เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

นวาตสูตร เหตุเกิดมิจฉาทิฏฐิ...อทุกขมสุขีอัตตา อัตตาไม่มีทั้งทุกข์ทั้งสุข... 2013
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗

นวาตสูตร ว่าด้วยเหตุเกิดมิจฉาทิฏฐิ
เพราะยึดมั่นอะไร จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า ลมย่อมไม่พัด แม่น้ำย่อมไม่ไหล สตรีมีครรภ์ย่อมไม่ คลอด พระจันทร์และพระอาทิตย์ ย่อมไม่ขึ้นหรือย่อมไม่ตก เป็นของตั้งอยู่มั่นคงดุจเสาระเนียด?

เมื่อรูปมีอยู่ เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป จึงเกิดทิฏฐิ ขึ้นอย่างนี้ว่า ลมย่อมไม่พัด ฯลฯ เป็นของตั้งอยู่มั่นคงดุจเสาระเนียด (เมื่อเวทนามีอยู่....เมื่อวิญญาณมีอยู่)
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
อทุกขมสุขีอัตตาสูตร
ว่าด้วยอัตตาไม่มีทั้งทุกข์ทั้งสุข
เพราะถือมั่นอะไร เพราะยึดมั่นอะไร จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า อัตตาที่ ไม่มีทั้งทุกข์ทั้งสุข เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่สลายไป

เมื่อรูปแลมีอยู่ เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป จึงเกิด ทิฏฐิ ขึ้นอย่างนี้ว่า อัตตาที่ไม่มีทั้งทุกข์ ทั้งสุข เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่สลายไป (เมื่อเวทนามีอยู่....เมื่อวิญญาณมีอยู่)

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๔๐-๒๔๑

๑. นวาตสูตร
ว่าด้วยเหตุเกิดมิจฉาทิฏฐิ

            [๔๕๙] พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่ เพราะถือมั่นอะไร เพราะยึดมั่นอะไร จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า ลมย่อมไม่พัด แม่น้ำย่อมไม่ไหล สตรีมีครรภ์ย่อมไม่คลอด พระจันทร์และพระอาทิตย์ ย่อมไม่ขึ้นหรือย่อมไม่ตก เป็นของตั้งอยู่มั่นคงดุจเสาระเนียด? ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็น รากฐาน ฯลฯ

            พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูปมีอยู่ เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป จึงเกิดทิฏฐิ ขึ้นอย่างนี้ว่า ลมย่อมไม่พัด ฯลฯ เป็นของตั้งอยู่มั่นคงดุจเสาระเนียด.

            เมื่อเวทนามีอยู่ ฯลฯ เมื่อสัญญามีอยู่ ฯลฯ เมื่อสังขารมีอยู่ ฯลฯ เมื่อวิญญาณ มีอยู่ เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า ลมย่อมไม่พัด ฯลฯ เป็นของตั้งอยู่มั่นคงดุจเสาระเนียด

            [๔๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยง หรือไม่เที่ยง?
            ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า

            พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่น สิ่งนั้น จะพึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า ลมย่อมไม่พัด ฯลฯ เป็นของตั้งอยู่มั่นคงดุจเสา ระเนียด บ้างไหม?
            ภิ. ไม่พึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้แล สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ เมื่อสิ่งนั้น มีอยู่เพราะถือมั่นสิ่งนั้น จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า ลมย่อมไม่พัด แม่น้ำย่อมไม่ไหล สตรี มีครรภ์ย่อมไม่คลอด พระจันทร์และพระอาทิตย์ ย่อมไม่ขึ้นหรือย่อมไม่ตก เป็นของตั้งอยู่ มั่นคงดุจเสาระเนียด. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ. เที่ยงหรือไม่เที่ยง
            ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า

            พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่น สิ่งนั้น จะพึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า ลมย่อมไม่พัด ฯลฯ เป็นของตั้งอยู่มั่นคงดุจเสา ระเนียด บ้างไหม?
            ภิ. ไม่พึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า

            พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้แล สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ เมื่อสิ่งนั้นมีอยู่ เพราะถือมั่นสิ่งนั้น จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า ลมย่อมไม่พัด ฯลฯ เป็นของตั้งอยู่มั่นคงดุจเสาระเนียด ฯลฯ

(อีก ๒๔ สูตรเหมือนในวรรคที่ ๒)

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๔๑-๒๔๒

๒๖. อทุกขมสุขีอัตตาสูตร
ว่าด้วยอัตตาไม่มีทั้งทุกข์ทั้งสุข

            [๔๖๑] พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อ อะไรหนอมีอยู่ เพราะถือมั่นอะไร เพราะยึดมั่นอะไร จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า อัตตาที่ ไม่มีทั้งทุกข์ทั้งสุข เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่สลายไป. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ

            พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูปแลมีอยู่ เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป จึงเกิด ทิฏฐิ ขึ้นอย่างนี้ว่า อัตตาที่ไม่มีทั้งทุกข์ทั้งสุข เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่สลายไป. เมื่อเวทนามีอยู่ฯลฯ เมื่อสัญญามีอยู่ ฯลฯ เมื่อสังขารมีอยู่ ฯลฯ เมื่อวิญญาณมีอยู่ เพราะ ถือมั่นวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า อัตตาที่ไม่มี ทั้งทุกข์ ทั้งสุข เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่สลายไป.

            [๔๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยง หรือไม่เที่ยง?
            ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า

            พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่น สิ่งนั้น จะพึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า อัตตาที่ไม่มีทั้งทุกข์ทั้งสุข เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมไม่สลายไปบ้างไหม?

            ภิ. ไม่พึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้เลย พระเจ้าข้า

            พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้แล สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ เมื่อ สิ่งนั้นมีอยู่ เพราะถือมั่นสิ่งนั้น จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า อัตตาที่ไม่มีทั้งทุกข์ทั้งสุข เบื้องหน้าแต่ตายไปแล้วย่อมไม่สลายไป เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?
            ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯลฯ

            พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่น สิ่งนั้น จะพึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า อัตตาที่ไม่มีทั้งทุกข์ทั้งสุข เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมสลายไปบ้างไหม?
            ภิ. ไม่พึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า

            พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้แล สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ เมื่อสิ่งนั้นมีอยู่ เพราะถือมั่นสิ่งนั้น จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า อัตตาที่ไม่มีทั้งทุกข์ทั้งสุข เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมไม่สลายไป

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๔๓-๒๔๔

๑. นวาตสูตร
ว่าด้วยเหตุเกิดมิจฉาทิฏฐิ

            [๔๖๓] พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่เพราะถือมั่นอะไร เพราะยึดมั่นอะไร จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า ลมย่อม ไม่พัด แม่น้ำย่อมไม่ไหลสตรีมีครรภ์ย่อมไม่คลอด พระจันทร์และพระอาทิตย์ ย่อมไม่ขึ้น หรือย่อมไม่ตก เป็นของตั้งอยู่มั่นคงดุจเสาระเนียด? ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูปมีอยู่ เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป จึงเกิดทิฏฐิขึ้น อย่างนี้ว่า ลมย่อมไม่พัด ฯลฯ เป็นของตั้งอยู่มั่นคงดุจเสาระเนียด. เมื่อเวทนามีอยู่ ฯลฯ เมื่อสัญญามีอยู่ ฯลฯ เมื่อสังขารมีอยู่ฯลฯ เมื่อวิญญาณมีอยู่ เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า ลมย่อมไม่พัด ฯลฯ เป็นของตั้งอยู่มั่นคง ดุจเสาระเนียด

            [๔๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยง หรือ ไม่เที่ยง?
            ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า

            พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
            ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า

            พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะ ตามเห็น สิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา?
            ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า

            พ. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
            ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า

            พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
            ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า

            พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะ ตาม เห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา?
            ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า

            [๔๖๕] พ. เพราะเหตุนั้นแหละ ภิกษุทั้งหลาย รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็น อดีตอนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ รูปทั้งหมดนั้น เธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา

            เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ สังขารอย่างใด อย่างหนึ่ง ฯลฯ วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายใน หรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีตอยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ วิญญาณทั้งหมดนั้น เธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา. ดูกรภิกษุทั้งหลายอริยสาวก ผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯลฯ


----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๔๔-๒๔๖

๒๖. อทุกขมสุขีอัตตาสูตร
ว่าด้วยอัตตาไม่มีทั้งทุกข์ทั้งสุข

            [๔๖๖] พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่ เพราะถือมั่นอะไร เพราะยึดมั่นอะไร จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า อัตตาที่ไม่มี ทั้งทุกข์ทั้งสุขเบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่สลายไป? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูปมีอยู่ เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป จึงเกิดทิฏฐิขึ้น อย่างนี้ว่า อัตตาที่ไม่มีทั้งทุกข์ทั้งสุขเบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมไม่สลายไป.

             เมื่อเวทนามีอยู่ ฯลฯ เมื่อสัญญามีอยู่ ฯลฯเมื่อสังขารมีอยู่ ฯลฯ เมื่อวิญญาณ มีอยู่ เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า อัตตาที่ไม่มี ทั้งทุกข์ทั้งสุข เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่สลายไป

            [๔๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยง หรือไม่เที่ยง?
            ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า

            พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือสุขเล่า?
            ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า

            พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะ ตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา?
            ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า

            พ. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
            ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า

            พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือสุขเล่า?
            ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า

            พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะ ตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา?
            ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า

            [๔๖๘] พ. เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ รูปทั้งหมดนั้น เธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา

            เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ สังขารอย่างใด อย่างหนึ่ง ฯลฯ วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีตอยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ วิญญาณทั้งหมดนั้น เธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา

            ดูกรภิกษุทั้งหลายอริยสาวกผู้ได้สดับ แล้วเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย แม้ใน รูป แม้ในเวทนา แม้ในสัญญาแม้ในสังขาร แม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลาย กำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้นเมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้น แล้ว. รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อ ความเป็นอย่างนี้มิได้มี

 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์