เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

ตถาคตเจริญเมตตาจิตตลอด 7 ปี เป็นท้าวสักกะ 36 ครั้ง เราปกครองโดยไม่ใช้ศาสตรา

1617
  (ย่อ)

เราตถาคต
- คำว่าบุญนี้ เป็นชื่อของความสุข
- เราเจริญเมตตาจิตตลอด ๗ ปี
- เราไม่ได้กลับมายังโลกนี้ตลอด ๗ สังวัฏฏวิวัฏฏกัป
- เราเป็นท้าวมหาพรหมผู้มีอำนาจเต็ม ๗ ครั้ง
- เมื่อโลกถึงความพินาศ [ลุกเป็นไฟ] เราเข้าถึงพรหมโลกชั้นอาภัสสระ
- เมื่อโลกยังไม่ถึงความพินาศ เราย่อมเข้าถึงวิมานพรหม อันว่างเปล่า
- ในวิมานพรหมนั้น เราเป็นพรหม เป็นท้าวมหาพรหม
- เราเป็นท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่แห่งทวยเทพ ๓๖ ครั้ง
- เราเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ตั้งอยู่ในธรรม เป็นธรรมราชา มีสมุทรทั้ง ๔ เป็นขอบเขต
- เราปกครองโดยธรรม ไม่ต้องใช้อาชญา ไม่ต้องใช้ศาตรา
- เราสั่งสอนคนในปฐพีมณฑลนั้น โดยธรรมสม่ำเสมอ
- เราเกิดในตระกูลมั่งคั่ง ประกอบพร้อมด้วยรัตนะ ๗ ประการ
- คือ จักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว แก้วมณี นางแก้ว คฤหบดีแก้ว ขุนพลแก้ว
- เราเคยมีบุตรมากกว่าพันคน ล้วนแต่เป็นคนกล้าหาญชาญชัย ย่ำยีข้าศึกได้
- เราเป็นพระราชาผู้เรืองเดช มีฤทธิ์ มียศ เป็นใหญ่ในหมู่ชนชาวชมพูทวีป
- เราหวังความเป็นใหญ่ ผู้มุ่งประโยชน์ให้ชาวชมพูทวีป ระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๘๔-๘๖

ตถาคตเจริญเมตตาจิตตลอด 7 ปี เป็นท้าวสักกะ 36 ครั้ง
(ปุญญวิปากสูตร)

           [๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอย่ากลัวต่อบุญเลย คำว่าบุญนี้ เป็นชื่อของความสุข ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมรู้ชัดซึ่งผลแห่งบุญ อันน่าปรารถนา น่าใคร่น่าพอใจ ที่เราเสวยแล้วตลอดกาลนาน เราเจริญเมตตาจิตตลอด ๗ ปี ครั้นแล้ว เราไม่ได้กลับมายังโลกนี้ตลอด ๗ สังวัฏฏวิวัฏฏกัป

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า เมื่อโลกถึงความพินาศ [ถูกไฟไหม้] เราเข้าถึง พรหมโลกชั้นอาภัสสระ

           เมื่อโลกยังไม่ถึงความพินาศ เราย่อมเข้าถึงวิมานพรหม อันว่างเปล่า ได้ยินว่า ในวิมานพรหมนั้น เราเป็นพรหม เป็นท้าวมหาพรหม เป็นใหญ่ ใครๆครอบงำ ไม่ได้ มีความเห็นแน่นอน มีอำนาจเต็ม เป็นท้าวสักกะ ๓๖ ครั้ง(ผู้ปกครองชั้นดาวดึงส์)

           เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ตั้งอยู่ในธรรม เป็นธรรมราชามีสมุทรทั้ง ๔ เป็นขอบเขต ผู้ชนะสงคราม มีชนบทถึงความสถาพร ตั้งมั่นประกอบด้วยรัตนะ ๗ ประการ รัตนะ ๗ ประการของเรานั้นคือ จักรแก้วช้างแก้ว ม้าแก้ว แก้วมณี นางแก้ว คฤหบดีแก้ว ขุนพลแก้วเป็นที่ ๗

            อนึ่งเราเคยมีบุตรมากกว่าพันคน ล้วนแต่เป็นคนกล้าหาญชาญชัย ย่ำยี ข้าศึกได้ เราครอบครองปฐพีมณฑลนี้ อันมีมหาสมุทร เป็นขอบเขต โดยธรรม ไม่ต้องใช้อาชญาไม่ต้องใช้ศาตรา เชิญดูผลแห่งบุญกุศลของ บุคคลผู้แสวงหา ความสุข

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราเจริญเมตตาจิตมาแล้ว ๗ ปี ไม่ต้องกลับมาสู่โลกนี้ ตลอด ๗ สังวัฏฏวิวัฏฏกัป เมื่อโลกถึงความพินาศเราเข้าถึงพรหมโลกชั้นอาภัสสระ เมื่อโลกยังไม่ถึงความพินาศ เราเข้าถึงวิมานอันว่างเปล่า

           ในกาลนั้น เราเป็นท้าวมหาพรหมผู้มีอำนาจเต็ม ๗ ครั้ง เป็นท้าวสักกะ จอมเทพเสวยสมบัติในเทวโลก ๓๖ ครั้ง เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ผู้เป็นใหญ่ในหมู่ชน ชาวชมพูทวีป เป็นกษัตริย์ได้รับมุรธาภิเศกแล้ว เป็นใหญ่ในหมู่มนุษย์ ปกครองปฐพี มณฑลนี้ โดยไม่ต้องใช้อาชญา ไม่ต้องใช้ศาตรา สั่งสอนคนในปฐพีมณฑล นั้น โดยธรรมสม่ำเสมอ ไม่ผลุนผลัน

           ครั้นได้เสวยราชในปฐพีมณฑลนี้โดยธรรมแล้ว ได้เกิดในตระกูลมั่งคั่ง มีทรัพย์สมบัติมากมาย ทั้งบริบูรณ์พร้อมด้วยรัตนะ ๗ ประการ อันอำนวยความประสงค์ ให้ทุกอย่าง ฐานะดังที่กล่าวมานี้พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้สงเคราะห์ประชาชาวโลก ทรงแสดงไว้ดีแล้ว

            เหตุที่ท่านเรียกว่าเป็นเจ้าแผ่นดิน เพราะความเป็นใหญ่ เราเป็นพระราชา ผู้เรืองเดช มีอุปกรณ์เครื่องให้ปลื้มใจมากมายมีฤทธิ์ มียศ เป็นใหญ่ ในหมู่ชนชาว ชมพูทวีป ใครบ้างได้ฟังแล้วจะไม่เลื่อมใส แม้จะเป็นคนมีชาติต่ำ เพราะฉะนั้นแหละ ผู้มุ่งประโยชน์ จำนงหวังความเป็นใหญ่ ระลึกถึงคำสอน ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พึงเคารพสัทธรรม





 



 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์