เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

ปริพาชกชื่อว่าชัมพุขาทกะ ถามปัญหากับพระสารีบุตร (ชัมพุขาทกสังยุตต์) 1735
  (โดยย่อ)

ปริพาชกชื่อว่าชัมพุขาทกะ สนทนาธรรมกับ ท่านพระสารีบุตร
1 นิพพานเป็นไฉน
ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่านิพพาน
มรรคา ปฏิปทา เพื่อกระทำนิพพานนั้นให้แจ้ง คืออริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘

2 อรหัตเป็นไฉน
สา. ธรรมเป็นที่สิ้นราคะ ธรรมเป็นที่สิ้นโทสะ ธรรมเป็นที่สิ้นโมหะ นี้เรียกว่าอรหัต
มรรคา ปฏิปทา เพื่อกระทำอรหัตนั้น ให้แจ้งมีอยู่ คือ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘

3 ใครหนอเป็นธรรมวาทีในโลก ใครเป็นผู้ปฏิบัติ ดีในโลก ใครเป็นผู้ไปดีแล้วในโลก
-ผู้ใดแสดงธรรมเพื่อละ ราคะ โทสะ โมหะ ผู้นั้น เป็นธรรมวาที
-ผู้ใดปฏิบัติเพื่อละ ราคะ โทสะ โมหะ ผู้นั้น เป็นผู้ปฏิบัติดี
-ผู้ใดละแล้วถอนรากเสียแล้ว ทำให้เป็นดังตาลยอดด้วน ซึ่งราคะ โทสะ..ผู้นั้นเป็นผู้ไปดีแล้ว
มรรคา ปฏิปทา เพื่อละ ราคะ โทสะ โมหะ คืออริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘

4 ท่านอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณะ โคดม เพื่อ ประโยชน์อะไร
สา.เพื่อกำหนดรู้ทุกข์
มรรคา ปฏิปทา เพื่อกำหนดรู้ทุกข์ คืออริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘

5 ด้วยเหตุเพียง เท่าไรหนอแล จึงจะชื่อว่าถึงความโล่งใจ
สา.เมื่อไรภิกษุย่อมรู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษและอุบายเครื่องสลัดออก แห่งผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล จึงจะชื่อว่า ถึงความโล่งใจ
มรรคา ปฏิปทา เพื่อกระทำความโล่งใจ คืออริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘

6 ที่เรียกว่า ถึงความโล่งใจอย่างยิ่งๆ ด้วยเหตุ เพียงเท่าไรหนอแล
เมื่อไรภิกษุรู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออก แห่งผัสสายตนะ ๖ ตามความ เป็นจริงแล้ว เป็นผู้หลุดพ้น เพราะไม่ถือมั่น ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล จึงจะชื่อว่าถึงความโล่งใจอย่างยิ่ง
มรรคา ปฏิปทา เพื่อกระทำความโล่งใจอย่างยิ่ง คืออริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘

7 เวทนาเป็นไฉน
เวทนา ๓ อย่าง คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา
มรรคา ปฏิปทา เพื่อกำหนดรู้เวทนา ๓ อย่างนั้น คืออริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘

8 อาสวะเป็นไฉน
อาสวะ ๓ อย่างนี้ คือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ
มรรคา ปฏิปทา เพื่อละอาสวะ คืออริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘

9 อวิชชาเป็นไฉน
ความไม่รู้ในทุกข์ ในเหตุเกิด ในความดับ ในปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับทุกข์ นี้เรียกว่า อวิชชา
มรรคา ปฏิปทา เพื่อละ อวิชชา คืออริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘

10 ตัณหาเป็นไฉน
ตัณหา ๓ ประการนี้ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา
มรรคา ปฏิปทา เพื่อละ ตัณหา คืออริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘

11 โอฆะเป็นไฉน
โอฆะ ๔ ประการนี้ คือ กาโมฆะ ภโวฆะ ทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะ
มรรคา ปฏิปทา เพื่อละ โอฆะ คืออริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘

12 อุปาทานเป็นไฉน
อุปาทาน ๔ ประการนี้ คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน
มรรคา ปฏิปทา เพื่อละ อุปาทาน คืออริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘

13 ภพเป็นไฉนหนอ
ภพ ๓ เหล่านี้ คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ
มรรคา ปฏิปทา เพื่อกำหนดรู้ภพ คืออริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘

14 ทุกข์เป็นไฉน
สภาพทุกข์ ๓ ประการนี้ คือ สภาพทุกข์คือ ทุกข์ สภาพทุกข์คือ สังขาร สภาพทุกข์ คือความแปรปรวน
มรรคา ปฏิปทา เพื่อกำหนดรู้สภาพทุกข์ คืออริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘

15 สักกายะเป็นไฉน
อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ คือ อุปาทานขันธ์ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
มรรคา ปฏิปทา เพื่อกำหนดรู้สักกายะ คืออริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘

16 อะไรหนอ เป็นการยากที่จะกระทำได้ในธรรมวินัยนี้
สา.การบรรพชา เป็นการยากที่จะกระทำได้ในธรรมวินัยนี้

สิ่งอะไรอันบุคคลผู้บวชแล้ว กระทำได้โดยยาก
สา.การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม

ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรม จะพึงเป็นพระอรหันต์ ได้นานเพียงไร
สา. ไม่นานนัก


เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 

 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๘๗-๒๙๕

ปริพาชกชื่อว่าชัมพุขาทกะ ถามปัญหากับพระสารีบุตร (ชัมพุขาทกสังยุตต์)

 
          [๔๙๗] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ บ้านนาลคาม ในแคว้นมคธ ครั้งนั้นแล ปริพาชกชื่อว่าชัมพุขาทกะ เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้ปราศรัย กับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่งณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า

       (1) ดูกรท่านสารีบุตรที่เรียกว่า นิพพานๆ ดังนี้ นิพพานเป็นไฉนหนอ ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูกรผู้มีอายุ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่านิพพาน

      ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคามีอยู่หรือ ปฏิปทามีอยู่หรือ เพื่อกระทำนิพพาน นั้น ให้แจ้ง
      สา. มีอยู่ ผู้มีอายุ

      ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน เพื่อกระทำนิพพานนั้น ให้แจ้ง
      สา. ดูกรผู้มีอายุ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ เพียรชอบ ตั้งสติชอบ ตั้งใจมั่นชอบ นี้แลเป็น มรรคา เป็นปฏิปทา เพื่อกระทำนิพพานนั้นให้แจ้ง

      ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคาดีนัก ปฏิปทาดีนัก เพื่อกระทำนิพพานให้แจ้ง และ เพียงพอเพื่อความไม่ประมาท นะท่านสารีบุตร
-------------------------------------------------------------------------------------------

        (2) [๔๙๘] ดูกรท่านสารีบุตร ที่เรียกว่า อรหัตๆ ดังนี้ อรหัตเป็นไฉน
      สา. ดูกรผู้มีอายุ ธรรมเป็นที่สิ้นราคะ ธรรมเป็นที่สิ้นโทสะ ธรรมเป็นที่สิ้นโมหะ นี้เรียกว่าอรหัต

      ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคามีอยู่หรือ ปฏิปทามีอยู่หรือ เพื่อกระทำอรหัตนั้น ให้แจ้ง
      สา. มีอยู่ ผู้มีอายุ

      ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน เพื่อกระทำอรหัตนั้น ให้แจ้ง
      สา. ดูกรผู้มีอายุ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบฯลฯ ตั้งใจมั่น ชอบ นี้แลเป็นมรรคา เป็นปฏิปทา เพื่อกระทำอรหัตนั้นให้แจ้ง

      ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคาดีนัก ปฏิปทาดีนัก เพื่อกระทำอรหัตนั้นให้แจ้ง และเพียงพอเพื่อความไม่ประมาท นะท่านสารีบุตร
-------------------------------------------------------------------------------------------

       3 [๔๙๙] ดูกรท่านสารีบุตร ใครหนอเป็นธรรมวาทีในโลก ใครเป็นผู้ปฏิบัติ ดีในโลก ใครเป็นผู้ไปดีแล้วในโลก
      สา. ดูกรผู้มีอายุ ท่านผู้ใดแสดงธรรม เพื่อละราคะ โทสะ โมหะท่านผู้นั้นเป็น ธรรมวาที ในโลก อนึ่งท่านผู้ใดปฏิบัติเพื่อละ ราคะ โทสะ โมหะท่านผู้นั้นเป็นผู้ปฏิบัติ ดีในโลก ราคะ โทสะ โมหะ อันท่านผู้ใดละแล้ว ถอนรากเสียแล้ว ทำให้เป็นดังตาล ยอดด้วน กระทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา ท่านผู้นั้นเป็นผู้ไปดีแล้ว ในโลก

      ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคามีอยู่หรือ ปฏิปทามีอยู่หรือ เพื่อละราคะโทสะ โมหะ นั้น
      สา. มีอยู่ ผู้มีอายุ

      ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน เพื่อละราคะโทสะ โมหะ นั้น
      สา. อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ตั้งใจมั่นชอบ นี้แล เป็น มรรคา เป็นปฏิปทาเพื่อละราคะ โทสะ โมหะนั้น

      ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคาดีนัก ปฏิปทาดีนัก เพื่อละราคะ โทสะโมหะนั้น และ เพียงพอ เพื่อความไม่ประมาท นะท่านสารีบุตร
-------------------------------------------------------------------------------------------

       4  [๕๐๐] ดูกรท่านสารีบุตร ท่านอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณะ โคดม เพื่อ ประโยชน์อะไร
      สา. ดูกรผู้มีอายุ เราอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่อกำหนดรู้ทุกข์

      ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคามีอยู่หรือ ปฏิปทามีอยู่หรือ เพื่อกำหนดรู้ทุกข์นั้น
      สา. มีอยู่ ผู้มีอายุ

      ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน เพื่อกำหนดรู้ทุกข์นั้น
      สา. ดูกรผู้มีอายุ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบฯลฯ ตั้งใจมั่น ชอบ นี้แลเป็นมรรคา เป็นปฏิปทา เพื่อกำหนดรู้ทุกข์นั้น

      ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคาดีนัก ปฏิปทาดีนัก เพื่อกำหนดรู้ทุกข์นั้นและเพียงพอ เพื่อความไม่ประมาท นะท่านสารีบุตร
-------------------------------------------------------------------------------------------

      5  [๕๐๑] ดูกรท่านสารีบุตร ที่เรียกว่า ถึงความโล่งใจๆ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียง เท่าไรหนอแล จึงจะชื่อว่าถึงความโล่งใจ
      สา. ดูกรผู้มีอายุ เมื่อไรภิกษุย่อมรู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษและอุบายเครื่อง สลัด ออก แห่งผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล จึงจะชื่อว่า ถึงความ โล่งใจ

      ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคามีอยู่หรือ ปฏิปทามีอยู่หรือ เพื่อกระทำความโล่งใจ นั้นให้แจ้ง
      สา. มีอยู่ ผู้มีอายุ

      ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน เพื่อกระทำความโล่งใจ นั้น ให้แจ้ง
      สา. อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ตั้งใจมั่นชอบ นี้แล เป็น มรรคา เป็นปฏิปทา เพื่อกระทำความโล่งใจนั้นให้แจ้ง

      ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคาดีนัก ปฏิปทาดีนัก เพื่อกระทำความโล่งใจนั้นให้แจ้ง และเพียงพอเพื่อความไม่ประมาท นะท่านสารีบุตร
-------------------------------------------------------------------------------------------

      6  [๕๐๒] ดูกรท่านสารีบุตร ที่เรียกว่า ถึงความโล่งใจอย่างยิ่งๆ ดังนี้ด้วยเหตุ เพียงเท่าไรหนอแล จึงจะชื่อว่าถึงความโล่งใจอย่างยิ่ง

      สา. ดูกรผู้มีอายุ เมื่อไรภิกษุรู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัด ออก แห่งผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริงแล้ว เป็นผู้หลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น ด้วย เหตุ เพียงเท่านี้แล จึงจะชื่อว่าถึงความโล่งใจอย่างยิ่ง

      ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคามีอยู่หรือ ปฏิปทามีอยู่หรือ เพื่อกระทำความโล่งใจ อย่างยิ่ง นั้นให้แจ้ง
      สา. มีอยู่ ผู้มีอายุ

      ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน เพื่อกระทำความโล่งใจ อย่างยิ่ง นั้นให้แจ้ง
      สา. ดูกรผู้มีอายุ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ตั้งใจมั่นชอบ นี้แลเป็นมรรคา เป็นปฏิปทา เพื่อกระทำความโล่งใจอย่างยิ่งนั้นให้แจ้ง

      ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคาดีนัก ปฏิปทาดีนัก เพื่อกระทำความโล่งใจอย่างยิ่งนั้น ให้แจ้ง และเพียงพอเพื่อความไม่ประมาท นะท่านสารีบุตร
-------------------------------------------------------------------------------------------

      7 [๕๐๓] ดูกรท่านสารีบุตร ที่เรียกว่า เวทนาๆ ดังนี้ เวทนาเป็นไฉนหนอ
      สา. ดูกรผู้มีอายุ เวทนา ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา เวทนา ๓ อย่าง นี้แล

      ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคามีอยู่หรือ ปฏิปทามีอยู่หรือ เพื่อกำหนดรู้เวทนา ๓ อย่างนั้น
      สา. มีอยู่ ผู้มีอายุ

      ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน เพื่อกำหนดรู้เวทนา ๓ อย่างนั้น
      สา. ดูกรผู้มีอายุ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือความเห็นชอบ ฯลฯตั้งใจมั่น ชอบ นี้แลเป็นมรรคา เป็นปฏิปทา เพื่อกำหนดรู้เวทนา ๓ อย่างนั้น

      ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคาดีนัก ปฏิปทาดีนัก เพื่อกำหนดรู้เวทนา๓ อย่างนั้น และเพียงพอเพื่อความไม่ประมาท นะท่านสารีบุตร
-------------------------------------------------------------------------------------------

      8 [๕๐๔] ดูกรท่านสารีบุตร ที่เรียกว่า อาสวะๆ ดังนี้ อาสวะเป็นไฉนหนอ
      สา. ดูกรผู้มีอายุ อาสวะ ๓ อย่างนี้ คือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ อาสวะ ๓ อย่างนี้แล

      ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคามีอยู่หรือ ปฏิปทามีอยู่หรือ เพื่อละอาสวะเหล่านั้น
      สา. มีอยู่ ผู้มีอายุ

      ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน เพื่อละอาสวะเหล่านั้น
      สา. ดูกรผู้มีอายุ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบฯลฯ ตั้งใจมั่น ชอบ นี้แลเป็นมรรคา เป็นปฏิปทา เพื่อละอาสวะเหล่านั้น

      ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคาดีนัก ปฏิปทาดีนัก เพื่อละอาสวะเหล่านั้นและเพียงพอ เพื่อความไม่ประมาท นะท่านสารีบุตร
-------------------------------------------------------------------------------------------

      9 [๕๐๕] ดูกรท่านสารีบุตร ที่เรียกว่า อวิชชาๆ ดังนี้ อวิชชาเป็นไฉนหนอ
      สา. ดูกรผู้มีอายุ ความไม่รู้ในทุกข์ ในเหตุเกิดแห่งทุกข์ ในความดับทุกข์ ในปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับทุกข์ นี้เรียกว่าอวิชชา

      ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคามีอยู่หรือ ปฏิปทามีอยู่หรือ เพื่อละอวิชชาเหล่านั้น
      สา. มีอยู่ ผู้มีอายุ

      ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน เพื่อละอวิชชาเหล่านั้น
      สา. ดูกรผู้มีอายุ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบฯลฯ ตั้งใจมั่น ชอบ นี้แลเป็นมรรคา เป็นปฏิปทา เพื่อละอวิชชาเหล่านั้น

      ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคาดีนัก ปฏิปทาดีนัก เพื่อละอวิชชาเหล่านั้น และ เพียงพอ เพื่อความไม่ประมาท นะท่านสารีบุตร
-------------------------------------------------------------------------------------------

      10  [๕๐๖] ดูกรท่านสารีบุตร ที่เรียกว่า ตัณหาๆ ดังนี้ ตัณหาเป็นไฉนหนอ
      สา. ดูกรผู้มีอายุ ตัณหา ๓ ประการนี้ คือกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ตัณหา ๓ ประการนี้แล

      ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคามีอยู่หรือ ปฏิปทามีอยู่หรือ เพื่อละตัณหาเหล่านั้น
สา. มีอยู่ ผู้มีอายุ

      ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน เพื่อละตัณหาเหล่านั้น
      สา. ดูกรท่านผู้มีอายุ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ตั้งใจมั่นชอบ นี้แลเป็นมรรคา เป็นปฏิปทา เพื่อละตัณหาเหล่านั้น

      ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคาดีนัก ปฏิปทาดีนัก เพื่อละตัณหาเหล่านั้นและเพียงพอ เพื่อความไม่ประมาท นะท่านสารีบุตร
-------------------------------------------------------------------------------------------

    11  [๕๐๗] ดูกรท่านสารีบุตร ที่เรียกว่า โอฆะๆ ดังนี้ โอฆะเป็นไฉนหนอ
      สา. ดูกรผู้มีอายุ โอฆะ ๔ ประการนี้ คือ กาโมฆะ ภโวฆะ ทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะ โอฆะ ๔ ประการนี้แล

      ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคามีอยู่หรือ ปฏิปทามีอยู่หรือ เพื่อละโอฆะเหล่านั้น
สา. มีอยู่ ผู้มีอายุ

      ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน เพื่อละโอฆะเหล่านั้น
สา. ดูกรผู้มีอายุ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบฯลฯ ตั้งใจมั่นชอบ นี้แลเป็นมรรคา เป็นปฏิปทา เพื่อละโอฆะเหล่านั้น

      ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคาดีนัก ปฏิปทาดีนัก เพื่อละโอฆะเหล่านั้น และเพียงพอ เพื่อความไม่ประมาท นะท่านสารีบุตร
-------------------------------------------------------------------------------------------

      12  [๕๐๘] ดูกรท่านสารีบุตร ที่เรียกว่า อุปาทานๆ ดังนี้ อุปาทานเป็นไฉนหนอ
      สา. ดูกรผู้มีอายุ อุปาทาน ๔ ประการนี้ คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน อุปาทาน ๔ ประการนี้แล

      ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคามีอยู่หรือ ปฏิปทามีอยู่หรือ เพื่อละอุปาทานเหล่านั้นฯ
      สา. มีอยู่ ผู้มีอายุ

      ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน เพื่อละอุปาทานเหล่านั้น
      สา. ดูกรผู้มีอายุ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ตั้งใจมั่น ชอบ นี้แลเป็นมรรคา เป็นปฏิปทา เพื่อละอุปาทานเหล่านั้น

      ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคาดีนัก ปฏิปทาดีนัก เพื่อละอุปาทานเหล่านั้น และ เพียงพอ เพื่อความไม่ประมาท นะท่านสารีบุตร
-------------------------------------------------------------------------------------------

      13 [๕๐๙] ดูกรท่านสารีบุตร ที่เรียกว่า ภพๆ ดังนี้ ภพเป็นไฉนหนอ
      สา. ดูกรผู้มีอายุ ภพ ๓ เหล่านี้ คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ ภพ ๓ เหล่านี้แล

      ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคามีอยู่หรือ ปฏิปทามีอยู่หรือ เพื่อกำหนดรู้ภพเหล่านั้น
      สา. มีอยู่ ผู้มีอายุ

      ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน เพื่อกำหนดรู้ภพเหล่านั้น
      สา. ดูกรผู้มีอายุ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ตั้งใจมั่น ชอบ นี้แลเป็นมรรคา เป็นปฏิปทา เพื่อกำหนดรู้ภพเหล่านั้น

      ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคาดีนัก ปฏิปทาดีนัก เพื่อกำหนดรู้ภพเหล่านั้น และ เพียงพอ เพื่อความไม่ประมาท นะท่านสารีบุตร
-------------------------------------------------------------------------------------------

      14 [๕๑๐] ดูกรท่านสารีบุตร ที่เรียกว่า ทุกข์ๆ ดังนี้ ทุกข์เป็นไฉนหนอ
      สา. ดูกรผู้มีอายุ สภาพทุกข์ ๓ ประการนี้ คือ สภาพทุกข์คือทุกข์ สภาพทุกข์คือ สังขาร สภาพทุกข์คือความแปรปรวน สภาพทุกข์ ๓ ประการนี้แล

      ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคามีอยู่หรือ ปฏิปทามีอยู่หรือ เพื่อกำหนดรู้สภาพ ทุกข์ เหล่านั้น
      สา. มีอยู่ ผู้มีอายุ

      ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน เพื่อกำหนดรู้สภาพทุกข์ เหล่านั้น
      สา. ดูกรผู้มีอายุ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือความเห็นชอบ ฯลฯ ตั้งใจมั่น ชอบ นี้แลเป็นมรรคา เป็นปฏิปทา เพื่อกำหนดรู้สภาพทุกข์เหล่านั้น

      ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคาดีนัก ปฏิปทาดีนัก เพื่อกำหนดรู้สภาพทุกข์เหล่านั้น และ เพียงพอเพื่อความไม่ประมาท นะท่านสารีบุตร
-------------------------------------------------------------------------------------------

       15 [๕๑๑] ดูกรท่านสารีบุตร ที่เรียกว่า สักกายะๆ ดังนี้ สักกายะเป็นไฉนหนอ       สา. ดูกรผู้มีอายุ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ คือ อุปาทานขันธ์ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายะ

      ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคามีอยู่หรือ ปฏิปทามีอยู่หรือ เพื่อกำหนดรู้สักกายะนั้น
      สา. มีอยู่ ผู้มีอายุ

      ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน เพื่อกำหนดรู้สักกายะนั้น
      สา. ดูกรท่านผู้มีอายุ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือความเห็นชอบ ฯลฯ ตั้งใจ มั่นชอบ นี้แลเป็นมรรคา เป็นปฏิปทา เพื่อกำหนดรู้สักกายะนั้น

      ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคาดีนัก ปฏิปทาดีนัก เพื่อกำหนดรู้สักกายะนั้น และเ พียงพอ เพื่อความไม่ประมาท นะท่านสารีบุตร
-------------------------------------------------------------------------------------------

      16 [๕๑๒] ดูกรท่านสารีบุตร อะไรหนอ เป็นการยากที่จะกระทำได้ ในธรรมวินัยนี้
      สา. บรรพชา ผู้มีอายุ

      ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็สิ่งอะไรอันบุคคลผู้บวชแล้ว กระทำได้โดยยาก
      สา. ความยินดียิ่ง ผู้มีอายุ

      ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็สิ่งอะไร อันภิกษุผู้ยินดียิ่งแล้วกระทำได้โดยยาก
      สา. การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ผู้มีอายุ

      ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมแล้ว จะพึงเป็นพระอรหันต์ ได้นานเพียงไร
      สา. ไม่นานนัก ผู้มีอายุ

 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์