เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ          

  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์    
ดาวน์โหลด หนังสือพุทธประวัติจากพระโอษฐ์ : ที่มา เว็บไซต์ พุทธทาสศึกษา : http://www.buddhadasa.org
  
  4 of 11  
  สารบาญ ภาค 3    

  สารบาญ ภาค 3

 
อ้างอิงเลขหน้าตามหนังสือ หน้า   อ้างอิงเลขหน้าตามหนังสือ หน้า
  ทรงทราบ ทรงเปิดเผย แต่ไม่ทรงติด ซึ่งโลกธรรม 174-175     ไม่ทรงเป็นสัพพัญญูทุกอิริยาบถ 211-212
  ทรงทราบทิฎฐิวัตถุที่ลึกซึ้ง (ทิฎฐิ ๖๒) 175-179     ทรงยืนยันความเป็นมหาบุรุษ 212-214
  ทรงทราบส่วนสุดและมัชฌิมา 180-181     ทรงอยู่ในฐานะที่ใครๆ ยอมรับว่าเลิศกว่าสรรพสัตว์ 214
  ทรงรับรองสุขัลลิกา-พื่อนิพพานของสมณศากย- 182     ไม่มีใครเปรียบเสมอ 215
  ทรงทราบพราหมณสัจจ์ 183-185     ไม่ทรงอภิวาทผู้ใด 215
  ทรงเห็นนรกและสวรรค์ ที่ผัสสายตนะหก 185-186     ทรงเป็นธรรมราชา 216
  ทรงทราบพรหมโลก 186-188     ทรงเป็นธรรมราชาที่เคารพธรรม 216-217
  ทรงทราบคติห้า และนิพพาน 188-189     ทรงคิดหาที่พึ่งส าหรับพระองค์เอง 217-218
  ทรงแสดงฤทธิ์ได้ เพราะอิทธิบาทสี่ 189-191     ทรงถูกพวกพราหมณ์ตัดพ้อ 219-220
  ทรงมีญาณในอิทธิบาทสี่ โดยปริวัฏฏ์ ๓ อาการสิบสอง 191-192     มารทูลให้นิพพาน 220-221
  ทรงมีอิทธิบาทเพื่ออยู่ได้ถึงกัปป์ 193     ทรงท้อพระทัยในการแสดงธรรม 221
  ทรงเปล่งเสียงคราวเดียว ได้ยินตลอด ทุกโลกธาต 193-1     พรหมอาราธนา 222
         
  ทรงมีปาฏิหาริย์ที่คนเขลามองไม่เห็นว่าเป็นปาฏิหาริย 194-196     ทรงเห็นสัตว์ดุจดอกบัว ๓ เหล่า 223
  ทรงมีปาฏิหาริย์สามอย่าง 197     แสดงธรรมเพราะเห็นความจำเป็นของสัตว์บางพวก 224-225
  เหตุที่ทำให้ได้ทรงพระนามว่า "ตถาคต" สี่ 198     ทรงเห็นลู่ทางที่จะช่วยเหลือปวงสัตว 225
  เหตุที่ทำให้ทรงพระนามว่า"ตถาคต"เพราะทรงเป็นกาล 200-201     ทรงระลึกหาผู้รับปฐมเทศนา 226
  ไวพจน์แห่งค าว่า "ตถาคต" 201     เสด็จพาราณสี - พบอุปกาชีวก 227-228
  ทรงปฏิญญาเป็นอภิสัมพุทธะเมื่อทรงคล่องแคล่วใน - 202-203     การโปรดป๎ญจวัคคีย์หรือ การแสดงปฐมเทศนา 229-233
  ทรงปฏิญญาเป็นอภิสัมพุทธะเมื่อทรงทราบป๎ญจุปาทาน 203     ทรงประกาศธรรมจักรที่อิสิปตนมฤคทายวัน 233
  ทรงปฏิญญาเป็นอภิสัมพุทธะ เมื่อทรงทราบอริยสัจจ์ 204-205     แผ่นดินไหวเนื่องด้วยการแสดงธรรมจักร 234
  เหตุที่ทำให้ได้พระนามว่า"อรหันตสัมมาสัมพุทธะ 205-206     เกิดแสงสว่างเนื่องด้วยการแสดงธรรมจักร 234
  เหตุที่ทำให้ได้พระนามว่า"อรหันตสัมมา-"(อีกนัยหนึ่ง) 206-207     จักรของพระองค์ไม่มีใครต้านทานได้ 235
        ทรงหมุนแต่จักรที่มีธรรมราชา(เป็นเจ้าของ) 236-237
        การปรากฏแห่งดวงตาอันใหญ่หลวงของโลก 237-238
        โลกยังไม่มีแสงสว่าง จนกว่าพระองคจ์ะเกิดขึ้น 238
      จบภาค3  
         
 
 





ภาค3(ต่อ)



หน้า 174-175 อ้างอิงเลขหน้าตามหนังสือ
ทรงทราบ ทรงเปิดเผย แต่ไม่ทรงติด ซึ่งโลกธรรม

          ภิกษุ ท.! โลกธรรม มีอยู่ในโลก.
           ตถาคต ย่อมตรัสรู้ ย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งโลกธรรมนั้น ครั้นตรัสรู้แล้ว รู้พร้อมเฉพาะแล้ว ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้ ย่อมเปิดเผย ย่อมจําแนกแจกแจง ย่อมทําให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ํา. 
           ภิกษุ ท.! ก็อะไรเล่า เป็นโลกธรรมในโลก? 
           ภิกษุ ท.! รูป เป็นโลกธรรมในโลก. ตถาคต ย่อมตรัสรู้ ย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งรูปอันเป็นโลกธรรมนั้น ครั้นตรัสรู้แล้ว รู้พร้อมเฉพาะแล้วย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้ ย่อมเปิดเผย ย่อมจําแนกแจกแจงย่อมทําให้เป็นเหมือน การหงายของที่คว่ํา. 
           ภิกษุ ท.! บุคคลบางคน แม้เราตถาคตบอกแสดง บัญญัติ ตั้งขึ้นไว้ เปิดเผย จําแนกแจกแจงทําให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ํา อยู่อย่างนี้ เขาก็ยัง ไม่รู้ไม่เห็น.
           ภิกษุ ท.! กะบุคคลที่เป็นพาล เป็นปุถุชน คนมืด คนไม่มีจักษุคนไม่รู้   ไม่เห็น เช่นนี้ เราจะกระทําอะไรกะเขาได้. 
          (ในกรณีแห่ง เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณ ก็ได้ตรัสไว้ด้วยถ้อยคํา ที่มีหลักเกณฑ์ในการตรัส อย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งรูปที่กล่าวแล้วนั้นทุกประการ) 
           ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือน ดอกอุบล หรือดอกปทุม หรือดอกบัวบุณฑริกก็ดี เกิดแล้วเจริญแล้วในน้ํา พ้นจากน้ําแล้วดํารงอยู่ได้โดยไม่เปื้อนน้ำ ฉันใด
           ภิกษุ ท.! ตถาคตก็ฉันนั้นเหมือนกันเกิดแล้วเจริญแล้ว ในโลกครอบงําโลก แล้วอยู่ อย่างไม่แปดเปื้อนด้วยโลก.


หน้า 175-179
ทรงทราบทิฎฐิวัตถุที่ลึกซึ้ง (ทิฎฐิ ๖๒)

          ภิกษุ ท.! มีธรรมที่ลึก ที่สัตว์อื่นเห็นได้ยาก ยากที่สัตว์อื่นจะรู้ตามเป็นธรรม เงียบสงบประณีต ไม่เป็นวิสัยที่จะหยั่งลงง่ายแห่งความตรึก เป็น  ของละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิตวิสัย ซึ่งเราตถาคตได้ทํา ให้แจ้งด้วยป๎ญญาอันยิ่ง เองแล้ว สอบผู้อื่นให้รู้แจ้ง เป็นคุณวุฒิเครื่องนําไปสรรเสริญ ของผู้ที่เมื่อจะพูด สรรเสริญ เราตถาคตให้ถูกต้องตรงตามที่เป็นจริง.

           ภิกษุ ท.! ธรรมเหล่านั้นเป็น อย่างไรเล่า?
ภิกษุ ท. ! ฯลฯ สมณะหรือพราหมณ์บางพวกในโลกนี้ ฯลฯ (ต่างก็บัญญัติ)
๑.  เพราะระลึกชาติของตนเองได้หลายแสนชาติ จึงบัญญัติตนและโลกว่า เที่ยงทุกอย่าง.
๒.  เพราะ " " ๑๐ สังวัฎฎกัปป์-วิวัฎฎกัปป์(เป็นอย่างสูง) " " เที่ยงทุกอย่าง.
๓.  เพราะ " " ๔๐ " " ( " ) " " เที่ยงทุกอย่าง.
๔.  เพราะอาศัยความตริตรึกเสมอ แล้วคะเนเอา
(๔ อย่างข้างบนนี้ เป็น พวกสัสสตวาท - เที่ยงทุกอย่าง)

๕.  เพราะระลึกได้เพียงชาติที่ตนเคยจุติไปจากหัวหน้า จึงบัญญัติตนและโลกว่า เที่ยงแต่บางอย่าง.
๖.  เพราะ " " เคยเป็นเทพพวกขิฑฑาปโทสิกา " " เที่ยงแต่บางอย่าง.
๗.  เพราะ " " มโนปโทสิกา " " เที่ยงแต่บางอย่าง.
๘.  เพราะอาศัยความตริตรึกอยู่เสมอ แล้วคะเนเอา " " เที่ยงแต่บางอย่าง.
(๔ อย่างข้างบนนี้ เป็น พวกเอกัจจสัสสตวาท - เที่ยงบางอย่าง)

๙.  เพราะอาศัยความเพียรบางอย่างบรรลุเจโตสมาธิ ทําความมั่นใจแล้วบัญญัติตน และโลกว่ามีที่สุด.
๑๐. เพราะ " " " ไม่มีที่สุด.
๑๑. เพราะ " " " มีที่สุดบางด้าน ไม่มีบางด้าน.
๑๒. เพราะอาศัยความหลงใหลของตนเองแล้วบัญญัติส่ายวาจาว่าโลกมีที่สุดก็ไม่ใช่ ไม่มีก็ไม่เชิง.  (๔ อย่างข้างบนนี้ เป็น พวกอันตานันติกวาท - เกี่ยวด้วยมีที่สุดและ ไม่มีที่สุด)

๑๓. เพราะกลัวมุสาวาท จึงส่ายวาจาพูดคําที่ไม่ตายตัวแล้ว บัญญัติว่าข้าพเจ้าเห็น อย่างนั้นก็ไม่ใช่--อย่างนี้ก็ไม่ใช่ ฯลฯ (เกี่ยวด้วยกุศล อกุศล).
๑๔. เพราะกลัวอุปาทาน " " ฯลฯ " " " .
๑๕. เพราะกลัวการถูกซักไซ้ " " ฯลฯ " " " .
๑๖. เพราะหลงใหลฟ๎่นเฟือนในใจเอง จึงส่ายวาจาไม่ให้ตายตัว
(เกี่ยวกับโลกิยทิฎฐิ เช่น  --โลกหน้ามี ฯลฯ ผลกรรมมี เป็นต้น).
(๔ อย่างข้างบนนี้ เป็น พวกอมราวิกเขปิกวาท - พูดไม่ให้ตายตัว)

๑๗. เพราะระลึกได้เพียงชาติที่ตนเคยเป็นอสัญญีสัตว์ แล้วต้องจุติเพราะสัญญา เกิดขึ้น-- จึงบัญญัติตนและโลกว่า เกิดเองลอย ๆ.
๑๘. เพราะอาศัยการตริตรึกอยู่เสมอ แล้วคะเนเอา " " เกิดเองลอย ๆ.
(๒ อย่างข้างบนนี้ เป็น พวกอธิจจสมุปป๎นนิกวาท - เกิดเองลอย ๆ )

(ทั้ง ๕ หมวด มีรวมทั้งหมด ๑๘ ทิฎฐิ ข้างบนนี้ จัดเป็นพวกปรารภขันธ์ในอดีตกาล) 

๑๙. บัญญัติอัตตาว่า   อัตตาที่มีรูป เป็นอัตตาที่ไม่มีโรคหลังจากตายแล้ว เป็นสัตวะ มีสัญญา.
๒๐. " "  ที่ไม่มีรูป " " " " มีสัญญา.
๒๑. " "  ที่มีรูปและไม่มีรูป " " " มีสัญญา.
๒๒. " "  ที่มีรูปก็มิใช่ ไม่มีก็ไม่ใช่ " " " มีสัญญา.
๒๓. " "  ที่มีที่สุด " " " " มีสัญญา.
๒๔. " "  ที่ไม่มีที่สุด " " " " มีสัญญา.
๒๕. " "  ที่มีที่สุดและที่ไม่มีที่สุด " " " มีสัญญา.
๒๖. " "  ที่มีที่สุดก็มิใช่ไม่มีก็มิใช่ " " " มีสัญญา.
๒๗. บัญญัติอัตตาว่า อัตตามีสัญญาเดียวกัน เป็นอัตตาไม่มีโรคหลังจากตายแล้ว เป็นสัตวะมี สัญญา.
๒๘. " "  ที่มีสัญญาต่างกัน " " " มีสัญญา.
๒๙. " "  ที่มีสัญญาน้อย " " " มีสัญญา.
๓๐. " "  ที่มีสัญญามากไม่มีประมาณ " " มีสัญญา.
๓๑. " "  ที่มีสุขอย่างเดียว " " " มีสัญญา.
๓๒ " "  ที่มีทุกข์อย่างเดียว " " มีสัญญา.
๓๓. บัญญัติอัตตาว่า อัตตาที่มีทั้งสุขและทุกข์ เป็นอัตตาไม่มีโรคหลังจากตายแล้ว เป็นสัตวะมีสัญญา.
๓๔. " "  ที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข " " " มีสัญญา.
(๑๖ อย่างข้างบนนี้ เป็นพวกสัญญีวาท - มีสัญญา)

๓๕. บัญญัติอัตตาว่า  อัตตาที่   มีรูป เป็นอัตตาไม่มีโรคหลังจากตายแล้ว เป็นสัตวะไม่มีสัญญา.
๓๖. " " ไม่มีรูป " " " " ไม่มีสัญญา.
๓๗. " " มีรูปและไม่มีรูป " " " ไม่มีสัญญา.
๓๘. " " มีรูปก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่ " " " ไม่มีสัญญา.
๓๙. " " มีที่สุด " " " " ไม่มีสัญญา.
๔๐. " " ไม่มีที่สุด. " " " " ไม่มีสัญญา.
๔๑. " " มีที่สุดและไม่มีที่สุด " " " ไม่มีสัญญา.
๔๒. " " มีที่สุดก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่ " " ไม่มีสัญญา.
(๘ อย่างข้างบนนี้ เป็น พวกอสัญญีวาท - ไม่มีสัญญา)

๔๓. ฯลฯ อัตตาที่มีรูป เป็นอัตตาไม่มีโรคหลังจากตายแล้ว เป็นสัตวะมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่.
๔๔. " ไม่มีรูป " " มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่.
๔๕ " มีรูปและไม่มีรูป " " มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่.
๔๖. " มีรูปก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่ " " มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่.
๔๗. " มีที่สุด " " มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่.
๔๘. " ไม่มีที่สุด " " มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่.
๔๙. " มีที่สุดและไม่มีที่สุด " " มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่.
๕๐. " มีที่สุดก็มิใช่ไม่มีก็มิใช " " มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่.
(๘ อย่างข้างบนนี้ เป็น พวกเนวสัญญีนาสัญญีวาท - มีสัญญาก็ไม่เชิง)

๕๑. บัญญัติว่า อัตตาแห่งกายที่เกิดด้วยมหาภูตรูป ตายแล้วขาดสูญ.
๕๒. " "  กายทิพย์ พวกกามาวจร ตายแล้วขาดสูญ.
๕๓. " " " พวกสําเร็จด้วยใจคิด ตายแล้วขาดสูญ.
๕๔. " "  สัตว์พวก อากาสานัญจายตนะ ตายแล้วขาดสูญ.
๕๕. " " " วิญญาณัญจายตนะ ตายแล้วขาดสูญ
๕๖. บัญญัติว่า อัตตาแห่งสัตว์พวก อากิญจัญญายตนะ  ตายแล้วขาดสูญ.
๕๗. " " " เนวสัญญานาสัญญายตนะ ตายแล้วขาดสูญ.
(๗ อย่างข้างบนนี้ เป็น พวกอุจเฉทวาท - ตายแล้วสูญ)

๕๘. บัญญัติว่า อัตตาที่อิ่มเอิบด้วย กามคุณห้า เป็นอัตตาที่ถึงปรมนิพพานในป๎จจุบัน.
๕๙. " อัตตาที่เข้าถึง ปฐมฌาน เป็นอัตตาที่ถึงปรมนิพพานในป๎จจุบัน.
๖๐. " " " ทุติยฌาน เป็นอัตตาที่ถึงปรมนิพพานในป๎จจุบัน.
๖๑. " " " ตติยฌาน เป็นอัตตาที่ถึงปรมนิพพานในป๎จจุบัน.
๖๒. " " " จตุตถฌาน เป็นอัตตามี่ถึงปรมนิพพานในป๎จจุบัน.
(๕ อย่างข้างบนนี้ เป็น พวกทิฎฐธัมมนิพพานวาท - นิพพานในป๎จจุบัน)

(ทั้ง ๕ หมวดมีรวมทั้งหมดอีก ๔๔ ทิฎฐิข้างบนนี้ เป็นพวกปรารถขันธ์ในอนาคตกาล)

          ภิกษุ ท.! สมณะหรือพราหมณ์ก็ดี เหล่าใด กําหนดขันธ์ส่วนอดีตก็ดีส่วน อนาคตก็ดี หรือ ทั้งอดีต อนาคตก็ดี มีความเห็นดิ่งเป็นส่วนหนึ่งแล้ว กล่าวคําแสดง ทิฎฐิต่าง ๆ ประการ ทั้งหมดทุกเหล่า ย่อมกล่าวเพราะอาศัยวัตถุใดวัตถุหนึ่งในวัตถุ ๖๒ อย่างนี้ ไม่นอกจากนี้ไปได้เลย- เขาเหล่านั้น ถูกวัตถุ ๖๒ อย่างนี้  ครอบทับ ทําให้เป็นเหมือนปลาติดอยู่ในอวน ถูกแวดล้อมให้อยู่ได้เฉพาะ ภายในวงนี้ เมื่อผุด ก็ผุดได้ในวงนี้ เช่นเดียวกับนายประมง หรือลูกมือนายประมงผู้ฉลาด ทอดครอบ ห้วงน้ำน้อย ทั้งหมดด้วยอวนโดยตั้งใจว่า สัตว์ตัวใหญ่ทุก ๆ ตัวในห้วงน้ํา นี้ เราจัก ทําให้อยู่ภายในอวนทุกตัว ฯลฯ ฉะนั้น. 

           ภิกษุ ท.! เราตถาคตรู้ชัดวัตถุ ๖๒ อย่างนี้ชัดเจนว่า มันเป็นฐานที่ตั้ง ของทิฎฐิ ซึ่งเมื่อใคร จับไว้ ถือไว้อย่างนั้น ๆ แล้ว ย่อมมีคติ มีภพเบื้องหน้าเป็น อย่างนั้น ๆ ตถาคตรู้เห็นเหตุนั้น ชัดเจน ยิ่งกว่าชัด เพราะรู้ชัดจึงไม่ยึดมั่น เพราะ ไม่ยึดมั่นย่อมสงบเยือกเย็นใน ภายในเฉพาะตน เพราะเป็นผู้รู้ แจ้งความเกิด ความตั้งอยู่ไม่ได้ ความเป็นสิ่งยั่วใจ ความต่ําทราม และอุบายเครื่องหลุดพ้นไปได้ แห่งเวทนาทั้งหลาย ตถาคตจึงเป็นผู้หลุดพ้น ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน. 



หน้า 180-181
ทรงทราบส่วนสุดและมัชฌิมา

          ---บุคคล ไม่พึงประกอบตนด้วยความมัวเมาในกามสุข อันเป็นสุขที่ต่ํา ทราม เป็นของชาวบ้าน บุถุชน มิใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และ บุคคล ไม่พึงประกอบตนในความเพียร เครื่อง ยังตน ให้ลําบากอันเป็นไปเพื่อทุกข์ มิใช่ของ พระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ข้อปฎิบัติที่เป็น มัชฌิมา ปฎิปทาไม่เอียงไปหา ส่วนสุดทั้งสอง (ดั่งกล่าวมาแล้ว) นี้ เป็นสิ่งที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว  ได้เห็นแจ้ง กระทำให้เป็นจักษุแล้ว ได้รู้แจ้งกระทำให้เป็นญาณแล้ว เป็นไปพร้อม เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่งเพื่อความรู้พร้อม เพื่อนิพพาน. 

           ภิกษุ ท. ! ธรรมใดไม่เป็นเครื่องประกอบตามซึ่งความโสมนัส ของผู้มีสุข แนบเนื่องอยู่ในกาม อันเป็นสุขต่ําทราม เป็นของชาวบ้าน บุถุชน ไม่ใช่ของพระ อริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ธรรมนั้น ไม่เป็นทุกข์ ไม่ทําความคับแค้น ไม่ทําความแห้ง ผากในใจ ไม่เผาลน แต่เป็นสัมมาปฎิปทา เพราะเหตุนั้น ธรรมนั้นชื่อว่า ไม่เป็นข้าศึก. 

           ภิกษุ ท.! ธรรมใดไม่เป็นเครื่องประกอบตามซึ่งความประกอบที่ยังตนให้ ลําบาก อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ธรรมนั้นไม่เป็น ทุกข์ ไม่ทําความคับแค้น ไม่ทําความแห้ง ผากในใจ ไม่เผาลนแต่เป็นสัมมาปฏิปทา เพราะเหตุนั้น ธรรมนั้น ชื่อว่า ไม่เป็นข้าศึก.

           ภิกษุ ท.! ในบรรดาธรรมเหล่านั้น ธรรมใดเป็นมัชฌิมาปฎิปทา ที่ตถาคตได้ ตรัสรู้แล้ว ได้เห็น แจ้งกระทําให้เป็นจักษุแล้ว ได้รู้แจ้งกระทําให้เป็น ญาณแล้ว ย่อม เป็นไปพร้อมเพื่อความสงบ ความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม และเพื่อนิพพาน ธรรมนั้นไม่เป็น ทุกข์ ไม่ทําความคับแค้น ไม่ทําความแห้งผากในใจ ไม่เผาลน แต่เป็นสัมมาปฎิปทา เพราะเหตุนั้น ธรรมนั้น ชื่อว่า ไม่เป็นข้าศึก. ก็คําที่ตถาคตกล่าวแล้วว่า มิชฌิมา ปฎิปทา ไม่เอียงไปหาส่วนสุดทั้งสอง ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วฯลฯ นั้น หมายเอาอะไร เล่า? นี้หมายเอาอริยมรรค ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ คือ สัมมาทิฎฐิสัมมา สังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมา กัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ. 

           ภิกษุ ท.! จักขุ ญาณ ป๎ญญา วิชชา แสงสว่าง ของเราได้เกิดขึ้นแล้ว ในธรรมที่เราไม่เคย ได้ฟ๎งมาแต่ก่อน ว่า

นี่เป็นความจริงอันประเสริฐ คือทุกข์

- ความจริงอันประเสริฐคือทุกข์นี่นั้นเป็นสิ่งที่ควรกําหนดรอบรู้
- ความจริงอันประเสริฐคือทุกข์นี่นั้น เราได้กําหนดรอบรู้แล้ว และว่า 

นี่เป็นความจริงอันประเสริฐ คือเหตุให้เกิดทุกข์

- ความจริงคือเหตุให้เกิดทุกข์นี่นั้น ควรละเสีย
- ความจริงอันประเสริฐ คือเหตุให้เกิดทุกข์นี่นั้นเราละเสียได้แล้ว และว่า

นี่เป็นความจริงอันประเสริฐ คือความดับทุกข์
- ความดับทุกข์นี้ควรทําให้แจ้ง
- ความดับทุกข์นี้ เราทําให้แจ้งได้แล้ว  และว่า

นี่เป็นความจริงอันประเสริฐ คือทางให้ถึงความดับทุกข์
- ทางให้ถึง ความดับทุกข์นี้ ควรทําให้เจริญ
- ทางให้ถึงความดับทุกข์นี้ เราทําให้เจริญได้แล้ว ดังนี้.


หน้า 182
ทรงรับรองสุขัลลิกานุโยคที่เป็นไปเพื่อนิพพาน ของพวกสมณศากยปตุติยะ

          จุนทะ ! ฐานะนั่นมีอยู่แน่ คือฐานะที่ปริพพาชกผู้เป็นลัทธิอื่น ท.จะกล่าว อย่างนี้ ว่า "พวกสมณศากยปุตติยะ อยู่กันอย่างประกอบด้วยสุขัลลิกานุโยค (พัวพันอยู่กับความสุข) ๔ อย่างเหล่านี้" ดังนี้.

           จุนทะ ! เมื่อพวกปริพพาชกผู้เป็น ลัทธิอื่นกล่าวอยู่อย่างนี้ พวกเธอพึงกล่าว กะเขาว่า ท่านอย่ากล่าวอย่างนั้นเลย.  ก็ปริพพาชกเหล่านั้น จะพึงกล่าวกะพวกเธออยู่ โดยชอบก็หามิได้ แต่จะกล่าว ตู่ พวกเธอ ด้วยคําไม่จริงไม่แท้ ก็หามิได้. 

           จุนทะ ! สุขัลลิกานุโยค ๔ อย่างเหล่านี้ เป็นไปเพื่อความหน่าย ความคลาย กําหนัด เป็นไปเพื่อความดับ ความเข้าไปสงบรํางับ เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ พร้อม เพื่อนิพพาน โดยส่วนเดียว. 

           สี่อย่างเหล่าไหนเล่า?

           จุนทะ ! สี่อย่างคือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เพราะสงัด จากกามและอกุศลธรรม ท. จึงบรรลุ ฌานที่ ๑ อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอัน เกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่ นี้เป็น สุขัลลิกานุโยคที่หนึ่ง จุนทะ ! ข้ออื่นยังมีอีก

           ภิกษุ เพราะสงบวิตกวิจารเสียได้ จึงบรรลุ ฌานที่ ๒ เป็น เครื่องผ่องใส แห่งใจใน ภายใน นําให้เกิดสมาธิมีอารมณ์อันเดียว ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิด แต่สมาธิแล้วแลอยู่ นี้เป็นสุขัลลิกานุโยคที่สอง จุนทะ ! ข้ออื่นยังมีอีก:

           ภิกษุ เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ จึงอยู่อุเบกขา มีสติและสัมปชัญญะ และย่อม เสวยสุข ด้วยนามกาย บรรลุ ฌานที่ ๓ อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้ากล่าวว่า ผู้ได้ ฌานนี้เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข แล้วแลอยู่ นี้เป็นสุขัลลิกานุโยคที่สาม จุนทะ! ข้ออื่นยังมีอีก

          ภิกษุ เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ เพราะความดับหายไป แห่งโสมนัสและ โทมนัส ท. ในกาลก่อน จึงบรรลุ ฌานที่ ๔ อันไม่ทุกข์ไม่สุข มีแต่ ความที่สติเป็น ธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่ นี้เป็น สุขัลลิกานุโยค ที่สี่.

           จุนทะ ! สุขัลลิกานุโยค ๔ อย่างเหล่านี้แล เป็นไปเพื่อความหน่าย ความ คลายกําหนัด---ฯลฯ--- เพื่อนิพพาน โดยส่วนเดียว. 

           สี่อย่างเหล่าไหนเล่า?

           จุนทะ ! สี่อย่างคือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เพราะสงัด จากกามและอกุศลธรรม ท. จึงบรรลุ ฌานที่ ๑ อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอัน เกิดแต่วิเวกแล้วแลอยู่ นี้เป็น สุขัลลิกานุโยคที่หนึ่ง จุนทะ ! ข้ออื่นยังมีอีก

           ภิกษุ เพราะสงบวิตกวิจารเสียได้ จึงบรรลุ ฌานที่ ๒ เป็น เครื่องผ่องใส แห่งใจใน ภายใน นําให้เกิดสมาธิมีอารมณ์อันเดียว ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิด แต่สมาธิ แล้วแลอยู่ นี้เป็น สุขัลลิกานุโยค ที่สอง จุนทะ ! ข้ออื่นยังมีอีก

           ภิกษุ เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ จึงอยู่อุเบกขา มีสติและสัมปชัญญะ และย่อม เสวยสุข ด้วยนามกาย บรรลุ ฌานที่ ๓ อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้ากล่าวว่า ผู้ได้ ฌานนี้เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข แล้วแลอยู่ นี้เป็นสุขัลลิกานุโยคที่สาม จุนทะ! ข้ออื่นยังมีอีก

           ภิกษุ เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ เพราะความดับหายไป แห่งโสมนัสและ โทมนัส ท. ในกาลก่อน จึงบรรลุ ฌานที่ ๔ อันไม่ทุกข์ไม่สุข มีแต่ ความที่สติเป็น ธรรมชาติ บริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่ นี้เป็น สุขัลลิกานุโยค ที่สี่.

           จุนทะ ! สุขัลลิกานุโยค ๔ อย่างเหล่านี้แล เป็นไปเพื่อความหน่าย ความ คลายกําหนัด-ฯลฯ -- เพื่อนิพพาน โดยส่วนเดียว

           จุนทะ ! นั่นแหละ คือฐานะที่มีอยู่ คือฐานะที่ปริพพาชกผู้เป็นลัทธิอื่น ท. จะกล่าวอย่างนี้ว่า "พวกสมณศากยปุตติยะ อยู่กันอย่างประกอบด้วยสุขัลลิกานุ โยค ๔ อย่างเหล่านี้" ดังนี้. พวกเธอ พึงกล่าวกะเขาว่า อย่างนั้นถูกแล้ว.

           ปริพพาชก เหล่านั้นกล่าวกะพวกเธออยู่อย่างถูกต้อง จะกล่าวตู่พวกเธอ ด้วยคําไม่จริง ไม่แท้ ก็หามิได้.


หน้า 183-185
ทรงทราบพราหมณสัจจ์

          ปริพพาชกทั้งหลาย ! พราหมณสัจจ์ ๔ อย่างนี้ เราทําให้แจ้งด้วยป๎ญญา อันยิ่งเองแล้ว ประกาศให้รู้ทั่วกัน. พราหมณสัจจ์ ๔ คืออะไรเล่า? 

           ปริพพาชก ท. ! ในธรรมวินัยนี้ พราหมณ์ได้พูดกันอย่างนี้ว่า "สัตว์ทั้งปวง ไม่ควรฆ่า" พราหมณ์ที่พูดอยู่อย่างนี้ ชื่อว่าพูดคําสัจจ์ ไม่ใช่กล่าว มุสา. และ พราหมณ์นั้น ไม่ถือเอาการที่พูดคําสัจจ์นั้นเป็นเหตุสําคัญตัวว่า"เราเป็น สมณะ เราเป็น พราหมณ์ เราดีกว่าเขา เราเสมอกับเขา เราเลวกว่าเขา". เป็นแต่ ว่าความจริง อันใด มีอยู่ในข้อนั้น ครั้นรู้ความจริงนั้น ด้วยป๎ญญาอันยิ่งเองแล้ว ก็เป็นผู้ ปฎิบัติเพื่อความ เอ็นดูสงสารสัตว์ทั้งหลายเท่า นั้นเอง.

           ปริพพาชก ท.! อีกข้อหนึ่ง พราหมณ์ได้พูดกันอย่างนี้ว่า "กามทุกชนิด ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีอันแปรปรวนเป็นธรรมดา" พราหมณ์ที่พูดอยู่อย่าง นี้ ชื่อว่าพูดคําสัจจ์ ไม่ใช่กล่าวมุสา. และพราหมณ์นั้นไม่ถือเอาการที่พูดคําสัจจ์  นั้นขึ้นเป็นเหตุสําคัญตัวว่า "เราเป็นสมณะ เราเป็นพราหมณ์ เราดีกว่าเขาเราเสมอ กับเขา เราเลวกว่าเขา". เป็นแต่ว่าความจริงอันใดมีอยู่ในข้อนั้น ครั้นรู้ ความจริงนั้น ด้วยป๎ญญาอันยิ่งเองแล้ว ก็เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อหน่ายกาม เพื่อคลาย กำหนัดในกาม เพื่อดับกามทั้งหลายเสียเท่านั้นเอง. 

           ปริพพาชก ท.! อีกข้อหนึ่ง พราหมณ์ได้พูดกันอย่างนี้ว่า "ภพทุก ภพ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีอันแปรปรวนเป็นธรรมดา".

           พราหมณ์ที่กล่าวอยู่ อย่างนี้ ชื่อว่าพูดคําสัจจ์ ไม่ใช่กล่าวมุสา. และ พราหมณ์นั้นไม่ถือเอาการ ที่พูดคําสัจจ์นั้นขึ้นเป็นเหตุสําคัญตัวว่า "เราเป็นสมณะ เราเป็นพราหมณ์ เราดีกว่าเขา เราเสมอกับเขา เราเลวกว่าเขา". เป็นแต่ว่าความจริง อันใด มีอยู่ในข้อนั้น ครั้นรู้ความจริงนั้นด้วยป๎ญญาอันยิ่งเองแล้ว ก็เป็นผู้ ปฏิบัติ เพื่อ หน่ายภพ เพื่อคลายกำหนัดในภพ เพื่อดับภพเสียเท่านั้นเอง.

           ปริพพาชก ท.! อีกข้อหนึ่ง พราหมณ์ได้พูดกันอย่างนี้ว่า "ไม่มีอะไร ที่เป็น ตัวเรา ความกังวลต่อสิ่งใดหรือในอะไร ๆ ก็ไม่มีว่าเป็นตัวเรา และไม่มีอะไร ที่เป็นของเรา ความกังวล ในสิ่ง ใดๆ ก็ไม่มีว่าเป็นของเรา"
           พราหมณ์ที่พูด อยู่อย่างนี้ ชื่อว่าพูดคําสัจจ์ ไม่ใช่กล่าวมุสา.

           และพราหมณ์นั้น ก็ไม่ถือเอาการที่พูด คําสัจจ์นั้น ขึ้นเป็นเหตุสําคัญตัว ว่า"เราเป็นสมณะ เราเป็นพราหมณ์ เราดีกว่าเขา เราเสมอกับเขา เราเลวกว่าเขา" เป็นแต่ว่าความจริงอันใด มีอยู่ในข้อนั้น ครั้นรู้ความจริงนั้นด้วยป๎ญญา อันยิ่งเอง แล้ว ก็เป็นผู้ปฏิบัติให้เข้าแนวทางที่ไม่มี กังวลใด ๆ เท่านั้นเอง 

           ปริพพาชก ท.! นี้แล พราหมณสัจจ์ ๔ ประการ ที่เราทําให้แจ้ง ด้วยป๎ญญา อันยิ่งเองแล้ว  ประกาศให้รู้ทั่วกัน


หน้า 185-186
ทรงเห็นนรกและสวรรค์  ที่ผัสสายตนะหก

          ภิกษุ ท !  ลาภของเธอทั้งหลาย ภิกษุ ท ! เป็นการได้ดีของเธอ ท. แล้ว  ภิกษุ ท. ! ขณะสําหรับการประพฤติพรหมจรรย์ พวกเธอก็ได้ โดยเฉพาะแล้ว 

           ภิกษุ ท. ! นรก ชื่อว่า ผัสสายตนิกะ  (เป็นไปทางอายตนะแห่งการสัมผัส) ๖ ขุม เราได้เห็นแล้ว ในบรรดานรกนั้น  บุคคลเห็นรูปใด ๆ ด้วย ตา ย่อม เห็นแต่รูป ที่ไม่น่าปรารถนา เท่านั้น  ไม่เห็นรูปที่น่าปรารถนา เห็นแต่รูปที่ ไม่น่ารักใคร่ เท่านั้น
ไม่เห็นรูปที่น่ารักใคร่  เห็นแต่รูปที่น่าพอใจ เท่านั้น ไม่เห็น รูปที่น่าพอใจเลย. (ในกรณีแห่งการฟ๎งเสียงด้วย หู ดมกลิ่นด้วย จมูก ลิ้มรสด้วย ลิ้น ถูกต้อง โผฏฐัพพะ ด้วย ผิวกาย และรู้แจ้งธัมมารมณ์ด้วย ใจ ก็มีข้อความที่ตรัสไว้ โดยหลักเกณฑ์อย่าง เดียวกันกับในกรณีแห่งการเห็นรูปด้วยตา ที่กล่าวแล้ว) 

           ภิกษุ ท. ! ลาภของเธอทั้งหลาย  ภิกษุ ท ! เป็นการได้ดีของเธอ ท. แล้ว. ภิกษุ ท. ! ขณะสําหรับการประพฤติพรหมจรรย์ พวกเธอก็ได้ โดยเฉพาะแล้ว 

           ภิกษุ ท ! สวรรค์ ชื่อ ผัสสายตนิกะ ๖ ชั้น เราได้เห็นแล้ว. ในบรรดาสวรรค์เหล่านั้น  บุคคลเห็น รูปใด ๆด้วย ตา ย่อมเห็นแต่รูปที่น่าปรารถนา เท่านั้น ไม่เห็นรูปที่ไม่น่าปรารถนา เห็นแต่รูป ที่น่ารักใคร่เท่านั้น ไม่เห็นรูปที่ไม่น่า รักใคร่ เห็นแต่รูปที่น่าพอใจเท่านั้น ไม่เห็นรูปที่ไม่น่าพอใจเลย.
           (ในกรณีแห่งการฟ๎งเสียงด้วย หู ดมกลิ่นด้วย จมูก ลิ้มรส ด้วย ลิ้น ถูกต้องโผฎฐัพพะด้วย  ผิวกาย และรู้แจ้งธัมมารมณ์ด้วย ใจ ก็มีข้อความที่ตรัสไว้ โดยหลักเกณฑ์อย่างเดียวกันกับใน กรณีแห่งการเห็นรูปด้วยตา ที่กล่าวแล้ว). 
           ภิกษุ ท.! ลาภของเธอทั้งหลาย.
           ภิกษุ ท.! เป็นการได้ที่ดีของเธอท. แล้ว. ภิกษุ ท.!ขณะสําหรับการ ประพฤติพรหมจรรย์ พวกเธอก็ได้โดยเฉพาะแล้ว ดังนี้ แล. 
           หมายเหตุ : ข้อความเหล่านี้ พระอรรถกถาจารย์อธิบายว่า นรกชื่อนั้นก็อยู่ ใต้ดิน รวมอยู่กับนรก ท. ดังที่เคยได้ฟ๎งกันอยู่ทั่วไป สวรรค์ชื่อนั้น ก็อยู่บนฟูา รวมอยู่กับสวรรค์ ท. ดังที่เคยได้ฟ๎งกันอยู่ทั่วไป แต่ข้าพเจ้าเห็นว่าไม่เป็นเช่นนั้น กล่าวคือ เป็นไปทางอายตนะทั้ง ๖ ของบุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่ที่นี่ ซึ่งสามารถควบคุม หรือ   ปฎิบัติต่อได้ ตามที่ตนต้องการ พระองค์จึงตรัสว่าเป็นลาภ เป็นขณะแห่งการ ประพฤติพรหมจรรย์. -ผู้รวบรวม.



หน้า 186-188
ทรงทราบพรหมโลก

          วาเสฎฐะ ! บุรุษผู้ที่เกิดแล้วและเจริญแล้วในบ้านมนสากตคามนี้เมื่อถูก ถามถึงหนทางของ บ้านมนสากตคาม บางคราวอาการอึกอักตอบได้ช้า หรือตอบ ไม่รู้เรื่อง ก็ยังมีได้บ้าง; ก็ยังมีได้บ้าง; ส่วนเรา เมื่อถูกใครถามถึงพรหมโลก หรือปฎิปทาเครื่องทําผู้ปฎิบัติให้ถึงพรหมโลก ก็ไม่มีอาการอึกอัก หรือตอบไม่ได้เรื่อง เช่นนั้นเลย.
           วาเสฎฐะ ! เรารู้จักพวกพรหม รู้จักพรหมโลก และรู้จักปฎิปทา ทําบุคคลผู้ ปฎิบัติตาม ให้เข้าถึง พรหมโลกนั้น. 
           "ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ข้าพเจ้าได้ฟ๎งแล้วว่า พระสมณโคดม แสดง หนทางเพื่อความ เป็นผู้อยู่ ร่วมกับพวกพรหม ท.ได้.
           ดังข้าพเจ้าขอโอกาส ขอพระโคดมผู้เจริญจงแสดงทางเพื่อความ เป็นผู้อยู่ ร่วมกับพวกพรหม ท. นั้น. ขอพระโคดมผู้เจริญจงช่วยยกฐานะชนชาติพราหมณ์" วาเสฎฐมาณพ ทูลขอ. 

วาเสฎฐะ ! ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟ๎ง จงทําในใจให้ดี เราจักกล่าว.            

          วาเสฎฐะ ! ตถาคตเกิดขึ้นในโลก เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะ ฯลฯ๑ แสดงธรรม ไพเราะใน เบื้องต้น - ท่ามกลาง - เบื้องปลาย ประกาศพรหมจรรย์พร้อม ทั้งอรรถะพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง.

           คฤหบดี หรือบุตรคฤหบดี ฯลฯ ได้ฟ๎งธรรมนั้นแล้ว ฯลฯ ออกจากเรือนบวช เป็นคนไม่มีเรือน ฯลฯ เขาถึงพร้อม ด้วยศีล ฯลฯ มีทวารอันสํารวมแล้วในอินทรีย์ ทั้งหลาย ฯลฯ มีสติสัมปชัญญะ ฯลฯ เป็นผู้สันโดษ ฯลฯ เสพเสนาสนะอันสงัด ละนิวรณ์ เมื่อเธอพิจารณาเห็นนิวรณ์  ทั้งห้าอันตนละได้แล้ว ในตน ก็เกิดปราโมทย์ เมื่อปราโมทย์ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจ ปีติ กายก็สงบ ผู้มีกายสงบ ย่อมเสวยสุขเวทนา ผู้เสวยสุขเวทนา ย่อมยังจิตให้ตั้งมั่นได้.

           เธอนั้น ด้วยจิตอันเป็นไปกับด้วยเมตตา ย่อมแผ่ไปสู่ทิศ (ที่) หนึ่ง และ ทิศที่สอง ที่สาม ที่สี่ ก็เหมือนอย่างนั้น เธอแผ่ไปตลอดโลกทั้งสิ้น ในที่ทั้งปวง ทั้งเบื้องบนเบื้องต่ําและเบื้องขวาง ด้วยจิต อันเป็นไปกับด้วย เมตตา เป็นจิตไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท กว้างขวาง ประกอบด้วยคุณอันใหญ่หลวง ไม่มีขีดจํากัดแล้วแลอยู่.

           วาเสฎฐะ ! คนเปุาสังข์ที่แข็งแรง อาจเปุาสังข์ให้ได้ยินได้ ทั้งสี่ทิศโดย ไม่ยาก ฉันใด ในเมตตาเจโตวิมุตติ๑ที่เจริญแล้วอย่าง(ข้างบน) นี้ กรรมชนิดที่ทํา อย่างมีขีดจํากัด๒ ย่อมไม่มีเหลืออยู่ ไม่ตั้งอยู่ใน (เมตตา-เจโต วิมุตติอันเป็นกรรม ที่ไม่มีขีดจํากัด) นั้น ก็ฉันนั้น. วาเสฎฐะ ! นี้แลเป็นทาง เพื่อ ความเป็นผู้อยู่ร่วม กับพรหม ท. 
           (ต่อไปนี้ ทรงแสดง ข้อ กรุณา มุทิตา อุเบกขา อีก โดยเนื้อความอย่าง เดียว กัน.ทุก ๆ ข้อเป็นหนทางเหมือนกัน โดยพระบาลีว่า แม้นี้ ๆ ก็เป็นหนทางเพื่อ ความอยู่ร่วมกับพรหม ท.)


หน้า 188-189
ทรงทราบคติห้า และนิพพาน

          สารีบุตร ! เหล่านี้เป็นคติ (คือที่เป็นที่ไป) ห้าอย่าง. คือ นรกกําเนิด เดรัจฉาน เปรตวิสัย มนุษย์ เทพ. 

           สารีบุตร ! เราย่อมรู้จักนรก รู้จักทางไปสู่นรก๔ รู้จักข้อปฎิบัติที่ทําบุคคลให้ ไปสู่นรก และรู้จัก บุคคลผู้ปฎิบัติแล้วอย่างใด จึงเมื่อสมัยอื่นจากการตายเพราะ การแตกทําลายแห่งกาย ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก. 

           สารีบุตร ! เราย่อมรู้จักกําเนิดเดรัจฉาน รู้จักทางไปสู่กําเนิดเดรัจฉานรู้จัก ข้อปฏิบัติที่ทําบุคคล ให้ไปสู่กําเนิดเดรัจฉาน และรู้จักบุคคลผู้ปฏิบัติแล้วอย่างใด จึงเมื่อสมัยอื่นจากการตาย เพราะการแตก ทําลายแห่งกาย ย่อมเข้าถึงกําเนิด เดรัจฉาน. 

           สารีบุตร ! เราย่อมรู้จักเปรตวิสัย รู้จักทางไปสู่เปรตวิสัย รู้จักข้อปฎิบัติที่ ทําบุคคลให้ไปสู่เปรต วิสัย และรู้จักบุคคลผู้ปฎิบัติแล้วอย่างใด จึงเมื่อสมัยอื่นจาก การตาย เพราะการแตกทําลายแห่งกาย ย่อมเข้าถึงเปรตวิสัย. 

           สารีบุตร ! เราย่อมรู้จักมนุษย์ รู้จักทางไปสู่มนุษยโลก รู้จักข้อปฏิบัติที่ทํา บุคคลให้ไปสู่มนุษย์ โลก รู้จักบุคคลผู้ปฏิบัติแล้วอย่างใด จึงเมื่อสมัยอื่นจากการตาย เพราะการแตกทําลายแห่งกาย ย่อมเข้า ถึงมนุษยโลก. 

           สารีบุตร ! เราย่อมรู้จักพวกเทพ รู้จักทางไปสู่เทวโลก รู้จักข้อปฏิบัติที่ทํา บุคคลให้ไปสู่ เทวโลก และรู้จักบุคคลผู้ปฎิบัติแล้วอย่างใด จึงเมื่อสมัยอื่นจากการตาย เพราะการแตกทําลายแห่งกาย ย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์. 

           สารีบุตร ! เราย่อมรู้จักนิพพาน รู้จักทางไปนิพพาน และข้อปฏิบัติที่ทํา บุคคลให้ไปนิพพาน และรู้จักตัวบุคคลผู้ปฎิบัติแล้วอย่างใด จึงทําให้แจ้งได้ด้วย ป๎ญญาอันยิ่งเอง ซึ่งเจโตวิมุตติ ป๎ญญา วิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะความสิ้นไป แห่งสวะทั้งหลาย ในธรรมอันตนเห็นแล้ว (คือป๎จจุบันนี้) เข้าถึงแล้วแลอยู่.



หน้า 189-191
ทรงแสดงฤทธิ์ได้ เพราะอิทธิบาทสี่

          ภิกษุ ท.! พวกเธอจะสําคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร คือ เพราะได้เจริญหรือทํา ให้มากซึ่งธรรมเหล่า ไหนเล่า ตถาคตจึงเป็นผู้มีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพมาก อย่างนี้?

           “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาค เป็น มูล มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงแสดงเนื้อความนี้เถิด ภิกษุทั้งหลายจักได้ทรง จำไว้” ภิกษุทั้งหลาย ทูลตอบ. 

           ภิกษุ ท. ! เพราะได้เจริญ และทําให้มากซึ่งอิทธิบาท สี่ประการตถาคตจึง เป็นผู้มีฤทธิ์มาก อย่างนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้. อิทธิบาทสี่ประการอย่างไหนเล่า? ภิกษุ ท.! ในเรื่องนี้ตถาคต ย่อมเจริญ อิทธิบาท อันประกอบพร้อมด้วยธรรม เครื่องปรุง แต่ง ซึ่งมีสมาธิอาศัย ฉันทะ เป็นปธานกิจว่า ด้วยอาการ อย่างนี้ ฉันทะของเราย่อมมี ในลักษณะ ที่จักไม่ย่อหย่อน ที่จักไม่เข้มงวดเกิน ที่จักไม่สยบอยู่ ในภายใน ที่จัก ไม่ส่ายไปในภายนอก ตถาคตย่อมเป็นผู้มีความรู้สึก ทั้งในส่วนที่จะมีมา และส่วน ที่ล่วงมาแล้ว แต่กาลก่อน กาลก่อนก็เหมือนภายหลัง ภายหลังก็ เหมือนกาลก่อน เบื้องล่างก็เหมือนเบื้องบน เบื้องบน ก็เหมือนเบื้องล่าง กลางวัน เหมือนกลางคืน กลางคืนเหมือนกลางวัน ย่อมเจริญจิต อันประกอบด้วย แสงสว่าง ด้วยจิตอันตน เปิดแล้ว ด้วยอาการอย่างนี้ ไม่มีอะไรหุ้มห่อ. 
           (ต่อไปนี้ทรงแสดงด้วยสมาธิอันอาศัย วิริยะ...จิตตะ...วิมังสา เป็นปธานกิจ โดยเนื้อความ อย่างเดียวกัน แปลกกันแต่ชื่อของอิทธิบาท จนครบทั้ง ๔ อย่าง) 

           ภิกษุ ท.! เพราะเจริญทําให้มากซึ่งอิทธิบาทสี่อย่างเหล่านี้แล ตถาคตจึง เป็นผู้มีฤทธิ์มาก อย่างนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้.

           ตถาคตย่อมแสดงอิทธิวิธีมีอย่างต่างๆได้ ผู้เดียวแปลงรูปเป็นหลายคน หลายคน เป็นคนเดียว ทําที่กําบังให้เป็น ที่แจ้ง ทําที่แจ้งให้เป็นที่กําบัง ไปได้ไม่ ขัดข้อง ผ่านทะลุฝา ทะลุกําแพง ทะลุภูเขา ดุจไปในอากาศว่าง ๆ ผุดขึ้นและดําลง ในแผ่นดินได้เหมือนในน้ํา เดินได้เหนือน้ํา เหมือนเดินบน แผ่นดิน ไปได้ในอากาศ เหมือนนกมีปีก ทั้งที่ยังนั่งขัดสมาธิคู้บัลลังก์ ลูบคลําดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ อันมีฤทธิ์อานุภาพมากได้ด้วยฝ่ามือ และแสดงอํานาจด้วยกาย เป็นไปตลอดถึง พรหมโลกได้.


หน้า 191-192
ทรงมีญาณในอิทธิบาทสี่ โดยปริวัฏฏ์ ๓ อาการสิบสอง

          ภิกษุ ท.! จักษุ ญาณ ป๎ญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมที่เราไม่เคยฟ๎งมาแต่ก่อนว่า "นี้คือ อิทธิบาทอันประกอบพร้อม ด้วยธรรม เครื่องปรุงแต่ง มีสมาธิ อาศัย ฉันทะ เป็นปธานกิจ" ดังนี้

          ภิกษุ ท.! จักษุ ญาณ ป๎ญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมที่เราไม่เคยฟ๎งมาแต่ก่อนว่า "ก็ อิทธิบาท อันประกอบพร้อมด้วยธรรม เครื่องปรุงแต่ง มีสมาธิ อาศัย ฉันทะ เป็นปธานกิจ นี้ เป็นธรรมที่ควรทำให้เกิดมี" ดังนี้    

          ภิกษุ ท.! จักษุ ญาณ ป๎ญญา วิชชา แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมที่เราไม่เคยฟ๎งมาแต่ก่อนว่า "ก็ อิทธิบาท อันประกอบพร้อมด้วยธรรม เครื่องปรุงแต่ง มีสมาธิ อาศัย ฉันทะ เป็นปธานกิจ นี้ เราทำให้เกิดมีได้แล้ว" ดังนี้

          ภิกษุ ท.! จักษุ ญาณ ป๎ญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้ว แก่เรา ในธรรม ที่เราไม่เคยฟ๎งมาแต่ก่อนว่า "นี้คือ อิทธิบาทอันประกอบพร้อม ด้วยธรรม เครื่องปรุง แต่ง มีสมาธิอาศัย วิริยะ เป็นปธานกิจ" ดังนี้

          ภิกษุ ท.! จักษุ ญาณ ป๎ญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมที่เราไม่เคยฟ๎งมา แต่ก่อน ว่า "ก็อิทธิบาท อันประกอบพร้อมด้วยธรรม เครื่องปรุงแต่ง มีสมาธิอาศัย วิริยะเป็นปธานกิจ นี้ เป็นธรรมที่ ควรทำให้เกิดมี" ดังนี้

          ภิกษุ ท.! จักษุ ญาณ ป๎ญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมที่เราไม่เคย ฟ๎งมา แต่ก่อนว่า "ก็ อิทธิบาท อันประกอบพร้อมด้วยธรรมเครื่องปรุงแต่ง มี สมาธิอาศัย วิริยะ เป็นปธานกิจ นี้ เราทำให้เกิดมีได้แล้ว" ดังนี้ ๑.

          ภิกษุ ท.! จักษุ ญาณ ป๎ญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมที่เราไม่เคยฟ๎งมา แต่ก่อนว่า "นี้คือ อิทธิบาท อันประกอบพร้อม ด้วยธรรมเครื่องปรุงแต่ง มีสมาธิอาศัย จิตตะ เป็นปธานกิจ" ดังนี้

          ภิกษุ ท.! จักษุ ญาณ ป๎ญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมที่เราไม่เคย ฟ๎งมา แต่ก่อน ว่า "ก็ อิทธิบาท อันประกอบพร้อมด้วยธรรม เครื่องปรุงแต่ง มี สมาธิอาศัย จิตตะ เป็นปธานกิจ นี้ เป็นธรรมที่ควรทำให้เกิดมี" ดังนี้

          ภิกษุ ท.! จักษุ ญาณ ป๎ญญา วิชชา แสดงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมที่เราไม่เคย ฟ๎งมา แต่ก่อน ว่า"ก็ อิทธิบาท อันประกอบพร้อมด้วยธรรม เครื่องปรุงแต่ง มี สมาธิอาศัย จิตตะ เป็นปธานกิจ นี้ เราทำให้เกิดมีได้แล้ว" ดังนี้  

          ภิกษุ ท.! จักษุ ญาณ ป๎ญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้ว แก่เรา ในธรรมที่เราไม่เคยฟ๎งมาแต่ก่อน ว่า "นี้คือ อิทธิบาท อันประกอบพร้อม ด้วยธรรม เครื่องปรุงแต่ง มีสมาธิ อาศัย วิมังสา เป็นปธานกิจ" ดังนี้

          ภิกษุ ท.! จักษุ ญาณ ป๎ญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมที่เราไม่เคยฟ๎งมา แต่ก่อนว่า "ก็ อิทธิบาท อันประกอบพร้อมด้วยธรรม เครื่องปรุงแต่ง มี สมาธิอาศัย วิมังสา เป็นปธานกิจ นี้ เป็นธรรมที่ ควรทำให้เกิดมี" ดังนี้

          ภิกษุ ท.! จักษุ ญาณ ป๎ญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมที่เราไม่เคยฟ๎งมาแต่ก่อนว่า "ก็ อิทธิบาท อันประกอบพร้อมด้วยธรรมเครื่อง ปรุงแต่ง มีสมาธิ อาศัย วิมังสา เป็นปธานกิจ นี้ เราทำให้เกิดมีได้แล้ว" ดังนี้



หน้า193
ทรงมีอิทธิบาทเพื่ออยู่ได้ถึงกัปป์

          อานนท์ ! อิทธิบาทสี่ประการ อันบุคคลใดเจริญทําให้มาก ทําให้เป็นดุจยาน ทําให้เป็นดุจที่ รองรับ ให้เกิดขึ้นมั่นคงแล้ว อบรมทั่วถึงดีแล้วปรารภหนักแน่นแล้ว. เมื่อบุคคลนั้นปรารถนา เขาก็พึง ตั้งอยู่ได้กัปป์หนึ่ง หรือยิ่งขึ้นไปกว่ากัปป์. 

           อานนท์ ! อิทธิบาทสี่ประการนั้น อันตถาคตนี้แล ได้เจริญ ทําให้มากแล้ว ทําให้เป็นดุจยาน ทําให้เป็นดุนที่รองรับ ให้เกิดขึ้นมั่นคงแล้ว อบรมทั่วถึงดีแล้ว ปรารถหนักแน่นแล้ว ถ้าตถาคตปรารถนา ตถาคตก็พึงตั้งอยู่ได้กัปป์หนึ่ง หรือ ยิ่งขึ้นไปกว่ากัปป์ ดังนี้.



หน้า193-1
ทรงเปล่งเสียงคราวเดียว ได้ยินตลอด ทุกโลกธาตุ

          อานนท์ ! ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์แผ่รัศม ีส่องแสงให้สว่างไปทั่วทิศ กินเนื้อที่ประมาณเท่าใด โลกมีเนื้อที่เท่านั้น มีจํานวนพันหนึ่ง.

           ในพันโลกนั้น  มีดวงจันทร์พันดวง ดวงอาทิตย์พันดวงภูเขาสิเนรุพันลูก ชมพูทวีปพันทวีป อมรโคยานพันทวีป อุตรกุรุพันทวีป ปุพพวิเทหะพันทวีป มหาสมุทรสี่พันมหาราชสี่ พันจาตุมมหาราช พันหนึ่ง ดาวดึงส์พันหนึ่ง ยามาพันหนึ่ง ดุสิตพันหนึ่ง นิมมานรดีพันหนึ่งปรนิมมิตวสวัตตีพันหนึ่ง พรหมพันหนึ่ง นี้เรียกว่า สหัสสี- จูฬนิกาโลกธาตุ

           สหัสสีจูฬนิกาโลกธาตุมีขนาดเท่าใด โลกธาตุขนาดเท่านั้น คํานวณทวี ขึ้นโดยส่วนพัน นั้น เรียกว่า ทวิสหัสสีมัชฌิมิกาโลกธาตุ. 

           ทวิสหัสสีมัชฌิมิกาโลกธาตุมีขนาดเท่าใด โลกธาตุขนาดเท่านั้น คํานวณทวี ขึ้นโดยส่วนพัน นั้นเรียกว่า ติสหัสสีมหาสหัสสีโลกธาตุ

           อานนท์! ตถาคต เมื่อมีความจํานง ก็ย่อมพูดให้ติสหัสสีมหาสหัสสีโลกธาตุ ได้ยินเสียง ทั่วกันได้ หรือว่าจํานงให้ได้ยินเพียงเท่าใด ก็ได้. "ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! เป็นไปได้ด้วยวิธีอย่างใด พระเจ้าข้า?" 

           อานนท์ ! ตถาคตอยู่ที่นี่ จะพึงแผ่รัศมี มีโอภาสสว่างไปทั่ว ติสหัสสีมหา สหัสสี โลกธาตุ เสียก่อน เมื่อสัตว์เหล่านั้น รู้สึกต่อแสงสว่างอันนั้น แล้วตถาคต ก็จะบันลือเสียง ให้สัตว์เหล่านั้นได้ยิน.

           อย่างนี้แลอานนท์! ตถาคตจะ พูดให้ติสหัสสีมหาสหัสสีโลกธาตุ ได้ยินเสียง ทั่วกันได้ หรือจํานงให้ได้ยินเพียง เท่าใด ก็ได้

ภาค3(ต่อ)

เริ่มแต่ได้ตรัสรู้แล้ว จนถึง โปรดปัญจวัคคีย์ (๗๙ เรื่อง)

(อ้างอิงเลขหน้า จากหนังสือพุทธประวัติจากพระโอษฐ์)

หน้า194-196
ทรงมีปาฏิหาริย์ชนิดที่คนเขลามองไม่เห็นว่าเป็นปาฏิหาริย์

          "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ก็พระผู้มีพระภาคมิได้ทรงกระทําอิทธิปาฏิหาริย์ที่ ยิ่งกว่าธรรมดาแห่ง มนุษย์ แก่ข้าพระองค์เลย." สุนักขัตตะ ! เราได้กล่าวอย่างนี้ กะเธอ บ้างหรือว่า "

           สุนักขัตตะ! เธอจงมา อยู่กะเรา เราจักกระทําอิทธิปาฏิหาริย์ที่ยิ่งกว่าธรรมดา แห่งมนุษย์ แก่เธอ "ดังนี้? "หามิได้ พระเจ้าข้า!" หรือว่า เธอได้กล่าวกะเรา อย่างนี้ว่า

           "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้าพระองค์จักอยู่กะพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค จักกระทํา อิทธิปาฏิหาริย์ ที่ยิ่งกว่าธรรมดาแห่งมนุษย์แก่ข้าพระองค์" ดังนี้? "หามิได้ พระเจ้า ข้า!"--

           โมฆะบุรุษ ! เมื่อเป็นอย่างนั้น ใครมีอยู่ (ในฐานะเป็นคู่สัญญา)เธอจักบอกคืน กะใคร.

           สุนักขัตตะ ! เธอจะสําคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร อิทธิปาฏิหาริย์ที่ยิ่งกว่า ธรรมดา แห่งมนุษย์ จะเป็นสิ่ง ที่เรากระทําแล้วหรือมิได้ กระทํา ก็ตาม ธรรมที่เรา แสดงแล้ว เพื่อประโยชน์แก่การสิ้นทุกข์โดยชอบ ใดธรรมนั้นจะนําผู้ปฎิบัติตาม เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ หรือไม่?

          "ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ! อิทธิปาฏิหาริย์ที่ยิ่งกว่าธรรมดาแห่งมนุษย์ จะเป็นสิ่งที่พระ ผู้มี พระภาคกระทำแล้ว หรือมิได้กระทำก็ตาม ธรรมที่พระผู้มี พระภาคแสดงแล้ว เพื่อ ประโยชน์ แก่การสิ้นทุกข์โดยชอบใดธรรมนั้น ก็ยังคง นำผู้ปฎิบัติตาม เพื่อความสิ้นทุกข์ โดยชอบ พระเจ้าข้า" 

           สุนักขัตตะ ! เมื่อฟ๎งได้อย่างนี้ ในเรื่องนั้น ใครจะทําอิทธิปาฏิหาริย์ที่ยิ่ง กว่า ธรรมดาแห่ง มนุษย์ไปทําไม. โมฆะบุรุษ! เธอจงเห็นตามที่มันเป็นความผิด ของเธอ เองเพียงไร.

           "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ก็พระผู้มีพระภาคมิได้ทรงบัญญัติสิ่งที่คน ท. สมมติกันว่าเลิศ แก่ข้าพระองค์เลย" 

           สุนักขัตตะ ! เราได้กล่าวอย่างนี้กะเธอบ้างหรือว่า "
           สุนักขัตตะ ! เธอจงมา อยู่กะเรา เราจักบัญญัติสิ่งที่คน ท. สมมติกันว่าเลิศ แก่เธอ" ดังนี้? "หามิได้พระ เจ้าข้า ! " หรือว่า เธอได้กล่าวกะเราอย่างนี้ว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้าพระองค์ จักอยู่กะพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคจัก บัญญัติ สิ่งที่คน ท. สมมติกันว่าเลิศแก่ข้าพระองค์" ดังนี้? "หามิได้ พระเจ้าข้า ! "---- 

           โมฆะบุรุษ ! เมื่อเป็นอย่างนั้น ใครมีอยู่ (ในฐานะเป็นคู่สัญญา) เธอจักบอก คืนกะใคร. สุนักขัตตะ ! เธอจะสําคัญข้อนี้อย่างไร สิ่งที่คน ท.

           สมมติกันว่าเลิศ จะเป็นสิ่งที่เราบัญญัติแล้วหรือมิได้บัญญัติก็ตาม ธรรมที่เรา แสดงแล้วเพื่อ ประโยชน์แก่การสิ้นทุกข์โดยชอบใด ธรรมนั้นจะนําผู้ปฎิบัติตาม  เพื่อ ความสิ้นทุกข์โดยชอบ หรือไม่?

           "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! สิ่งที่คน ท. สมมติ กันว่าเลิศ จะเป็นสิ่งที่ พระผู้มี พระภาค บัญญัติแล้วหรือมิได้บัญญัติก็ตาม ธรรมที่พระผู้มีพระภาค แสดงแล้วเพื่อประโยชน์ แก่การสิ้นทุกข์โดยชอบใด ธรรมนั้นจะนำผู้ปฎิบัติ ตามเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ พระเจ้าข้า" 

           สุนักขัตตะ ! เมื่อฟ๎งได้อย่างนี้ ในเรื่องนั้น ใครจะกระทําการบัญญัติ สิ่งที่คน ท. สมมติกันว่า เลิศไปทําไม. โมฆะบุรุษ ! เธอจงเห็นตามที่มันเป็นความผิด ของเธอเองเพียงไร. 

หมายเหตุ : จากการโต้ตอบกันสองครั้งนี้ มีการแสดงให้เห็นอยู่แล้วว่ามีปาฏิหาริย์ อย่างสูงสุดอยู่ใน ธรรมะ ที่พระองค์ทรงแสดงแล้ว กล่าวคือจะมีการแสดงปาฏิหาริย์ ในรูปแบบ อื่น ๆ อีกหรือไม่ก็ตาม ธรรมะนั้น ย่อมดับทุกข์ได้อยู่ตลอดเวลา. พวกคน เขลา ไม่มองเห็นว่า ภาวะการณ์เช่นนี้เป็นปาฏิหาริย์ อันสูงสุด กลับต้องการจะให้ทรง แสดง ปาฏิหาริย์ชนิดที่ควรจะ เรียกว่า "ของแปลกประหลาด สําหรับ คนโง่" เหมือนที่ คนทั่วไปเขาชอบดูกัน.

แม้กระนั้นพระองค์ก็ ยังทรงมีการแสดงปาฏิหาริย์ ในระดับนั้นด้วยเหมือนกัน ดังที่ได้ ทรงทวงให้ สุนักขัตตลิจฉวีบุตร ระลึกถึงเรื่องบางเรื่อง ที่ได้เป็นไปแล้วอย่างลักษณะ ของปาฏิหาริย์ เช่นเรื่อง กุกกุรวัตติกอเจลก ได้ตายลงไปจริง ๆ ภายใน ๗ วันดังที่ พระองค์ทรงพยากรณ์ และเรื่อง กฬารมัชฌกอเจลก ผู้แสดงการประพฤติวัตร อย่าง เคร่งครัดจนคนทั้งหลาย ถือกันว่าเป็นพระอรหันต์ แต่ในที่สุดก็สึก ออกไปมีภรรยา ดังที่พระองค์ทรงพยากรณ์ไว้. สุนักขัตตลิจฉวีบุตร ก็จํานนต่อถ้อยคํา ของตนเอง ในการที่กล่าวตัดพ้อพระองค์ว่า ไม่ทรงแสดงปาฏิหาริย์เสียเลย. -ผู้รวบรวม.



หน้า197
ทรงมีปาฏิหาริย์สามอย่าง

          เกวัฎฎะ ! นี่ปาฏิหาริย์สามอย่าง ที่เราได้ทําให้แจ้งด้วยป๎ญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่น รู้ได้. สามอย่างอะไรเล่า? สามอย่างคือ อิทธิปาฏิหาริย์ อาเทสนา ปาฏิหาริย์ และ อนุศาสนีปาฏิหาริย์.

          (๑) เกวัฎฎะ ! อิทธิปาฏิหาริย์ นั้นเป็นอย่างไรเล่า?
เกวัฎฎะ ! ภิกษุในศาสนานี้ กระทําอิทธิวิธีมี อย่างต่าง ๆ ผู้เดียวแปลงรูปเป็นหลายคน หลายคนเป็นคนเดียว ทําที่กําบังให้เป็นที่แจ้ง ทําที่แจ้ง ให้เป็นที่กําบัง ไปได้ 
ไม่ขัดข้อง ผ่านทะลุฝา ทะลุกําแพง ทะลุภูเขา ดุจไปในอากาศว่างๆ ผุดขึ้น และ ดําลง ในแผ่นดินได้เหมือนในน้ํา เดินไปได้เหนือน้ํา เหมือนเดินบนแผ่นดิน ไปได้ใน อากาศเหมือนนก มีปีก ทั้งที่ยังนั่งสมาธิคู้บัลลังก์. ลูบคลําดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ อันมีฤทธิ์อานุภาพมาก ได้ด้วยฝุามือ. และแสดงอํานาจทางกาย เป็นไปตลอดถึง พรหมโลก ได้.

          เกวัฎฎะ ! กุลบุตรผู้มีศรัทธาเลื่อมใสได้เห็น การแสดงนั้นแล้ว เขาบอกเล่าแก่ กุลบุตรอื่นบางคน ที่ไม่ศรัทธาเลื่อมใส ว่าน่า อัศจรรย์นัก. กุลบุตรผู้ไม่มีศรัทธา เลื่อมใสนั้น ก็จะพึงตอบว่า วิชาชื่อคันธารี๒ มีอยู่ ภิกษุนั้นแสดงอิทธิวิธี ด้วยวิชานั่น เท่านั้น (หาใช่มีปาฏิหาริย์ไม่)

          เกวัฎฎะ ! ท่านจะเข้าใจว่าอย่างไร ก็คนไม่เชื่อ ไม่เลื่อมใส ย่อมกล่าวตอบ ผู้เชื่อผู้เลื่อมใส ได้อย่างนั้น มิใช่หรือ? "พึงตอบได้ พระองค์ !" 

           เกวัฎฎะ ! เราเห็นโทษในการแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ดังนี้แล จึงอึดอัด ขยะแขยง เกลียดชัง ต่อ อิทธิปาฏิหาริย์.

           (๒) เกวัฎฎะ ! อาเทสนาปาฏิหาริย์ นั้น เป็นอย่างไรเล่า?
           เกวัฎฎะ ! ภิกษุในศาสนานี้ย่อม ทาย จิต ทายความรู้สึกของจิต ทายความ ตรึก ทายความตรอง ของสัตว์เหล่าอื่น ของบุคคลเหล่าอื่นได้ ว่าใจของท่านเช่นนี้ ใจของท่านมีประการนี้ ใจของท่านมีด้วยอาการอย่างนี้. --ฯลฯ-

           กุลบุตรผู้ไม่เชื่อไม่เลื่อมใส ย่อมค้านกุลบุตรผู้เชื่อผู้เลื่อมใส ว่า วิชาชื่อมณิกา มีอยู่ ภิกษุนั้น  กล่าวทายใจได้เช่นนั้น ๆ ก็ด้วยวิชานั้น (หาใช่มีปาฏิหาริย์ไม่) เกวัฎฎะ ! ท่านจะ เข้าใจว่าอย่างไร : ก็คนไม่เชื่อไม่เลื่อมใส ย่อมกล่าวตอบผู้เชื่อผู้เลื่อมใส ได้อย่างนั้น มิใช่หรือ? "พึงตอบได้ พระองค์ !

           "เกวัฎฎะ ! เราเห็นโทษในการแสดงอาเทสนาปาฏิหาริย์ดังนี้แล จึงอึดอัด ขยะแขยง เกลียดชัง ต่ออาเทสนาปาฏิหาริย์. 

           (๓) เกวัฎฎะ ! อนุศาสนียปาฏิหาริย์ นั้น เป็นอย่างไรเล่า?
เกวัฎฎะ ! ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมสั่งสอนว่า ท่านจงตรึกอย่างนี้ ๆ อย่าตรึกอย่างนั้น ๆ จงทําไว้ในใจอย่างนี้ ๆ อย่าทําไว้ในใจ อย่างนั้น ๆจงละสิ่งนี้ ๆ เสีย จงเข้าถึง สิ่งนี้ ๆแล้วแลอยู่ ดังนี้ นี้เราเรียกว่า อนุศาสนีปาฏิหาริย์
 

           เกวัฎฎะ ! ---ฯลฯ--- ๑เหล่านี้แล เป็นปาฏิหาริย์ ๓ อย่าง ที่เราได้ทําให้แจ้ง ด้วยป๎ญญาอันยิ่ง เอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ตามด้วย.


หน้า 198
เหตุที่ทำให้ได้ทรงพระนามว่า "ตถาคต" สี่

          ภิกษุ ท.! โลก๓เป็นสภาพที่ตถาคตได้รู้พร้อมเฉพาะแล้ว ตถาคตจึงเป็นผู้ ถอนตนจากโลก ได้แล้ว เหตุให้เกิดโลก เป็นสภาพที่ตถาคตได้รู้พร้อม เฉพาะแล้ว ตถาคตจึงละเหตุให้เกิดโลกได้แล้ว.

           ความดับไม่เหลือของโลกเป็น สภาพที่ตถาคตรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ตถาคตจึง ทําให้แจ้งความดับ ไม่เหลือของโลกได้ แล้ว. ทางให้ถึงความดับไม่เหลือของโลก เป็นสิ่งที่ตถาคตรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ตถาคต จึงทําให้เกิดมีขึ้นได้แล้ว ซึ่งทางให้ถึง ความ ดับไม่เหลือของโลกนั้น

           ภิกษุ ท.! อายตนะอันใด ที่พวกมนุษยโลก พร้อมทั้งเทวโลก มาร พรหม ที่หมู่สัตว์พร้อมทั้ง สมณ พราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ได้เห็น ได้ฟ๎ง ได้ดม-ลิ้ม-สัมผัส ได้รู้แจ้ง ได้บรรลุ ได้แสวง หาได้เที่ยวผูกพันติดตามโดยน้ําใจ อายตนะนั้น ตถาคตได้รู้พร้อมเฉพาะแล้วทั้งสิ้น เพราะเหตุนั้น จึงได้ นามว่า "ตถาคต"

           ภิกษุ ท.! ในราตรีใด ตถาคตได้ตรัสรู้ และในราตรีใด ตถาคต ปรินิพพาน ในระหว่างนั้น ตถาคตได้กล่าวสอบ พร่ําสอน แสดงออกซึ่งคําใด คํานั้นทั้งหมด ย่อมมีโดยประการเดียวกันทั้งสิ้น ไม่แปลกกันโดยประการอื่น เพราะเหตุนั้น จึงได้นามว่า "ตถาคต"

           ภิกษุ ท.! ตถาคต กล่าวอย่างใดทําอย่างนั้น ทําอย่างใด กล่าวอย่างนั้น เพราะเหตุนั้น จึงได้นามว่า “ตถาคต” 

           ภิกษุ ท.! ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มาร พรหม ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณ พราหมณ์ พร้อมทั้ง เทวดาและมนุษย์ ตถาคตเป็นผู้เป็นยิ่ง ไม่มี  ใครครอบงํา เป็นผู้เห็นสิ่งทั้งปวงโดยเด็ดขาด เป็นผู้มี อํานาจสูงสุด (โดยธรรม) แต่ผู้เดียว เพราะเหตุนั้น จึงได้นามว่า "ตถาคต"

200-201
เหตุที่ทำให้ทรงพระนามว่า "ตถาคต" เพราะทรงเป็นกาลวาทีภูตวาที

          จุนทะ ! แม้เป็น เรื่องในอดีต ถ้าไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคตย่อม ไม่พยากรณ์ ซึ่งเรื่องนั้น จุนทะ! แม้เป็น เรื่องในอดีต ถ้าเป็นเรื่องจริง เรื่องแท้ แต่ไม่ประกอบด้วย ประโยชน์ ตถาคตก็ย่อมไม่พยากรณ์ ซึ่งเรื่อง แม้นั้น จุนทะ ! แม้เป็นเรื่องในอดีต ถ้าเป็นเรื่องจริง เรื่องแท้ เรื่องประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคตย่อมเป็นผู้รู้กาลอันสมควร ในเรื่องนั้นเพื่อพยากรณ์ป๎ญหา นั้น. 

           จุนทะ ! แม้เป็น เรื่องในอนาคต ถ้าไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วย ประโยชน์ ตถาคตย่อม ไม่พยากรณ์ ซึ่งเรื่องนั้น จุนทะ ! แม้เป็นเรื่องในอนาคต ถ้าเป็นเรื่องจริง เรื่องแท้ แต่ไม่ประกอบด้วย ประโยชน์ ตถาคตก็ย่อมไม่ พยากรณ์ ซึ่งเรื่องแม้นั้น จุนทะ ! แม้เป็นเรื่องในอนาคต ถ้าเป็นเรื่องจริง เรื่องแท้ เรื่องประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคตย่อมเป็นผู้รู้กาลอันสมควรในเรื่อง นั้น เพื่อพยากรณ์ ป๎ญหานั้น. 

           จุนทะ ! แม้เป็น เรื่องในป๎จจุบัน ถ้าไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วย ประโยชน์ ตถาคตย่อม ไม่พยากรณ์ ซึ่งเรื่องนั้น! จุนทะ ! แม้เป็นเรื่องในป๎จจุบัน ถ้าเป็นเรื่องจริง เรื่องแท้ แต่ไม่ประกอบด้วย ประโยชน์ ตถาคตก็ย่อมไม่ พยากรณ์ ซึ่งเรื่องแม้นั้น จุนทะ ! แม้เป็นเรื่องในป๎จจุบัน ถ้าเป็น เรื่องจริง เรื่องแท้ เรื่องประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคตย่อมเป็นผู้รู้กาลอันสมควร ใน เรื่องนั้น เพื่อพยากรณ์ ป๎ญหานั้น.

           จุนทะ ! ด้วยเหตุดังนี้แล ตถาคตจึงเป็น กาลวาที สัจจวาที ภูตวาที  อัตถวาที ธัมมวาที วินยวาที ในธรรม ท. ที่เป็นอดีต อนาคต ป๎จจุบัน เพราะเหตุนั้น จึงได้นามว่า "ตถาคต"



201
ไวพจน์แห่งคำว่า "ตถาคต"

          วาเสฏฐะ ท. ! ก็ศรัทธาของผู้ใดแล ตั้งมั่นในตถาคต ฝ๎งลงรากแล้วดํารง อยู่ได้มั่นคงอันสมณะ หรือพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกก็ตาม  ไม่ชักนําไปทางอื่นได้ ผู้นั้นควรจะกล่าวได้ อย่างนี้ว่า "เราเป็นบุตร เป็นโอรส เกิด จากปากของพระผู้มีพระภาค เกิดโดยธรรม อันธรรมเนรมิต เป็น ทายาทแห่ง ธรรม" ดังนี้.
           ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะคําว่า "ธรรมกาย" บ้าง "พรหมกาย" บ้าง "ธรรมภูต" บ้าง "พรหมภูต" บ้าง นี้ เป็นคําสําหรับเรียกแทนชื่อตถาคต แล.

(อีกสูตรหนึ่ง๒) 
ภิกษุ ท.! คําว่า "สมณะ" เป็นคําแทนชื่อของตถาคตฯ 
ภิกษุ ท.! คําว่า "พราหมณ์" เป็นคําแทนชื่อของตถาคตฯ 
ภิกษุ ท.! คําว่า "เวทคู"๓ เป็นคําแทนชื่อของตถาคตฯ 
ภิกษุ ท.! คําว่า "ภิสักโก"๔ เป็นคําแทนชื่อของตถาคตฯ
ภิกษุ ท.! คําว่า "นิมมโล" เป็นคําแทนชื่อของตถาคตฯ 
ภิกษุ ท.! คําว่า "วิมโล" เป็นคําแทนชื่อของตถาคตฯ 
ภิกษุ ท.! คําว่า "ญาณี" เป็นคําแทนชื่อของตถาคตฯ 
ภิกษุ ท.! คําว่า "วิมุตโต" เป็นคําแทนชื่อของตถาคตฯ


202-203
ทรงปฏิญญาเป็นอภิสัมพุทธะ เมื่อทรงคล่องแคล่ว ใน อนุปพุพวิหารสมาบัติ

          อานนท์ ! ตลอดกาลเพียงใด ที่เรายังไม่อาจเข้าออกอย่างคล่องแคล่ว ซึ่งอนุปุพวิหารสมาบัติ เก้า๒ทั้งโดยอนุโลมและปฏิโลมแล้ว ตลอดกาลเพียงนั้น  เรายังไม่ปฏิญญาว่าได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณ พราหมณ์ เทวดา  และมนุษย์. 

           อานนท์ ! ก็แต่ว่าในกาลใดแล เราได้เข้า ได้ออก อย่างคล่องแคล่ว ซึ่ง อนุปุพพวิหาร สมาบัติ เก้า ทั้งโดยอนุโลมและปฏิโลมแล้ว ในกาลนั้นเรา จึงปฏิญญา ว่า เป็นผู้ได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่ง อนุตตร สัมมาสัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดา และมนุษย์.

           อนึ่งป๎ญญาเครื่องรู้และป๎ญญาเครื่องเห็น ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า "ความ หลุดพ้นแห่งใจของเรา ไม่กลับกําเริบ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ มิได้มีอีก ต่อไป" ดังนี้. 


203
ทรงปฏิญญาเป็นอภิสัมพุทธะ เมื่อทรงทราบ ป๎ญจุปาทานขนัธ์โดยปริวัฏฏ์สี่

          ภิกษุ ท.!  อุปาทานขันธ์ ท. มีอยู่ ๕ อย่างเหล่านี้. ห้าอย่างคืออะไรเล่า? ห้าอย่างคือ อุปาทานขันธ์คือรูป อุปาทานขันธ์คือเวทนา อุปาทานขันธ์คือสัญญา อุปาทานขันธ์คือสังขาร อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ. 

           ภิกษุ ท.! ตลอดกาลเพียงใด ที่เรายังไม่รู้พร้อมเฉพาะซึ่งอุปาทานขันธ์ทั้ง ห้าเหล่านี้ โดยปริวัฏฏ์สี่ ตามที่เป็นจริง ตลอดกาลเพียงนั้น เรายังไม่ปฏิญญาว่า เป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งอนุตตรสัมมา สัมโพธิญาณ ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้ง สมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดา และมนุษย์. 

           ภิกษุ ท.! เมื่อใดแล เรารู้พร้อมเฉพาะแล้ว ซึ่งอุปาทานขันธ์ทั้งห้าเหล่านี้ โดยปริวัฏฏ์สี่ตามที่ เป็นจริง เมื่อนั้น เราก็ปฏิญญาว่าเป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลก พร้อม ทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์. 

           ภิกษุ ท.! โดยปริวัฎฎ์สี่นั้น เป็นอย่างไรเล่า? คือเราได้รู้พร้อมเฉพาะแล้ว ซึ่ง รูป ซึ่งความ เกิด แห่งรูป ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งรูป ซึ่งปฏิปทาให้ถึงความดับ ไม่เหลือแห่งรูป. 
          (ในกรณีแห่ง เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณ ก็ตรัสไว้โดย หลักเกณฑ์อย่างเดียวกัน กับในกรณีแห่งรูป)


204-205
ทรงปฏิญญาเป็นอภิสัมพุทธะ เมื่อทรงทราบอริยสัจจ์
หมดจดสิ้นเชิง


          ภิกษุ ท.! ตลอดกาลเพียงไร ที่ญาณทัสสนะ (เครื่องรู้เห็น) ตามเป็นจริง ของเรา อันมีปริวัฎฎ์ สาม มีอาการสิบสอง ในอริยสัจจ์ทั้งสี่ ยังไม่เป็นญาณทัสสนะ ที่บริสุทธิ์สะอาดด้วยดี  ตลอดกาล เพียงนั้น เรายังไม่ปฏิญญาว่าเป็นผู้ตรัสรู้พร้อม เฉพาะแล้ว ซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลกกับทั้ง เทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์. 

           ภิกษุ ท.! เมื่อใด ญาณทัสสนะตามเป็นจริงของเรา อันมีปริวัฏฏ์สามมี อาการสิบสอง ในอริยสัจจ์ ทั้งสี่ เป็นญาณทัสสนะที่บริสุทธิ์สะอาดด้วยดี เมื่อนั้น เราก็ปฏิญญาว่าเป็นผู้ตรัสรู้พร้อม เฉพาะแล้วซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก กับทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์ พร้อมทั้ง สมณพราหมณ์ พร้อมทั้ง เทวดาและมนุษย์. 

           (ในบาลีแห่งอื่น ยังมีการกล่าวถึงการปฏิญญาว่าเป็นอภิสัมพุทธะ เมื่อทรง ทราบ อินทรีย์ ๕ แต่ละอย่าง โดยฐานะ ๕ คือ โดยความเกิด โดยความตั้งอยู่ไม่ได้ โดยรสอร่อยโดยโทษ โดยอุบาย เครื่องออก.
           อีกแห่งหนึ่ง ตรัสว่า เมื่อทรงทราบ โลก โดยฐานะ ๓ คือ โดยรสอร่อย ของโลกโดยโทษอันต่ํา ทราม ของโลก และโดยอุบายเครื่องออกไปจากโลก.
           อีกแห่งหนึ่ง ตรัสว่า เมื่อทรงทราบ ป๎ญจุปาทานขันธ์ แต่ละอย่าง โดยฐานะ ๓ คือ โดยรสอร่อย โดยโทษอันต่ําทราม และโดยอุบายเครื่องออกไป. 
           อีกแห่งหนึ่ง ตรัสว่า เมื่อทรงทราบ ธาตุ ๔ แต่ละอย่าง โดยฐานะ ๓ คือ โดย รสอร่อย โดยโทษอันต่ําทราม และโดยอุบายเครื่องออกไป.
           อีกแห่งหนึ่ง ตรัสว่า เมื่อทรงทราบ อายตนะภายใน ๖ แต่ละอย่าง โดยฐานะ ๓ คือ โดยรสอร่อย โดยโทษอันต่ําทราม และโดยอุบายเครื่องออกไป.
           อีกแห่งหนึ่ง ตรัสว่า เมื่อทรงทราบ อายตนะภายนอก ๖ แต่ละอย่าง โดยฐานะ ๓ เช่นเดียวกับอายตนะภายใน ๖.
           อีกแห่งหนึ่ง ตรัสว่า เมื่อทรงทราบว่า มีญาณทัสสนะที่เป็นไปทับซึ่งเทวดา มีปริวัฏฏ์ ๘.
           อีกแห่งหนึ่ง ตรัสว่า เมื่อทรงทราบ อินทรีย์ (อายตนะภายใน) ๖ แต่ละอย่าง โดย ฐานะ ๕ คือ โดยการเกิด - ความตั้งอยู่ไม่ได้ - รสอร่อย -โทษอันต่ําทราม -อุบายเครื่องออก.
           อีกแห่งหนึ่ง ตรัสว่า เมื่อทรงทราบ การพ้นจากเมถุนสัญโญค.
 

205-206
เหตุที่ทำให้ได้พระนามว่า "อรหันตสัมมาสัมพุทธะ

          ภิกษุ ท.! ความจริงอันประเสริฐ ๔ อย่าง เหล่านี้ มีอยู่ สี่อย่างเหล่าไหน เล่า ? สี่อย่างคือ ความจริงอันประเสริฐ คือทุกข์ ความจริงอันประเสริฐ คือเหตุ ให้เกิดทุกข์ ความจริงอันประเสริฐคือ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ความจริงอัน ประเสริฐ คือทางดําเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ นี้แล ความจริงอัน ประเสริฐ ๔ อย่าง. 

           ภิกษุ ท.! เพราะได้ตรัสรู้ตามความเป็นจริง ซึ่งความจริงอันประเสริฐ ๔ อย่างเหล่านี้แลตถาคต จึงมีนาม ว่า "อรหันตสัมมาสัมพุทธะ" ดังนี้. 

           ภิกษุ ท.! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอ ท. พึงกระทําความเพียรเพื่อให้ รู้ว่า "นี้ทุกข์ นี้ เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ นี้ทางดําเนินให้ถึง ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์" ดังนี้แล.

 
206-207
เหตุที่ทำให้ได้พระนามว่า "อรหันตสัมมาสัมพุทธะ"
(อีกนัยหนึ่ง)


          ภิกษุ ท.! ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ หลุดพ้นแล้วจาก รูป เพราะ ความเบื่อหน่าย ความ คลายกําหนัด ความดับ และความไม่ยึดมั่น จึงได้นามว่า" สัมมาสัมพุทธะ". ภิกษุ ท.! แม้ภิกษุผู้ป๎ญญา วิมุตต์ ก็หลุดพ้นแล้วจากรูปเพราะ ความเบื่อหน่าย ความคลายกําหนัด ความดับ และความไม่ยึดมั่น จึงได้นามว่า" ป๎ญญาวิมุตติ".
          (ในกรณีแห่ง เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณ ก็ได้ตรัสไว้ มีข้อความแสดง หลักเกณฑ์อย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งรูปที่กล่าวแล้ว).

           ภิกษุ ท.! ในกรณีนั้น อะไรเป็นความผิดแผกแตกต่างกัน อะไรเป็นความมุ่ง หมายที่แตกต่างกัน อะไรเป็นเครื่องกระทําให้แตกต่างกัน ระหว่างตถาคต ผู้อรหันต สัมมาสัมพุทธะ กับภิกษุผู้ป๎ญญาวิมุตติ  ภิกษุ ท.! ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ ได้ทํามรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ได้ทํามรรคที่ยัง ไม่มีใครรู้ให้มีคนรู้ ได้ทํามรรคที่ยัง ไม่มีใครกล่าวให้เป็นมรรค ที่กล่าว กันแล้ว

           ตถาคต เป็น มัคคัญัญู (รู้มรรค) เป็น มัคควิทู (รู้แจ้งมรรค) เป็น มัคคโกวิโท (ฉลาดในมรรค) ภิกษุ ท.! ส่วนสาวก ท. ในกาลนี้ เป็นมัคคานุคา (ผู้เดินตามมรรค) เป็นผู้ ตามมาในภายหลัง. 

           ภิกษุ ท.! นี้แล เป็นความผิดแผกแตกต่างกัน เป็นความมุ่งหมายที่แตกต่าง กัน เป็นเครื่อง กระทําให้แตกต่างกัน ระหว่าง ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ กับ ภิกษุผู้ป๎ญญาวิมุตติ
 

207-208
เหตุที่ทำให้ได้พระนามว่า "อรหันตสัมมาสัมพุทธะ"
(อีกนัยหนี่ง)


          ภิกษุ ท.! อิทธิบาท ท. ๔ ประการเหล่านี้ มีอยู่.
          สี่ประการคืออะไรเล่า? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้คือ ภิกษุ
ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบพร้อมด้วยธรรมเครื่องปรุงแต่ง มีสมาธิอาศัย ฉันทะ เป็นปธานกิจ ๑

ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบพร้อมด้วยธรรมเครื่องปรุงแต่ง มีสมาธิอาศัย วิริยะ เป็นปธานกิจ ๑

ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบพร้อมด้วยธรรมเครื่องปรุงแต่ง มีสมาธิอาศัย จิตตะ เป็นปธานกิจ ๑

ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบพร้อมด้วยธรรม เครื่องปรุงแต่งมีสมาธิอาศัย วิมังสาเป็นปธานกิจ ๑
(กิจในที่นี้คือ กิจเกี่ยวกับ การระวัง การละ การทําให้เกิดมี และการรักษา)
           ภิกษุ ท.! เหล่านี้แล ชื่อว่าอิทธิบาท ท. ๔ ประการ. 
          ภิกษุ ท.! เพราะเหตุที่ได้เจริญกระทําให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ท. ๔ประการ เหล่านี้แล ตถาคต จึงได้ นามว่า "อรหันตสัมมาสัมพุทธะ" ดังนี้. 

           ภิกษุ ท.! จักษุ ญาณ ป๎ญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมที่ไม่เคยฟ๎ง มาแต่ก่อน ว่า "นี้คือ อิทธิบาท อันประกอบพร้อมด้วยธรรม เครื่องปรุงแต่ง มีสมาธิอาศัย ฉันทะ เป็นปธานกิจ"

           ภิกษุ ท.! จักษุ ณาณ ป๎ญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรม ที่ไม่เคยฟ๎งมาแต่ ก่อน ว่า "ก็ อิทธิบาท อันประกอบพร้อมด้วยธรรม เครื่องปรุงแต่ง มีสมาธิอาศัย ฉันทะ เป็นปธานกิจ นี้เป็นธรรมที่ ควรทําให้เกิดมี" ภิกษุ ท.! จักษุ ญาณ ป๎ญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมที่ไม่เคยฟ๎งมาแต่ก่อน ว่า"ก็อิทธิบาท อันประกอบพร้อมด้วยธรรมเครื่องปรุงแต่ง มีสมาธิอาศัย ฉันทะ เป็น ปธานกิจ นี้ เราทําให้เกิดมีได้แล้ว". 
(ในกรณีแห่ง วิริยะอิทธิบาท จิตตะอิทธิบาท วิมังสาอิทธิบาท ก็ตรัสไว้ด้วยระเบียบ แห่งถ้อยคํา อย่างเดียวกัน).


208-209
เหตุที่ทำให้ได้พระนามว่า "อนุตตรปุริสทัมมสารถิ"


          ภิกษุ ท.! คําที่เรากล่าวแล้วว่า "ตถาคตนั้น เป็นผู้อันบุคคลกล่าวว่าเป็น สารถีฝึกบุรุษ ไม่มีผู้อื่น ยิ่งกว่า ในบรรดาอาจารย์ผู้ฝึก ท." ดังนี้นั้น คํานั้นเรากล่าว แล้วเพราะอาศัยอะไรเล่า? 

           ภิกษุ ท.! ช้าง ที่ควรฝึก อันควาญช้างฝึกจนรู้บทแห่งการฝึกแล้ว ก็แล่นไป ได้สู่ทิศทางเดียว เท่านั้น คือทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ หรือทิศใต้.  

           ภิกษุ ท.! ม้า ที่ควรฝึก อันควาญม้าฝึกจนรู้บทแห่งการฝึกแล้ว ก็แล่นไปได้สู่ ทิศทาง เดียว เท่านั้น คือทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ หรือทิศใต้.

           ภิกษุ ท.! โค ที่ควรฝึก อันผู้ฝึกโคจนรู้บทแห่งการฝึกแล้ว ก็แล่นไปได้สู่ทิศ ทางเดียวเท่านั้น คือ ทิศตะวันออกทิศตะวันตก ทิศเหนือ หรือทิศใต้. 

           ภิกษุ ท.! ส่วน บุรุษที่ควรฝึก อันตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธฝึกจนรู้ บทแห่งการฝึกแล้ว ก็แล่นไปได้สู่ทิศทั้งแปด
- เป็นผู้มีรูป ย่อมเห็นรูป ท. นี้คือทิศที่ ๑
- เป็นผู้มีสัญญาในอรูปในภายใน ย่อมเห็นซึ่งรูป ท. ในภายนอก นี้เป็นทิศที่ ๒
- เป็นผู้น้อมไปแล้วด้วยความรู้สึกว่า"งาม" เท่านั้น นี้เป็นทิศที่ ๓

เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งรูปสัญญา เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ ใจ นานัตตสัญญา โดยประการทั้งปวง เป็นผู้เข้าถึงซึ่ง อากาสานัญจายตนะ อันมีการทําในใจว่า "อนันโต อากาโส" ดังนี้ แล้วแลอยู่ นี้เป็นทิศที่ ๔

เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่ง อากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง เป็นผู้เข้าถึงซึ่ง วิญญาณัญจายตนะ อันมีการทําในใจว่า "อนันตัง วิญญาณัง" ดังนี้ แล้วแลอยู่ นี้เป็นทิศที่ ๕

- เพราะก้าวล่วงเสียได้ ซึ่งวิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง เป็นผู้เข้าถึงซึ่ง อากิญจัญญายตนะ อันมีการทําในใจว่า "นัตถิ กิญจิ" ดังนี้ แล้วแลอยู่ นี้เป็นทิศที่ ๖

- เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งอากิญจัญญายตนะ โดยประการทั้งปวงเป็นผู้เข้าถึงซึ่ง เนวสัญญานา สัญญายตนะ แล้วแลอยู่ นี้เป็นทิศที่ ๗

- เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่ง เนวสัญญานาสัญญายตนะ โดยประการทั้งปวง เป็นผู้เข้า ถึง ซึ่ง สัญญาเวทยิต นิโรธแล้วแลอยู่ นี้เป็นทิศที่ ๘

          ภิกษุ ท.! บุรุษที่ควรฝึกอันตถาคต ผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ ฝึกจนรู้บท แห่งการฝึกแล้ว ก็แล่นไปได้สู่ทิศทั้ง ๘ เหล่านี้. 

           ภิกษุ ท.! คําที่เรากล่าวแล้วว่า "ตถาคตนั้น เป็นผู้อันบุคคลกล่าวว่าเป็นสารถี ฝึกบุรุษ ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า ในบรรดาอาจารย์ผู้ฝึก ท." ดังนี้นั้น คํานั้นเรากล่าวแล้ว เพราะ อาศัยความข้อนี้ ดังนี้แล.


209-210
เหตุที่ทำให้ได้พระนามว่า "โยคักเขมี"

          ภิกษุ ท.! เราจักแสดง ธรรมปริยาย ชื่อว่า โยคักเขมีปริยาย แก่เธอ ท.พวก เธอ ท. จงฟ๎ง. ภิกษุ ท.! ก็ ธรรมปริยาย ชื่อว่าโยคักเขมีปริยาย เป็นอย่างไร เล่า?
           ภิกษุ ท.! รูป ท. ที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีรูปน่ารัก เป็นที่ตั้งอยู่ แห่งความใคร่เป็น ที่ตั้งแห่งความกําหนัด มีอยู่ รูป ท. เหล่านั้นอัน ตถาคต ละหมดแล้ว มีมูลรากอันถอนขึ้นได้แล้วกระทําให้เหมือนต้นตาลไม่มีวัตถุ สําหรับงอก กระทําให้ถึงความไม่มีไม่เป็น เป็นสิ่งที่ไม่อาจจะเกิดขึ้น อีกต่อไปเป็น ธรรมดา  และตถาคตได้กล่าวบอก โยคกรรม เพื่อละเสียซึ่งรูป ท. เหล่านั้นด้วย เพราะเหตุนั้น ตถาคต จึงได้นามว่า "โยคักเขมี" (ผู้กระทําความเกษมทั้งแก่ตนและ ผู้อื่น) ดังนี้. 
          (ในกรณีแห่ง เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และ ธรรมารมณ์ ท. ก็ทรงแสดง ไว้ ด้วย ถ้อยคําอันมี หลักเกณฑ์อย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งรูปที่กล่าวแล้ว)  ภิกษุ ท.! นี้แล ธรรมปริยาย อันชื่อว่าโยคักเขมี ปริยาย ดังนี้แล.


210 -211
ทรงเป็นศาสดาประเภทตรัสรู้เอง

          "พระโคดมผู้เจริญ ! มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ๆ ผู้ถึงที่สุดแห่งบารมีเพื่อ บรรลุอภิญญาในธรรม อันตนเห็นแล้ว(ตามแบบของตนๆ) แล้วบัญญัติหลักลัทธิ พรหมจรรย์อย่างหนึ่งๆ. 

          พระโคดมผู้เจริญ!ในบรรดาสมณพราหมณ์ผู้บัญญัติ หลักลัทธิพรหมจรรย์ อย่างหนึ่ง ๆ เหล่านั้น

          พระโคดมผู้เจริญ ! พระองค์เป็นพวก ไหน?" ภารทวาชะ ! เรากล่าว มาตรฐานที่ต่างกัน ในบรรดาสมณพราหมณ์ผู้ถึง ที่สุดแห่งบารมีเพื่อบรรลุอภิญญา ในะธรรมอันตนเห็นแล้ว (ตามแบบของตนๆ) เหล่านั้น 

          ภารทวาชะ! สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ถึงที่สุดแห่งบารมีเพื่อบรรลุอภิญญา ในธรรมอันตน เห็นแล้ว (ตามแบบของตนๆ) เขาเป็นพวกมีหลักลัทธิที่ฟ๎งตามๆกันมา (อนุสฺสวิกา) โดยการฟ๎งตามๆ กันมานั้น เขาได้บัญญัติหลักลัทธิพรหมจรรย์ ขึ้นมา ดังเช่นพวกพราหมณ์ไตรเพท (พฺราหฺมณา เตวิชฺชา) นี้มีอยู่พวกหนึ่ง. 

          ภารทวาชะ ! สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ถึงที่สุดแห่งบารมีเพื่อบรรลุอภิญญา ในธรรมอันตน เห็นแล้ว (ตามแบบของตนๆ) เพราะอาศัยสัทธาอย่างเดียว เป็น มาตรฐาน (เกวลํ สทฺธามตฺตกา) เขาได้บัญญัติ หลักลัทธิพรหมจรรย์ขึ้นมาดังเช่น พวกนักตรึกตรอง (ตกฺกี วีมํสี) นี้ก็มีอยู่พวกหนึ่ง. 

          ภารทวาชะ ! สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ซึ่งก็ถึงที่สุดแห่งบารมีเพื่อบรรลุ อภิญญาในธรรมอันตน เห็นแล้ว (ตามแบบของตนๆ) ได้บัญญัติหลักลัทธิ พรหมจรรย์ ขึ้นมา ด้วยป๎ญญาเป็นเครื่องรู้ยิ่ง (อภิญญา) ซึ่งธรรมด้วยตนเองโดย แท้ ในธรรม ท. ที่ไม่เคยฟ๎งมาแต่ก่อน นี้ก็มีอยู่พวกหนึ่ง.

          ภารทวาชะ ! ท่านพึง ทราบโดยปริยายแม้นี้ว่า เราเป็นผู้หนึ่ง ในบรรดาสมณ พราหมณ์พวกนั้น.


211-212
ไม่ทรงเป็นสัพพัญญูทุกอิริยาบถ

          วัจฉะ ! พวกชนเหล่าใด ที่กล่าวว่า "พระสมณโคดม เป็นผู้สัพพัญัญูรู้สิ่ง ทั้งปวง อยู่เสมอเป็น ธรรมดา เป็นผู้สัพพทัสสาวี เห็นสิ่งทั้งปวงอยู่เสมอเป็นธรรมดา และปฏิญญาความรู้ความเห็น ทั่วทุก กาลไม่มีส่วน เหลือว่า เมื่อเราเที่ยวไปๆ ก็ดี หยุดอยู่ก็ดี หลับอยู่ก็ดี ตื่นอยู่ก็ดี ความรู้ ความเห็นนั้น ย่อมปรากฏแก่เรา ติดต่อ เนื่องกันอยู่เสมอ" ดังนี้ ชนพวกนั้นไม่ได้กล่าวตรงตามที่เรากล่าว แต่เขากล่าวตู่ เราด้วยคําอันไม่มีจริง ไม่เป็นจริง.
 
           วัจฉะ ! ต่อเราต้องการจะน้อมจิตไปเฉพาะเพื่อ บุพเพนิวาสานุสสติญาณ เราจึงตามระลึก ถึงขันธ์ที่เคยอยู่อาศัยในภพก่อน ....ฯลฯ... ต่อเราต้องการจะน้อม จิตไปเฉพาะเพื่อ ทิพพจักขุญาณ เราจึงน้อมจิตไปเพื่อทิพพจักขุญาณ ...ฯลฯ... เราทําให้แจ้ง เจโตวิมุตติ ป๎ญญาวิมุตติ ฯลฯ แล้วแลอยู่. 

           วัจฉะ ! เมื่อผู้ใดกล่าวให้ชัดว่า "พระสมณโคดม มีวิชชาสาม" ดังนี้ จึงจะ ชื่อว่า ไม่กล่าวตู่เรา ด้วยคําไม่จริง เป็นการกล่าวถูกต้องตามธรรม และผู้ที่กล่าว ตามเขาต่อๆ ไป ก็จะไม่ตกไป ในฐานะ อันใครจะพึงติเตียนได้.


212-214
ทรงยืนยันความเป็นมหาบุรุษ

          วัสสการพราหมณ์ ได้เข้าเฝูาพระผู้มีพระภาคเจ้าทูลว่า   "พระโคดมผู้เจริญ ! พวกข้าพเจ้าย่อม บัญญัติบุคคลที่มีธรรม ๔ ประการ ว่าเป็นมหาบุรุษ มหาปราชญ์. ธรรม ๔ ประการเหล่าไหนเล่า? 

          "พระโคดมผู้เจริญ ! คือคนในโลกนี้ เป็นพหุสูต มีเรื่องที่ควรสดับอันตนได้ สดับแล้วมาก เป็นคนรู้ เนื้อความแห่งข้อความที่มีผู้กล่าวแล้วนั้น ๆ ว่านี้เป็น ความหมายแห่งภาษิตนี้ เป็นคนมีสติระลึก สืบสาว การที่ทําคําที่พูดแล้วแม้นานได้ และเป็นคนฉลาดในกิจการของคฤหัสถ์ ที่ต้องจัดต้องทํา ขยันไม่เกียจคร้าน ในกิจการเหล่านั้น มีป๎ญญาพิจารณาสอบสวนอันเป็นอุบายวิธี ที่จะให้กิจการนั้นสําเร็จ ได้ด้วยดี สามารถทําเอง และสามารถที่จะ จัดให้ผู้อื่นทํา ในกิจการเหล่านั้น

          พระโคดมผู้เจริญ! พวกข้าพเจ้า บัญญัติบุคคลผู้มี ธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล ว่าเป็นมหาบุรุษ มหาปราชญ์. ถ้าคําของ ข้าพเจ้า ควรอนุโมทนา ก็ขอจงอนุโมทนา ถ้าควรคัดค้าน ก็ขอจงคัดค้านเถิด". 


พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสตอบว่า

          พราหมณ์ ! เราไม่อนุโมทนาของท่าน เราไม่คัดค้านของท่าน. เราเอง ก็บัญญัติ บุคคลที่มีธรรม ๔ ประการ ว่าเป็นมหาบุรุษ มหาปราชญ์. ธรรม ๔ ประการเหล่าไหนเล่า? 

           พราหมณ์ ! คือคนในโลกนี้ เป็นผู้ปฏิบัติเกื้อกูลแก่มหาชน เพื่อความสุขของ มหาชน ยังประชุมชน เป็นอันมากให้ประดิษฐานอยู่ในอริยญายธรรม คือความเป็นผู้มี ธรรมงาม มีธรรมเป็น กุศล. อนึ่งเขาเป็นผู้ จํานง จะตรึกเรื่องใด ก็ตรึกเรื่องนั้นได้ ไม่จํานงจะตรึก เรื่องใด ก็ไม่ตรึกเรื่องนั้นได้ จํานงจะดําริเรื่องใด ก็ดําริเรื่องนั้นได้ ไม่จํานงจะ ดําริเรื่องใด ก็ไม่ดําริเรื่องนั้นได้ เพราะเขาเป็นผู้มี อํานาจเหนือจิต ในคลองแห่ง ความตรึกทั้งหลาย. 

           อนึ่ง เขาเป็นผู้ได้ตามต้องการได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลําบากซึ่งฌาน ทั้ง ๔ อันเป็นธรรม เครื่อง อยู่เป็นสุขในภพป๎จจุบันนี้ อันเป็นธรรมเป็นไปในทาง จิตขั้นสูง.
 
           อนึ่ง เขานั้นย่อมกระทําให้แจ้งได้ ซึ่งเจโตวิมุตติ ป๎ญญาวิมุตติ อันไม่มี อาสวะเพราะสิ้นอาสวะ แล้ว ด้วยป๎ญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงแล้วและอยู่ในวิหาร ธรรมนั้น ในภพอันเป็นป๎จจุบันนี้. 

           พราหมณ์ ! เราไม่อนุโมทนาของท่าน เราไม่คัดค้านของท่าน แต่เราบัญญัติ บุคคลที่มีธรรม ๔ ประการนี้แล ว่าเป็นมหาบุรุษ มหาปราชญ์.

           วัสสการพราหมณ์ ได้อนุโมทนาสรรเสริญคําของ พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นอันมากในที่สุด พระผู้มี พระภาคเจ้าได้ตรัสคํานี้ว่า

          พราหมณ์ ! ท่านกล่าวคําพาดพิงถึงเรา. เอาเถิดเราจะพูดให้แจ้งชัดทีเดียว ว่า เราแลเป็นผู้ ปฏิบัติ เกื้อกูลแก่มหาชน เพื่อความสุขของมหาชนยังประชุมชนให้ ตั้งอยู่ในอริยญายธรรม กล่าวคือ ความ เป็นผู้มี ธรรมงาม เป็นผู้มีธรรมเป็นกุศล.  เราแล เป็นผู้จํานงจะตรึกในเรื่องใด ก็ตรึกในเรื่องนั้นได้ ไม่จํานงจะตรึก ในเรื่องใด ก็ไม่ตรึกในเรื่องนั้นได้ จํานงจะดําริในเรื่องใดก็ดําริในเรื่องนั้นได้ ไม่จํานงจะ ดําริ ในเรื่องใด ก็ไม่ดําริในเรื่องนั้นได้ เพราะเราเป็นผู้มีอํานาจเหนือจิต ในคลองแห่ง ความตรึก ทั้งหลาย.

เราแลเป็นผู้ได้ตามต้องการได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลําบาก ซ่ึงฌานทั้ง ๔ อันเป็น ธรรม เครื่องอยู่ เป็นสุขในภพเป็นป๎จจุบันนี้ อันเป็นธรรม เป็นไปในทางจิตขั้นสูง. เราแล เป็นผู้ทําให้แจ้งได้ซึ่ง เจโตวิมุตติ ป๎ญญาวิมุตติอันไม่มี อาสวะ เพราะสิ้น อาสวะแล้ว ด้วยป๎ญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงแล้วและอยู่ใน วิหารธรรมนั้น ในภพอันเป็น ป๎จจุบันนี้ ดังนี้.



214
ทรงอยู่ในฐานะที่ใครๆ ยอมรับว่าเลิศกว่าสรรพสัตว์

          ภิกษุ ท.! สัตว์ ท. ที่ไม่มีเท้า หรือมี ๒ เท้าก็ดี มี ๔ เท้า หรือมีเท้ามากก็ดี  มีรูป หรือไม่มีรูปก็ดี มีสัญญา หรือไม่มีสัญญาก็ดี มีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ ก็ดี มีประมาณเท่าใด ตถาคต ผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะอันใครๆ ย่อมกล่าวว่า เป็นผู้เลิศกว่าสัตว์ ท. เหล่านั้น.

           ภิกษุ ท.! ชนเหล่าใด เลื่อมใสแล้ว ในพระพุทธเจ้า ชนเหล่านั้นชื่อว่าเป็น  ผู้เลื่อมใสในบุคคล เลิศ.  เมื่อเลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ วิบากก็เป็นวิบากเลิศ แล.


215
ไม่มีใครเปรียบเสมอ

          ภิกษุ ท.! บุคคลเอก เมื่อเกิดขึ้นมาในโลก ย่อมเกิดขึ้น เป็นผู้ซึ่งไม่มีใคร ซ้ําสอง ไม่มีใครร่วมเป็น สหายด้วยได้ ไม่มีคู่เปรียบ ไม่มีผู้เท่าทัน ไม่มีผู้คล้ายด้วย ไม่มีคนเทียบได้ ไม่มีผู้เสมอ ไม่มีใครที่จะ เปรียบ ให้เหมือนได้และเป็นผู้เลิศกว่า บรรดาสัตว์ ๒ เท้าทั้งหลายแล. ใครกันเล่าเป็น บุคคลเอก? ตถาคต ผู้เป็น อรหันต์ ตรัสรู้ชอบเอง นี้แลเป็นบุคคลเอก. 

           ภิกษุ ท.! นี่แล บุคคลเอก ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นมาในโลก ย่อมเกิดขึ้นเป็นผู้ซึ่งไม่มี ใครซ้ําสอง ไม่มีใคร ร่วมเป็นสหายด้วยได้ ไม่มีคู่เปรียบ ไม่มีผู้เท่าทันไม่มีผู้คล้ายด้วย ไม่มีคนเทียบได้ ไม่มีผู้เสมอ ไม่มีใครที่จะ เปรียบให้เหมือนได้และเป็นผู้เลิศกว่า บรรดาสัตว์ ๒ เท้าทั้งหลายแล.


215
ไม่ทรงอภิวาทผู้ใด


          พราหมณ์ ! ในโลกนี้ กับทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อม ทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้ง เทวดาแลมนุษย์ เราไม่มองเห็นใครที่เรา พึงอภิวาท พึงลุกขึ้น ยืนรับ พึงต้อนรับด้วยตั้งอาสนะ ให้ เพราะว่า ตถาคตอภิวาท ลุกรับ ตั้งอาสนะให้ผู้ใด ศีรษะของผู้นั้นจะพึงแตกกระจายออก 


216
ทรงเป็นธรรมราชา

          เสละ ! เราเป็นธรรมราชา ไม่มีราชาอื่นยิ่งไปกว่า. เราหมุนจักรโดยธรรม ให้เป็นไป. เป็นจักรซึ่ง ใครๆ จะต้านทางให้หมุนกลับมิได้เลย. 
          "ข้าแต่พระโคดม ! พระองค์ทรงปฏิญญาว่าเป็นสัมพุทธะ เป็นธรรมราชาที่ ไม่มีราชาอื่นยิ่งกว่า และหมุนจักรโดยธรรมให้เป็นไป.  แล้วก็ไหนเล่า เสนาบดีของ พระองค์ ในบรรดาสาวกของพระองค์นั้น ใครเล่าสามารถหมุนจักรที่พระองค์ให้ เป็นไปแล้ว ให้เป็นไปตามได้?"
          สละ ! จักรที่เราให้เป็นไปแล้ว เป็นธรรมจักรไม่มีจักรอื่นยิ่งไปกว่า.
          สารีบุตร เป็นผู้เกิดตามตถาคต ย่อมหมุนจักรนั้นให้เป็นไปตามเราได้.
          เสละ ! สิ่งควรรู้ เราก็รู้แล้วด้วยป๎ญญาอันยิ่ง.
          สิ่งควรทําให้เกิดมี เราก็ได้ทําให้เกิดมีแล้ว.
          สิ่งควรละ เราก็ละเสร็จแล้ว.
          เพราะเหตุนั้นแหละพราหมณ์ เราจึงเป็นสัมพุทธะ.


216-217
ทรงเป็นธรรมราชาที่เคารพธรรม

          ดูก่อนภิกษุ ! จักรพรรดิราชผู้ประกอบในธรรม เป็นธรรมราชา อาศัยธรรม อย่างเดียวสักการะธรรม เคารพธรรม นอบน้อมธรรม มีธรรมเป็นธงชัยมีธรรม เป็นยอด มีธรรมเป็นอธิบดี ย่อมจัดการอารักขา ป้องกัน และคุ้มครองโดยชอบ ธรรม ในหมู่ชน ในราชสํานัก ในกษัตริย์ที่เป็นเมืองออก ในหมู่พลใน พราหมณ์และ คฤหบดี ในราษฎร ชาวนิคม และชนบท ในสมณะและพราหมณ์และในเนื้อและ นก ทั้งหลาย ชื่อว่าเป็นผู้ ยังจักรให้เป็นไปโดยธรรม และเป็นจักรที่มนุษย์ใดๆ ผู้เป็นข้าศึกไม่อาจให้ หมุนกลับ ได้ด้วยมือ นี้ฉันใด

          ดูก่อนภิกษุ ! ตถาคตก็ฉันนั้นเหมือนกัน: ตถาคตเป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะ เป็นธรรมราชา ผู้ประกอบ ด้วยธรรม อาศัยธรรมอย่างเดียว สักการะธรรม เคารพ ธรรม นอบน้อมธรรม มีธรรมเป็นธงชัย มีธรรมเป็นยอดมีธรรมเป็นอธิบดี ย่อมจัดการอารักขา ปูองกัน และคุ้มครอง โดยธรรม ในกายกรรม วจีกรรม และ มโนกรรม ว่า อย่างนี้ๆ ควรเสพ อย่างนี้ๆ ไม่ควรเสพดังนี้ ได้ยังธรรมจักรอันไม่มี จักรอื่น ยิ่งไปกว่า ให้เป็นไป โดยธรรมนั่นเทียว

           และเป็นจักรที่สมณะหรือพราหมณ์ เทพ มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก ไม่อาจต้านให้หมุน กลับ ได้ ฉะนั้น.
          เมื่อได้ประมวลข้อความ อันเป็นเรื่องแวดล้อมภาวะของการตรัสรู้ เป็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ของ พระองค์มา จนหมดจดแล้ว เราได้เริ่มเนื้อความที่เป็น ท้องเรื่อง ติดต่อเป็นลําดับกัน สืบไปอีก ดังนี้


217-218
ทรงคิดหาที่พึ่งสำหรับพระองค์เอง

          ภิกษุ ท.! เมื่อเราอยู่ที่ตําบลอุรุเวลา ใกล้ฝ๎่งแม่น้ําเนรัญชรา ที่ต้นไทรเป็นที่ พักร้อนของเด็ก เลี้ยงแพะ คราวเมื่อตรัสรู้ใหม่ๆ ภิกษุ ท.! เมื่อเราเร้นอยู่ ณ ที่สงัด เกิดปริวิตกขึ้นในใจว่า "ผู้อยู่ไม่มีที่ เคารพ ไม่มีที่พึ่งพํานักย่อมเป็นทุกข์ เราจะ พึงสักการะเคารพสมณะ หรือพราหมณ์คนไหนหนอ แล้ว แลอยู่?"

           ภิกษุ ท.! ความรู้สึกอันนี้ได้เกิดแก่เราว่า "เรามองไม่เห็น สมณ พราหมณ์ อื่นที่ไหนในโลกนี้และ เทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณ พราหมณ์ เทวดาพร้อมทั้งมนุษย์ ซึ่งสมบูรณ์ ด้วย ศีล ด้วยสมาธิ ด้วยป๎ญญา ด้วยวิมุตติ ยิ่งกว่าเรา ซึ่งเราควรสักการะเคารพ แล้วเข้าไปอาศัยอยู่". 

           ภิกษุ ท.! ความคิดอันนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า "ถ้าไฉน ธรรมอันใดที่เราได้ ตรัสรู้แล้ว. เราพึง สักการะ เคารพธรรมนั้น เข้าไปอาศัยแล้วแลอยู่เถิด".

           สหัมบดีพรหม รู้ความคิดในใจของเรา อันตรธานจากพรหมโลก มาปรากฏอยู่ เฉพาะหน้าเรา ในชั่วเวลาที่คนแข็งแรง เหยียดแขนออก แล้วคู้เข้า เท่านั้น.

           ภิกษุ ท.! สหัมบดีพรหม ทําผ้าห่มเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง จดเข่าข้างขวาที่ พื้นดิน๑  น้อมอัญชลีเข้า มาหาเราแล้วกล่าวกะเราว่า "อย่างนั้นแหละ พระผู้มีพระภาค ! อย่างนั้นแหละ พระสุคต ! ข้าแต่พระองค์! แม้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ล่วง ไปแล้วในอดีต ก็ได้สักการะเคารพธรรมนั่นเอง เข้าไปอาศัยแล้ว แลอยู่ แม้ที่จักมา ตรัสรู้ข้างหน้า ก็จักสักการะเคารพธรรมนั่นเอง จักเข้าไปอาศัยแล้ว แลอยู่. ข้าแต่ พระองค์ ! แม้พระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในบัดนี้ ก็ขอจงสักการะ เคารพธรรมนั่นแหละเข้าไปอาศัย แล้วแลอยู่เถิด"

           สหัมบดีพรหมได้กล่าวคํานี้แล้ว ได้กล่าวคําอื่นอีก (ซึ่งผูกเป็นกาพย์) ว่า

          "พระสัมพุทธเจ้าเหล่าใดในอดีตด้วย พระสัมพุทธเจ้าเหล่าใดในอนาคตด้วย และ พระสัมพุทธเจ้า ผู้ทําความโศกแห่งสัตวโลก  เป็นอันมากให้ฉิบหายไปในกาล บัดนี้ ด้วย พระสัมพุทธเจ้า ทั้งหมดนั้น ล้วนแล้วแต่เคารพพระสัทธรรม แล้วแลอยู่ แล้วอยู่อยู่และจักอยู่

          ข้อนี้เป็นธรรมดาแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล คน  ผู้รักตน หวังอยู่ต่อคุณ อันใหญ่ ระลึกถึงซึ่งพระพุทธศาสนาอยู่ จงเคารพพระสัทธรรมเถิด." ดังนี้. 

           ภิกษุ ท.! สหัมบดีพรหมได้กล่าวคํานี้แล้ว อภิวาทเราแล้วกระทําประทักษิณ หายไปในที่นั้น. ภิกษุ ท.! เราเข้าใจในการเชื้อเชิญของพรหม และ การกระทำที่ สมควร แก่ตน เราได้ตรัสรู้ธรรมใดก็ สักการะเคารพธรรมนั้น เข้าไปอาศัยธรรมนั้น อยู่แล้ว. 

           ภิกษุ ท.! อนึ่ง ในกาลใดแล หมู่สงฆ์ประกอบพร้อมด้วยคุณอันใหญ่ ในกาลนั้น เรามีความ เคารพ แม้ในสงฆ์ ดังนี้.


219-220
ทรงถูกพวกพราหมณ์ตัดพ้อ

          ภิกษุ ท.! เมื่อเราอยู่ที่ตําบลอุรุเวลา ที่ต้นไทรเป็นที่พักร้อนของพวกคน เลี้ยงแพะ (อชปาลนิโครธ) ใกล้ฝ๎่งแม่น้ําเนรัญชรา คราวแรกตรัสรู้ใหม่ๆ. ภิกษุ ท.! พราหมณ์เป็นอันมาก ล้วนแก่ เป็นคนแก่ คนเฒ่า เป็นผู้ใหญ่เกิดนาน ถึงวัยแล้ว เข้าไปหาเราถึงที่ที่เราพักอยู่ ทําความปราศรัยพอคุ้น เคยแล้ว.

           ภิกษุ ท.! พราหมณ์ เหล่านั้นได้กล่าวคํานี้กะเราว่า "พระโคดมผู้เจริญ ! ข้อนี้ข้าพเจ้าได้ฟ๎ง มาแล้ว ว่า"พระสมณโคดม ไม่อภิวาท ไม่ลุกรับ ไม่เชื้อเชิญ ด้วยอาสนะกะพราหมณ์ผู้แก่ ผู้เฒ่าเป็น ผู้ใหญ่ เกิดนาน ถึงวัยแล้ว." ข้อนี้จริง อย่างนั้นหรือพระโคดม? ข้อนี้ไม่ สมควรมิใช่หรือ?" ดังนี้.

           ภิกษุ ท.! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราว่ "พราหมณ์มีอายุพวกนี้ ไม่ รู้จักเถระ (ผู้แก่จริง) หรือธรรมที่ทําคนเราให้เป็นเถระ"

           ภิกษุ ท.! คนเรา แม้เป็นผู้เฒ่ามีอายุ ๘๐ ๙๐ ๑๐๐ ปี โดยกําเนิดก็ดี แต่เขามีคําพูดไม่เหมาะ แก่กาลพูดไม่จริง พูดไม่มีประโยชน์ พูดไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย กล่าววาจาไม่มีที่ตั้ง ไม่มีที่อิง ไม่มีที่สิ้นสุด ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ คนผู้นั้นถึงการนับว่าเป็น "เถระผู้พาล" โดยแท้. 

           ภิกษุ ท.! คนผู้ใดแม้ยังอ่อน ยังหนุ่ม ยังรุ่น มีผมยังดํา ประกอบด้วยวัยกําลัง เจริญอยู่ในปฐมวัย แต่เขาเป็นผู้มีคําพูดเหมาะแก่กาล พูดจริง พูดมี ประโยชน์ พูดเป็น ธรรม เป็นวินัยกล่าววาจามีที่ตั้ง มีหลักฐาน มีที่สิ้นสุด ประกอบด้วยประโยชน์แล้ว คนนั้น ถึงการควรนับว่าเป็น "เถระผู้บัณฑิต"นั้นเทียว.


220 -221
มารทูลให้นิพพาน

          อานนท์ ! ครั้งหนึ่งเมื่อเราอยู่ที่ตําบลอุรุเวลา ใกล้ฝ๎่งแม่น้ําเนรัญชรา ที่ต้นไทร เป็นที่พักร้อน ของ เด็กเลี้ยงแพะ เมื่อได้ตรัสรู้ใหม่ๆ มารผู้มีบาปได้เข้า มาหาเราถึง ที่นั้น ยืนอยู่ในที่ควรแล้วกล่าว กะเราว่า "ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงปรินิพพานเถิด ขอพระสุคตจงปรินิพพานเถิด บัดนี้เป็นเวลาสมควร ปรินิพพาน ของพระผู้มีพระภาค แล้ว". เราได้กล่าวกะมารนั้นว่า "

           ท่านผู้มีบาป ! เราจักไม่ปรินิพพานก่อน ตลอดกาลที่ ภิกษุ ...ภิกษุณี ... อุบาสก ...อุบาสิกาผู้เป็น สาวก (และสาวิกา) ของเรา ยังไม่เป็นผู้ฉลาด

           ยังไม่ได้รับคําแนะนํา ยังไม่แกล้วกล้า ยังไม่เป็นพหุสูต ทรงธรรมปฏิบัติ ธรรมควร แก่ธรรม ปฏิบัติ ถูกต้อง ปฏิบัติตามธรรม ยังต้องเรียนความรู้ของอาจารย์ตน ต่อไปก่อน จึงจักบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผยจําแนกกระทําให้ตื้น ซึ่ง พระสัทธรรม จนข่มขี่ปรัปวาทที่เกิดขึ้น ให้ราบเรียบโดยธรรม แล้ว แสดงธรรม ประกอบด้วยความน่าอัศจรรย์ได้.

           ท่านผู้มีบาป ! และเราจกไม่ปรินิพพานก่อน ตลอดกาลที่พรหมจรรย์ (คือศาสนา) นี้ ยังไม่ตั้งมั่น รุ่งเรืองแผ่ไพศาล เป็นที่รู้จัก แห่งชนมาก เป็นปึกแผ่น แน่นหนา จนกระทั่งเทวดาและมนุษย์ ท. สามารถ ประกาศได้ด้วยดี".

ภาค3(ต่อ)

เริ่มแต่ได้ตรัสรู้แล้ว จนถึง โปรดปัญจวัคคีย์ (๗๙ เรื่อง)

(อ้างอิงเลขหน้า จากหนังสือพุทธประวัติจากพระโอษฐ์)

221
ทรงท้อพระทัยในการแสดงธรรม

          ราชกุมาร ! ความคิดข้อนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า "ธรรมที่เราบรรลุแล้วนี้เป็น ธรรมอันลึก สัตว์อื่น เห็นได้ยาก ยากที่สัตว์อื่นจะรู้ตาม เป็นธรรมระงับและ ประณีต ไม่เป็นวิสัยที่จะหยั่งลงง่าย ๆ แห่งความตรึก เป็นของละเอียดเป็นวิสัยรู้ ได้เฉพาะ บัณฑิต ก็สัตว์เหล่านี้ มีอาลัยเป็นที่ยินดี ยินดีแล้วใน อาลัยเพลิดเพลิน แล้วในอาลัย สําหรับสัตว์ผู้มีอาลัย เป็นที่ยินดี ยินดีเพลิดเพลินในอาลัยนั้น ยากนัก ที่จะเป็น ปฏิจจสมุปบาท อันมีสิ่งนี้ (คือมีอาลัย) เป็นป๎จจัยยากนักที่จะเห็นธรรมเป็น ที่สงบ ระงับแห่ง สังขาร ทั้งปวงคือธรรมอันถอนอุปธิทั้งสิ้น ความสิ้นตัณหา ความ คลายกําหนัด ความดับโดยไม่เหลือ และนิพพาน

           หากเราพึงแสดงธรรมแล้วสัตว์ อื่นไม่พึงรู้ทั่วถึง ข้อนั้นจักเป็นความเหนื่อย เปล่าแก่เรา เป็นความลําบากแก่เรา."

           โอราชกุมาร ! คาถาอันอัศจรรย์เหล่านี้ที่เราไม่เคยฟ๎งมาแต่ก่อน ได้ปรากฏ แจ่มแจ้งแก่เราว่า

          "กาลนี้ ไม่ควรประกาศธรรม ที่เราบรรลุได้แล้วโดยยาก ธรรมนี้ สัตว์ ที่ถูกราคะโทสะ รวบรัดแล้ว ไม่รู้ได้โดยง่ายเลย. สัตว์ที่กำหนัด ด้วยราคะ ถูกกลุ่มมืดห่อหุ้มแล้ว จักไม่เห็นธรรม อันให้ถึงที่ทวน กระแส อันเป็นธรรม ละเอียดลึกซึ่ง เห็นได้ยากเป็นอณู" ดังนี้. 

           ราชกุมาร ! เมื่อเราพิจารณาเห็นดังนี้ จิตก็น้อมไปเพื่อความขวนขวายน้อย ไม่น้อมไปเพื่อการ แสดงธรรม.


222
พรหมอาราธนา

          ราชกุมาร ! ครั้งนั้น ความรู้สึกข้อนี้ ได้บังเกิดขึ้นแก่สหัมบดีพรหมเพราะ เธอรู้ความปริวิตกในใจ ของเราด้วยใจ. ความรู้สึกนั้นว่า "ผู้เจริญ ! โลกจักฉิบหาย เสียแล้วหนอ ผู้เจริญ ! โลกจักพินาศ เสียแล้วหนอ เพราะเหตุที่จิตแห่งพระตถาคต ผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า น้อมไปเพื่อความ ขวนขวาย น้อย ไม่น้อมไปเพื่อแสดง ธรรม" ดังนี้.

           ลําดับนั้นสหัมบดีพรหม ได้อันตรธานจากพรหมโลก มาปรากฏอยู่ เฉพาะหน้าเรา รวดเร็ว เท่าเวลา ที่บุรุษแข็งแรง เหยียดแขนออกแล้วงอเข้าเท่านั้น. 

           ราชกุมาร ! ครั้งนั้นสหัมบดีพรหม ห่มผ้าเฉวียงบ่า ประคองอัญชลีเข้ามา หาเราถึงที่อยู่แล้ว กล่าวคํานี้กะเราว่า "พระองค์ผู้เจริญ ! ขอพระผู้มีพระภาคจง แสดงธรรมเพื่อเห็นแก่ข้าพระองค์เถิด ขอพระสุคตจงแสดงธรรมเถิด สัตว์ที่มีธุลี ในดวงตาแต่เล็กน้อยก็มีอยู่ เขาจักเสื่อมเสีย เพราะไม่ได้ ฟ๎งธรรม.

           สัตว์ผู้รู้ทั่วถึง ธรรมจักมีโดยแท้" ดังนี้.

           ราชกุมาร ! สหัมบดีพรหมได้กล่าวคํานี้แล้ว ยังได้กล่าว คําอื่นสืบไปอีก (เป็นคาถา) ว่า

          "ธรรมไม่บริสุทธิ์ ที่คนมีมลทิน ได้คิดขึ้น ได้มีปรากฏอยู่ใน  แคว้นมคธแล้ว สืบมาแต่ก่อน ขอพระองค์จงเปิดประตูนิพพานอันไม่ตาย. สัตว์ทั้งหลายจงฟ๎งธรรม ที่พระองค์ผู้ปราศจากมลทิน ได้ตรัสรู้  แล้วเถิด. 

คนยืนบนยอดชะง่อนเขา เห็นประชุมชนได้โดยรอบ ฉันใด  ข้าแต่พระผู้มีเมธาดี ! ผู้มีจักษุเห็น โดยรอบ ! ขอพระองค์จงขึ้นสู่  ปราสาท อันสําเร็จด้วยธรรม จักเห็น หมู่สัตว์ผู้เกลื่อนกล่น ด้วยโศก  ไม่ห่างจากความโศก ถูกชาติชราครอบงํา ได้ฉันนั้น.

จงลุกขึ้นเถิด  พระองค์ผู้วีระ ! ผู้ชนะสงครามแล้ว ! ผู้ขนสัตว์ด้วยยานคือเกวียน !  ผู้ไม่มีหนี้สิน ! ขอพระองค์จงเที่ยวไปในโลกเถิด. ขอพระผู้มีพระภาคทรง แสดงธรรม สัตว์ผู้รู้ทั่วถึงธรรม จักมีเป็นแน่" ดัง
นี้.


223
ทรงเห็นสัตว์ดุจดอกบัว ๓ เหล่า

          ราชกุมาร ! ครั้งนั้น เรารู้แจ้งคําเชื้อเชิญของสหัมบดีพรหมแล้ว และเพราะ อาศัย ความกรุณา ในสัตว์ ท. เราตรวจดูโลกด้วยพุทธจักขุแล้ว. เมื่อเราตรวจดูโลก ด้วยพุทธจักขุอยู่ เราได้เห็นสัตว์ ท. ผู้มีธุลีใน ดวงตา เล็กน้อยบ้าง  มีมากบ้าง ผู้มีอินทรีย์แก่กล้าบ้าง อ่อนบ้าง มีอาการดีบ้าง เลวบ้าง อาจสอนให้รู้ ได้ง่ายบ้าง ยากบ้าง และบางพวกเห็นโทษในปรโลก โดยความเป็นภัยอยู่ก็มี เปรียบเหมือน ในหนอง บัวอุบล บัวปทุม บัวบุณฑริก

ดอกบัวบางเหล่าเกิดแล้วในน้ำ เจริญในน้ํา อันน้ำพยุงไว้ ยังจมอยู่ในน้ำ
บางเหล่าเกิดแล้วในน้ำ เจริญในน้ำ อันน้ำพยุงไว้ ตั้งอยู่เสมอพื้นน้ำ
บางเหล่าเกิดแล้วในน้ำ เจริญในน้ำ อันน้ำพยุงไว้ โผล่ขึ้นพ้นน้ำ อันน้ำไม่ถูกแล้ว มีฉันใด

         ราชกุมาร ! เราได้เห็นสัตว์ทั้งหลายเป็นต่างๆ กันฉันนั้น.
         ราชกุมาร ! ครั้งนั้น เราได้รับรองกะ สหัมบดีพรหมด้วยคํา (ที่ผูกเป็นกาพย์) ว่า 
         "ประตูแห่งนิพพานอันเป็นอมตะ เราเปิดไว้แล้วแก่สัตว์ เหล่านั้น สัตว์เหล่าใดมี โสตประสาท สัตว์เหล่านั้น จงปลง ศรัทธาลงไปเถิด
        ดูก่อนพรหม!เรารู้สึกว่ายาก จึงไม่กล่าวธรรมอันประณีตที่เราคล่องแคล่ว ชำนาญในหมู่มนุษย์ ท."ดังนี้. 

           ราชกุมาร !ครั้งนั้นสหัมบดีพรหมรู้ว่าตนเป็นผู้ได้โอกาสอันพระผู้มี พระภาค ทรงกระทําแล้ว เพื่อแสดงธรรม จึงไหว้เรากระทําอันประทักษิณแล้ว อันตรธาน ไปในที่นั้น นั่นเอง.


224-225
ทรงแสดงธรรมเพราะเห็นความจำเป็นของสัตว์บางพวก

          ภิกษุ ท.! บุคคลบางคนในโลกนี้ ได้เห็นหรือไม่ได้เห็นตถาคตก็ตาม ได้ฟ๎ง หรือไม่ได้ฟ๎งธรรม วินัย ที่ตถาคตประกาศแล้วก็ตาม ก็หาเข้ามาสู่คลองแห่งกุศล ธรรมได้ไม่. 

          แต่บุคคลบางคนในโลกนี้ ได้เห็นหรือไม่ได้เห็นตถาคตก็ตาม ได้ฟ๎ง หรือไม่ได้ฟ๎งธรรมวินัย ที่ตถาคตประกาศแล้วก็ตาม ย่อมเข้ามาสู่คลองแห่งกุศล ธรรมทั้งหลายได้โดยแท้. 

          ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ ต่อเมื่อ ได้เห็นตถาคต หรือ ได้ฟ๎งธรรมวินัย ที่ตถาคตประกาศแล้ว จึงเข้ามาสู่คลองแห่งกุศลธรรมทั้งหลายได้  ถ้าไม่ได้เห็น ตถาคต หรือไม่ได้ฟ๎งธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ย่อมไม่เข้ามาสู่คลองแห่ง กุศลธรรมทั้งหลายได้เลย.

          ภิกษุ ท.! ในบุคคล ๓ ประเภทนั้น มีบุคคลอยู่ประเภทหนึ่ง ซึ่งต่อเมื่อได้ เห็นตถาคตหรือได้ฟ๎งธรรม วินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว จึงจะเข้ามาสู่คลองแห่ง กุศลธรรมทั้งหลายได้ ถ้าไม่ได้เห็นตถาคตหรือไม่ได้ ฟ๎งธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศ แล้ว ย่อมไม่เข้ามาสู่คลองแห่งกุศลธรรมทั้งหลายได้เลย. 

          เราเพราะเห็นแก่บุคคล ประเภทนี้แหละ จึงอนุญาตให้มีการแสดงธรรม และเพราะอาศัย บุคคลประเภทนี้ เป็นหลักอีกเหมือนกัน จึงจําต้องแสดงธรรม แก่บุคคลประเภทอื่นด้วย.

225
ทรงเห็นลู่ทางที่จะช่วยเหลือปวงสัตว์

          ภิกษุ ท.! ครั้งหนึ่ง ที่ตําบลอุรุเวลา ใกล้ฝ๎่งแม่น้ําเนรัญชราที่ต้นไทรเป็นที่ พักร้อนของเด็ก เลี้ยงแพะ เมื่อเราแรกตรัสรู้ได้ใหม่ๆ ความปริวิตกแห่งใจได้ เกิดขึ้น แก่เรา ขณะเข้าสู่ที่พักกําบังหลีกเร้น อยู่ว่า "นี่เป็นหนทางเครื่องไปทางเดียว เพื่อ ความบริสุทธิ์หมดจดของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงเสีย ซึ่งความ ศกและปริเทวะ เพื่อความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทํา พระนิพพาน ให้แจ้ง ทางนี้ คือ สติป๎ฏฐานสี่.

           สี่เหล่าไหนเล่า? คือ ภิกษุเป็น ผู้มีธรรมดาตาม เห็นกายในกายเห็นเวทนา ในเวทนา ท. เห็นจิตในจิต เห็นธรรมในธรรม ท. อยู่ เป็นผู้มีเพียรเผาบาป มีสติสัมปชัญญะ นําอภิชฌาและ โทมนัสในโลก ออกได้ : นี้แหละทางทางเดียว" ดังนี้. 

           ภิกษุ ท.! ลําดับนั้น สหัมบดีพรหมรู้ปริวิตกในใจของเรา จึงอันตรธานจาก พรหมโลก มาปรากฏ อยู่เฉพาะหน้าเรา รวดเร็วเท่าเวลาที่บุรุษแข็งแรง เหยีดแขน ออก แล้วงอเข้า เท่านั้น. 

           ครั้งนั้นสหัมบดีพรหมทําผ้าห่มเฉวียงบ่าน้อมอัญชลีเข้า มาหาเราแล้วกล่าว กะเราว่า "อย่างนั้นแล พระผู้มีพระภาค ! อย่างนั้นแล พระสุคต !ฯลฯ นั่นเป็นทาง ทางเดียว เพื่อความบริสุทธิ์หมดจด ของสัตว์ ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงเสียได้ซึ่งความ โศก และปริเทวะ ฯลฯ เพื่อทํา นิพพานให้ แจ้ง" แล้วและได้กล่าวคํา (อันผูกเป็นกาพย์) ว่า "พระสุคต ผู้มีธรรมดา เห็นที่สุดคือความสิ้นไปแห่งชาติ ผู้มี  พระทัยอนุเคราะห์ สัตว์ ด้วยความเกื้อกูลย่อม ทรงทราบทางเอก ซึ่งเหล่าพระอรหันต์ ได้อาศัยข้ามแล้ว ในกาลก่อน และกําลังข้าม อยู่ และ จักข้าม ซึ่งโอฆะได้" ดังนี้.


226
ทรงระลึกหาผู้รับปฐมเทศนา

          ราชกุมาร ! ความคิดข้อนี้ได้มีแก่เราว่า "เราควรแสดงธรรมแก่ใคร ก่อนหนอ? ใครจักรู้ทั่วถึง ธรรมนี้ โดยพลันหนอ?" ความรู้สึกได้เกิดแก่เราว่า"

อาฬารผู้กาลามโคตร นี้แล เป็นบัณฑิต ผู้ฉลาด มีเมธา มีชาติ แห่งสัตว์ผู้มีธุลีใน ดวงตาแต่เล็กน้อย มานานแล้ว ถ้ากระไร เราควรแสดงธรรมแก่ อาฬารผู้กาลามโคตร นี้ก่อนเถิด เธอจักรู้ทั่วถึงธรรมนี้เป็นแน่".

           ราชกุมาร ! ครั้งนั้น เทวดาได้เข้า มากล่าวคํานี้กะเราว่า "พระองค์ผู้เจริญ! อาฬารผู้กาลามโคตร ได้กระทํากาละ ๗ วัน มาแล้ว". และความรู้สึกก็ได้เกิด แก่เรา ว่า " อาฬารผู้กาลามโคตรได้กระทํากาละเสีย ๗ วันแล้ว อาฬารผู้กาลามโคตร ได้ เสื่อมจากคุณอันใหญ่เสียแล้ว เพราะหากว่าถ้าเธอ ได้ฟ๎งธรรมนี้ไซร้ จักรู้ทั่วถึง ธรรม นี้ได้ โดยพลัน" ดังนี้. 

           ราชกุมาร ! ความคิดข้อนี้ได้เกิดมีแก่เราว่า"อุทกผู้รามบุตรนี้แล เป็น บัณฑิต ผู้ฉลาด มีเมธา มีชาติ แห่งสัตว์ผู้มีธุลีในดวงตาแต่เล็กน้อยมานานแล้ว ถ้ากระไร เราควร แสดงธรรมแก่อุทก ผู้รามบุตร นั้นก่อน เธอจักรู้ทั่วถึงธรรมนี้เป็นแน่".

           ราชกุมาร ! เทวดาได้เข้ามากล่าวคํานี้กะเราว่า "พระองค์ผู้เจริญ ! อุทกผู้รามบุตร ได้กระทํา กาละเสีย เมื่อตอนดึก คืนนี้แล้ว". และความรู้สึกอันนี้ได้ เกิดแก่เราว่า " อุทกผู้รามบุตร ได้กระทํากาละเสียเมื่อตอนดึกคืนนี้แล้ว อุทก ผู้รามบุตร ได้เสื่อมจากคุณอันใหญ่ เสียแล้ว เพราะหากว่า ถ้าเธอได้ฟ๎งธรรม นี้ไซร้ เธอจักรู้ทั่วถึง ธรรม โดยพลัน ทีเดียว ! เราจักแสดงธรรมแก่ใครก่อนเล่า หนอ? ใครจักรู้ทั่วถึงธรรมนี้โดยพลัน?" ดังนี้. 

           ราชกุมาร ! ความคิดอันนี้ได้เกิดแก่เราว่า "ภิกษุป๎ญจวัคคีย์ได้อุป๎ฎฐากเรา เมื่อบําเพ็ญ ความเพียร เป็นผู้มีอุปการะมากแก่เรา ถ้ากระไรเราควรแสดงธรรม แก่ ภิกษุป๎ญจวัคคีย์ก่อนเกิด".

          ราชกุมาร ! ความสงสัยเกิดแก่เราว่า "บัดนี้ ภิกษุ ป๎ญจวัคคีย์อยู่ที่ไหน หนอ?" ด้วยจักขุเป็นทิพย์หมดจดล่วงจักขุสามัญมนุษย์ เราได้ เห็นภิกษุป๎ญจวัคคีย์ ผู้อยู่แล้ว ที่เมืองพาราณสี ปุาอิสิปตนมฤคทายวัน.
           ราชกุมาร ! ครั้งนั้น ครั้นเราอยู่ที่ตําบลอุรุเวลาตามพอใจแล้ว ได้หลีกไปโดย ทางแห่งเมืองพาราณสี.


227-228
เสด็จพาราณสี - พบอุปกาชีวก(ชีวกเร่ร่อน)

          ราชกุมาร ! เรา ครั้นอยู่ที่ตําบลอุรุเวลาตามพอใจแล้ว ได้หลีกไปโดยทาง แห่งเมืองพาราณสี. ราชกุมาร ! อาชีวกชื่ออุปกะ ได้พบกะเราที่ระหว่างตําบลคยา และโพธิ. เขาได้กล่าวคํานี้กะเรา ผู้เดินทางไกลมาแล้วว่า "ผู้มีอายุ ! อินทรีย์ของ ท่านผ่องใสนัก ผิวพรรณของท่านหมดจดขาวผ่อง ผู้มีอายุ ! ท่านบวชเจาะจงกะ ใคร หรือว่าใครเป็นครูของท่าน หรือว่าท่านชอบใจธรรมของใคร ? " ดังนี้.

           ราชกุมาร ! เมื่ออุปกาชีวกถามแล้วอย่างนี้ เราได้ตอบอุปกาชีวกด้วยคํา (ที่ผูกเป็นกาพย์ ท.) ว่า"เราเป็นผู้ครอบงำได้หมด เป็นผู้รู้จบหมด ไม่เข้าไปเกี่ยวข้อง ในสิ่งทั้งหลาย ละได้แล้วซึ่ง  สิ่งทั้งปวง หลุดพ้นแล้ว เพราะธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา รู้ยิ่งเองแล้ว จะต้องเจาะจงเอาใครเล่า! อาจารย์ของเราไม่มี ผู้ที่เป็นเหมือนเราก็ไม่มี ผู้จะเปรียบกับเราก็ไม่มี ในโลกและทั้งเทวโลก. เราเป็นอรหันต์ในโลกเรา เป็นครู ไม่มีใครยิ่งไปกว่า.

           เราผู้เดียวเป็นสัมมาสัมพุทธะ เราเป็นผู้ดับแล้วเย็นสนิท จะไปสู่เมืองแห่ง ชาวกาสีเพื่อแผ่  ธรรมจักร. ในเมื่อโลกเป็นราวกะตาบอด เราได้กระหน่ำตีกลอง แห่งอมตธรรมแล้ว." ดังนี้.

          อุปกะ "ผู้มีอายุ ! ท่านเป็นพระอรหันต์ ผู้ชนะไม่มีที่สุดเหมือนอย่างที่ท่าน ปฏิญญานั้นเชียวหรือ ?
          เรา ผู้ที่เป็นผู้ชนะเช่นเดียวกับเรา ก็คือผู้ที่ถึงความสิ้นอาสวะแล้ว เราชนะธรรม อันลามก แล้ว. แน่ะอุปกะ ! เหตุนั้นเราจึงเป็นผู้ชนะ"ดังนี้. 

           ราชกุมาร ! ครั้นเรากล่าวดังนี้ อุปกาชีวกได้กล่าวว่า"เห็นจะเป็นได้ ผู้มีอายุ ! " ดังนี้แล้ว ส่ายศีรษะไปมา แลบลิ้น ถือเอาทางสูง หลีกไปแล้ว. 
          


229-233
การโปรดป๎ญจวัคคีย์ หรือ การแสดงปฐมเทศนา 

          ราชกุมาร ! ลําดับนั้น เราจาริกไปโดยลําดับ ไปสู่เมืองพาราณสีถึงที่อยู่ แห่งภิกษุป๎ญจวัคคีย์ ณ อิสิปตนมฤคทายวัน แล้ว. ภิกษุป๎ญจวัคคีย์เห็นเรามาแต่ไกล ได้ตั้งกติกาแก่กันและกันว่า "ผู้มีอายุ ! พระสมณโคดมนี้กําลังมาอยู่เธอเป็นผู้มักมาก สลัดความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นคนต่ําเสียแล้ว. เช่นนั้นเราอย่าไหว้ อย่าลุกรับ อย่าพึงรับบาตร จีวรของเธอ เป็นอันขาด๒. แต่จักตั้งอาสนะ ไว้ ถ้าเธอปรารถนา จักนั่งได้" ดังนี้. 

          ราชกุมาร ! เราเข้าไปใกล้ภิกษุป๎ญจวัคคีย์ด้วยอาการอย่างใด เธอไม่อาจ ถือตามกติกาของตน ได้ด้วยอาการอย่างนั้น บางพวกลุกรับ และรับบาตรจีวรแล้ว บางพวกปูอาสนะแล้ว บางพวกตั้งน้ํา ล้างเท้า แล้ว แต่เธอร้องเรียกเราโดย ชื่อ (ว่าโคดม) ด้วย และโดยคําว่า ท่านผู้มีอายุ ด้วย. ครั้นเธอกล่าวอย่างนั้น เราได้ กล่าวคํานี้ กะภิกษุป๎ญจวัคคีย์นั้นว่า

          "ภิกษุ ท.! เธออย่างเรียกร้องเราโดยชื่อและ โดยคําว่า "ผู้มีอายุ !" ภิกษุ ท.! เราเป็นอรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้า เธอจงเงี่ยโสตลง เราจักสอนอมตธรรมที่เราได้บรรล ุแล้ว เราจักแสดงธรรม เมื่อเธอปฎิบัติอยู่ ตามที่เราสอน ในไม่นานเทียวจักกระทํา ให้แจ้ง ซึ่งประโยชน์อันยอดเยี่ยม อันเป็น ยอดแห่งพรหมจรรย์ ได้ด้วยป๎ญญาอันยิ่ง เอง ในทิฏฐธรรมนี้เข้าถึงแล้ว แลอยู่ อันเป็นประโยชน์ ที่ปรารถนาของกุลบุตร ผู้ออกจากเรือน บวชเป็นผู้ไม่มีเรือนโดยชอบ" ดังนี้.

          ราชกุมาร ! ครั้นเรากล่าวดังนี้แล้ว ภิกษุป๎ญจวัคคีย์กล่าวคํานี้กะเราว่า "ผู้มีอายุ โคดม ! แม้ด้วยอิริยา ปฏิปทา และทุกรกิริยานั้น ท่านยังไม่อาจบรรลุ อุตตริมนุสสธัมม์อลมริยญาณทัสสนวิเศษ ได้เลย ก็ในบัดนี้ ท่านเป็นคนมักมาก สลัดความเพียรเวียนมาเพื่อความเป็นคนมักมากแล้ว ทําไมจะบรรลุ อุตตริมนุสสธัมม์อลมริยญาณทัสสนวิเศษได้เล่า?"

          "ภิกษุ ท.! ตถาคตไม่ได้เป็นคนมักมาก สลัดความเพียร เวียนมาเพื่อความ เป็นคนมักมากดอก ภิกษุ ท.! ตถาคตเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ชอบด้วยตนเอง.

           ภิกษุ ท.! พวกเธอจงเงี่ยโสตลง เราจะสอนอมตธรรมที่เราได้บรรลุแล้ว เราจัก แสดงธรรม. เมื่อเธอปฏิบัติอยู่ตามที่เราสอนในไม่นานเทียว จักกระทําให้แจ้ง ซึ่ง ประโยชน์อันยอดเยี่ยม อันเป็นยอด แห่งพรหมจรรย์ได้ด้วยป๎ญญา อันยิ่งเอง ในทิฏฐ ธรรมนี้เข้าถึงแล้วแลอยู่ อันเป็นประโยชน์ที่ปรารถนา ของเหล่ากุลบุตรผู้ออก จาก เรือนบวช เป็นผู้ไม่มีเรือนโดยชอบ".
          ราชกุมาร ! ภิกษุป๎ญจวัคคีย์ ได้กล่าวคํานี้ กะเราอีก แม้ครั้งที่สอง (อย่างเดียวกับครั้งแรก)
          ราชกุมาร ! เราก็ได้กล่าวคํานี้กะภิกษุป๎ญจวัคคีย์แม้ครั้งที่สอง (ว่าอย่างเดียวกับครั้งแรก).
          ราชกุมาร ! ภิกษุป๎ญจวัคคีย์ ได้กล่าวคํานี้ กะเราอีก แม้ครั้งที่สาม (อย่างเดียวกับครั้งแรก)
          ราชกุมาร ! ครั้นภิกษุป๎ญจวัคคีย์กล่าวอย่างนี้แล้ว เราได้กล่าวคํานี้กะพวก เธอว่า "ภิกษุ ท. ! เธอจําได้หรือ? คําอย่างนี้นี่ เราได้เคยกล่าวกะเธอ ท. ในกาล ก่อนแต่นี้บ้างหรือ? เธอตอบว่า "หาไม่ ท่านผู้เจริญ ! ๑เรากล่าวอีกว่า

          "ภิกษุ ท.! ตถาคตเป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ชอบด้วยตนเอง. พวกเธอจงเงี่ยโสต ลง เราจะสอน อมตธรรมที่เราได้บรรลุแล้ว เราจักแสดงธรรม เมื่อเธอปฏิบัติอยู่ ตามที่เราสอน ในไม่นานเทียว จักกระทําให้แจ้ง ซึ่งประโยชน์อันยอดเยี่ยมอันเป็น ยอดแห่งพรหมจรรย์ได้ ด้วยป๎ญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้วแลอยู่ อันเป็นประโยชน์ที่ปรารถนา ของเหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือน บวชเป็นผู้ไม่มีเรือน โดยชอบ"ดังนี้.

          ราชกุมาร ! เราได้สามารถเพื่อให้ภิกษุป๎ญจวัคคีย์เชื่อแล้วแล.
          ราชกุมาร ! เรากล่าวสอนภิกษุ ๒ รูปอยู่. ภิกษุ ๓ รูปเที่ยวบิณฑบาต เราหกคนด้วยกันเลี้ยง ชีวิตให้เป็นไปด้วยอาหารที่ภิกษุ ๓ รูปนํามา. บางคราวเรา กล่าวสอนภิกษุ ๓ รูปอยู่ ภิกษุ ๒ รูป เที่ยวบิณฑบาต เราหกคนเลี้ยงชีวิตให้เป็นไป ด้วยอาหารที่ภิกษุ ๒ รูป นํามา.๑

          ราชกุมาร ! ครั้งนั้น เมื่อเรากล่าวสอน พร่ําสอนภิกษุป๎ญจวัคคีย์อยู่ด้วย อาการ อย่างนี้๑ เธอกระทําให้แจ้งซึ่งประโยชน์อันยอดเยี่ยม อันเป็นยอดแห่ง พรหมจรรย์ ด้วยป๎ญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้วแลอยู่ อันเป็น ประโยชน์ที่ปรารถนา ของเหล่า กุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวช เป็นผู้ไม่มีเรือนโดยชอบ ได้แล้ว.
         
          ก็รู้แจ้งแล้ว ซึ่งโทษอันต่ําทรามในความเป็นผู้มีการเกิดเป็นธรรมดา. เธอแสวงหาอยู่ซึ่งนิพพาน อันเป็นธรรมที่ปลอดภัยจากเครื่องผูกรัด ไม่มีธรรมอื่น ยิ่งกว่า เป็น ธรรมที่ไม่มีการเกิด ก็ได้เข้าถึงแล้วซึ่ง นิพพาน อันเป็นธรรมที่ปลอดภัย จาก เครื่องผูกรัด ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า เป็นธรรมไม่มีการเกิด.

           เธอนั้น ทั้งที่เป็นผู้มีความแก่เป็นธรรมดาอยู่ด้วยตน ก็รู้แจ้งชัดแล้วซึ่งโทษ อันต่ําทรามในความ เป็นผู้มีความชราเป็นธรรมดา. เธอแสวงหาอยู่ซึ่ง นิพพาน อันเป็นธรรมที่ปลอดภัยจากเครื่องผูกรัด ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า เป็น ธรรมที่ไม่มี ความชรา ก็ได้เข้าถึงแล้วซึ่งนิพพาน อันเป็นธรรมที่ปลอดภัยจาก เครื่องผูกรัด ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า เป็นธรรมไม่มีความชรา.

           เธอนั้น ทั้งที่เป็นผู้มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดาอยู่ด้วยตน ก็รู้แจ้งชัดแล้ว  ซึ่งโทษอันต่ําทราม ในความ เป็นผู้มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา.

           เธอแสวงหาอยู่ ซ่ึงนิพพาน อันเป็นธรรมที่ปลอดภัยจากเครื่องผูกรัด ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า เป็น  ธรรมไม่มีความเจ็บไข้ ก็ได้เข้าถึงแล้วซึ่งนิพพาน อันเป็นธรรมที่ปลอดภัยจาก เครื่องผูกรัด ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า เป็นธรรมไม่มีความ เจ็บไข้.

           เธอนั้น ทั้งที่เป็นผู้มีความตายเป็นธรรมดาอยู่ด้วยตน ก็รู้แจ้งชัดแล้วซึ่งโทษ อันต่ําทรามในความ เป็นผู้มีความตายเป็นธรรมดา. เธอแสวงหาอยู่ซึ่ง นิพพาน อันเป็นธรรมที่ปลอดภัยจากเครื่องผูกรัด ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า เป็น ธรรมที่ไม่ตาย ก็ได้เข้าถึงแล้วซึ่งนิพพาน อันเป็นธรรมที่ปลอดภัยจากเครื่อง ผูกรัด ไม่มีธรรมอื่น ยิ่งกว่า เป็นธรรมไม่ตาย.  

           เธอนั้น ทั้งที่เป็นผู้มีความเศร้าหมองเป็นธรรมดาอยู่ด้วยตน ก็รู้แจ้งชัดแล้ว ซึ่งโทษอันต่ําทราม ในความเป็นผู้มีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา. เธอแสวงหาอยู่ ซึ่งนิพพานอันเป็นธรรมที่ปลอดภัย จากเครื่องผูกรัด ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าเป็น ธรรม ที่ไม่มีความเศร้าหมอง ก็ได้เข้าถึงแล้วซึ่งนิพพาน อันเป็นธรรมที่ปลอดภัย จาก เครื่องผูกรัด ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า เป็นธรรมไม่เศร้าหมอง.

           ญาณ และ ทัสสนะ ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เธอเหล่านั้นว่า ความหลุดพ้นของเรา ไม่กลับกําเริบชาตินี้ เป็นชาติสุดท้าย ภพใหม่ไม่มีอีกต่อไป ดังนี้.


233
ทรงประกาศธรรมจักรที่อิสิปตนมฤคทายวัน

          ภิกษุ ท.! ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ประกาศ อนุตตรธรรมจักร ให้เป็นไปแล้ว ที่ป่า อิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้นครพาราณสี เป็นธรรมจักรที่สมณะหรือ พราหมณ์ เทพ มาร พรหม หรือใครๆในโลก จะต้านทาน ให้หมุนกลับมิได้๒ ข้อนี้คือ การบอก การแสดง การบัญญัติ การแต่งตั้ง การเปิดเผยการจําแนก และการทําให้ตื้น ซึ่งความจริงอัน ประเสริฐ สี่ประการ สี่ประการได้แก่ ความจริงอันประเสริฐคือ ความทุกข์ ความจริง อันประเสริฐ คือเหตุให้เกิดทุกข์ ความจริงอันประเสริฐ คือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ และ ความจริงอันประเสริฐคือทางทําผู้ปฏิบัติ ให้ลุถึงความดับไม่เหลือ แห่งทุกข์.


234
แผ่นดินไหวเนื่องด้วยการแสดงธรรมจักร

          ดูก่อนอานนท์ ! เหตุป๎จจัยที่ทําให้ปรากฏการไหว แห่งแผ่นดินอันใหญ่หลวง มีอยู่แปดประการ.
          ดูก่อนอานนท์ ! เมื่อใด ตถาคตย่อมยังธรรมจักร อันไม่มีจักรอื่นยิ่งกว่า ให้เป็นไป เมื่อนั้นแผ่นดิน ย่อมหวั่นไหว ย่อมสั่นสะเทือน ย่อมสั่นสะท้าน.
          อานนท์ ! นี้แล เป็นเหตุป๎จจัยคํารบหก แห่งการปรากฏการไหวของแผ่นดิน อันใหญ่หลวง.


234
เกิดแสงสว่างเนื่องด้วยการแสดงธรรมจักร

          ภิกษุ ท.! เมื่อใดตถาคตประกาศอนุตตรธรรมจักร เมื่อนั้นในโลกนี้ และ เทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาพร้อมทั้ง มนุษย์ ย่อมเกิดแสงสว่างอันยิ่ง หาประมาณมิได้ยิ่งกว่าเทวนุภาพ ของเทวดา.
           ในโลกันตริกนรกอันเปิดโล่งเป็นนิจ แต่มืดมิดจนหาการเกิดแห่งจักขุ วิญญาณ มิได้ อันแสง แห่งดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ที่มีฤทธิ์อานุภาพอย่างนี้ ส่องไปไม่ถึง ณ ที่นั้นแสงสว่างอันยิ่งจน ประมาณมิได้ ยิ่งกว่าเทวานุภาพ ย่อมบังเกิดขึ้น.
           สัตว์ที่เกิดอยู่ ณ ที่นั้น จะรู้จักกันได้ด้วยแสงสว่างนั้นร้องขึ้นว่า "ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ! ได้ยินว่าสัตว์อื่นอันเกิดอยู่ในที่นี้ นอกจากเราก็มีอยู่" ดังนี้.
           ภิกษุ ท.! นี่เป็นอัศจรรย์ครั้งที่สี่ ที่ยังไม่เคยมี ได้บังเกิดมีขึ้น เพราะ      การบังเกิดแห่งตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า.


235
จักรของพระองค์ไม่มีใครต้านทานได้

          ภิกษุ ท.! จักรพรรดิราชที่ประกอบไปด้วยองค์ ๕ ประการ ย่อมอาจหมุนจักร โดยธรรม ให้เป็น ไปได้. และจักรนั้น เป็นจักรที่มนุษย์ไรๆ ผู้เป็นข้าศึกไม่อาจต้านทาน ให้หมุนกลับได้ด้วยมือ.

           องค์ ๕ ประการ คืออะไรบ้างเล่า ?
          องค์ ๕ ประการ คือจักรพรรดิราชนั้น เป็นคนผู้รู้จักเหตุ รู้จักผล รู้จักประมาณ ที่พอเหมาะ รู้จัก กาละ รู้จักบริษัท.
          ภิกษุ ท.! จักรพรรดิที่ประกอบด้วยองค์ห้า เหล่านี้แล ที่สามารถหมุนจักรโด ยธรรม ให้เป็นไปได้ และเป็นจักรที่ใคร ๆผู้เป็นข้าศึก ไม่อาจต้านทานให้หมุนกลับได้ ด้วยมือ ข้อนี้ฉันใด
           ภิกษุ ท.! ตถาคตผู้เป็นอรหันต์ตรัสรู้ชอบเอง ก็เป็นฉันนั้น. ตถาคต ประกอบ ด้วยธรรม ๕ ประการแล้ว ย่อมหมุน ธรรมจักรอันไม่มีจักรอื่นยิ่งไปกว่า ให้เป็นไปได้ โดยธรรม.
           และจักรนั้น เป็นจักรที่สมณะหรือพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลก ไม่สามารถต้านทานให้หมุนกลับได้. 


           ธรรม ๕ ประการนั้นเป็นอย่างไรเล่า?
           ภิกษุ ท.! ตถาคตผู้อรหันต์ตรัสรู้ชอบเอง ย่อมเป็นผู้รู้จักเหตุ รู้จักผล รู้จัก ประมาณที่พอเหมาะ รู้จักกาละ รู้จักบริษัท. ตถาคตประกอบด้วยธรรม ๕ ประการเหล่า นี้แล จึงหมุนธรรมจักรอันไม่มีจักรอื่น ยิ่งกว่า ให้เป็นไปได้โดยธรรม และจักรนั้น เป็นจักรที่สมณะ หรือพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกไม่สามารถ ต้านทาน ให้หมุนกลับได้ ดังนี้.


236-237
ทรงหมุนแต่จักรที่มีธรรมราชา(เป็นเจ้าของ)

          ดูก่อนภิกษุ ท.! แม้พระเจ้าจักรพรรดิราชผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชาอยู่แล้ว พระองค์ก็ยังไม่ทรง หมุน จักรอันไม่มีพระราชา ให้เป็นไป.

           ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้ ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามขึ้นว่า "ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ! ก็ใครเล่าจะมาเป็นพระราชาให้แก่พระเจ้าจักรพรรดิ์ ผู้ทรงธรรมเป็นธรรมราชาอยู่เอง แล้ว" ตรัสตอบว่า ภิกษุ ! ธรรมนะซิ เป็นพระราชา ให้แก่พระเจ้าจักรพรรดิราช ผู้ทรงธรรม  เป็นธรรมราชาอยู่เองแล้ว

           ดูก่อนภิกษุ ! จักรพรรดิราชผู้ประกอบในธรรม เป็นธรรมราชาย่อมอาศัยธรรม อย่างเดียว สักการะ ธรรม เคารพธรรม นอบน้อมธรรม มีธรรม เป็นธงชัย มีธรรม เป็นยอด มีธรรมเป็นอธิปไตย ย่อมจัดการ อารักขาปูองกันและคุ้มครอง โดย ชอบธรรม ในหมู่ชนในราชสํานัก ในกษัตริย์ที่เป็นเมืองออกในหมู่พล ในพราหมณ์และ คฤหบดี ในราษฎรขาวนิคมและชนบท ในสมณะและ พราหมณ์ ทั้งในเนื้อและนก ทั้งหลาย.

           ดูก่อนภิกษุ ! จักรพรรดิราชผู้ประกอบในธรรม เป็นธรรมราชา ผู้เป็นเช่นนี้แล ชื่อว่าเป็นผู้หมุนจักร ให้เป็นไปโดย ธรรมจักรนั้น เป็นจักรที่มนุษย์ใดๆ ผู้เป็นข้าศึก ไม่อาจต้านทานให้หมุนกลับได้ด้วยมือ ข้อนี้ฉันใด

           ดูก่อนภิกษุ ! ตถาคตก็ฉันนั้นเหมือนกัน ตถาคตเป็นอรหันต์ ตรัสรู้ ชอบเอง เป็นธรรมราชา ผู้ประกอบด้วยธรรม อาศัยธรรมอย่างเดียว สักการะธรรม เคารพธรรม นอบน้อมธรรม มีธรรมเป็นธงชัย มีธรรมเป็นยอดธง มีธรรมเป็นอธิปไตย ย่อมจัดการ อารักขาปูองกันและคุ้มครองโดยธรรมในหมู่ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา โดยการ ให้ โอวาทว่า กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมอย่างนี้ ๆ ควรประพฤติ อย่างนี้ ๆ ไม่ควร ประพฤติ ว่า อาชีวะ อย่างนี้ ๆควรดําเนิน อย่างนี้ๆ ไม่ควรดําเนิน และว่า คามนิคม เช่นนี้ๆ ควรอยู่อาศัย เช่นนี้ ๆ ไม่ควรอยู่อาศัย ดังนี้.

           ดูก่อนภิกษุ ! ตถาคตผู้เป็นอรหันต์ ตรัสรู้ชอบเอง เป็นธรรมราชาผู้ประกอบ ในธรรม ผู้เป็นเช่นนี้ แล ชื่อว่าย่อมยัง ธรรมจักรอันไม่มีจักรอื่นยิ่งไปกว่าให้เป็นไปโดย ธรรมนั่นเทียว. จักรนั้นเป็นจักร ที่สมณะ หรือพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลกไม่อาจต้านทาน ให้หมุนกลับได้ฉะนั้น.


237-238
การปรากฏของพระองค์คือการปรากฏ แห่งดวงตาอันใหญ่หลวงของโลก

          ภิกษุ ท.! ความปรากฏแห่งบุคคลเอก ย่อมเป็นความปรากฏ แห่ง ดวงตา อันใหญ่หลวง เป็นความ ปรากฏแห่งความสว่างอันใหญ่หลวง เป็นความ ปรากฏ แห่งความสุกใสอันใหญ่หลวง เป็นความปรากฏ แห่ง อนุตตริยธรรม ๖ เป็น การทําให้แจ้ง ซึ่งปฏิสัมภิทา ๔ เป็นการแทงตลอดอเนกธาตุ เป็นการแทงตลอด นานาธาตุ เป็นการทําให้แจ้งซึ่งธรรมมีวิชชาและวิมุตติเป็นผล เป็นการทําให้แจ้ง ซึ่งโสดาป๎ตติผลเป็นการ ทําให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผลเป็นการทําให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล เป็นการทําให้แจ้ง ซึ่งอรหัตตผล. 

           ใครกันเล่าเป็นบุคคลเอก? ตถาคตผู้เป็น  อรหันต์ตรัสรู้ชอบเอง นี้แล เป็นบุคคลเอก.

           ภิกษุ ท.! นี่แล ความปรากฏแห่งบุคคลเอก อันเป็นความปรากฏแห่ง ดวงตา อันใหญ่หลวง เป็นความปรากฏแห่งความสว่างอันใหญ่หลวง เป็นความ ปรากฏแห่ง ความสุกใสอันใหญ่หลวง เป็นความปรากฏแห่งอนุตตริยธรรม ๖ เป็น การทําให้แจ้ง ซึ่งปฏิสัมภิทา ๔ เป็นการแทงตลอดอเนกธาตุ เป็นการแทงตลอด นานาธาตุ เป็นการทําให้แจ้ง ซึ่งธรรมมีวิชชาและวิมุตติเป็นผล เป็นการทําให้แจ้งซึ่ง โสดาป๎ตติ ผล เป็นการทําให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล เป็นการทําให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล เป็นการทํา ให้ แจ้ง ซึ่งอรหัตตผล แล.


238
โลกยังไม่มีแสงสว่าง จนกว่าพระองคจ์ะเกิดขึ้น

          ภิกษุ ท.! ตลอดกาลเพียงใด ที่ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ยังไม่บังเกิดขึ้น ในโลก ความปรากฏ แห่งแสงสว่างอันใหญ่หลวงความส่องสว่างอันใหญ่หลวง ก็ยังไม่มี ตลอดกาลเพียงนั้น. ในกาลนั้นมีอยู่ แต ความมืด เป็นความมืดซึ่งกระทําค วามบอด.
           กลางคืนกลางวัน ก็ยังไม่ปรากฏ เดือนหรือกึ่งเดือนก็ไม่ ปรากฏ ฤดูหรือปี ก็ไม่ปรากฏก่อน.

           ภิกษุ ท.! แต่ว่า ในกาลใด ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์บังเกิดขึ้นในโลก ในกาลนั้น ความปรากฏแห่งแสงสว่างอันใหญ่หลวง ความส่องสว่างอันใหญ่หลวง ย่อมมี.
           ในกาลนั้น ย่อมไม่มีความมืด อันเป็นความมืด ซึ่งกระทําความบอด.
           ลําดับนั้น กลางคืนกลางวัน ย่อมปรากฏ เดือนหรือกึ่งเดือน ย่อมปรากฏ ฤดูหรือปี ย่อมปรากฏ นี้ฉันใด

           ภิกษุ ท.! ข้อนี้ ก็ฉันนั้น ตลอดกาลเพียงใด ที่ตถาคตผู้อรหันตสัมมา สัมพุทธะ ยังไม่ บังเกิดขึ้น ในโลกความปรากฏ แห่งแสงสว่างอันใหญ่หลวง ความส่องสว่างอันใหญ่หลวง ก็ยังไม่มี ตลอดกาลเพียงนั้น.

           ในกาลนั้น มีอยู่แต่ความมืด เป็นความมืดซึ่งกระทําความบอด.
           การบอก การแสดง การบัญญัติ การแต่งตั้ง การเปิดเผยการจําแนกแจกแจง การกระทําให้ เข้าใจ ได้ง่าย ซึ่ง อริยสัจจ์ทั้งสี่ ก็ยังไม่มี ก่อน.
           ภิกษุ ท ! แต่ว่าในกาลใดแล ตถาคต ผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ บังเกิด ขึ้นในโลก ในกาลนั้น ความปรากฏแห่งแสงสว่าง อันใหญ่หลวง ย่อมมี. 

           ในกาลนั้น ย่อมไม่มีความมืด
อันเป็นความมืดซึ่งกระทํา ความบอด. ลําดับนั้น ย่อมมีการบอก การแสดง การบัญญัติ การแต่งตั้ง การเปิดเผย การจําแนก แจกแจงการกระทําให้เข้าใจได้ง่าย ซึ่งอริย สัจจ์ทั้งสี่ ซึ่งอริยสัจจ์ทั้งสี่ เหล่าไหนเล่า? คือ ซึ่งทุกขอริยสัจจ์ ทุกขสมุทยอริยสัจจ์ ทุกขนิโรธอริยสัจจ์ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อริยสัจจ์.

           ภิกษุ ท.! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอพึงกระทําโยคกรรมเพื่อให้รู้ว่า "นี้ ทุกข์ นี้ เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ ความดับแห่งทุกข์ นี้ ทางให้ถึงความ ดับแห่งทุกข์" ดังนี้เถิด.

จบภาค ๓