เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ           

  สาธยายธรรม-พุทธวจน   ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  2 of 3  
 
  สาธยายธรรม พุทธวจน  ที่มา : http://watnapp.com/book  
       
    สารบัญ หน้า  
       
  บทสวด อริยมรรคมีองค์แปด (ต่อ) 37  
  บทสวด ความสิ้นสุดแห่งโลก 44  
  บทสวด อธิษฐานความเพียร 46  
  บทสวด ละนันทิ 51  
  บทสวด ข้อปฏิบัติอันไม่เสื่อมเสีย 52  
  บทสวด อานาปานสติ 63  
  อานาปานสติ (หมวดกายานุปัสสนา) 63-1  
  อานาปานสติ (หมวดเวทนานุปัสสนา) 67  
  อานาปานสติ (หมวดจิตตานุปัสสนา) 71  
       
       
 
 





หน้า 37


บทสวด อริยมรรคมีองค์แปด (ต่อ)

อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาวายาโม

ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ความเพียรชอบ

กะตะมา จะ ภิกขะเว สัมมาสะติ
ภิกษุทั้งหลาย ความระลึกชอบเป็นอย่างไร

อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ กาเย กายานุปัสสี
วิหะระติ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นกายในกายอยู่

อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา วิเนยยะ
โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง
มีความเพียรเครื่องเผากิเลส
มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ
นำ ความพอใจ และความไม่พอใจ
ในโลกออกเสียได้

เวทะนาสุ เวทะนานุปัสสี วิหะระติ
เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นเวทนา
ในเวทนาทั้งหลายอยู่

อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา วิเนยยะ
โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง
มีความเพียรเครื่องเผากิเลส
มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ
นำ ความพอใจ และความไม่พอใจ
ในโลกออกเสียได้

จิตเต จิตตานุปัสสี วิหะระติ
เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่

อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา วิเนยยะ
โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง
มีความเพียรเครื่องเผากิเลส
มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ
นำ ความพอใจ และความไม่พอใจ
ในโลกออกเสียได้

ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ
เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นธรรม
ในธรรมทั้งหลายอยู่

อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา วิเนยยะ
โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง
มีความเพียรเครื่องเผากิเลส
มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ
นำ ความพอใจ และความไม่พอใจ
ในโลกออกเสียได้

อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาสะติ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า
ความระลึกชอบ

กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมาสะมาธิ
ภิกษุทั้งหลาย ความตั้งใจมั่นชอบ
เป็นอย่างไร

อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ วิวิจเจวะ กาเมหิ
วิวิจจะ อะกุสะเลหิ ธัมเมหิ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย
สงัดแล้วจากอกุศลธรรมทั้งหลาย

สะวิตักกัง สะวิจารัง วิเวกะชัง ปีติสุขัง
ปะฐะมัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ
เข้าถึงฌานที่หนึ่ง อันมีวิตกวิจาร
มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่

วิตักกะวิจารานัง วูปะสะมา อัชฌัตตัง
สัมปะสาทะนัง เจตะโส เอโกทิภาวัง
อะวิตักกัง อะวิจารัง สะมาธิชัง ปีติสุขัง
ทุติยัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ
เพราะวิตกวิจารรำ งับลง
เธอเข้าถึงฌานที่สอง
อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน
ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดขึ้น
ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข
อันเกิดแต่สมาธิ แล้วแลอยู่

ปีติยา จะ วิราคา อุเปกขะโก จะ วิหะระติ
สะโต จะ สัมปะชาโน สุขัญจะ กาเยนะ
ปะฏิสังเวเทติ ยันตัง อะริยา อาจิกขันติ
อุเปกขะโก สะติมา สุขะวิหารีติ ตะติยัง
ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ
เพราะปีติจางหายไป เธอเป็นผู้เพ่งเฉยอยู่ได้
มีสติ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
และได้เสวยสุข ด้วยนามกาย
ย่อมเข้าถึงฌานที่สาม
อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย
กล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า
เป็นผู้เฉยอยู่ได้ มีสติ
มีความเป็นอยู่เป็นปกติสุข แล้วแลอยู่


สุขัสสะ จะ ปะหานา ทุกขัสสะ จะ
ปะหานา ปุพเพวะ โสมะนัสสะโทมะนัสสานัง
อัตถังคะมา อะทุกขะมะสุขัง
อุเปกขาสะติปาริสุทธิง จะตุตถัง ฌานัง
อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ
เพราะละสุขและทุกข์เสียได้
และความดับหายแห่งโสมนัสและโทมนัส
ในกาลก่อน เธอย่อมเข้าถึงฌานที่สี่
อันไม่ทุกข์และไม่สุข มีแต่สติอันบริสุทธิ์
เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่

อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาสะมาธิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า สัมมาสมาธิ

อิทัง วุจจะติ ภิกขะเว ทุกขะนิโรธะคามินี
ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง
ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แลเราเรียกว่า
อริยสัจ คือ หนทางเป็นเครื่องให้ถึง
ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์

มหา. ที. ๑๐/๓๔๓/๒๙๙.



หน้า 44


บทสวด ความสิ้นสุดแห่งโลก

นิสสิตัสสะ จะลิตัง
ความหวั่นไหว ย่อมมีแก่บุคคล
ผู้อันตัณหาและทิฏฐิอาศัยแล้ว


อะนิสสิตัสสะ จะลิตัง นัตถิ

ความหวั่นไหว ย่อมไม่มีแก่บุคคล
ผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยแล้ว

จะลิเต อะสะติ ปัสสัทธิ
เมื่อความหวั่นไหวไม่มี ปัสสัทธิ ย่อมมี

ปัสสัทธิยา สะติ นะติ นะ โหติ
เมื่อปัสสัทธิมี ความน้อมไป ย่อมไม่มี

นะติยา อะสะติ อาคะติคะติ นะ โหติ
เมื่อความน้อมไปไม่มี
การมาและการไปย่อมไม่มี

อาคะติคะติยา อะสะติ จุตูปะปาโต
นะ โหติ
เมื่อการมาและการไปไม่มี
การเคลื่อน และการเกิดขึ้น ย่อมไม่มี

จุตูปะปาเต อะสะติ เนวิธะ นะ หุรัง
นะ อุภะยะมันตะเร
เมื่อการเคลื่อนและการเกิดขึ้นไม่มี
อะไรๆ ก็ไม่มีในโลกนี้ ไม่มีในโลกอื่น
ไม่มีในระหว่างแห่งโลกทั้งสอง

เอเสวันโต ทุกขัสสะ
นั่นแหละ คือ ที่สุดแห่งทุกข์ละ

อุ. ขุ. ๒๕/๒๐๘/๑๖๑.



หน้า 46

บทสวด อธิษฐานความเพียร

ท๎วินนาหัง ภิกขะเว ธัมมานัง อุปัญญาสิง
ภิกษุทั้งหลาย เรายังรู้สึกได้อยู่
ซึ่งธรรมสองอย่าง คือ

ยา จะ อะสันตุฏฐิตา กุสะเลสุ ธัมเมสุ
ความไม่รู้จักอิ่มจักพอ ในกุศลธรรมทั้งหลาย

ยา จะ อัปปะฏิวาณิตา ปะธานัส๎มิง
ความเป็นผู้ไม่ถอยกลับในการตั้งความเพียร

อัปปะฏิวาณัง สุทาหัง ภิกขะเว ปะทะหามิ
เราย่อมตั้งไว้ ซึ่งความเพียร
อันไม่ถอยกลับว่า

กามัง ตะโจ นะหารุ จะ อัฏฐิ จะ
อะวะสิสสะตุ สะรีเร อุปะสุสสะตุ
มังสะโลหิตัง
หนัง เอ็น กระดูกจักเหลืออยู่
เนื้อและเลือด ในสรีระจักเหือดแห้งไปก็ตามที
ยันตัง ปุริสัตถาเมนะ ปุริสะวิริเยนะ

ปุริสะปะรักกะเมนะ ปัตตัพพัง
ประโยชน์ใดอันบุคคลจะพึงลุได้ด้วยกำ ลัง
ด้วยความเพียร ด้วยความบากบั่นของบุรุษ

นะ ตัง อะปาปุณิต๎วา วิริยัสสะ
สัณฐานัง ภะวิสสะตีติ
หากยังไม่บรรลุถึงประโยชน์นั้นแล้ว
จักหยุดความเพียรนั้นเสียเป็นไม่มี ดังนี้

ตัสสะ มัยหัง ภิกขะเว อัปปะมาทาธิคะตา
โพธิ อัปปะมาทาธิคะโต อะนุตตะโร
โยคักเขโม
ภิกษุทั้งหลาย การตรัสรู้เป็นสิ่งที่เรา
ถึงทับแล้วด้วยความไม่ประมาท

อนุตตรโยคักเขมธรรม ก็เป็นสิ่งที่เรา
ถึงทับแล้วด้วยความไม่ประมาท

ตุเม๎หะ เจปิ ภิกขะเว อัปปะฏิวาณัง
ปะทะเหยยาถะ
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้พวกเธอ พึงตั้งไว้
ซึ่งความเพียรอันไม่ถอยกลับว่า

กามัง ตะโจ นะหารุ จะ อัฏฐิ จะ
อะวะสิสสะตุ สะรีเร อุปะสุสสะตุ
มังสะโลหิตัง
หนัง เอ็น กระดูกจักเหลืออยู่
เนิ้อและเลือดในสรีระจักเหือดแห้งไปก็ตามที

ยันตัง ปุริสัตถาเมนะ ปุริสะวิริเยนะ
ปุริสะปะรักกะเมนะ ปัตตัพพัง
ประโยชน์ใดอันบุคคลจะพึงลุได้ด้วยกำ ลัง
ด้วยความเพียร ด้วยความบากบั่นของบุรุษ

นะ ตัง อะปาปุณิต๎วา วิริยัสสะ
สัณฐานัง ภะวิสสะตีติ
หากยังไม่บรรลุถึงประโยชน์นั้นแล้ว
จักหยุดความเพียรเสียเป็นไม่มี ดังนี้แล้วไซร้

ตุเม๎หะปิ ภิกขะเว นะ จิรัสเสวะ
ยัสสัตถายะ กุละปุตตา สัมมะเทวะ
อะคารัส๎มา อะนะคาริยัง ปัพพะชันติ
ตะทะนุตตะรัง พ๎รัห๎มะจะริยะปะริโยสานัง
ทิฏเฐวะ ธัมเม สะยัง อะภิญญา สัจฉิกัต๎วา
อุปะสัมปัชชะ วิหะริสสะถะ

ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอก็จักกระทำ ให้แจ้ง
ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์
อันไม่มีอะไรอื่นยิ่งกว่า อันเป็นประโยชน์
ที่ต้องการของกุลบุตร ผู้ออกบวชจากเรือน
เป็นผู้ไม่มีเรือนโดยชอบ ได้ต่อกาลไม่นาน
ในทิฏฐธรรม เข้าถึงแล้วแลอยู่ เป็นแน่นอน

ทุก. อํ. ๒๐/๖๔/๒๕๑.



หน้า 51

บทสวด ละนันทิ

สัมมา ปัสสัง นิพพินทะติ
เมื่อเห็นอยู่โดยถูกต้อง ย่อมเบื่อหน่าย

นันทิกขะยา ราคักขะโย
เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิ (คือความเพลิน)
จึงมีความสิ้นไปแห่งราคะ

ราคักขะยา นันทิกขะโย
เพราะความสิ้นไปแห่งราคะ
จึงมีความสิ้นไปแห่งนันทิ

นันทิราคักขะยา จิตตัง สุวิมุตตันติ วุจจะติ
เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิและราคะ
กล่าวได้ว่า “จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี” ดังนี้

สฬา. สํ. ๑๘/๑๗๙/๒๔๕.



หน้า 52

บทสวด ข้อปฏิบัติอันไม่เสื่อมเสีย

จะตูหิ ภิกขะเว ธัมเมหิ สะมันนาคะโต
ภิกขุ อะภัพโพ ปะริหานายะ
นิพพานัสเสวะ สันติเก
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อประกอบพร้อมด้วย
ธรรมสี่อย่างแล้ว ย่อมไม่อาจที่จะเสื่อมเสีย
มีแต่จะอยู่ใกล้นิพพานอย่างเดียว

กะตะเมหิ จะตูหิ อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ
ธรรมสี่อย่าง อะไรบ้างเล่า
สี่อย่างคือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

สีละสัมปันโน โหติ
เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล

อินท๎ริเยสุ คุตตะท๎วาโร โหติ
เป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย

โภชะเน มัตตัญญู โหติ
เป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ

ชาคะริยัง อะนุยุตโต โหติ
เป็นผู้ตามประกอบในชาคริยธรรม
อยู่เป็นประจำ

กะถัญจะ ภิกขะเว ภิกขุ
สีละสัมปันโน โหติ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล
เป็นอย่างไรเล่า

อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ สีละวา โหติ
ปาติโมกขะสังวะระสังวุโต วิหะระติ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้มีศีล สำ รวมในปาติโมกข์

อาจาระโคจะระสัมปันโน
ถึงพร้อมด้วยมารยาทและโคจร

อะณุมัตเตสุ วัชเชสุ ภะยะทัสสาวี
เป็นผู้เห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลาย
แม้เพียงเล็กน้อย

สะมาทายะ สิกขะติ สิกขาปะเทสุ
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย

เอวัง โข ภิกขะเว ภิกขุ สีละสัมปันโน โหติ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอย่างนี้ ชื่อว่า
เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล

กะถัญจะ ภิกขะเว ภิกขุ อินท๎ริเยสุ
คุตตะท๎วาโร โหติ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้คุ้มครองทวาร
ในอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า

อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ จักขุนา รูปัง ทิส๎วา
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ได้เห็นรูปด้วยตา

โสเตนะ สัททัง สุต๎วา
ฟังเสียงด้วยหู

ฆาเนนะ คันธัง ฆายิต๎วา
ดมกลิ่นด้วยจมูก

ชิวหายะ ระสัง สายิต๎วา
ลิ้มรสด้วยลิ้น

กาเยนะ โผฏฐัพพัง ผุสิต๎วา
สัมผัสโผฏฐัพพะด้วยกาย

มะนะสา ธัมมัง วิญญายะ
และได้รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว

นะ นิมิตตัคคาหี โหติ นานุพ๎ยัญชะนัคคาหี
ก็ไม่รับถือเอาทั้งหมด
และไม่แยกถือเอาเป็นส่วนๆ


ยัต๎วาธิกะระณะเมนัง จักขุนท๎ริยัง
โสตินท๎ริยัง ฆานินท๎ริยัง ชิวหินท๎ริยัง
กายินท๎ริยัง มะนินท๎ริยัง อะสังวุตัง
วิหะรันตัง อะภิชฌาโทมะนัสสา ปาปะกา
อะกุสะลา ธัมมา อันวาสสะเวยยุง
สิ่งที่เป็นอกุศลธรรมอันเป็นบาป คือ
อภิชฌาและโทมนัส มักไหลไปตามภิกษุ
ผู้ไม่สำ รวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
เพราะการไม่สำ รวมอินทรีย์เหล่าใดเป็นเหตุ


ตัสสะ สังวะรายะ ปะฏิปัชชะติ รักขะติ
จักขุนท๎ริยัง จักขุนท๎ริเย โสตินท๎ริยัง
โสตินท๎ริเย๎ ฆานินท๎ริยัง ฆานินท๎ริเย
ชิวหินท๎ริยัง ชิวหินท๎ริเย กายินท๎ริยัง
กายินท๎ริเย มะนินท๎ริยัง มะนินท๎ริเย
สังวะรัง อาปัชชะติ
เธอปฏิบัติเพื่อปิดกั้นอินทรีย์นั้นไว้
เธอรักษา... และถึงความสำ รวมซึ่ง
ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

เอวัง โข ภิกขะเว ภิกขุ อินท๎ริเยสุ
คุตตะท๎วาโร โหติ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอย่างนี้ ชื่อว่า
เป็นผู้คุ้มครองทวาร ในอินทรีย์ทั้งหลาย


กะถัญจะ ภิกขะเว ภิกขุ โภชะเน
มัตตัญญู โหติ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้รู้ประมาณ
ในโภชนะเป็นอย่างไรเล่า


อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ ปะฏิสังขา โยนิโส
อาหารัง อาหาเรติ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
พิจารณาโดยแยบคายแล้วจึงฉันอาหาร


เนวะ ทะวายะ นะ มะทายะ
นะ มัณฑะนายะ นะ วิภูสะนายะ
ไม่ฉันเพื่อเล่น ไม่ฉันเพื่อมัวเมา
ไม่ฉันเพื่อประดับ ไม่ฉันเพื่อตกแต่ง


ยาวะเทวะ อิมัสสะ กายัสสะ ฐิติยา
ยาปะนายะ วิหิงสุปะระติยา
พ๎รัห๎มะจะริยานุคคะหายะ
แต่ฉันเพียงเพื่อให้กายนี้ตั้งอยู่ได้
เพื่อให้ชีวิตเป็นไป เพื่อป้องกันความลำบาก
เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์


อิติ ปุราณัญจะ เวทะนัง ปะฏิหังขามิ
นะวัญจะ เวทะนัง นะ อุปปาเทสสามิ
โดยกำหนดรู้ว่า เราจักกำจัดเวทนาเก่า
(คือ ความหิว) เสีย แล้วไม่ทำเวทนาใหม่
(คือ อิ่มจนอึดอัด) ให้เกิดขึ้น


ยาต๎รา จะ เม ภะวิสสะติ อะนะวัชชะตา
จะ ผาสุ วิหาโร จาติ
ความที่อายุดำ เนินไปได้
ความไม่มีโทษเพราะอาหาร
และความอยู่ผาสุกสำ ราญจะมีแก่เรา ดังนี้


เอวัง โข ภิกขะเว ภิกขุ โภชะเน
มัตตัญญู โหติ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอย่างนี้ ชื่อว่า
เป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ


กะถัญจะ ภิกขะเว ภิกขุ ชาคะริยัง
อะนุยุตโต โหติ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ตามประกอบ
ในชาคริยธรรมอยู่เนืองนิตย์ เป็นอย่างไรเล่า


อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ ทิวะสัง จังกะเมนะ
นิสัชชายะ อาวะระณิเยหิ ธัมเมหิ จิตตัง
ปะริโสเธติ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมชำ ระจิตให้หมดจดสิ้นเชิง
จากกิเลสที่กั้นจิต ด้วยการเดินจงกรม
ด้วยการนั่ง ตลอดวัน


รัตติยา ปะฐะมัง ยามัง จังกะเมนะ
นิสัชชายะ อาวะระณิเยหิ ธัมเมหิ
จิตตัง ปะริโสเธติ
ครั้นถึงยามแรกแห่งราตรี
ก็ชำระจิตให้หมดจดสิ้นเชิง จากกิเลสที่กั้นจิต
ด้วยการเดินจงกรม และด้วยการนั่งอีก


รัตติยา มัชฌิมัง ยามัง ทักขิเณนะ
ปัสเสนะ สีหะเสยยัง กัปเปติ
ครั้นยามกลางแห่งราตรี
ย่อมสำ เร็จการนอนอย่างราชสีห์
คือตะแคงข้างขวา


ปาเทนะ ปาทัง อัจจาธายะ สะโต
สัมปะชาโน อุฏฐานะสัญญัง
มะนะสิกะริต๎วา
เท้าเหลื่อมเท้า ตั้งสติสัมปชัญญะ
ในการที่จะลุกขึ้น


รัตติยา ปัจฉิมัง ยามัง ปัจจุฏฐายะ
จังกะเมนะ นิสัชชายะ อาวะระณิเยหิ
ธัมเมหิ จิตตัง ปะริโสเธติ
ครั้นยามสุดท้ายแห่งราตรี กลับลุกขึ้นแล้ว
ก็ชำ ระจิตให้หมดจดสิ้นเชิง จากกิเลสที่กั้นจิต
ด้วยการเดินจงกรม และด้วยการนั่งอีก


เอวัง โข ภิกขะเว ภิกขุ ชาคะริยัง
อะนุยุตโต โหติ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอย่างนี้ชื่อว่า
เป็นผู้ตามประกอบในชาคริยธรรม
อยู่เนืองนิตย์


อิเมหิ โข ภิกขะเว จะตูหิ ธัมเมหิ
สะมันนาคะโต ภิกขุ อะภัพโพ
ปะริหานายะ นิพพานัสเสวะ สันติเกติ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อประกอบพร้อม
ด้วยธรรมสี่อย่างเหล่านี้แล้ว
ย่อมไม่อาจที่จะเสื่อมเสีย
มีแต่จะอยู่ใกล้นิพพานอย่างเดียวแล


จตุกฺก. อํ. ๒๑/๕๐/๓๗.



หน้า 63

บทสวด อานาปานสติ


กะถัง ภาวิตา จะ ภิกขะเว อานาปานะสะติ
ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ
อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร


กะถัง พะหุลีกะตา จัตตาโร
สะติปัฏฐาเน ปะริปูเรนติ
ทำให้มากแล้วอย่างไร
จึงทำ สติปัฏฐานทั้งสี่ให้บริบูรณ์ได้


หน้า 63-1

(หมวดกายานุปัสสนา)

ยัส๎มิง สะมะเย ภิกขะเว ภิกขุ ทีฆัง วา
อัสสะสันโต ทีฆัง อัสสะสามีติ ปะชานาติ
ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุ
เมื่อหายใจเข้ายาว
ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว


ทีฆัง วา ปัสสะสันโต ทีฆัง ปัสสะสามีติ
ปะชานาติ
เมื่อหายใจออกยาว
ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว


รัสสัง วา อัสสะสันโต รัสสัง อัสสะสามีติ
ปะชานาติ
เมื่อหายใจเข้าสั้น
ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น


รัสสัง วา ปัสสะสันโต รัสสัง ปัสสะสามีติ
ปะชานาติ
เมื่อหายใจออกสั้น
ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น


สัพพะกายะปะฏิสังเวที อัสสะสิสสามีติ
สิกขะติ
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง
หายใจเข้า


สัพพะกายะปะฏิสังเวที ปัสสะสิสสามีติ
สิกขะติ
ย่อมทำ การฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง
หายใจออก


ปัสสัมภะยัง กายะสังขารัง อัสสะสิสสามีติ
สิกขะติ
ย่อมทำ การฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับ
หายใจเข้า


ปัสสัมภะยัง กายะสังขารัง ปัสสะสิสสามีติ
สิกขะติ
ย่อมทำ การฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับ
หายใจออก

กาเย กายานุปัสสี ภิกขะเว ตัส๎มิง
สะมะเย ภิกขุ วิหะระติ
ภิกษุทั้งหลาย สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า
เป็นผู้เห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ


อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา วิเนยยะ
โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง
มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ
นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้


กาเยสุ กายัญญะตะราหัง ภิกขะเว
เอตัง วะทามิ ยะทิทัง อัสสาสะปัสสาสัง
ภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าว ลมหายใจเข้า
และลมหายใจออก ว่าเป็นกายอันหนึ่ง ๆ
ในกายทั้งหลาย


ตัส๎มาติหะ ภิกขะเว กาเย กายานุปัสสี
ตัส๎มิง สะมะเย ภิกขุ วิหะระติ อาตาปี
สัมปะชาโน สะติมา วิเนยยะ โลเก
อะภิชฌาโทมะนัสสัง
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้
ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่า เป็นผู้เห็นกายในกาย
อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส
มีสัมปชัญญะ มีสติ นำ อภิชฌาและโทมนัส
ในโลกออกเสียได้ ในสมัยนั้น


หน้า 67

บทสวดอานาปานสติ
(หมวดเวทนานุปัสสนา)

ยัส๎มิง สะมะเย ภิกขะเว ภิกขุ
ปีติปะฏิสังเวที อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุย่อมทำ การ
ฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ
หายใจเข้า


ปีติปะฏิสังเวที ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ย่อมทำ การฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจออก


สุขะปะฏิสังเวที อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ย่อมทำ การฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อม
เฉพาะซึ่งสุข หายใจเข้า


สุขะปะฏิสังเวที ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ย่อมทำ การฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจออก


จิตตะสังขาระปะฏิสังเวที อัสสะสิสสามีติ
สิกขะติ
ย่อมทำ การฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร
หายใจเข้า

จิตตะสังขาระปะฏิสังเวที ปัสสะสิสสามีติ
สิกขะติ
ย่อมทำ การฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร
หายใจออก


ปัสสัมภะยัง จิตตะสังขารัง อัสสะสิสสามีติ
สิกขะติ
ย่อมทำ การฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำ
จิตตสังขารให้รำงับ หายใจเข้า

ปัสสัมภะยัง จิตตะสังขารัง ปัสสะสิสสามีติ
สิกขะติ
ย่อมทำ การฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้ทำ จิตตสังขารให้รำงับอยู่ หายใจออก

เวทะนาสุ เวทะนานุปัสสี ภิกขะเว ตัส๎มิง
สะมะเย ภิกขุ วิหะระติ
ภิกษุทั้งหลาย สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้เห็น
เวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ

อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา วิเนยยะ
โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง
มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ
นำ อภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้


เวทะนาสุ เวทะนาญญะตะราหัง ภิกขะเว
เอตัง วะทามิ ยะทิทัง อัสสาสะปัสสาสานัง
สาธุกัง มะนะสิการัง
ภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าว
การทำ ในใจเป็นอย่างดีต่อลมหายใจเข้า
และลมหายใจออกว่าเป็นเวทนาอันหนึ่ง ๆ
ในเวทนาทั้งหลาย

ตัส๎มาติหะ ภิกขะเว เวทะนาสุ เวทะนานุปัสสี
ตัส๎มิง สะมะเย ภิกขุ วิหะระติ อาตาปี
สัมปะชาโน สะติมา วิเนยยะ โลเก
อะภิชฌาโทมะนัสสัง
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้
ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่า เป็นผู้เห็นเวทนา
ในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ
มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ
นำ อภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้
ในสมัยนั้น


หน้า 71

บทสวดอานาปานสติ (หมวดจิตตานุปัสสนา)

ยัส๎มิง สะมะเย ภิกขะเว ภิกขุ
จิตตะปะฏิสังเวที อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุย่อมทำ การ
ฝึกหัดศึกษาว่าเราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต
หายใจเข้า

จิตตะปะฏิสังเวที ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ย่อมทำ การฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต
หายใจออก

อะภิปปะโมทะยัง จิตตัง อัสสะสิสสามีติ
สิกขะติ
ย่อมทำ การฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้ทำ จิตให้ปราโมทย์ยิ่ง
หายใจเข้า

อะภิปปะโมทะยัง จิตตัง ปัสสะสิสสามีติ
สิกขะติ
ย่อมทำ การฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้ทำ จิตให้ปราโมทย์ยิ่ง
หายใจออก

สะมาทะหัง จิตตัง อัสสะสิสสามีติ
สิกขะติ
ย่อมทำ การฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้ทำ จิตให้ตั้งมั่น
หายใจเข้า

สะมาทะหัง จิตตัง ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ย่อมทำ การฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้ทำ จิตให้ตั้งมั่น
หายใจออก

วิโมจะยัง จิตตัง อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ย่อมทำ การฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้ทำ จิตให้ปล่อยอยู่
หายใจเข้า

วิโมจะยัง จิตตัง ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ย่อมทำ การฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้ทำ จิตให้ปล่อยอยู่
หายใจออก

จิตเต จิตตานุปัสสี ภิกขะเว ตัส๎มิง
สะมะเย ภิกขุ วิหะระติ
ภิกษุทั้งหลาย สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า
เป็นผู้เห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ

อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา วิเนยยะ
โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง
มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ
นำ อภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้

นาหัง ภิกขะเว มุฏฐะสะติสสะ
อะสัมปะชานัสสะ อานาปานะสะติ
วะทามิ
ภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวอานาปานสติว่า
เป็นสิ่งที่มีได้ แก่บุคคลผู้มีสติอันลืมหลงแล้ว
ไม่มีสัมปชัญญะ

ตัส๎มาติหะ ภิกขะเว จิตเต จิตตานุปัสสี
ตัส๎มิง สะมะเย ภิกขุ วิหะระติ อาตาปี
สัมปะชาโน สะติมา วิเนยยะ โลเก
อะภิชฌาโทมะนัสสัง
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้
ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่า
เป็นผู้เห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ
มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ
นำ อภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้
ในสมัยนั้น