เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ           

  มรรควิธีที่ง่าย-พุทธวจน ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  2 of 2  
 
  มรรควิธีที่ง่าย พุทธวจน  ที่มา : http://watnapp.com/book  
       
    สารบัญ หน้า  
  ๑๖. กระจายเสีย ซึ่งผัสสะ 63  
  ๑๗. เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ด้วยวิธีลัด 68  
  ๑๘. เมื่อไม่มีมา ไม่มีไปย่อมไม่มีเกิด และไม่มีดับ 71  
       
  สักแต่ว่า... ๗๓    
  ๑๙. สักแต่ว่า... (นัยที่ ๑) 74  
  ๒๐. สักแต่ว่า... (นัยที่ ๒) 75  
       
  สติปัฏฐาน ๔ ๗๙    
  ๒๑. มีสติ มีสัมปชัญญะ รอคอยการตาย 90  
       
  การละอวิชชาโดยตรง ๘๕    
  ๒๒. ธรรมทั้งปวง ไม่ควรยึดมั่น 86  
  ๒๓. การเห็นซึ่งความไม่เที่ยง 89  
       
  ปฏิปทาเพื่อบรรลุมรรคผลของคนเจ็บไข้ และบุคคลทั่วไป    
  ๒๔. ปฏิปทาเพื่อบรรลุมรรคผลของคนเจ็บไข 92  
  ๒๕. ปฏิปทาเพื่อบรรลุมรรคผลของบุคคลทั่วไป (นัยที่ ๑) 94  
  ๒๖. ปฏิปทาเพื่อบรรลุมรรคผลของบุคคลทั่วไป (นัยที่ ๒) 96  
  ๒๗. ปฏิปทาเพื่อบรรลุมรรคผลของบุคคลทั่วไป (นัยที่ ๓) 98  
  ๒๘. ปฏิปทาเพื่อบรรลุมรรคผลของบุคคลทั่วไป (นัยที่ ๔) 100  
       
  สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ)    
  ๒๙. ผู้มีความเพียรตลอดเวลา 106  
  ๓๐. ผู้เกียจคร้านตลอดเวลา 109  
       
  ปฏิปทาของการสิ้นอาสวะ ๔ แบบ    
  ๓๑. ปฏิปทาของการสิ้นอาสวะ ๔ แบบ 114  
  ..... แบบปฏิบัติลำบาก รู้ได้ช้า 115  
  ..... แบบปฏิบัติลำบาก รู้ได้เร็ว 116  
 

..... แบบปฏิบัติสบาย รู้ได้ช้า

117  
  ..... แบบปฏิบัติสบาย รู้ได้เร็ว 118  
       
 
 





หน้า 63

๑๖
กระจายเสีย ซึ่งผัสสะ

ภิกษุทั้งหลาย !
วิญญาณย่อมมีขึ้น เพราะอาศัยธรรม ๒ อย่าง.

สองอย่างอะไรเล่า ? สองอย่างคือ

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะอาศัยซึ่ง จักษุด้วย ซึ่งรูปทั้งหลายด้วย จักขุวิญญาณ จึงเกิดขึ้น.

จักษุเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น รูปทั้งหลาย เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น  ธรรมทั้งสอง (จักษุ+รูป) อย่างนี้แลเป็นสิ่งที่หวั่นไหวด้วย อาพาธด้วย ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น

จักขุวิญญาณเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น เหตุอันใด ก็ตาม ปัจจัยอันใดก็ตาม เพื่อความ เกิดขึ้นแห่งจักขุวิญญาณ แม้เหตุอันนั้น แม้ปัจจัย อันนั้นก็ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น.

ภิกษุทั้งหลาย ! จักขุวิญญาณเกิดขึ้นแล้ว เพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยงดังนี้ จักขุวิญญาณ จักเป็นของเที่ยงมาแต่ไหน.

ภิกษุทั้งหลาย ! ความประจวบพร้อม ความประชุมพร้อม ความมาพร้อมกัน แห่งธรรม ทั้งหลาย(จักษุ+รูป+จักขุวิญญาณ) ๓ อย่าง เหล่านี้ อันใดแล
ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เราเรียกว่า จักขุสัมผัส.

ภิกษุทั้งหลาย ! แม้ จักขุสัมผัส ก็เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความ เป็นไปโดย ประการอื่น. เหตุอันใดก็ตามปัจจัยอันใดก็ตาม เพื่อความเกิดขึ้น แห่งจักขุสัมผัส แม้ เหตุ อันนั้น แม้ปัจจัยอันนั้น ก็ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดย ประการอื่น.

ภิกษุทั้งหลาย ! จักขุสัมผัสเกิดขึ้นแล้ว เพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยงดังนี้ จักขุสัมผัส จักเป็นของเที่ยง มาแต่ไหน.

ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลที่ผัสสะกระทบแล้วย่อมรู้สึก (เวเทติ) ผัสสะกระทบแล้ว ย่อมคิด (เจเตติ) ผัสสะกระทบแล้วย่อม จำได้หมายรู้ (สญชฺานาติ) แม้ธรรม ทั้งหลาย (เวทนา เจตนา สัญญา) อย่างนี้เหล่านี้ ก็ล้วนเป็นสิ่งที่หวั่นไหวด้วย อาพาธด้วย ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น
(ในกรณีแห่งโสตวิญญาณก็ดี ฆานวิญญาณก็ดี ชิวหา-วิญญาณก็ดี กายวิญญาณ ก็ดี ก็มีนัยเดียวกัน).

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะอาศัยซึ่ง มโนด้วย ซึ่งธรรมารมณ์ทั้งหลายด้วย มโนวิญญาณ จึงเกิดขึ้น.

มโนเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น ธรรมารมณ์ ทั้งหลายเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยงมีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น

ธรรมทั้งสอง (มโน+ธรรมารมณ์) อย่างนี้แล เป็นสิ่งที่หวั่นไหวด้วย อาพาธด้วย ไม่เที่ยง มีความแปรปรวนมีความเป็นไป โดยประการอื่น

มโนวิญญาณเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น เหตุอันใด ก็ตาม ปัจจัยอันใดก็ตาม เพื่อความ เกิดขึ้นแห่งมโนวิญญาณ แม้เหตุอันนั้น แม้ปัจจัย อันนั้นก็ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น.

ภิกษุทั้งหลาย ! มโนวิญญาณเกิดขึ้นแล้วเพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยงดังนี้ มโนวิญญาณ จักเป็นของเที่ยงมาแต่ไหน.

ภิกษุทั้งหลาย ! ความประจวบพร้อม ความประชุมพร้อม ความมาพร้อมกันแห่ง ธรรมทั้งหลาย(มโน+ธรรมารมณ์+มโนวิญญาณ) ๓ อย่าง เหล่านี้อันใดแล ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เราเรียกว่า มโนสัมผัส.

ภิกษุทั้งหลาย ! แม้มโนสัมผัส ก็เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดย ประการอื่น. เหตุอันใดก็ตามปัจจัยอันใด ก็ตาม เพื่อความเกิดขึ้นแห่งมโนสัมผัส แม้เหตุ อันนั้น แม้ปัจจัยอันนั้น ก็ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไป โดย ประการอื่น.

ภิกษุทั้งหลาย !มโนสัมผัสเกิดขึ้นแล้ว เพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยงดังนี้ มโนสัมผัส จักเป็นของเที่ยงมาแต่ไหน.

ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลที่ผัสสะกระทบแล้วย่อมรู้สึก (เวเทติ) ผัสสะกระทบแล้ว ย่อมคิด (เจเตติ) ผัสสะกระทบแล้วย่อม จำได้หมายรู้ (สญฺชานาติ) แม้ธรรมทั้งหลาย (เวทนา เจตนา สัญญา) อย่างนี้เหล่านี้ก็ล้วนเป็นสิ่งที่หวั่นไหว ด้วย อาพาธด้วย ไม่เที่ยงมีความ แปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น.

หน้า 68

๑๗
เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ด้วยวิธีลัด

ภิกษุทั้งหลาย !
เมื่อรู้เมื่อเห็นอยู่ ซึ่ง จักษุ ตามที่เป็นจริง
เมื่อรู้เมื่อเห็นอยู่ ซึ่ง รูปทั้งหลาย ตามที่เป็นจริง
เมื่อรู้เมื่อเห็นอยู่ ซึ่ง จักขุวิญญาณ ตามที่เป็นจริง
เมื่อรู้เมื่อเห็นอยู่ ซึ่ง จักขุสัมผัส ตามที่เป็นจริง
เมื่อรู้เมื่อเห็นอยู่ ซึ่ง เวทนา อันเกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย
สุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม อทุกขมสุขก็ตามตามที่เป็นจริงบุคคล ย่อมไม่กำหนัดยินดี ในจักษุ ย่อมไม่กำหนัดยินดี ในรูปทั้งหลาย ย่อมไม่กำหนัดยินดี ในจักขุวิญญาณ ย่อมไม่กำหนัดยินดี ในจักขุสัมผัส ย่อมไม่กำหนัดยินดี ในเวทนา อันเกิดขึ้น
เพราะจักขุ สัมผัส เป็นปัจจัย สุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม อทุกขมสุขก็ตาม.

เมื่อบุคคลนั้นไม่กำหนัดยินดีแล้ว ไม่ประกอบ พร้อมแล้ว ไม่หลงใหลแล้ว มีปกติ เห็นโทษอยู่ ปัญจุปาทานขันธ์ ย่อมถึงซึ่งความไม่ก่อขึ้นอีกต่อไป และ ตัณหา
อันเครื่องนำมาซึ่งภพใหม่ ประกอบอยู่ด้วย ความกำหนัด ด้วยอำนาจแห่ง ความเพลิน ทำให้เพลิน อย่างยิ่งในอารมณ์นั้นๆ ของบุคคลนั้น ย่อมละไป.

ความกระวนกระวาย ทางกายและทางจิต ก็ละไป
ความแผดเผา ทางกาย และทางจิต ก็ละไป  
ความเร่าร้อน ทางกายและทางจิต ก็ละไป
บุคคลนั้นย่อม เสวยความสุข ทั้งทางกายและทางจิต
ทิฏฐิของผู้รู้ผู้เห็นอยู่เช่นนั้น เป็นสัมมาทิฏฐิ
ความดำริของผู้รู้ ผู้เห็นอยู่เช่นนั้น เป็นสัมมาสังกัปปะ
ความเพียรของผู้รู้ผู้เห็นอยู่เช่นนั้น เป็นสัมมาวายามะ
สติของผู้รู้ผู้เห็นอยู่เช่นนั้น เป็นสัมมาสติ
สมาธิของผู้รู้ผู้เห็นอยู่เช่นนั้น เป็นสัมมาสมาธิ.

ส่วน กายกรรม วจีกรรม และอาชีวะ ของเขาบริสุทธิ์มาแล้วแต่เดิม

(ดังนั้นเป็นอันว่า สัมมากัมมันตะสัมมาวาจา สัมมาอาชีวะ มีอยู่แล้วอย่างเต็มที่ ในบุคคลผู้รู้อยู่ผู้เห็นอยู่ เช่นนั้น).

ด้วยอาการอย่างนี้ เป็นอันว่าอริยอัฏฐังคิกมรรค (อริยมรรคมีองค์ ๘) แห่งบุคคล ผู้รู้ ผู้อยู่ เห็นอยู่ เช่นนั้น ย่อมถึงซึ่งความบริบูรณ์ แห่งภาวนา ด้วยอาการอย่างนี้.

เมื่อเขาทำอริยอัฏฐังคิกมรรคให้เจริญอยู่ อย่างนี้
สติปัฏฐานสี่ ... สัมมัปปธานสี่ ... อิทธิบาทสี่ ... อินทรีย์ห้า ... พละห้า ... โพชฌงค์เจ็ด ... ย่อมถึงความ งอกงามบริบูรณ์ได้แท้.

ธรรมสองอย่างของเขาคือ สมถะและวิปัสสนา ชื่อว่าเข้าคู่กันได้อย่างแน่นแฟ้น...
(ในกรณีแห่ง โสตะ (หู) ฆานะ (จมูก) ชิวหา (ลิ้น)กายะ (กาย) และมนะ (ใจ) ก็ได้ตรัสต่อไปด้วยข้อความอย่างเดียวกัน).

หน้า 71

๑๘
เมื่อไม่มีมา ไม่มีไปย่อมไม่มีเกิด และไม่มีดับ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงชักชวนภิกษุทั้งหลายด้วยธัมมิกถา อันเนื่องเฉพาะ ด้วยนิพพาน ได้ทรงเห็นว่าภิกษุทั้งหลาย สนใจ ฟังอย่างยิ่ง
จึงได้ตรัสพระพุทธอุทุาน นี้ขึ้นในเวลานั้น ว่า
ความหวั่นไหว ย่อมมีแก่ บุคคลผู้อันตัณหา และ ทิฏฐิาศัยแล้ว
ความหวั่นไหว ย่อมไม่มีแก่
บุคคลผู้อันตัณหา และ ทิฏฐิ ไม่อาศัยแล้ว

เมื่อ ความหวั่นไหวไม่มี ปัสสัทธิย่อมมี
เมื่อ ปัสสัทธิมี
นติ (ความน้อมไป) ย่อมไม่มี

เมื่อ นติไม่มี อาคติคติ (การมาและการไป) ย่อมไม่มี
เมื่อ อาคติคติไม่มี
จุตูปปาตะ (การเคลื่อนและการเกิดขึ้น) ย่อมไม่มี
เมื่อจุตูปปาตะไม่มี อะไรๆ ก็ไม่มีในโลกนี้ไม่มี ในโลกอื่น ไม่มีในระหว่างแห่งโลกทั้งสอง
นั่นแหละ คือที่สุดแห่งทุกข์ละ.

สักแต่ว่า...

หน้า 74

๑๙
สักแต่ว่า...(นัยที่ ๑)

พาหิยะ ! เมื่อใดเธอเห็นรูปแล้ว สักว่าเห็น
ได้ฟังเสียงแล้ว สักว่าฟัง ได้กลิ่น ลิ้มรส
สัมผัสทางผิวกาย ก็สักว่าดม ลิ้ม สัมผัส
ได้รู้แจ้งธรรมารมณ์ ก็สักว่าได้รู้แจ้งแล้ว
เมื่อนั้น “เธอ” จักไม่มี.

เมื่อใด “เธอ” ไม่มี 
เมื่อนั้นเธอก็ไม่ปรากฏในโลกนี้
ไม่ปรากฏในโลกอื่น
ไม่ปรากฏในระหว่างแห่งโลกทั้งสอง
นั่นแหละ คือที่สุดแห่งทุกข์ละ.

หน้า 75

๒๐
สักแต่ว่า...(นัยที่ ๒)

“ข้าแต่พระองค์เจริญ ! ข้าพระองค์เป็นคนชรา เป็นคนแก่คนเฒ่ามานานผ่านวัยมาตามลำดับ.

ขอพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมโดยย่อ ขอพระสุคตจงทรงแสดงธรรมโดยย่อ ในลักษณะที่ข้าพระองค์จะพึงรู้ทั่วถึง เนื้อความแห่งภาษิต ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ในลักษณะที่ข้าพระองค์ จะพึงเป็นทายาทแห่งภาษิต ของพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด พระเจ้าข้า !”.

มาลุงก๎ยบุตร ! ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร คือ รูปทั้งหลาย อันรู้สึกกัน ได้ทางตา เป็นรูปที่ท่านไม่ได้เห็น ไม่เคยเห็น ที่ท่านกำลังเห็นอยู่ก็ไม่มี ที่ท่านคิดว่าท่านควรจะ ได้เห็นก็ไม่มี ดังนี้แล้ว ความพอใจก็ดีความกำหนัดก็ดี ความรักก็ดี ในรูป เหล่านั้น ย่อมมีแก่ท่านหรือ ?

“ข้อนั้น หามิได้พระเจ้าข้า !”.

(ต่อไปนี้ ได้มีการตรัสถาม และการทูลตอบในทำนองเดียวกันนี้ทุกตัวอักษร ผิดกันแต่ชื่อ ของสิ่งที่นำมากล่าว คือในกรณี แห่งเสียงอันรู้สึกกันได้ทางหู ในกรณีแห่ง กลิ่นอันรู้สึก กันได้ทางจมูกในกรณีแห่ง รสอันรู้สึกกันได้ทางลิ้น ในกรณีแห่ง โผฏฐัพพะ อันรู้สึกกัน ได้ทางผิวกาย และในกรณีแห่ง ธรรมารมณ์อันรู้สึกกันได้ทางใจ).

มาลุงก๎ยบุตร ! ในบรรดาสิ่งที่ท่าน พึงเห็น พึงฟัง พึงรู้สึก พึงรู้แจ้งเหล่านั้น
ใน สิ่งที่ท่านเห็นแล้ว จักเป็นแต่เพียงสักว่าเห็น
ใน สิ่งที่ท่านฟังแล้ว จักเป็นแต่เพียงสักว่าได้ยิน
ใน สิ่งที่ท่านรู้สึกแล้ว (ทางจมูก ลิ้น กาย)

จักเป็นแต่เพียงสักว่ารู้สึก ใน สิ่งที่ท่านรู้แจ้งแล้ว (ทางวิญญาณ) ก็จักเป็นแต่เพียงสักว่า รู้แจ้ง.

มาลุงก๎ยบุตร ! เมื่อใดแล ในบรรดาธรรมเหล่านั้น
เมื่อ สิ่งที่เห็นแล้ว สักว่าเห็น
สิ่งที่ฟังแล้ว สักว่าได้ยิน
สิ่งที่รู้สึกแล้ว สักว่ารู้สึก
สิ่งที่รู้แจ้งแล้ว สักว่ารู้แจ้ง ดังนี้แล้ว

มาลุงก๎ยบุตร ! เมื่อนั้น ตัวท่านย่อมไม่มีเพราะเหตุนั้น
มาลุงก๎ยบุตร ! เมื่อใดตัวท่านไม่มีเพราะเหตุนั้น เมื่อนั้น ตัวท่านก็ไม่มีในที่นั้นๆ
มาลุงก๎ยบุตร ! เมื่อใดตัวท่านไม่มีในที่นั้นๆ  เมื่อนั้นตัวท่านก็ไม่มีในโลกนี้ ไม่มีในโลกอื่น ไม่มีในระหว่างโลกทั้งสอง  นั่นแหละ คือที่สุดแห่งความทุกข์ ดังนี้.

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิต อันพระผู้มี พระภาค ตรัสแล้วโดยย่อนี้ ได้โดยพิสดารดังต่อไปนี้ เห็นรูปแล้ว สติหลงลืม ทำในใจซึ่งรูปนิมิต ว่าน่ารัก มีจิตกำหนัดแก่กล้าแล้ว เสวยอารมณ์นั้นอยู่ ความสยบมัวเมา ย่อมครอบงำ บุคคลนั้น .

เวทนาอันเกิดจากรูปเป็นอเนกประการ ย่อมเจริญแก่เขานั้น.

อภิชฌาและวิหิงสาย่อมเข้าไปกลุ้มรุมจิตของเขา.

เมื่อสะสมทุกข์อยู่อย่างนี้ ท่านกล่าวว่ายังไกลจากนิพพาน.
(ในกรณีแห่งการฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย รู้สึกธรรมารมณ์ ด้วยใจ ก็มีข้อความที่กล่าวไว้อย่าง เดียวกัน).

บุคคลนั้นไม่กำหนัดในรูปทั้งหลาย เห็นรูป แล้วมีสติเฉพาะ มีจิตไม่กำหนัด เสวยอารมณ์ อยู่ ความสยบมัวเมาย่อมไม่ครอบงำ บุคคลนั้น .

เมื่อเขาเห็นอยู่ซึ่งรูปตามที่เป็นจริง เสวยเวทนาอยู่ ทุกข์ก็สิ้นไปๆไม่เพิ่มพูนขึ้น เขามีสติประพฤติอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ เมื่อไม่สะสมทุกข์อยู่อย่างนี้ ท่านกล่าวว่า อยู่ใกล้ต่อนิพพาน.
(ในกรณีแห่งการฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย รู้สึกธรรมารมณ์ ด้วยใจ ก็มีข้อความที่กล่าวไว้อย่าง เดียวกัน).

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิต อันพระผู้มีพระภาค ตรัสแล้วโดยย่อนี้ ได้โดยพิสดารอย่างนี้ พระเจ้าข้า !”.

พระผู้มีพระภาค ทรงรับรองความข้อนั้น ว่าเป็นการถูกต้อง. ท่านมาลุงก๎ยบุตร หลีกออก สู่ที่สงัด กระทำความเพียร ได้เป็นอรหันต์องค์หนึ่งในศาสนานี้.

สติปัฏฐาน ๔

หน้า 80

๒๑
มีสติ มีสัมปชัญญะ รอคอยการตาย

ภิกษุทั้งหลาย !
ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติ มีสัมปชัญญะเมื่อรอคอยการทำกาละ
นี้เป็น อนุสาสนีของเราสำหรับพวกเธอทั้งหลาย.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุ เป็นผู้มีสติ เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้เป็นผู้เห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ มีความเพียร เผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ โทมนัสในโลกออกเสียได้
เป็นผู้เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ...
เป็นผู้เห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ...
เป็นผู้เห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย อยู่เป็นประจำมีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลก ออกเสียได้.
อย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ! เรียกว่า ภิกษุเป็นผู้มีสติ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุ เป็นผู้มีสัมปชัญญะ เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้เป็นผู้รู้ตัวรอบคอบในการก้าวไปข้างหน้า การถอย กลับไป ข้างหลัง การแลดู การเหลียวดู การคู้ การเหยียด การทรงสังฆาฏิ บาตร จีวร การฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม การถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ การไป การหยุด การนั่ง การนอน การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง. อย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย !เรียกว่า ภิกษุเป็นผู้มีสัมปชัญญะ.

ภิกษุทั้งหลาย !ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติมีสัมปชัญญะ เมื่อรอคอยการทำกาละ นี้แล เป็นอนุสาสนี ของเราสำหรับพวกเธอทั้งหลาย.

ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าเมื่อภิกษุ มีสติ มีสัมปชัญญะไม่ประมาท มีความเพียรเผา กิเลส มีตน ส่งไปแล้วในธรรมอยู่อย่างนี้ สุขเวทนา เกิดขึ้นไซร้ เธอย่อมรู้ชัด อย่างนี้ว่า “สุขเวทนานี้ เกิดขึ้นแล้วแก่เรา แต่สุขเวทนานี้ อาศัยเหตุปัจจัย จึงเกิดขึ้นได้ ไม่อาศัยเหตุปัจจัยแล้ว หาเกิดขึ้นได้ไม่.

อาศัยเหตุปัจจัยอะไรเล่า ? อาศัยเหตุปัจจัยคือ กายนี้ นั่นเองก็กายนี้ ไม่เที่ยง มีปัจจัย ปรุงแต่ง อาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น สุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยกาย ซึ่งไม่เที่ยง มีปัจจัยปรุงแต่งอาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น ดังนี้แล้ว จักเป็นสุขเวทนา ที่เที่ยงมา แต่ไหน” ดังนี้.

ภิกษุนั้น เป็นผู้ตามเห็นความไม่เที่ยงอยู่ตามเห็นความเสื่อม ความจางคลายอยู่ ตามเห็น ความดับไปความสลัดคืนอยู่ในกาย และในสุขเวทนา. เมื่อเธอเป็นผู้ ตามเห็นความ ไม่เที่ยง (เป็นต้น) อยู่ในกายและในสุขเวทนา อยู่ดังนี้ เธอย่อมละ เสียได้ ซึ่ง ราคานุสัย ในกายและในสุขเวทนานั้น.

ภิกษุนั้น

ถ้าเสวย สุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า “สุขเวทนานั้น เป็นของไม่เที่ยง และเป็นเวทนา ที่เรามิได้ มัวเมาเพลิดเพลินอยู่” ดังนี้.

ถ้าเสวย ทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่า“ทุกขเวทนานั้น เป็นของไม่เที่ยง และเป็นเวทนา ที่เรา มิได้มัวเมาเพลิดเพลินอยู่” ดังนี้.

ถ้าเสวย อทุกขมสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า “อทุกขมสุขเวทนานั้น เป็นของไม่เที่ยง และเป็น เวทนาที่เรามิได้มัวเมาเพลิดเพลินอยู่” ดังนี้.

ภิกษุนั้น ถ้าเสวย สุขเวทนา ก็เป็นผู้ปราศจากกิเลสอันเกิดจากเวทนานั้นเป็นเครื่องร้อยรัดแล้ว เสวยเวทนานั้น

ถ้าเสวย ทุกขเวทนา ก็เป็นผู้ปราศจากกิเลสอันเกิดจากเวทนานั้นเป็นเครื่องร้อยรัดแล้ว เสวยเวทนานั้น

ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็เป็นผู้ปราศจากกิเลส อันเกิดจากเวทนานั้นเป็น เครื่องร้อยรัดแล้ว เสวยเวทนานั้น.

ภิกษุนั้น

เมื่อเสวย เวทนา อันมีกายเป็นที่สุดรอบ
ย่อมรู้ชัดว่าเราเสวยเวทนาอันมีกายเป็นที่สุดรอบ

เมื่อเสวย เวทนา อันมีชีวิตเป็นที่สุดรอบ ย่อมรู้ชัดว่าเราเสวยเวทนาอันมีชีวิตเป็นที่สุดรอบ.

เธอย่อม รู้ชัดว่า เวทนาทั้งปวงอันเราไม่เพลิดเพลินแล้ว จักเป็นของเย็นในอัตตภาพนี้นั่นเทียว จนกระทั่งถึงที่สุดรอบ แห่งชีวิต เพราะการแตก ทำลายแห่งกาย ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนประทีปน้ำมันได้อาศัยน้ำมัน และไส้แล้วก็ลุก โพลงอยู่ได้ เมื่อขาดปัจจัยเครื่องหล่อเลี้ยง เพราะขาดน้ำมัน และไส้นั้นแล้ว ย่อมดับลง นี้ฉันใด

ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้น คือภิกษุเมื่อเสวยเวทนาอันมีกายเป็นที่สุดรอบ ก็รู้ชัดว่าเรา เสวยเวทนาอันมีกายเป็นที่สุดรอบ ดังนี้.

เมื่อเสวยเวทนาอันมีชีวิตเป็นที่สุดรอบ ก็รู้ชัดว่าเราเสวยเวทนาอันมีชีวิต เป็นที่สุดรอบ ดังนี้.

(เป็นอันว่า) ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดว่า เวทนาทั้งปวงอันเราไม่เพลิดเพลินแล้ว จักเป็นของเย็น ในอัตตภาพนี้นั่นเทียว จนกระทั่งถึง ที่สุดรอบแห่งชีวิต เพราะการแตกทำลายแห่งกาย ดังนี้.


การละอวิชชาโดยตรง

หน้า 86
๒๒
ธรรมทั้งปวง ไม่ควรยึดมั่น

ภิกษุรูปหนึ่ง ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ธรรมอย่างหนึ่ง มีอยู่หรือไม่หนอซึ่งเมื่อภิกษุละ ได้แล้ว อวิชชาย่อมละไป วิชชาย่อมเกิดขึ้นพระเจ้าข้า ?”.

ภิกษุ ! ธรรมอย่างหนึ่ง มีอยู่แล ...ฯลฯ...

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ธรรมอย่างหนึ่ง นั้นคืออะไรเล่าหนอ ...ฯลฯ...?”

ภิกษุ ! อวิชชานั่นแล เป็นธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งเมื่อภิกษุละได้แล้ว อวิชชาย่อม ละไป วิชชาย่อมเกิดขึ้น.

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เมื่อภิกษุรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร อวิชชาจึงจะละไป วิชชาจึงจะเกิดขึ้น พระเจ้าข้า ?”.

ภิกษุ ! หลักธรรมอันภิกษุในกรณีนี้ได้สดับแล้วย่อมมีอยู่ว่า
“สิ่งทั้งหลายทั้งปวง อันใครๆ ไม่ควรยึดมั่น ถือมั่น
(ว่าเป็นตัวเรา-ของเรา) (สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย)” ดังนี้.

ภิกษุ ! ถ้าภิกษุได้สดับหลักธรรมข้อนั้นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งหลายทั้งปวง อันใครๆ ไม่ควรยึดมั่น ถือมั่น ดังนี้แล้ว ไซร้ ภิกษุนั้นย่อมรู้ยิ่งซึ่งธรรมทั้งปวง ครั้นรู้ยิ่ง ซึ่งธรรม ทั้งปวงแล้ว ย่อมรอบรู้ซึ่งธรรมทั้งปวง

ครั้นรอบรู้ซึ่งธรรมทั้งปวงแล้ว ภิกษุนั้นย่อมเห็นซึ่ง นิมิตทั้งหลายของสิ่งทั้งปวง โดยประการอื่น ย่อมเห็นซึ่ง จักษุ โดยประการอื่น ย่อมเห็นซึ่ง รูปทั้งหลาย โดยประการอื่น ย่อมเห็นซึ่ง จักขุวิญญาณ โดยประการอื่น ย่อมเห็นซึ่ง จักขุสัมผัส โดยประการอื่น ย่อมเห็นซึ่งเวทนา อันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุข ก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย โดยประการอื่น.

(ในกรณีแห่งโสตะก็ดี ฆานะก็ดี ชิวหาก็ดี กายะก็ดีมโนก็ดี และธรรมทั้งหลายที่สัมปยุตต์ ด้วยโสตะ ฆานะ ชิวหากายะ และมโน นั้นๆ ก็ดี พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ มีนัย อย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งการเห็นจักษุ และธรรมทั้งหลายที่สัมปยุตต์ด้วยจักษุ).

ภิกษุ ! เมื่อภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล อวิชชาจึงจะละไป วิชชาจึงจะเกิดขึ้น.

หน้า 89

๒๓
การเห็นซึ่งความไม่เที่ยง

ภิกษุรูปหนึ่ง ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ธรรมอย่างหนึ่ง มีอยู่หรือไม่หนอซึ่งเมื่อภิกษุละได้แล้ว อวิชชาย่อมละไป วิชชาย่อม เกิดขึ้นพระเจ้าข้า ?”

ภิกษุ ! เมื่อภิกษุรู้อยู่เห็นอยู่ซึ่งจักษุ โดย ความเป็นของไม่เที่ยง อวิชชาจึงจะละไป วิชชาจึงเกิดขึ้น
เมื่อภิกษุ รู้อยู่เห็นอยู่ ซึ่งรูปทั้งหลาย ...ฯลฯ...
เมื่อภิกษุ รู้อยู่เห็นอยู่ ซึ่งจักขุวิญญาณ ...ฯลฯ...
เมื่อภิกษุ รู้อยู่เห็นอยู่ ซึ่งจักขุสัมผัส ...ฯลฯ...
เมื่อภิกษุ รู้อยู่เห็นอยู่ ซึ่งเวทนา อันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นของไม่เที่ยงอวิชชาจึงจะละไป วิชชา จึงจะเกิดขึ้น

(ในกรณีแห่งโสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และมโน ทุกหมวดมีข้อความอย่าง เดียวกัน).

ภิกษุ ! เมื่อภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ อวิชชาจึงจะละไป วิชชา จึงจะเกิดขึ้น.

ปฏิปทาเพื่อบรรลุมรรคผลของคนเจ็บไข้ และบุคคลทั่วไป

หน้า 92

๒๔
ปฏิปทาเพื่อบรรลุมรรคผลของคนเจ็บไข้

ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้า ธรรม ๕ ประการ ไม่เว้นห่างไปเสียจากคนเจ็บไข้ทุพพลภาพ คนใดข้อนี้เป็นสิ่งที่เข้าผู้นั้นพึงหวังได้ คือ เขาจักกระทำให้แจ้งได้ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่ง เองในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้วแลอยู่ต่อกาลไม่นานเทียว.

ธรรม ๕ ประการนั้น เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้ ภิกษุ : -

๑. เป็นผู้มีปกติตามเห็นความไม่งามในกาย อยู่ (อสุภานุปสฺสี กาเย วิหรติ)
. เป็นผู้มีความสำคัญว่าปฏิกูลในอาหาร อยู่ (อาหาเร ปฏิกฺกูลสญฺญี)
. เป็นผู้มีความสำคัญว่าไม่น่ายินดีในโลกทั้งปวง อยู่ (สพฺพโลเก อนภิรตสญฺญี)
. เป็นผู้มีปกติตามเห็นว่าไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง อยู่ (สพฺพสงฺขาเรสุ อนิจฺจานุปสฺสี)
. มีมรณสัญญาอันเขาตั้งไว้ดีแล้วในภายใน อยู่. (มรณสญฺญา โข ปนสฺส อชฺฌตฺตํ สุปฏฺฐิตา โหติ)

ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรม ๕ ประการเหล่านี้ ไม่เว้นห่างไปเสียจากคนเจ็บไข้ ทุพพลภาพ คนใด ข้อนี้เป็นสิ่งที่เขาผู้นั้นพึงหวังได้ คือเขาจักกระทำให้แจ้ง ได้ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความ สิ้นไปแห่ง อาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญา อันยิ่งเองในทิฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้วแลอยู่ ต่อกาล ไม่นานเทียว.

หน้า 94

๒๕
ปฏิปทาเพื่อบรรลุมรรคผลของบุคคลทั่วไป(นัยที่ ๑)

ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลใดบุคคลหนึ่ง จะเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม เจริญกระทำ ให้มาก ซึ่งธรรม ๕ ประการ ผู้นั้น พึงหวังผล อย่างใดอย่างหนึ่งได้ ในบรรดาผล ทั้งหลาย สองอย่าง กล่าวคือ อรหัตตผลในทิฐธรรม(ภพปัจจุบัน) นั่นเทียว หรือว่า อนาคามิผล เมื่อยังมีอุปาทิ(เชื้อ) เหลืออยู่.

ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรม ๕ ประการนั้น เป็นอย่างไรเล่า ?

๕ ประการ คือ ภิกษุ ในกรณีนี้ : -
๑. มีสติอันตนเข้าไปตั้งไว้ดีแล้วในภายในนั่นเทียว เพื่อเกิดปัญญารู้ความเกิดขึ้น และดับไปแห่งธรรมทั้งหลาย(อชฺฌตฺตญฺเญว สติ สุปฏฺฐิตา โหติ ธมฺมานํ อุทยตฺถคา มินิยาปญฺญาย)
๒. มีปกติตามเห็นความไม่งามในกาย(อสุภานุปสฺสี กาเย วิหรติ)
๓. มีความสำคัญว่าปฏิกูลในอาหาร(อาหาเร ปฏิกฺกูลสญฺญี)
๔. มีความสำคัญว่าในโลกทั้งปวงไม่มีอะไรที่น่ายินดี(สพฺพโลเก อนภิรตสญฺญี)
๕. มีปกติตามเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง(สพฺพสงฺขาเรสุ อนิจฺจานุปสฺสี)

ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลใดบุคคลหนึ่ง จะเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม เจริญกระทำ ให้มากซึ่งธรรม ๕ ประการ เหล่านี้ ผู้นั้น พึงหวังผลอย่างใดอย่างหนึ่งได้ ในบรรดาผล ทั้งหลาย สองอย่าง กล่าวคือ อรหัตตผลในทิฏฐธรรม(ภพปัจจุบัน) นั่นเทียว หรือว่า อนาคามิผล เมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ แล.

หน้า 96

๒๖
ปฏิปทาเพื่อบรรลุมรรคผลของบุคคลทั่วไป(นัยที่ ๒)

ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรม ๕ ประการเหล่านี้เมื่อบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว (เอกนฺตนิพฺพิท) เพื่อความคลาย กำหนัด (วิราค) เพื่อความดับ (นิโรธ) เพื่อความสงบ (อุปสม) เพื่อความรู้ยิ่ง (อภิญฺญ)เพื่อความ รู้พร้อม (สมฺโพธ) เพื่อนิพพาน. ๕ ประการ อย่างไรเล่า ?

๕ ประการ คือ ภิกษุในกรณีนี้
๑. เป็นผู้ มีปกติตามเห็นความไม่งามในกาย อยู่
๒. เป็นผู้ มีปกติสำคัญว่าปฏิกูลในอาหาร อยู่
๓. เป็นผู้ มีปกติสำคัญว่าเป็นสิ่งไม่น่ายินดีในโลกทั้งปวง อยู่
๔. เป็นผู้ มีปกติตามเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง อยู่
๕. มรณสัญญา เป็นสิ่งที่ภิกษุนั้นเข้าไปตั้งไว้ดีแล้วในภายใน อยู่.

ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรม ๕ ประการเหล่านี้แล

เมื่อบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้พร้อม เพื่อนิพพาน.

หน้า 98

๒๗
ปฏิปทาเพื่อบรรลุมรรคผลของบุคคลทั่วไป (นัยที่ ๓)

ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรม ๕ ประการเหล่านี้อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป เพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย. ธรรม ๕ ประการอย่างไรเล่า ?

๕ ประการ คือ ภิกษุในกรณีนี้
๑. เป็นผู้ มีปกติตามเห็นความไม่งามในกาย อยู่
๒. เป็นผู้ มีความสำคัญว่าปฏิกูลในอาหาร อยู่
๓. เป็นผู้ มีความสำคัญว่าเป็นสิ่งไม่น่ายินดีในโลกทั้งปวง อยู่
๔. เป็นผู้ มีปกติตามเห็นว่าไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง อยู่
๕. มรณสัญญา เป็นสิ่งที่ภิกษุนั้นเข้าไปตั้งไว้ดีแล้วในภายใน อยู่.

ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรม ๕ ประการเหล่านี้แลเมื่อบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย.

หน้า 100

๒๘
ปฏิปทาเพื่อบรรลุมรรคผลของบุคคลทั่วไป(นัยที่ ๔)

ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรม ๕ ประการเหล่านี้อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีเจโตวิมุตติเป็นผล มีเจโตวิมุตติเป็น อานิสงส์ ย่อมมีปัญญาวิมุตติเป็นผล มีปัญญาวิมุตติเป็นอานิสงส์.

ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ มีปกติตามเห็นความไม่งามในกาย อยู่
๒. เป็นผู้ มีความสำคัญว่าปฏิกูลในอาหาร อยู่
๓. เป็นผู้มีความสำคัญว่าเป็นสิ่งไม่น่ายินดีในโลกทั้งปวง อยู่
๔. เป็นผู้ มีปกติตามเห็นว่าไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง อยู่
๕. มรณสัญญา เป็นสิ่งที่ภิกษุนั้นเข้าไปตั้งไว้ดีแล้วในภายใน อยู่.

ฉบับ ๔ มรรค วิธีที่ ง่าย 101
ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรม ๕ ประการเหล่านี้แล เมื่อบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว
ย่อมมีเจโตวิมุตติเป็นผล มีเจโตวิมุตติเป็นอานิสงส์ ย่อมมีปัญญาวิมุตติเป็นผล และมีปัญญาวิมุตติเป็นอานิสงส์.

เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มีเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติ
เมื่อนั้น ภิกษุนี้เรียกว่า เป็นผู้ถอนลิ่มสลักขึ้นได้ดังนี้บ้าง ว่าเป็นผู้รื้อเครื่อง แวดล้อมได้ ดังนี้บ้าง ว่าเป็นผู้ถอนเสาระเนียดขึ้นได้ ดังนี้บ้าง ว่าเป็นผู้ถอด กลอนออกได้ดังนี้บ้าง ว่าเป็นผู้ไกลจากข้าศึกปลดธงลงได้ ปลงภาระลงได้ ไม่ประกอบด้วยวัฏฏะ ดังนี้บ้าง.

ภิกษุทั้งหลาย !

ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอนลิ่มสลักขึ้นได้อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละอวิชชาเสียได้ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นเหมือน ตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มีไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไป เป็นธรรมดา. ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุชื่อว่าเป็น ผู้ ถอนลิ่มสลัก ขึ้นได้ อย่างนี้ แล.

ภิกษุเป็นผู้รื้อเครื่องแวดล้อมได้อย่างไร
คือภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละชาติสงสารที่เป็นเหตุนำให้เกิดในภพใหม่ ต่อไป ได้ ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้น อีกต่อไป เป็นธรรมดา ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ รื้อเครื่องแวดล้อมได้อย่างนี้ แล.

ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอนเสาระเนียดขึ้นได้อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละตัณหาเสียได้ ถอนรากขึ้นแล้วทำให้เป็น เหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไป เป็นธรรมดา. ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ ถอนเสา ระเนียดขึ้นได้อย่างนี้ แล.

ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอดกลอนออกได้อย่างไร
คือภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการเสียได้ ถอนราก ขึ้นแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วนทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไป เป็นธรรมดา. ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้ ถอดกลอนออกได้ อย่างนี้ แล.

ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ไกลจากข้าศึก ปลดธงลงได้ปลงภาระลงได้ ไม่ประกอบด้วย วัฏฏะอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละอัส๎มิมานะเสียได้ ถอนรากขึ้นแล้วทำให้เป็น เหมือน ตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีก ต่อไปเป็นธรรมดา. ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้ไกลจาก ข้าศึก ปลดธงลงได้ ปลงภาระลงได้ ไม่ประกอบด้วยวัฏฏะใดๆ อย่างนี้ แล.

สัมมาสังกัปปะ(ความดำริชอบ)
หน้า 106

๒๙

ผู้มีความเพียรตลอดเวลา

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อภิกษุกำลังเดินอยู่
ถ้าเกิดครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในกาม หรือครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในทางเดือดแค้น หรือครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิด ในทางทำ ผู้อื่นให้ลำบากเปล่าๆ ขึ้นมา และภิกษุก็ไม่รับเอาความครุ่นคิดนั้นไว้ สละทิ้งไป ถ่ายถอนออก ทำให้สิ้นสุดลงไปจนไม่มีเหลือ  ภิกษุที่เป็นเช่นนี้ แม้กำลังเดินอยู่ ก็เรียกว่าเป็นผู้ทำความเพียรเผากิเลส รู้สึกกลัวต่อสิ่งอันเป็นบาปเป็นคนปรารภความเพียร อุทิศตนในการเผากิเลสอยู่เนืองนิจ.

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อภิกษุกำลังยืนอยู่
ถ้าเกิดครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในกาม หรือครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในทางเดือดแค้น หรือครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในทาง ทำผู้อื่น ให้ลำบากเปล่าๆ ขึ้นมา และภิกษุก็ไม่รับเอาความครุ่นคิดนั้นไว้ สละทิ้งไป ถ่ายถอนออก ทำให้สิ้นสุดลงไปจน ไม่มีเหลือ ภิกษุที่เป็นเช่นนี้ แม้กำลังยืนอยู่ ก็เรียกว่าเป็นผู้ทำความเพียรเผากิเลส
รู้สึกกลัวต่อสิ่งอันเป็นบาปเป็นคนปรารภ ความเพียร อุทิศตนในการเผากิเลสอยู่เนืองนิจ.

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อภิกษุกำลังนั่งอยู่
ถ้าเกิดครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในกาม หรือครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในทางเดือดแค้น หรือครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในทาง ทำผู้อื่นให้ลำบากเปล่าๆ ขึ้นมา และภิกษุก็ไม่รับเอาความครุ่นคิดนั้นไว้สละทิ้งไป ถ่ายถอนออก ทำให้สิ้นสุดลงไปจนไม่มีเหลือ ภิกษุที่เป็นเช่นนี้แม้กำลังนั่งอยู่ ก็เรียกว่าเป็นผู้ทำความเพียรเผากิเลส รู้สึกกลัวต่อสิ่งอันเป็นบาปเป็นคนปรารภความเพียร อุทิศตนในการเผากิเลสอยู่เนืองนิจ.

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อภิกษุกำลังนอนอยู่
ถ้าเกิดครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในกาม หรือครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในทางเดือดแค้น หรือครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในทาง ทำผู้อื่นให้ลำบากเปล่าๆ ขึ้นมา และภิกษุก็ไม่รับเอาความครุ่นคิดนั้นไว้ สละทิ้งไป ถ่ายถอนออก ทำให้สิ้นสุดลงไปจนไม่มีเหลือ ภิกษุที่เป็นเช่นนี้แม้กำลังนอนอยู่
ก็เรียกว่า เป็นผู้ทำความเพียรเผากิเลส รู้สึกกลัวต่อสิ่งอันเป็นบาป
เป็นคนปรารภ ความเพียร อุทิศตนในการเผากิเลสอยู่เนืองนิจแล.

หน้า109

๓๐
ผู้เกียจคร้านตลอดเวลา

ภิกษุทั้งหลาย !

เมื่อภิกษุกำลังเดินอยู่
ถ้าเกิดครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในกาม หรือครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในทางเดือดแค้น หรือครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในทางทำผู้อื่นให้ลำบากเปล่าๆ ขึ้นมา และภิกษุก็รับเอาความครุ่นคิดนั้นไว้ ไม่สละทิ้ง ไม่ถ่ายถอนออก ไม่ทำให้สิ้นสุดลงไปจนไม่มีเหลือ ภิกษุที่เป็นเช่นนี้แม้กำลังเดินอยู่
ก็เรียกว่า เป็นผู้ไม่ทำความเพียร เผากิเลส ไม่รู้สึกกลัวต่อสิ่งอันเป็นบาป เป็นคนเกียจคร้าน มีความเพียรอันเลวทรามอยู่เนืองนิจ.

เมื่อภิกษุกำลังยืนอยู่
ถ้าเกิดครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในกาม หรือครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในทางเดือดแค้น หรือครุ่นคิดด้วย ความครุ่นคิดในทางทำผู้อื่นให้ลำบากเปล่าๆ ขึ้นมา และภิกษุก็รับเอาความครุ่นคิดนั้นไว้ไม่สละทิ้ง ไม่ถ่ายถอนออก
ไม่ทำให้ สิ้นสุดลงไป จนไม่มีเหลือ;ภิกษุที่เป็นเช่นนี้ แม้กำลังยืนอยู่
ก็เรียกว่า เป็นผู้ไม่ทำความเพียรเผากิเลส ไม่รู้สึกกลัวต่อสิ่งอันเป็นบาป เป็นคนเกียจคร้าน มีความเพียรอันเลวทรามอยู่เนืองนิจ.

เมื่อภิกษุกำลังนั่งอยู่
ถ้าเกิดครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในกาม หรือครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในทางเดือดแค้น หรือครุ่นคิดด้วย ความครุ่นคิดในทางทำผู้อื่นให้ลำบากเปล่าๆ ขึ้นมา และภิกษุก็รับเอาความครุ่นคิดนั้นไว้ ไม่สละทิ้ง ไม่ถ่ายถอนออก
ไม่ทำให้ สิ้นสุดลงไปจนไม่มีเหลือ ภิกษุที่เป็นเช่นนี้ แม้กำลังนั่งอยู่ ก็เรียกว่าเป็นผู้ไม่ทำความเพียรเผากิเลส ไม่รู้สึกกลัวต่อสิ่งอันเป็นบาป เป็นคนเกียจคร้าน มีความเพียรอันเลวทรามอยู่เนืองนิจ.

เมื่อภิกษุกำลังนอนอยู่
ถ้าเกิดครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในกาม หรือครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในทางเดือดแค้น หรือครุ่นคิด ด้วยความครุ่นคิดในทางทำผู้อื่นให้ลำบากเปล่าๆ ขึ้นมา และภิกษุก็รับเอาความครุ่นคิดนั้นไว้ ไม่สละทิ้ง ไม่ถ่ายถอนออก ไม่ทำให้สิ้นสุดลงไปจนไม่มีเหลือ; ภิกษุที่เป็นเช่นนี้ แม้กำลังนอนอยู่ ก็เรียกว่าเป็นผู้ไม่ทำความเพียรเผากิเลส ไม่รู้สึกกลัวต่อสิ่งอันเป็นบาป
เป็นคนเกียจคร้าน มีความเพียรอันเลวทรามอยู่เนืองนิจ.

ปฏิปทาของการสิ้นอาสวะ ๔ แบบ

หน้า 114
๓๑
ปฏิปทาของการสิ้นอาสวะ ๔ แบบ

ภิกษุทั้งหลาย ! ปฏิปทา ๔ ประการ เหล่านี้ มีอยู่ คือ
ปฏิบัติลำบาก รู้ได้ช้า ๑
ปฏิบัติลำบาก รู้ได้เร็ว ๑
ปฏิบัติสบาย รู้ได้ช้า ๑
ปฏิบัติสบาย รู้ได้เร็ว ๑


หน้า 115

แบบปฏิบัติลำบาก รู้ได้ช้า
ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้ ภิกษุ เป็นผู้มีปกติเห็นความไม่งามในกาย มีสัญญาว่า ปฏิกูลในอาหารมีสัญญาในโลกทั้งปวง โดยความเป็นของไม่น่ายินดี เป็นผู้มีปกติตามเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง มรณสัญญาก็เป็นสิ่งที่เขา ตั้งไว้ดีแล้ว ในภายใน. ภิกษุนั้นเข้าไปอาศัยธรรม เป็นกำลังของพระเสขะ๕ ประการเหล่านี้อยู่คือ สัทธาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ   แต่ อินทรีย์ ๕ ประการเหล่านี้ของเธอนั้น ปรากฏว่าอ่อน คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ . เพราะเหตุที่ อินทรีย์ทั้งห้า เหล่านี้ ยังอ่อน ภิกษุนั้นจึง บรรลุ อนันตริยกิจ เพื่อความสิ้นอาสวะได้ช้า
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า ปฏิบัติลำบาก รู้ได้ช้า.

หน้า 116

แบบปฏิบัติลำบาก รู้ได้เร็ว
ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้ ภิกษุ เป็นผู้มีปกติเห็นความไม่งามในกาย มีสัญญาว่า ปฏิกูล ในอาหาร มีสัญญาในโลกทั้งปวง โดยความเป็นของไม่น่ายินดี เป็นผู้มี ปกติตามเห็น ความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง มรณสัญญาก็เป็นสิ่งที่เขาตั้งไว้ ดีแล้ว ในภายใน. ภิกษุนั้นเข้าไปอาศัยธรรม เป็นกำลังของพระเสขะ ๕ ประการเหล่านี้อยู่ คือ สัทธาพละ หิริพละ โอตตัปปพละวิริยพละ ปัญญาพละ แต่ อินทรีย์ ๕ ประการเหล่านี้ของเธอนั้น ปรากฏว่ามีประมาณยิ่ง (แก่กล้า) คือสัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์. เพราะเหตุที่อินทรีย์ทั้งห้าเหล่านี้มีประมาณยิ่ง ภิกษุนั้นจึง บรรลุอนันตริยกิจ เพื่อความสิ้นอาสวะได้เร็ว
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า ปฏิบัติลำบาก รู้ได้เร็ว.

หน้า 117

แบบปฏิบัติสบาย รู้ได้ช้า
ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้ ภิกษุ เพราะสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงบรรลุ ปฐมฌานทุติยฌาน... ตติยฌาน... จตุตถฌาน (มีรายละเอียดดังที่ แสดงแล้วในที่ทั่วไป) แล้วแลอยู่. ภิกษุนั้น เข้าไปอาศัย ธรรม เป็นกำลังของ พระเสขะ๕ ประการเหล่านี้อยู่ คือ สัทธาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ  แต่ อินทรีย์ ๕ ประการเหล่านี้ ของเธอนั้น ปรากฏว่าอ่อน คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์. เพราะเหตุที่อินทรีย์ ทั้งห้า เหล่านี้ยังอ่อน ภิกษุนั้น จึงบรรลุอนันตริยกิจ เพื่อความสิ้นอาสวะได้ช้า
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า ปฏิบัติสบาย รู้ได้ช้า.


หน้า 118

แบบปฏิบัติสบาย รู้ได้เร็ว
ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้ ภิกษุ เพราะสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงบรรลุ ปฐมฌานทุติยฌาน... ตติยฌาน... จตุตถฌาน ... แล้วแลอยู่. ภิกษุนั้นเข้าไปอาศัยธรรม เป็นกำลัง ของพระเสขะ๕ ประการเหล่านี้อยู่ คือ สัทธาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ แต่ อินทรีย์ ๕ ประการเหล่านี้ของเธอ นั้น ปรากฏว่ามี ประมาณยิ่ง คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์. เพราะเหตุ ที่อินทรีย์ทั้งห้าเหล่านี้ มีประมาณยิ่ง ภิกษุนั้นจึง บรรลุ อนันตริยกิจเพื่อความสิ้นอาสวะ ได้เร็ว
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า ปฏิบัติสบาย รู้ได้เร็ว.

ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แล ปฏิปทา ๔ ประการ.