พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๕
24)
อโยนิโสมนสิการ ไม่มีเถาวัลย์ คือมานะ
(๖. ตัณหักขยสูตร)
[๑๕๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ประทับ อยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี
ก็สมัยนั้นแล ท่านพระอัญญาโกณฑัญญะ นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรงพิจารณา ซึ่ง ความหลุดพ้นเพราะ ความสิ้นตัณหา อยู่ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ได้ทรงเห็น ท่านพระอัญญาโกณฑัญญะ นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง พิจารณาเห็น ซึ่งความ หลุดพ้น เพราะความสิ้นตัณหาอยู่ในที่ไม่ไกล
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว ได้ทรงเปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้นว่า
พระอริยบุคคลใด ไม่มีอวิชชา อันเป็นมูลราก ไม่มีแผ่นดิน คืออาสวะ
นิวรณ์ และ อโยนิโสมนสิการ ไม่มีเถาวัลย์ คือมานะ และอติมานะ เป็นต้น ใบ คือ
ความมัวเมา ประมาทมายา และ สาเถยยะเป็นต้น
จะมีแต่ที่ไหน ใครเล่าจะควรนินทา พระอริยบุคคล นั้น ผู้เป็นนักปราชญ์ ผู้พ้นแล้วจากเครื่องผูก แม้เทวดา แม้พรหม ก็ย่อมสรรเสริญพระ อริยบุคคลนั้น
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๑๖๘
25)
โยนิโสมนสิการ เป็นธรรมภิกษุผู้เป็นเสขะ ยังไม่บรรลุอรหัตผล
( เสขสูตรที่ ๑)
[๑๙๔] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาค ผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุผู้เป็นเสขะ ยังไม่บรรลุอรหัตผล ปรารถนาความ เกษม จากโยคะอันยอดเยี่ยมอยู่ เราไม่พิจารณาเห็นแม้เหตุอันหนึ่งอย่างอื่น กระทำเหตุที่มี ณ ภายในว่ามีอุปการะมาก เหมือน โยนิโสมนสิการ นี้เลย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ มนสิการ โดยแยบคาย ย่อมละอกุศลเสียได้ ย่อมเจริญกุศล ให้เกิดมี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคตรัส คาถา ประพันธ์ดังนี้ว่า
ธรรมอย่างอื่นอันมีอุปการะมาก เพื่อบรรลุประโยชน์อันสูงสุดแห่งภิกษุ
ผู้เป็น พระเสขะ เหมือน โยนิโสมนสิการ ไม่มีเลย ภิกษุเริ่มตั้งไว้ซึ่ง
มนสิการ โดย แยบคาย พึงบรรลุนิพพานอันเป็นที่สิ้นไปแห่งทุกข์ได้ ฯ
เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาค ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วฉะนี้แล
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๙ หน้าที่ ๓๒๗
26)
อโยนิโสมนสิการ เป็นรากเง้าแห่งธรรมเครื่องเนิ่นช้า ของตัณหาและทิฏฐิ
[๗๐๕] คำว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ภิกษุพึงกำจัดบาปธรรมทั้งปวง คือ กิเลส ที่เป็นรากเง่าแห่งส่วนธรรมเครื่องเนิ่นช้า และอัสมิมานะ ด้วยปัญญา ความว่า ธรรมเครื่อง เนิ่นช้า นั่นแหละ ชื่อว่าส่วนแห่งธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า ได้แก่ ส่วนแห่งธรรม เครื่องเนิ่นช้า คือตัณหา และส่วนแห่งธรรมเครื่องเนิ่นช้า คือ ทิฏฐิ
รากเง่าของธรรมเครื่องเนิ่นช้า คือ ตัณหาเป็นไฉน? อวิชชา อโยนิโสมนสิการ อัสมิมานะ อหิริกะ อโนตตัปปะ อุทธัจจะ นี้เป็นรากเง่าแห่งธรรมเครื่องเนิ่นช้า คือตัณหา.
รากเง่าแห่งธรรมเครื่องเนิ่นช้า คือ ทิฏฐิเป็นไฉน? อวิชชา อโยนิโสมนสิการ อัสมิมานะ อหิริกะ อโนตตัปปะ อุทธัจจะ นี้เป็นรากเง่า แห่งธรรมเครื่องเนิ่นช้า คือทิฏฐิ.
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๙ หน้าที่ ๔๗๓
27)
อโยนิโสมนสิการ รากของความโกรธและความดูหมิ่น
[๙๔๙] รากแห่งความโกรธ ในคำว่า พึงขุดรากความโกรธและความดูหมิ่นนั้น ดำรงอยู่ เป็นไฉน?
อวิชชา อโยนิโสมนสิการ อัสมิมานะ อหิริกะ อโนตตัปปะ อุทธัจจะ
(แต่ละอย่าง) เป็นรากแห่งความโกรธ.
รากแห่งความดูหมิ่นเป็นไฉน?
อวิชชา อโยนิโสมนสิการ อัสมิมานะ อหิริกะ อโนตตัปปะ อุทธัจจะ (แต่ละอย่าง) เป็นรากแห่งความดูหมิ่น.
คำว่า พึงขุดรากความโกรธ และความดูหมิ่นนั้นดำรงอยู่ ความว่า พึงขุด รื้อ ถอน ฉุดกระชาก ละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งรากความโกรธ และ ความดูหมิ่นเสียดำรงอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าพึงขุดรากความโกรธ และความดูหมิ่น นั้น ดำรงอยู่.
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๓๑
28)
โยนิโสมนนิการ เบื้องต้นของผู้หยั่งลงสู่ความเพียร(พระโยคาวจร)
[๑๘๓] ธรรมมี โยนิโสมนนิการ เป็นเบื้องต้น ๙ ประการ เมื่อพระโยคาวจร* มนสิการโดยอุบาย อันแยบคายโดยความไม่เที่ยง ย่อมเกิดปราโมทย์เมื่อถึงความ ปราโมทย์ ย่อมเกิดปิติเมื่อใจมีปิติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบย่อมได้เสวยความสุข ผู้มีความสุข จิตย่อมตั้งมั่น ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริง ด้วยจิตอันตั้งมั่นว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
* (พระโยคาวจร ผู้หยั่งลงสู่ความเพียร ผู้กำลังปฏิบัติ)
เมื่อพระโยคาวจร มนสิการ โดยอุบายอันแยบคาย โดยความเป็นทุกข์ย่อมเกิดปราโมทย์
เมื่อมนสิการ โดยอุบายอันแยบคายโดยความเป็นอนัตตา ย่อมเกิดปราโมทย์ ฯลฯ เมื่อมนสิการ รูปโดยอุบายอันแยบคายโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมเกิดปราโมทย์
เมื่อมนสิการ รูปโดยอุบายอันแยบคายโดยความเป็นทุกข์ ย่อมเกิดปราโมทย์
เมื่อมนสิการ รูปโดยอุบายอันแยบคายโดยความเป็นอนัตตา ย่อมเกิดปราโมทย์ ฯลฯ เมื่อมนสิการ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ โดยอุบาย อันแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมเกิดปราโมทย์
เมื่อมนสิการชรา และมรณะ โดยอุบายอันแยบคาย โดยความเป็นทุกข์ ย่อมเกิด ปราโมทย์
เมื่อมนสิการชราและมรณะ โดยอุบายอันแยบคาย โดยความเป็นอนัตตา ย่อมเกิด ปราโมทย์
เมื่อถึงความปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบย่อมได้ เสวยสุข ผู้มีความสุข จิตย่อมตั้งมั่น ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริง ด้วยจิตอันตั้งมั่นว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ธรรมอันมี โยนิโสมนสิการ เป็นเบื้องต้น ๙ ประการนี้
[๑๘๔] ความต่าง ๙ ประการ ความต่างแห่งผัสสะ อาศัยความต่างแห่งธาตุ เกิดขึ้น
ความต่างแห่งเวทนาอาศัยความต่างแห่งผัสสะเกิดขึ้น
ความต่างแห่งสัญญาอาศัยความต่างแห่งเวทนาเกิดขึ้น
ความต่างแห่งความดำริอาศัยความต่างแห่งสัญญาเกิดขึ้น
ความต่างแห่งฉันทะอาศัยความต่างแห่งความดำริเกิดขึ้น
ความต่างแห่งความเร่าร้อน อาศัยความต่างแห่งฉันทะเกิดขึ้น
ความต่างแห่งการแสวงหาอาศัยความต่างแห่งความเร่าร้อนเกิดขึ้น
ความต่างแห่งการได้ (รูปเป็นต้น) อาศัยความต่างแห่งการแสวงหาเกิดขึ้น
ความต่าง ๙ ประการนี้ ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่า รู้ชัด เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่าปัญญาในการกำหนดธรรม ๙ ประการเป็นธรรมนานัตตญาณ
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๓๑ หน้าที่ ๑๐๙
29)
อโยนิโสมนสิการ เป็นข้อหนึ่งในที่ตั้งแห่งทิฐิ ๘
[๓๐๔] ที่ตั้งแห่งทิฐิ ๘ เป็นไฉน แม้ขันธ์ทั้งหลายก็เป็นที่ตั้งแห่งทิฐิ แม้ อวิชชา ผัสสะ สัญญา วิตก อโยนิโสมนสิการ มิตรชั่ว เสียงแต่ที่อื่นทุกอย่าง เป็นที่ตั้ง แห่งทิฐิ
ขันธ์ทั้งหลายเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ชื่อว่าเป็นที่ตั้งแห่งทิฐิ เพราะอรรถว่า เป็นที่อาศัยตั้งขึ้น แม้ขันธ์ทั้งหลายก็เป็นที่ตั้งแห่งทิฐิอย่างนี้ ... อวิชชา ...ผัสสะ ... สัญญา ... วิตก ...อโยนิโสมนสิการ ... มิตรชั่ว เสียงแต่ที่อื่น ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัย ชื่อว่าเป็นที่ตั้งแห่งทิฐิ เพราะอรรถว่าเป็นที่อาศัยตั้งขึ้น แม้เสียงแต่ที่อื่น ก็เป็นที่ตั้งแห่งทิฐิอย่างนี้ ที่ตั้งแห่งทิฐิ ๘ เหล่านี้
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๓๑ หน้าที่ ๓๒๐
30)
ธรรม ๔ ประการ
ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล
[๖๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ๔ ประการเป็นไฉน คือ
สัปปุริสสังเสวะ คบสัตบุรุษ ๑
สัทธรรมสวนะ ฟังสัทธรรมคำสั่งสอนของท่าน ๑
โยนิโสมนสิการะ ไตร่ตรองพิจารณาคำสั่งสอนของท่าน ๑
ธรรมานุธรรมปฏิปัตติปฏิบัติ ธรรมสมควรแก่ธรรม ที่ได้ตรองเห็นแล้ว ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้แล ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้ง ซึ่งสกทาคามิผล ฯลฯ
ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล ฯลฯ
ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล
๔ ประการเป็นไฉน คือ
สัปปุริสสังเสวะ ๑
สัทธรรมสวนะ ๑
โยนิโสมนสิการ ๑
ธรรมานุธรรมปฏิปัตติ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้แล ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล
[๖๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มาก แล้ว ย่อมเป็นไป
เพื่อได้เฉพาะซึ่งปัญญา
เพื่อความเจริญแห่งปัญญา
เพื่อความไพบูลย์แห่งปัญญา
เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาใหญ่
เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาหนา
เพื่อความเป็นผู้มีปัญญากว้างขวาง
เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาลึกซึ้ง
เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาไม่ใกล้
เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาดังแผ่นดิน
เพื่อความเป็นผู้มีปัญญามาก
เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเร็ว
เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาพลัน
เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาร่าเริง
เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาแล่นไป
เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาคมกล้า
เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาทำลายกิเลส
๔ ประการเป็นไฉน คือ
สัปปุริสสังเสวะ ๑
สัทธรรมสวนะ ๑
โยนิโสมนสิการ ๑
ธรรมานุธรรมปฏิปัตติ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม๔ ประการนี้แล ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อได้เฉพาะซึ่งปัญญา ฯลฯ เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาทำลายกิเลส |