พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๘๖-๘๗
โยธาชีววรรคที่ ๓
๑. เจโตวิมุติสูตรที่ ๑
[๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีเจโตวิมุติเป็นผล และมีเจโตวิมุติเป็นผลานิสงส์ ย่อมมีปัญญาวิมุติเป็นผล และมี ปัญญาวิมุติเป็นผลานิสงส์
ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑.ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นว่าไม่งามในกาย
๒.ย่อมมีความสำคัญว่าเป็นของปฏิกูล ในอาหาร
๓.ย่อมมีความสำคัญว่าไม่น่ายินดีในโลกทั้งปวง
๔.ย่อมพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง
๕.ย่อมเข้าไปตั้งมรณสัญญาไว้ในภายใน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีเจโตวิมุติเป็นผล และมีเจโตวิมุติเป็นผลานิสงส์ ย่อมมีปัญญาวิมุติเป็นผล และมีปัญญาวิมุติเป็นผลานิสงส์ เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มีเจโตวิมุติและปัญญาวิมุติ เมื่อนั้น ภิกษุนี้เรียกว่าเป็นผู้ถอนลิ่มสลักขึ้นได้ ดังนี้บ้าง ว่าเป็นผู้รื้อเครื่องแวดล้อมได้ ดังนี้บ้าง ว่าเป็นผู้ถอนเสาระเนียดขึ้นได้ ดังนี้บ้าง ว่าเป็นผู้ถอดกลอนออกได้ ดังนี้บ้าง ว่าเป็นผู้ไกลจากข้าศึกปลดธงลงได้ ปลงภาระลงได้ ไม่ประกอบด้วยวัฏฏะ ดังนี้บ้าง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้ถอนลิ่มสลักขึ้นได้อย่างไร คือ ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละอวิชชาเสียได้ ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้ถอนลิ่มสลักขึ้นได้อย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้ รื้อเครื่องแวดล้อมได้อย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละชาติสงสาร ที่เป็นเหตุนำ ให้เกิดในภพใหม่ต่อไปได้ ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้รื้อเครื่องแวดล้อมได้อย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้ถอนเสาระเนียดขึ้นได้อย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละ ตัณหาเสียได้ ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้น อีกต่อไปเป็นธรรมดา ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอนเสาระเนียด ขึ้นได้อย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอดกลอนออกได้อย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละ โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการเสียได้ ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอดกลอนออก ได้อย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ไกลจากข้าศึก ปลดธงลงได้ ปลงภาระลงได้ไม่ประกอบด้วย วัฏฏะอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละอัสมิมานะเสียได้ ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ไกลจากข้าศึก ปลดธงลงได้ ปลงภาระลงได้ ไม่ประกอบด้วย วัฏฏะ ใดๆ อย่างนี้แล
---------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๘๗-๘๘
๒. เจโตวิมุติสูตรที่ ๒
[๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีเจโตวิมุติเป็นผล และมีเจโตวิมุติ เป็นผลานิสงส์ ย่อมมีปัญญาวิมุติเป็นผล และมีปัญญาวิมุติ เป็นผลานิสงส์
ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ
๑.ความสำคัญว่าไม่เที่ยง
๒.ความสำคัญว่าเป็นทุกข์ในสิ่งไม่เที่ยง
๓.ความสำคัญว่าเป็นอนัตตาในสิ่งที่เป็นทุกข์
๔.ความสำคัญในการละ
๕.ความสำคัญในความคลายกำหนัด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล อันบุคคลเจริญแล้วทำให้มากแล้ว ย่อมมีเจโตวิมุติเป็นผล และมีเจโตวิมุติเป็นผลานิสงส์ ย่อมมีปัญญาวิมุติเป็นผล และมี ปัญญาวิมุติเป็นผลานิสงส์ เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มีเจโตวิมุติ และปัญญาวิมุติ เมื่อนั้น ภิกษุนี้ เรียกว่า เป็นผู้ถอนลิ่มสลักขึ้นได้ ดังนี้บ้าง ว่าเป็นผู้รื้อเครื่องแวดล้อมได้ ดังนี้บ้าง ว่าเป็นผู้ถอนเสาระเนียดขึ้นได้ดังนี้บ้าง ว่าเป็นผู้ถอดกลอนออกได้ ดังนี้บ้าง ว่าเป็นผู้ไกลจากข้าศึก ปลดธงลงได้ ปลงภาระลงได้ ไม่ประกอบด้วยวัฏฏะ ดังนี้บ้าง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอนลิ่มสลัก ขึ้นได้อย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัย นี้ เป็นผู้ละอวิชชาเสียได้ ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาล ยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอนลิ่มสลัก ขึ้นได้อย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้รื้อเครื่องแวดล้อมได้อย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละ ชาติสงสารที่เป็นเหตุ นำให้เกิดในภพใหม่ต่อไปได้ ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นเหมือน ตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้รื้อเครื่อง แวดล้อม ได้อย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้ถอนเสาระเนียดขึ้นได้อย่างไรคือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละ ตัณหาเสียได้ ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้น อีกต่อไปเป็นธรรมดา ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอนเสาระเนียด ขึ้นได้อย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้ถอดกลอนออกได้อย่างไร คือภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละ โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เสียได้ ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้ มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอดกลอน ออกได้ อย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ไกลจากข้าศึก ปลดธงลงได้ ปลงภาระลงได้ ไม่ประกอบด้วย วัฏฏะ อย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละอัสมิมานะได้ ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็น เหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไป เป็นธรรมดา ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ไกล จากข้าศึก ปลดธงลงได้ ปลงภาระลงได้ ไม่ประกอบด้วยวัฏฏะอย่างนี้แล
|