได้ เมื่อนั้นแล จิตของเธอย่อมเป็นจิตน้อมไป ในเนกขัมมะ อันเนกขัมมะอบรมแล้ว ควรแก่การงาน ปรากฏในธรรม ที่พึงทำให้แจ้งด้วยอภิญญา

 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์