เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

 
 1. เรื่องอภิธรรม ผู้รู้อริยสัจ ไม่จำเป็นต้องแตกฉานอภิธรรม/ ม้าแกลบ บุรุษพริก 1466
  P1466 P1467 P1468 P1469 P1470 P1471 P1472 P1473 P1474
รวมเรื่องอภิธรรม
 

(โดยย่อ)
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคปลาย หน้า 1526

ม้าแกลบ ๓ ชนิดเป็นอย่างไรเล่า?
พวก ๑ ..วิ่งเร็ว ไม่มีสีสวย ไม่มีรูปร่างดี (ขึงขัง)
พวก ๒ ..วิ่งเร็ว มีสีสวย แต่รูปร่างไม่ดี (ไม่ขึงขัง)
พวก ๓ ..วิ่งเร็ว มีสีสวย มีรูปร่างดี (ขึงขัง)

บุรุษพริก ๓ ชนิด เป็นอย่างไรเล่า ?
พวก ๑ (คุณสมบัติของโสดาบันและสกทาคามี)
มีความเร็ว พวกนี้คือ รู้ชัดตามเป็นจริงใน อริยสัจสี่
ผิวพรรณไม่งาม พวกนี้คือ เมื่อถูกถามอภิธรรม อภิวินัย ก็นั่งนิ่ง ตอบไม่ได้
ไม่สง่าผ่าเผย พวกนี้คือ ไม่รวยลาภปัจจัย เสนาสนะ และคิลานปัจจัย ไม่มีชื่อเสีย
            
พวก ๒ (คุณสมบัติของอนาคามี)
มีความเร็ว พวกนี้คือย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงในอริยสัจสี่
มีผิวพรรณงาม พวกนี้คือถูกถามอภิธรรม อภิวินัย ก็ตอบได้คล่องแคล่ว
ไม่สง่าผ่าเผย ภิกษุเหล่านี้คือ ไม่รวยลาภ ปัจจัย เสนาสนะ และคิลานปัจจัย ไม่มีชื่อเสียง
            
พวก ๓ (คุณสมบัติของพระอเสขะ หรืออรหันต์)
มีความเร็วด้วย พวกนี้คือย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงใน อริยสัจสี่
มีผิวพรรณด้วย พวกนี้คือ ถูกถามอภิธรรม อภิวินัย ก็ตอบได้คล่องแคล่ว
สง่าผ่าเผยด้วย พวกนี้คือ รวยลาภ ปัจจัย เสนาสนะ และคิลานปัจจัย เป็นคนมีชื่อเสียง

(ดูฉบับหลวง) P1588   P1589   P1590

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
รวมพระสูตร
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
(ดูทั้งหมด)

 


อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคปลาย หน้า 1526

ผู้รู้อริยสัจ
 ไม่จำเป็นต้องแตกฉานอภิธรรม และรวยลาภ

ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงม้าแกลบ ๓ ชนิด และบุรุษพริก ๓ ชนิด.

ภิกษุ ท. ! ม้าแกลบ ๓ ชนิดเป็นอย่างไรเล่า?
ภิกษุ ท. ! ม้าแกลบบางตัวในกรณีนี้ มีความเร็ว ไม่มีสีสวย ไม่มีรูปร่างขึงขัง บางตัว มีความเร็ว มีสีสวย แต่ไม่มีรูปร่างขึงขัง บางตัวมีความเร็ว มีสีสวย มีรูปร่างขึงขัง
ภิกษุ ท. ! นี่แหละ ม้าแกลบ ๓ ชนิด

ภิกษุ ท. ! บุรุษพริก ๓ ชนิด เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! บุรุษพริกบางคน มีความเร็ว (ชวสมฺปนฺน) แต่ไม่มีผิวพรรณ (นวณฺณสมฺปนฺน)
ไม่มีท่าทางสง่าผ่าเผย (น อาโรหปริณาหสมฺปนฺน) บางคนมีความเร็ว มีผิวพรรณแต่ ไม่มีท่าทาง สง่าผ่าเผย บางคนมีความเร็วด้วย มีผิวพรรณด้วย มีท่าทางสง่า ผ่าเผย ด้วย
………………………………………………………………………………………………………………………….
๑. คำนี้บาลีว่า อสฺสุขลุงฺก เคยแปลกันมาว่าม้ากระจอก แต่เห็นว่าไม่สมกับเค้าเรื่อง เพราะม้า กระจอกขาเขยก วิ่งไม่ได้เร็ว และจะมีความสง่าผ่าเผยขึงขังไม่ได้ จึงไม่แปลว่าม้ากระจอก แต่แปลว่า ม้าแกลบ คือม้าพันธุ์เล็กรอง จากม้าพันธุ์สินธพ.

๒. คำนี้บาลีว่า ปุริสขลุงฺก ก็เคยแปลกันมาว่า บุรุษกระจอก ซึ่งไม่เข้ากับเรื่องราว ที่แสดง เพราะคนกระจอกงอกง่อย จะมีลักษณะอย่างนั้นไม่ได้ เชื่อว่าหมายถึงคน ร่างเล็กพันธุ์หนึ่ง ซึ่งมีสมรรถนะสูง ในที่นี้จึงแปล ว่า คนพริกโดยโวหาร ในภาษาไทยว่า “ถึงเล็กก็เล็กพริก” ดังนี้.
………………………………………………………………………………………………………………………….
บุรุษพริก(๑) ระดับโสดาบัน+สกทาคามี (ตอบอภิธรรมไม่ได้)
รู้อริยสัจสี่ - นี้เป็นความเร็ว
ถูกถามอภิธรรมก็ตอบไม่ได้ - นี้เป็นความไม่มีผิวพรรณ
ไม่รวยด้วยลาภ จีวร คิลานปัจจัย - นี้เป็นความไม่สง่างาม


ภิกษุ ท. ! บุรุษพริก(๑) มีความเร็วแต่ไม่มีผิวพรรณ ไม่มีท่าทางสง่าผ่าเผยนั้น เป็น อย่างไรเล่า ? 
ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้
๑) ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริง ว่า “ทุกข์ เป็นอย่างนี้ ทุกขสมุทัย เป็นอย่างนี้ ทุกขนิโรธเป็นอย่างนี้ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นอย่างนี้” ดังนี้ นี้เป็นความเร็วของเธอ
๒) แต่เมื่อถูกถามปัญหาในอภิธรรมในอภิวินัย ก็นิ่ง ตอบไม่ได้ นี้เป็นความ ไม่มีผิวพรรณ ของเธอ
๓) และเป็นผู้ไม่รวยลาภด้วยจีวร บิณฑบาตเสนาสนะ และคิลานปัจจย เภสัชช บริกขาร ทั้งหลาย นี้เป็นความไม่สง่าผ่าเผยของเธอ.

ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล เรียกว่า บุรุษพริก ที่มีความเร็ว แต่ไม่มีผิวพรรณ ไม่มีท่าทาง สง่า ผ่าเผย.
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
บุรุษพริก(๒) ระดับอนาคามี (ตอบอภิธรรมได้)
รู้อริยสัจสี่ - นี้เป็นความเร็ว
ถูกถามอภิธรรมก็ตอบได้ - นี้เป็นความไม่มีผิวพรรณ
ไม่รวยด้วยลาภ จีวร คิลานปัจจัย - นี้เป็นความไม่สง่างาม


ภิกษุ ท. ! บุรุษพริก (๒) มีความเร็วมีผิวพรรณแต่ไม่มีท่าทางสง่าผ่าเผยนั้นเป็น อย่างไรเล่า ? 
ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้
๑) ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริง ว่า “ทุกข์ เป็นอย่างนี้ ทุกขสมุทัย เป็นอย่างนี้ ทุกขนิโรธ เป็นอย่างนี้ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นอย่างนี้” ดังนี้ นี้เป็น ความเร็วของเธอ
๒) และเมื่อถูกถามปัญหาในอภิธรรมในอภิวินัย ก็ตอบได้ ไม่นิ่ง นี้เป็น ความมีผิวพรรณของเธอ
๓) แต่เป็นผู้ไม่รวยลาภด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและ คิลานปัจย เภสัชชบริกขาร ทั้งหลาย นี้เป็นความไม่สง่าผ่าเผยของเธอ.

ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล เรียกว่า บุรุษพริกผู้มีความเร็ว มีผิวพรรณ แต่ไม่มีท่าทาง สง่าผ่าเผย.
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
บุรุษพริก(๓) (อรหันต์)
รู้อริยสัจสี่ - นี้เป็นความเร็ว
ถูกถามอภิธรรมก็ตอบได้ - นี้เป็นความมีผิวพรรณดี
รวยด้วยลาภ จีวร คิลานปัจจัย - นี้เป็นความสง่างาม


ภิกษุ ท. ! บุรุษพริก (๓) มีความเร็วด้วยมีผิวพรรณด้วยมีท่าทางสง่าผ่าเผย ด้วยนั้น เป็นอย่างไรเล่า ? 
ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้
๑) ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า “ทุกข์ เป็นอย่างนี้ ทุกขสมุทัย เป็นอย่างนี้ ทุกขนิโรธเป็น อย่างนี้ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นอย่างนี้” ดังนี้ นี้เป็นความเร็วของเธอ  
๒) และเมื่อถูกถามปัญหาในอภิธรรมในอภิวินัย เธอก็ตอบได้ ไม่นิ่ง นี้เป็นความมี ผิวพรรณของเธอ
๓) และเธอนั้นเป็นผู้รวยลาภด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจยเภสัชช บริกขาร ทั้งหลาย นี้เป็นความสง่าผ่าเผยของเธอ

ภิกษุ ท. อย่างนี้แล เรียกว่า บุรุษพริกที่มีความเร็วด้วย มีผิวพรรณด้วย มีท่าทางสง่า ผ่าเผยด้วย.

ภิกษุ ท.! เหล่านี้แล บุรุษพริก ๓ ชนิด.

(ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า บุรุษพริกประเภทที่หนึ่งรู้อริยสัจ แต่ไม่อาจตอบปัญหา ใน อภิธรรม อภิวินัย และไม่รวยด้วยลาภ. ข้อนี้เป็นเครื่องแสดงอยู่แล้ว ว่า  การรู้อริยสัจนั้นมิได้เนื่องอยู่กับการรู้อภิธรรมอภิวินัยและรวยลาภ)






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์