เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

เมฆิยสูตร : อกุศลวิตก อันลามก ๓ ประการ เกิดแก่พระเมฆิยะหลังพำนักอยู่ป่าอัมพวัน 1742
  (โดยย่อ)

เมฆิยสูตร
พระเมฆิยะ พักอยู่ ณ อัมพวันนั้น อกุศลวิตก อันลามก ๓ ประการ คือ
กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก ย่อมฟุ้งซ่านโดยมาก

ดูกรเมฆิยะ ธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความแก่กล้า แห่ง เจโตวิมุติ
(๑) ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี
(๒) ภิกษุเป็นผู้มีศีล สำรวมระวังในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระ และโคจร
(๓) ภิกษุเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกถาเพื่อขัดเกลากิเลส คือ อับปิจฉกถา สันตุฏฐิกถา ปวิเวกกถา อสังสัคคกถา วิริยารัมภกถา สีลกถา สมาธิกถา ปัญญากถา วิมุตติกถา วิมุตติญาณทัสนกถา
(๕) ภิกษุเป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเครื่องพิจารณา ความเกิด และความดับเป็นอริยะ ชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ

ภิกษุนั้นตั้งอยู่ในธรรม ๕ ประการนี้แล พึงเจริญธรรม ๔ ประการให้ยิ่งขึ้น คือ
  -พึงเจริญอสุภะ เพื่อละราคะ
  -พึงเจริญเมตตา เพื่อละความพยาบาท
  -พึงเจริญอานาปานสติ เพื่อตัดวิตก
  -พึงเจริญอนิจจสัญญา เพื่อถอนอัสมิมานะ

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)

 

 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๘๖ - ๒๘๘


เมฆิยสูตร


            [๒๐๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ จาลิกบรรพต ใกล้เมือง จาลิกา ก็โดยสมัยนั้นแล ท่าน พระเมฆิยะ เป็นอุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคครั้งนั้นแล ท่านพระเมฆิยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ปรารถนาจะเข้าไปบิณฑบาต ในชันตุคาม พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรเมฆิยะ เธอจงสำคัญกาลที่ควรในบัดนี้

            ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเช้า ท่านพระเมฆิยะ ครองอันตรวาสกแล้ว ถือบาตร และจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังชันตุคาม ครั้นเที่ยวบิณฑบาตในชันตุคามเสร็จแล้ว กลับจากบิณฑบาตในเวลาภายหลังภัต เข้าไปยังฝั่งแม่น้ำ กิมิกาฬา ท่านพระเมฆิยะ เดินเที่ยวพักผ่อนอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำกิมิกาฬา ได้เห็นอัมพวันอันน่าเลื่อมใส น่ารื่นรมย์ ครั้นเห็นแล้ว ได้มีความคิดดังนี้ว่า อัมพวันนี้ช่างน่าเลื่อมใส น่ารื่นรมย์หนอ ควรเพื่อ บำเพ็ญเพียรของกุลบุตร ผู้ต้องการความเพียรถ้าพระผู้มีพระภาค พึงอนุญาตเรา เราพึงมายังอัมพวันนี้ เพื่อบำเพ็ญเพียร ครั้งนั้นแล ท่านพระเมฆิยะ เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

            ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทาน พระวโรกาส เวลาเช้า ข้าพระองค์ครองอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรและจีวร เข้าไป บิณฑบาตในชันตุคาม ครั้นเที่ยวบิณฑบาตในชันตุคามเสร็จแล้ว กลับจากบิณฑบาต ในเวลาภายหลังภัต เข้าไปยังฝั่งแม่น้ำกิมิกาฬา ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์ เดินเที่ยวพักอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำกิมิกาฬา ได้เห็นอัมพวันอันน่าเลื่อมใสน่ารื่นรมย์

            ครั้นเห็นแล้ว ข้าพระองค์ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า อัมพวันนี้น่าเลื่อมใส น่ารื่นรมย์ หนอ ควรเพื่อบำเพ็ญเพียรของกุลบุตรผู้ต้องการความเพียร ถ้าพระผู้มี พระภาคพึงทรงอนุญาตเรา เราพึงมายังอัมพวันนี้ เพื่อบำเพ็ญเพียร ถ้าพระผู้มีพระภาค พึงทรงอนุญาตข้าพระองค์ ข้าพระองค์พึงไปยังอัมพวันนั้น เพื่อบำเพ็ญเพียร เมื่อท่านพระเมฆิยะ กราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระเมฆิยะ ว่า

            ดูกรเมฆิยะ จงรออยู่ก่อน เราอยู่คนเดียว เธอจงรออยู่จนกว่า ภิกษุรูปอื่นมาแทนตัว (รอให้ภิกษุรูปอื่นมาก่อน)

            แม้ครั้งที่ ๒ ท่านพระเมฆิยะได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคไม่มีกิจอะไรที่จะพึงทำให้ยิ่ง ไม่มีการสั่งสมอริยมรรค ที่ทรง ทำแล้ว ข้าพระองค์ยังมีกิจที่จะพึงทำให้ยิ่ง ยังมีการสั่งสมอริยมรรค ที่ทำแล้ว ถ้าพระผู้มีพระภาค พึงทรงอนุญาตข้าพระองค์ ข้าพระองค์พึงไปยังอัมพวัน เพื่อ บำเพ็ญความเพียร พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรเมฆิยะ จงรออยู่ก่อน เราอยู่คนเดียว เธอจงรออยู่จนกว่าภิกษุรูปอื่นมาแทนตัว

            แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระเมฆิยะได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคไม่มีกิจอะไรที่จะพึงทำให้ยิ่ง ไม่มีการสั่งสม อริยมรรค ที่ทรงทำแล้ว ส่วนข้าพระองค์ยังมีกิจที่จะพึงทำให้ยิ่ง ยังมีการสั่งสม อริยมรรค ที่ทำแล้ว ถ้าพระผู้มีพระภาค พึงทรงอนุญาตข้าพระองค์ ข้าพระองค์พึงไปยัง อัมพวัน นั้น เพื่อบำเพ็ญความเพียร พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรเมฆิยะ เราจะพึงว่าอะไร เธอผู้กล่าวอยู่ว่า บำเพ็ญเพียร ดูกรเมฆิยะ เธอจงสำคัญกาลที่ควรในบัดนี้

            ครั้งนั้นแล ท่านพระเมฆิยะลุกจากที่นั่ง ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค กระทำ ประทักษิณแล้วเข้าไปยังอัมพวัน อาศัยอัมพวันนั้น นั่งพักกลางวันอยู่ ณ โคนไม้ แห่งหนึ่ง

          ครั้งนั้นแล เมื่อท่านพระเมฆิยะพักอยู่ ณ อัมพวันนั้น อกุศลวิตก อันลามก ๓ ประการ คือ กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก ย่อมฟุ้งซ่านโดยมาก ลำดับนั้น ท่านพระเมฆิยะได้มีความคิดดังนี้ว่า ท่านผู้เจริญน่าอัศจรรย์หนอ ไม่เคยมีมาแล้วหนอ กุลบุตรออกบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา ก็ยังถูกอกุศลวิตกอันลามก ๓ ประการ คือ กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตกครอบงำ

            ครั้งนั้นแล ท่านพระเมฆิยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคม แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส เมื่อข้าพระองค์อยู่ในอัมพวันนั้น อกุศลวิตก อันลามก ๓ ประการ คือ กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก ย่อมฟุ้งซ่าน โดยมาก ข้าพระองค์นั้น ได้มีความคิดเห็นดังนี้ว่า ท่านผู้เจริญน่าอัศจรรย์หนอ ไม่เคย มีมาแล้วหนอ กุลบุตรออกบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา ก็ยังถูกอกุศลวิตกอันลามก ๓ ประการ คือ กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตกครอบงำ

            พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

           ดูกรเมฆิยะ ธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความแก่กล้า แห่ง เจโตวิมุติ ที่ยังไม่แก่กล้า ๕ ประการเป็นไฉน

            (๑) ดูกรเมฆิยะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี นี้เป็นธรรม ประการที่ ๑ ย่อมเป็นไปเพื่อความแก่กล้าแห่งเจโตวิมุติที่ยังไม่แก่กล้า

           (๒) อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีศีล สำรวมระวังในปาติโมกข์ ถึงพร้อม ด้วย อาจาระ และโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ใน สิกขาบท ทั้งหลาย นี้เป็นธรรมประการที่ ๒ ย่อมเป็นไปเพื่อความแก่กล้า แห่ง เจโตวิมุติ ที่ยังไม่แก่กล้า

           (๓) อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ได้ตามความปรารถนาได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งกถาอันเป็นไปเพื่อขัดเกลากิเลส เป็นที่สบายในการเปิดจิต คือ อับปิจฉกถา สันตุฏฐิกถา ปวิเวกกถาอสังสัคคกถา วิริยารัมภกถา สีลกถา สมาธิกถา ปัญญากถา วิมุตติกถา วิมุตติญาณทัสนกถา นี้ เป็นธรรมประการที่ ๓ ย่อมเป็นไป เพื่อความ แก่กล้า แห่งเจโตวิมุติ ที่ยังไม่แก่กล้า

            (๔) อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อความถึง พร้อมแห่งกุศลธรรม เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดทิ้ง ธุระในกุศลธรรม นี้เป็นธรรมประการที่ ๔ ย่อมเป็นไปเพื่อความแก่กล้า แห่งเจโตวิมุติ ที่ยังไม่แก่กล้า

            (๕) อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเครื่อง พิจารณา ความเกิด และ ความดับ เป็นอริยะ ชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์ โดยชอบ

            นี้เป็นธรรมประการที่ ๕ ย่อมเป็นไปเพื่อความแก่กล้า แห่งเจโตวิมุติ ที่ยังไม่แก่กล้า

            ดูกรเมฆิยะ ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวังข้อนี้ได้ คือ ตนจักเป็น ผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ตนจักได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยากไม่ลำบาก ซึ่งกถาอันเป็นไปเพื่อขัดเกลากิเลส เป็นที่สบายในการ เปิดจิต คือ อัปปิจฉกถา ฯลฯ วิมุตติญาณทัสสนกถา ตนจักปรารภความเพียร ฯลฯ ไม่ทอดทิ้งธุระในกุศลธรรม ตนจักมีปัญญา ฯลฯ ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ

            ดูกรเมฆิยะ ก็แหละภิกษุนั้นตั้งอยู่ในธรรม ๕ ประการนี้แล พึงเจริญธรรม ๔ ประการให้ยิ่งขึ้น คือ
  พึงเจริญอสุภะ เพื่อละราคะ
  พึงเจริญเมตตา เพื่อละความพยาบาท
  พึงเจริญอานาปานสติ เพื่อตัดวิตก
  พึงเจริญอนิจจสัญญา เพื่อถอนอัสมิมานะ


         ดูกรเมฆิยะอนัตตสัญญา ย่อมปรากฏแก่ภิกษุผู้ได้ อนิจจสัญญา ผู้ที่ได้ อนัตตสัญญา ย่อมบรรลุนิพพาน อันถอนเสียได้ซึ่งอัสมิมานะ ในปัจจุบันทีเดียว

จบสูตรที่ ๓



พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๕ สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต หน้าที่ ๘๙ - ๙๒

อุทาน เมฆิยวรรคที่ ๔

เมฆิยสูตร

            [๘๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ ณ จาลิกบรรพต ใกล้เมืองจาลิกา ก็สมัยนั้นแลท่านพระเมฆิยะ เป็นอุปัฏฐากพระผู้มี พระภาค ครั้งนั้นแล ท่านพระเมฆิยะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ปรารถนาจะเข้าไปบิณฑบาตในชันตุคาม

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

            ดูกรเมฆิยะ เธอจงสำคัญเวลาอันควร ณ บัดนี้เถิด ครั้งนั้นเป็นเวลาเช้า ท่านพระเมฆิยะนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังชันตุคาม เพื่อบิณฑบาต ครั้น เที่ยวไป ใน ชันตุคาม เพื่อบิณฑบาตแล้ว กลับจากบิณฑบาตในเวลาปัจฉาภัต เข้าไปยังฝั่งแม่น้ำกิมิกาฬา

            ครั้นแล้วเดินพักผ่อนอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำกิมิกาฬา ได้เห็น ป่ามะม่วง น่าเลื่อมใส น่ารื่นรมย์ ครั้นแล้วคิดว่า ป่ามะม่วงนี้น่าเลื่อมใส น่ารื่นรมย์จริงหนอ ป่ามะม่วงนี้ สมควรแก่ความเพียรของกุลบุตร ผู้มีความต้องการด้วยความเพียรจริงหนอ ถ้าว่า พระผู้มีพระภาค พึงทรงอนุญาตเราไซร้ เราพึงมาสู่อัมพวันนี้ เพื่อบำเพ็ญเพียร ลำดับนั้นแล ท่านพระเมฆิยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

            ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทาน พระวโรกาส เวลาเช้า ข้าพระองค์นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร เข้าไปบิณฑบาตยัง ชันตุคาม ครั้นเที่ยวไปบิณฑบาตในชันตุคามแล้ว กลับจากบิณฑบาตในเวลาปัจฉาภัต เข้าไปยังฝั่งแม่น้ำกิมิกาฬา

            ครั้นแล้วเดินพักผ่อนอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำกิมิกาฬา ได้เห็นอัมพวันน่าเลื่อมใส น่ารื่นรมย์ จึงได้คิดว่าอัมพวันนี้น่าเลื่อมใส น่ารื่นรมย์จริงหนอ อัมพวันนี้ สมควร เพื่อความเพียรของกุลบุตร ผู้มีความต้องการด้วยความเพียรจริงหนอ ถ้าว่า พระผู้มีพระภาค พึงทรงอนุญาตเราไซร้ เราพึงมาสู่อัมพวันนี้เพื่อบำเพ็ญเพียร ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าว่าพระผู้มีพระภาค จะทรงอนุญาตข้าพระองค์ไซร้ ข้าพระองค์พึงไปสู่อัมพวันเพื่อบำเพ็ญเพียร

            [๘๖] เมื่อท่านพระเมฆิยะกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรเมฆิยะ จงรอก่อน เราอยู่แต่ผู้เดียว เธอจงรอยู่จนกว่าภิกษุรูปอื่นจะมา แม้ครั้งที่ ๒ ท่านพระเมฆิยะได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาค ไม่มีกิจอะไรๆ ที่พึงทำให้ยิ่งหรือ การสั่งสม อริยมรรค ที่พระองค์ทรงทำแล้วไม่มี แต่ ข้าพระองค์ยังมีกิจที่พึงทำให้ยิ่ง ยังมีการสั่งสมอริยมรรคที่ทำแล้ว ถ้าว่า พระผู้มีพระภาค จะทรงอนุญาตข้าพระองค์ไซร้ ข้าพระองค์พึงไปสู่อัมพวันนั้น เพื่อบำเพ็ญเพียร แม้ครั้งที่ ๒ ... แม้ครั้งที่ ๓ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรเมฆิยะ เราพึงกล่าวอะไรกะเธอผู้กล่าวอยู่ว่า บำเพ็ญเพียร ดูกรเมฆิยะ เธอจงสำคัญเวลา อันสมควรณ บัดนี้

            [๘๗] ครั้งนั้นแล ท่านพระเมฆิยะ ลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้ว เข้าไปยังอัมพวันนั้น ครั้นแล้ว ได้เที่ยวไปทั่วอัมพวัน แล้วนั่งพัก กลางวันอยู่ที่โคนต้นไม้ต้นหนึ่ง ครั้งนั้น เมื่อท่านพระเมฆิยะ พักอยู่ในอัมพวันนั้น อกุศลวิตกอันลามก ๓ ประการ คือ กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก ย่อมฟุ้งซ่านโดยมาก ครั้งนั้นแล ท่านพระเมฆิยะ คิดว่า น่าอัศจรรย์หนอไม่เคยมีมาแล้วหนอ เรา ออกบวชเป็นบรรพชิต ด้วยศรัทธา แต่กลับถูกอกุศลวิตกอันลามก ๓ ประการนี้ คือ กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตกครอบงำแล้ว

            ครั้งนั้นเป็นเวลาเย็น ท่านพระเมฆิยะออกจากที่เร้น เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส เมื่อข้าพระองค์ พักอยู่ในอัมพวันนั้น อกุศลวิตกอันลามก ๓ ประการ คือ กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก ย่อมฟุ้งซ่านโดยมาก ข้าพระองค์นั้นคิดว่าน่าอัศจรรย์หนอ ไม่เคยมีมาแล้ว หนอ ก็เราออกบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา แต่กลับถูกอกุศลวิตกอันลามก ๓ ประการนี้ คือ กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก ครอบงำแล้ว

            [๘๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรเมฆิยะ ธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นไป เพื่อความแก่กล้าแห่ง เจโตวิมุติ ที่ยังไม่แก่กล้า ๕ ประการเป็นไฉน

            ดูกรเมฆิยะ ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี นี้เป็นธรรมประการที่ ๑ ย่อมเป็นไปเพื่อ ความแก่กล้าแห่ง เจโตวิมุติ ที่ยังไม่แก่กล้า

          ส่วนบุคคลผู้มีความเพียร มีสติ ทราบวิตกแห่งใจเหล่านี้ แล้ว ย่อมปิดเสีย พระอริยสาวกผู้ตรัสรู้แล้ว ย่อมละได้เด็ดขาดไม่มีส่วนเหลือ ซึ่งวิตก เหล่านี้ ที่ตั้งมั่นแล้ว ทำใจให้เย่อหยิ่ง

            อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีศีล สำรวมระวังในพระปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วย อาจาระ แลโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษ มีประมาณเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ ในสิกขาบททั้งหลาย นี้เป็นธรรมประการที่ ๒ ย่อมเป็นไปเพื่อความแก่กล้า แห่ง เจโตวิมุติ ที่ยังไม่แก่กล้า

          อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งกถาเครื่องขัดเกลากิเลส เป็นไปเพื่อเป็นที่สบายในการเปิดจิต เพื่อเบื่อหน่าย โดยส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อเข้าไปสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพานคือ อัปปิจฉกถา สันตุฏฐิกถา ปวิเวกกถา อสังสัคคกถา วิริยารัมภกถา ศีลกถา สมาธิกถา ปัญญากถา วิมุตติกถา วิมุตติญาณทัสสนกถา นี้เป็นธรรมประการที่ ๓ ย่อมเป็นไปเพื่อความแก่กล้าแห่งเจโตวิมุติที่ยังไม่แก่กล้า

          อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อความเกิดขึ้น แห่งกุศลธรรม เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระใน กุศลธรรม นี้เป็นธรรมประการที่ ๔ ย่อมเป็นไปเพื่อความแก่กล้า แห่งเจโตวิมุติ ที่ยัง ไม่แก่กล้า

          อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญา เครื่องพิจารณา ความเกิดและความดับ เป็นอริยะ ชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เป็นธรรมประการที่ ๕ ย่อมเป็นไปเพื่อความแก่กล้าแห่งเจโตวิมุติ ที่ยังไม่แก่กล้า

          ดูกรเมฆิยะ ธรรม ๕ ประการนี้ย่อมเป็นไปเพื่อความแก่กล้า แห่งเจโตวิมุติ ที่ยังไม่แก่กล้า

          ดูกรเมฆิยะ ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดีมีเพื่อนดี พึงหวังคุณข้อนี้ได้ คือ ตนจักเป็นผู้มีศีล ... จักสมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวังคุณข้อนี้ได้ คือ ตนจักได้ตามความปรารถนาได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งกถาเครื่องขัดเกลากิเลส ... วิมุตติญาณทัสสนกถา ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวังคุณข้อนี้ได้ คือ ตนจักเป็นผู้ปรารภความเพียร ... ไม่ทอดธุระ ในกุศลธรรม ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวังคุณข้อนี้ได้ คือ ตนจักเป็นผู้มีปัญญา ...ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ

          [๘๙] ดูกรเมฆิยะ ก็แลอันภิกษุนั้นตั้งอยู่ในธรรม ๕ ประการนี้แล้ว พึงเจริญ ธรรม ๔ประการให้ยิ่งขึ้นไป คือ พึ่งเจริญอสุภะเพื่อละราคะ พึงเจริญเมตตาเพื่อละ พยาบาท พึงเจริญอานาปานสติเพื่อตัดวิตก พึงเจริญอนิจจสัญญา เพื่อเพิกถอน อัสมิมานะ ดูกรเมฆิยะ อนัตตสัญญาย่อมปรากฏแก่ภิกษุผู้ได้อนิจจสัญญา ผู้ที่ได้ อนัตตสัญญา ย่อมบรรลุนิพพาน อันเป็นที่เพิกถอนเสียได้ซึ่งอัสมิมานะ ในปัจจุบัน เทียว

          ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาค ทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว ทรงเปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้นว่า วิตกอันเลวทราม วิตกอันสุขุม ตั้งมั่นแล้วทำใจให้เย่อหยิ่ง บุคคลผู้มี จิตหมุนไปแล้ว ไม่ทราบวิตกแห่งใจเหล่านี้ ย่อมแล่นไปสู่ภพน้อยและภพใหญ่ ส่วนบุคคล ผู้มีความเพียร มีสติ ทราบวิตกแห่งใจเหล่านี้แล้ว ย่อมปิดเสีย พระอริยสาวก ผู้ตรัสรู้แล้ว ย่อมละได้เด็ดขาดไม่มีส่วนเหลือ ซึ่งวิตกเหล่านี้ ที่ตั้งมั่นแล้ว ทำใจให้เย่อหยิ่ง

จบสูตรที่ ๑

 



 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์