เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

ธรรมอันกระทำที่พึ่ง ๑๐ ประการ (นาถสูตร) 1817
 
ธรรมอันกระทำที่พึ่ง ๑๐ ประการ (นาถสูตร)

1. เป็นผู้มีศีลสำรวมในปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร

2. เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้สดับมาก ทรงจำ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอด

3. เป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี

4. เป็นผู้ว่าง่าย คือ ประกอบด้วยธรรมเครื่องกระทำความ เป็นผู้ว่าง่าย เป็นผู้อดทน

5. เป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านในกิจที่ควรทำ

6. เป็นผู้ใคร่ในธรรม เป็นผู้ฟังและแสดงธรรมอันเป็นที่รักมีความปราโมทย์ในธรรมอันยิ่ง

7.เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรมทั้งหลาย

8. เป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัชบริขาร

9.เป็นผู้มีสติ คือ ประกอบด้วยสติเป็นเครื่องรักษาตน

10.เป็นผู้มีปัญญา อันเห็นความเกิดความดับ เป็นอริยะ

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๘-๓๐

ธรรมอันกระทำที่พึ่ง ๑๐ ประการ (นาถสูตร)

           [๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีที่พึ่งอยู่เถิด อย่าเป็นผู้ไม่มี ที่พึ่งอยู่เลย (เพราะว่า) บุคคลผู้ไม่มีที่พึ่งย่อมอยู่เป็นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลายธรรม อันกระทำที่พึ่ง ๑๐ ประการนี้ ๑๐ ประการเป็นไฉน

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมในปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษมีประมาณน้อย สมาทานศึกษา อยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษา อยู่ในสิกขาบททั้งหลาย นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง (1)

           อีกประการหนึ่ง ภิกษุ เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้สดับมาก ทรงจำ ไว้คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ ซึ่งธรรมอันงามในเบื้องต้น งามใน ท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถพร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ สิ้นเชิง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นพหูสูต ฯลฯ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ นี้เป็น ธรรมกระทำที่พึ่ง (2)

           อีกประการหนึ่ง ภิกษุ เป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง (3)

           อีกประการหนึ่ง ภิกษุ เป็นผู้ว่าง่าย คือ ประกอบด้วยธรรมเครื่องกระทำความ เป็นผู้ว่าง่าย เป็นผู้อดทน รับอนุศาสนีโดยเคารพ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ว่า ง่าย คือ เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมเครื่องกระทำความเป็นผู้ว่าง่าย เป็นผู้อดทน รับ อนุสาสนี โดยเคารพ นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง (4)

           อีกประการหนึ่ง ภิกษุ เป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านในกิจที่ควรทำอย่างไร ทั้งสูง ทั้งต่ำ ของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา อันเป็น อุบายในกิจนั้น อาจทำอาจจัดได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน ในกิจที่ควรทำอย่างไร ทั้งสูงทั้งต่ำ ของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ฯลฯ อาจทำ อาจจัดได้ นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง (5)

           อีกประการหนึ่ง ภิกษุ เป็นผู้ใคร่ในธรรม เป็นผู้ฟังและแสดงธรรมอันเป็นที่รัก มีความปราโมทย์อย่างยิ่งในธรรมอันยิ่ง ในวินัยอันยิ่ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุ เป็นผู้ใคร่ในธรรม เป็นผู้ฟังและแสดงธรรมอันเป็นที่รัก มีความปราโมทย์อย่างยิ่งในธรรม อันยิ่ง ในวินัยอันยิ่ง นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง (6)

           อีกประการหนึ่ง ภิกษุ เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรมทั้งหลาย เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระ ในกุศลธรรมทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรมทั้งหลาย เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรมทั้งหลายเป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง (7)

           อีกประการหนึ่ง ภิกษุ เป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ เภสัชบริขาร อันเป็นปัจจัยของคนไข้ ตามมีตามได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัชบริขารอันเป็นปัจจัยของคนไข้ ตามมี ตามได้ นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง (8)

           อีกประการหนึ่ง ภิกษุ เป็นผู้มีสติ คือ ประกอบด้วยสติเป็นเครื่องรักษาตน อย่างยิ่ง ระลึกได้ ตามระลึกได้ซึ่งสิ่งที่ทำคำที่พูดแล้วแม้นานได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีสติ คือ ประกอบด้วยสติเป็นเครื่องรักษาตนอย่างยิ่งระลึกได้ ตามระลึกได้ ซึ่งสิ่งที่ทำคำที่พูดแล้วแม้นานได้ นี้ เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง (9)

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญา อันเห็นความเกิดความดับ เป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ มีปัญญา คือประกอบด้วยปัญญาอันเห็นความเกิดความดับ เป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบนี้ เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง (10)

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีที่พึ่งอยู่เถิด อย่าเป็นผู้ไม่มีที่พึ่ง อยู่เลย (เพราะว่า) บุคคลผู้ไม่มีที่พึ่งย่อมอยู่เป็นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมกระทำ ที่พึ่ง ๑๐ ประการนี้แล

 

 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์