เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

ศาสดาชื่อสุเนตต(พระพุทธเจ้าในอดีต) เป็นผู้ยิ่งใหญ่ในมนุษย์และเทวดา ก็ไม่พ้นแก่เจ็บตาย 1643
  (ย่อ)

แม้สุเนตศาสดา
-จะเป็นพรหม (เทวดาพรหม) เป็นท้าวมหาพรหม มีอำนาจมาก ไม่มีใคร ยิ่งกว่า
-เป็นท้าวสักกะ (เทวดากามภพ) จอมเทวดา ๓๖ ครั้ง
-เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ (ภพมนุษย์) ผู้ตั้งอยู่ในธรรม มีสมุทร ทั้ง ๔ เป็นขอบเขต
-เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ (ภพมนุษย์)โดยไม่ต้องใช้อาชญา ไม่ต้องใช้ศัสตรา ปกครองโดยธรรม

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สุเนตตศาสดา มีอายุยืนนานดำรงมั่นอยู่อย่างนี้ ก็ไม่พ้นจากชาติ ชรา พยาธิ มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัสและอุปายาส เรากล่าวว่า ไม่พ้นจากทุกข์ได้

ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะยังไม่ตรัสรู้ ไม่ได้แทงตลอด ธรรม ๔ ประการ คือ
1.อริย-ศีล
2.อริยสมาธ
3.อริยปัญญา
4.อริยวิมุติ

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 


ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต หน้าที่ ๘๕

เจ้าลัทธิชื่อสุเนตตะ
(พระพุทธเจ้าในอดีต ปุญญวิปากสูตร P1617 )


            ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ศาสดาชื่อสุเนตตะเป็นเจ้าลัทธิ ปราศจากความกำหนัดในกาม ก็ศาสดาชื่อสุเนตตะนั้น มีสาวกอยู่หลายร้อย เธอ แสดงธรรม แก่สาวกทั้งหลาย เพื่อความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นพรหมโลก และเมื่อ สุเนตต ศาสดาแสดงธรรมเพื่อความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นพรหมโลก สาวกเหล่าใด รู้ทั่วถึง คำสอนได้หมดทุกอย่าง สาวกเหล่านั้น เมื่อตายไป ก็เข้าถึง สุคติพรหม โลก ส่วนสาวกเหล่าใดยังไม่รู้ทั่วถึงคำสอนได้หมดทุกอย่าง

สาวกเหล่านั้น เมื่อตายไป

บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัสดี บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นนิมมานรดี บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นดุสิต บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นยามา บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นดาวดึงส์ บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นจาตุมมหาราช บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายแห่งกษัตริย์มหาศาล (มนุษย์)
บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายแห่งพราหมณ์มหาศาล (มนุษย์) บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายแห่งคฤหบดีมหาศาล (มนุษย์)

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล สุเนตตศาสดา มีความคิดเห็นว่า การที่เราจะพึง เป็นผู้มีสติ เสมอกับสาวกทั้งหลายในสัมปรายภพไม่สมควรเลย มิฉะนั้นเราควร จะเจริญเมตตาให้ยิ่งขึ้นไปอีก

        ครั้งนั้นแล
สุเนตตศาสดาจึงได้เจริญเมตตาจิตตลอด ๗ ปี แล้วไม่มาสู่โลกนี้ ตลอด ๗ สังวัฏฏวิวัฏฏกัล์ป เมื่อโลกวิบัติเข้าถึงพรหมโลกชั้นอาภัสสระ เมื่อโลกเจริญ เข้าถึง วิมานพรหมที่ว่าง

         ในวิมานนั้น สุเนตตศาสดาเป็นพรหม เป็นท้าวมหาพรหม เป็นใหญ่ ไม่มีใคร ยิ่งกว่า รู้เห็นเหตุการณ์โดยถ่องแท้ เป็นผู้มีอำนาจมาก

         เกิดเป็น ท้าวสักกะ จอมเทวดา ๓๖ ครั้ง เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ตั้งอยู่ในธรรม เป็นพระธรรมราชามีสมุทรทั้ง ๔ เป็นขอบเขต ผู้ได้ชัยชนะสงคราม สถาปนาประชาชน ไว้เป็น ปึกแผ่นมั่นคง พรั่งพร้อมด้วยรัตนะ ๗ ประการ หลายร้อยครั้ง พระราชโอรส ของพระเจ้า จักรพรรดินั้น ล้วนแต่องอาจ กล้าหาญ ชาญชัย ย่ำยีศัตรูได้

        พระเจ้าจักรพรรดินั้นทรงปกครองปฐพีมณฑล อันมีมหาสมุทรเป็นขอบเขต ไม่ต้องใช้ อาชญา ไม่ต้องใช้ศัสตรา ใช้ธรรมปกครอง

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สุเนตต ศาสดา นั้นแล มีอายุยืนนานดำรงมั่นอยู่อย่างนี้ แต่ก็ไม่พ้นจากชาติ ชรา พยาธิ มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัสและอุปายาส เรากล่าวว่า ไม่พ้นจากทุกข์ได้

        ข้อนั้นเพราะเหตุไร
พราะยังไม่ตรัสรู้ ไม่ได้แทงตลอด ธรรม ๔ ประการ

        ๔ ประการเป็นไฉน คือ
(ธรรมของตถาคต)
  อริย-ศีล ๑
  อริยสมาธิ ๑
  อริยปัญญา ๑
  อริยวิมุติ ๑


        ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยศีล อริยสมาธิ อริยปัญญา อริยวิมุติ เราตรัสรู้แล้ว แทงตลอดแล้ว เราถอนตัณหาในภพได้แล้ว ตัณหาอันเป็นเครื่องนำไปสู่ภพสิ้นแล้ว บัดนี้ภพใหม่ ไม่มี

        พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัส คาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า ธรรมเหล่านี้ คือ ศีล สมาธิ ปัญญาและวิมุติอย่างยิ่ง พระโคดม ผู้มียศตรัสรู้แล้ว พระพุทธเจ้าผู้เป็นศาสดา ผู้มีพระจักษุ ทรงรู้ยิ่ง ด้วยประการ ดังนี้แล้ว ตรัสบอกธรรม ๔ ประการแก่ภิกษุทั้งหลาย ทรงกระทำที่สุด ทุกข์แล้ว ปรินิพพาน

 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์