เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

3/3 รู้ชัดอุปาทานขันธ์โดยปริวัฏฏ์ (5 เล่มจากพระโอษฐ์) 1518
เปรียบเทียบสำนวนแปลจาก 3 แหล่ง ที่มีความแตกต่างกัน
(P1516) (P1517) (P1518)
     
เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 


อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๑ ภาคนำ หน้าที่ ๕๕

ถ้าไม่รู้เบญจขันธ์โดยนัยอริยสัจสี่
ก็ยังไม่ทรงปฏิญญาเป็นพระพุทธเจ้า

ภิกษุ ท. ! ตลอดกาลเพียงใด เรายังไม่ได้รู้ชัดแจ้งยิ่งแล้ว ซึ่งอุปาทานขันธ์ทั้งห้า เหล่านี้ โดยปริวัฏฏ์สี่ ตรงตามที่เป็นจริง เราก็ยังไม่ปฏิญญาอยู่เพียงนั้นว่า เป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะแล้ว ซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์.

ภิกษุ ท. ! เมื่อใดแล เราได้รู้ชัดแจ้งยิ่งแล้ว ซึ่งอุปาทานขันธ์ทั้งห้าเหล่านี้ โดย ปริวัฏฏ์สี่ ตรงตามที่เป็นจริง เมื่อนั้นแหละ เราจึงปฏิญญาได้ว่าเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ แล้ว ซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลก พร้อมทั้งเทวโลกมารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์.

ภิกษุ ท. ! ปริวัฏฏ์สี่นั้น เป็นอย่างไรเล่า ?

ปริวัฎฎ์สี่นั้นคือ

(๑) เราได้รู้ชัดแจ้งยิ่งแล้ว ซึ่ง รูป ได้รู้ชัดแจ้งยิ่งแล้ว ซึ่งความก่อขึ้นของรูป ได้รู้ชัดแจ้งยิ่งแล้ว ซึ่งความดับไม่เหลือของรูป ได้รู้ชัดแจ้งยิ่งแล้ว ซึ่งทางดำเนิน ให้ถึงความดับไม่เหลือ ของรูป.

(๒) เราได้รู้ชัดแจ้งยิ่งแล้ว ซึ่ง เวทนา ได้รู้ชัดแจ้งยิ่งแล้ว ซึ่งความก่อขึ้นของ เวทนา ได้รู้ชัดแจ้งยิ่งแล้ว ซึ่งความดับไม่เหลือของเวทนา ได้รู้ชัดแจ้งยิ่งแล้ว ซึ่งทางดำเนิน ให้ถึงความดับไม่เหลือ ของเวทนา.

(๓) เราได้รู้ชัดแจ้งยิ่งแล้ว ซึ่ง สัญญา ได้รู้ชัดแจ้งยิ่งแล้ว ซึ่งความก่อขึ้นของ สัญญา ได้รู้ชัดแจ้งยิ่งแล้ว ซึ่งความไม่เหลือของสัญญา ได้รู้ชัดแจ้งยิ่งแล้ว ซึ่งทางดำเนิน ให้ถึงความดับไม่เหลือ ของสัญญา.

(๔) เราได้รู้ชัดแจ้งยิ่งแล้ว ซึ่ง สังขาร ทั้งหลาย ได้รู้ชัดแจ้งยิ่งแล้วซึ่งความก่อขึ้น ของสังขารทั้งหลาย ได้รู้ชัดแจ้งยิ่งแล้ว ซึ่งความดับไม่เหลือของสังขารทั้งหลาย ได้รู้ชัดแจ้งยิ่งแล้ว ซึ่งทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือ ของสังขารทั้งหลาย.

(๕) เราได้รู้ชัดแจ้งยิ่งแล้ว ซึ่ง วิญญาณ ได้รู้ชัดแจ้งยิ่งแล้ว ซึ่งความก่อขึ้นของ วิญญาณ ได้รู้ชัดแจ้งยิ่งแล้ว ซึ่งความดับไม่เหลือของวิญญาณ ได้รู้ชัดแจ้งยิ่งแล้ว ซึ่งทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือ ของวิญญาณ.

ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แหละ ชื่อว่า ปริวัฏฏ์สี่อย่างนั้น.

(ข้อความที่ละเอียดยิ่งไปกว่านี้ ตลอดถึงผลของการรู้ จนทำให้เป็นเกพลี หาดูได้จาก หนังสือ ปฏิจจ. โอ. หน้า ๓๓๘ ตั้งแต่คำว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ก็รูปเป็นอย่างไรเล่า ?”... เป็นต้นไป จึงถึงหน้า ๓๔๒ จบลงที่คำว่า... “วัฏฏะย่อมไม่มี เพื่อจะบัญญัติ แก่บุคคล เหล่านั้น”)

(รูป)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็รูปเป็นอย่างไรเล่า?
มหาภูตรูปทั้งหลาย ๔ อย่างด้วยรูปที่อาศัย มหาภูตรรูปทั้งหลายอย่างด้วย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้เราเรียกว่ารูป
การเกิดขึ้นแห่งรูปย่อมมี เพราะการเกิดขึ้นแห่งอาหาร
ความดับไม่เหลือแห่งรูปย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งอาหาร

มรรคอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับ ไม่เหลือแห่งรูป ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพยายามชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ สุขโสมนัสใด ๆ อาศัยรูปเกิดขึ้น นี้เป็น อัสสาทะแห่งรูป รูปใด ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความ แปรปรวนเป็นธรรมดานี้ เป็นอาทีนวะแห่งรูป การนำออก เสียได้ซึ่งความ กำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ กล่าวคือการละเสียได้ ซึ่งความกำหนัดด้วยอำนาจ ความพอใจในรูปอันใด นี้เป็นนิสสรณะเครื่องออกจากรูป (รวมเป็นสิ่งที่ต้องรู้ ๗ อย่าง)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! สมณะหรือ พราหมณ์ก็ตาม เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ด้วยปัญญา อันยิ่งซึ่งรูป ว่า (สิ่งที่ต้องรู้ ๗ อย่าง)
อย่างนี้คือ รูป...
อย่างนี้คือ เหตุให้เกิด ขึ้นแห่งรูป...
อย่างนี้คือ ความดับไม่เหลือแห่งรูป ...
อย่างนี้คือ ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งรูป ...
อย่างนี้คือ อัสสาทะแห่งรูป...
อย่างนี้คือ อาทีนวะแห่งรูป ...
อย่างนี้คือ นิสสรณะเครื่องออกจากรูป
ดังนี้แล้ว เป็นผู้ปฏิบัติแล้วเพื่อความเบื่อหน่าย (นิพฺพิทา) เพื่อความสำรอก(วิราค) เพื่อความดับไม่เหลือ(นิโรธ) แห่งรูป สมณพราหมณ์ เหล่านั้น เป็นผู้ปฎิบัติแล้ว บุคคลเหล่าใด ปฏิบัติดีแล้ว. บุคคลเหล่านั้นชื่อว่า หยั่งลงในธรรมวินัยนี้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! สมณะหรือพราหมณ์ ก็ตามเหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ด้วย ปัญญาอันยิ่งซึ่งรูปว่า
อย่างนี้คือรูป ...
อย่างนี้คือเหตุ ให้เกิดขึ้นแห่งรูป ...
อย่างนี้คือ ความดับไม่เหลือ แห่งรูป ... อย่างนี้คือข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับ ไม่เหลือแห่งรูป ...
อย่างนี้คือ อัสสาทะแห่งรูป...อย่างนี้คืออาทีนวะแห่งรูป ...
อย่างนี้ คือ นิสสรณะเครื่องออกจากรูป
ดังนี้แล้ว เป็นผู้พ้นวิเศษแล้ว เพราะความ เบื่อหน่าย เพราะความสำรอก เพราะความดับไม่เหลือ เพราะความไม่ยืดมั่น ซึ่งรูป สมณพราหมณ์เหล่านั้นเป็นผู้พ้นวิเศษแล้วด้วยดี (สุวิมุตฺตา)

บุคคลเหล่าใด เป็นผู้พ้นวิเศษแล้วด้วยดี บุคคลเหล่านั้นชื่อว่าเป็น เกพลี ผู้จบกิจ อันบุคคล พึงกระทำ บุคคลเหล่าใดจบกิจอันบุคคลพึงกระทำ วัฎฎะ ย่อมไม่มีเพื่อจะ บัญญัติ แก่บุคคลเหล่านั้น.
--------------------------------------------------------------------------------------------
(เวทนา)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็เวทนา เป็นอย่างไรเล่า ?
ดูก่อนกิกษุทั้งหลาย!หมู่แห่งเวทนา (เวทนากายา) ทั้งหลาย ๖ หมู่เหล่านี้ คือ เวทนา อันเกิดแต่จักขุสัมผัสเวทนาอันเกิดแต่โสตสัมผัส เวทนาอันเกิดแต่ฆานสัมผัส เวทนา อันเกิดแต่ชีวหาสัมผัสเวทนาอันเกิดแต่กายสัมผัส เวทนาอันเกิดแต่มโนสัมผัส ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้เราเรียกว่า เวทนา
การเกิดขึ้นแห่งเวทนา ย่อมมี เพราะการเกิดขึ้นแห่งผัสสะ
ความดับไม่เหลือแห่งเวทนา ย่อมมีเพราะความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ
มรรคอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงความ ดับไม่เหลือแห่งเวทนา
ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยง ชีวิต ชอบ ความพยายามชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ สุขโสมนัสใด ๆ อาศัยเวทนาเกิดขึ้น นี้เป็น อัสสาทะแห่งเวทนา ...ฯลฯ...ฯลฯ...

(ข้อความต่อไปนี้ มีการตรัสเหมือนกับที่ตรัสแล้ว ในกรณีแห่งรูปทกตัวอักษร ต่างกัน แต่เพียงชื่อว่าเวทนาแทนคำว่ารูป ดังนี้เรื่อยไปจนกระทั่งถึง) ...วัฎฎะ ย่อมไม่มี เพื่อการ บัญญัติแก่บุคคลเหล่านั้น.
--------------------------------------------------------------------------------------------

(สัญญา)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัญญาเป็นอย่างไรเล่า?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!หมู่แห่งสัญญา (สญฺญากายา) ทั้งหลาย ๖ หมู่เหล่านี้ คือ สัญญาในรูป สัญญาในเสียง สัญญาในกลิ่น สัญญาในรส สัญญาในโผฏฐัพพะ สัญญาในธัมมรมณ์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่าสัญญา การเกิดขึ้นแห่งสัญญา ย่อมมี เพราะการเกิดขึ้นแห่งผัสสะ ความดับไม่เหลือแห่งสัญญา ย่อมมี เพราะความดับ ไม่เหลือแห่งผัสสะมรรคอันประกอบด้วย องค์แปดอันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึง ความ ดับ ไม่เหลือแห่งสัญญา ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพยายามชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ สุข โสมนัสใด ๆ อาศัยสัญญาเกิดขึ้น นี้เป็นอัสสาทะแห่งสัญญา ...ฯลฯ...ฯลฯ...วัฏฏะ ย่อมไม่มี เพื่อการบัญญัติแก่บุคคลเหล่านั้น
--------------------------------------------------------------------------------------------

(สังขาร)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็สังขารทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! หมู่แห่งเจตนา (เจตนากายา) ทั้งหลาย ๖ หมู่เหล่านี้ คือ ความคิดนึกในรูป ความคิดนึกในเสียง ความคิดนึกในกลิ่น ความคิดนึกในรส ความคิดนึกในโผฏฐัพพะ ความคิดนึก ในธัมมารมณ์
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เหล่านี้เราเรียกว่า สังขารทั้งหลาย
การเกิดขึ้นแห่งสังขารย่อมมี เพราะการเกิดขึ้นแห่งผัสสะ
ความดับไม่เหลือแห่งสังขารย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ
มรรคอันประกอบด้วยองค์แปด อันประเสริฐนั่นเอง
เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับ ไม่เหลือแห่งสังขาร ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำ การงานชอบ การเลี้ยงชีวิต ชอบ ความพยายามชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่น ชอบ สุข โสมนัสใด ๆ อาศัยสังขาร ทั้งหลาย เกิดขึ้น นี้ เป็นอัสสาทะแห่งสังขาร ทั้งหลาย... ฯลฯ...ฯลฯ... วัฏฏะ ย่อมไม่มี เพื่อการบัญญัติ แก่บุคคลเหล่านั้น.
--------------------------------------------------------------------------------------------

(วิญญาณ)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็วิญญาณ เป็นอย่างไรเล่า?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หมู่แห่ง วิญญาณ (วิญญาณกายา) ทั้งหลาย ๖ หมู่เหล่านี้ คือ วิญญาณทางตา วิญญาณทางหู วิญญาณทางจมูก วิญญาณทางลิ้น วิญญาณทางกาย วิญญาณทางใจ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้เราเรียกว่าวิญญาณ
การเกิดขึ้นแห่งวิญญาณย่อมมี เพราะ การเกิดขึ้นแห่งนามรูป ความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งนามรูป มรรคอันประกอบด้วย องค์แปดอันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับ ไม่เหลือแห่งวิญญาณ ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจา ชอบ การทำการงาน ชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพยายามชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจ มั่นชอบ สุขโสมนัส ใด ๆ อาศัยวิญญาณเกิดขึ้น นี้เป็นอัสสาทะ แห่งวิญญาณ วิญญาณใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็น ธรรมดา นี้เป็น อาทีนวะแห่งวิญญาณ การนำออกเสีย ได้ซึ่งความกำหนัดด้วยอำนาจ ความพอใจ กล่าวคือการละเสียได้ ซึ่งความกำหนัดด้วยอำนาจแห่งความพอใจ ในวิญญาณ อันใด นี้เป็น นิสสรณะเครื่องออก จากวิญญาณ (รวมเป็นสิ่งที่ต้องรู้ ๗ อย่าง).

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! สมณะหรือพราหมณ์ก็ตามเหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ด้วยปัญญา อันยิ่ง ซึ่งวิญญาณ ว่า
อย่างนี้คือ วิญญาณ...
อย่างนี้คือ เหตุให้เกิดขึ้นแห่งวิญญาณ ...
อย่างนี้คือ ความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ...
อย่างนี้คือ ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุ ถึงความดับ ไม่เหลือแห่งวิญญาณ ...
อย่างนี้คือ อัสสาทะแห่งวิญญาณ ...
อย่างนี้คือ อาทีนวะแห่ง วิญญาณ ...
อย่างนี้คือ นิสสรณะ เครื่องออกจากวิญญาณ
ดังนี้แล้ว เป็นผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อความ เบื่อหน่าย (นิพฺพิทา) เพื่อความสำรอก (วิราค) เพื่อความดับไม่เหลือ(นิโรธ) แห่ง วิญญาณ สมณพราหมณ์เหล่านั้นเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว บุคคลเหล่าใดปฏิบัติดีแล้ว บุคคลเหล่านั้น ชื่อว่าหยั่งลงในธรรมวินัยนี้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! สมณะหรือพราหมณ์ก็ตาม เหล่าใด เหล่าหนึ่ง รู้ด้วยปัญญา อันยิ่งซึ่งวิญญาณ ว่า
อย่างนี้คือ วิญญาณ ...
อย่างนี้คือ เหตุให้เกิดขึ้นแห่งวิญญาณ ...
อย่างนี้คือ ความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ ...
อย่างนี้คือ ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ ... อย่างนี้คือ อัสสาทะแห่งวิญญาณ ...
อย่างนี้คือ อาทีนวะแห่งวิญญาณ ...
อย่างนี้คือ นิสสรณะเครื่องออกจากวิญญาณ
ดังนี้แล้ว เป็นผู้พ้นวิเศษแล้ว เพราะความเบื่อหน่าย เพราะความสำรอก เพราะความดับไม่เหลือ เพราะความไม่ ยึดมั่น ซึ่งวิญญาณ สมณพราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้ พ้นวิเศษแล้วด้วยดี (สุวิมุตฺตา) บุคคลเหล่าใดเป็นผู้พ้นวิเศษแล้วด้วยดี บุคคลเหล่านั้นชื่อว่าเป็น เกพลี ผู้จบกิจ อันบุคคลพึงกระทำ บุคคลเหล่าใดจบกิจอันบุคคลพึงกระทำ วัฏฏะ ย่อมไม่มีเพื่อจะ บัญญัติ แก่บุคคลเหล่านั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในฐานะ ๗ ประการ อย่างนี้แล.
--------------------------------------------------------------------------------------------

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้พิจารณาใคร่ครวญธรรม โดยวิธี ๓ ประการ เป็นอย่างไรเล่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในกรณีนี้
  ย่อมพิจารณาใคร่ครวญธรรม โดยความเป็นธาตุ
  ย่อมพิจารณาใคร่ครวญธรรม โดยความเป็นอายตนะ
  ย่อมพิจารณาใคร่ครวญธรรม โดยความเป็น ปฏิจจสมุปบาท.


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุเป็นผู้พิจารณาใคร่ครวญธรรม โดยวิธี ๓ ประการ อย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในฐานะ ๗ ประการ เป็นผู้พิจารณา ใคร่ครวญธรรมโดยวิธี ๓ ประการ เราเรียกว่า ภิกษุผู้เกพลี อยู่จบกิจแห่งพรหมจรรย์ ในธรรมวินัยนี้ ดังนี้ แล

(อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๑ ภาคนำ หน้าที่ ๕๕)

 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์