เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ  

 
  วิธีเจริญอิทธิบาท ๔ 982
 
(เนื้อหาพอสังเขป)

ภิกษุย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วย
1.ฉันทสมาธิ และ ปธานสังขาร
2.วิริยสมาธิ และ ปธานสังขาร
3.จิตตสมาธิ และ ปธานสังขาร
4.วิมังสาสมาธิ และ ปธานสังขาร
------------------------------------------------------------------------------

ผลของการเจริญอิทธิบาท ๔

1.ย่อมแสดงฤทธิ์ ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวเป็นหลายคน หลายคนเป็นคนเดียว ทำให้ปรากฏ หรือ หายไปก็ได้ ทะลุฝา กำแพง ภูเขาไปได้ไม่ ติดขัด ผุดขึ้นดำ ลงในแผ่นดิน เดินบนน้ำ

2.ย่อมได้ยินเสียง ๒ ชนิดคือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งอยู่ไกลและใกล้ ด้วยทิพโสตธาตุอัน บริสุทธิ์ล่วงโสตของมนุษย์.

3. ย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่นของบุคคลอื่น คือ จิตมีราคะ หรือปราศจากราคะ ก็รู้.. จิตมีโทสะ หรือปราศจากโทสะ ก็รู้... จิตมีโมหะ หรือ ปราศจากโมหะ ก็รู้ว่า... จิตหดหู่ จิตฟุ้งซ่านก็รู้.. จิตตั้งมั่นก็รู้...จิตหลุดพ้นก็รู้  จิตไม่หลุดพ้นก็รู้

4. ย่อมระลึก ชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ ตลอดสังวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวัฏกัป เป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ว่า ในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่าง

5.ย่อมเห็น หมู่สัตว์ที่กำลังจุติ(เกิด) กำลังอุปบัติ เลวได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุ ย่อมรู้ชัด ซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตาม กรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบ ด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียน พระอริยเจ้า เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

------------------------------------------------------------------------------

ภิกษุเมื่อเจริญ กระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔ ย่อมกระทำ ให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.


 
 


ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค หน้าที่ ๒๗๗

วิธีเจริญอิทธิบาท ๔

 

        [๑๑๓๖] พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อก่อนแต่ตรัสรู้ ครั้งเราเป็นพระโพธิสัตว์ ยังมิได้ตรัสรู้ ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ของการเจริญอิทธิบาท.

        [๑๑๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบด้วย ฉันทสมาธิ และ ปธานสังขาร ดังนี้ ว่าฉันทะ ของเรา จักไม่ย่อหย่อนเกินไปไม่ต้องประคองเกินไป ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ฟุ้งซ่านไป ในภายนอก และเธอมีความสำคัญ ในเบื้องหลังและเบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น กลางวันฉันใดกลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น เธอมีใจเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตใจให้สว่างอยู่.

        [๑๑๓๘] ภิกษุย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วย วิริยสมาธิ และ ปธานสังขาร ดังนี้ว่าวิริยะของเราจักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป ... ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่.

        [๑๑๓๙] ภิกษุย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วย จิตตสมาธิ และ ปธานสังขาร ดังนี้ว่าจิตของเราจักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป ... ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่.

        [๑๑๔๐] ภิกษุย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิมังสาสมาธิ และ ปธานสังขาร ดังนี้ว่า วิมังสาของเราจักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ฟุ้งซ่านไปภายนอก และเธอมีความสำคัญในเบื้องหลัง และ เบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใดเบื้องล่างก็ฉันนั้น กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น เธอมีใจเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่.

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ผลของการเจริญอิทธิบาท ๔

        [๑๑๔๑] ภิกษุเมื่อเจริญ กระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔ อย่างนี้ ย่อมแสดงฤทธิ์ ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็น คนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้ หายไปก็ได้ ทะลุฝา กำแพง ภูเขาไปได้ไม่ ติดขัดเหมือนไป ในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลงในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำ ไม่แตก เหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ลูบคลำพระจันทร์ พระอาทิตย์ ซึ่งมีฤทธิ์ มีอานุภาพมากอย่างนี้ด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไป ตลอดพรหมโลก ก็ได้.

        [๑๑๔๒] ภิกษุเมื่อเจริญ กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ อย่างนี้ ย่อมได้ยินเสียง ๒ ชนิดคือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งอยู่ไกลและใกล้ ด้วยทิพโสตธาตุอัน บริสุทธิ์ล่วงโสตของมนุษย์.

        [๑๑๔๓] ภิกษุเมื่อเจริญ กระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔ อย่างนี้ ย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นด้วยใจ คือ จิตมีราคะ ก็รู้ว่า จิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่า จิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ว่า จิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่า จิตปราศจากโทสะจิตมีโมหะ ก็รู้ว่า จิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่า จิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่า จิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหรคต ก็รู้ว่า จิตเป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ว่า จิตไม่เป็นมหรคต จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่า จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่า จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตตั้งมั่น ก็รู้ว่า จิตตั้งมั่น หรือจิตไม่ตั้งมั่น ก็รู้ว่าจิตไม่ตั้งมั่น จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่า จิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่า จิตไม่หลุดพ้น.

        [๑๑๔๔] ภิกษุเมื่อเจริญ กระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔ อย่างนี้ ย่อมระลึก ชาติก่อนได้เป็นอันมา คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้างสิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้างพันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวัฏกัปเป็นอันมากบ้างตลอดสังวัฏฏวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า ในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้นครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้มาเกิดในภพนี้ เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้.

        [๑๑๔๕] ภิกษุเมื่อเจริญ กระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔ อย่างนี้ ย่อมเห็น หมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี ผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตาม กรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบ ด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดมั่นการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดมั่นการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติกำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัด ซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้.

        [๑๑๔๖] ภิกษุเมื่อเจริญ กระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔ อย่างนี้ ย่อมกระทำ ให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.
 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์