เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 (ชุด1) รวมเรื่องมารผู้มีบาป ทั้งมารที่เป็นสัตว์ และมารที่ทรงอุปมา 1291
 

(โดยย่อ)

1) อานนท์ถูกมารดลใจ ขณะอยู่ต่อหน้าพระผู้มีพระภาค
2) มารขอให้พระผู้มีพระภาค จงปรินิพพาน เสียในบัดนี้เถิด
3) ทางไม่ปลอดภัยคือ ทางของมารผู้มีบาป มรรค๘ คือทางปลอดภัย
4) สถานที่ซึ่งมารไปไม่ถึง คือการกำจัดขันธ์ทั้ง ๕ คือตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
5) ป่าใหญ่มีมารที่เป็นสัตว์ดุร้าย การทำสมาธิ จะตัดการมองเห็นของมาร
6) การพิจารณาเห็นความเกิด-ดับของขันธ์ ๕ คือที่ๆ มารไปไม่ถึง
7) ตบะอื่นไม่ประกอบด้วยประโยชน์ มรรค ๘ คือความบริสุทธิ์อันยอดเยี่ยม
8) มารแปลงกายเป็นพระยาช้างใหญ่ เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า
9) ทรงตรัสกับมารว่า เราเป็นผู้พ้นแล้วจากบ่วงของมาร

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
รวมเรื่อง มาร ชุด1/5


1)
อานนท์ถูกมารดลใจ ขณะอยู่ต่อหน้าพระผู้มีพระภาค


        [๙๔] ครั้งนั้น เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้า ไป บิณฑบาต ยังเมืองเวสาลี ครั้นเสด็จเที่ยวบิณฑบาตแล้ว เวลา ปัจฉาภัต เสด็จกลับจากบิณฑบาตแล้ว ตรัสเรียกท่านพระอานนท์มารับสั่งว่า

     ดูกรอานนท์ เธอจงถือเอาผ้านิสีทนะไปเราจักเข้าไปยังปาวาลเจดีย์ เพื่อ พักผ่อน ตอนกลางวัน ท่านพระอานนท์ทูลรับ พระดำรัสของพระผู้มี พระภาคแล้ว ถือเอาผ้า นิสีทนะ ตามเสด็จพระผู้มีพระภาคไปทางเบื้องพระปฤษฎางค์

        ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปยังปาวาลเจดีย์ ครั้นเสด็จเข้าไป แล้วประทับ นั่งบน อาสนะที่ท่านพระอานนท์ ปูลาดถวาย ฝ่ายท่านพระอานนท์ ถวายบังคม พระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นท่านพระอานนท์ นั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาค ได้รับสั่ง กะท่านว่า

        ดูกรอานนท์ เมืองเวสาลี น่ารื่นรมย์ อุเทนเจดีย์ โคตมเจดีย์ สัตตัมพเจดีย์ พหุปุตตเจดีย์ สารันทเจดีย์ ปาวาลเจดีย์ ต่างน่ารื่นรมย์ อิทธิบาททั้ง ๔ อันผู้ใด ผู้หนึ่งเจริญแล้ว กระทำให้ มากแล้ว กระทำให้เป็นดุจยาน กระทำให้เป็นดุจพื้น ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้วผู้นั้น เมื่อจำนงอยู่ พึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัป หรือเกินกว่ากัป

        ดูกรอานนท์ อิทธิบาททั้ง ๔ ตถาคตเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว กระทำ ให้เป็นดุจยาน กระทำให้เป็นดุจพื้น ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ตถาคต นั้น เมื่อจำนงอยู่ จะพึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัป หรือเกินกว่ากัปแม้เมื่อ พระผู้มีพระภาค ทรงกระทำนิมิตอันหยาบ โอภาสอันหยาบอย่างนี้ ท่านพระอานนท์  ก็มิอาจรู้ทัน จึงมิได้ทูลวิงวอนพระผู้มีพระภาคว่า

        ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงดำรงอยู่ตลอดกัป ขอพระสุคต จงทรงดำรง อยู่ตลอดกัป เพื่อ ประโยชน์ ของชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขของชน เป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย ดังนี้ เพราะถูกมารเข้าดลใจแล้ว
        แม้ครั้งที่ ๒ พระผู้มีพระภาค ก็รับสั่งกะท่าน พระอานนท์ ฯลฯ
        แม้ครั้งที่ ๓ พระผู้มีพระภาคก็รับสั่งกะท่านพระอานนท์ ฯลฯ ท่านพระอานนท์ ก็มิอาจ รู้ทัน ... เพราะถูกมารเข้าดลใจแล้ว

        ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะท่านพระอานนท์ว่า เธอจงไปเถิดอานนท์ เธอรู้กาล อันควร ในบัดนี้ ท่านพระอานนท์ ทูลรับ พระดำรัสของ พระผู้มีพระภาค แล้ว ลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วไปนั่ง ณ โคนไม้แห่งหนึ่งในที่ไม่ไกล

        [๙๕] ครั้งนั้น มารผู้มีบาป เมื่อท่านพระอานนท์หลีกไปแล้วไม่นาน เข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาค ถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไป เฝ้าแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง มารผู้มีบาปยืน เรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มี พระภาค จงปรินิพพาน ในบัดนี้เถิด ขอพระสุคตจงปรินิพพานใน บัดนี้เถิด บัดนี้เป็นเวลาปรินิพพานของ พระผู้มีพระภาค ก็พระผู้มีพระภาคได้ตรัส พระวาจานี้ไว้ว่า

        ดูกรมารผู้มีบาป ภิกษุ ผู้เป็นสาวกของเราจักยังไม่เฉียบแหลม ไม่ได้รับ แนะนำ ไม่แกล้วกล้า ไม่เป็นพหูสูต ไม่ทรงธรรม ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ไม่ปฏิบัติชอบ ไม่ประพฤติตามธรรม เรียนกับอาจารย์ของตนแล้ว ยังบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้งเปิดเผย จำแนก กระทำให้ง่ายไม่ได้ ยังแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ข่มขี่ ปรับปวาท ที่บังเกิดขึ้นให้เรียบร้อย โดยสหธรรมไม่ได้ เพียงใด เราจักยังไม่ ปรินิพพานเพียงนั้น (เหตุผลข้อที่ ๑)

        ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญก็บัดนี้ ภิกษุผู้เป็นสาวก ของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้เฉียบ แหลมแล้ว ได้รับแนะนำแล้ว แกล้วกล้า เป็นพหูสูต ทรงธรรม ปฏิบัติธรรมสมควร แก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม เรียนกับอาจารย์ของตนแล้ว บอกแสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก กระทำให้ง่ายได้ แสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ข่มขี่ ปรับปวาท ที่บังเกิดขึ้นให้เรียบร้อย โดยสหธรรมได้

        ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงปรินิพพานในบัดนี้เถิด ขอพระ สุคตจงปรินิพพาน ในบัดนี้เถิด บัดนี้เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาค ก็พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสพระวาจานี้ไว้ว่า ดูกรมารผู้มีบาป ภิกษุณี ผู้สาวิกา ของเรา จักยัง ไม่เฉียบแหลม ...(เหตุผลข้อที่ ๒)

        ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็บัดนี้ ภิกษุณีผู้สาวิกาของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ เฉียบแหลม แล้ว.. แสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ข่มขี่ ปรับปวาทที่ บังเกิดขึ้นให้ เรียบร้อย โดย สหธรรมได้

        ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงปรินิพพานในบัดนี้เถิด ขอพระสุคต จงปรินิพพานในบัดนี้เถิด บัดนี้เป็นเวลา ปรินิพพานของพระผู้มี พระภาค ก็พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสพระวาจานี้ไว้ว่า ดูกรมารผู้มีบาป อุบาสก ผู้เป็นสาวกของเรา จักยังไม่เฉียบแหลม ... (เหตุผลข้อที่ ๓)

        ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็บัดนี้ อุบาสกผู้เป็นสาวก  ของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ เฉียบแหลมแล้ว ... แสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ข่มขี่ ปรับปวาท ที่บังเกิดขึ้นให้เรียบร้อย โดยสหธรรมได้

        ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงปรินิพพานในบัดนี้เถิด ขอพระสุคต จงปรินิพพาน ในบัดนี้เถิด บัดนี้เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มี พระภาค ก็พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระวาจานี้ไว้ว่า ดูกรมารผู้มีบาป อุบาสิกา ผู้เป็นสาวิกาของเรา จักยังไม่เฉียบแหลม ... (เหตุผลข้อที่ ๔)

        ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็บัดนี้ อุบาสิกาผู้เป็น  สาวิกาของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ เฉียบแหลมแล้ว ได้รับแนะนำแล้ว แกล้วกล้า เป็นพหูสูต ทรงธรรม ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบประพฤติตามธรรม เรียนกับอาจารย์ของตน แล้ว บอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนกกระทำให้ง่ายได้ แสดงธรรม มีปาฏิหาริย์ ข่มขี่ปรับปวาท ที่บังเกิดขึ้น ให้ เรียบร้อยโดยสหธรรมได้

        ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงปรินิพพานในบัดนี้เถิด ขอพระสุคตจงปรินิพพาน ในบัดนี้เถิด บัดนี้เป็นเวลา ปรินิพพานของพระผู้มี พระภาค  ก็พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระวาจา นี้ไว้ว่า ดูกรมารผู้มีบาป พรหมจรรย์ ของเรานี้จักยังไม่สมบูรณ์ กว้างขวางแพร่หลาย รู้กันโดยมาก เป็นปึกแผ่น จนกระทั่งพวกเทวดา และมนุษย์ประกาศได้ดีแล้วเพียงใด เราจักยังไม่ปรินิพพาน เพียงนั้น (เหตุผลข้อที่ ๕)

        ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็บัดนี้ พรหมจรรย์ของพระผู้มีพระภาคนี้สมบูรณ์แล้ว กว้างขวาง แพร่หลาย รู้กันโดยมาก เป็นปึกแผ่น จนกระทั่งพวกเทวดาและ มนุษย์ ประกาศได้ดีแล้ว ขอพระผู้มีพระภาคจงปรินิพพานในบัดนี้เถิด ขอพระสุคต  จงปรินิพพาน ในบัดนี้เถิด บัดนี้ เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาค

       เมื่อมารกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสตอบว่า

        ดูกรมารผู้มีบาป ท่านจง มีความ ขวนขวายน้อยเถิด ความปรินิพพาน แห่งตถาคตจักมีไม่ช้า โดยล่วงไปอีกสามเดือนแต่นี้ ตถาคตก็จักปรินิพพาน

        ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค ทรงมีพระสติสัมปชัญญะ ทรงปลงอายุสังขาร ณปาวาลเจดีย์ และเมื่อพระผู้มีพระภาคทรงปลงอายุสังขารแล้ว ได้เกิดแผ่นดินไหว ใหญ่ และขนพอง สยองเกล้า น่าพึงกลัว ทั้งกลองทิพย์ก็บันลือลั่น พระผู้มีพระภาค ทรงทราบเนื้อความ นั้นแล้ว ทรงเปล่งพระอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

        [๙๖] มุนีปลงเสียได้แล้วซึ่งกรรมที่ชั่งได้ และกรรมที่ชั่งไม่ได้ อันเป็นเหตุ สมภพ เป็นเครื่องปรุงแต่งภพ และได้ยินดีในภายใน มีจิตตั้งมั่น ทำลายกิเลส ที่เกิดในตนเสีย เหมือนนักรบทำลายเกราะฉะนั้น
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๐ หน้าที่ ๘๗


2)
มารขอให้พระผู้มีพระภาค จงปรินิพพานเสียในบัดนี้เถิด


        [๑๐๒] ดูกรอานนท์ สมัยหนึ่ง เราแรกตรัสรู้ พักอยู่ที่ต้นไม้  อชปาลนิโครธ แทบฝั่ง แม่น้ำ เนรัญชรา ในอุรุเวลาประเทศ ครั้งนั้น มารผู้มีบาป ได้เข้าไปหาเรา ถึงที่อยู่ ครั้นเข้าไปหา แล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นมารผู้มีบาปยืน เรียบร้อยแล้ว ได้กล่าวกะเราว่า

        ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงปรินิพพานในบัดนี้เถิด ขอพระสุคต จงปรินิพพาน ในบัดนี้เถิด บัดนี้เป็นเวลา ปรินิพพานของพระผู้มี พระภาค เมื่อมารกล่าว อย่างนี้แล้ว เราได้ตอบว่า

        ดูกรมารผู้มีบาป ภิกษุผู้เป็นสาวกของเรา จักยังไม่เฉียบแหลม ไม่ได้รับ แนะนำ ไม่  แกล้วกล้า ไม่เป็นพหูสูต ไม่ทรงธรรม ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ไม่ ปฏิบัติชอบ ไม่ประพฤติตามธรรมเรียนกับอาจารย์ของตนแล้ว ยังบอก แสดงบัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก กระทำให้ง่ายไม่ได้ ยังแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ข่มขี่ ปรับปวาท ที่บังเกิดขึ้นให้เรียบร้อย โดยสหธรรม ไม่ได้เพียงใด เราจักยังไม่ ปรินิพพาน เพียงนั้น

      ดูกรมารผู้มีบาป ภิกษุณีผู้เป็นสาวิกาของเรา จักยังไม่เฉียบแหลม ... เพียงใด เราจักยังไม่ปรินิพพานเพียงนั้น

      ดูกรมารผู้มีบาป อุบาสกผู้เป็นสาวกของเรา จักยังไม่เฉียบแหลม ... เพียงใด เราจักยังไม่ปรินิพพานเพียงนั้น

       ดูกรมารผู้มีบาป อุบาสิกาผู้เป็นสาวิกาของเรา จักยังไม่เฉียบแหลม ... เพียงใด เราจักยังไม่ปรินิพพานเพียงนั้น

      ดูกรมารผู้มีบาป พรหมจรรย์ของเรานี้จักยังไม่สมบูรณ์ กว้างขวางแพร่หลาย รู้กันโดยมาก เป็นปึกแผ่น จนกระทั่ง เทวดามนุษย์ประกาศได้ดีแล้ว เพียงใด เราจัก ไม่ปรินิพพานเพียงนั้น

      ดูกรอานนท์ วันนี้เมื่อกี้นี้เอง มารผู้มีบาปได้เข้ามาหาเราที่ปาวาลเจดีย์  ครั้น เข้ามาหาแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง มารผู้มีบาปครั้นยืนเรียบร้อยแล้ว ได้กล่าวกะเราว่า

        ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงปรินิพพาน ในบัดนี้เถิด ขอพระสุคต จงปรินิพพานในบัดนี้เถิด บัดนี้ เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาค
ก็พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระวาจานี้ไว้ว่า

        ดูกรมารผู้มีบาป  ภิกษุผู้เป็นสาวกของเราจักยังไม่เฉียบแหลม ... เพียงใด ... ภิกษุณี ผู้เป็นสาวิกา ของเราจักยังไม่ เฉียบแหลม ..เพียงใด ... อุบาสกผู้เป็นสาวก ของเรา จักยังไม่เฉียบแหลม ... เพียงใด ...อุบาสิกาผู้เป็นสาวิกาของเราจักยังไม่ เฉียบแหลม ... เพียงใด ... พรหมจรรย์ของเรานี้จักยังไม่สมบูรณ์ กว้างขวาง แพร่หลายรู้กันโดยมาก เป็นปึกแผ่น จนกระทั่งเทวดาและมนุษย์ประกาศ ได้ดีแล้วเพียงใด เราจักยังไม่ปรินิพพานเพียงนั้น

        ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญก็บัดนี้ พรหมจรรย์ของพระผู้มีพระภาคสมบูรณ์แล้ว กว้างขวาง แพร่หลาย รู้กันโดยมาก เป็นปึกแผ่น  จนกระทั่งเทวดาและมนุษย ์ประกาศ ได้ดีแล้ว ขอพระผู้มีพระภาคจงปรินิพพานใน บัดนี้เถิดขอพระสุคต จงปรินิพพาน ในบัดนี้เถิด บัดนี้ เป็นเวลาปรินิพพานของ พระผู้มีพระภาค

      ดูกรอานนท์ เมื่อมารกล่าวอย่างนี้แล้ว เราได้ตอบว่า ดูกรมารผู้มีบาป ท่านจงมี ความขวนขวายน้อยเถิด ความปรินิพพาน แห่งตถาคตจักมีไม่ช้า โดยล่วงไปอีก สามเดือนแต่นี้ ตถาคตก็จักปรินิพพาน

      ดูกรอานนท์ วันนี้เมื่อกี้นี้ ตถาคตมีสติสัมปชัญญะปลงอายุสังขารแล้ว ที่ปาวาลเจดีย์

      เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลว่า ข้าแต่   พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาค จงทรงดำรงอยู่ตลอดกัป ขอพระสุคตจงทรง   ดำรงอยู่ตลอดกัป เพื่อประโยชน์ของชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขของชน เป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขของ
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

        ดูกรอานนท์ เวลานี้อย่าเลย อย่าวิงวอนตถาคตเลย บัดนี้มิใช่เวลาที่จะ วิงวอน ตถาคต แม้ครั้งที่สอง ... แม้ ครั้งที่สาม ..ท่านพระอานนท์ ก็ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรง ดำรงอยู่ตลอดกัป ขอพระสุคต จงทรงดำรงอยู่ตลอดกัป เพื่อ ประโยชน์ของชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขของชน เป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขของเทวดา และ มนุษย์ทั้งหลาย

ดูกรอานนท์ เธอเชื่อความตรัสรู้ของตถาคตหรือ

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เชื่อ

ดูกรอานนท์ เมื่อเชื่อ ไฉนเธอจึงแค่นได้ตถาคตถึงสามครั้งเล่า


        ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ฟังมาได้รับมา เฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาค ว่า ดูกรอานนท์ อิทธิบาททั้ง ๔ อันผู้ใด ผู้หนึ่งเจริญแล้ว กระทำ ให้มากแล้ว กระทำให้เป็นดุจยานกระทำให้เป็นดุจพื้น ให้ตั้งมั่นแล้ว อบรมแล้ว ปรารภดีแล้ว ผู้นั้นเมื่อจำนงอยู่ พึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัป หรือเกินกว่ากัป

        ดูกรอานนท์ อิทธิบาททั้ง ๔ ตถาคตเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วกระทำ ให้เป็นดุจ ยาน กระทำให้เป็นดุจพื้น ให้ตั้งมั่นแล้ว อบรมแล้ว ปรารภดีแล้ว ตถาคต นั้น เมื่อจำนงอยู่ จะพึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัป หรือเกินกว่ากัป

ดูกรอานนท์ เธอเชื่อหรือ

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เชื่อ

        ดูกรอานนท์ เพราะฉะนั้นเรื่องนี้เป็นความผิดพลาดของเธอผู้เดียว เพราะว่า เมื่อ ตถาคตทำนิมิตอันหยาบ ทำโอภาสอันหยาบ อย่างนี้ เธอมิอาจรู้ทัน จึงมิได้ วิงวอน ตถาคตว่าขอพระผู้มีพระภาค จงทรงดำรงอยู่ตลอดกัป ขอพระสุคต จงทรง ดำรงอยู่ ตลอดกัป เพื่อประโยชน์ของชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขของชน เป็น อันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข ของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย

        ถ้าเธอวิงวอนตถาคต ตถาคตจะพึงห้ามวาจาเธอ เสียสอง ครั้งเท่านั้น ครั้น ครั้งที่สาม ตถาคตพึงรับ เพราะฉะนั้นแหละอานนท์ เรื่องนี้จึงเป็น ความผิดพลาด ของเธอผู้เดียว
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๐ หน้าที่ ๙๔



3)

ทางปลอดภัยและไม่ปลอดภัย
(ทรงอปุมาว่า ทางไม่ปลอดภัยคือ ทางของมารผู้มีบาป)

        [๒๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย มีหมู่เนื้อเป็นอันมาก พากันเข้าไปอาศัยบึงใหญ่ ในป่าดง อยู่ยังมีบุรุษคนหนึ่ง ปรารถนาความพินาศ ประสงค์ความไม่เกื้อกูล ใคร่ความไม่ปลอดภัย เกิดขึ้นแก่หมู่เนื้อนั้น เขาปิดทางที่ปลอดภัย สะดวก ไปได้ ตามชอบใจของหมู่เนื้อนั้นเสีย เปิดทางที่ไม่สะดวกไว้ วางเนื้อต่อตัวผู้ไว้ วางนางเนื้อต่อไว้

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเป็นเช่นนี้ โดยสมัยต่อมา หมู่เนื้อเป็นอันมาก ก็พากัน มาตาย เสีย จนเบาบาง ดูกรภิกษุทั้งหลาย แต่ยังมีบุรุษอีกคนหนึ่ง ปรารถนา ประโยชน์ ใคร่ความเกื้อกูล ใคร่ความปลอดภัย แก่หมู่เนื้อเป็นอันมากนั้นเขาเปิดทาง ที่ปลอดภัย สะดวก ไปได้ตามชอบใจ ให้แก่หมู่เนื้อนั้น ปิดทางที่ไม่สะดวกเสียกำจัด เนื้อต่อ เลิกนางเนื้อต่อ

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเป็นเช่นนี้ โดยสมัยต่อมา หมู่เนื้อเป็นอันมาก จึงถึง ความเจริญ คับคั่ง ล้นหลาม แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้ออุปมานี้ก็ฉันนั้นแล เราได้ทำขึ้นก็เพื่อจะให้พวกเธอรู้ความหมายของเนื้อความ ก็ในอุปมานั้น มีความหมาย ดังต่อไปนี้

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำว่า บึงใหญ่ นี้เป็นชื่อของกามคุณทั้งหลาย คำว่า หมู่เนื้อ เป็นอันมาก นี้เป็นชื่อของหมู่สัตว์ทั้งหลาย คำว่า บุรุษผู้ปรารถนาความ พินาศ ประสงค์ความไม่เกื้อกูล จำนงความไม่ปลอดภัย นี้เป็นชื่อของตัว มารผู้มีบาป

        คำว่า ทางที่ไม่สะดวกนี้เป็นชื่อของทางผิด อันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ คือ มิจฉาทิฏฐิ ๑ มิจฉาสังกัปปะ ๑ มิจฉาวาจา ๑ มิจฉากัมมันตะ ๑ มิจฉาอาชีวะ ๑ มิจฉาวายามะ ๑ มิจฉาสติ ๑ มิจฉาสมาธิ ๑

คำว่า เนื้อต่อตัวผู้ นี้เป็นชื่อของนันทิราคะ [ความกำหนัดด้วยความเพลิน]

คำว่า นางเนื้อต่อ นี้เป็นชื่อของอวิชชา

คำว่า บุรุษคนที่ปรารถนาประโยชน์ หวังความเกื้อกูล หวังความปลอดภัย [แก่เนื้อเหล่านั้น] นี้หมายเอาตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

        คำว่า ทางอันปลอดภัย สะดวก ไปได้ตามชอบใจ นี้เป็นชื่อของทางอันประกอบ ด้วยองค์ ๘ ประการ ซึ่งเป็นทางถูกที่แท้จริง คือสัมมาทิฏฐิ ๑ สัมมาสังกัปปะ ๑ สัมมาวาจา ๑ สัมมากัมมันตะ ๑ สัมมาอาชีวะ ๑ สัมมาวายามะ ๑ สัมมาสติ ๑ สัมมาสมาธิ ๑.

        [๒๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยอาการดังที่กล่าวมานี้แล เป็นอันว่าทาง อันปลอดภัย ซึ่งเป็นทางสวัสดี เป็นทางที่พวกเธอ ควรไปได้ด้วยความปลาบปลื้ม เราได้เผยให้แล้ว [และ] ปิดทางที่ไม่สะดวกให้ด้วย เนื้อต่อก็ได้กำจัดให้แล้ว ทั้งนางเนื้อต่อก็สังหารให้เสร็จ

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย กิจอันใดที่ศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล เอ็นดู อาศัย ความอนุเคราะห์ แก่เหล่าสาวกจะพึงทำ กิจอันนั้นเราทำแก่เธอทั้งหลายแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่างเปล่า เธอทั้งหลายจงเพ่งพินิจ อย่าประมาท อย่าได้เป็นผู้มีความเดือดร้อนในภายหลัง นี้เป็นคำพร่ำสอนของเรา แก่เธอทั้งหลาย.

     พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชมยินดีภาษิต ของพระผู้มีพระภาคแล้วแล.
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๒ หน้าที่ ๑๖๔



4)

สถานที่ซึ่งมารและบริวารของมารไปไม่ถึง
(ทรงอุปมาว่า ตา หู จมูก ลิ้น กาย ไจ คืออายตนะของมาร จงทำลายเสีย)

        [๓๑๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ที่ซึ่ง มารและบริวารของมาร ไปไม่ถึง เป็นอย่างไร?

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌานมีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุข เกิดแต่วิเวกอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลายนี้ เรากล่าวว่า ภิกษุได้ทำมารให้ตาบอด คือทำลายจักษุของมารให้ไม่เห็นร่องรอย ถึงความไม่เห็นของ มารผู้มีบาปธรรม.

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง คือ ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต ภายในเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตก วิจาร สงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและ สุขเกิดแต่สมาธิอยู่ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรากล่าวว่า ภิกษุได้ทำมารให้ตาบอด คือทำลายจักษุของมาร ให้ไม่เห็นร่องรอยถึงความไม่เห็นของ มารผู้มีบาปธรรม.

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง คือ ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะเสวยสุข ด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรากล่าวว่า ภิกษุได้ทำมารให้ตาบอด คือทำลายจักษ ของมาร ให้ไม่เห็นร่องรอยถึงความ ไม่เห็น ของมารผู้มีบาปธรรม.

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง คือ ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับ โสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติ บริสุทธิ์อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรากล่าวว่า ภิกษุได้ทำมารให้ตาบอด คือทำลาย จักษุของมารให้ไม่เห็นร่องรอย ถึงความไม่เห็นของมารผู้มีบาปธรรม.

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง คือ ภิกษุได้บรรลุ อากาสานัญจายตนฌาน ซึ่งมีบริกรรมว่า อากาศหาที่สุดมิได้อยู่ เพราะเพิกรูปสัญญาเสียทั้งสิ้น เพราะ ปฏิฆสัญญา ไม่ตั้งอยู่ เพราะไม่มี มนสิการ นานัตตสัญญาอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรากล่าวว่า ภิกษุได้ทำมารให้ตาบอด คือทำลายจักษุของมาร ให้ไม่เห็น ร่องรอย ถึงความไม่เห็นของมารผู้มีบาปธรรม.

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง คือ ภิกษุล่วงอากาสานัญจายตนฌาน โดย ประการทั้งปวงเสียแล้ว ได้บรรลุ วิญญาณัญจายตนฌาน ซึ่งมีบริกรรมว่า วิญญาณ หาที่สุดมิได้อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรากล่าวว่า ภิกษุได้ทำมารให้ตาบอด คือทำลายจักษุของมาร ให้ไม่เห็นร่องรอย ถึงความไม่เห็นของ มารผู้มีบาปธรรม.

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง คือภิกษุล่วงวิญญาณัญจายตนฌาน โดย ประการ ทั้งปวงเสียแล้ว ได้บรรลุ อากิญจัญญายตนฌาน ซึ่งมีบริกรรมว่า อะไร หน่อยหนึ่ง ไม่มีอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรากล่าวว่า ภิกษุได้ทำมารให้ตาบอด คือทำลายจักษุของมาร ให้ไม่เห็นร่องรอย ถึงความไม่เห็นของมารผู้มีบาปธรรม.

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง คือ ภิกษุล่วงอากิญจัญญายตนฌาน โดยประการ ทั้งปวงเสียแล้ว ได้บรรลุ เนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรากล่าวว่า ภิกษุได้ทำมารให้ตาบอด คือทำลายจักษุของ มาร ให้ไม่เห็นร่องรอย ถึงความไม่เห็นของมารผู้มีบาปธรรม.

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง คือภิกษุ ล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน โดยประการทั้งปวงเสียแล้ว ได้บรรลุ สัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ ก็และเพราะเห็นด้วย ปัญญา เธอย่อมมีอาสวะสิ้นไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรากล่าวว่า ภิกษุได้ทำมาร ให้ตาบอด คือทำลายจักษุของมาร ให้ไม่เห็นร่องรอย ถึงความไม่เห็นของมาร ผู้มีบาปธรรม เป็นผู้ข้ามพ้นตัณหา อันข้องอยู่ ในอารมณ์ต่างๆ ในโลกเสียได้.

     พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้จบลงแล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีความยินดีชื่นชม ภาษิต ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล.
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๒ หน้าที่ ๒๑๗



5)

อุปมา สมณพราหมณ์ กับฝูงเนื้อ
(ทรงอุปมาว่าในป่าใหญ่ มีมารที่เป็นสัตว์ดุร้าย ทางที่ปลอดภัยคือการทำสมาธิ ตั้งแต่ปฐมฌานจนถึงสัญญาเวทยิต จึงจะทำลายจักษุของมารไม่ให้มองเห็นได้)

        [๓๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนอย่างว่า เนื้อป่าที่ติดบ่วงนอนทับกองบ่วง พึงทราบว่า เป็นสัตว์ที่ถึงความเสื่อม ความพินาศ ถูกพรานกระทำได้ตามต้องการ เมื่อพรานเดินเข้ามาก็หนีไปไม่ได้ ตามปรารถนา ฉันใด สมณพราหมณ์พวกใด พวกหนึ่ง ใฝ่ฝัน ลุ่มหลง ติดพันไม่เห็นโทษ ไม่มีปัญญาที่จะคิดนำตนออก ย่อมบริโภค กามคุณ ๕ เหล่านี้ สมณพราหมณ์พวกนั้น.

        บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นผู้ถึงความเสื่อมความพินาศ ถูกมารผู้ใจบาปกระทำได้ ตามต้องการ ฉันนั้นสมณพราหมณ์พวกใด พวกหนึ่งไม่ใฝ่ฝัน ไม่ลุ่มหลง ไม่ติดพัน เห็นโทษ มีปัญญาที่จะคิดนำตนออก ย่อมบริโภคกามคุณ ๕ เหล่านี้ สมณพราหมณ์ พวกนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นผู้ไม่ถึงความเสื่อมความพินาศ ไม่ถูกมารผู้ใจบาป กระทำ ได้ตามต้องการ.

        เหมือนอย่างว่า เนื้อป่าที่ไม่ติดบ่วง นอนทับกองบ่วง พึงทราบว่า เป็นสัตว์ไม่ถึง ความเสื่อมความพินาศ ไม่ถูกพราน กระทำได้ตามต้องการ เมื่อพรานเดินเข้ามา ก็หนีไปตามปรารถนา ฉันใด สมณพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ไม่ใฝ่ฝัน ไม่ลุ่มหลง ไม่ติดพัน เห็นโทษ มีปัญญาที่จะคิดนำตนออก ย่อมบริโภคกามคุณ ๕ เหล่านี้ สมณพราหมณ์พวกนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นผู้ไม่ถึงความเสื่อมความพินาศ ไม่ถูกมารผู้ใจบาปกระทำได้ตามต้องการฉันนั้น.

     อนึ่ง เหมือนอย่างว่า เนื้อป่า เมื่อเที่ยวไปตามป่าใหญ่ ย่อมวางใจ เดิน ยืน นั่ง นอนเพราะไม่ได้ประสบพรานป่า ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น สงัดจากกาม จากอกุศลธรรม ย่อมบรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ภิกษุนี้เรียกว่า ได้ทำมารให้ตาบอด คือทำลายจักษุของมารไม่ให้เห็นร่องรอย ถึงความไม่เห็น ของมารผู้มีบาปธรรม.

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง คือ ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่ง จิตใน ภายในเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ภิกษุนี้เรียกว่า ได้กระทำมารให้ตาบอด คือทำลาย จักษุของมารไม่ให้เห็นร่องรอย ถึงความไม่เห็นของมารผู้มีบาปธรรม.

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะเสวยสุข ด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข ภิกษุนี้เรียกว่า ได้ทำมาร ให้ตาบอด คือ ทำลายจักษุของมารไม่ให้เห็นร่องรอย ถึงความไม่เห็นของ มารผู้มีบาปธรรม.

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง คือ ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติ บริสุทธิ์อยู่ ภิกษุนี้เรียกว่าได้ทำมารให้ตาบอด คือ ทำลายจักษุของมาร ไม่ให้เห็น ร่องรอย ถึงความไม่เห็นของมารผู้มีบาปธรรม.

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง คือ ภิกษุได้บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน ซึ่งมีบริกรรมว่าอากาศหาที่สุดมิได้ เพราะก้าวล่วง รูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่มนสิการนานัตตสัญญา โดยประการทั้งปวงอยู่ ภิกษุนี้เรียกว่า ได้ทำมาร ให้ตาบอด คือ ทำลายจักษุของมารไม่ให้เห็นร่องรอย ถึงความไม่เห็นของมารผู้มีบาปธรรม.

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง คือ ภิกษุล่วงอากาสานัญจายตนฌาน เสีย โดยประการทั้งปวง ได้บรรลุ วิญญาณัญจายตนฌาน ซึ่งมีบริกรรมว่า วิญญาณหา ที่สุดมิได้อยู่ ภิกษุนี้เรียกว่าได้ทำมารให้ตาบอด คือ ทำลายจักษุของมาร ไม่ให้เห็น ร่องรอย ถึงความไม่เห็นของมารผู้มีบาปธรรม.

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง คือ ภิกษุล่วงวิญญาณัญจายตนฌานเสีย โดย ประการทั้งปวง ได้บรรลุ อากิญจัญญายตนฌาน ซึ่งมีบริกรรมว่า อะไรหน่อยหนึ่ง ไม่มีอยู่ ภิกษุนี้เรียกว่าได้ทำมารให้ตาบอด คือ ทำลายจักษุของมาร ไม่ให้เห็น ร่องรอย ถึงความไม่เห็นของมารผู้มีบาปธรรม.

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง คือ ภิกษุล่วงอากิญจัญญายตนฌานเสีย โดย ประการทั้งปวง ได้บรรลุ เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน อยู่ ภิกษุนี้ เรียกว่า ได้ทำมารให้ตาบอด คือ ทำลายจักษุของมาร ไม่ให้เห็นร่องรอย ถึงความไม่เห็น ของมาร ผู้มีบาปธรรม.

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง คือ ภิกษุล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เสียโดยประการทั้งปวง ได้บรรลุ สัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ ก็แลเพราะเห็นด้วย ปัญญา เธอย่อมมีอาสวะสิ้นไป ภิกษุนี้เรียกว่า ได้ทำมารให้ตาบอด คือ ทำลายจักษุของมาร ไม่ให้เห็นร่องรอย ถึงความไม่เห็นของมารผู้มีบาปธรรม เป็นผู้ข้ามพ้นตัณหา อันข้อง อยู่ในอารมณ์ต่างๆ ในโลกเสียได้ ย่อมวางใจ เดิน ยืน นั่ง นอน เพราะไม่ได้ประสบ มารผู้มีบาปธรรม.

     พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้จบลงแล้ว ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชมยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค แล้วแล.
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๒ หน้าที่ ๒๓๑



6)

การพิจารณาเห็นความเกิด ความดับของรูป เวทนา... เป็นสถานที่มารไม่อาจหยั่งลงได้


        [๓๕๐]  ดูกรอานนท์  อุปาทานขันธ์ทั้ง  ๕  นี้แล  ซึ่งเป็นที่ที่ภิกษุพึงเป็นผู้พิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับอยู่ว่า
อย่างนี้รูป  อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งรูป อย่างนี้ความดับแห่งรูป อย่างนี้เวทนา อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา  อย่างนี้ความดับแห่งเวทนา อย่างนี้สัญญา
อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งสัญญา อย่างนี้ความดับแห่งสัญญา อย่างนี้สังขาร 
อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร อย่างนี้ความดับแห่งสังขาร อย่างนี้วิญญาณ 
อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ อย่างนี้ความดับแห่งวิญญาณ 

        เธอผู้พิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับในอุปาทานขันธ์ ๕ นี้อยู่ย่อมละ อัสมิมานะในอุปาทานขันธ์ ๕ ได้ เมื่อเป็นเช่นนั้น  ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่าเรา ละอัสมิมานะ ในอุปาทานขันธ์ ๕ ของเราได้แล้ว ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอ  รู้สึกตัว ในเรื่องอุปาทานขันธ์ ๕ 

        ดูกรอานนท์ ธรรมนั้นๆ เหล่านี้แล เนื่องมาแต่กุศลส่วนเดียว ไกลจากข้าศึก  เป็นโลกุตระ อันมารผู้มีบาป หยั่งลงไม่ได้  ดูกรอานนท์  เธอจะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน สาวกมองเห็นอำนาจประโยชน์อะไร จึงควรใกล้ชิดติดตามศาสดา ฯ

        ท่านพระอานนท์ทูลว่า  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  ธรรมทั้งหลายของพวก ข้าพระองค์  มีพระผู้มีพระภาคเป็นเหตุ  มีพระผู้มีพระภาคเป็นแบบอย่าง มีพระผู้มี พระภาคเป็นที่พึงอาศัย ขอได้โปรดเถิดพระพุทธเจ้าข้า เนื้อความแห่งพระภาษิตนี้ แจ่มแจ้งเฉพาะ พระผู้มีพระภาค เท่านั้น ภิกษุทั้งหลายฟังต่อพระผู้มีพระภา แล้ว จักทรงจำไว้ 
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๑๘๙



7)

ตบะอื่นไม่ประกอบด้วยประโยชน์ แต่การเจริญมรรคคือ ความบริสุทธิ์อันยอดเยี่ยม (ตโปกรรมสูตรที่ ๑)

        [๔๑๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ตรัสรู้ใหม่ๆ ประทับอยู่ที่ต้นไม้อชปาล นิโครธ ใกล้ฝั่ง แม่น้ำ เนรัญชรา ณ ตำบลอุรุเวลา ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงประทับ พักผ่อน อยู่ในที่ลับ ได้เกิดความปริวิตกแห่งพระทัยอย่างนี้ว่า โอ เราเป็นผู้พ้นจาก ทุกกรกิริยา นั้นแล้ว โอ สาธุเราเป็นผู้พ้นแล้วจากทุกกรกิริยา อันไม่ประกอบด้วย ประโยชน์นั้น โอ สาธุ เราเป็นสัตว์ ที่บรรลุ โพธิญาณแล้ว

        [๔๑๗] ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาป ได้ทราบความปริวิตกแห่ง พระทัยของ พระผู้มีพระภาคด้วยจิต จึงเข้าไป เฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ แล้วได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า มาณพทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยการบำเพ็ญตบะใด ท่านหลีกจากตบะนั้นเสียแล้ว เป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ มาสำคัญตนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ ท่านพลาด จากมรรคาแห่งความบริสุทธิ์ เสียแล้ว

        [๔๑๘] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า นี่ มารผู้มีบาป จึงได้ ตรัสกะ มารผู้มีบาป ด้วยพระคาถาว่า เรารู้แล้วว่า ตบะอื่นๆ อย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ประกอบด้วย ประโยชน์ ตบะทั้งหมด หาอำนวยประโยชน์ให้ไม่ ดุจไม้แจว หรือ ไม้ถ่อ ไม่อำนวย ประโยชน์ บนบก ฉะนั้น (เรา) จึงเจริญมรรค คือ ศีล สมาธิ และ ปัญญา เพื่อความ ตรัสรู้ เป็นผู้บรรลุ ความ บริสุทธิ์ อย่างยอดเยี่ยมแล้ว ดูกรมาร ผู้กระทำซึ่งที่สุด ตัวท่านเป็นผู้ที่เรากำจัด เสียได้แล้ว

        ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาป เป็นทุกข์เสียใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงรู้จักเรา 
พระสุคตทรง รู้จักเรา ดังนี้ จึงได้อันตรธานไป ในที่นั้นเอง
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๑๒๗



8)

มารแปลงกายเป็นพระยาช้างใหญ่ เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า
(นาคสูตรที่ ๒)


        [๔๑๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ตรัสรู้แล้วใหม่ๆ ประทับอยู่ที่ต้นไม้ อชปาลนิโครธ ใกล้ฝั่งแม่น้ำ เนรัญชรา ณ อุรุเวลาประเทศ ก็โดยสมัยนั้นแล  พระผู้มีพระภาค ประทับนั่งในที่กลางแจ้ง ในราตรีอันมืดทึบ และฝนกำลังตกประปรายอยู่

        [๔๒๐] ครั้งนั้นแล มารผู้บาป ใคร่จะให้เกิดความกลัว ความครั่นคร้าม ขนลุกขนพอง แด่พระผู้มีพระภาค จึงเนรมิตเพศ เป็นพระยาช้างใหญ่ เข้าไปใกล้  พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ พระยาช้างนั้นมีศีรษะ เหมือนกับก้อนหินใหญ่สีดำ งาทั้งสองของมัน เหมือนเงินบริสุทธิ์ งวงเหมือนงอนไถใหญ่

        [๔๒๑] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า นี่ มารผู้มีบาป ดังนี้แล้ว ได้ ตรัสกะ มารผู้มีบาป ด้วยพระคาถา ว่าท่านจำแลงเพศทั้งที่งาม และไม่งาม ท่องเที่ยวอยู่ ตลอดกาล อันยืดยาวนาน มารผู้มีบาปเอ๋ย ไม่พอที่ท่านจะทำการ จำแลงเพศ นั้นเลย ดูกรมารผู้กระทำซึ่งที่สุด ตัวท่านเป็นผู้ที่เรากำจัดเสียได้แล้ว

     ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาป เป็นทุกข์เสียใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงรู้จักเรา พระสุคตทรงรู้จักเรา ดังนี้ จึงได้อันตรธานไปในที่นั้นเอง

        [๔๒๓] ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาป ใคร่จะให้เกิดความกลัว ความครั่นคร้าม ขนลุก ขนพอง แด่พระผู้มีพระภาค จึงเข้าไปใกล้ พระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ แล้วแสดง เพศต่างๆ หลากหลาย ทั้งที่งามทั้งที่ไม่งาม ในที่ไม่ไกลแต่พระผู้มี พระภาค

        [๔๒๔] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า นี่มารผู้มีบาป ดังนี้  จึงตรัส กะ มารผู้มีบาป ด้วยพระคาถาทั้งหลายว่า ท่านจำแลงเพศทั้งที่งามทั้งที่ไม่งาม ท่องเที่ยวอยู่ตลอด กาลอันยืดยาวนาน มารผู้มีบาป เอ๋ย ไม่พอที่ท่านจะทำการ จำแลงเพศ นั้นเลย

        ดูกรมาร ผู้กระทำซึ่งที่สุด ตัวท่านเป็นผู้ที่เรากำจัดเสียได้แล้ว ฯ และชน เหล่าใดสำรวมดีแล้ว ด้วยกาย ด้วยวาจา และด้วยใจ ชนเหล่านั้น ย่อมไม่เป็นผู้ตก อยู่ในอำนาจของมารชน เหล่านั้น ย่อมไม่เป็นผู้เดินตามหลัง

        ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาป เป็นทุกข์เสียใจว่า พระผู้มีพระภาค ทรงรู้จักเรา พระสุคต ทรงรู้จักเรา จึงได้อันตรธานไปในที่นั้นเอง
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๕



9)

ทรงตรัสกับมารว่า เราเป็นผู้พ้นแล้วจากบ่วง ของมาร (ปฐมปาสสูตรที่ ๔)

        [๔๒๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ป่า อิสิปตนมฤคทายวัน เขตพระนคร พาราณสี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฯ ภิกษุเหล่านั้น ได้ทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว

     พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความหลุดพ้นอย่างยอดเยี่ยม เราบรรลุ แล้วความหลุดพ้นอย่าง ยอดเยี่ยม เรากระทำให้แจ้งแล้ว เพราะการ กระทำไว้ในใจ โดยแยบคาย เพราะการตั้งความเพียรไว้ชอบ โดยแยบคาย 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้เธอทั้งหลาย ก็จงบรรลุซึ่งความหลุดพ้น อย่างยอดเยี่ยม จง กระทำให้แจ้งซึ่งความหลุดพ้น อย่างยอดเยี่ยม เพราะการกระทำไว้ในใจโดย แยบคาย เพราะการตั้งความเพียรไว้ชอบ โดยแยบคาย เถิดฯ

        [๔๒๖] ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาป ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ   แล้วได้ทูล พระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า ท่านเป็นผู้ที่ถูกเราผูกไว้แล้ว ด้วยบ่วง ของมาร ทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์ ท่านเป็นผู้ที่ถูกเราผูกไว้แล้ว ด้วย เครื่องผูกของมาร ดูกรสมณะ ท่านจักไม่หลุดพ้นจากวิสัยของเราไปได้

        [๔๒๗] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า นี่ มารผู้มีบาป จึงได้  ตรัสกะ มารผู้มีบาป ด้วยพระคาถาว่า เราเป็น ผู้พ้นแล้ว จากบ่วงของมาร ทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์ เราเป็นผู้พ้นแล้ว จากเครื่องผูกของมาร

ดูกรมาร ผู้กระทำซึ่งความพินาศ ท่านเป็นผู้ที่เรากำจัดเสียได้แล้ว

        ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาป เป็นทุกข์เสียใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงรู้จักเรา พระสุคต ทรงรู้จักเรา ดังนี้ จึงได้อันตรธานไปในที่นั้นเอง
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๑๒๙

 






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์