เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ             

  เดรัจฉานวิชา พุทธวจน   ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  03 of 4  
 
  ดรัจฉานวิชา พุทธวจน หน้า  
    ที่มาที่ไปของประเพณีผิดอันเกิดจากคำแต่งใหม่ 117  
  43. ความเข้าใจผิด อานิสงส์การสร้างพระพุทธรูป 118  
  44. หมายเหตุของผู้รวบรวม 121  
  45. ความเข้าใจผิด เกี่ยวกับการฟังเทศน์มหาชาติ 122  
  46.  ความเข้าใจผิด ในพระสัมมาสัมพุทธะ เมตเตยยะ 123  
  47.  ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการกรวดน้ำอุทิศบุญ 126  
  48.  ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการทำน้ำมนต์ 128  
  49.  ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับอานิสงส์ของการสวดมนต์ 130  
  50.  บทสวดมนต์ยอดนิยมเป็นคำแต่งใหม่ 133  
  51.  บทสวดพาหุง (พุทธชัยมังคล)เป็นคำแต่งใหม่ 134  
  52.  คาถาชินบัญชร เป็นคำแต่งใหม่ 135  
  53.  บทสวดอภยปริตร เป็นคำแต่งใหม่ 137  
  54.  บทสวดอาฏานาฏิยปริตร(สวดภาณยักษ์) เป็นคำแต่งใหม่ 138  
  55.  บทสวดโพชฌงคปริตร เป็นคำแต่งใหม่ 139  
  56.  บทสวดชัยปริตร เป็นคำแต่งใหม่ 140  
  57.  บทสวดอุทิศบุญกุศล (ปัตติทานคาถา) เป็นคำแต่งใหม่ 141  
       
    ทางออก ของผู้ประพฤติมิจฉาทิฏฐิไปแล้ว 146  
  58.  หากเห็นโทษโดยความเป็นโทษ ให้ทำคืนตามธรรม 146-1  
  59.  ข้อควรปฏิบัติของภิกษุเมื่อเข้าบ้าน 149  
  60.  สิ่งที่ภิกษุควรทำเมื่ออยู่ร่วมกัน 142  
  61.  ข้อที่ภิกษุควรพิจารณาให้มาก นัยที่ ๑ 153  
  62.  ผู้สร้างสุขหรือสร้างทุกข์ให้แก่มหาชน นัยที่ ๒ 155  
  63.  ลักษณะแบบใด คือ คนของสัมมาสัมพุทธะ 158  
  64. ได้ชื่อว่าเป็นภิกษุ ไม่ใช่เพราะเครื่องแบบ 159  
  65. ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต 161  

 





p117
ที่มาที่ไปของประเพณีผิดอันเกิดจากคำแต่งใหม่


43
p118
ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ อานิสงส์การสร้างพระพุทธรูป

อานิสงส์การสร้างพระพุทธรูป มีปรากฏในเรื่องวัฏฏังคุลีราชชาดก กล่าวถึงการสร้างพระพุทธรูป ไม้แก่นจันทน์แดง ของพระเจ้า ปัสเสนทิโกศล ว่า “สมัยหนึ่งพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยหมู่ภิกษุ เสด็จ จาริกไปเพื่อ โปรดเวไนยสัตว์ ที่มาเข้าข่าย คือพระญาณของ พระองค์พระเจ้าปัสเสนทิโกศล เสด็จ ไปสู่ พระเชตวัน ไม่เห็นพระศาสดาและภิกษุสงฆ์ จึงเกิดความสลดพระทัยว่า ถ้าว่าพระ ผู้มีพระภาค ไม่ประทับอยู่ เราจะได้อะไร เป็นตัวแทนของพระองค์ เอาไว้กราบไหว้เมื่อกลับมา จึงดำริว่าจะสร้าง พระพุทธปฏิมา

เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จกลับมาแล้ว จึงเข้าไปกราบทูลขออนุญาต พระผู้มีพระภาค ก็ทรงอนุญาต เมื่อสร้างเสร็จแล้ว ก็มาทูล อาราธนาพระพุทธเจ้า เสด็จไปชม พระพุทธปฏิมา แล้วทูลถามว่า ผู้ได้สร้าง พระพุทธ ปฏิมา จะได้ผลอานิสงส์อย่างไร พระศาสดา จึงตรัสบอกอานิสงส์โดยประการต่างๆว่า ผู้ที่ ได้สร้างพระพุทธปฏิมา จะเป็นบุรุษ ก็ตามสตรีก็ตามสร้าง ด้วยดิน เหนียว หรือศิลาก็ตามสร้างด้วย โลหะ และทองแดง ก็ตามสร้างด้วยไม้ และสังกะสีดีบุกก็ตามสร้างด้วยรัตนะ และเงินทองก็ ตาม ผู้นั้น จักได้อานิสงส์พ้นที่จะนับจะประมาณ

เมื่อพระพุทธปฏิมาประดิษฐานอยู่ในโลกตราบใดโลก ก็ชื่อว่าไม่ว่างเปล่า จากพระพุทธเจ้า ตราบนั้น พระพุทธปฏิมานี้ ได้ชื่อว่า ยังพระพุทธศาสนาให้ตั้งมั่น ถาวรผู้ที่ได้สร้าง ก็จะมีแต่ความสุขเป็น เบื้องหน้า แม้ปรารถนาผลอันใด ก็จะสำเร็จ สมปรารถนา แม้แต่พระองค์เอง

ครั้งเสวยชาติเป็นพระโพธิสัตว์ ก็ได้ทำพระหัตถ์ของพระพุทธปฏิมา ที่หักให้บริบูรณ์ ด้วยดินเหนียว อานิสงส์ อันนั้น ทำให้ได้เกิด ในเทวโลกเมื่อจุติจากเทวโลก แล้วมาเกิดในเมืองมนุษย์ มีพระองคุลี เป็นอาวุธชี้ไป ทางข้าศึกศัตรูๆก็ล้มเซซวนไป ไม่ สามารถ จะสู้รบได้เมื่อตรัสดังนี้แล้วก็ทรงนำ เอา อดีตนิทานมาแสดง ในเรื่องวัฏฏังคุลีราชกุมารผู้มีนิ้วพระหัตถ์อันวิเศษ สามารถเอาชนะข้าศึกได้ด้วย การใช้นิ้วพระหัตถ์ ชี้ใส่ ข้าศึก”....

วัฏฏังคุลีราชชาดกเป็นชาดกเรื่องที่๒๐ จาก๕๐ เรื่องของหนังสือปัญญาสชาดก แต่สมัยที่แต่ง ประวัติ ผู้แต่ง และสถานที่แต่ง ยังคงไม่ชัดเจนหลักฐานบางส่วน ที่เคยยอมรับกันก็เริ่มไม่เป็นที่แน่ชัดเพราะมี หลักฐาน ที่ค้นคว้าได้ ใหม่บางส่วนมาขัดแย้ง

ทัศนะที่ยอมรับกันตามที่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงนิพนธ์ไว้ใน “พระนิพนธ์คำนำ” ของปัญญาสชาดกในการ จัดพิมพ์ครั้งแรกว่า“ หนังสือปัญญาสชาดกนี้ คือประชุมนิทานเก่าแก่ ที่เล่า กัน ในเมือง ไทยแต่โบราณ ๕๐เรื่อง พระสงฆ์ชาว เชียงใหม่รวบรวมแต่งเป็นชาดก ไว้ในภาษา มคธ เมื่อพระพุทธศักราชประมาณ ราวในระหว่าง ๒๐๐๐ จน ๒๒๐๐ ปี อันเปน สมัยเมื่อ พระสงฆ์ชาว ประเทศนี้ พากันไป เล่าเรียน มา แต่ลังกาทวีป การรู้ภาษามคธแตกฉาน เอาแบบอย่าง ของพระภิกษุ สงฆ์ ในลังกาทวีป มาแต่งหนังสือเปนภาษามคธ ขึ้นในบ้านเมืองของตนแต่ง เปนอย่างอรรถา ธรรมาธิบาย ...”

นอกจากนี้สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงกล่าวถึงหนังสือเล่มนี้ไว้ว่า

“... หนังสือ ปัญญาสชาดก นี้ต้นฉบับเดิม เป็นคัมภีร์ลานจำนวนรวม ๕๐ ผูก ด้วยกันเดี๋ยวนี้เห็นจะมี อยู่แต่ในประเทศสยาม กับที่หัวเมืองหลวงพระบาง แลที่กรุงกัมพูชาที่อื่นหามีไม่ มีเรื่องราวปรากฏว่า เคยได้ฉบับ ไปถึงเมืองพม่า ครั้งหนึ่งพม่า เรียกว่า‘เชียงใหม่ปัณณาส’ แต่พระเจ้าแผ่นดิน พม่า องค์ใดองค์หนึ่งดำรัสว่า เปนหนังสือแต่งปลอม พระพุทธวจนะ สั่งให้เผาเสีย ในเมืองพม่า จึงมิได้มีหนังสือ ปัญญาสชาดก เหลืออยู่ ...”

“... นิทานในปัญญาสชาดกเป็นนิทานที่ไทย เรารู้จักกันอยู่ซึมทราบหลายเรื่อง เช่นเรื่องสมุทโฆษ เรื่องพระสุธนนาง มโนห์รา เรื่องสังข์ทอง เรื่องพระรถเสน แลเรื่องคาวีเปนต้น ...”ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้า บรมวงศ์เธอกรมพระยา. (๒๔๖๗).

“พระนิพนธ์คำอธิบาย” ในปัญญาสชาดกภาคที่๒พระนคร: โสภณพิพรรฒธนากร. (พิมพ์ในการกุศลงารศพ หม่อมเจ้าหญิง พร้อมเพราพรรณ
ท.จ. ๑๕ ธันวาคมพ.ศ.๒๔๖๗).

ธานินทร์อาทิตวโร, พระมหา. (๒๕๔๖).
ปัญญาสชาดกเรื่อง๘-๒๗ : การตรวจชำระและศึกษาเชิงวิเคราะห์.
วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาบาลี
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

นิยะดาเหล่าสุนทร. (๒๕๓๘).ปัญญาสชาดก :
ประวัติและความสำคัญที่มีต่อวรรณกรรมร้อยกรองของไทย.
กรุงเทพฯ: แม่คำผาง,

อ้างถึงในปรีชามโหสโถ, พระมหา. (๒๕๔๑).
อิทธิพลของวรรณคดีบาลีเรื่องปัญญาสชาดกที่มีต่อสังคมไทย.
วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาพระพุทธศาสนา
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ปรีชามโหสโถ, พระมหา. (๒๕๔๑).
อิทธิพลของวรรณคดีบาลีเรื่องปัญญาสชาดกที่มีต่อสังคมไทย.
วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาพระพุทธศาสนา
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.


44
p121
หมายเหตุผู้รวบรวม

เรื่องอานิสงส์ในการสร้างพระพุทธรูป ที่ถูกแต่งขึ้นใหม่เป็นเหตุ ให้ขัดแย้งต่อภาษิต และบัญญัติ พระศาสดาที่ตรัสไว้ก่อน ปรินิพพานว่า พระองค์ให้ใช้ธรรมและวินัย ที่แสดงไว้ดีแล้ว เป็นศาสดาแทน ต่อไป และยังตรัสให้พึ่งตนเอง ละพึ่งธรรมะไม่ได้ ให้ไปพึ่งอย่างอื่น นอกจากนี้ได้ตรัสโทษของ การ แสดง สิ่งที่ตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้ และไม่ได้บัญญัติไว้ว่า เป็นสิ่งที่ตถาตได้ ภาษิต ไว้ และได้บัญญัติ ไว้นั้น ย่อมทำมหาชน ให้หมดความสุข เป็นไปเพื่อความฉิบหาย แก่มหาชนคนนั้น ย่อมประสบสิ่ง ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก และชื่อว่าทำสัทธรรมของพระองค์อันตรธานไป.
ดังพระสูตรในบทที่๓๐หรือในหน้า ๙๔ของหนังสือเล่มนี้

45
p122
ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการฟังเทศน์มหาชาติ
พระสัมมาสัมพุทธะ
นามว่าเมตเตยยะ โดยพุทธวจน


จากพุทธวจนในพระไตรปิฏกได้แสดงถึงการเสด็จอุบัติ แห่งพระสัมมาสัมพุทธะนามว่า เมตเตยยะ ไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ! ในเมื่อ มนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปีพระผู้มีพระภาค พระนามว่าเมตเตยยะ จักเสด็จอุบัติ ขึ้นในโลก พระองค์เป็นอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไป ดีแล้ว ทรงรู้ แจ้งโลก เป็นสารถี ฝึกบุรุษ ที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดา และ มนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็น ผู้จำแนกพระธรรม เหมือนตถาคตอุบัติขึ้นแล้ว ในโลกในบัดนี้ เป็นอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ...

เป็นผู้จำแนกธรรม พระผู้มีพระภาคพระนามว่า เมตเตยยะ พระองค์นั้น จักทรงทำ โลกนี้พร้อมทั้ง เทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่ง ด้วยพระองค์เองแล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์ พร้อมทั้ง สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ให้รู้ตาม เหมือนตถาคตในบัดนี้ ทำโลกนี้ พร้อมทั้ง เทวโลก มารโลก พรหมโลก ...

ให้รู้ตามอยู่ พระผู้มีพระภาคพระนามว่า เมตเตยยะ พระองค์นั้นจักทรงแสดงธรรม งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง พระผู้มีพระภาคพระนามว่า เมตเตยยะ พระองค์นั้นักทรงบริหารภิกษุ สงฆ์หลายพัน เหมือนตถาคตบริหารภิกษุสงฆ์หลายร้อย ในบัดนี้ฉะนั้น.

พุทธวจนในพระไตรปิฎกกล่าวถึงพระสัมมาสัมพุทธะนาม ว่าเมตเตยยะไว้เพียงเท่านี้. (-ไทยปา.ที.๑๑/๕๗/๔๘ .)

46
p123
ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับพระสัมมาสัมพุทธะ
นามว่าเมตเตยยะ โดยคำแต่งใหม่


... พระมาลัยคำหลวง เป็นวรรณคดีพุทธศาสนาที่ไม่มีในพระไตรปิฎก ศาสนาพระศรีอาริย์ มีอยู่ในคัมภีร์ เรียกว่า “มาลัยสูตร” ซึ่งเนื้อเรื่องกล่าวถึงพระเถระ องค์ชื่อ “มาลัย” ว่าเกิดในเกาะลังกา สำเร็จพระ อรหัตต ผล มีฤทธิ์เชี่ยวชาญ สามารถลงไปใน เมืองนรกดับไฟนรก ทุบหม้อทองแดง ฯลฯ ช่วยสัตว์ นรกให้พ้นจาก ทรมาน สามารถเหาะขึ้นไปเมืองสวรรค์ เอาดอกบัวบูชา พระจุฬามณีเจดีย์ได้สนทนา กับพระศรีอาริย์ และ พระมาลัยก็บอกว่าชาวเมืองมนุษย์ร่ำร้อง อยากเกิดในศาสนา พระศรีอาริย์ กันทั่วไป พระศรีอาริย์จึงสั่งให้พระมาลัย มาบอกชาวโลกมนุษย์ เป็นใจความสำคัญว่าให้หมั่น ทำบุญ ให้ทานรักษาศีล ผู้ใด ฟังเทศน์ มหาชาติ เรื่องพระเวสสันดร ซึ่งมีคาถาอยู่พันคาถาให้จบในวันเดียว และในการเทศน์นั้น ต้องถวายดอกบัวต่างๆ อย่างละพันดอก แล้วก็จะได้พบศาสนา พระศรีอาริย์ ดังความในพระมาลัยคำหลวงที่ว่า... พระเมตไตรยฟังสาร เธอเบิก บานหฤทัย โสมนัสส์ใสศรัทธาภิรมยา ปราโมทย์ ด้วยมนุษย์โสด สร้างกุศลท้าวธกล่าวกล สารสั่ง พระ มายังมนุษา เมื่อเธอจะคลานิวัตรยังชมพูทีปัถคืน คงขอพระองค์จงนำสาร ข้าบรรหารกล่าวแถลง

เธอจงแจ้งแก่เวไนยแม้นผู้ใดจะใคร่พบ จงเคารพตามโอวาท ให้ทำมหาชาติ เนืองนันต์เครื่องสิ่งละพัน จงบูชาให้จบในทิวา วันนั้น ตั้งประทีปพันบูชาดอกปทุมา ถ้วน พันบัวเผื่อนผัน อินทนิลาดอกมณฑา โดยจง เทียนแลธงฉัตราเครื่องบูชา ทั้งนี้จงถ้วนถี่ สิ่งละพันคนทลิทนั้น ตามสมโดยนิยมจะบูชาพระ คาถาถ้วนพัน ให้สดับธรรม์เคารพ จนจวบจบอุทาหรณ์พระเวสสันดร นฤบาล ปัจฉิมกาล สมโพธิ์สมภาร โสดอันอุดม เป็นที่สุดสมในชาตินั้นบูชาพระธรรม์ จงครบ จึ่งจะได้ประสบองค์ข้า เมื่อจะลงมา อุบัติ จะได้ ดำรัสโพธิญาณ อันโอฬารอลังการ์ อันฝูงมนุสสาเหล่านั้นเขาจึ่งจะทันศาสนา เฉพาะพักตรา วิมล พรรณก็จะได้ถึงอรหันต์ ธรรมวิเศษโดยประเภทกุศลาอันเขาส่ำสมมานั้นแล.

ในหนังสือแกะรอยพระมาลัย ได้กล่าวถึงที่มาของเรื่องพระมาลัยมีใจความสำคัญดังนี้

“... คัมภีร์พระมาลัยมีหลายสำนวน เรื่องพระมาลัย เกิดขึ้นที่ลังกาพม่ารับต่อมาจาก ลังกา แต่งคัมภีร์ “มาเลยยสูตร” จาก มาเลยยสูตรสู่มาเลยยเทวัตเถรวัตถุ” ในล้านนา แล้วแพร่มาอยุธยาเกิดคัมภีร์ มาลัยยวัตถุ ทีปนีฎีกาซึ่งแต่งขึ้นใหม่ในกรุง ศรีอยุธยา นอกจากนี้ยังได้มีการแต่งเรื่อง เกี่ยวกับ พระมาลัยออกมามากมายหลายรูปแบบ เป็นต้น ว่าพระมาลัยคำหลวง วรรณกรรมราชสำนักพระมาลัย กลอนสวดพระมาลัย ฉบับ ชาวบ้านพูดถึงเรื่องนรกและสวรรค์ นิทานพระมาลัย คู่มือนักเทศน์ สอนเรื่อง นรก-สวรรค์พระมาลัยสูตรสำนวนเทศนา ใช้เทศนาในการกุศลอุทิศแก่ผู้ตาย...

นอกจากนี้ในหนังสือเล่มดังกล่าว ได้กล่าวถึงเนื้อหาในพระมาลัยคำหลวง ที่ส่งผล ต่อวิถีชีิวิต และ ประเพณีชาวบ้าน ด้วยเช่น สอนให้กลัวนรกมุ่งไปสวรรค์ การกรวดน้ำ เพื่ออุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ล่วงลับ ฟังเทศน์มหาชาติ จะได้พบพระศรีอาริย์ งานแต่ง งานศพ มีสวดพระมาลัย ... .

เด่นดาวศิลปานนท์. (๒๕๕๓).
แกะรอยพระมาลัยกรุงเทพฯ:
มิวเซียมเพรส.ธรรมธิเบศ, เจ้าฟ้า. (๒๕๕๐).
พระมาลัยคำหลวง. นนทบุรี:
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

อุดมพรคัมภิรานนท์. (๒๕๕๑).
การศึกษาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฎในเรื่อง
พระมาลัยคำหลวง วิทยานิพนธ์ พุทธศาสตร มหาบัณฑิต
สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

47
p126
ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการกรวดน้ำอุทิศบุญ

...การทำบุญควรกรวดน้ำให้ผู้ล่วงลับ มีผลสืบเนื่องมาจากที่พระมาลัย ไปโปรดสัตว์นรก เพื่อให้ สัตว์นรก ทั้งหลายนั้น ได้มี ความสุข และสัตว์นรก ได้ฝากความมาถึงญาติ ให้ทำบุญอุทิศไปให้ ดังความใน พระมาลัย คำหลวงที่ว่า

“สรรพสัตว์นิริยาดับทุกขาเกษมสานต์วันทนา การกราบเกล้าพระเจ้า มาแต่ใด จึ่งมาให้สุข แก่ข้าพระ เถร พจนาทเรามาแต่ชาติ มนุสสาฝูงนรกา ฟังข่าวอันธ กล่าวเปรมปรีดิ์ จึ่งทูลคดีพระเป็นเจ้าจงโปรด เกล้า สัตตา บอกฐานาที่อยู่ ขอพระผู้เป็นเจ้า จงบอก เล่าแก่ญาติแห่งข้าบาทอันมีในบุรีชื่อนั้นในบ้าน อันชื่อนี้ชนบท มีชื่อไกลบอกนาม ในปิตุเรศอยู่ประเทศที่นั้น นามพงศ์พันธ์ นานาบุตรธิดาสามี มาตุภคินี พี่ชายให้ทั้งหลาย เร่งทำกุศลกรรมส่งมาให้บูชา พระพุทธธรรเมศอุดมเลิศสงฆ์ประเสริฐ ศีลาจารย์ แล้วให้ทานยาจกทักษิโณทก ส่งมาแต่ฝูงข้าทุกตนจึ่งจะพ้นจากทุกขา”

จากข้อความข้างต้นทำให้คนไทย เชื่อว่าการทำบุญกรวดน้ำ หรือในภาษาโบราณ เรียกว่าหลั่งน้ำ ทักษิโณทก จะทำให้ผู้ตาย ได้รับผลบุญ และพ้นจากความทุกข์ใจ ดังนั้นจึงถือเป็นการปฏิบัติกันว่า เมื่อทำบุญต้อง กรวดน้ำ เพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศล ให้กับผู้ล่วงลับ ให้กับเจ้ากรรมนายเวร...

ธรรมธิเบศ, เจ้าฟ้า. (๒๕๕๐).พระมาลัยคำหลวง. นนทบุรี: หาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. อุดมพรคัมภิรานนท์. (๒๕๕๑). การศึกษาหลักธรรม ทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฎ ในเรื่องพระมาลัย คำหลวง วิทยา นิพนธ์ พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา พระพุทธศาสนา มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

หมายเหตุผู้รวบรวม


เรื่องพระมาลัยที่แต่งขึ้น เป็นเหตุให้เกิดมิจฉาทิฏฐิว่ากรรมของสัตว์ เป็นเพราะผู้อื่น บันดาล ซึ่งคติ ที่ไปของผู้มีมิจฉาทิฏฐิ ย่อมไม่พ้นจากนรกหรือกำเนิดเดรัจฉาน

แต่สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน เป็นผู้รับผลของกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย ทำดี ก็ตาม ทำชั่ว ก็ตาม จักเป็นผู้รับผล ของกรรมนั้น และสุข-ทุกข์ที่เกิดขึ้น เกิดจากผัสสะ เป็นเเหตุเป็นปัจจัย นอกจากนี้ ได้ตรัส โทษของการแสดงสิ่งที่ตถาคต ไม่ได้ภาษิตไว้ และไม่ได้บัญญัติไว้ ว่าเป็นสิ่งที่ตถาตได้ภาษิตไว้ และ ได้บัญญัติไว้นั้น ย่อมทำมหาชนให้หมด ความสุข เป็นไปเพื่อความ ฉิบหาย แก่มหาชน คนนั้นย่อมประสบ สิ่งไม่ใช่บุญเป็นอันมาก และชื่อว่า ทำสัทธรรมของพระองค์อันตรธานไป.

ดังพระสูตรในบทที่ ๓๐ หรือในหน้า ๙๔ ของหนังสือเล่มนี้.


48
p128
ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการทำน้ำมนต์
-บาลี สุ. ขุ. อ. ๒/๙.

เรื่องการทำน้ำมนต์มีปรากฏในคัมภีร์อรรถกถาที่แต่งอธิบายรัตนสูตร มีข้อความว่า

“... มีคำถามว่า ก็พระสูตรนี้ใครกล่าวไว้อย่างนี้ กล่าวไว้เมื่อใด ที่ไหนและ เพราะ เหตุไร การวิสัชนาปัญหา พระโบราณาจารย์ ทั้งหลายได้พรรณนาไว้โดยพิสดาร จำเดิมแต่เรื่องเมืองเวสาลี.

ในวันที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ยังเสด็จไม่ถึงเมืองเวสาลีนั้นแล ท่านพระอานนท์ ได้เรียนรัตนสูตรนี้ ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ เพื่อกำจัดอุปัทวะเหล่านั้น ที่ประตูพระนครเวสาลี สวดอยู่เพื่อป้องกัน ใช้บาตรของ พระผู้มีพระภาคเจ้าตักน้ำ เที่ยวประพรมอยู่ ทั่วพระนคร ก็เมื่อพระเถระกล่าวคำว่า ยงฺกิญฺจิ เท่านั้น พวกอมนุษย์ทั้งหลายที่อาศัยกองหยากเยื่อ และฝาเรือนเป็นต้น ซึ่งยังไม่หนีไป ในกาลก่อนก็พากัน หนีไปทาง ประตูทั้ง ๔ ประตูทั้งหลายไม่มีที่ว่าง ...”

หมายเหตุผู้รวบรวม
จากในคัมภีร์อรรถกถาที่แต่งขึ้น เป็นเหตุให้ขัดแย้งต่อภาษิต และบัญญัติของ พระศาสดา ที่ทรงระบุว่า การทำ น้ำมนต์ เป็นเดรัจฉานวิชา โดยกล่าวถึงพระองค์เอง และสั่งห้ามภิกษุไว้ถึง ๑๓ พระสูตร คือ พระองค์ ตรัสว่า ฅตถาคต เว้นขาด จากการทำเดรัจฉานวิชา และพระสูตรที่ตรัสให้ภิกษุเว้นขาดจาก เดรัจฉานวิชารวม ถึงที่ตรัสว่า ผู้ที่เป็นอริยบุคคล จะเจตนา งดเว้นจากเดรัจฉานวิชา นอกจากนี้ได้ ตรัสโทษ ของการ แสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้ และไม่ได้บัญญัติไว้ว่า เป็นสิ่ง ที่ตถาคต ได้ภาษิตไว้ และได้บัญญัติไว้นั้น ย่อมทำมหาชนให้หมดความสุข เป็นไปเพื่อความฉิบหายแก่มหาชน คนนั้นย่อม ประสบ สิ่งไม่ใช่บุญ เป็นอันมาก และชื่อว่าทำสัทธรรม ของพระองค์อันตรธานไป.

ดังพระสูตรในบทที่ ๓๐ หรือในหน้า ๙๔ ของหนังสือเล่มนี้.


49
p130
ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับอานิสงส์ของการสวดมนต์
-บาลี ชา. ขุ. อ. ๓/๕๑. , -บาลี ขุ. ขุ. อ. ๒/๓๔.
-บาลี สุ. ขุ. อ. ๒/๙. , -บาลี ธ. ขุ. อ. ๑/๖๙๔.

ในคัมภีร์อรรถกถามีกล่าวว่า อานุภาพพระปริตรคุ้มครองผู้สวดได้ เช่นเรื่องที่กล่าวว่า พระโพธิสัตว์ เสวยพระชาติ เป็นนกยูงทอง พระองค์ได้หมั่นสาธยายโมรปริตร ที่กล่าวถึงคุณของพระพุทธเจ้า เป็นประจำ ทำให้ แคล้วคลาด จากบ่วงที่นายพราน ดักไว้.

นอกจากนี้ในอรรถกถาอีกคัมภีร์ได้แต่งไว้ว่า ในสมัยพุทธกาลมีภิกษุห้าร้อยรูป ไปเจริญภาวนาในป่า ได้ถูกเทวดา รบกวน จนกระทั่งปฏิบัติธรรมไม่ได้ ต้องเดินทาง กลับเมืองสาวัตถี พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัส เมตตสูตร ซึ่งกล่าวถึง การเจริญเมตตา ครั้นภิกษุเหล่านั้นหมั่นเจริญเมตตาภาวนา เทวดาจึงมีไมตรีจิต ตอบด้วย และช่วยพิทักษ์คุ้มครอง ให้ภิกษุหมู่นั้น ปฏิบัติธรรม ได้โดยสะดวก.

ในคัมภีร์อรรถกถาเล่มอื่นมีกล่าวว่า อานุภาพพระปริตรสามารถคุ้มครองผู้ฟังได้ โดยแต่งไว้ว่า ในสมัยพุทธกาล เมื่อเมือง เวสาลีประสบภัย ๓ อย่าง คือ ความอดอยากแร้นแค้น การเบียดเบียนจาก อมนุษย์ และการ แพร่ของโรคระบาด พระพุทธเจ้า ได้รับนิมนต์เสด็จไปโปรด พระองค์รับสั่ง ให้พระอานนท์สวดรัตนปริตร ที่กล่าวถึงคุณของพระรัตนตรัย ภัยดังกล่าวในเมืองนั้น จึงได้สงบลง.

นอกจากนี้ในอรรถกถาอีกคัมภีร์หนึ่งแต่งไว้ว่า ในสมัยพุทธกาลมีเด็กคนหนึ่ง จะถูกยักษ์ จับกินภายใน ๗ วัน พระพุทธเจ้า จึงทรง แนะนำให้ภิกษุสวด พระปริตรตลอด ๗ คืน และพระองค์ได้เสด็จไปสวดด้วย พระองค์เองในคืนที่ ๘ เด็กนั้นก็สามารถรอดพ้น จากภัยพิบัติของอมนุษย์นั้นได้.

หมายเหตุผู้รวบรวม

(1) บทสวดมนต์ที่แต่งขึ้นใหม่เป็นเหตุให้ขัดแย้งต่อภาษิต และบัญญัติของ พระศาสดา ที่ห้ามภิกษุ บัญญัติเพิ่ม หรือเพิกถอน สิ่งที่พระองค์บัญญัติ และพระองค์ ก็ไม่ให้สนใจคำที่แต่งขึ้นใหม่ เพราะเมื่อมีการ บัญญัติเพิ่ม หรือเพิกถอน สิ่งที่พระองค์บัญญัติ และการไปสนใจศึกษาคำแต่งใหม่ จะเป็นเหตุให้คำสอนของ ตถาคต สูญสิ้นไป นอกจากนี้ได้ตรัสโทษของการแสดงสิ่งที่ ตถาคตไม่ได้ ภาษิตไว้ และไม่ได้บัญญัติ ไว้ว่าเป็นสิ่งที่ตถาตได้ภาษิตไว้ และได้บัญญัติไว้นั้น ย่อมทำมหาชน ให้หมด ความสุข เป็นไป เพื่อความฉิบหายแก่มหาชนคนนั้น ย่อมประสบสิ่งไม่ใช่บุญเป็นอันมาก และชื่อว่าทำสัทธรรม ของพระองค์ อันตรธานไป.

ดังพระสูตรในบทที่๓๐หรือในหน้า๙๔ของหนังสือเล่มนี้.

(2) คัมภีร์อรรถกถาที่อธิบายวินัยปิฎกสุตตันตปิฎก และอภิธรรมปิฎกที่ใช้กันในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ เป็นคัมภีร์ ที่รจนาโดย พระพุทธโฆสะ และในบางส่วน (ซึ่งมีเป็นส่วนน้อย) ก็ปรากฏว่ามีภิกษุรูปอื่น ร่วมรจนาด้วย โดยการนำเนื้อหา ในมหาอรรถกถา กุรุนทีอรรถกถา และมหาปัจจรีอรรถกถาที่เป็น ภาษาสิงหลมาเรียบเรียงแต่งใหม่ เป็นภาษามคธ เมื่อประมาณพ.ศ.๙๕๖ ซึ่งอยู่ ในช่วงของการ สังคายนาครั้งที่๖ เกิดเป็น อรรถกถารุ่นใหม่ที่ใช้กันในปัจจุบัน รวมถึงหนังสือวิสุทธิมรรคด้วย ส่วนอรรถกถา ของขุททกปาฐะ และสุตตนิบาต ในขุททกนิกาย (ขุ. ขุ. อ., สุ. ขุ. อ.หรือปรมัตถโชติกา), ชาดกในขุททกนิกาย (ชา. ขุ. อ. หรือชาตกัฏฐกถา) ธรรมบทในขุททกนิกาย (ธ. ขุ. อ. ธัมมปทัฏฐกถา)

ที่อ้างอิงในหนังสือเล่มนี้ก็ล้วนแต่ถูกรจนาโดย พระพุทธโฆสะเช่นกัน ส่วนอรรถกถา ของอปทาน ในขุททกนิกาย (อป. ขุ. อ. หรือวิสุทธชนวิลาสินี) ยังไม่ทราบแน่ชัดว่า ผู้ใดเป็นผู้รจนา.

50
p133
บทสวดมนต์ยอดนิยมเป็นคำแต่งใหม่

บทสวดสัพพมังคลคาถา เป็นคำแต่งใหม่

สัพพมังคลคาถาคือคาถาที่กล่าวถึงมงคลทั้งหมดคาถานี้ อาราธนาคุณของ พระพุทธเจ้า และเทวดา ทั้งปวงมาพิทักษ์ ให้มี ความสวัสดีเป็นคาถา ที่โบราณาจารย์ ประพันธ์ขึ้นภายหลัง เพราะไม่มีปรากฎ ในพระสูตร สันนิษฐานว่า ได้รับการประพันธ์ นานกว่า ๘๐๐ ปี เพราะมีอ้างไว้ในคัมภีร์สัททนีติ (สุตตมาลาสูตร๕๐๘ ) ซึ่งรจนา ที่ประเทศสหภาพพม่าในราวพ.ศ. ๑๗๐๐

ตัวอย่าง สัพพมังคลคาถา
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง
รักขันตุ สัพพะเทวตา
สัพพะพุทธานุภาเวนะ
สะทา โสตถิ ภะวันตุ เม...

51
P134
บทสวดพาหุง (พุทธชัยมังคลคาถา) เป็นคำแต่งใหม่


บทสวดพาหุง
(พุทธชัยมังคลคาถา) คือคาถาที่กล่าวถึงชัยชนะของพระพุทธเจ้า ๘ ครั้ง แล้วอ้าง สัจวาจานั้น มาพิทักษ์ คุ้มครอง ให้มีความสวัสดีชัยชนะเหล่านั้น คือชนะมารชนะอาฬวกยักษ์ ชนะช้างนาฬาคิรี ชนะโจร องคุลิมาลชนะ นางจิญจมาณ วิกา ชนะสัจจกนิครนถ์ ชนะนันโทปนันทนาคราช และชนะพกพรหม.

นักวิชาการบางท่านสันนิษฐานว่า ผู้ประพันธ์คาถานี้คือพระมหาพุทธสิริเถระ ซึ่งรจนาคัมภีร์ฎีกาพาหุง ในสมัย สมเด็จพระบรม ไตรโลกนาถ และประพันธ์ ในราวพ.ศ. ๒๐๐๖ คาถานี้ยังมีชื่อเรียกว่า บทถวายพร พระเพราะแต่ง ถวายพร พระเจ้าแผ่นดิน เพื่อให้ทรงชนะศึก (วิวัฒนาการวรรณคดี บาลีสาย พระสุตตันต ปิฎกที่แต่งในประเทศไทย หน้า๓๐๑ -๒) อนึ่งคาถาที่นิยมสวด อยู่ในปัจจุบันมี ๙ คาถา

ตัวอย่าง
บทสวดพาหุง
พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง
ครีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง
ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เม ชะยะมังคะลานิ ...

52
P135
คาถาชินบัญชร เป็นคำแต่งใหม่

ชินบัญชรคือเกราะแก้วของพระชินเจ้าคาถาชินบัญชรนี้ กล่าวอาราธนาพระพุทธเจ้า พระสาวก และพระปริตร ให้มา ดำรงอยู่ ในกายเพื่อพิทักษ์คุ้มครองผู้แต่ง และ สถานที่แต่ง ไม่มีหลักฐาน ปรากฏในประวัติศาสตร์ไทย

แต่มีหลักฐานปรากฏในประวัติศาสตร์พม่า คือเรื่องพุทธนวมวินิจฉัย ในวินยสมูหวินิจฉัย เล่ม๒หน้า๕๐๕ -๙) กล่าวว่าแต่ง ที่เมืองเชียงใหม่ ในรัชสมัย พระเจ้าอโนรธา เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่รัชกาลที่๒๐ ระหว่าง พ.ศ. ๒๑๒๑–๒๑๕๐ เพราะใน สมัยนั้น ชาวเมืองเชียงใหม่ นิยมบูชา ดาวนพเคราะห์ ในหลวงจึงปรึกษากับ พระเถระในยุคนั้น แล้วรับสั่งให้ชาวเมือง สวดคาถา ชินบัญชร และคาถาอื่นๆ แทนการบูชาดาวนพเคราะห์ ที่ไม่คล้อยตามคำสอน ในพระพุทธศาสนาดังนั้นคาถา ชินบัญชร จึงแต่ง โดยพระเถระชาวไทย ที่เมืองเชียงใหม่ คาถานี้ยังแพร่หลาย ถึงประเทศสหภาพพม่า และ ศรีลังกาอีกด้วย.

คาถาชินบัญชรฉบับที่แพร่หลายอยู่ในประเทศไทย มี๒ฉบับเช่นฉบับแรกของวัดระฆัง โฆสิตาราม เป็นต้น

ตัวอย่าง คาถาชินบัญชร
ชะยาสะนะคะตา พุทธา
เชต๎วา มารัง สะวาหนัง
จะตุสัจจาสะภัง ระสัง
เย ปิวิงสุ นะราสะภา ...

53
P137
บทสวดอภยปริตร เป็นคำแต่งใหม่

อภยปริตรคือปริตรไม่มีภัยเป็นพระปริตรที่โบราณาจารย์ประพันธ์ขึ้น โดยอ้างคุณ พระรัตนตรัย มาพิทักษ์คุ้มครอง ให้มี ความสวัสดีพระปริตรนี้ มีปรากฏในบทสวด เจ็ดตำนาน และบทสวดสิบสองตำนานของไทย ได้แพร่หลายไปถึง ประเทศ สหภาพพม่า และศรีลังกาอีก ด้วยสันนิษฐานว่ารจนา โดยพระเถระชาวเชียงใหม่ ในสมัยรจนาคาถา ชินบัญชร สังเกตจาการ อธิษฐานให้เคราะห์ร้ายพินาศไป เพราะชาวเมือง เชียงใหม่ในสมัยนั้น นิยมบูชาดาว นพเคราะห์จึงได้มีนักปราชญ์ ประพันธ์ คาถานี้ เพื่อให้สวดแทนการบูชาดาวนพเคราะห์คาถานี้ ยังมีปรากฏในคัมภีร์ ปริตตฎีกาที่รจนาในพ.ศ. ๒๑๕๑

ตัวอย่าง อภยปริตร
ยัน ทุนนิมิตัง อะวะมังคะลัญจะ
โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท
ปาปัคคะโห ทุสสุปนัง อะกันตัง
พุทธานุภาเวะ วินาสะเมนตุ ...

54
P138
บทสวดอาฏานาฏิยปริตร เป็นคำแต่งใหม่

อาฏานาฎิยสูตร ที่ปรากฏในทีฆนิกายปาฏิกวรรค (-บาลีปา. ที. ๑๑ /๒๐๙ /๒๐๙ ) มีทั้งหมด๕๑คาถาแต่อาฏานาฏิยปริตร ที่นิยมสวดกันเป็นบทสวด ที่โบราณาจารย์ ปรับปรุงเพิ่มเติม ในภายหลังโดยนำคาถา จากพระบาลี๖ คาถาแรกแล้วเพิ่มคาถา อื่นที่อ้างพระพุทธคุณและเทวานุภาพ เพื่อเป็นสัจวาจาพิทักษ์คุ้มครองผู้สวด สำหรับคาถาสุดท้ายท่านนำมาจากในคัมภีร์ ธรรมบท (-บาลีขุ. ธ.๒๕ /๒๙ /๑๘ .) ผู้รู้บาง ท่าน กล่าวว่าพระเถระชาวลังกาเป็นผู้ปรับปรุง เพิ่มเติมพระปริตรนี้ (พระปริตร แปลพิเศษฉบับพม่าหน้า ๔-๕)

ตัวอย่าง อาฏานาฏิยปริตร
วิปัสสะ จะ นะมัตถุ
จักขุมันตัสสะ สิรีมะโต
สิขิสสะปิ จะ นะมัตถุ
สัพพะภูตานุกัมปิโน ...

55
P139
บทสวดโพชฌงคปริตร เป็นคำแต่งใหม่

โพชฌงค์๗ที่เป็นพุทธวจนพระพุทธองค์ตรัสไว้เป็นร้อยแก้ว พบในคิลานสูตรที่๑ คิลานสูตรที่๒ และคิลานสูตรที่๓ ในสังยุต นิกายมหาวรรค (-บาลีมหาวาร. สํ. ๑๙ /๑๑๓ -๑๑๖ /๔๑๕ -๔๒๗ .)

ส่วนโพชฌงคปริตรที่สวดกันในปัจจุบันเป็นร้อยกรอง ที่พระเถระชาวสิงหลประพันธ์ขึ้น โดย นำข้อความจากพระสูตร มาประพันธ์ เป็นร้อยกรอง (พระปริตรแปลพิเศษ ฉบับพม่า หน้า๙)

ตัวอย่าง โพชฌงคปริตร
โพชฌังโค สะติสังขาโต
ธัมมานัง วิจะโย ตะถา
วีริยัง ปีติ ปัสสิทธิ
โพชฌังคา จะ ตะถาปะเร ...

56
p140
บทสวดชัยปริตร
เป็นคำแต่งใหม่

ชัยปริตรคือปริตรที่กล่าวถึงชัยชนะของพระพุทธเจ้า แล้วอ้างสัจวาจานั้นมาพิทักษ์ คุ้มครอง ให้มีความสวัสดีคาถา๑-๓ แสดงชัยชนะของพระพุทธเจ้า เป็นคาถา ที่โบราณาจารย์ ประพันธ์ขึ้นภายหลังคาถา๔-๕-๖ เป็นพุทธวจนที่นำมาจาก อังคุตตรนิกาย ปุพพัณหสูตร (-บาลีติก. อํ. ๒๐ /๓๗๘ /๕๙๕ .)

ตัวอย่าง ชัยปริตร
มะหาการุณิโก นาโถ
หิตายะ สัพพะปาณินัง
ปูเรต๎วา ปาระมี สัพพา
ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง ...

57
p141
บทสวดอุทิศบุญกุศล (ปัตติทานคาถา) เป็นคำแต่งใหม่


ปัตติทานคาถาคือคาถาอุทิศส่วนบุญสันนิษฐานว่าเป็นคาถาประพันธ์ที่ประเทศไทยและคงประพันธ์ในสมัย กรุงศรีอยุธยา หรือกรุงรัตนโกสนิทร์คาถานี้ประพันธ์ โดยอิงอาศัยคำอุทิศส่วนบุญของพระเจ้าจักรพรรดิติ โลกวิชัย ที่มีปรากฏในคัมภีร์ อรรถกถา (อป.ขุ. . /๑๙๔ .) เพราะมีเนื้อความคล้ายคลึงกับคาถาเหล่านั้น.1

ตัวอย่าง ปัตติทานคาถา
ปุญญัสสิทานิ กะตัสสะ
ยานัญญานิ กะตานิ เม
เตสัญจะ ภาคิโน โหนต
สัตตานันตัปปะมาณะกา ...


146
ทางออก ของผู้ประพฤติมิจฉาทิฏฐิไปแล้ว


58
p146-1
กรณีของภิกษุ หากเห็นโทษโดยความเป็นโทษ ให้ทำคืนตามธรรม
-บาลีนิทาน. สํ. ๑๖/๑๕๑/๒๙๐-๓๐๔.

(พระผู้มีพระภาคและภิกษุสงฆ์มีประชาชนเคารพนับถือบูชาสมบูรณ์ ด้วยจีวรบิณฑบาตเสนาสนะ และคิลานปัจจัย เภสัชบริขาร ส่วนพวกปริพพาชกผู้เป็นอัญญเดียรถีย์อื่นไม่มีประชาชน เคารพนับถือบูชาปริพพาชกผู้หนึ่ง ชื่อสุสิมะได้รับคำแนะนำจากศิษย์ ให้เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนาเพื่อเรียนธรรมมาสอนประชาชนโดยหวังจะให้พวกตน มีประชาชนเคารพนับถือ และสมบูรณ์ด้วยลาภสักการะบ้าง ครั้นบวชแล้วก็ได้เที่ยวสอบถามภิกษุเหล่าอื่น เพื่อหาวิธี ให้ได้มาซึ่งคุณวิเศษ แต่ก็ได้รับคำตอบในทำนองว่าการบรรลุธรรม ไม่จำเป็นต้องได้คุณวิเศษจึงได้เข้าไปเฝ้า พระผู้มี พระภาคและกราบทูลเรื่องราวให้ฟัง พระผู้มีพระภาคได้แสดงธรรมจนทำให้สุสิมะได้ บรรลุธรรม)

ลำดับนั้นเองท่านสุสิมะหมอบลงแทบพระบาททั้งสอง ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยเศียรเกล้าแล้วได้กล่าวถ้อยคำนี้ กะพระผู้มีพระภาคเจ้าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! โทษได้ท่วมทับข้าพระองค์แล้วตามที่เป็นคนพาลอย่างไรตามที่เป็น คนหลงอย่างไรตามที่มีความคิดเป็นอกุศลอย่างไรคือข้อที่ข้าพระองค์บวชแล้ว เพื่อขโมยธรรมวินัย ที่พระองค์ตรัสดี แล้วอย่างนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงรับซึ่งโทษ โดยความเป็นโทษของข้าพระองค์ เพื่อ ความสำรวมระวังต่อไปเถิดพระเจ้าข้า.

เอาละ สุสิมะ ! โทษได้ท่วมทับเธอ ผู้เป็นคนพาลอย่างไร ผู้เป็นคนหลงอย่างไร ผู้มีความคิดเป็นอกุศลอย่างไร คือข้อที่เธอบวชแล้วเพื่อขโมยธรรมในธรรมวินัย ที่ตถาคตกล่าวดีแล้วอย่างนี้.

สุสิมะ ! เปรียบเหมือนราชบุรุษจับโจรผู้ประพฤติผิดมาแสดงแก่พระราชาแล้ว กราบทูลว่า  “ ข้าแต่เทวะ ! โจรนี้ ประพฤติผิดแด่พระองค์ ขอพระองค์จงทรงลง อาชญาแก่โจรนี้ ตามที่พระองค์ทรงพระประสงค์เถิด”  ดังนี้ พระราชา ทรงรับสั่งกะ ราชบุรุษเหล่านั้นดังนี้ว่า “บุรุษผู้เจริญ ! ท่านทั้งหลาย จงไป จงมัดบุรุษนี้ให้มีแขน ในเบื้องหลัง ให้มี การผูกมัดที่แน่นหนาด้วยเชือกอันเหนียว แล้วโกนศีรษะเสีย พาเที่ยวตระเวนตามถนนต่างๆ ตามทางแยกต่างๆ ด้วย กลองปณวะเสียงแข็ง พาออกทางประตูด้านทักษิณ แล้วจงตัดศีรษะเสีย ทางด้านทักษิณของนคร” ราชบุรุษมัด โจรนั้น กระทำตามที่พระราชาได้รับสั่งแล้วอย่างไร.

สุสิมะ ! เธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร บุรุษนั้นต้องเสวยทุกขโทมนัส เพราะข้อนั้นเป็นเหตุหรือหนอ.

อย่างนั้นพระเจ้าข้า.

สุสิมะ ! บุรุษนั้นต้องเสวยทุกขโทมนัสเพราะข้อนั้น เป็นเหตุเพียงใด แต่การบวช ของเธอเพื่อขโมยธรรม ในธรรม วินัยที่ตถาคตกล่าวดีแล้วอย่างนี้ นี้ยังมีวิบากเป็นทุกข์ งกว่า มีวิบากเผ็ดร้อนยิ่งกว่า แล้วยังเป็นไปเพื่อวินิบาตอีกด้วย.

สุสิมะ ! แต่เพราะเธอเห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้วทำคืนตามธรรม เราจึงรับโทษนั้นของเธอ ผู้ใดเห็นโทษ โดยความเป็นโทษแล้วทำคืนตามธรรม ถึงความสำรวมระวังต่อไป ข้อนี้เป็นความเจริญในอริยวินัยของผู้นั้น ดังนี้.

59
p149
ข้อควรปฏิบัติของภิกษุเมื่อเข้าบ้าน
-บาลีมหาวิ. วิ. /๑๘/. , -บาลีสี. ที. /๑๙๐/๒๓๘.
-
บาลี. . ๑๓/๓๘๑/๔๑๖. , -บาลี. . ๑๓/๕๓๒/๕๘๙.

(
กิจที่ภิกษุควรทำเมื่อเข้าบ้านนั้นมีปรากฏในหลายพระสูตรโดยสรุปก็คือมีการฉัน อาหาร การอนุโมทนาการสนทนา ธรรมดังตัวอย่างพระสูตรต่อไปนี้)

... อานนท์ ! ครั้งนั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่ากัสสปะ ผู้เป็นพระอรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงนุ่ง แล้ว ทรงถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปยังพระราชนิเวศน์ ของพระเจ้ากิกิกาสิราช  ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาจัดถวาย พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ลำดับนั้นพระเจ้ากิกิกาสิราช  ทรงอังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ให้อิ่มหนำเพียง พอด้วยของเคี้ยวของฉันอันประณีต  ด้วยพระหัตถ์ของท้าวเธอ

ครั้นพระผู้มีพระภาค ทรงพระนามว่า กัสสปอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เสวยเสร็จ วางพระหัตถ์จากบาตรแล้ว พระเจ้า กิกิกาสิราช ทรงถืออาสนะต่ำอันหนึ่ง ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ! ขอพระผู้มีพระภาคทรงรับการอยู่จำพรรษา ณ เมืองพาราณสีของหม่อมฉันเถิด หม่อมฉันจักได้บำรุง พระสงฆ์เห็นปานนี้.

พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่า กัสสปอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสว่า อย่าเลย มหาราช ! เรารับการอยู่จำพรรษา เสียแล้ว ... .

ขณะนั้นเป็นเวลาเช้าพระผู้มีพระภาค ทรงอันตรวาสกแล้วถือบาตรจีวร เสด็จพระพุทธ ดำเนินไปสู่นิเวศน์ ของเวรัญช พราหมณ์ ครั้นถึงแล้วประทับนั่งเหนืออาสนะที่เขา จัดถวาย พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ จึงเวรัญชพราหมณ์อังคาสภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้า เป็นประมุข ด้วยของเคี้ยวของฉันอันประณีตด้วยมือของตนจ นให้ห้ามภัตแล้วได้ถวายไตรจีวร แด่พระ ผู้มี พระภาคผู้เสวยเสร็จ ทรงนำพระหัตถ์ออกจากบาตร แล้วให้ทรงครองและถวายผ้าคู่ให้ภิกษุครองรูปละ สำรับจึง พระองค์ทรงชี้แจงให้ เวรัญชพราหมณ์ เห็นแจ้งสมาทานอาจหาญร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้วทรงลุกจาก ที่ประทับ เสด็จกลับ...  ลำดับนั้นเป็นเวลาเช้าพระผู้มีพระภาคทรงนุ่งแล้วทรงถือบาตร และจีวรพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ เสด็จไปสู่ สถานที่บูชายัญของพราหมณ์กูฏทันตะ แล้วประทับนั่งอาสนะที่เขาแต่งตั้งไว้ต่อนั้น

พราหมณ์กูฏทันตะ ได้อังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้า เป็นประมุขด้วยมือของตนเอง ด้วยขาทนียโภชนียาหารอย่าง ประณีตเมื่อทราบว่า พระผู้มีพระภาคเสวยเสร็จแล้วทรงลดพระหัตถ์ลงจากบาตรแล้ว จึงได้ถือเอาอาสนะที่ต่ำ แห่งหนึ่ง นั่งที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงยังพราหมณ์กูฏทันตะผู้นั่ง ณที่ควรส่วนข้างหนึ่งนั้นแลให้เห็น แจ้งให้สมาทานให้อาจหาญให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้วเสด็จลุกจาก อาสนะหลีกไป.

. พระสมณโคดมนั้นฉันแล้วนั่งนิ่งอยู่ขณะหนึ่ง และไม่ปล่อยให้เวลาแห่งการ อนุโมทนา ล่วงเลยไปฉันแล้ว ก็ อนุโมทนาโดยไม่ติเตียนอาหารนั้น ยกย่องอาหารอื่นย่อมสนทนาชักชวนบริษัทนั้นๆ ให้อาจหาญร่าเริงด้วย ธรรมีกถา โดยแท้ แล้ว จึงลุกจากอาสนะหลีกไปพระสมณโคดมนั้น ไม่ผลุนผลันไปไม่เฉื่อยชาไปและไม่ไปโดยเขาไม่รู้ไม่เห็น.

60
p142
สิ่งที่ภิกษุควรทำเมื่ออยู่ร่วมกัน
-บาลีมู. . ๑๒/๓๑๓/๓๑๓.
-
บาลีอฏฺฐก. อํ. ๒๓/๑๕๒-๑๕๖/๙๒.

ภิกษุนั้นไปสู่หมู่สงฆ์แล้ว ไม่พูดเรื่องนอกเรื่องไม่กล่าวเดรัจฉานกถา ย่อมกล่าวธรรมเองบ้าง เชื้อเชิญผู้อื่น ให้กล่าวบ้าง ย่อมไม่ดูหมิ่นการนิ่ง อย่างพระอริยเจ้า

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เป็นเหตุ เป็นปัจจัยข้อที่ ๗  ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา อันเป็นเบื้องต้น แห่งพรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้  เพื่อความงอกงามไพบูลย์ เจริญบริบูรณ์ แห่งปัญญาที่ได้แล้ว.

(
ในที่นี้ยกมาเพียงข้อจากทั้งหมดข้อของเหตุปัจจัยในการได้มาซึ่งปัญญา อันเป็น เบื้องต้น แห่งพรหมจรรย์ ที่ยังไม่ได้)

ภิกษุทั้งหลาย ! การที่พวกเธอผู้เป็นกุลบุตร ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ด้วยศรัทธา นั่งสนทนาธรรมีกถากัน เป็นการสมควร พวกเธอเมื่อนั่งประชุมกัน ควรทำกิจสองอย่างคือ สนทนาธรรมกัน หรือนั่งนิ่งอย่างพระอริยเจ้า.

61
p153
ข้อที่ภิกษุควรพิจารณาให้มาก ผู้สร้างสุขหรือสร้างทุกข์ให้แก่มหาชน นัยที่
-บาลีติก. อํ. ๒๐/๑๓๓/๔๕๐.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุผู้เป็นที่เชื่อถือของมหาชนทั่วไป เมื่อมีการกระทำ ๓ อย่างนี้แล้ว ได้ชื่อว่า เป็นผู้ทำมหาชน ให้เสื่อมเสีย ทำมหาชนให้หมดความสุข เป็นความพินาศ แก่มหาชน และไม่เป็นไป เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความ ทุกข์ทั้งแก่เทวดา และมนุษย์ ทั้งหลาย การกระทำ๓ อย่างเป็นอย่างไร คือ
(1) ชักชวนในกายกรรมที่ไม่สมควร
(2) ชักชวนในวจีกรรมที่ไม่สมควร
(3) ชักชวนในธรรมที่ไม่สมควร

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุผู้เป็นที่เชื่อถือของมหาชนทั่วไป เมื่อมีการกระทำ ๓ อย่าง เหล่านี้แล้ว ได้ชื่อว่า เป็นผู้ทำ มหาชนให้เสื่อมเสีย ทำมหาชนให้หมดความสุข เป็นความ พินาศแก่มหาชน และไม่เป็นไป เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์ ทั้งแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุผู้เป็นที่เชื่อถือของมหาชนทั่วไป เมื่อมีการกระทำ ๓ อย่างนี้แล้ว ได้ชื่อว่าเป็นผู้ ทำมหาชน ให้ได้รับประโยชน์ ทำมหาชนให้ได้รับความสุข เป็นไปเพื่อความเจริญแก่มหาชน และเป็นไป เพื่อความเกื้อกูล เพื่อ ความสุข ทั้งแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย การกระทำ๓ อย่างเป็นอย่างไร คือ

(1) ชักชวนในกายกรรมที่สมควร
(2) ชักชวนในวจีกรรมที่สมควร
(3) ชักชวนในธรรมที่สมควร

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุผู้เป็นที่เชื่อถือของมหาชนทั่วไป เมื่อมีการกระทำ ๓ อย่าง เหล่านี้แล้ว ได้ชื่อว่า เป็นผู้ทำ มหาชนให้ได้รับประโยชน์  ทำมหาชนให้ได้รับ ความสุข เป็นไปเพื่อความเจริญ แก่มหาชน และเป็นไปเพื่อความ เกื้อกูล เพื่อความสุข ทั้งแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.

62
p155
ผู้สร้างสุขหรือสร้างทุกข์ให้แก่มหาชน นัยที่
-บาลีปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๒๙/๘๘.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเถระที่ประกอบด้วยองค์ประกอบ ๕ อย่างเหล่านี้แล้ว ย่อมเป็นผู้ ปฏิบัติเพื่อทำ มหาชน ให้เสื่อม เสีย ทำมหาชนให้หมดความสุข ทำไปเพื่อความ พินาศแก่มหาชน ไม่เป็นประโยชน์ เกื้อกูล เป็นไปเพื่อความทุกข์ทั้ง แก่เทวดาและ มนุษย์ทั้งหลาย ๕ อย่าง คือ

(1) ภิกษุเป็นเถระ บวชมานาน มีพรรษายุกาลมาก

(2) เป็นที่รู้จักกันมาก มีเกียรติยศ มีบริวาร ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต

(3) เป็นผู้ร่ำรวยลาภด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร

(4) เป็นพหุสูต ทรงจำธรรมที่ฟัง แล้ว สั่งสมธรรม ที่ฟังแล้วมาก คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดอย่างดีด้วยทิฏฐิ

(5) (แต่) เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีทัศนะวิปริต

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุนี้ ทำคนเป็นอันมากให้เลิกละจากพระสัทธรรม ให้ตั้ง อยู่ใน อสัทธรรม ประชาชนทั้งหลาย ย่อมถือเอาแบบอย่างของภิกษุนั้นไป เพราะคิดว่า เธอเป็นเธอเป็นภิกษุเถระ ที่มหาชนเชื่อถือรู้จักกันมาก มีเกียรติยศ มีบริวารมาก ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิตบ้าง เพราะคิดว่า เธอเป็นภิกษุเถระ ที่ร่ำรวยลาภด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารบ้าง เพราะคิดว่า เธอเป็นภิกษุเถระ ที่เป็น พหุสูต ทรงจำธรรมที่ฟังแล้ว สั่งสมธรรมที่ฟังแล้วได้บ้าง ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเถระที่ประกอบด้วยองค์ประกอบ ๕ อย่างเหล่านี้แล้ว ย่อมเป็นผู้ ปฏิบัติเพื่อทำ มหาชนให้เสื่อม เสีย ทำมหาชนให้หมดความสุข ทำไปเพื่อความพินาศ แก่มหาชน ไม่เป็นประโยชน์ เกื้อกูลเป็นไปเพื่อความทุกข์ทั้ง แก่เทวดาและมนุษย์ ทั้งหลาย.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเถระที่ประกอบด้วยองค์ประกอบ ๕ อย่างเหล่านี้แล้ว ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อทำ มหาชน ให้ได้รับ ประโยชน์ ทำมหาชนให้ได้รับความสุข เป็นไปเพื่อความเจริญแก่มหาชน และเป็นไปเพื่อความเกื้อกูลเพื่อความสุข ทั้งแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ๕ อย่าง คือ

(1) ภิกษุเป็นเถระ บวชมานาน มีพรรษายุกาลมาก
(2) เป็นที่รู้จักกันมาก มีเกียรติยศ มีบริวาร ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิตภิกษุเถระ บวชมานาน มีพรรษายุกาลมากบ้าง เพราะคิดว่า
(3) เป็นผู้ร่ำรวยลาภด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร(4) เป็นพหุสูต ทรงจำธรรมที่ฟังแล้ว สั่งสมธรรมที่ฟังแล้วมาก ...
(5) (และ) เป็นสัมมาทิฏฐิ มีทัศนะอันถูกต้อง

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุนี้ ทำคนเป็นอันมาก ให้เลิกละจากอสัทธรรมให้ตั้งอยู่ใน พระสัทธรรม ประชาชนทั้งหลาย ย่อมถือเอาแบบอย่างของภิกษุนั้นไป เพราะคิดว่า เธอเป็นภิกษุเถระ บวชมานาน มีพรรษายุกาลมากบ้าง เพราะคิดว่า เธอเป็นภิกษุเถระ ที่มหาชนเชื่อถือ รู้จักกันมาก มีเกียรติยศ มีบริวารมาก ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิตบ้าง เพราะคิดว่า เธอเป็นภิกษุเถระ ที่ร่ำรวยลาภด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ คิลานปัจจัยเภสัชบริขารบ้าง เพราะคิดว่า เธอเป็นภิกษุเถระที่เป็นพหุสูต ทรงจำธรรม ที่ฟังแล้ว สั่งสมธรรมที่ฟังแล้วได้บ้าง ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเถระที่ประกอบด้วยองค์ประกอบ ๕ อย่างเหล่านี้แล้ว ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อทำ มหาชนให้ได้รับ ประโยชน์ ทำมหาชนให้ได้รับความสุข เป็นไปเพื่อความเจริญแก่มหาชน และเป็นไป เพื่อความเกื้อกูลเพื่อความสุข ทั้งแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.

63

p158
ลักษณะแบบใด
คือ คนของสัมมาสัมพุทธะ
-บาลีจตุกฺก. อํ. ๒๑/๓๓/๒๖.


ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเหล่าใด เป็นคนหลอกลวง
กระด้าง พูดพล่าม ยกตัว จองหอง เป็นผู้จิตไม่ตั้งมั่น.
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเหล่านั้น ไม่ใช่ “คนของเรา”

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเหล่านั้น ได้ออกไปนอกธรรม-
วินัยนี้เสียแล้ว และพวกภิกษุเหล่านั้น ย่อมไม่ถึงความเจริญ
งอกงาม ไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้ได้เลย.

ส่วนภิกษุเหล่าใด เป็นคนไม่หลอกลวง ไม่พูดพล่าม
เป็นบัณฑิต ไม่เป็นผู้กระด้าง เป็นผู้มีจิตตั้งมั่น
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเหล่านั้นเป็น คนของเรา

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเหล่านั้น ไม่ได้ออกไปนอก
ธรรมวินัยนี้ และย่อมถึงความเจริญ งอกงาม
ไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้.

64
p159
ได้ชื่อว่าเป็นภิกษุ
ไม่ใช่เพราะเครื่องแบบ
-บาลีติก. อํ. ๒๐/๒๙๔/๕๒๒.


ภิกษุทั้งหลาย ! ลาที่เดินตามฝูงโคไปข้างหลังๆ แม้จะร้องอยู่ว่า “กู ก็เป็นโค กู ก็เป็นโค” ดังนี้ก็ตามที แต่สี ของมันก็หาเป็นโคไปได้ไม่ เสียงของมันก็หาเป็นโค ไปได้ไม่เท้าของมันก็หาเป็นโคไปได้ไม่ มันก็ได้แต่เดิน ตามฝูงโคไปข้างหลังๆ ร้องเอาเองว่า กู ก็เป็นโค กู ก็เป็นโค ดังนี้เท่านั้น ข้อนี้ฉันใด.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุบางรูปในกรณีเช่นนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน คือ แม้จะเดินตามหมู่ ภิกษุไปข้างหลังๆ ร้องประกาศ อยู่ว่า ข้า ก็เป็นภิกษุ ข้า ก็เป็นภิกษุ ดังนี้ ก็ตามทีแต่ความใคร่ในการประพฤติ สีลสิกขาของเธอ ไม่เหมือนของ ภิกษุทั้งหลาย ความใคร่ในการประพฤติจิตตสิกขาของเธอ ไม่เหมือน ของภิกษุทั้งหลาย ความใคร่ในการประพฤติ ปัญญาสิกขาของเธอ ไม่เหมือนของภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปนั้นได้แต่เดินตามหมู่ภิกษุไปข้างหลังๆ ร้องประกาศ เอาเองว่า“ข้า ก็เป็นภิกษุ ข้า ก็เป็นภิกษุ” ดังนี้เท่านั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้ พวกเธอทั้งหลายพึงสำเหนียกใจไว้ว่า ความใคร่ในการประพฤติสีลสิกขาของเรา ต้องเข้มงวดเสมอ ความใคร่ในการประพฤติจิตตสิกขาของเรา ต้องเข้มงวดเสมอ ความใคร่ในการประพฤติปัญญาสิกขาของเรา ต้องเข้มงวดเสมอ ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจไว้อย่างนี้แล.

65
p161
ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต
บาลีอิติวุ. ขุ. ๒๕/๓๐๐/๒๗๒.

ภิกษุทั้งหลาย ! แม้ภิกษุจับชายสังฆาฏิ เดินตามรอยเท้าเราไปข้างหลังๆ แต่ถ้าเธอนั้น มากไปด้วย อภิชฌามีกาม ราคะ กล้า มีจิตพยาบาท มีความดำริแห่งใจ เป็นไปในทางประทุษร้าย มีสติหลงลืม ไม่มีสัมปชัญญะ มีจิตไม่เป็น สมาธิแกว่งไป แกว่งมา ไม่สำรวมอินทรีย์แล้วไซร้ ภิกษุนั้นชื่อว่าอยู่ไกล จากเรา แม้เราก็อยู่ไกลจาก ภิกษุนั้นโดยแท้.  ข้อนั้นเพราะเหตุไร

ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนั้นเพราะเหตุว่า ภิกษุนั้นไม่เห็นธรรม เมื่อไม่เห็นธรรม ก็ชื่อว่าไม่เห็นเรา

ภิกษุทั้งหลาย ! แม้ภิกษุนั้น จะอยู่ห่างตั้งร้อยโยชน์แต่ถ้าเธอนั้น ไม่มากไปด้วย อภิชฌา ไม่มีกาม ราคะกล้า ไม่มีจิต พยาบาท ไม่มีความดำริแห่งใจเป็นไปในทาง ประทุษร้าย มีสติตั้งมั่น มีสัมปชัญญะ มีจิตเป็นสมาธิ ถึงความเป็น เอกัคคตา สำรวมอินทรีย์แล้วไซร้ ภิกษุนั้นชื่อว่าอยู่ใกล้กับเรา แม้เรา ก็อยู่ใกล้กับภิกษุนั้น โดยแท้. ข้อนั้นเพราะเหตุไร

ภิกษุทั้งหลาย !ข้อนั้นเพราะเหตุว่า ภิกษุนั้นเห็นธรรม เมื่อเห็นธรรม ก็ชื่อว่าเห็นเรา.