เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ                    

  ปฏิบัติ สมถะวิปัสสนา   ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  03 of 5  
  ปฏิบัติ สมถะวิปัสสนา  ที่มา : http://watnapp.com/book  
  หน้า    
  97 ต้องละฉันทราคะในขันธ์ ๕ 237  
  98 วิญญาณไม่เที่ยง 238  
  99 ลักษณะความเป็นอนัตตา 241  
  100 ขันธ์ ๕ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา 243  
  101 ความเกิดขึ้น และความดับไปของขันธ์ ๕ 247  
  102 ขันธ์ ๕ คือ มาร (นัยที่ ๑) 251  
  103 ขันธ์ ๕ คือ มาร (นัยที่ ๒) 252  
  104 รอบรู้ซึ่งสักกายะ 254  
  105 เหตุเกิดแห่งสักกายทิฏฐิ 256  
  106 สิ่งที่ยึดถือ (นัยที่ ๑) 258  
  107 สิ่งที่ยึดถือ (นัยที่ ๒) 259  
  108 ความหมายของอวิชชา-วิชชา (นัยที่ ๑) 262  
  109 ความหมายของอวิชชา-วิชชา (นัยที่ ๒) 264  
  110 ความหมายของอวิชชา-วิชชา (นัยที่ ๓) 266  
  ข้อแนะนำในการปรารภความเพียร 269  
  111 ความเพียรสามารถทำได้ในทุกอิริยาบถ 270  
  112 ลักษณะของผู้เกียจคร้าน 272
  113 ที่ตั้งแห่งความเกียจคร้าน 274  
  114 ที่ตั้งแห่งการปรารภความเพียร 277  
  115 เพียรละอกุศลแข่งกับความตาย 281  
  116 ทำความเพียรแข่งกับอนาคตภัย (นัยที่ ๑) 284  
  117 ทำความเพียรแข่งกับอนาคตภัย (นัยที่ ๒) 289  
  118 สมัยที่ไม่สมควร และที่สมควรกระทำความเพียร 294  
  119 ทำอย่างไร ความเพียรพยายามจึงมีผล 297  
  120 สิ่งที่ควรเสพ-ไม่ควรเสพ 300  
  121 หลักการเลือกสถานที่และบุคคล ที่ควรเสพ และไม่ควรเสพ 303  
  122 เครื่องผูกพันจิต ๕ อย่าง 309  
  123 อุปกิเลสแห่งจิต 316  
  124 มนสิการโดยไม่แยบคาย นิวรณ์ ๕ ย่อมเกิด 319  
  125 เจริญสมาธิให้ได้ อย่างน้อยวันละ ๓ ครั้ง 320  
  126 ลักษณะของผู้ที่ง่ายต่อการเข้าสมาธิ 322  
  127 เจริญสมาธิแม้เพียงชั่วลัดนิ้วมือ ชื่อว่าไม่เหินห่างจากฌาน 323  
  128 ธรรมเป็นอุปการะเฉพาะแก่ อานาปานสติภาวนา (นัยที่ ๑) 324  
  129 ธรรมเป็นอุปการะเฉพาะแก่ อานาปานสติภาวนา (นัยที่ ๒) 325  
  130 ธรรมเป็นอุปการะเฉพาะแก่อานาปานสติภาวนา (นัยที่ ๓) 327  
  131 ผู้ตามประกอบในธรรมเป็นเครื่องตื่น 328  
  132 ต้องปรารภความเพียรแต่พอดี 329  
  133 ความหมายของทางสายกลาง (นัยที่ ๑) 331  
  134 ความหมายของทางสายกลาง (นัยที่ ๒) 332
  135 ความหมายของทางสายกลาง (นัยที่ ๓) 335  
  136 อานิสงส์ของกายคตาสติ (นัยที่ ๑) 337  
  137 อานิสงส์ของกายคตาสติ (นัยที่ ๒) 341  
  138 ลักษณะของผู้ตั้งจิตในกายคตาสติ 347  
  139 ลักษณะของผู้ไม่ตั้งจิตในกายคตาสติ 349  
  140 ให้ตั้งจิตในกายคตาสติเสมือนบุรุษผู้ถือภาชนะน้ำมัน 351  
     
 
 






97 ต้องละฉันทราคะในขันธ์ ๕
-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๑๗-๒๑๙/๓๓๗-๓๔๑.

ภิกษุทั้งหลาย.สิ่งใดไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละ ฉันทราคะ ในสิ่งนั้นเสีย ก็อะไรเป็นสิ่ง ที่ไม่เที่ยง รูปเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง เวทนาเป็นสิ่ง ที่ไม่เที่ยง สัญญาเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง สังขารเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง วิญญาณเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง
ภิกษุทั้งหลาย.สิ่งใดที่ไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละ ฉันทราคะ ในสิ่งนั้นแหละ

ภิกษุทั้งหลาย.สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะ ในสิ่งนั้นเสีย ก็อะไรเป็น สิ่งที่เป็นทุกข์ รูปเป็นสิ่งที่เป็นทุกข เวทนาเป็นสิ่งที่เป็นทุกข์ สัญญาเป็นสิ่ง ที่เป็น ทุกข์ สังขารเป็นสิ่งที่เป็นทุกข์ วิญญาณเป็นสิ่งที่เป็นทุกข์ ภิกษุทั้งหลาย.สิ่งใดที่เป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะในสิ่งนั้นแหละ

ภิกษุทั้งหลาย.สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะในสิ่งนั้นเสีย ก็อะไรเป็น สิ่งที่เป็นอนัตตา รูปเป็นสิ่งที่เป็นอนัตตา เวทนา เป็นสิ่งที่เป็นอนัตตา สัญญาเป็นสิ่งที่ เป็นอนัตตา สังขารเป็นสิ่งที่เป็นอนัตตา วิญญาณเป็นสิ่งที่เป็นอนัตตา ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่เป็น อนัตตา เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะในสิ่งนั้นแหละ.


98 วิญญาณไม่เที่ยง
-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๘๕-๘๗/๑๒๔-๑๒๗.

ภิกษุทั้งหลาย.วิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยส่วนสอง วิญญาณเกิดขึ้นเพราะ อาศัยส่วน สอง เป็นอย่างไร

ภิกษุทั้งหลาย.จักษุวิญญาณเกิดขึ้น เพราะอาศัยจักษุและรูป.
จักษุไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น
รูปไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเปลี่ยนเป็น อย่างอื่น ส่วนสองอย่างนี้ หวั่นไหวและอาพาธ ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น จักษุวิญญาณไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งจักษุวิญญาณก็ไม่เที่ยง มีความ แปรปรวน มีความเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น.

ภิกษุทั้งหลาย. ก็จักษุวิญญาณที่เกิดขึ้นแล้ว เพราะอาศัยปัจจัยอันไม่เที่ยง จักเป็นของ เที่ยงได้อย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย.ความประจวบ ความประชุม ความพร้อมกันแห่งธรรมทั้ง ๓ ประการนี้ แลเรียกว่า จักษุสัมผัส ถึงจักษุสัมผัสก็ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเปลี่ยนเป็น อย่างอื่น แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งจักษุสัมผัสก็ไม่เที่ยง มีความ แปรปรวน มีความเปลี่ยน เป็นอย่างอื่น

ภิกษุทั้งหลาย.ก็จักษุสัมผัสที่เกิดขึ้นแล้ว เพราะอาศัย ปัจจัยอันไม่เที่ยง จักเป็นของเที่ยงได้อย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย.บุคคลอันผัสสะกระทบแล้วย่อมรู้สึก อันผัสสะกระทบแล้วย่อมคิด อัน ผัสสะกระทบแล้วย่อมจำได้ หมายรู้ แม้ธรรมเหล่านี้ ก็หวั่นไหวและอาพาธ ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น (ในกรณีแห่งโสตวิญญาณ ก็ดี, ฆาน วิญญาณก็ดี, ชิวหา วิญญาณ ก็ดี, กายวิญญาณก็ดี, ก็มีนัยอย่างเดียวกัน).

ภิกษุทั้งหลาย.มโนวิญญาณเกิดขึ้น เพราะอาศัยใจและธรรม ใจไม่เที่ยง มีความแปร ปรวน มีความเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น ธรรมทั้งหลาย ก็ไม่ เที่ยง มีความแปรปรวน มีความ เปลี่ยนเป็นอย่างอื่น ส่วนสองอย่างนี้ หวั่นไหวและอาพาธ ไม่เที่ยง มีความ แปรปรวน มีความเปลี่ยนเป็น อย่างอื่น มโนวิญญาณไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเปลี่ยน เป็นอย่างอื่น แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งมโนวิญญาณ ก็ไม่เที่ยง มีความแปร ปรวน มีความเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น

ภิกษุทั้งหลาย.มโนวิญญาณที่เกิดขึ้นแล้ว เพราะอาศัยปัจจัยอันไม่เที่ยง จักเป็นของ เที่ยงได้อย่างไร ภิกษุทั้งหลาย.ความประจวบ ความประชุม ความพร้อมกันแห่งธรรม ๓ ประการนี้แลเรียกว่า มโนสัมผัส แม้มโนสัมผัสก็ไม่เที่ยง มีความแปร ปรวน มีความ เปลี่ยนเป็น อย่างอื่น แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งมโนสัมผัส ก็ไม่เที่ยง มีความ แปรปรวน มีความเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น ภิกษุทั้งหลาย. ก็มโน สัมผัส ที่เกิดขึ้นแล้ว เพราะอาศัยปัจจัยอันไม่เที่ยง จักเป็นของเที่ยงแต่ไหน

ภิกษุทั้งหลาย.บุคคลอันผัสสะกระทบแล้วย่อมรู้สึก อันผัสสะกระทบแล้วย่อมคิด อัน ผัสสะกระทบแล้วย่อมจำได้ หมายรู้ แม้ธรรมเหล่านี้ ก็หวั่นไหวและอาพาธ ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น.

99 ลักษณะความเป็นอนัตตา
-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๘๒-๘๔/๑๒๗-๑๒๙.

ภิกษุทั้งหลาย.รูปเป็นอนัตตา ก็หากว่ารูปนี้จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ รูปก็คงไม่เป็นไป เพื่ออาพาธ ทั้งสัตว์ย่อมจะได้ ตามความปรารถนาในรูป ว่าขอรูปของเรา จงเป็นอย่าง นี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย แต่เพราะเหตุที่รูปเป็นอนัตตา ดังนั้น รูปจึงเป็นไปเพื่อ อาพาธ และสัตว์ย่อมไม่ได้ตามความปรารถนา ในรูปว่า ขอรูปของเรา จงเป็นอย่างนี้ เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย

ภิกษุทั้งหลาย.เวทนาเป็นอนัตตา ก็หากเวทนานี้ จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ เวทนาก็คงไม่ เป็นไปเพื่ออาพาธ ทั้งสัตว์ย่อมจะได้ตามความ ปรารถนาในเวทนาว่า ขอเวทนาของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย แต่เพราะเหตุที่เวทนา เป็น อนัตตา ดังนั้น เวทนา จึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และสัตว์ย่อมไม่ได้ตามความปรารถนาในเวทนาว่า ขอเวทนาของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

ภิกษุทั้งหลาย.สัญญาเป็นอนัตตา ก็หากสัญญานี้ จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ สัญญาก็คงไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ ทั้งสัตว์ย่อมจะได้ตามความ ปรารถนา ในสัญญาว่า ขอสัญญาของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย แต่เพราะเหตุที่สัญญา เป็นอนัตตา ดังนั้น สัญญา จึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และสัตว์ย่อมไม่ได้ตามความปรารถนาในสัญญาว่า ขอสัญญาของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

ภิกษุทั้งหลาย.สังขารเป็นอนัตตา ก็หากสังขารนี้ จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ สังขารก็คงไม่ เป็นไปเพื่ออาพาธ ทั้งสัตว์ย่อมจะได้ตามความ ปรารถนาในสังขารว่า ขอสังขารของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย แต่เพราะเหตุที่สังขาร เป็นอนัตตา ดังนั้น สังขารจึง เป็นไปเพื่ออาพาธ และสัตว์ย่อมไม่ได้ตามความปรารถนาในสังขารว่า ขอสังขารของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

ภิกษุทั้งหลาย.วิญญาณเป็นอนัตตา ก็หากวิญญาณนี้จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ วิญญาณก็ คง ไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ ทั้งสัตว์ย่อมจะได้ตาม ความปรารถนาในวิญญาณว่า ขอวิญญาณของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย แต่เพราะเหตุ ที่ วิญญาณเป็นอนัตตา ดังนั้น วิญญาณจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และสัตว์ย่อม ไม่ได้ตาม ความปรารถนาในวิญญาณว่า ขอวิญญาณของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่าง นั้นเลย.


100 ขันธ์ ๕ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๘-๓๐/๔๒,๔๕-๔๗.

ภิกษุทั้งหลาย.รูปไม่เที่ยง แม้เหตุปัจจัยที่ให้รูป
เกิดขึ้น ก็ไม่เที่ยง รูปที่เกิดจากสิ่งที่ไม่เที่ยง จะเป็นของเที่ยงได้อย่างไร

เวทนาไม่เที่ยง แม้เหตุปัจจัยที่ให้เวทนาเกิดขึ้น
ก็ไม่เที่ยง เวทนาที่เกิดจากสิ่งที่ไม่เที่ยง จะเป็นของเที่ยงได้อย่างไร

สัญญาไม่เที่ยง แม้เหตุปัจจัยที่ให้สัญญาเกิดขึ้น
ก็ไม่เที่ยง สัญญาที่เกิดจากสิ่งที่ไม่เที่ยง จะเป็นของเที่ยงได้อย่างไร

สังขารไม่เที่ยง แม้เหตุปัจจัยที่ให้สังขารเกิดขึ้น
ก็ไม่เที่ยง สังขารที่เกิดจากสิ่งที่ไม่เที่ยง จะเป็นของเที่ยงได้อย่างไร

วิญญาณไม่เที่ยง แม้เหตุปัจจัยที่ให้วิญญาณเกิดขึ้น
ก็ไม่เที่ยง วิญญาณที่เกิดจากสิ่งไม่เที่ยง จะเป็นของเที่ยงได้อย่างไร
........................................................................................
ภิกษุทั้งหลาย.รูปเป็นทุกข์ แม้เหตุปัจจัยที่ให้รูป
เกิดขึ้น ก็เป็นทุกข์ รูปที่เกิดจากสิ่งที่เป็นทุกข์ จะเป็นสุขได้อย่างไร

เวทนาเป็นทุกข์ แม้เหตุปัจจัยที่ให้เวทนาเกิดขึ้น
ก็เป็นทุกข์ เวทนาที่เกิดจากสิ่งที่เป็นทุกข์ จะเป็นสุขได้อย่างไร

สัญญาเป็นทุกข์ แม้เหตุปัจจัยที่ให้สัญญาเกิดขึ้น
ก็เป็นทุกข์ สัญญาที่เกิดจากสิ่งที่เป็นทุกข์ จะเป็นสุขได้อย่างไร

สังขารเป็นทุกข์ แม้เหตุปัจจัยที่ให้สังขารเกิดขึ้น
ก็เป็นทุกข์ สังขารที่เกิดจากสิ่งที่เป็นทุกข์ จะเป็นสุขได้อย่างไร

วิญญาณเป็นทุกข์ แม้เหตุปัจจัยที่ให้วิญญาณเกิดขึ้น
ก็เป็นทุกข์ วิญญาณที่เกิดจากสิ่งที่เป็นทุกข์ จะเป็นสุขได้อย่างไร
........................................................................................
ภิกษุทั้งหลาย.รูปเป็นอนัตตา แม้เหตุปัจจัยที่ให้รูปเกิดขึ้น ก็เป็นอนัตตา รูปที่เกิดจากสิ่งที่เป็นอนัตตา จะเป็นอัตตาได้อย่างไร

เวทนาเป็นอนัตตา แม้เหตุปัจจัยที่ให้เวทนาเกิดขึ้น
ก็เป็นอนัตตา เวทนาที่เกิดจากสิ่งที่เป็นอนัตตา จะเป็นอัตตาได้อย่างไร

สัญญาเป็นอนัตตา แม้เหตุปัจจัยที่ให้สัญญาเกิดขึ้น
ก็เป็นอนัตตา สัญญาที่เกิดจากสิ่งที่เป็นอนัตตา จะเป็นอัตตาได้อย่างไร

สังขารเป็นอนัตตา แม้เหตุปัจจัยที่ให้สังขารเกิดขึ้น
ก็เป็นอนัตตา สังขารที่เกิดจากสิ่งที่เป็นอนัตตา จะเป็นอัตตาได้อย่างไร

วิญญาณเป็นอนัตตา แม้เหตุปัจจัยที่ให้วิญญาณ
เกิดขึ้น ก็เป็นอนัตตา วิญญาณที่เกิดจากสิ่งที่เป็นอนัตตา จะเป็นอัตตาได้อย่างไร
........................................................................................
ภิกษุทั้งหลาย. รูปไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็น อนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้อริยสาวก พึงเห็นด้วย ปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง อย่างนี้

เวทนาไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใด เป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ ของเราไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้อริยสาวก พึงเห็นด้วย ปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้

สัญญาไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใด เป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใด เป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้อริยสาวกพึง เห็นด้วยปัญญา อันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้

สังขารไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใด เป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใด เป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้อริยสาวก พึงเห็นด้วยปัญญา อันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้

วิญญาณไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้อริยสาวก พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้

อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในรูป แม้ในเวทนา แม้ใน สัญญา แม้ในสังขาร แม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลาย กำหนัดจึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ ว่าหลุดพ้นแล้ว อริยสาวก นั้น ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นที่ต้อง ทำเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.


101 ความเกิดขึ้น และความดับไปของขันธ์ ๕
-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๘-๒๐/๒๘-๒๙.

ภิกษุทั้งหลาย.ก็อะไรเป็นความเกิดขึ้นแห่งรูป อะไรเป็นความเกิดขึ้นแห่งเวทนา อะไร เป็นความเกิดขึ้นแห่ง สัญญา อะไรเป็นความเกิดขึ้น แห่งสังขาร อะไรเป็นความเกิดขึ้น แห่งวิญญาณ.

ภิกษุทั้งหลาย. บุคคลบางคนในกรณีนี้ ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำถึง ย่อมดื่มด่ำอยู่ ก็บุคคลย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำถึง ย่อมดื่มด่ำอยู่ ซึ่งอะไร เขาย่อมเพลิดเพลิน ย่อม พร่ำถึง ย่อมดื่มด่ำ อยู่ซึ่งรูป เมื่อเพลิดเพลิน พร่ำถึง ดื่มด่ำ อยู่ซึ่งรูป ความยินดี ก็เกิด ขึ้น ความยินดี ใดในรูป ความยินดีนั้นเป็นอุปาทาน เพราะอุปาทานของเขานั้นเป็น ปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริ เทวะทุกขะ โทมนัสอุปายาสะทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกอง ทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการ อย่างนี้

เขาย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำถึง ย่อมดื่มด่ำ อยู่ซึ่งเวทนา เมื่อเพลิดเพลิน พร่ำถึง ดื่มด่ำอยู่ซึ่งเวทนา ความยินดีก็เกิดขึ้น ความยินดีใดใน เวทนา ความยินดีนั้นเป็น อุปาทาน … ความเกิดขึ้น พร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ เขา ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำถึง ย่อมดื่มด่ำอยู่ซึ่งสัญญา เมื่อเพลิดเพลิน พร่ำถึงดื่มด่ำ อยู่ซึ่งสัญญา ความยินดีก็เกิดขึ้น ความยินดีใด ในสัญญา ความยินดีนั้นเป็น อุปาทาน … ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

เขาย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำ.ถึง ย่อมดื่มด่ำอยู่ซึ่ง สังขาร เมื่อเพลิดเพลิน พร่ำถึง ดื่มด่ำอยู่ซึ่งสังขาร ความยินดีก็เกิดขึ้น ความยินดีใด ในสังขาร ความยินดีนั้นเป็น อุปาทาน …ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการ อย่างนี้

เขาย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำถึง ย่อมดื่มด่ำ อยู่ซึ่งวิญญาณ เมื่อเพลิดเพลิน พร่ำถึง ดื่มด่ำอยู่ซึ่งวิญญาณ ความยินดีย่อมเกิดขึ้น ความ ยินดีใดในวิญญาณ ความยินดีนั้น เป็นอุปาทาน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วย อาการอย่างนี้

ภิกษุทั้งหลาย.นี้เป็นความเกิดแห่งรูป ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา ความเกิดขึ้นแห่งสัญญา ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร และความเกิดขึ้นแห่ง วิญญาณ ภิกษุทั้งหลาย. ก็อะไรเป็น ความดับแห่งรูป อะไรเป็นความดับแห่งเวทนา อะไรเป็นความดับแห่งสัญญา อะไรเป็น ความดับแห่ง สังขาร อะไรเป็นความดับแห่งวิญญาณ.

ภิกษุทั้งหลาย.บุคคลบางคนในกรณีนี้ ย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำถึง ย่อมไม่ดื่มด่ำ อยู่ ก็บุคคลย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำ ถึง ย่อมไม่ดื่มด่ำอยู่ซึ่งอะไร เขาย่อมไม่ เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำถึง ย่อมไม่ดื่มด่ำอยู่ ซึ่งรูป เมื่อเขาไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่ดื่มด่ำอยู่ซึ่งรูป ความยินดีในรูปย่อมดับไป เพราะความยินดีของเขานั้นดับไป อุปาทานจึงดับ เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ เพราะมี ความดับ แห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ  เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาสะทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้

เขาย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำถึง ย่อมไม่ดื่มด่ำอยู่ซึ่งเวทนา เมื่อเขาไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่ดื่มด่ำอยู่ซึ่งเวทนา ความยินดีใน เวทนาย่อมดับไป เพราะความยินดี ของ เขานั้นดับไป อุปาทานจึงดับ ความดับลงแห่งกองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการ อย่างนี้

เขาย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำถึง ย่อมไม่ดื่มด่ำอยู่ซึ่งสัญญา เมื่อเขาไม่เพลิด เพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่ดื่มด่ำอยู่ ซึ่งสัญญา ความยินดี ในสัญญาย่อมดับไป เพราะความ ยินดีของเขานั้นดับไป อุปาทานจึงดับ … ความดับลงแห่งกองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วย อาการอย่างนี้

เขาย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำถึง ย่อมไม่ดื่มด่ำ อยู่ซึ่งสังขาร เมื่อเขาไม่เพลิด เพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่ดื่มด่ำอยู่ ซึ่งสังขาร ความยินดี ในสังขารย่อมดับไป เพราะ ความ ยินดีของเขานั้นดับไป อุปาทานจึงดับ … ความดับลงแห่งกองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วย อาการอย่างนี้ ย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำถึง ย่อมไม่ดื่มด่ำ อยู่ซึ่งวิญญาณ เมื่อเขา ไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่ดื่มด่ำอยู่ ซึ่งวิญญาณ ความยินดี ในวิญญาณย่อมดับไป เพราะความยินดีของเขานั้นดับไป อุปาทานจึงดับ … ความดับลงแห่งกองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

ภิกษุทั้งหลาย. นี้เป็นความดับแห่งรูป ความดับแห่งเวทนา ความดับแห่ง สัญญา ความดับแห่งสังขาร ความดับแห่งวิญญาณ.

102 ขันธ์ ๕ คือ มาร (นัยที่ ๑)
-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๓๙/๓๗๗.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่ามาร มาร ดังนี้ ก็มารเป็นอย่างไร พระเจ้าข้า.
ราธะ. รูปเป็นมาร เวทนาเป็นมาร สัญญาเป็นมาร สังขารเป็นมาร วิญญาณเป็นมาร

ราธะ . อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในรูป ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งใน เวทนา ย่อมเบื่อหน่ายทั้งใน สัญญา ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในสังขาร ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้นครั้น หลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว เธอย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ได้ทำ เสร็จแล้ว กิจอื่นที่ต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.


103 ขันธ์ ๕ คือ มาร (นัยที่ ๒)
-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๓๑/๓๖๖.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่ามาร มาร ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร จึงถูกเรียกว่ามาร พระเจ้าข้า.

ราธะ.เมื่อรูปมีอยู่ มารจึงมี ผู้ทำให้ ตายจึงมี ผู้ตายจึงมี.

ราธะ.เพราะเหตุนั้นแหละ เธอจงพิจารณา เห็นรูปว่า เป็นมาร เป็นผู้ทำ.ให้ตาย เป็นผู้ ตาย เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร เป็นความยากลำบาก เป็นเหตุเกิดแห่งความยาก ลำบาก บุคคลเหล่าใด พิจารณาเห็นรูปนั้นอย่างนี้ บุคคลเหล่านั้นชื่อว่า ย่อมเห็นชอบ เมื่อเวทนามีอยู่ … เมื่อสัญญามีอยู่ … เมื่อสังขารมีอยู่ … เมื่อวิญญาณมีอยู่ มารจึงมี ผู้ทำให้ตายจึงมี ผู้ตายจึงมี

ราธะ.เพราะเหตุนั้นแหละ เธอจงพิจารณาเห็นวิญญาณว่า เป็นมาร เป็นผู้ทำ ให้ตาย เป็นผู้ตาย เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร เป็นความ ยากลำบาก เป็นเหตุเกิดแห่งความ ยากบำลาก บุคคล เหล่าใด พิจารณาเห็นวิญญาณนั้นอย่างนี้ บุคคลเหล่านั้นชื่อว่า ย่อมเห็นชอบ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ความเห็นชอบมีประโยชน์อย่างไร พระเจ้าข้า

ราธะ.ความเห็นชอบมีประโยชน์ให้เบื่อหน่าย ความเบื่อหน่ายมีประโยชน์อย่างไร พระเจ้าข้า ราธะ.ความเบื่อหน่ายมีประโยชน์ให้คลายกำหนัด ก็ความคลายกำหนัดเล่า มีประโยชน์ อย่างไร พระเจ้าข้า

ราธะ.ความคลายกำหนัดมีประโยชน์ให้หลุดพ้น ความหลุดพ้นเล่า มีประโยชน์อย่างไร พระเจ้าข้า ราธะ.ความหลุดพ้นมีประโยชน์เพื่อนิพพาน นิพพานเล่ามีประโยชน์อย่างไร พระเจ้าข้า ราธะ.เธอถามเลยปัญหาไปเสียแล้ว เธอไม่อาจ เพื่อถือเอาที่สุดของปัญหาได้

ราธะ.อันพรหมจรรย์ที่ประพฤติกันอยู่นี้ หยั่งลงสู่นิพพาน มีนิพพานเป็นที่สุด.


104 รอบรู้ซึ่งสักกายะ
-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๙๓-๑๙๔/๒๘๔-๒๘๘.

ภิกษุทั้งหลาย.เราจักแสดงสักกายะ สักกายสมุทัย สักกายนิโรธ และสักกายนิโรธคา มินีปฏิปทา แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง

ภิกษุทั้งหลาย. ก็สักกายะเป็นอย่างไร
สักกายะนั้น ควรจะกล่าวว่าคือ อุปาทานขันธ์ ๕

อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นอย่างไร อุปาทานขันธ์ ๕ นั้น ได้แก่
อุปาทานขันธ์คือรูป (รูปูปาทาน ขันธ์)
อุปาทานขันธ์คือเวทนา (เวทนูปาทาน ขันธ์)
อุปาทานขันธ์คือสัญญา (สัญญูปาทาน ขันธ์)
อุปาทานขันธ์คือสังขาร (สังขารูปาทาน ขันธ์)
อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ (วิญญาณูปาทาน ขันธ์)

ภิกษุทั้งหลายนี้เรียกว่า สักกายะ.

ภิกษุทั้งหลาย.ก็สักกายสมุทัยเป็นอย่างไร
สักกายสมุทัยนั้น คือ ตัณหาอันนำให้เกิด ในภพใหม่ ประกอบด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจ ความเพลินทำให้เพลิน อย่างยิ่งใน อารมณ์นั้นๆ กล่าวคือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ภิกษุทั้งหลาย.นี้เรียกว่า สักกายสมุทัย

ภิกษุทั้งหลาย.ก็สักกายนิโรธเป็นอย่างไร
สักกายนิโรธ คือ ความจางคลายดับไปโดย ไม่เหลือ ความสละทิ้ง ความสละคืน ความหลุดพ้น ความไม่อาลัยซึ่งตัณหานั้น. ภิกษุทั้งหลาย.นี้เรียกว่า สักกายนิโรธ.

ภิกษุทั้งหลาย.ก็สักกายนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นอย่างไร
สักกายนิโรธคามินีปฏิปทา คือ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ กล่าวคือ สัมมา ทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ

ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สักกาย นิโรธคามินีปฏิปทา.


105 เหตุเกิดแห่งสักกายทิฏฐิ
-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๒๕-๒๒๖/๓๕๖-๓๕๗.

ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่ เพราะอาศัยอะไร เพราะยึดมั่นอะไร จึงเกิดมีสักกายทิฏฐิ ภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูปมีอยู่ เพราะอาศัยรูป เพราะยึดมั่นรูป จึงเกิดมีสักกายทิฏฐิ เมื่อเวทนามีอยู่ … เมื่อสัญญามีอยู่ … เมื่อสังขารมีอยู่ ... เมื่อวิญญาณมีอยู่ เพราะอาศัย วิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ จึงเกิดมีสักกายทิฏฐิ.

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้น สักกาย ทิฏฐิจะพึงเกิดมีขึ้นบ้างหรือ ไม่ใช่เช่นนั้น พระเจ้าข้า

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นอย่างไร เวทนา .. สัญญา .. สังขาร .. วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้น สักกาย ทิฏฐิจะพึงเกิดมีขึ้นบ้างหรือ ไม่ใช่เช่นนั้น พระเจ้าข้า

ภิกษุทั้งหลาย.อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อ หน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขาร ย่อมเบื่อ หน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุด พ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้วย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นที่ต้องทำเพื่อ ความเป็นอย่างนี้มิได้มี (ในสูตรหนึ่ง ได้ตรัสถึงเหตุเกิดของอัตตานุทิฏฐิ ก็มีลักษณะอย่างเดียวกัน -บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๒๖/๓๕๘.).

106 สิ่งที่ยึดถือ (นัยที่ ๑)
-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๘๓/๒๕๘.

ภิกษุทั้งหลาย.สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชา เป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก ท่องเที่ยวไปมา อยู่ ที่สุดเบื้องต้น ย่อมไม่ปรากฏ

ภิกษุทั้งหลาย. สุนัขที่เขาผูกไว้ด้วยเชือก ถูกล่ามไว้ที่หลักหรือเสาอันมั่นคง ถ้าแม้มัน เดิน มันก็ย่อมเดินใกล้หลักหรือเสานั้นเอง ถ้าแม้มัน ยืน มันก็ย่อมยืนใกล้หลักหรือเสา นั้นเอง ถ้าแม้มันนั่ง มันก็ย่อมนั่งใกล้หลักหรือเสานั้นเอง ถ้าแม้มันนอน มันก็ย่อมนอน ใกล้หลัก หรือเสา นั้นเอง แม้ฉันใด

ภิกษุทั้งหลาย.ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมตามเห็นรูปว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเราย่อมตามเห็นเวทนา … สัญญา … สังขาร … วิญญาณว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ปุถุชนนั้น ถ้าแม้เดิน เขาก็ ย่อมเดินใกล้อุปาทานขันธ์์.๕  เหล่านี้นั้นเอง ถ้าแม้ยืน เขาก็ย่อมยืนใกล้ อุปาทาน ขันธ์.๕ เหล่านี้นั้นเอง ถ้าแม้นั่ง เขาก็ย่อมนั่งใกล้ อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้นั้นเอง ถ้าแม้นอน เขาย่อมนอนใกล้อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้นั้นเอง

ภิกษุทั้งหลาย.เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงพิจารณาจิตของตนเนืองๆ ว่า จิตนี้ เศร้าหมองแล้วด้วยราคะ โทสะ โมหะ สิ้นกาลนาน.


107 สิ่งที่ยึดถือ (นัยที่ ๒)
-บาลี ม. ม. ๑๓/๒๘๔-๒๘๕/๒๙๐.

มาคัณฑิยะ.เปรียบเหมือนบุรุษตาบอดมาแต่กำเนิด เขาไม่ได้เห็นรูปดำ และขาว ไม่ได้ เห็นรูปสีเขียว ไม่ได้เห็นรูปสีเหลือง ไม่ได้เห็นรูป สีแดง ไม่ได้เห็นรูปสีชมพู ไม่ได้เห็น ที่อันเสมอและขรุขระ ไม่ได้เห็นดวงดาว ไม่ได้เห็นดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ แต่เขาได้ ฟังต่อคน ที่มีจักษุซึ่งกล่าวอยู่ว่า

ท่านผู้เจริญ ผ้าขาวผ่องงามไม่มีมลทิน สะอาดหนอ บุรุษตาบอดแต่กำเนิดนั้น พึงเที่ยว แสวงหาผ้าขาวผ่อง มีบุรุษคนหนึ่ง เอาผ้าเนื้อเลว เปื้อนเขม่ามาลวงเขานั้นว่า บุรุษผู้ เจริญ ผ้าของท่าน ผืนนี้ ขาวผ่องงามไม่มีมลทินสะอาด เขารับผ้านั้นมาห่ม มิตร อำมาตย์ญาติ สาโลหิต ของเขาตั้งแพทย์ผู้ชำนาญการผ่าตัดให้รักษา แพทย์ผู้ชำนาญ การผ่าตัดนั้น ทำยาถอนให้อาเจียน ยาถ่ายให้ลง ยาหยอด ยาป้าย และ ยานัตถุ์ เขา อาศัยยานั้นแล้วเห็นได้ ชำระตาให้ใสได้ เขาย่อมละความพอใจ และความยินดีในผ้า เนื้อเลวเปื้อนเขม่าโน้นได้ พร้อมกับตา เห็นเขาพึงเบียดเบียนบุรุษ ที่ลวงตน นั้นโดย ความเป็นศัตรู โดยความเป็นข้าศึก

อนึ่ง เขาพึงสำคัญบุรุษที่ลวงตนนั้นว่าควรปลงชีวิตเสียด้วยความแค้นว่า บุรุษผู้เจริญ เราถูกบุรุษผู้นี้ เอาผ้าเนื้อเลวเปื้อนเขม่า มาลวงให้ หลงว่าบุรุษ ผู้เจริญผ้าของท่าน นี้ขาวผ่องงามไม่มีมลทินสะอาดดังนี้ มานานหนอ ฉันใด

มาคัณฑิยะ.เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถ้าแสดงธรรมแก่ท่านว่า ความไม่มีโรคนั้นคือข้อนี้ นิพพานนั้นคือข้อนี้ ท่านนั้นพึงรู้ ความไม่มีโรค พึงเห็นนิพพานได้ ก็ต่อเมื่อท่านละ ฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕ ได้ พร้อมกับความเกิดขึ้นแห่งจักษุ

อนึ่ง ท่านพึงมีความ ดำริอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เราถูกจิตนี้ล่อลวงให้หลงมานานแล้วหนอ เราเมื่อจะยึดมั่น ก็ยึดมั่นแล้วแต่ในรูป ยึดมั่นแล้วแต่ในเวทนา ยึดมั่นแล้วแต่สัญญา ยึดมั่นแล้วแต่ใน สังขาร ยึดมั่นแล้วแต่ในวิญญาณ เพราะความยึดมั่น (อุปาทาน) เป็นปัจจัยภพ จึงมีแก่ เรา เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัส อุปายาสะทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.


108 ความหมายของอวิชชา-วิชชา (นัยที่ ๑)
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๓๘-๕๓๙/๑๖๙๔-๑๖๙๕.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่กล่าวกันว่า อวิชชา อวิชชา ดังนี้ ก็อวิชชานั้นเป็นอย่างไร และ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร บุคคลจึงเป็นผู้ถึงแล้ว ซึ่งอวิชชา พระเจ้าข้า  ภิกษุ. ความไม่รู้ อันใด เป็นความไม่รู้ ในทุกข์ เป็นความไม่รู้ในเหตุให้เกิดทุกข์ เป็นความไม่รู้ในความ ดับแห่งทุกข์ และเป็นความไม่รู้ในหนทางให้ถึงความดับแห่งทุกข์ ภิกษุนี้เรียกว่า อวิชชา และบุคคลเป็นผู้ถึงแล้วซึ่งอวิชชา ด้วยเหตุเพียงเท่านี้

ภิกษุ.เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ พวกเธอพึงทำ.ความเพียรเพื่อให้รู้ตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับแห่งทุกข์ นี้หนทาง ให้ถึงความดับแห่งทุกข์ ดังนี้เถิด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่กล่าวกันว่า วิชชา วิชชา ดังนี้ ก็วิชชานั้นเป็นอย่างไร และด้วย เหตุเพียงเท่าไร บุคคลจึงเป็นผู้ถึงแล้วซึ่งวิชชา พระเจ้าข้า ภิกษุความรู้อันใด เป็น ความรู้ในทุกข์ เป็นความรู้ ในเหตุให้เกิดทุกข์ เป็นความรู้ในความดับ แห่งทุกข์ และเป็น ความรู้ในหนทางให้ถึงความดับแห่งทุกข์

ภิกษุ.นี้เรียกว่า วิชชา และบุคคลเป็นผู้ถึงแล้ว ซึ่งวิชชา ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ภิกษุ. เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ พวกเธอพึงทำความเพียร เพื่อให้รู้ ตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์นี้เหตุ ให้เกิดทุกข์ นี้ความดับแห่งทุกข์ นี้หนทางให้ถึงความดับแห่งทุกข์ ดังนี้เถิด.


109 ความหมายของอวิชชา-วิชชา (นัยที่ ๒)
-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๐๙/๓๒๐.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่กล่าวกันว่า อวิชชา อวิชชา ดังนี้ ก็อวิชชานั้นเป็นอย่างไร และด้วยเหตุเพียงเท่าไร บุคคลจึงเป็นผู้ถึงแล้วซึ่ง อวิชชา พระเจ้าข้า.

ภิกษุ.ปุถุชน ผู้ไม่ได้สดับ แล้วในโลกนี้ ย่อมไม่รู้ชัด ตามความเป็นจริงซึ่งรูป อันมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาว่า รูปมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา

ย่อมไม่รู้ชัด ตามความเป็นจริงซึ่งรูป อันมีความเสื่อมไป เป็นธรรมดาว่ารูปมี ความเสื่อม ไปเป็นธรรมดา

ย่อมไม่รู้ชัด ตาม ความ เป็นจริงซึ่งรูป อันมีความเกิดขึ้นและ ความเสื่อมไปเป็น ธรรมดาว่า รูปมีความเกิด ขึ้น และความเสื่อมไปเป็นธรรมดา

ย่อมไม่รู้ชัด ตาม ความเป็นจริงซึ่งเวทนา ... ซึ่งสัญญา ... ซึ่งสังขาร ... ซึ่งวิญญาณ อันมีความ เกิดขึ้นเป็นธรรมดาว่า วิญญาณมี ความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา

ย่อมไม่รู้ชัด ตามความ เป็น จริงซึ่งวิญญาณ อันมีความ เสื่อมไป เป็นธรรมดาว่า วิญญาณมีความเสื่อมไปเป็น ธรรมดา

ย่อมไม่รู้ชัด ตามความเป็นจริง ซึ่งวิญญาณ อันมีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป เป็นธรรมดาว่า วิญญาณมีความเกิด ขึ้น และความเสื่อม ไปเป็นธรรมดา

ภิกษุ.นี้เรียกว่า อวิชชา และบุคคลเป็นผู้ถึงแล้วซึ่งอวิชชาด้วยเหตุเพียงเท่านี้

ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ที่กล่าวกันว่า วิชชา วิชชา ดังนี้ ก็วิชชานั้นเป็นอย่างไร และด้วยเหตุ เพียงเท่าไร บุคคลจึงเป็น ผู้ถึงแล้วซึ่งวิชชา พระเจ้าข้า ภิกษุ. อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ในกรณีนี้

ย่อมรู้ ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป อันมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ว่ารูปมีความ เกิดขึ้นเป็นธรรมดา ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริง ซึ่งรูป อันมีความ เสื่อมไปเป็น ธรรมดา ว่า รูปมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ย่อมรู้ชัด ตามความเป็นจริง ซึ่งรูป อันมีความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปเป็นธรรมดาว่า รูปมีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป เป็นธรรมดา

ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งเวทนา ... ซึ่งสัญญา ... ซึ่งสังขาร ... ซึ่งวิญญาณอันมี ความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาว่า วิญญาณมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา

ย่อมรู้ชัดตามความเป็น จริง ซึ่งวิญญาณ อันมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดาว่า วิญญาณ มีความเสื่อมไปเป็น ธรรมดา ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งวิญญาณ อันมีความเกิดขึ้น และความเสื่อมไป เป็น ธรรมดาว่า วิญญาณมี ความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปเป็นธรรมดา.

ภิกษุ. นี้เรียกว่า วิชชา และบุคคลเป็นผู้ถึงแล้วซึ่งวิชชา ด้วยเหตุเพียงเท่านี้.


110 ความหมายของอวิชชา-วิชชา (นัยที่ ๓)
-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๙๘/๓๐๐-๓๐๑.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่กล่าวกันว่า อวิชชา อวิชชา ดังนี้ ก็อวิชชานั้นเป็นอย่างไร และด้วยเหตุเพียงเท่าไร บุคคลจึงเป็นผู้ถึงแล้ว ซึ่ง อวิชชา พระเจ้าข้า.

ภิกษุ.ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในกรณีนี้ ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งรูป ไม่รู้ชัดซึ่งเหตุเกิดแห่งรูป ไม่รู้ชัดซึ่งความดับแห่งรูป ไม่รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงความ ดับแห่งรูป ไม่รู้ชัดซึ่งเวทนา ไม่รู้ชัดซึ่ง สัญญา … ไม่รู้ชัด ซึ่งสังขาร … ไม่รู้ชัดซึ่งวิญญาณ ไม่รู้ชัดซึ่งเหตุเกิดแห่งวิญญาณ ไม่รู้ชัดซึ่ง ความดับแห่งวิญญาณ ไม่รู้ชัดซึ่งปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ.

ภิกษุ.นี้เราเรียกว่า อวิชชา และบุคคลเป็นผู้ถึงแล้วซึ่งอวิชชา ด้วยเหตุเพียงเท่านี้. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่กล่าวกันว่า วิชชา วิชชา ดังนี้ ก็วิชชานั้นเป็นอย่างไร. และด้วยเหตุเพียงเท่าไร บุคคลจึง เป็นผู้ถึงแล้วซึ่งวิชชา พระเจ้าข้า.

ภิกษุ.อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วในกรณีนี้ ย่อมรู้ชัดซึ่งรูป รู้ชัดซึ่งเหตุเกิดแห่งรูป รู้ชัดซึ่ง ความดับแห่งรูป รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงความดับ แห่งรูป ย่อมรู้ชัดซึ่งเวทนา ย่อมรู้ชัด ซึ่ง สัญญา ย่อมรู้ชัด ซึ่งสังขาร ย่อมรู้ชัดซึ่งวิญญาณ รู้ชัดซึ่งเหตุเกิดแห่งวิญญาณ รู้ชัดซึ่งความดับ แห่งวิญญาณ รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ ภิกษุนี้ เราเรียกว่า วิชชา และบุคคลเป็นผู้ถึงแล้วซึ่ง วิชชา ด้วยเหตุเพียง เท่านี้.


111 ความเพียรสามารถทำได้ในทุกอิริยาบถ
-บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๗/๑๑.

ภิกษุทั้งหลาย.เมื่อภิกษุกำลังเดินอยู่ ถ้าแม้กามวิตก พยาบาทวิตก หรือ วิหิงสาวิตก เกิดขึ้น และภิกษุก็ไม่รับเอาวิตกนั้นไว้ สละทิ้งไป ทำให้บรรเทา ทำให้สิ้นสุดลงไปจน ไม่มีเหลือ ภิกษุที่เป็น เช่นนี้ แม้กำลังเดินอยู่ เราก็เรียกว่า เป็นผู้มีความเพียร มีโอตตัปปะ มีความเพียร อันปรารภแล้วมีตนส่งไปแล้วในธรรมนั้นอยู่เนืองนิตย์.

ภิกษุทั้งหลาย.เมื่อภิกษุกำลังยืนอยู่ ถ้าแม้กามวิตก พยาบาทวิตก หรือวิหิงสาวิตก เกิดขึ้น และภิกษุก็ไม่รับเอาวิตกนั้นไว้ สละทิ้งไป ทำให้ บรรเทา ทำให้สิ้นสุดลงไปจน ไม่มีเหลือ ภิกษุที่เป็น เช่นนี้ แม้กำลังยืนอยู่ เราก็เรียกว่า เป็นผู้มีความเพียร มีโอตตัปปะ มีความเพียรอัน ปรารภแล้ว มีตนส่งไปแล้วในธรรมนั้นอยู่เนืองนิตย์.

ภิกษุทั้งหลาย.เมื่อภิกษุกำลังนั่งอยู่ ถ้าแม้กามวิตก พยาบาทวิตก หรือวิหิงสาวิตก เกิดขึ้น และภิกษุก็ไม่รับเอาวิตกนั้นไว้ สละทิ้งไป ทำให้ บรรเทา ทำให้สิ้นสุดลงไปจน ไม่มีเหลือ ภิกษุที่เป็น เช่นนี้ แม้กำลังนั่งอยู่ เราก็เรียกว่า เป็นผู้มีความเพียร มีโอตตัปปะ มีความเพียร อันปรารภแล้วมีตนส่งไปแล้วในธรรมนั้นอยู่เนืองนิตย์.

ภิกษุทั้งหลาย.เมื่อภิกษุกำลังนอนตื่นอยู่ ถ้าแม้กามวิตก พยาบาทวิตก หรือวิหิงสาวิตก เกิดขึ้นและภิกษุก็ไม่รับเอาวิตกนั้นไว้ สละทิ้งไป ทำให้บรรเทา ทำให้สิ้นสุดลงไปจน ไม่มีเหลือ ภิกษุที่เป็น เช่นนี้ แม้กำลังนอนตื่นอยู่ เราก็เรียกว่า เป็นผู้มีความเพียร มีโอตตัปปะ มีความเพียรอันปรารภแล้ว มีตนส่งไปแล้วในธรรมนั้นอยู่เนืองนิตย์.


112 ลักษณะของผู้เกียจคร้าน
-บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๖-๑๗/๑๑.

ภิกษุทั้งหลาย.เมื่อภิกษุผู้กำลังเดินอยู่ ถ้าแม้กามวิตก พยาบาทวิตก หรือวิหิงสาวิตก เกิดขึ้น และภิกษุก็รับเอาวิตกนั้นไว้ ไม่สละทิ้ง ไม่บรรเทา ไม่ทำให้สิ้นสุดลงไปจน ไม่มีเหลือ ภิกษุที่เป็นเช่นนี้ แม้กำลังเดินอยู่ เราก็เรียกว่า เป็นผู้ไม่มีความเพียร ไม่มี โอตตัปปะ เกียจคร้าน มีความเพียรอันเลวทรามอยู่เนืองนิตย์.

ภิกษุทั้งหลาย.เมื่อภิกษุผู้กำลังยืนอยู่ ถ้าแม้กามวิตก พยาบาทวิตก หรือวิหิงสาวิตก เกิดขึ้น และภิกษุก็รับเอาวิตกนั้นไว้ ไม่สละทิ้ง ไม่บรรเทา ไม่ทำให้สิ้นสุดลงไปจน ไม่มีเหลือ ภิกษุที่เป็นเช่นนี้ แม้กำลังยืนอยู่ เราก็เรียกว่า เป็นผู้ไม่มีความเพียร ไม่มี โอตตัปปะ เกียจคร้าน มีความเพียรอันเลวทรามอยู่เนืองนิตย์.

ภิกษุทั้งหลาย.เมื่อภิกษุผู้กำลังนั่งอยู่ ถ้าแม้กามวิตก พยาบาทวิตก หรือวิหิงสา วิตกเกิดขึ้น และภิกษุก็รับเอาวิตกนั้นไว้ ไม่สละทิ้ง ไม่บรรเทา ไม่ทำให้สิ้นสุดลงไปจน ไม่มีเหลือ ภิกษุที่เป็นเช่นนี้ แม้กำลังนั่งอยู่ เราก็เรียกว่า เป็นผู้ไม่มีความเพียร ไม่มี โอตตัปปะ เกียจคร้าน มีความเพียรอันเลวทรามอยู่เนืองนิตย์.

ภิกษุทั้งหลาย.เมื่อภิกษุผู้กำลังนอนตื่นอยู่ ถ้าแม้กามวิตก พยาบาทวิตก หรือวิหิงสา วิตกเกิดขึ้น และภิกษุก็รับเอาวิตกนั้นไว้ ไม่สละทิ้ง ไม่บรรเทา ไม่ทำให้สิ้นสุดลงไปจน ไม่มีเหลือ  ภิกษุที่เป็น เช่นนี้ แม้กำลังนอนตื่นอยู่ เราก็เรียกว่า เป็นผู้ไม่มีความเพียร ไม่มีโอตตัปปะ เกียจคร้าน มีความเพียรอันเลวทรามอยู่เนืองนิตย์.


113 ที่ตั้งแห่งความเกียจคร้าน
-บาลี อฏฺฐก. อํ. ๒๓/๓๔๓-๓๔๕/๑๘๕.

ภิกษุทั้งหลาย.กุสีตวัตถุ(ที่ตั้งแห่งความเกียจคร้าน) ๘ ประการนี้.๘ ประการเป็นอย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุในกรณีนี้ การงานที่จะต้องทำมีอยู่ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจะ ต้องทำการงาน ก็เมื่อเราทำการงานอยู่ กายก็จะ ลำบาก เอาเถิด ถ้ากระไรเราจะนอน เธอก็นอนเสีย ไม่ปรารภ ความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อกระทำให้แจ้ง สิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้ง ภิกษุทั้งหลาย.นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๑.

ภิกษุทั้งหลาย. อีกประการหนึ่ง ภิกษุทำการงานเสร็จแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราได้ ทำการงานเสร็จแล้ว ก็เมื่อเราทำการงานอยู่ กายก็ลำบากแล้ว เอาเถิด ถ้ากระไร เราจะนอน เธอก็นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่ บรรลุ เพื่อ กระทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้งนี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๒.

ภิกษุทั้งหลาย.อีกประการหนึ่ง หนทางอันภิกษุจะต้องเดินทางมีอยู่ เธอมีความคิด อย่างนี้ว่า เราจะต้องเดินทาง ก็เมื่อเราเดินทางอยู่ กายก็จะลำบาก เอาเถิด ถ้ากระไร เราจะนอน เธอก็นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยัง ไม่บรรลุ เพื่อกระทำ ให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้งนี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๓.

ภิกษุทั้งหลาย.อีกประการหนึ่ง ภิกษุเดินทางเสร็จแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราได้ เดินทางเสร็จแล้ว ก็เมื่อเราเดินทางอยู่ กายก็ลำบาก แล้ว เอาเถิดถ้ากระไร เราจะนอน เธอก็นอนเสีย ไม่ปรารภ ความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยัง ไม่บรรลุ เพื่อกระทำให้แจ้งสิ่ง ที่ยังไม่ทำให้แจ้งนี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๔.

ภิกษุทั้งหลาย.อีกประการหนึ่ง ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตตามบ้านหรือนิคม ไม่ได้ โภชนะอัน เศร้าหมอง หรือประณีตพอแก่ความต้องการ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เมื่อเราเที่ยวเดิน บิณฑบาต ตามบ้าน หรือนิคม ไม่ได้โภชนะอันเศร้าหมอง หรือประณีต พอแก่ ความ ต้องการ กายของเรานั้นลำบากแล้ว ไม่ควรแก่การงาน เอาเถิด ถ้ากระไร เราจะนอน เธอก็นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงสิ่ง ที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยัง ไม่บรรลุ เพื่อกระทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้งนี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๕.

ภิกษุทั้งหลาย.อีกประการหนึ่ง ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตตามบ้านหรือนิคม ได้โภชนะ เศร้า หมองหรือประณีตพอแก่ความต้องการ เธอมีความ คิดอย่างนี้ว่า เราเที่ยว บิณฑบาต ตามบ้านหรือนิคม ได้โภชนะเศร้าหมองหรือประณีต พอแก่ความต้องการ แล้ว กายของ เรานั้นหนัก ไม่ควร แก่การงาน เหมือนถั่วชุ่มด้วยน้ำ เอาเถิด ถ้ากระไร เราจะนอน เธอก็ นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึง สิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยัง ไม่บรรลุ เพื่อกระทำ ให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้งนี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๖.

ภิกษุทั้งหลาย.อีกประการหนึ่ง อาพาธเล็กน้อยเกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุ เธอมีความคิด อย่าง นี้ว่าอาพาธเล็กน้อยนี้ เกิดแก่เราแล้ว เรามีข้ออ้าง เพื่อจะนอน เอาเถิด ถ้ากระไรเรา จะนอน เธอก็นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุ สิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อกระทำให้แจ้ง สิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๗.

ภิกษุทั้งหลาย.อีกประการหนึ่ง ภิกษุหายจากอาพาธแล้ว แต่ยังหายไม่นาน เธอมี ความ คิดอย่างนี้ว่า เราหายจากอาพาธแล้ว แต่ยังหาย ไม่นาน กายของเรายังอ่อน เพลีย ไม่ควรแก่การงาน เอาเถิด ถ้ากระไรเราจะนอน เธอก็นอนเสีย ไม่ปรารภความ เพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อกระทำให้แจ้งสิ่งที่ ยังไม่ทำ ให้แจ้ง นี้เป็น กุสีตวัตถุประการที่ ๘.

ภิกษุทั้งหลาย.กุสีตวัตถุ ๘ ประการนี้แล.


114 ที่ตั้งแห่งการปรารภความเพียร
-บาลี อฏฺฐก. อํ. ๒๓/๓๔๕-๓๔๗/๑๘๖.

ภิกษุทั้งหลาย. อารัพภวัตถุ (ที่ตั้งแห่งการปรารภความเพียร) ๘ ประการนี้.๘ ประการเป็น อย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุในกรณี้นี้ การงานอันภิกษุจะต้องทำมีอยู่ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจะต้องทำการงาน ก็เมื่อเราทำการงานอยู่ มันไม่เป็นการง่ายที่จะมนสิการ ถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ถ้ากระไร เราจะรีบปรารภความเพียรเสียก่อน เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้ง เธอจึงปรารภความเพียรเพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่ง ที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นอารัพภวัตถุประการที่ ๑.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุทำการงานเสร็จแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราได้ทำการงานเสร็จแล้ว ก็เมื่อเราทำการงานอยู่ มันไม่เป็นการง่าย ที่จะมนสิการถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ถ้ากระไร เราจะรีบปรารภความเพียรเสียก่อน เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยัง ไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้ง เธอจึงปรารภความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยัง ไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นอารัพภวัตถุประการที่ ๒.

อีกประการหนึ่ง หนทางอันภิกษุต้องเดินทางมีอยู่ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจะต้องเดินทาง ก็เมื่อเราเดินทางอยู่ มันไม่เป็นการง่ายที่จะ มนสิการถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ถ้ากระไร เราจะรีบปรารภความเพียรเสียก่อน เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่ บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้ง เธอจึงปรารภความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยัง ไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นอารัพภวัตถุประการที่ ๓.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเดินทางเสร็จแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราได้เดินทางเสร็จแล้ว ก็เมื่อเราเดินทางอยู่ มันไม่เป็นการง่ายที่จะ มนสิการถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ถ้ากระไร เราจะรีบปรารภความเพียรเสียก่อน เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่ บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้ง เธอจึงปรารภความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยัง ไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นอารัพภวัตถุประการที่ ๔.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตตามบ้านหรือนิคม ไม่ได้โภชนะเศร้าหมอง หรือประณีต พอแก่ความต้องการ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราเที่ยวบิณฑบาตตามบ้านหรือนิคม ไม่ได้โภชนะ เศร้าหมองหรือประณีต พอแก่ความต้องการ กายของเรานั้นเบาควรแก่การงาน ถ้ากระไร เราจะรีบปรารภความเพียรเสียก่อน เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ ยังไม่ทำให้แจ้ง เธอจึง ปรารภความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นอารัพภวัตถุประการที่ ๕.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตตามบ้านหรือนิคม ได้โภชนะเศร้าหมองหรือประณีต พอแก่ความต้องการ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราเที่ยวบิณฑบาตตามบ้านหรือนิคม ได้โภชนะ เศร้าหมอง หรือประณีต พอแก่ความต้องการ กายของเรานั้นก็เบาควรแก่การงาน ถ้ากระไร เราจะรีบปรารภความเพียรเสียก่อน เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ ยังไม่ทำให้ แจ้ง เธอจึงปรารภ ความเพียรเพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นอารัพภวัตถุประการที่ ๖.

อีกประการหนึ่ง อาพาธเล็กน้อยเกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุ เธอมีความคิดอย่างนี้ ว่าอาพาธเล็กน้อยนี้เกิดขึ้นแก่เราแล้ว การที่อาพาธของเรา จะพึงกลับกำเริบนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ ถ้ากระไร เราจะรีบ ปรารภความเพียรเสียก่อน เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้ง เธอจึงปรารภความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้ง สิ่งที่ยังไม่ทำ ให้แจ้ง นี้เป็นอารัพภวัตถุประการที่ ๗.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุหายจากอาพาธแล้ว แต่ยังหายไม่นาน เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราหายจากอาพาธแล้ว แต่ยังหายไม่นาน การที่ อาพาธของเราจะพึงกลับกำเริบนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ ถ้ากระไร เราจะรีบปรารภความเพียรเสียก่อน เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยัง ไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้ง เธอจึงปรารภความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่ บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่ง ที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้ เป็นอารัพภวัตถุประการที่ ๘.

ภิกษุทั้งหลาย.อารัพภวัตถุ ๘ ประการนี้ แล.


115 เพียรละอกุศลแข่งกับความตาย
-บาลี อฏฺฐก. อํ. ๒๓/๓๓๑-๓๓๓/๑๗๑.

ภิกษุทั้งหลาย.มรณสติอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด ภิกษุทั้งหลาย. ก็มรณสติ อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มาก แล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มากหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อกลางวันสิ้นไป กลางคืนเวียนมา ย่อมพิจารณาดังนี้ว่า ปัจจัยแห่งความตายของเรามีมากหนอ คือ งูพึงกัดเราก็ได้ แมลงป่องพึงต่อยเราก็ได้ ตะขาบพึงกัด เราก็ได้ เพราะเหตุนั้นเราพึงทำกาลกิริยา อันตรายนั้นพึงมีแก่เรา เราพึงพลาด ล้มลงก็ได้ อาหารที่เราบริโภคแล้วไม่ย่อยเสียก็ได้ ดีของเราพึงซ่านก็ได้ เสมหะของเราพึงกำเริบก็ได้ ลมมีพิษดัง ศาตราของเราพึง กำเริบก็ได้ มนุษย์ทั้งหลายพึงเบียดเบียนเราก็ได้ พวกอมนุษย์พึงเบียดเบียนเราก็ได้ เพราะเหตุนั้นเราพึงทำกาลกิริยา อันตรายนั้นพึง มีแก่เรา

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุนั้นพึงพิจารณาดังนี้ว่า ธรรมอันเป็นบาปอกุศลอันเรายังละไม่ได้ ที่จะพึงเป็นอันตรายแก่เราผู้ทำกาละในกลางคืน มีอยู่หรือหนอแล ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ธรรมอัน เป็นบาปอกุศลอันเรายังละไม่ได้ ที่จะพึงเป็นอันตรายแก่เรา ผู้ทำกาละ ในกลางคืน มีอยู่ ภิกษุนั้น พึงกระทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความเพียร ความไม่ท้อถอย สติและสัมป ชัญญะให้ยิ่ง เพื่อละธรรมอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นเสีย เปรียบเหมือนคนที่มีผ้าไฟไหม้ หรือศีรษะถูกไฟไหม้ พึงกระทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความเพียร ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้ยิ่ง เพื่อดับไฟไหม้ผ้าหรือศีรษะนั้น ฉะนั้น

ภิกษุทั้งหลาย.ถ้าแหละภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ธรรมอันเป็นบาปอกุศลอันเรายังละไม่ได้ ที่จะเป็นอันตรายแก่เราผู้ทำกาละในกลางคืน ไม่มี ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้มีปีติ และปราโมทย์หมั่นศึกษา ทั้งกลางวัน และกลางคืนในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่. (ในกรณีแห่งภิกษุผู้ผ่านกลางคืน มาถึงกลางวัน ก็มีข้อความที่ตรัสไว้ให้ปฏิบัติอย่างเดียวกัน ผิดกันแต่เวลาเท่านั้น). ภิกษุทั้งหลาย. มรณสติอันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำ ให้มากแล้วอย่างนี้ จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด.


116 ทำความเพียรแข่งกับอนาคตภัย (นัยที่ ๑)
-บาลี ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๑๗-๑๒๑/๗๘.

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุผู้เห็นภัยในอนาคต ๕ ประการนี้ ก็ควรเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่ง ที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้งภัย ๕ ประการเป็นอย่างไร

คือภิกษุในกรณีนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บัดนี้ เรายัง เป็นหนุ่มแน่น มีผมดำสนิท ประกอบด้วยความเป็นหนุ่มอันเจริญ ตั้งอยู่ในปฐมวัย ถึงกระนั้น ก็มีสมัยที่ความชรา ย่อมจะถูกต้องกายนี้ได้ ก็ผู้ที่แก่แล้ว ถูกความชราครอบงำแล้ว จะมนสิการคำสั่งสอน ของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่ทำได้โดยง่าย และจะเสพเสนาสนะ อันสงัดคือป่า และป่าชัฏ ก็ไม่ใช่ทำได้โดยง่าย

ก่อนที่สิ่งอันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจนั้น จะมาถึงเรา เราจะรีบปรารภความเพียร เพื่อถึง สิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้งเสียโดยเร็ว ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ถึงแล้ว แม้จะแก่เฒ่า ก็จักอยู่เป็นผาสุก.

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุผู้เห็นภัยในอนาคตข้อที่.๑.นี้ ควรเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ เพื่อถึงสิ่งท่ ยัง ไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บัดนี้ เรามีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง ประกอบด้วยไฟธาตุสำหรับย่อยอาหารสม่ำเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก พอปานกลาง ควรแก่การกระทำความ เพียร แต่ย่อมมีสมัยที่พยาธิจะถูกต้องกายนี้ ก็ผู้ที่ป่วยไข้อันความป่วยไข้ ครอบงำแล้ว จะมนสิการคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่ทำได้โดยง่าย และจะเสพเสนาสนะอันสงัดคือป่าและป่าชัฏ ก็ไม่ใช่ทำได้ โดยง่าย

ก่อนที่สิ่งอันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจนั้นจะมาถึงเรา เราจะรีบปรารภความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่ง ที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำ ให้แจ้งเสียโดยเร็ว ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ถึงแล้ว แม้จะเจ็บไข้ ก็จักอยู่เป็นผาสุก.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เห็นภัยในอนาคตข้อที่ ๒.นี้ ควรเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ เพื่อถึงสิ่งที่ยัง ไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้ง สิ่งที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บัดนี้ ข้าวกล้างามดี บิณฑบาตก็หาได้ง่าย สะดวกแก่การแสวงหาบิณฑบาตเลี้ยงชีวิต แต่ก็ย่อมมีสมัยที่มีข้าวแพง ข้าวกล้าเสียหาย บิณฑบาตหา ได้ยาก ไม่สะดวกแก่การแสวงหาบิณฑบาตเลี้ยงชีพ อนึ่ง ในสมัยข้าวแพง พวกมนุษย์ย่อมหลั่งไหลไป ในที่ที่มีอาหารดี ในที่นั้นย่อมมีการอยู่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ มีการอยู่พลุกพล่านกัน เมื่อมี การ อยู่คลุกคลี ด้วยหมู่คณะ อยู่พลุกพล่านกัน จะมนสิการคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไม่ใช่ทำได้โดยง่าย และจะเสพเสนาสนะอันสงัดคือป่าและป่าชัฏ ก็ไม่ใช่ทำได้โดยง่าย

ก่อนที่สิ่งอันไม่น่า ปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจนั้น จะมาถึงเรา เราจะรีบปรารภความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้งเสียโดยเร็ว ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำ ให้ผู้ถึงแล้ว จักอยู่เป็นผาสุก แม้ในคราว ที่เกิดทุพภิกขภัย.

ภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุผู้เห็นภัยในอนาคตข้อที่.๓.นี้ ควรเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ เพื่อถึงสิ่งที่ยัง ไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่ง ที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บัดนี้มนุษย์ทั้งหลาย ย่อมเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ชื่นชมต่อกัน ไม่วิวาทกัน เป็นดังน้ำนม กับน้ำ มองดูกันด้วยสายตาแสดงความรักอยู่ แต่ย่อมมีสมัย ที่มีภัย มีความปั่นป่วนในดง ประชาชนวุ่นวาย และเมื่อมีภัยพวกมนุษย์ย่อม หลั่งไหลไปในที่ที่ปลอดภัย ในที่นั้นย่อมมีการอยู่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ มีการอยู่พลุกพล่านกัน เมื่อมีการอยู่คลุกคลีด้วย หมู่คณะ อยู่พลุก พล่านกัน จะมนสิการคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่ทำได้โดยง่าย จะเสพเสนาสนะอันสงัดคือป่าและป่าชัฏ ก็ไม่ใช่ทำได้โดยง่าย

ก่อนที่สิ่งอันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจนั้นจะมาถึงเรา เราจะรีบปรารภความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่ได้ บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้งเสียโดยเร็ว ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ถึงแล้ว จักอยู่เป็น ผาสุก แม้ในคราวที่เกิดโจรภัย

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุผู้เห็นภัยในอนาคตข้อที่ ๔ นี้.ควรเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่ง ที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้ แจ้งสิ่งที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บัดนี้ สงฆ์เป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ชื่นชมต่อกัน ไม่วิวาทกัน มีอุเทศร่วมกัน อยู่เป็นผาสุก แต่ก็ย่อมมีสมัยที่สงฆ์แตกกัน ก็เมื่อสงฆ์แตกกันแล้ว จะมนสิการคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไม่ใช่ทำได้โดยง่าย จะเสพเสนาสนะอันสงัด คือป่า และป่าชัฏ ก็ไม่ใช่ทำได้โดยง่าย

ก่อนที่สิ่งอันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจนั้น จะมาถึงเรา เราจะรีบปรารภความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้งเสียโดยเร็ว ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ถึงแล้ว จักอยู่เป็น ผาสุก แม้ในคราวเมื่อสงฆ์แตกกัน

ภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุผู้เห็นภัยในอนาคตข้อที่.๕.นี้ ควรเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่ง ที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำ.ให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง.

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุเห็นภัยในอนาคต ๕ ประการเหล่านี้แล ควรเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ได้ทำ ให้แจ้ง.


117 ทำความเพียรแข่งกับอนาคตภัย (นัยที่ ๒)
-บาลี ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๑๕-๑๑๗/๗๗.

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุผู้อยู่ป่า เห็นภัยในอนาคต ๕ ประการนี้ ควรเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึงเพื่อบรรลุ สิ่งที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ได้ทำให้ แจ้งภัย ๕ ประการเป็นอย่างไร คือ

ภิกษุผู้อยู่ป่าในกรณีนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บัดนี้เราอยู่ในป่าผู้เดียว งูพึงกัดเรา แมลงป่องพึงต่อยเรา หรือตะขาบพึงกัดเรา เราพึงทำกาละได้ด้วยเหตุนั้น อันตรายนั้นจะพึงมีแก่เรา เอาเถิด เราจะปรารภความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง.

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุผู้อยู่ป่าเห็นภัยในอนาคตข้อที่.๑.นี้ ควรเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่ง ที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ได้ ทำให้แจ้ง

อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้อยู่ป่า ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บัดนี้เราอยู่ในป่าผู้เดียว เมื่อเราอยู่ในป่าผู้เดียว พึงพลาดล้มลง อาหารที่ฉันแล้วไม่ย่อย ดีของเราพึงกำเริบ เสมหะพึงกำเริบ หรือลมมีพิษ เพียงดังศัตราพึงกำเริบ เราพึงทำกาละได้ด้วยเหตุนั้น อันตรายนั้นจะพึงมีแก่เรา เอาเถิด เราจะปรารภความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ได้ทำ ให้แจ้ง.

ภิกษุ ทั้งหลาย.ภิกษุผู้อยู่ป่าเห็นภัยในอนาคตข้อที่.๒.นี้ ควรเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่ง ที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง

อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้อยู่ป่า ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บัดนี้เราอยู่ในป่าผู้เดียว เมื่อเราอยู่ในป่าผู้เดียว พึงพบสัตว์ร้าย คือสีหะ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี หรือเสือดาว สัตว์เหล่านั้นพึงทำร้ายเรา ถึงตาย เราพึงทำกาละได้ด้วยเหตุนั้น อันตรายนั้นจะพึงมีแก่เรา เอาเถิด เราจะ ปรารภความเพียรเพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง

ภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุผู้อยู่ป่าเห็น ภัยในอนาคตข้อที่.๓.นี้ ควรเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้ง สิ่งที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้อยู่ป่า ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บัดนี้เราอยู่ในป่าผู้เดียว เมื่อเราอยู่ในป่าผู้เดียว เราพึงพบคนร้ายผู้ก่อคดีแล้ว หรือมี คดียังไม่ได้ก่อ คนร้ายเหล่านั้นพึงปลงชีวิตเรา เราพึงทำ กาละได้ด้วยเหตุนั้น อันตรายนั้นจะพึงมีแก่เรา เอาเถิด เราจะปรารภ ความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง.

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุผู้อยู่ป่าเห็นภัยในอนาคตข้อที่.๔.นี้ ควรเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่ง ที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้อยู่ป่า ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บัดนี้เราอยู่ในป่าผู้เดียว เมื่อเราอยู่ในป่าผู้เดียว ในป่าย่อมมีพวกอมนุษย์ดุร้าย อมนุษย์เหล่านั้นพึงปลงชีวิตเรา เราพึงทำกาละได้ด้วยเหตุ นั้น อันตรายนั้นจะพึงมีแก่เรา เอาเถิด เราจะปรารภความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยัง ไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง .ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุผู้อยู่ป่าเห็นภัยในอนาคต

ข้อที่.๕.นี้ ควรเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ได้ ทำให้แจ้ง.

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุผู้อยู่ป่า เห็นภัยในอนาคต ๕ ประการเหล่านี้แล ควรเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ เพื่อถึงสิ่งที่ยัง ไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง.


118 สมัยที่ไม่สมควร และที่สมควรกระทำความเพียร
-บาลี ปญฺจก. อํ. ๒๒/๗๕-๗๖/๕๔.

ภิกษุทั้งหลาย.สมัยที่ไม่ควรกระทำความเพียร ๕ ประการนี้.๕ ประการเป็นอย่างไรคือ

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นคนแก่ ถูกชราครอบงำ
นี้เป็นสมัยที่ไม่ควรกระทำความเพียรข้อที่ ๑.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้อาพาธ ถูกพยาธิครอบงำ นี้เป็นสมัยที่ไม่ควรกระทำความเพียรข้อที่ ๒.

อีกประการหนึ่ง สมัยที่มีข้าวแพง ข้าวกล้าเสียหาย มีบิณฑบาตหาได้ยาก ไม่สะดวกที่จะยังอัตภาพให้เป็นไป ด้วยการแสวงหาบิณฑบาตนี้ เป็นสมัยที่ไม่ควรกระทำความเพียรข้อที่ ๓

อีกประการหนึ่ง สมัยที่มีภัย มีความกำเริบในป่าดง ชาวชนบทพากัน ขึ้นยานพาหนะอพยพไปนี้ เป็นสมัยที่ไม่ควรกระทำความเพียรข้อที่ ๔.

อีกประการหนึ่ง สมัยที่สงฆ์แตกกัน ภิกษุทั้งหลาย. ก็เมื่อสงฆ์แตกกันแล้ว ย่อมมีการ ด่ากันและกัน บริภาษกันและกัน มีการใส่ร้ายกันและกัน มีการทอดทิ้งกันและกัน คนผู้ไม่เลื่อมใสในสงฆ์หมู่นั้น ย่อมไม่เลื่อมใส และคนบางพวกที่เลื่อมใส ย่อมเป็นอย่างอื่นไป นี้เป็นสมัยที่ไม่ควร กระทำ ความเพียรข้อที่ ๕.

ภิกษุทั้งหลาย.เหล่านี้แล.สมัยที่ไม่ควรกระทำความเพียร ๕ ประการ.

ภิกษุทั้งหลาย.สมัยที่ควรกระทำความเพียร ๕ ประการนี้ ๕ ประการ เป็นอย่างไรคือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นหนุ่มแน่น มีผมดำสนิท ประกอบด้วยความเป็นหนุ่ม ตั้งอยู่ในปฐมวัย นี้เป็นสมัยที่ควรกระทำความ เพียรข้อที่ ๑.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง ประกอบด้วยไฟธาตุที่เผาอาหารให้ย่อยสม่ำเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก เป็นปาน กลาง ควรแก่การกระทำความเพียร นี้เป็นสมัยที่ควรกระทำความเพียรข้อที่ ๒.

อีกประการหนึ่ง สมัยที่ข้าวกล้างามดี มีบิณฑบาตหาได้ง่าย สะดวกที่จะยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยการแสวงหา บิณฑบาตนี้เป็น สมัยที่ควร กระทำความเพียรข้อที่ ๓.

อีกประการหนึ่ง สมัยที่พวกมนุษย์พร้อมเพรียงกัน (สามัคคีกัน) ยินดีต่อกัน ไม่วิวาทกัน เป็นเหมือนน้ำนมกับน้ำ มองดูกันและกันด้วย สายตาที่ประกอบด้วยความรัก นี้เป็นสมัยที่ควรกระทำความเพียรข้อที่ ๔.

อีกประการหนึ่ง สมัยที่สงฆ์พร้อมเพรียงกัน ยินดีต่อกัน ไม่วิวาทกัน มีอุเทศร่วมกัน ย่อมอยู่เป็นผาสุก.. ภิกษุทั้งหลาย. เมื่อสงฆ์สมัครสมาน กัน ย่อมไม่มีการด่ากันและกัน ไม่บริภาษกันและกัน ไม่มีการใส่ร้ายกันและกัน ไม่มีการทอดทิ้งกันและกัน คนผู้ ไม่เลื่อมใสในสงฆ์หมู่นั้น ย่อมเลื่อมใส และคนที่เลื่อมใสแล้ว ย่อมเลื่อมใสยิ่งขึ้นไป นี้เป็นสมัยที่ควรกระทำความเพียรข้อที่ ๕.

ภิกษุทั้งหลาย.เหล่านี้แล สมัยที่ควรกระทำความเพียร ๕ ประการ.


119 ทำอย่างไร ความเพียรพยายามจึงมีผล
-บาลี อุปริ. ม. ๑๔/๑๓,๑๖/๑๒,๑๕.

ภิกษุทั้งหลาย.ก็อย่างไร ความพยายามจึงจะมีผลความเพียรจึงจะมีผล. ภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่เอาทุกข์ทับถมตนที่ไม่มี ทุกข์ทับถม ไม่สละความสุขที่เกิดโดยธรรม ไม่เป็นผู้หมกมุ่น ในความสุขนั้น เธอย่อมทราบชัดอย่างนี้ว่า ถึงเรานี้จักยังมีเหตุแห่งทุกข์ เมื่อเริ่มตั้งความเพียร วิราคะย่อมมีได้เพราะการตั้งความเพียรอนึ่ง ถึงเรานี้จะยังมีเหตุแห่งทุกข์ เมื่อวางเฉย บำเพ็ญ อุเบกขา อยู่ วิราคะ ก็ย่อมมีได้ เธอพึงเริ่มตั้งความเพียร ในทำนองที่ภิกษุยังมีเหตุแห่งทุกข์ เริ่ม

ตั้งความเพียร ย่อมมีวิราคะเพราะการเริ่มตั้งความเพียร และบำเพ็ญอุเบกขา ในทำนองที่ภิกษุยังมีเหตุแห่งทุกข์ วางเฉย บำเพ็ญอุเบกขาอยู่ ย่อมมีวิราคะ เมื่อเธอนั้นยังมีเหตุแห่งทุกข์ เริ่มตั้ง ความเพียร วิราคะย่อมมีได้เพราะการตั้งความเพียร แม้อย่างนี้ ทุกข์นั้นก็เป็นอันเธอสลัด ได้แล้ว เมื่อเธอนั้นยังมีเหตุแห่งทุกข์ วางเฉย บำเพ็ญอุเบกขาอยู่ วิราคะย่อมมีได้ แม้อย่างนี้ ทุกข์นั้นก็ เป็นอันเธอสลัดได้แล้ว

ภิกษุทั้งหลาย.อีกประการหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เมื่อเราอยู่ตามสบาย อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อม แต่เมื่อเราเริ่ม ตั้งตนเพื่อความลำบาก อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรม ย่อมเจริญยิ่ง อย่ากระนั้นเลย เราพึงเริ่มตั้งตนเพื่อความลำบากเถิด เธอจึงเริ่มตั้งตน เพื่อความลำบาก เมื่อเธอเริ่มตั้งตนเพื่อความลำบากอยู่ อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง สมัยต่อมา เธอไม่ต้องเริ่มตั้งตน เพื่อ ความลำบากได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร.

ภิกษุทั้งหลาย.เพราะภิกษุนั้นเริ่มตั้งตนเพื่อความลำบาก เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์นั้นของเธอ เป็น อันสำเร็จแล้ว ฉะนั้นสมัย ต่อมา เธอจึงไม่ต้องเริ่มตั้งตนเพื่อความลำบากได้.

ภิกษุทั้งหลาย.เปรียบเหมือนช่างศร ย่างลนลูกศรบนข่าไฟ ๒ อันดัดให้ตรงจนใช้การได้ เพราะเหตุที่ลูกศรเป็นของอันช่างศร ย่างลน บน ข่าไฟ ๒ อัน ดัดให้ตรงจนใช้การได้แล้วสมัยต่อมา ช่างศร นั้นไม่ต้องย่างลนลูกศรนั้นบนข่าไฟ ๒ อัน ดัดให้ตรงจนใช้การได้ ข้อนั้น เพราะเหตุไร.

ภิกษุทั้งหลาย.เพราะช่างศรนั้นพึงย่างลนลูกศรบนข่าไฟ ๒ อันดัดให้ตรงจนใช้การได้ เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์นั้นของเขา เป็นอัน สำเร็จแล้ว ฉะนั้น สมัยต่อมา ช่างศรจึงไม่ต้องย่างลนลูกศร บนข่าไฟ ๒ อัน ดัดให้ตรงจนใช้การได้ ฉันใด.

ภิกษุทั้งหลาย.ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เมื่อเราอยู่ตามสบาย อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อม แต่เมื่อเราเริ่มตั้งตนเพื่อความลำบาก อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง อย่ากระนั้นเลย เราพึงเริ่มตั้งตนเพื่อความลำบากเถิด เธอจึงเริ่มตั้งตนเพื่อความลำบาก เมื่อเธอเริ่มตั้งตนเพื่อความลำบากอยู่ อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ ยิ่งสมัยต่อมาเธอไม่ ต้องเริ่มตั้งตนเพื่อความลำบากได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร

ภิกษุทั้งหลาย.เพราะภิกษุนั้นเริ่มตั้งตนเพื่อความลำบาก เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์นั้นของเธอเป็นอันสำเร็จแล้ว ฉะนั้น สมัยต่อมา เธอจึงไม่ต้องเริ่มตั้งตนเพื่อความลำบากแล..

ภิกษุทั้งหลาย.ความพยายามมีผล ความเพียรมีผล.แม้อย่างนี้.


120 สิ่งที่ควรเสพ-ไม่ควรเสพ
-บาลี อุปริ. ม. ๑๔/๑๖๐-๑๖๕/๒๒๙-๒๓๓.

สารีบุตร.เมื่อเสพรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป รูปที่รู้ได้ด้วยจักษุเช่นนี้ไม่ควรเสพและ เมื่อเสพ รูปที่รู้ด้วยจักษุเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรม ย่อมเจริญยิ่ง รูปที่รู้ได้ด้วยจักษุเช่นนี้ควรเสพ.
(ในกรณีแห่งอารมณ์ห้าที่เหลือคือ เสียงที่จะพึงรู้แจ้งด้วยหู กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้ง ด้วยจมูกรสที่พึงรู้แจ้งด้วยลิ้น โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งด้วย ผิวกาย และธรรม ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ ก็มีหลักเกณฑ์ที่ได้ ตรัสไว้ทำนองเดียวกันกับ ในกรณีแห่งรูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุข้างบนนี้)

สารีบุตร.เมื่อเสพจีวรเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป จีวรเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อภิกษุเสพจีวรเช่นใด อกุศลธรรม ย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง จีวรเช่นนี้ควรเสพ (ในกรณีแห่งปัจจัย คือ บิณฑบาต และเสนาสนะ ก็มีหลักเกณฑ์ที่ได้ตรัสไว้ ทำนอง เดียวกันกับในกรณีแห่งจีวรข้างบนนี้).

สารีบุตร.เมื่อเสพหมู่บ้านเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป หมู่บ้านเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพหมู่บ้านเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง หมู่บ้านเช่นนี้ควรเสพ. (ในกรณีแห่งปัจจัย คือ นิคม นคร ชนบท ก็มีหลักเกณฑ์ที่ได้ตรัสไว้ ทำนองเดียวกันกับในกรณีแห่งคามข้างบนนี้)

สารีบุตร.เมื่อเสพบุคคลเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป บุคคลเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อบุคคลเสพบุคคลเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง บุคคลเช่นนี้ควรเสพ

สารีบุตร. ถ้ากษัตริย์ทั้งปวง พึงรู้ทั่วถึงอรรถแห่งธรรมบรรยาย ที่เรากล่าวโดยย่อนี้ ได้โดยพิสดารอย่างนี้ นั่น จะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่กษัตริย์ แม้ทั้งปวงตลอดกาลนาน ถ้าพราหมณ์ทั้งปวง….ถ้าแพศย์์ทั้งปวง….ถ้าศูทรทั้งปวง พึงรู้ทั่วถึงอรรถแห่ง ธรรมบรรยายที่เรากล่าวโดยย่อนี้ได้โดยพิสดารอย่างนี้ นั่น จะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ศูทร แม้ทั้งปวงตลอดกาล นาน.

สารีบุตร.ถ้าแม้โลกพร้อมทั้งเทวดา มาร พรหมและหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ และพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดา และมนุษย์ พึงรู้ทั่วถึงอรรถแห่ง ธรรมบรรยายที่เรากล่าวโดยย่อนี้ ได้โดยพิสดารอย่างนี้ นั่น จะพึงเป็นไป เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่โลก พร้อมทั้งเทวดา มาร พรหม และหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะและพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ตลอดกาลนาน.


121 หลักการเลือกสถานที่และบุคคล
ที่ควรเสพ และไม่ควรเสพ

-บาลี มู. ม. ๑๒/๒๑๒-๒๑๙/๒๓๕-๒๔๒.

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมเข้าไปอาศัยป่าชัฏแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ เมื่อเธอเข้าไปอาศัยป่าชัฏนั้นอยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ไม่ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป ก็ไม่ถึง ความสิ้นไป และภิกษุนั้นไม่ได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะ อย่างสูงที่ยังไม่ บรรลุด้วย ส่วนปัจจัยเครื่องอุดหนุนชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารเหล่าใด ที่บรรพชิตจำต้องนำมาบริโภค ปัจจัยเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นได้โดยยาก

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุนั้นพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเข้ามาอาศัยป่าชัฏนี้อยู่ เมื่อเราเข้ามาอาศัยป่าชัฏนี้อยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ไม่ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ไม่ถึง ความสิ้นไป และเราไม่ได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่ง จากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่บรรลุ ด้วย ส่วนปัจจัยเครื่องอุดหนุนชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารเหล่าใด ที่บรรพชิต จำต้องนำมาบริโภค ปัจจัยเหล่านั้นย่อมเกิดขึ้นได้โดยยาก.ภิกษุทั้งหลาย.

ภิกษุนั้นควรหลีกไปเสียจากป่าชัฏนั้น ในเวลากลางคืนหรือในเวลากลางวันก็ตาม ไม่ควรอยู่ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุในกรณีนี้ เข้าไปอาศัย ป่าชัฏ แห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ เมื่อเธอเข้าไปอาศัยป่าชัฏนั้นอยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ไม่ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม สิ้นไป ก็ไม่ถึงความสิ้นไป และภิกษุนั้นไม่ได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่บรรลุด้วย ส่วนปัจจัยเครื่อง อุดหนุนชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารเหล่าใด ที่บรรพชิตจำ.เป็นต้องนำมาบริโภค ปัจจัยเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นโดยไม่ยาก.

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุนั้นพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเข้ามาอาศัยป่าชัฏนี้อยู่ เมื่อเราเข้ามาอาศัยป่าชัฏนี้อยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ไม่ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ไม่ถึง ความสิ้นไป และเราไม่ได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่ง จากโยคะอย่างสูง ที่ยังไม่บรรลุ ด้วย

ส่วนปัจจัยเครื่องอุดหนุนชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารเหล่าใด ที่บรรพชิตจำต้องนำมาบริโภค ปัจจัย เหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นได้โดยไม่ยาก แต่ว่าเราไม่ได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เพราะเหตุแห่งจีวร เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต เพราะเหตุ แห่งเสนาสนะ เพราะเหตุแห่งคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ก็ครั้นเป็นเช่นนั้น เมื่อเราเข้ามาอาศัยป่าชัฏนี้อยู่ สติที่ยังไม่ ปรากฏ ก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่น ก็ไม่ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ไม่ถึงความสิ้นไป และเราไม่ได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่ง จากโยคะอย่างสูง ที่ยังไม่บรรลุ ด้วย .ภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุนั้นแม้รู้แล้วควรหลีกไปเสียจากป่าชัฏนั้น ไม่ควรอยู่.

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุในกรณีนี้ เข้าไปอาศัยป่าชัฏแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ เมื่อเธอเข้าไปอาศัยป่าชัฏนั้นอยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏ จิตที่ยัง ไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ถึงความสิ้นไป และภิกษุนั้นย่อมได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่บรรลุด้วย ส่วนปัจจัยเครื่องอุดหนุนชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารเหล่าใด ที่บรรพชิตจำ ต้องนำมาบริโภค ปัจจัย เหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นได้โดยยาก.

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุนั้นพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเข้ามาอาศัยป่าชัฏนี้อยู่ เมื่อเราเข้ามาอาศัยป่าชัฏนี้อยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏ จิตที่ ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ถึงความสิ้นไป และเราย่อมได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่บรรลุด้วย ส่วน ปัจจัยเครื่องอุดหนุนชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารเหล่าใด ที่บรรพชิตจำต้อง นำมาบริโภค ปัจจัยเหล่า นั้น ย่อมเกิดขึ้นได้โดยยาก แต่ว่าเราไม่ได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เพราะเหตุแห่งจีวร เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต เพราะเหตุแห่ง เสนาสนะ เพราะเหตุแห่งคิลาน ปัจจัยเภสัชบริขาร ก็ครั้นเป็นเช่นนั้น เมื่อเราเข้ามาอาศัยป่าชัฏนี้อยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏ จิตที่ยัง ไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ถึงความสิ้นไป และเราย่อมได้บรรลุธรรมอัน ปลอด โปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่บรรลุด้วย.

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุนั้นแม้รู้แล้ว ก็ควรอยู่ในป่าชัฏนั้น ไม่ควรหลีกไปเสีย.ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุในกรณีนี้ เข้าไปอาศัยป่าชัฏแห่งใด แห่งหนึ่ง อยู่ เมื่อเธอเข้าไปอาศัยป่าชัฏนั้นอยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ถึงความสิ้นไป และภิกษุนั้น ได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่บรรลุด้วย ส่วนปัจจัยเครื่องอุดหนุนชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลาน ปัจจัยเภสัชบริขารเหล่าใดที่บรรพชิตจำต้องนำมาบริโภค

ปัจจัยเหล่านั้นย่อมเกิดขึ้นได้โดยไม่ยากภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุนั้นพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเข้ามาอาศัยป่าชัฏนี้อยู่ เมื่อเราเข้ามาอาศัย ป่าชัฏนี้อยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ถึงความสิ้นไป และเราย่อมได้บรรลุความปลอดโปร่ง จากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่บรรลุด้วย

ส่วนปัจจัยเครื่องอุดหนุนชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารเหล่าใด ที่บรรพชิตจำต้องนำมาบริโภค ปัจจัย เหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นได้โดยไม่ยาก.ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุนั้นควรอยู่ในป่าชัฏนั้นจนตลอดชีวิต ไม่ควรหลีกไปเสีย. (ในกรณีแห่งการ เลือก หมู่บ้าน นิคม นคร ชนบท และบุคคล ที่ควรเสพหรือไม่ควรเสพ ก็ได้ตรัสไว้โดยหลักเกณฑ์อย่างเดียวกัน).


122 เครื่องผูกพันจิต ๕ อย่าง
-บาลี มู. ม. ๑๒/๒๐๕-๒๑๐/๒๒๗–๒๓๒.

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ไม่ละตะปูตรึงใจ ๕ ประการ ไม่ถอนเครื่องผูกพันใจ ๕ ประการ ภิกษุนั้นหนอจักถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ตะปู ตรึงใจ ๕ ประการ อันเธอยังละไม่ได้เป็นอย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุในกรณีนี้ สงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระศาสดา ภิกษุทั้งหลาย.จิตของภิกษุที่สงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระศาสดานั้น ย่อมไม่ น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำ.ติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจประการที่ ๑. ที่ภิกษุนั้นยังละไม่ได้แล้ว.
ภิกษุทั้งหลาย.อีกประการหนึ่ง.ภิกษุสงสัย

เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระธรรม.ภิกษุทั้งหลาย.จิตของภิกษุที่สงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสใน พระธรรมนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิต ของภิกษุไม่น้อมไป เพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียร ที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่า ตะปูตรึงใจประการที่ ๒.ที่ภิกษุนั้นยังละไม่ได้แล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย.อีกประการหนึ่ง.ภิกษุสงสัย เคลือบแคลงไม่ปลงใจเชื่อ.ไม่เลื่อมใสในพระสงฆ์. ภิกษุทั้งหลาย. จิตของภิกษุที่สงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระสงฆ์นั้น ย่อมไม่ น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความ ทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจประการที่ ๓. ที่ภิกษุนั้นยังละไม่ได้แล้ว

ภิกษุทั้งหลาย.อีกประการหนึ่ง. ภิกษุสงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในสิกขา.ภิกษุทั้งหลาย.จิตของภิกษุที่สงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในสิกขานั้น ย่อมไม่น้อม ไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความ ทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อ ความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจประการที่ ๔. ที่ภิกษุนั้นยังละไม่ได้แล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย.อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้โกรธเคือง ไม่พอใจ.มีจิตอันโทสะกระทบกระทั่งมีใจดุจตะปูในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย. ภิกษุทั้งหลาย. จิตของภิกษุที่โกรธเคือง ไม่พอใจ มีจิตอัน โทสะกระทบกระทั่ง มีใจดุจตะปูในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายนั้น ย่อมไม่น้อม ไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของ ภิกษุไม่น้อมไปเพื่อ ความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจ ประการที่ ๕. ที่ภิกษุนั้นยังละไม่ได้แล้ว..

ตะปูตรึงใจ ๕ ประการเหล่านี้ ชื่อว่าอันภิกษุนั้นยังละไม่ได้แล้วเครื่องผูกพันใจ ๕ ประการ อันภิกษุนั้นยังถอนไม่ได้ เป็นอย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจากความทะเยอทะยานอยากในกาม.

ภิกษุทั้งหลาย.จิตของภิกษุผู้ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศ จากความพอใจ ไม่ปราศ จากความรักไม่ปราศจากความระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจากความทะเยอทะยานอยากในกาม ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความ ทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุ ไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าเครื่องผูกพัน ใจ ประการที่ ๑ ที่ภิกษุนั้นยังถอนไม่ได้แล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย.อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความ ระหายไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจากความทะเยอทะยานอยาก ในร่างกาย. ภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจาก ความทะเยอทะยานอยาก ในร่างกายนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิต ของภิกษุไม่น้อมไป เพื่อความ เพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่า เครื่องผูกพันใจประการที่ ๒. ที่ภิกษุนั้นยังถอนไม่ได้แล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย.อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความ ระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจากความทะเยอ ทะยานอยากในรูป. ภิกษุทั้งหลาย.จิตของภิกษุผู้ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจากความ ทะเยอทะยานอยาก ในรูปนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของ ภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่นอย่างนี้ ชื่อว่าเครื่อง ผูกพันใจประการที่ ๓ ที่ภิกษุนั้นยังถอนไม่ได้แล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย.อีกประการหนึ่ง ภิกษุบริโภคอิ่มพอความประสงค์แล้ว ประกอบความสุขในการนอน ความสุขในการเอน ความสุขในความ หลับอยู่. ภิกษุทั้งหลาย.จิตของภิกษุผู้บริโภคอิ่มพอ ความประสงค์แล้ว ประกอบความสุขในการนอน ความสุขในการเอน ความสุขใน ความหลับอยู่นั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุ ไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจประการที่ ๔.ที่ภิกษุนั้นยังถอนไม่ได้แล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย.อีกประการหนึ่ง ภิกษุจักประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อปรารถนาเทพนิกายอันใดอันหนึ่งว่า เราจักได้เป็นเทพเจ้าหรือ เทพองค์ใด องค์หนึ่งด้วยศีลอันนี้ ด้วยข้อวัตรอันนี้ ด้วยตบะอันนี้ หรือด้วยพรหมจรรย์อันนี้.ภิกษุทั้งหลาย. จิตของภิกษุผู้จักประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อ ปรารถนาเทพนิกายอันใดอันหนึ่งว่า เราจักได้เป็นเทพเจ้าหรือเทพองค์ใดองค์หนึ่ง ด้วยศีลอันนี้ ด้วยข้อวัต อันนี้ ด้วยตบะอันนี้ หรือด้วย พรหมจรรย์อันนี้นั้นย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุ ไม่น้อมไป เพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจประการที่ ๕. ที่ภิกษุนั้นยังถอนไม่ได้แล้ว.. เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการเหล่านี้ ชื่อว่าอันภิกษุนั้นยังถอนไม่ได้แล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งไม่ละตะปูตรึงใจ ๕ ประการเหล่านี้ ไม่ถอนเครื่องผูกพันใจ ๕ ประการเหล่านี้ ภิกษุนั้นหนอ จักถึงความ เจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ในธรรมวินัยนี้ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะ ที่จะมีได้.

(ยังมีการตรัสโดย ปฏิปักขนัยฝ่ายตรงกันข้าม ซึ่งเป็นการส่งเสริมการประกอบความเพียร ผู้ศึกษาพึงเทียบเคียงได้ด้วยตนเอง จึงไม่ได้ นำมาใส่ไว้ในที่นี้.)


123 อุปกิเลสแห่งจิต
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๑๓๐/๔๖๗.

ภิกษุทั้งหลาย.อุปกิเลสของทอง ๕ อย่างเหล่านี้ เป็นเครื่องทำทองไม่ให้อ่อน ไม่ให้ควรแก่การงาน ไม่ให้มีสีสุก ให้เปราะ และให้ใช้การ ไม่ได้ดี อุปกิเลส ๕ อย่าง เป็นอย่างไร คือภิกษุทั้งหลาย.เหล็กเป็นอุปกิเลสของทอง ทำ.ทองไม่ให้อ่อน ไม่ให้ควรแก่การงาน ไม่ให้มีสีสุก ให้เปราะ และให้ใช้การไม่ได้ดีโลหะ …  ดีบุก …  ตะกั่ว … เงิน เป็นอุปกิเลสของทอง ทำทอง ไม่ให้อ่อน ไม่ให้ควรแก่การงานไม่ให้มี สีสุก ให้เปราะ และให้ใช้การไม่ได้ดี.

ภิกษุทั้งหลาย. อุปกิเลสของทอง ๕ อย่างนี้เหล่านี้แล เป็นเครื่องทำ.ทองไม่ให้อ่อน ไม่ให้ควรแก่การงาน ไม่ให้มีสีสุก ให้เปราะ และให้ ใช้การไม่ได้ดี.

ภิกษุทั้งหลาย.ฉันนั้นก็เหมือนกัน อุปกิเลสของจิต ๕ อย่างเหล่านี้ เป็นเครื่องทำจิตไม่ให้อ่อน ไม่ให้ควรแก่การงาน ไม่ให้ผุดผ่อง ให้เสีย ไป และไม่ให้ตั้งมั่นด้วยดีเพื่อความสิ้นอาสวะ อุปกิเลส ๕ อย่างเป็นอย่างไร คือ ภิกษุทั้งหลาย. กามฉันทะ เป็นอุปกิเลสของจิต เป็นเครื่องทำจิตไม่ให้่อ่อน ไม่ให้ควรแก่การงาน ไม่ให้ผุดผ่อง ให้เสียไป และไม่ให้ตั้งมั่นด้วยดีเพื่อความสิ้นอาสวะ พยาบาท … ถีนมิทธะ … อุทธัจจะกุกกุจะ … วิจิจกิจฉา เป็นอุปกิเลสแห่งจิต เป็นเครื่องทำจิตไม่ให้อ่อน ไม่ให้ควรแก่การงาน ไม่ให้ผุดผ่อง ให้เสียไป และไม่ให้ ตั้งมั่นด้วยดีเพื่อความสิ้นอาสวะ ภิกษุทั้งหลาย. อุปกิเลสของจิต ๕ อย่างเหล่านี้แล เป็นเครื่องทำจิตไม่ให้อ่อน ไม่ให้ควรแก่การงาน ไม่ให้ ผุดผ่อง ให้เสียไป และไม่ให้ตั้งมั่นด้วยดีเพื่อความสิ้นอาสวะ.

ภิกษุทั้งหลาย.โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ ไม่เป็นธรรมกั้น ไม่เป็นธรรมห้าม ไม่เป็นอุปกิเลสของจิต อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผล คือ วิชชาและวิมุตติ โพชฌงค์ ๗ เป็นอย่างไร คือภิกษุทั้งหลาย.สติสัมโพชฌงค์ไม่เป็นธรรมกั้น ไม่เป็นธรรมห้าม ไม่เป็นอุปกิเลสของจิต อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผล คือ วิชชาและวิมุตติ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ … วิริยสัมโพชฌงค์ … ปีติสัมโพชฌงค์ … ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ … สมาธิสัมโพชฌงค์ … อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ไม่เป็นธรรมกั้น ไม่เป็นธรรมห้าม ไม่เป็น อุปกิเลสของจิต อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำ.ให้แจ้งซึ่งผล คือ วิชชาและ วิมุตติ

ภิกษุทั้งหลาย.โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้แล ไม่เป็นธรรมกั้น ไม่เป็นธรรมห้าม ไม่เป็นอุปกิเลสของจิต อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผล คือ วิชชาและวิมุตติ(ในสูตรอื่น ทรงตรัสว่า เมื่อละอุปกิเลสแห่งจิต ๕ อย่างเหล่านี้ได้ ภิกษุหวัง จะแสดงอิทธิวิธี, ได้ทิพโสต, บรรลุเจโตปริยญาณ, บรรลุปุพเพนิวาสานุสสติญาณ, บรรลุจุตูปปาตญาณ หรือกระทำ.ให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ก็สามารถทำได้ -บาลี ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๗/๒๓.).


124 มนสิการโดยไม่แยบคาย นิวรณ์ ๕ ย่อมเกิด
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๑๓๒/๔๘๒-๔๘๖.

ภิกษุทั้งหลาย. เมื่อภิกษุมนสิการโดยไม่แยบคาย กามฉันทะที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความไพบูลย์ยิ่งขึ้น

เมื่อภิกษุมนสิการโดยไม่แยบคาย พยาบาทที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความไพบูลย์ยิ่งขึ้น.

เมื่อภิกษุมนสิการโดยไม่แยบคาย ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความไพบูลย์ยิ่งขึ้น.

เมื่อภิกษุมนสิการโดยไม่แยบคาย อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความไพบูลย์ยิ่งขึ้น.

เมื่อภิกษุมนสิการโดยไม่แยบคาย วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น.
(ดูเพิ่มเติมในเรื่อง อาหารของนิวรณ์ ๕.ในหน้า ๔๖๒)


125 เจริญสมาธิให้ได้ อย่างน้อยวันละ ๓ ครั้ง
-บาลี ติก. อํ. ๒๐/๑๔๕-๑๔๖/๔๕๘.

ภิกษุทั้งหลาย.พ่อค้าผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ ประการนี้สมควรจะได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ หรือเพื่อทำโภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้ทวีมากขึ้นองค์ ๓ ประการ เป็นอย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย.พ่อค้าในโลกนี้ เวลาเช้าจัดแจงการงานโดยเอื้อเฟื้อ เวลาเที่ยงจัดแจงการงานโดยเอื้อเฟื้อ เวลาเย็นจัดแจงการงาน โดยเอื้อเฟื้อ ภิกษุทั้งหลาย. พ่อค้าผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ ประการนี้แล สมควรจะได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ หรือเพื่อทำโภคทรัพย์ที่ได้แล้ว ให้ทวีมากขึ้น ฉันใด.

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้สมควรจะได้บรรลุกุศลธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ หรือทำกุศลธรรม ที่ได้บรรลุแล้วให้เจริญมากขึ้น ธรรม ๓ ประการ เป็นอย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เวลาเช้ากำหนด สมาธินิมิตโดยเคารพ เวลาเที่ยงกำหนดสมาธินิมิตโดยเคารพ เวลาเย็นกำหนดสมาธินิมิตโดยเคารพ..

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการเหล่านี้แล ย่อมสมควร จะบรรลุกุศลธรรมที่ยังไม่บรรลุ หรือเพื่อทำกุศลธรรมที่ได้บรรลุ แล้วให้เจริญมากขึ้น.


126 ลักษณะของผู้ที่ง่ายต่อการเข้าสมาธิ
-บาลี ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๕๕/๑๑๓.

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมไม่ควรเพื่อบรรลุสัมมาสมาธิ ธรรม ๕ ประการเป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ ไม่อดทนต่อรูป เป็นผู้ ไม่อดทนต่อเสียง เป็นผู้ไม่อดทนต่อกลิ่น เป็นผู้ไม่อดทนต่อรส เป็นผู้ไม่อดทนต่อ โผฏฐัพพะ.

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการเหล่านี้แล ย่อมไม่ควรเพื่อ บรรลุสัมมาสมาธิ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมควรเพื่อบรรลุสัมมาสมาธิธรรม ๕ ประการ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้อดทนต่อรูป เป็นผู้อดทนต่อเสียง เป็นผู้ อดทนต่อกลิ่น เป็นผู้อดทนต่อรส เป็นผู้อดทนต่อโผฏฐัพพะ

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการเหล่านี้แล ย่อมควรเพื่อบรรลุสัมมาสมาธิ.


127 เจริญสมาธิแม้เพียงชั่วลัดนิ้วมือ ชื่อว่าไม่เหินห่างจากฌาน
-บาลี เอก. อํ. ๒๐/๕๔-๕๕/๒๒๔.

ภิกษุทั้งหลาย.ถ้าภิกษุเจริญอานาปานสติ แม้ชั่วกาลเพียงลัดนิ้วมือ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า อยู่ไม่เหินห่างจากฌาน ทำตามคำสอนของ พระ ศาสดา ปฏิบัติตามโอวาท ไม่ฉันบิณฑบาต ของชาวแว่น แคว้นเปล่า ก็จะป่วยการกล่าวไปไยถึงผู้กระทำให้มาก ซึ่งอานาปานสตินั้นเล่า ถ้าภิกษุุเจริญอสุภสัญญา ….เจริญมรณสัญญา ….เจริญอาหาเรปฏิกูลสัญญา ….เจริญสัพพโลเกอนภิรตสัญญา ….เจริญอนิจจสัญญา ….เจริญอนิจเจทุกขสัญญา ….เจริญทุกเขอนัตตสัญญา ….เจริญปหานสัญญา ….เจริญวิราคสัญญา….เจริญนิโรธสัญญา ….เจริญพุทธานุสสติ ….เจริญธัมมานุสสติ ….เจริญสังฆานุสสติ ….เจริญสีลานุสสติ ….เจริญจาคานุสสติ ….เจริญเทวตานุสสติ ….เจริญมรณสติ ….เจริญกายคตาสติ ….เจริญอุปสมานุสสติ แม้ชั่วกาลเพียงลัดนิ้วมือ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า อยู่ไม่เหินห่างจากฌาน ทำตามคำสอนของพระศาสดา ปฏิบัติตามโอวาท ไม่ฉันบิณฑบาตของชาวแว่นแคว้นเปล่า จะป่วยการกล่าวไปไยถึงผู้กระทำให้มากซึ่งอุปสมานุสสตินั้นเล่า. …


128 ธรรมเป็นอุปการะเฉพาะแก่ อานาปานสติภาวนา (นัยที่ ๑)
-บาลี ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๓๕-๑๓๖/๙๖.

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุผู้กระทำ.ให้มาก ซึ่งอานาปานสติ อันประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมแทงตลอดธรรมที่ ไม่กำเริบ ได้ต่อกาลไม่นานเทียว.๕ ประการเป็นอย่างไร คือ ภิกษุในกรณีนี้
(๑) เป็นผู้มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย เลี้ยงง่าย สันโดษในบริขารแห่งชีวิต
(๒) เป็นผู้มีอาหารน้อย ประกอบตนอยู่ในความเป็นผู้มีท้องอันพร่อง
(๓) เป็นผู้ไม่มีความมึนชา ประกอบตนอยู่ในความตื่น
(๔) เป็นผู้มีสุตะมาก ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ คือ ธรรมเหล่าใดอันงดงามในเบื้องต้น งดงามในท่ามกลาง งดงามในที่สุด แสดงอยู่ซึ่งพรหม จรรย์ อันบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง พร้อมทั้งอรรถะและพยัญชนะ ธรรมเหล่านั้นอันเธอสดับแล้วมาก ทรงจำไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอด ด้วยดีด้วยทิฏฐิ
(๕) ย่อมพิจารณาจิตตามที่หลุดพ้นแล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุผู้กระทำให้มาก ซึ่งอานาปานสติ อันประกอบด้วยธรรม ๕ ประการเหล่านี้แล ย่อมแทงตลอดธรรมที่ไม่กำเริบ ได้ต่อ กาลไม่นานเทียว.


129 ธรรมเป็นอุปการะเฉพาะแก่ อานาปานสติภาวนา (นัยที่ ๒)
-บาลี ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๓๖/๙๗.

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุผู้กระทำให้มาก ซึ่งอานาปานสติ อันประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมแทงตลอดธรรมที่ ไม่กำเริบ ได้ต่อกาลไม่นานเทียว ๕ ประการเป็นอย่างไร คือ ภิกษุในกรณีนี้
(๑) เป็นผู้มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย เลี้ยงง่าย สันโดษในบริขารแห่งชีวิต
(๒) เป็นผู้มีอาหารน้อย ประกอบตนอยู่ในความเป็นผู้มีท้องอันพร่อง
(๓) เป็นผู้ไม่มีความมึนชา ประกอบตนอยู่ในความตื่น
(๔) ย่อมเป็นผู้ได้ตามปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งกถาอันเป็นไปเพื่อขัดเกลากิเลส เป็นที่สบายแก่ธรรมเครื่องเปิดโล่งแห่งจิต คือ อัปปิจฉกถา(เรื่องปรารถนาน้อย) สันตุฏฐิกถา (เรื่องสันโดษ) ปวิเวกกถา (เรื่องความสงัด) อสังสัคคกถา.(เรื่องไม่คลุกคลี) วิริยา รัมภกถา (เรื่องมีความเพียร) สีลกถา(เรื่องศีล).สมาธิกถา.(เรื่องสมาธิ)ปัญญากถา (เรื่องปัญญา) วิมุตติกถา(เรื่องวิมุตติ) วิมุตติญาณ ทัสสนกถา (เรื่องวิมุตติญาณทัสสนะ)
(๕) ย่อมพิจารณาจิตตามที่หลุดพ้นแล้วภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุผู้กระทำให้มาก ซึ่งอานาปานสติ อันประกอบด้วยธรรม ๕ ประการเหล่านี้แล ย่อมแทงตลอดธรรม ที่ไม่กำเริบ ได้ต่อกาลไม่นานเทียว.


130 ธรรมเป็นอุปการะเฉพาะแก่อานาปานสติภาวนา (นัยที่ ๓)
-บาลี ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๓๖-๑๓๗/๙๘.

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุผู้กระทำ.ให้มากซึ่ง อานาปานสติ ซึ่งประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมแทงตลอดธรรมที่ ไม่กำเริบ ได้ต่อกาลไม่นาน เทียว.๕ ประการเป็นอย่างไร.
คือ ภิกษุในกรณีนี้
(๑) เป็นผู้มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย เลี้ยงง่าย สันโดษในบริขารแห่งชีวิต
(๒) เป็นผู้มีอาหารน้อย ประกอบตนอยู่ในความเป็นผู้มีท้องอันพร่อง
(๓) เป็นผู้ไม่มีความมึนชา ประกอบตนอยู่ในความตื่น
(๔) ย่อมเป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้อยู่ในเสนาสนะอันสงัด
(๕) ย่อมพิจารณาจิตตามที่หลุดพ้นแล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุผู้กระทำให้มาก ซึ่งอานาปานสติ อันประกอบด้วยธรรม ๕ ประการเหล่านี้แล ย่อมแทงตลอดธรรมที่ไม่กำเริบ ได้ต่อกาลไม่นานเทียว


131 ผู้ตามประกอบในธรรมเป็นเครื่องตื่น
-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๒๒๑-๒๒๒/๓๑๙.

ภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเป็นผู้ประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่เป็นอย่างไร ภิกษุในธรรม วินัยนี้ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรม ที่เป็น เครื่องกั้นจิต ด้วยการเดิน การนั่ง ตลอดวัน ย่อมชำระจิต ให้บริสุทธิ์จากธรรมที่เป็นเครื่องกั้นจิต ด้วยการเดิน การนั่ง ตลอดปฐมยามแห่ง ราตรี ย่อมสำเร็จสีหไสยาโดยข้างเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ ทำไว้ในใจซึ่งอุฏฐาน สัญญา (หมายใจว่าจะลุกขึ้น)ตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรีพอถึงปัจฉิมยามแห่งราตรี ก็ลุกขึ้นชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมที่เป็นเครื่องกั้นจิตด้วยการเดิน การนั่ง

ภิกษุทั้งหลาย.อย่างนี้แลภิกษุชื่อว่า เป็นผู้ประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่.


132 ต้องปรารภความเพียรแต่พอดี
-บาลี ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๒๐/๓๒๖.

โสณะ ฉันนั้นก็เหมือนกันแล ความเพียรที่ปรารภมากเกินไป ย่อมเป็นไปเพื่อ ความฟุ้งซ่าน ความเพียรที่ย่อหย่อนเกินไป ย่อมเป็นไปเพื่อ ความเกียจคร้าน

โสณะ เพราะเหตุนั้นแหละ เธอจงตั้งความเพียรให้แต่พอดี จงเข้าใจความที่ อินทรีย์ทั้งหลาย ต้องเป็นธรรมชาติที่เสมอๆ กัน จงกำหนด หมายในความพอดี นั้นไว้เถิด.


133 ความหมายของทางสายกลาง (นัยที่ ๑)
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๒๘/๑๖๖๔.

ภิกษุทั้งหลาย.ส่วนสุด ๒ อย่างนี้ อันบรรพชิตไม่ควรเสพ.ส่วนสุด ๒ อย่างนั้นเป็นอย่างไร คือ
(๑) การประกอบตนให้พัวพันด้วยกามสุขในกามทั้งหลาย อันเป็นของเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ประเสริฐ ไม่ประกอบด้วย ประโยชน์.
(๒) การประกอบความลำบากแก่ตน เป็นทุกข์ ไม่ประเสริฐ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์.

ภิกษุทั้งหลาย.ส่วนข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาง.(มัชฌิมาปฏิปทา) ไม่เข้าไปใกล้ส่วนสุด ๒ อย่างเหล่านี้ อันตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว กระทำ
ให้เกิดจักษุ กระทำให้เกิดญาณ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

ภิกษุทั้งหลาย.ก็ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาง ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว กระทำให้เกิดจักษุ กระทำให้เกิดญาณ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพานนั้นเป็นอย่างไร คือ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘. นี้แหละ ซึ่งได้แก่ ความเห็นชอบ ความ ดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ เพียรชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจชอบ.


134 ความหมายของทางสายกลาง (นัยที่ ๒)
-บาลี ติก. อํ. ๒๐/๓๘๑-๓๘๓/๕๙๖-๕๙๗.

ภิกษุทั้งหลาย.ก็มัชฌิมาปฏิปทา เป็นอย่างไร.ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ เป็นผู้มีความเพียรมีสัมป ชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ พิจารณา เห็นเวทนาในเวทนาอยู่ … พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ … พิจารณาเห็นธรรม ในธรรมทั้งหลายอยู่ เป็นผู้มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้. ภิกษุทั้งหลาย. นี้เรียกว่ามัชฌิมา ปฏิปทา.

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ยังฉันทะให้เกิด พยายามปรารภความเพียร ประคองจิตตั้งจิตไว้ เพื่อยังธรรมอันเป็นบาปอกุศล ที่ยังไม่ เกิดมิให้เกิดขึ้น เพื่อละธรรมอันเป็นบาปอกุศลที่เกิดขึ้น แล้ว เพื่อยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น เพื่อความตั้งมั่น ไม่เสื่อมสูญ เพิ่มพูน ไพบูลย์ เจริญ บริบูรณ์แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว. ภิกษุทั้งหลาย.นี้เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา.

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วย ฉันทะสมาธิ และปธานสังขาร เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริย สมาธิ และปธานสังขารเจริญ อิทธิบาท อันประกอบ ด้วยจิตสมาธิและปธานสังขารเจริญอิทธิบาท อันประกอบด้วย วิมังสาสมาธิ และปธาน สังขารภิกษุทั้งหลาย. นี้เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา.

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ภิกษุทั้งหลาย. นี้เรียกว่ามัชฌิมา ปฏิปทา.

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัทธาพละ วิริยพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ ภิกษุทั้งหลาย.นี้เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา.

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยะสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพช ฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์. ภิกษุทั้งหลาย. นี้เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา.

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมา-ทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ. ภิกษุทั้งหลาย. นี้เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา.


135 ความหมายของทางสายกลาง (นัยที่ ๓)
-บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๗๒-๗๔/๑๒๘-๑๓๒.

พราหมณ์.ตถาคต ย่อมแสดงธรรมโดยสายกลาง
(มชฺเฌน) ไม่เข้าไปหาส่วนสุดทั้งสองนั้น คือตถาคตย่อมแสดงดังนี้ว่า
เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย
เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะ โทมนัสอุปายาสะทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้

เพราะความจางคลายดับไป โดยไม่เหลือ แห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว จึงมีความดับแห่ง สังขารทั้งหลาย
เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ
เพราะมีความดับแห่งวิญญาณ จึงมีความดับแห่งนามรูป
เพราะมีความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ
เพราะมีความดับแห่งสฬายตนะ จึงมีความดับแห่งผัสสะ
เพราะมีความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา
เพราะมีความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา
เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน
เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ
เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ
เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นเอง ชรามรณะ โสกะ
ปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสะทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับ ลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้.

136 อานิสงส์ของกายคตาสติ (นัยที่ ๑)
-บาลี อุปริ. ม. ๑๔/๒๑๐-๒๑๕/๓๐๖-๓๑๗.

…เมื่อภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วในธรรมนั้นอยู่อย่างนี้ ย่อมละความระลึก และความดำริอันอาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความระลึกและความดำรินั้นได้  จิตของเธอก็ตั้งอยู่ด้วยดี สงบรำงับอยู่ด้วยดี เป็นธรรมเอกผุดมีขึ้น เป็นสมาธิอยู่ในภายในนั่น เทียว .ภิกษุทั้งหลาย.แม้อย่างนี้ ภิกษุนั้นก็ชื่อว่า เจริญกายคตาสติ.

ภิกษุทั้งหลาย.กายคตาสติอันภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง เจริญแล้ว กระทำ.ให้มากแล้ว กุศลธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นส่วนวิชชา ย่อมหยั่งลง ในภายในของภิกษุนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย. เปรียบเหมือนมหาสมุทรอันผู้ใดผู้หนึ่ง ถูกต้องด้วยใจแล้ว แม่น้ำน้อยสายใด สายหนึ่งซึ่งไหลไปสู่สมุทร ย่อมหยั่งลงในภาย ในของผู้นั้น ฉันใด. ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้น เหมือนกัน

กายคตาสติอันภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว กุศลธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นส่วนแห่งวิชชา ย่อมหยั่งลงในภายใน ของภิกษุนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย.กายคตาสติอันภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ไม่เจริญ ไม่กระทำให้มากแล้ว มารย่อมได้ช่อง ย่อมได้โอกาส…

ภิกษุทั้งหลาย.กายคตาสติอันภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว มารย่อมไม่ได้ช่อง ย่อมไม่ได้โอกาส…

ภิกษุทั้งหลาย.กายคตาสติอันภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว เธอย่อมบรรลุถึงความเป็นผู้สามารถ ในธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งเธอน้อมจิตไปเพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งนั้นๆ ได้ ในเมื่อมีสติเป็นเหตุ.

ภิกษุทั้งหลาย.กายคตาสติอันภิกษุเสพแล้ว ทำให้เจริญแล้ว ทำ.ให้มากแล้ว ทำ.ให้เป็นดุจยานที่เทียมดีแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้ง ประพฤติสั่ง สมเนืองๆ ปรารภสม่ำเสมอดีแล้ว พึงหวังอานิสงส์ ๑๐ ประการนี้ คือ

(๑) เป็นผู้อดกลั้นต่อความไม่ยินดีและความยินดีได้ ไม่ถูกความไม่ยินดีครอบงำ ย่อมครอบงำ ความไม่ยินดี ที่เกิดขึ้นแล้วได้.

(๒) เป็นผู้อดกลั้นต่อภัยและความหวาดกลัวได้ ไม่ถูกภัยและความหวาดกลัวครอบงำ ย่อมครอบงำ.ภัยและความหวาดกลัว ที่เกิดขึ้น แล้วได้.

(๓) เป็นผู้มีปกติอดทนต่อความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย ต่อสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และ สัตว์เสือกคลาน ต่อ ทำนองคำพูดที่กล่าวร้าย ใส่ร้าย เป็นผู้อดทนต่อเวทนาประจำสรีระที่เกิดขึ้นแล้ว อันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ ไม่ใช่ความสำราญ ไม่เป็นที่ ชอบใจ พอจะสังหารชีวิตได้.

(๔) เป็นผู้ได้ตามต้องการ ได้ไม่ยาก ได้ไม่ลำบาก ซึ่งฌานทั้ง ๔ อันเป็นไปในจิตอันยิ่ง เป็นทิฏฐธรรมสุขวิหาร.

(๕) ย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายประการ คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ … ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้.

(๖) ย่อมฟังเสียงทั้งสอง คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่ไกลและที่ใกล้ได้ด้วยทิพยโสตธาตุอันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์.

(๗) ย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นได้ด้วยใจ … หรือจิตยังไม่หลุดพ้นก็รู้ว่า จิตยังไม่หลุดพ้น.

(๘) ย่อมระลึกถึงขันธ์ ที่เคยอยู่อาศัยในชาติก่อนได้เป็นอันมาก … พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยอาการอย่างนี้.

(๙) ย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุบัติ … ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมทราบชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยอาการอย่างนี้.

(๑๐) ย่อมเข้าถึงเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่.

ภิกษุทั้งหลาย. กายคตาสติอันภิกษุเสพแล้ว ทำให้เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานที่เทียมดีแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้ง ประพฤติสั่ง สมเนืองๆ ปรารภสม่ำเสมอดีแล้ว พึงหวังอานิสงส์ ๑๐ ประการได้ ดังนี้.

(วิธีการปฏิบัติที่ตถาคตจัดเป็นกายคตาสติ มีค่อนข้างมาก เช่น การเจริญอานาปานสติ, การเป็นผู้มี สติสัมปชัญญะ, การพิจารณาอสุภะ, การพิจารณาโดยความเป็นธาตุ, การเจริญฌานทั้ง ๔ เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้ตรัสถึงอุปมาต่างๆ ไว้ด้วย ผู้อ่านสามารถศึกษา รายละเอียด ได้จากความเต็มของพระสูตรนี้


137 อานิสงส์ของกายคตาสติ (นัยที่ ๒)
-บาลี เอก. อํ. ๒๐/๕๗–๖๐/๒๓๓-๒๔๖.

ภิกษุทั้งหลาย. กายคตาสติอันภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว กุศลธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นไปในส่วนวิชชา ย่อมหยั่ง ลงในภายในของภิกษุนั้น เปรียบเหมือนมหาสมุทร อันผู้ใดผู้หนึ่งถูกต้องด้วยใจแล้ว แม่น้ำน้อยสายใดสายหนึ่งซึ่งไหลไปสู่สมุทร ย่อมหยั่งลงในภายในของผู้นั้นฉะนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย.เมื่อธรรมข้อหนึ่งบุคคลเจริญแล้ว กระทำ.ให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อทำ กทาคา มิผลให้แจ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อทำ อรหัตตผลให้แจ้ง ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือ กายคตาสติ.

ภิกษุทั้งหลาย .ธรรมข้อหนึ่งนี้แล บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อทำสกทา คามิผลให้แจ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อทำอรหัตตผลให้แจ้ง.

ภิกษุทั้งหลาย.เมื่อธรรมข้อหนึ่งบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญแห่งปัญญา ย่อมเป็นไปเพื่อความไพบูลย์แห่งปัญญา ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาใหญ่ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญามาก ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาไพบูลย์ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาลึกซึ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาสามารถยิ่ง ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญากว้างขวาง ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มากด้วยปัญญา ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาว่องไว ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเร็ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาร่าเริง ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาแล่น ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาคม ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาชำแรกกิเลส.

ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือ กายคตาสติ.

ภิกษุทั้งหลาย.ธรรมข้อหนึ่งนี้แล บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา … ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มี ปัญญาชำแรกกิเลส

ภิกษุทั้งหลาย.ชนเหล่าใดไม่บริโภคกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่า ย่อมไม่บริโภคอมตะ  ภิกษุทั้งหลาย.ชนเหล่าใดบริโภคกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าย่อมบริโภคอมตะ.

ภิกษุทั้งหลาย. กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่บริโภคแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้น ไม่บริโภคแล้ว ภิกษุทั้งหลาย. กายคตาสติอันชน เหล่าใด บริโภคแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นบริโภคแล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย.กายคตาสติของชนเหล่าใดเสื่อมแล้ว อมตะของชนเหล่า นั้นชื่อว่าเสื่อมแล้ว. ภิกษุทั้งหลาย. กายคตาสติของชนเหล่าใดไม่เสื่อมแล้ว อมตะของชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่เสื่อมแล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย.กายคตาสติอันชนเหล่าใดเบื่อแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นเบื่อแล้ว. ภิกษุทั้งหลาย.กายคตาสติ อันชนเหล่าใดชอบใจ แล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นชอบใจแล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย.ชนเหล่าใดประมาทกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าประมาทอมตะ
ภิกษุทั้งหลาย.ชนเหล่าใดไม่ประมาทกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่ประมาทอมตะ

ภิกษุทั้งหลาย.กายคตาสติอันชนเหล่าใดหลงลืม อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นหลงลืม.ภิกษุทั้งหลาย.กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่หลงลืม อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่หลงลืม.

ภิกษุทั้งหลาย.กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่ซ่องเสพแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่ซ่องเสพแล้ว.ภิกษุทั้งหลาย. กายคตาสติอันชนเหล่าใดซ่องเสพแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นซ่องเสพแล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย.กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่เจริญแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่เจริญแล้ว. ภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใด เจริญแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นเจริญแล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย.กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่ทำให้มากแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่ทำให้มากแล้ว.
ภิกษุทั้งหลาย.กายคตาสติอันชนเหล่าใดทำให้มากแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นทำให้มากแล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย.กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่รู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่รู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง.
ภิกษุทั้งหลาย.กายคตาสติอันชนเหล่าใดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง.

ภิกษุทั้งหลาย.กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่กำหนดรู้แล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่กำหนดรู้แล้ว.
ภิกษุทั้งหลาย. กายคตาสติอันชนเหล่าใดกำหนดรู้แล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นกำหนดรู้แล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย.กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่ทำให้แจ้งแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่ทำให้แจ้งแล้ว.
ภิกษุทั้งหลาย.กายคตาสติอันชนเหล่าใดทำห้แจ้งแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นทำให้แจ้งแล้ว.


138 ลักษณะของผู้ตั้งจิตในกายคตาสติ
-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๒๔๘-๒๔๙/๓๕๐.

ภิกษุทั้งหลาย.เปรียบเหมือนบุรุษจับสัตว์ ๖ ชนิดซึ่งมีวิสัยต่างกัน มีโคจรต่างกัน คือ พึงจับงู จระเข้ นก สุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอก ลิง แล้วผูก ด้วยเชือกอันเหนียวแน่น

ครั้นแล้วพึงผูกไว้ที่หลักหรือที่เสาอันมั่นคง ทีนั้นแล สัตว์ ๖ ชนิดเหล่านั้น ซึ่งมีวิสัย ต่างกัน มีโคจรต่างกัน พึงดึงมาสู่โคจรและ วิสัยของ ตนๆ คือ งูพึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจักเข้าไปสู่จอมปลวก จระเข้พึงดึงมาด้วยคิดว่าเราจักลงแม่น้ำ ..นกพึงดึงมาด้วย คิดว่า เราจักบินขึ้น สู่ อากาศสุนัขบ้านพึงดึงมาด้วยคิดว่าเราจักเข้าไปบ้าน. สุนัขจิ้ง จอกพึงดึงมาด้วยคิดว่าเราจักเข้าสู่ป่าช้า ลิงพึงดึงมาด้วยคิดว่าเราจักเข้าไป สู่ป่า.

กษุทั้งหลาย.เมื่อใดแล สัตว์ ๖ ชนิด เหล่านั้นต่างก็จะไปตามวิสัยของตนๆ พึงลำบาก เมื่อนั้นสัตว์เหล่านั้นพึงยืนแนบ นั่งแนบ นอนแนบ หลักหรือเสานั้นเอง แม้ฉันใด.

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งอบรม กระทำให้มากซึ่งกายคตาสติ ก็ฉันนั้นเหมือน กันตาย่อมไม่ฉุดภิกษุนั้นไปในรูปอันเป็นที่พอใจ รูปอัน ไม่เป็นที่พอใจ ย่อมไม่เป็นของ ปฏิกูล หูย่อมไม่ฉุด ภิกษุนั้นไปในเสียงอันเป็นที่พอใจ เสียงอันไม่เป็นที่พอใจ ย่อมไม่ เป็นของปฏิกูล จมูกย่อมไม่ฉุดภิกษุนั้นไปในกลิ่นอันเป็นที่พอใจ กลิ่นอันไม่เป็นที่พอใจ ย่อมไม่เป็นของปฏิกูล ลิ้นย่อมไม่ฉุด ภิกษุนั้นไปในรสอันเป็นที่ พอใจ รสอันไม่เป็นที่ พอใจ ย่อมไม่เป็นของปฏิกูล กายย่อมไม่ฉุดภิกษุนั้นไปในโผฏฐัพพะอันเป็นที่พอใจ โผฏฐัพพะอันไม่เป็นที่พอใจ ย่อมไม่เป็นของปฏิกูลใจ ย่อมไม่ฉุดภิกษุนั้นไปในธรรม อันเป็นที่พอใจ ธรรมอันไม่เป็นที่พอใจ ย่อมไม่เป็นของปฏิกูล.

ภิกษุทั้งหลาย.ความสำรวม (สังวร) ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้แล. ภิกษุทั้งหลายคำว่า หลักหรือเสาอันมั่นคงนั้น เป็นชื่อของกายคตาสติ เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลาย พึง ศึกษาอย่างนี้ว่า กายคตาสติ เราทั้งหลายจักอบรม กระทำห้มาก กระทำให้เป็นดัง ยาน กระทำให้เป็น ที่ตั้ง ให้มั่นคง สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว. ภิกษุทั้งหลาย. เธอทั้งหลาย พึงศึกษาอย่างนี้แล.


139 ลักษณะของผู้ไม่ตั้งจิตในกายคตาสติ
-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๒๔๖-๒๔๗/๓๔๘.

ภิกษุทั้งหลาย.เปรียบเหมือนบุรุษจับสัตว์ ๖ ชนิด ซึ่งมีวิสัยต่างกัน มีโคจรต่างกัน คือ จับงู จระเข้ นก สุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอก ลิง แล้วผูก ด้วยเชือกอันเหนียวแน่น ครั้นแล้ว พึงขมวดปมไว้ตรง กลางปล่อยไป ทีนั้นแล

สัตว์ ๖ ชนิดซึ่งมีวิสัยต่างกัน มีโคจรต่างกันเหล่านั้น พึงดึงมาหาโคจรและวิสัยของ ตนๆ งูพึงดึงมาด้วยคิดว่าเราจักเข้าไปสู่จอมปลวก จระเข้พึงดึงมาด้วยคิดว่าเราจัก ลงน้ำ .. นกพึงดึงมาด้วย คิดว่าเราจักบินขึ้นสู่อากาศ สุนัขบ้านพึงดึงมา ด้วยคิดว่า เราจักเข้าบ้าน สุนัข จิ้งจอกพึงดึงมาด้วยคิดว่าเราจักไปสู่ป่าช้า ลิงพึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจักเข้าไปสู่ป่า.ภิกษุทั้งหลาย.

เมื่อใดแล สัตว์ ๖ ชนิดเหล่านั้น ต่างก็จะไปตามวิสัยของตนๆ พึงลำบาก เมื่อนั้น บรรดาสัตว์เหล่านั้น สัตว์ใดมีกำลังมากกว่าสัตว์ ทั้งหลาย สัตว์เหล่านั้นพึงอนุวัตร คล้อยตามไปสู่อำนาจ แห่งสัตว์นั้น แม้ฉันใดภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งไม่ได้ อบรม ไม่กระทำ ให้มากซึ่งกายคตาสติ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.

ตาย่อมฉุดภิกษุนั้นไปในรูปอันเป็นที่พอใจ รูปอันไม่เป็นที่พอใจ ย่อมเป็นของปฏิกูล.
หูย่อมฉุดภิกษุนั้นไปในเสียงอันเป็นที่พอใจ เสียงอันไม่เป็นที่พอใจ ย่อมเป็นของ ปฏิกูล.

จมูกย่อมฉุดภิกษุนั้นไปในกลิ่นอันเป็นที่พอใจ กลิ่นอันไม่เป็นที่พอใจ ย่อมเป็นของ ปฏิกูล.

ลิ้นย่อมฉุดภิกษุนั้นไปในรสอันเป็นที่พอใจ รสอันไม่เป็นที่พอใจ ย่อมเป็นของปฏิกูล.
กายย่อมฉุดภิกษุนั้นไปในโผฏฐัพพะอันเป็นที่พอใจ โผฏฐัพพะอันไม่เป็นที่พอใจ ย่อมเป็นของปฏิกูล.

ใจย่อมฉุดภิกษุนั้นไปในธรรมอันเป็นที่พอใจ ธรรมอันไม่เป็นที่พอใจ ย่อมเป็นของ ปฏิกูล.

ภิกษุทั้งหลาย.ความไม่สำรวม (อสังวร) ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้แล.


140 ให้ตั้งจิตในกายคตาสติเสมือนบุรุษผู้ถือภาชนะน้ำมัน
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๒๖-๒๒๗/๗๖๓-๗๖๖.

ภิกษุทั้งหลาย.เปรียบเหมือนหมู่มหาชนได้ทราบข่าวว่า ‘มีนางงามชนบท มีนางงาม ชนบท’ จึงมาชุมนุมกัน ก็นางงามชนบทนั้น น่าดูอย่างยิ่งในเวลาฟ้อนรำ น่าดูอย่างยิ่ง ในเวลาขับร้อง หมู่มหาชนนั้นได้ทราบข่าวอีกว่า นางงามชนบทจะฟ้อนรำ จะขับร้อง จึงมาชุมนุมกันมีประมาณยิ่งขึ้น

ครั้งนั้น บุรุษผู้อยากมีชีวิตอยู่ไม่อยากตาย ปรารถนาความสุข เกลียดทุกข์ก็มา หมู่มหา ชนนั้นพึงกล่าวกับบุรุษนั้นอย่างนี้ว่า บุรุษผู้เจริญท่านจงนำภาชนะน้ำ มันอันเต็มเปี่ยมนี้ ผ่านไป ในระหว่างที่ประชุมใหญ่กับนางงามในชนบท และจะมีบุรุษเงื้อดาบตามท่าน ไปข้างหลังๆ ท่านจักทำน้ำมันนั้นหกแม้หน่อยหนึ่งในที่ใด เขาจักตัดศีรษะของท่าน ให้ขาดตกลงไปในที่นั้นทีเดียว

ภิกษุทั้งหลาย. เธอทั้งหลาย จะสำ.คัญความข้อนั้น เป็นอย่างไร บุรุษผู้นั้นจะไม่ใส่ใจ ภาชนะน้ำมันนั้น แล้วพึงเป็นผู้ประมาทใน ภายนอกหรือ ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ภิกษุทั้งหลาย. เรายกอุปมานี้ ก็เพื่อให้เข้าใจเนื้อความนี้ชัดขึ้น เนื้อความในข้อนั้น มีอย่างนี้ คำว่า ภาชนะน้ำมันอันเต็มเปี่ยม เป็นชื่อของกายคตาสติ.

ภิกษุทั้งหลาย.เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า กายคตาสติ จักเป็นสิ่งอันเราเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว กระทำให้เป็นดุจยานที่เทียมดีแล้ว กระทำให้เป็นที่ตั้ง ประพฤติสั่งสมเนืองๆ ปรารภสม่ำเสมอดีแล้ว.
ภิกษุทั้งหลาย.เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ แล.