เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

ขันธ์ ๕ เป็นของร้อน รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นของเร่าร้อน 2005
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗

ขันธ์ ๕ เป็นของร้อน
รูปเป็นของเร่าร้อน เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเป็นของเร่าร้อน
อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในรูป
ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในเวทนา แม้ในสัญญา แม้ในสังขาร แม้ในวิญญาณ

เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น
เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว
รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

สิ่งที่พึงละ
เธอทั้งหลายพึง ละฉันทะ ละราคะ ละฉันทราคะ (ความยึดมั่น)ในสิ่งที่ เป็นอนิจจัง เสีย
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอนิจจัง เธอพึงละมันเสีย

เธอทั้งหลายพึง ละฉันทะ ละราคะ ละฉันทราคะ (ความยึดมั่น)ในสิ่งที่ เป็นทุกข์ เสีย
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นทุกข์ เธอพึงละมันเสีย

เธอทั้งหลายพึง ละฉันทะ ละราคะ ละฉันทราคะ (ความยึดมั่น)ในสิ่งที่ เป็นอนัตตา เสีย
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอนัตตา เธอพึงละมันเสีย
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ว่าด้วยธรรมอันสมควรแก่กุลบุตร
เป็นผู้มากด้วยความเบื่อหน่าย ในรูป...ในวิญญาณ เรากล่าวว่าย่อมหลุดพ้นไปจากทุกข์
เป็นผู้พิจารณาเห็นความ ไม่เที่ยง ในรูป...ในวิญญาณ เรากล่าวว่าย่อมหลุดพ้นไปจากทุกข์
เป็นผู้พิจารณาเห็นความ เป็นทุกข์ ในรูป...ในวิญญาณ เรากล่าวว่าย่อมหลุดพ้นไปจากทุกข์
เป็นผู้พิจารณาเห็นความ เป็นอนัตตาในรูป...ในวิญญาณ เรากล่าวว่าย่อมหลุดพ้นไปจากทุกข์

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๗๒

๑. กุกกุฬสูตร
ว่าด้วยขันธ์ ๕ เป็นของร้อน

          [๓๓๔] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นของเร่าร้อน เวทนาเป็นของ เร่าร้อน สัญญาเป็นของเร่าร้อน สังขารเป็นของเร่าร้อน วิญญาณเป็นของเร่าร้อน.

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในสังขาร ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ

          เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น. เมื่อหลุดพ้น แล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว. รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี.


---------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๗๒

๒. อนิจจสูตรที่ ๑
ว่าด้วยการละฉันทะในสิ่งที่เป็นอนิจจัง

          [๓๓๕] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงละฉันทะ ในสิ่งที่ ไม่เที่ยงเสีย.

           ก็อะไรเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง รูปเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละฉันทะ ในรูปนั้น เสีย.เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง เธอทั้งหลาย พึงละ ฉันทะ ในวิญญาณนั้นเสีย.

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๗๒ - ๑๗๓

๓. อนิจจสูตรที่ ๒
ว่าด้วยการละราคะในสิ่งที่เป็นอนิจจัง

          [๓๓๖] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงละราคะ ในสิ่งที่ไม่เที่ยงเสีย.

           ก็อะไรเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง รูปเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละราคะ ในรูปนั้น เสีย. เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละราคะ ในวิญญาณนั้น

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๗๓

๔. อนิจจสูตรที่ ๓
ว่าด้วยการละฉันทะราคะในสิ่งที่เป็นอนิจจัง

          [๓๓๗] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะ ในสิ่งที่ไม่เที่ยงเสีย.

          ก็อะไรเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง รูปเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละ ฉันทราคะ ในรูปนั้นเสีย. เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะ ในวิญญาณเสีย.


---------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๗๓-๑๗๔

๕. ทุกขสูตรที่ ๑
ว่าด้วยการละฉันทะในสิ่งที่เป็นทุกข์

          [๓๓๘] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย พึงละ ฉันทะ ในสิ่งที่ เป็นทุกข์เสีย.

           ก็อะไรเป็นสิ่งที่เป็นทุกข์ รูปเป็นสิ่งที่เป็นทุกข์ เธอทั้งหลาย พึงละฉันทะ ในรูปนั้นเสีย.เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเป็นสิ่งที่เป็นทุกข์ เธอทั้งหลาย พึงละฉันทะ ในวิญญาณนั้นเสีย

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๗๓-๑๗๔

๖. ทุกขสูตรที่ ๒
ว่าด้วยการละราคะในสิ่งที่เป็นทุกข์

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย พึงละ ราคะ ในสิ่งที่เป็นทุกข์เสีย.

          ก็อะไรเป็นสิ่งที่เป็นทุกข์ รูปเป็นสิ่งที่เป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละราคะ ในรูปนั้น เสีย. เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ...วิญญาณเป็นสิ่งที่เป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละราคะ ในวิญญาณนั้นเสีย

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๗๓-๑๗๔

๗. ทุกขสูตรที่ ๓
ว่าด้วยการละฉันทราคะในสิ่งที่เป็นทุกข์

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย พึงละ ฉันทราคะ ในสิ่งที่ เป็นทุกข์ เสีย.

          ก็อะไรเป็น สิ่งที่เป็นทุกข์ รูปเป็นสิ่งที่เป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะ ในรูปนั้นเสีย. เวทนา ... สัญญา ...สังขาร ... วิญญาณ เป็นสิ่งที่เป็นทุกข์ เธอทั้งหลาย พึงละฉันทราคะ ในวิญญาณ นั้นเสีย.

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๗๔

๘. อนัตตสูตรที่ ๑
ว่าด้วยการละฉันทะในสิ่งที่เป็นอนัตตา

          [๓๓๙] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย พึงละ ฉันทะ ในสิ่งที่เป็น อนัตตาเสีย

          ก็อะไรเป็นสิ่งที่เป็นอนัตตา รูปเป็นสิ่งที่เป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละฉันทะ ในรูปนั้นเสีย. เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ...วิญญาณ เป็นสิ่งที่เป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย พึงละฉันทะ ในวิญญาณนั้นเสีย.

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๗๕

๙. อนัตตสูตรที่ ๒
ว่าด้วยการละราคะในสิ่งที่เป็นอนัตตา

          [๓๔๐] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย พึงละราคะ ในสิ่งที่เป็น อนัตตา เสีย.

          ก็อะไรเป็นสิ่งที่เป็นอนัตตา รูปเป็นสิ่งที่เป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละราคะ ในรูปนั้นเสียเวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเป็นสิ่งที่เป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย พึงละราคะ ในวิญญาณนั้นเสีย.

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๗๕

๑๐. อนัตตสูตรที่ ๓
ว่าด้วยการละฉันทราคะในสิ่งที่เป็นอนัตตา

          [๓๔๑] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย พึงละ ฉันทราคะ ในสิ่งที่เป็น อนัตตา เสีย

           ก็อะไรเป็นสิ่งที่เป็นอนัตตา รูปเป็นสิ่งที่เป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย พึงละ ฉันทราคะ ในรูปนั้นเสีย. เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเป็นสิ่งที่เป็น อนัตตา เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะ ในวิญญาณนั้นเสีย.

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๗๕

๑๑. กุลปุตตสูตรที่ ๑
ว่าด้วยธรรมอันสมควรแก่กุลบุตร

          [๓๔๒] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้มากด้วยความเบื่อหน่าย ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ นี้ย่อมเป็นธรรมสมควรแห่งกุลบุตร ผู้บวชด้วยศรัทธา.

          เมื่อเป็นผู้มากด้วยความเบื่อหน่าย ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ ย่อมกำหนดรู้ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เมื่อกำหนดรู้ซึ่งรูป เวทนา สัญญาสังขาร วิญญาณ ย่อมหลุดพ้นไปจากรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จากชาติ ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เรากล่าวว่า ย่อมหลุดพ้น ไปจากทุกข์.


---------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๗๕-๑๗๖

๑๒. กุลปุตตสูตรที่ ๒
ว่าด้วยธรรมอันสมควรแก่กุลบุตร

          [๓๔๓] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้พิจารณา เห็นความ ไม่เที่ยง ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ นี้ย่อมเป็นธรรมสมควรแห่ง กุลบุตร ผู้บวชด้วยศรัทธา.

          เมื่อพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ ย่อมกำหนดรู้ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เมื่อกำหนดรู้ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ย่อมหลุดพ้นไปจากรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จากชาติ ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เรากล่าวว่า ย่อมหลุดพ้นไปจากทุกข์.


---------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๗๖

๑๓. กุลปุตตสูตรที่ ๓
ว่าด้วยธรรมอันสมควรแก่กุลบุตร

          [๓๔๔] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้พิจารณา เห็นความ เป็นทุกข์ ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ นี้ย่อมเป็นธรรมสมควรแห่ง กุลบุตร ผู้บวชด้วยศรัทธา ฯลฯ เรากล่าวว่า ย่อมหลุดพ้นไปจากทุกข์.

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๗๖-๑๗๗

๑๔. กุลปุตตสูตรที่ ๔
ว่าด้วยธรรมอันสมควรแก่กุลบุตร

          [๓๔๕] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้พิจารณาเห็นความเป็น อนัตตา ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ นี้ย่อมเป็นธรรมสมควรแห่ง กุลบุตร ผู้บวชด้วยศรัทธา.

          เมื่อพิจารณา เห็นความเป็นอนัตตาในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ ย่อมกำหนดรู้ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เมื่อกำหนดรู้ซึ่งรูป เวทนาสัญญา สังขาร วิญญาณ ย่อมหลุดพ้นไปจากรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จากชาติชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เรากล่าวว่า ย่อมหลุดพ้นไปจากทุกข์.

 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์