เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

ความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ คือความเกิดขึ้น ของรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ของธรรมารมณ์ 2012
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗

ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิดความปรากฏแห่งจักษุ นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ. ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏ แห่งหู ฯลฯ แห่งลิ้น ฯลฯ แห่งกาย ฯลฯ แห่งใจ นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความ ปรากฏ แห่งชราและมรณะ
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ และความดับไปแห่งทุกข์
๑. จักขุสูตร (ว่าด้วยความเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปแห่งทุกข์)
๒. รูปสูตร (ว่าด้วยความเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปแห่งทุกข์)
๓. วิญญาณสูตร (ว่าด้วยความเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปแห่งทุกข์)
๔. ผัสสสูตร (ว่าด้วยความเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปแห่งทุกข์)
๕. เวทนาสูตร (ว่าด้วยความเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปแห่งทุกข์)
๖. สัญญาสูตร (ว่าด้วยความเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปแห่งทุกข์)
๗. เจตนาสูตร (ว่าด้วยความเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปแห่งทุกข์)
๘. ตัณหาสูตร (ว่าด้วยความเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปแห่งทุกข์)
๙. ธาตุสูตร (ว่าด้วยความเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปแห่งทุกข์)
๑๐. ขันธสูตร (ว่าด้วยความเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปแห่งทุกข์)

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๕๓

๑. จักขุสูตร
ว่าด้วยความเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปแห่งทุกข์

           [๔๗๙] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิดความปรากฏ แห่งจักษุ นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่ง โรค เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ.

           ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏ แห่งหู ฯลฯ แห่งลิ้น ฯลฯ แห่งกาย ฯลฯ แห่งใจ นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความ ปรากฏ แห่งชราและมรณะ

           [๔๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับโดยไม่เหลือ ความสงบระงับ ความดับสูญ แห่งจักษุ นี้เป็นความดับ โดยไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความ ดับสูญแห่งชราและมรณะ. ความดับโดยไม่เหลือ ความสงบระงับ ความดับสูญแห่งหู ฯลฯ แห่งจมูกฯลฯ แห่งลิ้น ฯลฯ แห่งกาย ฯลฯ แห่งใจ นี้เป็นความดับโดยไม่เหลือ แห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความดับสูญแห่งชราและมรณะ

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๕๓-๒๕๔

๒. รูปสูตร
ว่าด้วยความเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปแห่งทุกข์

           [๔๘๑] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิดความปรากฏแห่งรูป นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ. ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งเสียง ฯลฯ แห่งกลิ่น ฯลฯ แห่งรส ฯลฯ แห่งโผฏฐัพพะ ฯลฯ แห่งธรรมารมณ์ นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏ แห่งชราและมรณะ

           [๔๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับโดยไม่เหลือ ความสงบระงับ ความดับสูญ แห่งรูปนี้ เป็นความดับ โดยไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับ แห่งโรค เป็นความดับสูญ แห่งชราและมรณะ. ความดับโดยไม่เหลือ ความสงบระงับ ความดับสูญแห่งเสียง ฯลฯ แห่งกลิ่น ฯลฯแห่งโผฏฐัพพะ ฯลฯ แห่งธรรมารมณ์ นี้เป็นความดับ โดยไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความดับสูญ แห่งชราและมรณะ

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๕๔

๓. วิญญาณสูตร
ว่าด้วยความเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปแห่งทุกข์

           [๔๘๓] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิดความปรากฏ แห่งจักขุวิญญาณ ฯลฯ แห่งโสตวิญญาณ ฯลฯ แห่งมโน วิญญาณ นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏ แห่งชราและมรณะ

           [๔๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับโดยไม่เหลือ ความสงบระงับ ความดับสูญ แห่งจักขุวิญญาณ ฯลฯ แห่งโสตวิญญาณ ฯลฯ แห่งฆานวิญญาณ ฯลฯ แห่งชิวหา วิญญาณ ฯลฯแห่งกายวิญญาณ ฯลฯ แห่งมโนวิญญาณ นี้เป็นความดับโดยไม่เหลือ แห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความดับสูญแห่งชราและมรณะ


--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๕๔-๒๕๕

๔. ผัสสสูตร
ว่าด้วยความเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปแห่งทุกข์

           [๔๘๕] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิดความปรากฏ แห่งจักขุสัมผัส ฯลฯ แห่งโสตสัมผัส ฯลฯ แห่งฆานสัมผัส ฯลฯ แห่งกายสัมผัส ฯลฯแห่งมโนสัมผัส นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอย ู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ

           [๔๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับโดยไม่เหลือ ความสงบระงับ ความดับสูญ แห่งจักขุสัมผัส ฯลฯ แห่งโสตสัมผัส ฯลฯ แห่งฆานสัมผัส ฯลฯ แห่งชิวหาสัมผัส ฯลฯแห่งกายสัมผัส ฯลฯ แห่งมโนสัมผัส นี้เป็นความดับโดยไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความดับสูญแห่งชราและมรณะ

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๕๕

๕. เวทนาสูตร
ว่าด้วยความเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปแห่งทุกข์

           [๔๘๗] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิดความปรากฏ แห่งจักขุสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ แห่งโสตสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ แห่งฆานสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ แห่งชิวหาสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ แห่งกาย สัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ แห่งมโนสัมผัสสชาเวทนา นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ

           [๔๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับโดยไม่เหลือ ความสงบระงับความดับสูญ แห่งจักขุสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ แห่งโสตสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ แห่งฆานสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯแห่งชิวหาสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ แห่งกายสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ แห่งมโนสัมผัสสชาเวทนานี้ เป็นความดับ โดยไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความดับสูญแห่งชราและมรณะ


--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๕๕-๒๕๖

๖. สัญญาสูตร
ว่าด้วยความเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปแห่งทุกข์

           [๔๘๙] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิดความปรากฏ แห่งรูปสัญญา ฯลฯ แห่งสัททสัญญา ฯลฯ แห่งคันธสัญญา ฯลฯ แห่งรสสัญญาฯลฯ แห่งโผฏฐัพพสัญญา ฯลฯ แห่งธรรมสัญญา นี้เป็นความเกิดขึ้น แห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ

           [๔๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับโดยไม่เหลือ ความสงบระงับ ความดับสูญ แห่งรูปสัญญา ฯลฯ แห่งสัททสัญญา ฯลฯ แห่งคันธสัญญา ฯลฯ แห่งรสสัญญา ฯลฯ แห่งโผฏฐัพพสัญญา ฯลฯ แห่งธรรมสัญญา นี้เป็นความดับ โดยไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความดับสูญแห่งชราและมรณะ


--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๕๖

๗. เจตนาสูตร
ว่าด้วยความเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปแห่งทุกข์

           [๔๙๑] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิดความปรากฏแห่ง รูปสัญเจตนา ฯลฯ แห่งสัททสัญเจตนา ฯลฯ แห่ง คันธสัญเจตนา ฯลฯ แห่งรสสัญเจตนา ฯลฯ แห่งโผฏฐัพพสัญเจตนา ฯลฯ แห่งธรรม สัญเจตนา นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏ แห่งชราและมรณะ

           [๔๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับโดยไม่เหลือ ความสงบระงับ ความดับสูญ แห่งรูปสัญเจตนา ฯลฯ แห่งสัททสัญเจตนา ฯลฯ แห่งคันธสัญเจตนา ฯลฯ แห่ง รสสัญเจตนา ฯลฯแห่งโผฏฐัพพสัญเจตนา ฯลฯ แห่งธรรมสัญเจตนา นี้เป็นความดับ โดยไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความดับสูญแห่งชราและมรณะ
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๕๖-๒๕๗

๘. ตัณหาสูตร
ว่าด้วยความเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปแห่งทุกข์

           [๔๙๓] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิดความปรากฏแห่งรูปตัณหา ฯลฯ แห่งสัททตัณหา ฯลฯ แห่งคันธตัณหา ฯลฯ แห่งรสตัณหาฯลฯ แห่งโผฏฐัพพตัณหา ฯลฯ แห่งธรรมตัณหา นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่ง ทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ

           [๔๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับโดยไม่เหลือ ความสงบระงับ ความสูญ แห่งรูปตัณหา ฯลฯ แห่งสัททตัณหา ฯลฯ แห่งคันธตัณหา ฯลฯ แห่งรสตัณหา ฯลฯ แห่งโผฏฐัพพตัณหา ฯลฯ แห่งธรรมตัณหา นี้เป็นความดับโดยไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความดับสูญแห่งชราและมรณะ.

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๕๗

๙. ธาตุสูตร
ว่าด้วยความเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปแห่งทุกข์

           [๔๙๕] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิดความปรากฏ แห่งปฐวีธาตุ ฯลฯ แห่งอาโปธาตุ ฯลฯ แห่งเตโชธาตุ ฯลฯ แห่งวาโยธาตุ ฯลฯแห่งอากาสธาตุ ฯลฯ แห่งวิญญาณธาตุ นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรคเป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ

           [๔๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับโดยไม่เหลือ ความสงบระงับ ความดับสูญแห่งปฐวีธาตุ ฯลฯ แห่งอาโปธาตุ ฯลฯ แห่งเตโชธาตุ ฯลฯ แห่งวาโยธาตุ ฯลฯ แห่งอากาสธาตุฯลฯ แห่งวิญญาณธาตุ ฯลฯ นี้เป็นความดับโดยไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความดับสูญแห่งชราและมรณะ

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๕๗-๒๕๘

๑๐. ขันธสูตร
ว่าด้วยความเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปแห่งทุกข์

           [๔๙๗] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิดความปรากฏแห่งรูป นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ. ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏ แห่งเวทนา ฯลฯ แห่งสัญญา ฯลฯ แห่งสังขาร ฯลฯ แห่งวิญญาณ นี้เป็น ความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่ง ชราและมรณะ

           [๔๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับโดยไม่เหลือ ความสงบระงับความดับสูญ แห่งรูปนี้ เป็นความดับโดยไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความ ดับสูญแห่งชราและมรณะ. ความดับโดยไม่เหลือ ความสงบระงับ ความดับสูญแห่ง เวทนา ฯลฯ แห่งสัญญาแห่งสังขาร ฯลฯ แห่งวิญญาณ นี้เป็นความดับโดยไม่เหลือ แห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความดับสูญแห่งชราและมรณะ




 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์