เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

รวมเรื่องเวลา ในพระไตรปิฎก 1609
  (ย่อ)

1. การแบ่งเวลาใน 1 วัน (แสดงโดยภาพ)
2. กลางวัน-กลางคืน แบ่งอย่างไร
3. เวลาวิกาล หมายถึงอะไร
4. เวลามนุษย์-เวลาเทวดา แตกต่างกันหรือไม่
5. ภิกษุฉันหนเดียว ห้ามฉันในเวลาวิกาล
6. การออกบิณฑบาต ทรงบัญญัติเรื่องเวลาหรือไม่
7. ระเบียบของสงฆ์ไทยในการออกบิณฑบาต
8. วิบากกรรม เกิดได้ใน 3 เวลา ทันที เวลาต่อมา และเวลาต่อมาอีก
9. พระพุทธเจ้าเรียงลำดับเรื่องกาลเวลาว่าอย่างไร
10. กาลิก แปลว่า เวลา
11. กาลเวลาในนรก (อายุนรกแต่ละชั้น)
12. อุปมาความนานของกัป (4 พระสูตร)
เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
1

การแบ่งเวลาใน 1 วัน
 

----------------------------------------------------------------------------------------------------

2

กลางวัน-กลางคืน


กลางวัน
(ตั้งแต่ 6 โมงเช้า - 6 โมงเย็น)
เวลาเช้า ( 6โมงเช้า - 10โมง)
เวลากลางวัน (10 โมง- บ่าย2)
เวลาเย็น (บ่าย2 - 6โมงเย็น)
(อุปมานรก ถูกแทงด้วยหอก) ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๔ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๔๓ ข้อที่ ๔๗๓

กลางคืน
แบ่งเป็น ๓ ยาม ยามละ ๔ ชั่วโมง
1. ปฐมยาม (ยามต้น) ตั้งแต่ย่ำค่ำ (๑๘ นาฬิกา- ๔ ทุ่ม หรือ ๒๒ นาฬิกา)
2. มัจฉิมยาม (ยามหลัง) ตั้งแต่ ๒๒ นาฬิกา-ตี ๒
3. ปัจฉิมยาม (ยามสุดท้าย) ตั้งแต่ตี ๒ ถึงย่ำรุ่ง หรือ ๖ นาฬิกา

หรือ  (จากย่ำค่ำ- ย่ำรุ่ง)
ยาม ๑ (ปฐมญาณ) ๖ โมงเย็น - ๔ ทุ่ม
ยาม ๒ (มัจฉิมยาม) ๔ ทุ่ม -ตี ๒
ยาม ๓ (ปัจฉิมยาม) ตี ๒ – ๖ โมงเช้า

(โพธิกถา ปฏิจจสมุปบาทมนสิการ) ฉบับหลวง เล่มที่ ๔ วินัยปิฎก หน้าที่ ๑

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

3
เวลาวิกาล


๑ เวลาวิกาล (กรณีห้ามบริโภคอาหารในเวลาวิกาล)

“เวลาวิกาล” หมายถึง ตั้งแต่เที่ยงวันไปจนถึงรุ่งอรุณของวันใหม่
หลักฐานใน พระไตรปิฎกแสดงไว้ดังนี้

วิกาโล นาม มชฺฌนฺติเก วีติวตฺเต ยาว อรุณุคฺคมนา.

แปลว่า ที่ชื่อว่า เวลาวิกาล ได้แก่เวลาตั้งแต่เที่ยงวันล่วงแล้วไปจนถึงอรุณขึ้น

ที่มา: สิกขาบทที่ 7 โภชนวรรค วินัยปิฎก มหาวิภังค์ ภาค 2 พระไตรปิฎกเล่ม 2 ข้อ 509

๒ กรณีห้ามภิกษุณีเข้าไปในบ้านของชาวบ้านในเวลาวิกาล หรือกรณีเที่ยวเตร่ในเวลาวิกาล

“เวลาวิกาล” หมายถึง ตั้งแต่ดวงอาทิตย์ตกดินไปจนถึงรุ่งอรุณของวันใหม่

หลักฐานในพระไตรปิฎกแสดงไว้ดังนี้ –
วิกาโล นาม อตฺถงฺคเต สุริเย ยาว อรุณุคฺคมนา.

แปลว่า ที่ชื่อว่า เวลาวิกาล ได้แก่เวลาตั้งแต่อาทิตย์อัสดงแล้วไปจนถึงอรุณขึ้น

ที่มา: วินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ พระไตรปิฎกเล่ม 3 ข้อ 206

ขยายความ

กรณีบริโภคอาหารในเวลาวิกาล ภาษาบาลีใช้คำว่า “วิกาลโภชน” (วิ-กา-ละ-โพ-ชะ-นะ) หรือที่ใช้ในภาษาไทยว่า “วิกาลโภชน์” (วิ-กา-ละ-โพด) แปลว่า “กินผิดเวลา”

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “วิกาลโภชน” ว่า taking a meal at the wrong time, i, e. in the afternoon (กินอาหารผิดเวลา คือกินตอนหลังเที่ยงวัน)

ในบาลีมีคำที่มีความหมายคล้ายกับ “วิกาลโภชน” อีกคำหนึ่ง คือ “อกาลโภชน” หมายถึง การบริโภคในเวลาอันไม่สมควร (eating at the improper time)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

“วิกาล, วิกาล– : (คำวิเศษณ์) ในยามค่ำคืนที่ค่อนไปทางดึก เช่น ขโมยเข้าบ้าน ในยามวิกาล; ผิดเวลา (ใช้แก่การกินอาหารผิดเวลาตามที่พระวินัยกำหนด นับตั้งแต่เที่ยงแล้วไปจนถึงอรุณขึ้น) เช่น กินอาหารในเวลาวิกาล. (ป.).

ที่มา เว็บไซต์ชมรมธรรมธารา

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

4

เวลามนุษย์-เวลาเทวดา

การคำนวณอายุเทวดากามภพ 6 ชั้น

ดูกรนางวิสาขา 50 ปี ซึ่งเป็นของมนุษย์ 
เป็นคืนหนึ่ง กับ วันหนึ่งของเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา 
โดยราตรีนั้น 30 ราตรีเป็นหนึ่งเดือน
โดยเดือนนั้น 12 เดือน เป็นหนึ่งปี
โดยปีนั้น 500 ปี อันเป็นทิพย์ เป็นประมาณอายุของเทวดา ชั้นจาตุมหาราชิกา
(คำนวณอายุเทวดาชั้นจาตุ 50 30 * 12 * 500 = 9,000,000 ปีมนุษย์)

ดูกรนางวิสาขา 100 ปี อันเป็นของมนุษย์ 
เป็นคืนหนึ่ง กับวันหนึ่งของเทวดาชั้นดาวดึงส์ 
โดยราตรีนั้น 30 ราตรีเป็นหนึ่งเดือน
โดยเดือนนั้น 12 เดือน เป็นหนึ่งปี
โดยปีนั้น 1,000 ปี อันเป็นทิพย์ เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นดาวดึงส์
(คำนวณอายุเทวดาชั้นดาวดึงส์ 100 30 * 12 * 1,000 = 36,000,000 ปีมนุษย์)

ดูกรนางวิสาขา 200 ปี อันเป็นของมนุษย์ 
เป็นคืนหนึ่ง กับวันหนึ่งของเทวดาชั้นยามา 
โดยราตรีนั้น 30 ราตรีเป็นหนึ่งเดือน
โดยเดือนนั้น 12 เดือน เป็นหนึ่งปี
โดยปีนั้น2,000 ปี อันเป็นทิพย์ เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นมายา
(คำนวณอายุเทวดาชั้นยามา 200 * 30 * 12 * 2,000 = 144,000,000 ปีมนุษย์)

ดูกรนางวิสาขา 400 ปี อันเป็นของมนุษย์
เป็นคืนหนึ่ง กับวันหนึ่ง ของเทวดาชั้นดุสิต 
โดยราตรีนั้น 30 ราตรีเป็นหนึ่งเดือน
โดยเดือนนั้น 12 เดือนเป็นหนึ่งปี
โดยปีนั้น 4,000 ปี อันเป็นทิพย์ เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นดุสิต 
(คำนวณอายุเทวดาชั้นดุสิต 400 30 * 12 * 4,000 = 576,000,000 ปีมนุษย์)

ดูกรนางวิสาขา 800 ปี อันเป็นของมนุษย์ 
เป็นวันหนึ่ง กับคืนหนึ่งของ เทวดาชั้นนิมมานรดี 
โดยราตรีนั้น 30 ราตรีเป็นหนึ่งเดือน
โดยเดือนนั้น 12 เดือนเป็นหนึ่ง ปี โดยปีนั้น 8,000 ปี อันเป็นทิพย์ เป็นประมาณของอายุของเทวดา ชั้นนิมมานรดี
(คำนวณอายุเทวดาชั้นนิมมานรดี 800 30 * 12 * 8,000 = 2,304,000,000 ปีมนุษย์)

ดูกรนางวิสาขา 1,600 ปี อันเป็นของมนุษย์ 
เป็นคืนหนึ่ง กับวันหนึ่งของ เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัสดี 
โดยราตรีนั้น 30 ราตรีเป็นหนึ่งเดือน
โดยเดือนนั้น 12 เดือน เป็นหนึ่งปี
โดยปีนั้น 16,000 ปี อันเป็นทิพย์ เป็นประมาณอายุของเทวดา ชั้นปรนิมมิตวสวัสดี
(คำนวณอายุเทวดาชั้นปรนิม 1,600 * 30 * 12 * 16,000 = 9,216,000,000 ปีมนุษย์)

ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๑๙๕ อุโปสถสูตร (ตรัสกับ นางวิสาขา)

ดูอายุเทวดาทุกชั้น คลิก P1478

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

5
งดการฉันในเวลาวิกาล


(พระวินัย)
เรื่อง ฉันหนเดียว ตรัสไว้ ในข้อ ๙

        ๙. เธอฉันหนเดียว เว้นการฉันในราตรี งดจากการฉัน ในเวลาวิกาล
(เวลาวิกาล หมายถึง หลังฉันเสร็จแล้ว ถือเป็นเวลาวิกาล)
(ฉบับหลวง  เล่มที่ ๙ สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค หน้าที่ ๖๐)

(พระสูตร)
บทภาชนีย์ ติกะปาจิตตีย์

        [๕๑๐] เวลาวิกาล ภิกษุสำคัญว่า เวลาวิกาล เคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ซึ่งของเคี้ยวก็ดี ซึ่งของฉันก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์
(พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒ หน้าที่ ๔๕๕-๔๕๗)

เรื่องงดฉันในเวลาวิกาล (หลังฉัน) ตรัสไว้หลายพระสูตร อ่าน

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

6

การออกบิณฑบาต ทรงบัญญัติเรื่องเวลาหรือไม่

ไม่พบบทบัญญัติการออกบิณฑบาตของภิกษุ ที่ปรากฏในพระไตรปิฎก จะกล่าวถึงการออกบิณฑบาตในเวลาเช้า เช่น

"...ครั้นเวลาเช้า ภิกษุนั้น ครองอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรจีวรเข้าไปบิณฑบาต ในพระนครเวสาลี..."

".. ครั้งนั้น เป็นเวลาเช้า ท่านพระสารีบุตรนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร เข้าไปสู่พระนคร สาวัตถีเพื่อบิณฑบาต..."

".. ครั้งนั้น เป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไป บิณฑบาต ยังเมืองเวสาลี ครั้นเสด็จเที่ยวบิณฑบาตรแล้ว เวลาปัจฉาภัต (เวลาหลังฉัน) เสด็จกลับจากบิณฑบาตรแล้ว...

ธรรมเนียมปฏิบัติของภิกษุไทย ที่สืบต่อกันมาในแต่ละท้องที่
- เวลาอรุณรุ่ง หรือฟ้าสาง (เห็นแสงที่ขอบฟ้า)
- เห็นลายมือ
- มองต้นไม้แล้วแยกใบอ่อน-ใบแก่ได้
- จาก 3 กรณีข้างต้นจะอยู่ในช่วงเวลาหลัง 6 โมงเช้า


----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

7

ระเบียบของสงฆ์ไทยในการออกบิณฑบาต

(20 กค.63) มหาเถรสมาคมกำหนดเวลาบิณฑบาตว่า ไม่ควรเกิน 8.00 น.

- การออกบิณฑบาตไม่ควรเกินเวลา 08.00 น.
- ไม่ควรยืน หรือ นั่งประจำที่ตามร้านขายอาหาร
- ไม่บิณทบาตโดยเร่ร่อนไปตามสถานที่ต่างๆ นอกพื้นที่แห่งวัดตน
- ไม่สมควรนั่งรับบาตร หรือ นั่งในรถรับบาตร
- ไม่ควรเข้าไปบิณฑบาตในสถานอโคจร
- ไม่ควรสูบบุหรี่ ไม่ควรสวมรองเท้า ไม่ควรพูดคุยกัน โดยไม่มีเหตุจำเป็น
- ไม่ถ่ายเทอาหาร หรือทิ้งดอกไม้ให้กับเจ้าของร้านอาหาร
- ไม่แย่งกันรับของปัจจัย
- เมื่อบิณฑบาตเสร็จแล้ว ไม่ควร ยถา สัพพี
(ยถา คือการอุทิศบุญให้คนตาย...สัพพี คือการให้พร)


อื่นๆ
- ไม่ออกบิณฑบาตก่อนอรุณ
- ไม่ควรกลับวัดช้ากว่ากำหนด
- ไม่ควรรับบิณฑบาตมากเกินจำเป็น
- ไม่ควรนำอาหารให้ร้านจำหน่ายต่อ

อ่านทั้งหมด N111

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

8

วิบากแห่งกรรม ๓ อย่าง (เกิดได้ใน 3 เวลา)

           ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าววิบากแห่งกรรมทั้งหลายว่า มีอยู่ ๓ อย่าง คือ
1.) วิบากใน ทิฏฐธรรม (ทันควัน)
2.) วิบากใน อุปะปัชชะ (ในเวลาต่อมา)
3.) วิบากใน อปรปริยายะ (ในเวลาต่อมาอีก)
(ปฏิจจจากพระโอษฐ์)

อ่านทั้งหมด P875

-------------------------------------------------
กรรมสูตรที่ ๑

          [๑๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่รู้แล้ว ย่อมไม่กล่าวความสิ้นสุดแห่งกรรม ที่สัตว์ตั้งใจกระทำสั่งสมขึ้น ก็วิบากนั้นแล อันสัตว์ผู้ทำพึงได้เสวย
ในปัจจุบัน (ทิฏฐธรรมเวทนียะ)
ในอัตภาพถัดไป (อุปปัชชเวทนียะ)
ในอัตภาพต่อๆไป (อปราปรเวทนียะ)

(ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๔ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๖๖)

อ่านทั้งหมด
P1610

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

9

ว่าด้วยความเป็นอนัตตาแห่งขันธ์ ๕ ในสามกาล
(อดีต อนาคต ปัจจุบัน)

         [๓๘] พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอดีต รูปที่เป็น อนาคต เป็นอนัตตา จักกล่าวถึงรูปที่เป็นปัจจุบันไปไยเล่า?

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเป็นผู้ไม่มี ความอาลัยใน รูปที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินใน รูปที่เป็นอนาคต ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ รูปที่เป็นปัจจุบัน

เวทนาที่เป็นอดีต เวทนาที่เป็นอนาคต เป็นอนัตตา ฯลฯ
สัญญาที่เป็นอดีต สัญญา ที่เป็นอนาคต เป็นอนัตตา ฯลฯ
สังขารที่เป็นอดีต สังขารที่เป็นอนาคต เป็นอนัตตา ฯลฯ
วิญญาณที่เป็นอดีต วิญญาณที่เป็นอนาคต เป็นอนัตตา จักกล่าวถึงวิญญาณ ที่เป็นปัจจุบันไปไยเล่า?

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเป็นผู้ไม่มีความ อาลัยในวิญญาณที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินวิญญาณที่เป็นอนาคต ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อ ความดับวิญญาณที่เป็นปัจจุบัน.
(พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๙)
--------------------------------------------------------

ตรัสให้พิจารณาโดยยถาภูตญาณทัสสนะ
(รูปที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน)

         [๒๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล

รูปอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่ารูป เธอทั้งหลาย พึงเห็นรูปนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา

เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าเวทนา เธอทั้งหลายพึงเห็นเวทนานั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ ของเรา นั่นไม่เป็นเรานั่นไม่ใช่ตนของเรา

สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าสัญญา เธอทั้งหลายพึงเห็นสัญญานั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา

สังขารทั้งหลายอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือ ภายนอกหยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมด ก็เป็นแต่สักว่า สังขาร เธอทั้งหลายพึงเห็นสังขารนั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริง อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรานั่นไม่ใช่ตนของเรา

วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าวิญญาณ เธอทั้งหลายพึงเห็นวิญญาณนั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรานั่นไม่ใช่ตนของเรา

(พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑ หน้าที่ ๒๓-๒๔)

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

10


กาลิก แปลว่า เวลา
(อ่านว่า กา-ลิก)

แปลว่า ประกอบด้วยกาลเวลา ขึ้นอยู่กับกาลเวลา เป็นภาษาพระวินัย หมายถึง อาหาร หรือของ ที่ภิกษุรับแล้วเก็บไว้ฉันได้ตามกาลเวลากำหนดเท่านั้น หากเก็บไว้ เกินกว่านั้นถือเป็นความผิด

กาลิกมี 4 อย่าง
1.ยามกาลิก...ของที่พระสงฆ์รับประเคนไว้แล้วเก็บไว้ฉันได้เพียง ๑ วัน กับ ๑ คืน คือ ก่อนเช้า ของวันใหม่ ได้แก่ปานะ

2.ยาวกาลิก ...ของที่พระสงฆ์เก็บไว้ฉันได้ชั่วคราวตั้งแต่เช้าถึงเที่ยงวัน ได้แก่ ข้าวปลาอาหาร

3.สัตตาหกาลิก...ของที่เก็บไว้ฉันได้เพียง ๗ วัน ได้แก่ เภสัชทั้ง ๕ คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย

4.ยาวชีวิก ...ของที่พระสงฆ์รับประเคนไว้แล้วเก็บไว้ฉันได้ตลอดไม่จำกัดกาล เช่น สมุนไพร ยารักษาโรค

อ่านทั้งหมด P1068

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

11

อุปมาอายุนรก

ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนเกวียนที่บรรทุกงาของชาวโกศล มีอัตรา ๒๐ ขารี
บุรุษพึงเก็บงาขึ้นจากเกวียนนั้น โดยล่วงร้อยๆปี ต่อเมล็ดหนึ่งๆ

ภิกษุทั้งหลาย ! เกวียนที่บรรทุกงาของชาวโกศลมีอัตรา ๒๐ ขารีนั้น จะพึงถึงความ สิ้นไปหมดไปโดยลำดับนี้ ยังเร็วเสียกว่า ส่วน ๑ อัพพุทนรก ยังไม่พึงถึงความสิ้นไป หมดไปได้เลย

ภิกษุทั้งหลาย !
(นรก 10 ชั้น)
๒๐ อัพพุทนรก เป็น ๑ นิรัพพุทนรก (อัพพุทนรกชั้นตื้นที่สุด)
๒๐ นิรัพพุทนรกเป็น ๑ อัพพนรก(ลึก 20 *2 ของชั้นแรกคืออัพพุทนรก)
๒๐ อัพพนรกเป็น ๑ อหหนรก (ลึก 20*3 ของชั้นแรก
๒๐ อหหนรกเป็น ๑ อฏฏนรก (ลึก 20*4 ของชั้นแรก)
๒๐ อฏฏนรกเป็น ๑ กุมุทนรก (ลึก 20*5 ของชั้นแรก)
๒๐ กุมุทนรกเป็น ๑ โสคันธิกนรก (ลึก 20*6 ของชั้นแรก)
๒๐ โสคันธินรกเป็น ๑ อุปลกนรก (ลึก 20*7 ของชั้นแรก)
๒๐ อุปลกนรกเป็น ๑ ปุณฑรีกนรก (ลึก 20*8 ของชั้นแรก)
๒๐ ปุณฑรีกนรกเป็น ๑ ปทุมนรก อย่างนี้ (ลึก 20*9 ของชั้นแรกคืออัพพุทนรก)

นรกแต่ละชั้นอายุห่างกัน 20 เท่า
  ชั้นตื้นสุดคือ อัพพุทธนรก 
  ชั้นลึกสุดคือ ปุณฑริกนรก


(พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๑๑ - ๒๑๒)

อ่านทั้งหมด P351

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

12

อุปมาความนานของกัป (มี 4 พระสูตร)

1 กัป กับเขาหินแท่งทึบ(ปัพพตสูตร)
ดูกรภิกษุ กัปหนึ่งนานแล มิใช่ง่ายที่จะนับกัปนั้นว่าเท่านี้ปีเท่านี้ ๑๐๐ ปี เท่านี้ ๑,๐๐๐ ปี หรือว่าเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ ปี ฯ ดูกรภิกษุเหมือนอย่างว่า ภูเขาหิน ลูกใหญ่ ยาวโยชน์หนึ่ง กว้างโยชน์หนึ่ง สูงโยชน์หนึ่งไม่มีช่อง ไม่มีโพรง เป็นแท่งทึบ บุรุษพึง เอาผ้าแคว้นกาสีมาแล้วปัดภูเขานั้น๑๐๐ ปีต่อครั้ง ภูเขาหินลูกใหญ่นั้น พึงถึงการ หมดไปสิ้นไป...

อุปมาเหมือนเมล็ดพันธ์ผักกาด (สาสปสูตร)
ดูกรภิกษุเหมือนอย่างว่า นครที่ทำ ด้วยเหล็ก ยาวโยชน์ ๑ กว้างโยชน์ ๑ สูงโยชน์ ๑ เต็มด้วยเมล็ดพันธุ์ผักกาด มีเมล็ดพันธุ์ผักกาดรวมกันเป็นกลุ่มก้อน บุรุษพึงหยิบเอา เมล็ดพันธุ์ผักกาดเมล็ดหนึ่งๆ ออกจากนครนั้น โดยล่วงไปหนึ่งร้อยปีต่อเมล็ด เมล็ด พันธุ์ผักกาดกองใหญ่นั้น พึงถึงความสิ้นไป หมดไป...

กัปที่ล่วงไป (สาวกสูตร)
ดูกรภิกษุทั้งหลาย มีสาวก ๔ รูปในศาสนานี้ เป็นผู้มีอายุ ๑๐๐ ปี มีชีวิต ๑๐๐ ปี  หากว่าท่านเหล่านั้น พึงระลึกถอยหลังไปได้ วันละแสนกัป กัปที่ท่านเหล่านั้นระลึก ไม่ถึงพึงยังมีอยู่อีก สาวก ๔ รูปของเราผู้มีอายุ ๑๐๐ ปีมีชีวิต ๑๐๐ ปี พึงทำกาละ โดยล่วงไป ๑๐๐ ปีๆ โดยแท้แล กัปที่ผ่านไปแล้ว ล่วงไปแล้ว มีจำนวนมาก อย่างนี้แล ...

กัปที่ล่วงไปแล้วมากกว่าเม็ดทรายในแม่น้ำคงคา (คงคาสูตร)
ดูกรพราหมณ์ แม่น้ำคงคานี้ย่อมเกิดแต่ที่ใด และย่อมถึงมหาสมุทร ณ ที่ใดเมล็ดทราย ในระยะนี้ไม่เป็นของง่าย ที่จะกำหนดได้ว่า เท่านี้เม็ด เท่านี้ ๑๐๐ เม็ดเท่านี้ ๑,๐๐๐ เม็ด หรือว่าเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ เมล็ด ดูกรพราหมณ์ กัปทั้งหลายที่ผ่านไปแล้ว ล่วงไป แล้ว มากกว่าเมล็ดทรายเหล่านั้น ...

อ่านทั้งหมด P616

 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์