เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

 
สมณะหรือพราหมณ์ ย่อมรู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่อง สลัดออก 1464
รวมเรื่องเวทนา บางสูตร
 

(โดยย่อ)
14
สมณพราหมณสูตรที่ ๑ / สมณพราหมณสูตรที่ ๒ /สมณพราหมณสูตรที่ ๓ /สุทธิกสูตร
สมณะ หรือพราหมณ์ ย่อมไม่รู้ ความเกิดความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออก แห่งเวทนา ๓ เหล่านี้ ตามความเป็นจริง สมณะ หรือ พราหมณ์เหล่านั้น ยังไม่นับว่าเป็นสมณะในหมู่ สมณะ หรือเป็น พราหมณ์

ส่วนสมณะ หรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมรู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่อง สลัดออก แห่งเวทนา ๓ เหล่านี้ตามความเป็นจริง สมณะ หรือ พราหมณ์ เหล่านั้น นับว่าเป็นสมณะ ในหมู่สมณะ หรือเป็นพราหมณ์ ในหมู่พราหมณ์
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
นิรามิสสูตร

ปีติ มีอามิส
กามคุณ ๕ คือ รูปที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด ปีติเกิดขึ้น เพราะอาศัย กามคุณ ๕ เหล่านี้ เราเรียกว่า ปีติมีอามิส

ปีติ ไม่มีอามิส
บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุข เกิดแต่ วิเวกอยู่
บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต มีปีติและสุข เกิดแต่สมาธิอยู่

ภิกษุ ท.
๑) ปีติมีอามิสมีอยู่ ...(คือสุขกายจาก กามคุณ๕)
๒) ปีติไม่มีอามิสมีอยู่... (สงัดจากามบรรลุปฐมฌาน ทุติยฌาน...)
๓) ปีติ ที่ไม่มีอามิสกว่าปีติที่ไม่มีอามิสมีอยู่ .. (ภิกษุขีณาสพ เห็นจิตในจิต พ้นราคะ โทสะ โมหะ)

๔) สุขมีอามิสมีอยู่ ...(สุขโสมนัสทางใจเกิดจาก กามคุณ๕)
๕) สุขไม่มีอามิสมีอยู่ ...(บรรลุตติยฌาน เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข)
๖) สุขไม่มีอามิสกว่าสุขไม่มีอามิสมีอยู่ ... (ภิกษุขีณาสพผู้เห็นจิต หลุดพ้นจากราคะ โทสะ โมหะ)

๗) อุเบกขามีอามิสมีอยู่ ...(อุเบกขาเกิดขึ้นเพราะอาศัยกามคุณ ๕)
๘) อุเบกขาไม่มีอามิสมีอยู่...(บรรลุจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์)
๙) อุเบกขาไม่มีอามิสกว่าอุเบกขาไม่มีอามิสมีอยู่ ...(ภิกษุขีณาสพ ผู้พ้นแล้วจากราคะ โทสะ โมหะ)

๑๐) วิโมกข์มีอามิสมีอยู่... (วิโมกข์ที่ ปฏิสังยุต ด้วยรูป)
๑๑) วิโมกข์ไม่มีอามิสมีอยู่ ... (วิโมกข์ที่ ไม่ปฏิสังยุต ด้วยรูป)
๑๒) วิโมกข์ไม่มีอามิสกว่า วิโมกข์ไม่มีอามิส มีอยู่ ..(ภิกษุขีณาสพ ผู้พ้นแล้วจาก ราคะ โทสะ โมหะ)

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
รวมพระสูตร
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
(ดูทั้งหมด)

 

เวทนาสังยุตต์
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๒๔๗

สมณพราหมณสูตรที่ ๑ (อัฏฐสตปริยายวรรคที่ ๓ สูตรที่ ๗)

          [๔๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ เหล่านี้ เวทนา ๓ เป็นไฉน คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ก็สมณะ หรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมไม่รู้ ความเกิดความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งเวทนา ๓ เหล่านี้ ตามความเป็นจริง สมณะ หรือพราหมณ์เหล่านั้น ยังไม่นับว่าเป็นสมณะในหมู่ สมณะ หรือเป็น พราหมณ์ ในหมู่พราหมณ์ และท่านเหล่านั้น ย่อมไม่กระทำให้แจ้ง ซึ่งประโยชน์ของความเป็นสมณะ หรือของความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ใน ปัจจุบัน เข้าถึงอยู่

           ส่วนสมณะ หรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมรู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออก แห่งเวทนา ๓ เหล่านี้ตามความเป็นจริง สมณะ หรือ พราหมณ์ เหล่านั้น นับว่าเป็นสมณะ ในหมู่สมณะ หรือเป็นพราหมณ์ ในหมู่พราหมณ์ และท่านเหล่านั้น ย่อมกระทำให้แจ้ง ซึ่งประโยชน์ของ ความเป็น สมณะ หรือของ ความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่



พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๒๔๗

สมณพราหมณสูตรที่ ๒ (อัฏฐสตปริยายวรรคที่ ๓ สูตรที่ ๘)

          [๔๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ เหล่านี้ เวทนา ๓ เป็นไฉน คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา

           ก็สมณะ หรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมไม่รู้ ความเกิดความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออก แห่งเวทนา ๓ เหล่านี้ ตามความเป็นจริง ฯลฯ ย่อมกระทำให้แจ้ง ซึ่งประโยชน์ของความเป็นสมณะ หรือ ของความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๒๔๗

สมณพราหมณสูตรที่ ๓ (อัฏฐสตปริยายวรรคที่ ๓ สูตรที่ ๙)

          [๔๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะ หรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมไม่รู้เวทนา ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา ความดับแห่งเวทนา ปฏิปทาเครื่องให้ถึง ความดับแห่ง เวทนา ฯลฯ ย่อมกระทำให้แจ้ง ซึ่งประโยชน์ ของความเป็นสมณะ หรือของความ เป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๒๔๗

สุทธิกสูตร
(อัฏฐสตปริยายวรรคที่ ๓ สูตรที่ ๑๐)

          [๔๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ เหล่านี้ เวทนา ๓ เป็นไฉน คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ เหล่านี้แล


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๒๔๘

นิรามิสสูตร (อัฏฐสตปริยายวรรคที่ ๓ สูตรที่ ๑๑)

          [๔๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ปีติมีอามิสมีอยู่ ปีติไม่มีอามิสมีอยู่
ปีติ ที่ไม่มีอามิสกว่าปีติ ที่ไม่มีอามิสมีอยู่
สุขมีอามิสมีอยู่ สุขไม่มีอามิสมีอยู่
สุขไม่มีอามิสกว่า สุขไม่มีอามิสมีอยู่
อุเบกขามีอามิสมีอยู่ อุเบกขาไม่มีอามิสมีอยู่
อุเบกขาไม่มีอามิสกว่า อุเบกขาไม่มีอามิสมีอยู่
วิโมกข์มีอามิสมีอยู่ วิโมกข์ไม่มีอามิสมีอยู่
วิโมกข์ไม่มีอามิสกว่า วิโมกข์ไม่มีอามิส มีอยู่


(ปิติมีอามิส-ปิติไม่มีอามิส)

          [๔๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปีติมีอามิสเป็นไฉน กามคุณ ๕ เหล่านี้ กามคุณ ๕ เป็นไฉน คือ รูปที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด ฯลฯ โผฏฐัพพะ ที่พึงรู้แจ้งด้วยกายอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารักชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด ดูกรภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ เหล่านี้แล ปีติเกิดขึ้น เพราะอาศัย กามคุณ ๕ เหล่านี้ เราเรียกว่า ปีติมีอามิส

          [๔๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปีติไม่มีอามิสเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัด จากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติ และสุขเกิดแต่ วิเวกอยู่ เธอบรรลุ ทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายในเป็นธรรมเอก ผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร สงบไป มีปีติและสุข เกิดแต่สมาธิอยู่ นี้เราเรียกว่า ปีติไม่มีอามิส

----------------------------------------------------------------------------------------------------------
ปีติไม่มีอามิสกว่าปีติไม่มีอามิส

          [๔๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปีติไม่มีอามิสกว่าปีติไม่มีอามิสเป็นไฉน ปีติ ที่เกิดขึ้น แก่ภิกษุขีณาสพ ผู้พิจารณาเห็นจิต ซึ่งหลุดพ้นแล้วจากราคะ จากโทสะ จากโมหะ นี้เราเรียกว่า ปีติไม่มีอามิสกว่าปีติไม่มีอามิส
----------------------------------------------------------------------------------------------------------
สุขมีอามิส -สุขไม่มีอามิส

          [๔๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สุขมีอามิสเป็นไฉน กามคุณ ๕ เหล่านี้ กามคุณ ๕ เป็นไฉน คือ รูปที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ ใคร่ชวนให้กำหนัด ฯลฯ โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารักชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด ดูกรภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ เหล่านี้ สุขโสมนัสเกิดขึ้น เพราะอาศัยกามคุณ ๕ เหล่านี้ นี้เราเรียกว่า สุขมีอามิส

          [๔๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สุขไม่มีอามิสเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติ และสุข เกิดแต่ วิเวกอยู่ ฯลฯ เธอมีอุเบกขามีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติ สิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มี อุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข นี้เราเรียกว่า สุขไม่มีอามิส
----------------------------------------------------------------------------------------------------------
สุขไม่มีอามิสกว่าสุขไม่มีอามิส

          [๔๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สุขไม่มีอามิสกว่าสุขไม่มีอามิสเป็นไฉน สุขโสมนัส ที่เกิดขึ้นแก่ภิกษุขีณาสพผู้พิจารณาเห็นจิต ซึ่งหลุดพ้นแล้วจากราคะ จากโทสะ จากโมหะ นี้เราเรียกว่าสุขไม่มีอามิสกว่าสุขไม่มีอามิส
----------------------------------------------------------------------------------------------------------
อุเบกขามีอามิส -อุเบกขาไม่มีอามิส

          [๔๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อุเบกขามีอามิสเป็นไฉน กามคุณ ๕ เหล่านี้ กามคุณ๕ เป็นไฉน คือรูปที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด ฯลฯ โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้ง ด้วยกายอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารักชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด ดูกรภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ เหล่านี้แล อุเบกขาเกิดขึ้น เพราะอาศัยกามคุณ ๕ เหล่านี้ เราเรียกว่า อุเบกขามีอามิส

          [๔๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อุเบกขาไม่มีอามิสเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัส ก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ นี้เราเรียกว่าอุเบกขาไม่มีอามิส
----------------------------------------------------------------------------------------------------------
อุเบกขาไม่มีอามิส กว่าอุเบกขาไม่มีอามิส

          [๔๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อุเบกขาไม่มีอามิสกว่าอุเบกขาไม่มีอามิส เป็นไฉน อุเบกขาเกิดขึ้นแก่ภิกษุขีณาสพ ผู้พิจารณาเห็นจิตซึ่งหลุดพ้นแล้วจาก ราคะ จาก โทสะ จากโมหะ นี้เราเรียกว่า อุเบกขาไม่มีอามิสกว่าอุเบกขาไม่มี อามิส
----------------------------------------------------------------------------------------------------------
วิโมกข์มีอามิส-วิโมกข์ไม่มีอามิส

          [๔๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็วิโมกข์ มีอามิสเป็นไฉน วิโมกข์ที่ปฏิสังยุต ด้วยรูป ชื่อว่าวิโมกข์มีอามิส วิโมกข์ที่ไม่ปฏิสังยุตด้วยรูป ชื่อว่าวิโมกข์ไม่มีอามิส
----------------------------------------------------------------------------------------------------------
วิโมกข์ไม่มีอามิสกว่าวิโมกข์ไม่มีอามิส

          [๔๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็วิโมกข์ ไม่มีอามิสกว่าวิโมกข์ไม่มีอามิส เป็นไฉน วิโมกข์เกิดขึ้นแก่ภิกษุขีณาสพ ผู้พิจารณาเห็นจิตซึ่งหลุดพ้นแล้ว จากราคะ จากโทสะ จากโมหะ นี้เราเรียกว่าวิโมกข์ไม่มีอามิสกว่าวิโมกข์ไม่มีอามิส

จบสูตรที่ ๑๑
----------------------------------------------------------------------------------

จบอัฏฐสตปริยายวรรคที่ ๓
๑. สิวกสูตร
๒. อัฏฐสตปริยายสูตร
๓. ภิกขุสูตร
๔. ปุพพสูตร
๕. ญาณสูตร
๖. ภิกขุสูตร
๗. สมณพราหมณสูตรที่ ๑
๘. สมณพราหมณสูตรที่ ๒
๙. สมณพราหมณสูตรที่ ๓
๑๐. สุทธิกสูตร
๑๑. นิรามิสสูตร

จบเวทนาสังยุตต์







พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์