เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

  ก้าวย่าง อย่างพุทธะ-พุทธวจน   ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  2 of 3  
 
  ก้าวย่าง อย่างพุทธะ พุทธวจน  ที่มา : http://watnapp.com/book  
       
    สารบัญ หน้า  
  ๑๐. ความรู้สึก ที่ถึงกับทำ ให้ออกผนวช 26  
  ๑๑. การทำ ความเพียรแข่งกับอนาคตภัย 31  
  ๑๒. บทอธิษฐานจิตเพื่อทำ ความเพียร 37  
  ๑๓. ลำดับการปฏิบัติเพื่อรู้ตามซึ่งสัจธรรม 39  
  ๑๔. หลักเกณฑ์การเลือกสถานที่และบุคคล .....ที่ควรเสพและไม่ควรเสพ 41  
  ๑๕. ความเพลินเป็นแดนเกิดแห่งทุกข์ 44  
  ๑๖. อาการเกิดแห่งทุกข์โดยสังเขป 45  
  ๑๗. ความดับทุกข์มี เพราะความดับแห่งนันทิ 46  
  ๑๘. ลักษณะแห่งจิตที่หลุดพ้นด้วยการละนันทิ (อีกนัยหนึ่ง) 47  
  ๑๙. วิธีที่สะดวกสบายเพื่อการดับของกิเลส 48  
  ๒๐. ทิ้งเสียนั่นแหละกลับจะเป็นประโยชน์ 53  
  ๒๑. อาการเกิดดับแห่งเวทนา 56  
  ๒๒. ลักษณะหนทางแห่งความหมดจด 58  
  ๒๓. ขยายความแห่งอริยมรรคมีองค์แปด 30  
  ๒๔. สมาธิทุกขั้นตอน ......ใช้เป็นบาทฐานในการเข้าวิมุตติได้ทั้งหมด 65  
       
 
 





หน้า 26

๑๐
ความรู้สึก ที่ถึงกับทำ ให้ออกผนวช


ภิกษุทั้งหลาย ! ในโลกนี้ ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่

ตนเองมี ความเกิด เป็นธรรมดาอยู่แล้ว ก็ยังมัวหลงแสวงหาสิ่งที่มีความเกิด เป็นธรรมดาอยู่นั่นเอง

ตนเองมี ความแก่ เป็นธรรมดาอยู่แล้ว ก็ยังมัวหลงแสวงหาสิ่งที่มีความแก่ เป็นธรรมดาอยู่นั่นเอง

ตนเองมี ความเจ็บไข้ เป็นธรรมดาอยู่แล้ว ก็ยังมัวหลงแสวงหาสิ่งที่มี ความเจ็บไข้ เป็นธรรมดาอยู่นั่นเอง

ตนเองมี ความตาย เป็นธรรมดาอยู่แล้ว ก็ยังมัวหลงแสวงหาสิ่งที่มีความตาย เป็นธรรมดาอยู่นั่นเอง

ตนเองมี ความโศก เป็นธรรมดาอยู่แล้ว ก็ยังมัวหลงแสวงหาสิ่งที่มีความโศก เป็นธรรมดาอยู่นั่นเอง

ตนเองมี ความเศร้าหมอง โดยรอบด้าน เป็นธรรมดาอยู่แล้ว ก็ยังมัวหลงแสวงหา สิ่ง ที่มีความเศร้าหมองโดยรอบด้าน เป็นธรรมดาอยู่นั่นเอง อีก.

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็อะไรเล่าเป็นสิ่งที่มีความเกิด(เป็นต้น) ฯลฯ มีความเศร้าหมอง โดยรอบด้าน (เป็นที่สุด) เป็นธรรมดา ?

ภิกษุทั้งหลาย ! บุตรและภรรยา มีความเกิดเป็นธรรมดา ฯลฯ มีความเศร้าหมอง โดยรอบด้านเป็นธรรมดา.

ทาสหญิง ทาสชาย มีความเกิดเป็นธรรมดา ฯลฯ มีความเศร้าหมอง โดยรอบด้าน เป็นธรรมดา.

แพะแกะ มีความเกิดเป็นธรรมดา ฯลฯ มีความเศร้าหมองโดยรอบด้าน เป็นธรรมดา.

ไก่ สุกร มีความเกิดเป็นธรรมดา ฯลฯ มีความเศร้าหมองโดยรอบด้านเป็น ธรรมดา.

ช้าง โค ม้า ลา มีความเกิดเป็นธรรมดา ฯลฯ มีความเศร้าหมองโดยรอบด้านเป็น ธรรมดา.

ทองและเงิน เป็นสิ่งที่มีความเกิดเป็นธรรมดา ฯลฯ มีความเศร้าหมองโดย รอบด้านเป็นธรรมดา.

สิ่งที่มนุษย์เข้าไปเทิดทูนเอาไว้เหล่านี้แลที่ชื่อว่า สิ่งที่มีความเกิดเป็นธรรมดา ฯลฯ มีความเศร้าหมองโดยรอบด้านเป็นธรรมดา ซึ่งคนในโลกนี้ พากันจมติดอยู่ พากันมัวเมาอยู่ พากันสยบอยู่ ในสิ่งเหล่านี้

จึงทำให้ตนทั้งที่มีความเกิด เป็นธรรมดา ฯลฯ มีความเศร้าหมองโดยรอบด้าน เป็นธรรมดาอยู่เองแล้ว ก็ยังมัวหลงแสวงหา สิ่งที่มีความเกิดเป็นธรรมดา ฯลฯ ที่มีความเศร้าหมองโดยรอบด้านเป็นธรรมดา อยู่อีก.

ภิกษุทั้งหลาย ! ความคิดอันนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า “ทำไมหนอ เราซึ่งมีความเกิด ฯลฯ ความเศร้าหมองโดยรอบด้าน เป็นธรรมดาอยู่เองแล้ว จะต้องไปมัวแสวงหา สิ่งที่มีความเกิด ฯลฯ ความเศร้าหมองโดยรอบด้านเป็นธรรมดาอยู่อีก.

ไฉนหนอ เราผู้มีความเกิด ฯลฯ ความเศร้าหมองโดยรอบด้าน เป็นธรรมดา อยู่เองแล้ว ครั้นได้รู้สึกถึงโทษอันต่ำทราม ของการมีความเกิด ฯลฯ ความเศร้าหมองโดยรอบด้านเป็นธรรมดานี้แล้ว เราพึงแสวงหานิพพาน อันไม่มีความเกิด อันเป็นธรรมที่เกษมจากเครื่องร้อยรัด ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าเถิด”.

ภิกษุทั้งหลาย ! เรานั้นโดยสมัยอื่นอีก ยังหนุ่มเทียว เกสายังดำจัด บริบูรณ์ด้วย ความหนุ่มที่กำลังเจริญ ยังอยู่ในปฐมวัย เมื่อมารดาบิดาไม่ปรารถนา ด้วยกำลัง พากันร้องไห้น้ำตานองหน้าอยู่ เราได้ปลงผมและหนวดครองผ้า ย้อมฝาด ออกจากเรือน บวชเป็นผู้ไม่มีเรือนแล้ว.

...ภารท๎วาชะ ! ในโลกนี้ ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ ความคิดนี้เกิดมีแก่เราว่าฆราวาส คับแคบ เป็นทางมาแห่ง ธุลี ส่วน บรรพชา เป็นโอกาสว่าง ผู้อยู่ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้ บริสุทธิ์บริบูรณ์ โดยส่วนเดียว เหมือนสังข์ที่เขาขัดดีแล้ว โดยง่ายนั้นไม่ได้. ถ้าไฉนเราพึงปลงผมและหนวด ครองผ้าย้อมฝาดออกจากเรือน บวชเป็น ผู้ไม่มีประโยชน์เกี่ยวข้องด้วยเรือนเถิด” ดังนี้. ...

หน้า 31

๑๑
การทำความเพียรแข่งกับอนาคตภัย

ภิกษุทั้งหลาย ! ภัยในอนาคตเหล่านี้ มีอยู่๕ ประการ ซึ่งภิกษุผู้มองเห็นอยู่ ควรแท้ที่จะเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียรเผากิเลส มีตนส่งไปแล้วในการทำ เช่นนั้น อยู่ตลอดไป  เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำ ให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้ง เสียโดยเร็ว.

ภัยในอนาคต ๕ ประการนั้น คืออะไรบ้างเล่า ?

๕ ประการคือ :-

๑. ภิกษุในกรณีนี้ พิจารณาเห็นชัดแจ้งว่า “บัดนี้เรายังหนุ่ม ยังเยาว์วัย ยังรุ่น คะนอง มีผมยังดำสนิท ตั้งอยู่ในวัยกำลังเจริญ คือปฐมวัย แต่จะมีสักคราว หนึ่งที่ ความแก่จะมาถึงร่างกายนี้  ก็คนแก่ถูกความชราครอบงำแล้วจะมนสิการ ถึงคำสอนของท่านผู้รู้ ทั้งหลายนั้น ไม่ทำได้สะดวกเลย และจะเสพเสนาสนะ อันเงียบสงัดซึ่งเป็นป่าชัฏ ก็ไม่ทำได้ง่ายๆ เลย.

ก่อนแต่สิ่งอันไม่เป็นที่ต้องการ ไม่น่าใคร่ไม่น่าชอบใจ (คือความแก่) นั้น จะมาถึงเรา เราจะรีบทำความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้งเสียโดยเร็ว ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ถึงแล้ว ก็จักอยู่เป็นผาสุก แม้จะแก่เฒ่า” ดังนี้.

๒. ภิกษุทั้งหลาย ! ข้ออื่นยังมีอีก  ภิกษุพิจารณาเห็นชัดแจ้งว่า “บัดนี้ เรามีอาพาธน้อย มีโรคน้อย มีไฟธาตุให้ความอบอุ่นสม่ำเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก พอปานกลางควรแก่การทำความเพียร  แต่จะมีสักคราวหนึ่งที่ ความเจ็บไข้ จะมาถึงร่างกายนี้  ก็คนที่เจ็บไข้ถูกพยาธิครอบงำแล้วจะมนสิการ ถึงคำสอนของท่านผู้รู้ทั้งหลายนั้น ไม่ทำได้สะดวกเลย  และจะเสพเสนาสนะ อันเงียบสงัด ซึ่งเป็นป่าชัฏก็ไม่ทำได้ง่ายๆ เลย.

ก่อนแต่สิ่งอันไม่เป็นที่ต้องการไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ (คือความเจ็บไข้) นั้น จะมาถึงเราเราจะรีบทำความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้ง สิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้งเสียโดยเร็ว ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ถึงแล้ว ก็จักอยู่เป็นผาสุก แม้จะเจ็บไข้”ดังนี้.

๓. ภิกษุทั้งหลาย ! ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุพิจารณาเห็นชัดแจ้งว่า “บัดนี้ ข้าวกล้างามดี บิณฑะ (ก้อนข้าว)หาได้ง่าย เป็นการสะดวกที่จะยังชีวิตให้เป็นไป ด้วยความพยายามแสวงหาบิณฑบาต แต่จะมีสักคราวหนึ่งที่ภิกษาหายาก ข้าวกล้าเสียหาย บิณฑะหาได้ยาก ไม่เป็นการสะดวกที่จะยังชีวิต ให้เป็นไปด้วย ความพยายาม แสวงหาบิณฑบาต เมื่อภิกษาหายาก ที่ใดภิกษาหาง่าย คนทั้งหลายก็อพยพกันไป ที่นั้น  เมื่อเป็นเช่นนั้น ความอยู่คลกุ คลีปะปนกัน ในหมู่คนก็จะมีขึ้น เมื่อมีการคลุกคลีปะปนกันในหมู่คน จะมนสิการถึงคำสอน ของท่านผู้รู้ทั้ง หลายนั้นไม่ทำได้สะดวกเลย  และจะเสพเสนาสนะอันเงียบสงัด ซึ่งเป็นป่าชัฏ ก็ไม่ทำได้ง่ายๆ เลย.

ก่อนแต่สิ่งอันไม่เป็นที่ต้องการ ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ (คือภิกษาหายาก) นั้นจะมาถึงเรา เราจะรีบทำความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึงเพื่อบรรลุสิ่ง ที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้งเสียโดยเร็ว ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ ถึงแล้ว จักอยู่เป็นผาสุกแม้ในคราวที่เกิดทุพภิกขภัย” ดังนี้.

๔. ภิกษุทั้งหลาย ! ข้ออื่นยังมีอีก  ภิกษุพิจารณาเห็นชัดแจ้งว่า “บัดนี้ คนทั้งหลายสมัครสมานชื่นบานต่อกันไม่วิวาทกัน เข้ากันได้ดุจดั่งนมผสมกับน้ำ มองแลกันด้วยสายตาแห่งคนที่รักใคร่กัน เป็นอยู่  แต่จะมีสักคราวหนึ่งที่ ภัย คือ โจรป่ากำเริบ ชาวชนบทผู้ขึ้นอยู่ในอาณาจักร แตกกระจัดกระจายแยกย้ายกันไป เมื่อมีภัยเช่นนี้ ที่ใดปลอดภัย คนทั้งหลายก็อพยพกันไป ที่นั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น ความอยู่คลุกคลีปะปนกันในหมู่คนก็จะมีขึ้น เมื่อมีการอยู่คลุกคลีปะปนกัน ในหมู่คน จะมนสิการ ถึงคำสอนของท่านผู้รู้ทั้งหลายนั้น ไม่ทำได้สะดวกเลย และจะเสพเสนาสนะอันเงียบสงัดซึ่งเป็นป่าชัฏ ก็ไม่ทำได้ง่ายๆ เลย.

ก่อนแต่สิ่งอันไม่เป็นที่ต้องการ ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ (คือโจรภัย) นั้นจะมาถึง เรา เราจะรีบทำความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึงเพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้งเสียโดยเร็ว ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ถึงแล้ว จักอยู่เป็นผาสุกแม้ในคราวที่เกิดโจรภัย” ดังนี้.

๕. ภิกษุทั้งหลาย ! ข้ออื่นยังมีอีก  ภิกษุพิจารณาเห็นชัดแจ้งว่า “บัดนี้ สงฆ์สามัคคีปรองดองกัน ไม่วิวาทกันมีอุทเทสเดียวกัน อยู่เป็นผาสุก แต่จะมีสัก คราวหนึ่งที่สงฆ์แตกกัน เมื่อสงฆ์แตกกันแล้ว จะมนสิการถึงคำสอนของท่าน ผู้รู้ทั้งหลายนั้น ไม่ทำได้สะดวกเลย และจะเสพเสนาสนะอันเงียบสงัด ซึ่งเป็น ป่าชัฏ ก็ไม่ทำได้ง่ายๆ เลย.

ก่อนแต่สิ่งอันไม่เป็นที่ต้องการ ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ(คือสงฆ์แตกกัน) นั้น จะมาถึงเรา เราจะรีบทำความเพียรเพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้งเสียโดยเร็ว ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ถึงแล้วจักอยู่ เป็นผาสุก แม้ในคราวเมื่อสงฆ์แตกกัน” ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภัยในอนาคต ๕ ประการเหล่านี้แล ซึ่งภิกษุผู้มองเห็นอยู่ ควรแท้ที่จะเป็นผู้ไม่ประมาทมีความเพียรเผากิเลส มีตนส่งไปแล้วในการทำ เช่นนั้น อยู่ตลอดไป  เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้ง สิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้ง เสียโดยเร็ว.

หน้า 37

๑๒
บทอธิษฐานจิตเพื่อทำ
ความเพียร

ภิกษุทั้งหลาย ! เรายังรู้สึกได้อยู่ซึ่งธรรม ๒ อย่าง คือความไม่รู้จักอิ่มจักพอ (สันโดษ)ในกุศลธรรมทั้งหลายและ ความเป็นผู้ไม่ถอยกลับ (อัปปฏิวานี) ในการทำความเพียร.

ภิกษุทั้งหลาย ! เราย่อมตั้งไว้ซึ่งความเพียรอันไม่ถอยกลับ (ด้วยการอธิษฐานจิต) ว่า“หนัง เอ็น กระดูก จักเหลืออยู่ เนื้อและเลือดในสรีระ จักเหือดแห้งไปก็ตามที ประโยชน์ใด อันบุคคลจะบรรลุได้ด้วยกำลัง ด้วยความเพียร ด้วยความบากบั่น ของบุรุษ ถ้ายังไม่บรรลุประโยชน์นั้นแล้ว จักหยุดความเพียรเสีย เป็นไม่มี” ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! การตรัสรู้เป็นสิ่งที่เราถึงทับแล้ว ด้วยความไม่ประมาท อนุตตรโยคักเขมธรรม ก็เป็นสิ่งที่เราถึงทับแล้ว ด้วยความไม่ประมาท.

ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าแม้ พวกเธอ พึงตั้งไว้ซึ่งความเพียรอันไม่ถอยกลับ (ด้วยการอธิษฐานจิต) ว่า “หนัง เอ็น กระดูก จักเหลืออยู่ เนื้อและเลือดในสรีระ จักเหือดแห้งไปก็ตามที ประโยชน์ใด อันบุคคลจะบรรลุได้ด้วยกำลัง ด้วยความเพียร ด้วยความบากบั่น ของบุรุษ ถ้ายังไม่บรรลุประโยชน์นั้นแล้ว จักหยุดความเพียรเสีย เป็นไม่มี” ดังนี้ แล้วไซร้

 ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอ ก็จักกระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ซึ่งที่สุดแห่ง พรหมจรรย์อันไม่มีอะไรอื่นยิ่งกว่า อันเป็นประโยชน์ที่ต้องการของกุลบุตร ผู้ออกจากเรือน บวชเป็นผู้ไม่มีเรือนโดยชอบ ได้ต่อกาลไม่นานในทิฏฐธรรม เข้าถึงแล้วแลอยู่ เป็นแน่นอน.

หน้า 39

๑๓
ลำดับการปฏิบัติเพื่อรู้ตามซึ่งสัจจธรรม

ภิกษุทั้งหลาย ! เราย่อมไม่กล่าวการประสบความพอใจในอรหัตตผล ด้วยการกระทำอันดับแรกเพียงอันดับเดียว. ภิกษุทั้งหลาย ! ก็แต่ว่า การประสบความพอใจในอรหัตตผล ย่อมมีได้เพราะการศึกษาโดยลำดับ เพราะการกระทำโดยลำดับ เพราะการปฏิบัติโดยลำดับ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็การประสบความพอใจในอรหัตตผล ย่อมมีได้เพราะการศึกษา โดยลำดับ เพราะการกระทำโดยลำดับ เพราะการปฏิบัติโดยลำดับนั้น เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! บุรุษบุคคลในกรณีนี้ เป็นผู้มีศรัทธา เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเข้าไปหา ผู้ถึงอริยสัจ (สัปบุรุษ) เมื่อเข้าไปหา ย่อมเข้าไปนั่งใกล้ เมื่อเข้าไปนั่งใกล้ ย่อมเงี่ยโสตลงสดับ ผู้เงี่ยโสตลงสดับ ย่อมได้ฟังธรรม ครั้นฟังแล้ว ย่อมทรงจำธรรมไว้ย่อมใคร่ครวญพิจารณา ซึ่งเนื้อความแห่งธรรม ทั้งหลาย ที่ตนทรงจำไว้เมื่อเขาใคร่ครวญพิจารณา ซึ่งเนื้อความแห่งธรรมนั้นอยู่ ธรรมทั้งหลาย ย่อมทนต่อการเพ่งพิสูจน์ เมื่อธรรมทนต่อการเพ่งพิสูจน์ มีอยู่ฉันทะ (ความพอใจ) ย่อมเกิด ผู้เกิดฉันทะแล้ว ย่อม มีอุตสาหะ

ครั้นมีอุตสาหะแล้ว ย่อม พิจารณาหาความสมดุลแห่งธรรม ครั้นพิจารณาหา ความสมดุลแห่งธรรมแล้ว ย่อม ตั้งตนไว้ในธรรม นั้น ผู้มีตนส่งไปแล้วในธรรมนั้น อยู่ย่อม กระทำให้แจ้ง ซึ่งบรมสัจจ์ด้วยนามกาย ด้วย ย่อมเห็นแจ้งแทงตลอด ซึ่งบรมสัจจ์นั้นด้วยปัญญา ด้วย.

หน้า 41

๑๔
หลักเกณฑ์การเลือกสถานที่ และบุคคลที่ควรเสพ และไม่ควรเสพ

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้ เข้าไปอาศัยวนปัตถ์ (ป่าทึบ) แห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ สติที่ยังตั้งขึ้นไม่ได้ก็ไม่ตั้งขึ้นได้  จิตที่ยังไม่ตั้งมั่น ก็ไม่ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้น ก็ไม่ถึงความสิ้น  และอนุตตรโยคักเขมธรรมที่ยังไม่บรรลุ ก็ไม่บรรลุ ทั้งจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัช-บริกขาร อันบรรพชิตพึงแสวงหามา เพื่อเป็นบริขารของชีวิตก็หามาได้โดยยาก.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุนั้น พิจารณาเห็นโดยประจักษ์ดังนี้แล้ว ไม่ว่าจะเป็นเวลา กลางวันหรือกลางคืน พึงหลีกไปเสียจากวนปัตถ์นั้น อย่าอยู่เลย.

ภิกษุทั้งหลาย ! อนึ่งภิกษุในกรณีนี้เข้าไปอาศัยวนปัตถ์ แห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ สติที่ยังตั้งขึ้นไม่ได้ ก็ไม่ตั้งขึ้นได้,จิตที่ยังไม่ตั้งมั่น ก็ไม่ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้น ก็ไม่ถึงความสิ้น และอนุตตรโยคักเขมธรรมที่ยังไม่บรรลุ ก็ไม่บรรลุ แต่ว่า จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริกขาร อันบรรพชิตพึง แสวงหามาเพื่อเป็น บริขารของชีวิต หามาได้โดยไม่ยาก.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุนั้น พิจารณาเห็นโดยประจักษ์ดังนี้แล้ว คิดว่า “เราเป็นผู้ออกจากเรือนบวชเพราะเหตุแห่งจีวรก็หามิได้ เพราะเหตุแห่ง บิณฑบาตก็หามิได้ เพราะเหตุแห่งเสนาสนะก็หามิได้ เพราะเหตุแห่งคิลานปัจจัย เภสัชบริกขารก็หามิได้” ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ภิกษุนั้น พึงหลีกไปจาก วนปัตถ์ นั้น อย่าอยู่เลย.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้ เข้าไปอาศัย วนปัตถ์ แห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ สติที่ยังตั้งขึ้นไม่ได้ ก็ตั้งขึ้นได้  จิตที่ยังไม่ตั้งมั่น ก็ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้น ก็ถึงความสิ้น และอนุตตรโยคักเขมธรรมที่ยังไม่บรรลุก็บรรลุ  แต่จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัย-เภสัชบริกขาร อันบรรพชิตพึงแสวงหาเพื่อเป็นบริขาร
ของชีวิตนั้นหามาได้โดยยาก.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุนั้นพิจารณาเห็นโดยประจักษ์ดังนี้แล้วคิดว่า “เรามิได้ออก จากเรือนบวช เพราะเหตุแห่งจีวร เพราะเหตุแห่งบิณฑบาตเพราะเหตุแห่ง เสนาสนะ เพราะเหตุแห่งคิลานปัจจัยเภสัชบริกขาร” ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ภิกษุนั้นพึงอยู่ในวนปัตถ์นั้น อย่าหลีกไปเสียเลย.

ภิกษุทั้งหลาย ! อนึ่ง ภิกษุในกรณีนี้ เข้าไปอาศัยวนปัตถ์ แห่งใดแห่งหนึ่งอยู่, สติที่ยังตั้งขึ้นไม่ได้ ก็ตั้งขึ้นได้ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่น ก็ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้น ก็ถึงความสิ้น และอนุตตรโยคักเขมธรรมที่ยังไม่บรรลุ ก็บรรลุ ทั้งจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริกขาร อันบรรพชิตพึงแสวงหามาเพื่อเป็นบริขาร ของชีวิตนั้น ก็หาได้โดยไม่ยาก.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุนั้น พิจารณาเห็นโดยประจักษ์ดังนี้แล้ว พึงอยู่ในวนปัตถ์นั้น จนตลอดชีวิต อย่าหลีกไปเสียเลย.

(ในกรณีแห่งการเลือกหมู่บ้าน นิคม นคร ชนบทและบุคคล ที่ควรเสพหรือ ไม่ควรเสพ ก็ได้ตรัสไว้โดยหลักเกณฑ์อย่างเดียวกัน).

หน้า 44

๑๕
ความเพลินเป็นแดนเกิดแห่งทุกข์

ปุณณะ ! รูป ที่เห็นด้วยตาก็ดี, เสียง ที่ฟังด้วยหูก็ดี กลิ่น ที่ดมด้วยจมูกก็ดี รส ที่ลิ้มด้วยลิ้นก็ดี โผฏฐัพพะที่สัมผัสด้วยกายก็ดี และธรรมารมณ์ ที่รู้แจ้งด้วยใจก็ดี อันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ ที่ยวนตายวนใจให้รัก เป็นที่เข้าไป ตั้งอาศัยอยู่ แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจ มีอยู่.

ภิกษุย่อมเพลิดเพลินย่อมพร่ำสรรเสริญ ย่อมเมาหมกอยู่ ซึ่งอารมณ์ มีรูปเป็นต้นนั้นไซร้ เมื่อภิกษุนั้น เพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ ซึ่งอารมณ์มีรูปเป็นต้นนั้นอย่ นันทิ(ความเพลิน) ย่อมบังเกิดขึ้น.

เรากล่าวว่าเพราะความเพลินเป็นสมุทัย (เครื่องก่อขึ้น)จึงเกิดมีทุกขสมุทัย (ความก่อขึ้นแห่งทุกข์) ดังนี้ แล.

หน้า 45

๑๖
อาการเกิดแห่งทุกข์โดยสังเขป

มิคชาละ ! รูป ทั้งหลายที่เห็นด้วยตา อันเป็นรูปที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ เป็นที่ยั่วยวนชวนให้รัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่ แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจ มีอยู่.

ภิกษุย่อมเพลิดเพลินพร่ำสรรเสริญ สยบมัวเมา ในรูปนั้นไซร้ เมื่อภิกษุนั้น เพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ สยบมัวเมา ในรูปนั้นอยู่,นันทิ (ความเพลิน) ย่อมเกิดขึ้น.

มิคชาละ ! เรากล่าวว่า“ความเกิดขึ้นแห่งทุกข์มีได้เพราะความเกิดขึ้นแห่งนันทิ” ดังนี้.
(ในกรณีแห่ง เสียง ที่ได้ยินด้วยหู กลิ่น ที่ดมด้วยจมูก รส ที่ลิ้มด้วยลิ้น โผฏฐัพพะ ที่สัมผัสด้วยผิวกาย และธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ด้วยใจ ก็ได้ตรัสไว้ โดยทำนองเดียวกันกับในกรณีแห่งรูปที่เห็นด้วยตา).

หน้า 46

๑๗
ความดับทุกข์มี เพราะความดับแห่งนันทิ

ปุณณะ ! รูป ที่เห็นด้วยตาก็ดี เสียง ที่ฟังด้วยหูก็ดี กลิ่น ที่ดมด้วยจมูกก็ดี รส ที่ลิ้มด้วยลิ้นก็ดี โผฏฐัพพะที่สัมผัสด้วยกายก็ดี และธรรมารมณ์ ที่รู้แจ้งด้วยใจก็ดีอันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ เป็นที่ยวนตายวนใจให้รัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่ แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ย้อมใจ มีอยู่.

ภิกษุย่อมไม่เพลิดเพลินไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมก ซึ่งอารมณ์ มีรูปเป็นต้นนั้น.

เมื่อภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมก ซึ่งอารมณ์มีรูป เป็นต้นนั้นอยู่, นันทิ (ความเพลิน) ย่อมดับไป.

ปุณณะ ! เรากล่าวว่า“ความดับไม่มีเหลือแห่งทุกข์มีได้ เพราะความดับไม่เหลือแห่งความเพลิน” ดังนี้ แล.

หน้า 47

๑๘
ลักษณะแห่งจิตที่หลุดพ้นด้วยการละนันทิ
(อีกนัยหนึ่ง)

ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอจงกระทำในใจซึ่ง รูปทั้งหลาย โดยแยบคาย และเห็นความไม่เที่ยงแห่งรูปทั้งหลาย ให้เห็นตามที่เป็นจริง.
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุ เมื่อกระทำในใจซึ่งรูปทั้งหลายโดยแยบคายอยู่ เห็นความไม่เที่ยงแห่งรูปทั้งหลาย ตามที่เป็นจริงอยู่ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูปทั้งหลาย.

เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิ จึงมีความสิ้นไปแห่งราคะ
เพราะความสิ้นไปแห่งราคะ จึงมีความสิ้นไปแห่งนันทิ
เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิและราคะ
กล่าวได้ว่า จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี ดังนี้.

(ในกรณีแห่ง เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ ก็มีข้อความที่กล่าวไว้อย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งรูปที่กล่าวไว้ข้างบนนี้).

หน้า 48

๑๙
วิธีที่สะดวกสบายเพื่อการดับของกิเลส

ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพาน แก่พวกเธอ. พวกเธอจงฟัง จงทำในใจให้ดี เราจักกล่าว.

ภิกษุทั้งหลาย ! ปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพานนั้น เป็นอย่างไรเล่า ?ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้ย่อมเห็นซึ่ง จักษุว่า ไม่เที่ยง ย่อมเห็นซึ่ง รูปทั้งหลายว่า ไม่เที่ยง ย่อมเห็นซึ่ง จักขุวิญญาณว่า ไม่เที่ยง ย่อมเห็นซึ่ง จักขุสัมผัสว่า ไม่เที่ยง ย่อมเห็นซึ่ง เวทนา อันเป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเป็นอทุกขมสุข ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยว่า ไม่เที่ยง.
(ในกรณีแห่ง โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และ มนะ ก็ได้ ตรัสต่อไปด้วยข้อความอย่างเดียวกัน ทุกตัวอักษร ต่างกันแต่ชื่อเท่านั้น).

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แล คือปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพาน นั้น.

(อีก ๒ นัยยะได้ตรัสโดยใช้คำว่าทุกขัง และคำว่าอนัตตาแทนคำว่าไม่เที่ยง ส่วนตัวอักษรอื่นๆ นั้นเหมือนเดิมทุกประการ).

(อีกนัยหนึ่ง)
ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดง ปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพาน แก่เธอทั้งหลาย. พวกเธอจงฟังจงทำในใจให้ดี เราจักกล่าว.

ภิกษุทั้งหลาย ! ปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพานนั้น เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร ?
จักษุ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ?
“ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า !”.

สิ่งใดไม่เที่ยง, สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ?
“เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า !”.
สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า“นั่นของเรา(เอตํ มม) นั่นเป็นเรา (เอโสหมสฺมิ), นั่นเป็นอัตตาของเรา(เอโส เม อตฺตา)” ดังนี้ ?

“ไม่ควรตามเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า !”.

(ต่อไปได้ตรัสถามและภิกษุทูลตอบ เกี่ยวกับ รูป ...จักขุวิญญาณ ... จักขุสัมผัส ... จักขุสัมผัสสชาเวทนา ซึ่งมีข้อความอย่างเดียวกัน กับในกรณีแห่งจักษุนั้นทุกประการ ต่างกันแต่ชื่อเท่านั้น).

ภิกษุทั้งหลาย !
อริยสาวกผู้มีการสดับ เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุสัมผัส

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา อันเป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเป็น อทุกขมสุข ที่เกิดเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย

เมื่อเบื่อหน่าย ย่อม คลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อม หลุดพ้น
เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อม มีญาณหยั่งรู้ ว่าหลุดพ้นแล้ว.

อริยสาวกนั้น ย่อม รู้ชัด ว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก”.

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แล คือปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพาน นั้น.

(ในกรณีแห่งอายตนิกธรรมหมวดโสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และมนะ ก็ได้ตรัสต่อไปอีก โดยนัยอย่างเดียวกันกับในกรณี แห่งอายตนิกธรรมหมวดจักษุนี้).

หน้า 53

๒๐
ทิ้งเสียนั่นแหละกลับจะเป็นประโยชน์

ภิกษุทั้งหลาย !
สิ่งใด ไม่ใช่ของเธอ สิ่งนั้น เธอจงละมันเสีย สิ่งนั้น อันเธอละเสียแล้วจักเป็นไปเพื่อประโยชน์และความสุขแก่เธอ.

ภิกษุทั้งหลาย ! อะไรเล่า ที่ไม่ใช่ของเธอ ?
ภิกษุทั้งหลาย ! จักษุ ไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสีย จักษุนั้น อันเธอละเสียแล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์และความสุขแก่เธอ
(ในกรณีแห่ง โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และ มโนก็ได้ตรัสต่อไปด้วยข้อความอย่างเดียวกัน).

ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือน อะไรๆ ในแคว้นนี้ ที่เป็นหญ้า เป็นไม้ เป็นกิ่งไม้ เป็นใบไม้ ที่คนเขาขนไปทิ้ง หรือ เผาเสีย หรือทำตามปัจจัย  พวกเธอรู้สึกอย่างนี้บ้างหรือไม่ว่า คนเขาขนเราไป หรือเผาเรา หรือทำแก่เราตามปัจจัยของเขา ?
“ไม่รู้สึกอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า !”.

เพราะเหตุไรเล่า ?
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เพราะเหตุว่า ความรู้สึกว่าตัวตน (อตฺตา) ของตน (อตฺตนิยา) ของข้าพระองค์ไม่มีในสิ่งเหล่านั้น พระเจ้าข้า !”.

ภิกษุทั้งหลาย ! ฉันใดก็ฉันนั้น :
จักษุ...โสตะ...ฆานะ...ชิวหา...กายะ...มโน ไม่ใช่ของเธอเธอจงละมันเสีย สิ่งเหล่านั้น อันเธอละเสียแล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์และความสุขแก่เธอ แล.

หน้า 56

21
อาการเกิดดับแห่งเวทนา

ภิกษุทั้งหลาย ! เวทนา ๓ อย่างเหล่านี้ เกิดมาจากผัสสะ มีผัสสะเป็นมูลมีผัสสะเป็นเหตุ มีผัสสะเป็นปัจจัย.

๓ อย่างเหล่าไหนเล่า ? ๓ อย่างคือ :-
สุขเวทนา, ทุกขเวทนา  อทุกขมสุขเวทนา.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะ อาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา สุขเวทนาย่อมเกิดขึ้น เพราะ ความดับแห่งผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา นั้น สุขเวทนา อันเกิดขึ้นเป็นเพราะอาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นย่อมดับไป ย่อมระงับไป.

(ในกรณีแห่ง ทุกขเวทนา และ อทุกขมสุขเวทนา ก็ได้ ตรัสไว้ด้วยถ้อยคำมีนัยยะอย่างเดียวกัน).

ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือน เมื่อไม้สีไฟสองอันสีกัน ก็เกิดความร้อนและเกิดไฟ, เมื่อไม้สีไฟสองอันแยกกัน ความร้อนก็ดับไปสงบไป.

ภิกษุทั้งหลาย ! ฉันใดก็ฉันนั้น :
เวทนาทั้งสามนี้ ซึ่งเกิดจากผัสสะมีผัสสะเป็นมูล มีผัสสะเป็นเหตุ มีผัสสะเป็นปัจจัยอาศัยผัสสะแล้วย่อมเกิดขึ้น ย่อมดับไปเพราะผัสสะดับ ดังนี้แล.

หน้า 58

๒๒
ลักษณะหนทางแห่งความหมดจด

ทางมีองค์แปดเป็นทางอันประเสริฐกว่าทางทั้งหลาย. บทแห่งอริยสัจสี่ ประเสริฐกว่าบททั้งหลาย.

วิราคธรรม ประเสริฐกว่าธรรมทั้งหลาย. ผู้มีพุทธจักษุ ประเสริฐกว่าสัตว์สองเท้าทั้งหลาย. นี่แหละ ทางเพื่อความหมดจดแห่งทัสสนะ ทางอื่นมิได้มี.

เธอทั้งหลาย จงเดินตามทางนั้น อันเป็นที่หลงแห่งมาร เธอทั้งหลาย เดินตามทางนั้นแล้ว จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ทางเราบอกแล้วแก่เธอทั้งหลาย เพื่อการรู้จักการถอนซึ่งลูกศร ความเพียรเป็นกิจ อันเธอทั้งหลายพึงกระทำ ตถาคตทั้งหลายเป็นเพียงผู้บอกผู้มุ่งปฏิบัติแล้ว ย่อมพ้นจากเครื่องผูกแห่งมาร.

เมื่อใด บุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า“สังขารทั้งหลายทั้งปวง ไม่เที่ยง” เมื่อนั้น เขาย่อมเบื่อหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ นั่นแหละ เป็นทางแห่งความหมดจด.

เมื่อใด บุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า“สังขารทั้งหลายทั้งปวง เป็นทุกข์” เมื่อนั้น เขาย่อมเบื่อหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ นั่นแหละ เป็นทางแห่งความหมดจด.

เมื่อใด บุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า“ธรรมทั้งหลายทั้งปวง เป็นอนัตตา” เมื่อนั้น เขาย่อมเบื่อหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์  นั่นแหละ เป็นทางแห่งความหมดจด.

หน้า 60

๒๓
ขยายความแห่งอริยมรรคมีองค์แปด

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็อริยสัจคือหนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์นั้น เป็นอย่างไรเล่า ? คือหนทางอันประกอบด้วยองค์แปด อันประเสริฐนี้เอง องค์แปดคือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบการงานชอบ อาชีวะชอบ ความเพียรชอบ ความระลึกชอบความตั้งใจมั่นชอบ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ความเห็นชอบ เป็นอย่างไร ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ความรู้ใน ทุกข์  ความรู้ใน เหตุให้เกิดทุกข์ ความรู้ใน ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์  ความรู้ในหนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ อันใด นี้เราเรียกว่า สัมมาทิฏฐิ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ความดำริชอบ เป็นอย่างไร ?
ภิกษุทั้งหลาย ! การละทิ้งความคิดในทางกามการละทิ้งความคิดใน ทางพยาบาท การละทิ้งความคิดในทางเบียดเบียน นี้เราเรียกว่า สัมมาสังกัปปะ.

ภิกษุทั้งหลาย ! วาจาชอบ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! การเว้นจาก การพูดเท็จ  การเว้นจาก การพูดยุให้แตกกัน  การเว้นจาก การพูดหยาบ การเว้นจาก การพูดเพ้อเจ้อ  นี้เราเรียกว่า สัมมาวาจา.

ภิกษุทั้งหลาย ! การงานชอบ เป็นอย่างไร ?
ภิกษุทั้งหลาย ! การเว้นจากการฆ่าสัตว์  การเว้นจาก การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้  การเว้นจาก การประพฤติผิดในกามทั้งหลาย  นี้เราเรียกว่า
สัมมากัมมันตะ.

ภิกษุทั้งหลาย ! อาชีวะชอบ เป็นอย่างไร ?
ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกในศาสนานี้ ละมิจฉาชีพเสีย สำเร็จความเป็นอยู่ด้วยสัมมาชีพ นี้เราเรียกว่า สัมมาอาชีวะ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ความเพียรชอบ เป็นอย่างไร ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียรย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อความไม่บังเกิดขึ้นแห่งอกุศลธรรมทั้งหลายอันลามก ที่ยังไม่ได้บังเกิดย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียรย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อการละเสียซึ่งอกุศลธรรมทั้งหลายอันเป็นบาป ที่บังเกิดขึ้นแล้ว ย่อมปลูกความพอใจย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิตย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อการบังเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย ที่ยังไม่ได้บังเกิด  ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายามย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้เพื่อความยั่งยืน ความไม่เลอะเลือน ความงอกงามยิ่งขึ้นความไพบูลย์ ความเจริญ ความเต็มรอบแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย ที่บังเกิดขึ้นแล้ว นี้เราเรียกว่า สัมมาวายามะ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ความระลึกชอบ เป็นอย่างไร ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในศาสนานี้ เป็นผู้มีปกติพิจารณา เห็นกายในกาย อยู่  มีความเพียรเครื่องเผาบาปมีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้  เป็นผู้มีปกติพิจารณา เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย อยู่  มีความเพียรเครื่องเผาบาป มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้ เป็นผู้มีปกติพิจารณา เห็นจิต ในจิตอยู่ มีความเพียรเครื่องเผาบาป มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสตินำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้  เป็นผู้มีปกติพิจารณา เห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย อยู่  มีความเพียรเครื่องเผาบาป มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้  นี้เราเรียกว่าสัมมาสติ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ความตั้งใจมั่นชอบ เป็นอย่างไร ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในศาสนานี้ เพราะสงัดจากกามทั้งหลาย เพราะสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายย่อมเข้าถึง ฌานที่หนึ่ง อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่  เพราะวิตกวิจารรำงับลง  เธอเข้าถึงฌานที่สอง อันเป็นครื่องผ่องใส แห่งใจในภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิแล้วแลอยู่  เพราะปีติจางหายไป เธอเป็นผู้เพ่งเฉยอยู่ได้ มีสติ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม และได้เสวยสุขด้วยนามกาย  ย่อมเข้าถึง ฌานที่สาม อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย กล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า “เป็นผู้เฉยอยู่ได้ มีสติ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม” แล้วแลอยู่.เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ และเพราะความดับหายแห่งโสมนัส และโทมนัสในกาลก่อน  เธอย่อมเข้าถึง ฌานที่สี่อันไม่ทุกข์และไม่สุข มีแต่สติอันบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขาแล้วแลอยู่ นี้เราเรียกว่า สัมมาสมาธิ.

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เราเรียกว่า อริยสัจคือหนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.

หน้า 65

๒๔
สมาธิทุกขั้นตอนใช้เป็นบาทฐานในการเข้าวิมุตติได้ทั้งหมด

ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าวความสิ้นอาสวะ
เพราะอาศัยปฐมฌานบ้าง
เพราะอาศัยทุติยฌานบ้าง
เพราะอาศัยตติยฌานบ้าง
เพราะอาศัยจตุตถฌานบ้าง
เพราะอาศัยอากาสานัญจายตนะบ้าง
เพราะอาศัยวิญญาณัญจาตยนะบ้าง
เพราะอาศัยอากิญจัญญายตนะบ้าง
เพราะอาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนะบ้าง
เพราะอาศัยสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง.

ภิกษุทั้งหลาย ! คำ􀄁ที่เรากล่าวแล้วว่า “ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าวความสิ้นอาสวะ เพราะอาศัยปฐมฌานบ้าง” ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้ ภิกษุสงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรม เข้าถึงปฐมฌาน อันมีวิตกวิจารมีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่. ในปฐมฌานนั้นมีธรรมคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ  เธอนั้นตามเห็นซึ่งธรรมเหล่านั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยงโดยความเป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร เป็นความยากลำบาก เป็นอาพาธ เป็นดังผู้อื่น เป็นของแตกสลาย เป็นของว่าง เป็นของไม่ใช่ตน.  

เธอดำรงจิตด้วยธรรมเหล่านั้น แล้วจึงน้อมจิตไปสู่อมตธาตุด้วยการกำหนดว่า “นั่นสงบระงับ นั่นประณีต  นั่นคือธรรมชาติ เป็นที่สงบระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวงเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความจางคลาย เป็นความดับเป็นนิพพาน” ดังนี้.

เธอดำรงอยู่ในวิปัสสนาญาณ มีปฐมฌานเป็นบาทนั้น ย่อมถึง ความสิ้นไปแห่งอาสวะ ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ ก็เป็น โอปปาติกะ อนาคามีผู้ปรินิพพานในภพนั้น มีการไม่เวียนกลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์มีในเบื้องต่ำ ห้าประการ และเพราะอำนาจแห่ง ธัมมราคะ ธัมมนันทิ นั้นๆ นั่นเอง.

ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนนายขมังธนูหรือลูกมือของเขา ประกอบการฝึกอยู่กะรูปหุ่นคนที่ทำด้วยหญ้าบ้าง กะรูปหุ่นดินบ้าง  สมัยต่อมา เขาก็เป็นนายขมังธนูผู้ยิงไกล ยิงเร็ว ทำลายหมู่พลอันใหญ่ได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ฉันใดก็ฉันนั้น ที่ภิกษุสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าถึงปฐมฌาน อันมีวิตกวิจารมีปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่ ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อที่เรากล่าวแล้วว่า “ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าวความสิ้นอาสวะเพราะอาศัยปฐมฌานบ้าง” ดังนี้นั้น เราอาศัยความข้อนี้กล่าวแล้ว.

(ในกรณีแห่งการสิ้นอาสวะ เพราะอาศัยทุติยฌาน บ้างเพราะอาศัย ตติยฌาน บ้าง เพราะอาศัย จตุตถฌาน บ้างก็มีคำอธิบายที่ตรัสไว้โดยทำนองเดียวกันกับ ในกรณีแห่งปฐมฌานข้างบนนี้ทุกตัวอักษร ทั้งในส่วนอุปไมยและส่วนอุปมา ผิดกันแต่ชื่อแห่งฌานเท่านั้น).

ภิกษุทั้งหลาย ! คำที่เรากล่าวแล้วว่า“ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าวความสิ้นอาสวะ เพราะอาศัย อากาสานัญจายตนะ บ้าง” ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้ ภิกษุเพราะก้าวล่วงรูปสัญญาเสียได้ โดยประการทั้งปวง เพราะความดับไปแห่ง ปฏิฆสัญญา เพราะการไม่ทำไว้ในใจซึ่ง นานัตตสัญญา จึงเข้าถึง อากาสานัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า “อากาศไม่มีที่สุด” ดังนี้ แล้วแลอยู่.

ใน อากาสานัญจายตนะ นั้น มีธรรมคือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ (ที่กำลังทำหน้าที่อยู่) 1 เธอนั้นตามเห็นซึ่งธรรมเหล่านั้นโดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นหัวฝีเป็นลูกศร เป็นความยากลำบาก เป็นอาพาธ เป็นดังผู้อื่นเป็นของแตกสลาย เป็นของว่าง เป็นของไม่ใช่ตน.

เธอดำรงจิตด้วยธรรม (คือขันธ์เพียงสี่) เหล่านั้น แล้วจึงน้อมจิตไปสู่อมตะธาตุด้วยการกำหนดว่า “

นั่นสงบระงับ1. ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า ตั้งแต่ ฌาณ ๑-๔ มีขันธ์ครบห้าส่วนใน อากาสานัญจายตนะ ถึง อากิญจัญญายตนะ นั้น มีขันธ์เพียงสี่ คือขาดรูปขันธ์ไป.

นั่นประณีต  นั่นคือธรรมชาติ เป็นที่สงบระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความจางคลาย เป็นความดับ เป็นนิพพาน” ดังนี้.

เธอดำรงอยู่ในวิปัสสนาญาณ มี อากาสานัญจายตะ เป็นบาทนั้น ย่อมถึง ความสิ้นไปแห่งอาสวะ; ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ ก็เป็น โอปปาติกะ อนาคามีผู้ปรินิพพานในภพนั้น มีการไม่เวียนกลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ มีในเบื้องต่ำห้าประการ และเพราะอำนาจแห่ง ธัมมราคะ ธัมมนันทินั้นๆ นั่นเอง.

ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนนายขมังธนูหรือลูกมือของเขา ประกอบการฝึกอยู่กะรูปหุ่นคนที่ทำด้วยหญ้าบ้าง กะรูปหุ่นดินบ้าง  สมัยต่อมา เขาก็เป็นนายขมังธนูผู้ยิงไกล ยิงเร็ว ทำลายหมู่พลอันใหญ่ได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ฉันใดก็ฉันนั้น ที่ภิกษุเพราะก้าวล่วงซึ่งรูปสัญญาเสียได้ โดยประการทั้งปวง เพราะความดับไปแห่ง ปฏิฆสัญญา เพราะการไม่ทำไว้ในใจซึ่งนานัตตสัญญา จึงเข้าถึ งอากาสานัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า “อากาศไม่มีที่สุด” ดังนี้ แล้วแลอยู่.

ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อที่เรากล่าวแล้วว่า “ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าวความสิ้นอาสวะ เพราะอาศัย อากาสานัญจายตนะ บ้าง” ดังนี้นั้นเราอาศัยความข้อนี้กล่าวแล้ว.

(ในกรณีแห่งการสิ้นอาสวะ เพราะอาศัย วิญญาณัญจายตนะ บ้าง เพราะอาศัย อากิญจัญญายตนะบ้าง ก็มีคำอธิบายที่ตรัสไว้ โดยทำนองเดียวกันกับในกรณีแห่งอากาสานัญจายตนะข้างบนนี้ ทุกตัวอักษรทั้งในส่วนอุปไมยและส่วนอุปมา ผิดกันแต่ชื่อแห่งสมาบัติเท่านั้น).

ภิกษุทั้งหลาย ! ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้แล เป็นอันกล่าวได้ว่าสัญญาสมาบัติมีประมาณเท่าใด อัญญาปฏิเวธ (การแทงตลอด อรหัตตผล) ก็มีประมาณเท่านั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วนว่า อายตนะอีก ๒ ประการกล่าวคือ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ และ สัญญา-เวทยิตนิโรธ ซึ่งอาศัยสัญญาสมาบัติ เหล่านั้น นั้นเรากล่าวว่า เป็นสิ่งที่ฌายีภิกษุผู้ฉลาด ในการเข้าสมาบัติ ฉลาดในการออกจากสมาบัติ จะพึงเข้าสมาบัติ ออกจากสมาบัติ แล้วกล่าวว่าเป็นอะไรได้เองโดยชอบ ดังนี้.