เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ  

 
  ทิฏฐิ  ๖๒ ปุพพันตกัปปิกวาทะ ๑๘ และ อปรันตกัปปิกวาทะ ๔๔ (รวมเป็น ทิฏฐิ ๖๒) 971
 
(เนื้อหาพอสังเขป)

1) ปุพพันตกัปปิกวาทะ ๑๘ ความเห็นกำหนด ขันธ์ ส่วนอดีต
(ปรารภขันธ์ในเบื้องต้น)
2) อปรันตกัปปิกวาทะ ๔๔ ความเห็น กำหนดขันธ์ส่วนอนาคต (ปรารภขันธ์ในเบื้องปลาย)

กลุ่มที่ 1 - ปุพพันตกัปปิกะ (ปุพพันตานุทิฏฐิ) (ความเห็นปรารภเบื้องต้น ๑๘ ลัทธิ)
(๑) สัสสตทิฏฐิ มี ๔ ลัทธิ
(๒) เอกัจจสัสสตทิฏฐิ มี ๔ ลัทธิ
(๓) อันตานันติกทิฏฐิ มี ๔ ลัทธิ
(๔) อมราวิกเขปิกทิฏฐิ มี ๔ ลัทธิ
(๕) อธิจจสมุปปันนิกะ มี ๒ ลัทธิ

กลุ่มที่ 2 - อปรันตกัปปิกะ (อปรันตนุทิฏฐิ) (ความเห็นปรารภเบื้องปลาย ๔๔ ลัทธิ)
(๑) พวกสัญญีวาท (๑๖ ลัทธิ)
(๒) พวกอสัญญีวาท (๘ ลัทธิ)
(๓) พวกเนวสัญญีนาสัญญีวาท (๘ ลัทธิ)
(๔) พวกอุจเฉทวาท (๗ ลัทธิ)
(๕) พวกทิฏฐธรรมนิพานวาท (๕ ลัทธิ)

รวม ๖๒ ลัทธิ

 
 


พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ (ภาษาไทย ๑) เล่มที่ ๙ สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค หน้าที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎก  ทีฆนิกาย  สีลขันธวรรค  [๑.พรหมชาลสูตร]

ทิฏฐิ  ๖๒  สัสสตวาทะ  ๔


ปุพพันตกัปปิกวาทะ ๑๘
ความเห็นกำหนด ขันธ์ ส่วนอดีต

            {๒๖}[๒๘]  ภิกษุทั้งหลาย  มีธรรมเหล่าอื่นอีกที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก  รู้ตามได้ยากสงบ ประณีต ใช้เหตุผลคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต  ซึ่งตถาคต รู้แจ้งได้เองแล้ว สั่งสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ตามอันเป็นเหตุให้คนกล่าว ยกย่อง ตถาคตถูกต้องตามความเป็นจริง ก็ธรรมที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก  ...  อันเป็นเหตุให้คนกล่าวยกย่องตถาคต ตามความเป็นจริง คืออะไรบ้าง

            {๒๗}[๒๙]  ภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์ ๒ พวก หนึ่งกำหนดขันธ์ ส่วนอดีต  มีความเห็นคล้อยตามขันธ์ส่วนอดีต ปรารภขันธ์ส่วนอดีต  ประกาศ วาทะแสดงทิฏฐิต่าง ๆ ด้วยมูลเหต  ๑๘  อย่าง ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น อาศัยอะไรปรารภ อะไรจึงกำหนดขันธ์ส่วนอดีต  มีความเห็นคล้อยตามขันธ์ส่วนอดีต ปรารภขันธ์ส่วนอดีต ประกาศวาทะแสดงทิฏฐิต่าง ๆ ด้วยมูลเหตุ  ๑๘  อย่าง
 
สัสสตวาทะ ๔
เห็นว่าอัตตาและโลกเที่ยง


            [๓๐]  ภิกษุทั้งหลาย  มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะว่าเที่ยง บัญญัติ อัตตา ๓ และโลก ว่าเที่ยง ด้วยมูลเหตุ ๔ อย่าง ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น อาศัยอะไรปรารภอะไร จึงมีวาทะว่าเที่ยง บัญญัติอัตตา และโลกว่าเที่ยงด้วยมูลเหตุ  ๔ อย่าง
 
มูลเหตุที่ ๑

            [๓๑]  ๑. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ อาศัยความเพียรเครื่องเผา กิเลส ความเพียร ที่ตั้งมั่น ความหมั่นประกอบ ความไม่ประมาท และอาศัยการใช้ ความคิด อย่างถูกวิธี แล้วบรรลุเจโตสมาธิ๑ ที่เป็นเหตุทำจิตให้ตั้งมั่น (บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความเศร้าหมอง) ระลึกชาติก่อน ได้หลายชาติ  คือ ๑  ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ๓ ชาติบ้าง ๔ ชาติบ้าง  ๕ ชาติบ้าง  ๑๐ ชาติบ้าง  ๒๐ ชาติบ้าง ๓๐ ชาติบ้าง ๔๐ ชาติบ้าง ๕๐ ชาติบ้าง ๑๐๐ ชาติบ้าง  ๑,๐๐๐ ชาติบ้าง ๑๐๐,๐๐๐ ชาติบ้าง หลายร้อยชาติบ้าง หลายพันชาติบ้าง หลายแสนชาติบ้าง ว่าใน ภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ  มีอาหาร  เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่าง นั้น ๆ จุติ(เคลื่อน) จากภพนั้น ก็ไปเกิดใน ภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่อ อย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร สวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นจึงมาเกิด ในภพนี้ เขาระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้

            เขาจึงพูดอย่างนี้ว่า  อัตตาและโลกเที่ยง ยั่งยืน ตั้งมั่นอยู่ดุจยอดภูเขา ดุจเสาระเนียด ส่วนสัตว์ เหล่านั้นย่อมแล่นไป ท่องเที่ยวไป จุติและเกิดแต่มีสิ่งที่เที่ยง อยู่แน่ เพราะเหตุอะไร เพราะว่าเรา อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส ความเพียร ที่ตั้งมั่น  ความหมั่นประกอบความ ไม่ประมาท และอาศัย การใช้ความคิดอย่างถูกวิธี แล้วบรรลุเจโตสมาธิ ที่เป็นเหตุ ทำจิตให้ตั้งมั่น  ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ  คือ  ๑ ชาติบ้าง  ๒ ชาติบ้าง  ๓ ชาติบ้าง ๔ ชาติบ้าง  ๕ ชาติบ้าง  ๑๐ ชาติบ้าง ๒๐  ชาติบ้าง  ๓๐ ชาติบ้าง  ๔๐ ชาติบ้าง  ๕๐ ชาติบ้าง  ๑๐๐ ชาติบ้าง  ๑,๐๐๐  ชาติบ้าง ๑๐๐,๐๐๐  ชาติบ้าง หลายร้อยชาติบ้าง หลายพันชาติบ้าง หลายแสนชาติ บ้าง 

            ว่าในภพโน้นเรามีชื่อ อย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์  และมีอายุอย่างนั้น ๆ  จุติจากภพนั้นก็ไปเกิด ในภพโน้น แม้ในภพนั้นเราก็ได้มีชื่อ อย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์  และมีอายุ อย่างนั้น ๆ จุติจาก ภพนั้นจึงมาเกิดในภพนี้ เราระลึกชาติก่อนได้หลายชาติพร้อมทั้ง ลักษณะทั่วไป และ ชีวประวัติอย่างนี้ เพราะการได้บรรลุคุณวิเศษนี้ เราจึงรู้อาการที่อัตตาและโลกเที่ยง  ยั่งยืน ตั้งมั่นอยู่ ดุจยอดภูเขาดุจเสาระเนียด ส่วนสัตว์เหล่านั้นย่อมแล่นไป ท่องเที่ยวไป จุติและเกิดแต่มีสิ่งที่เที่ยง อยู่แน่

๑ สมาธิแห่งจิต  คือสมาธิในรูปาวจรจตุตถฌาน  (ที.สี.อ.  ๓๑/๙๗)

            ภิกษุทั้งหลาย  นี้เป็นมูลเหตุที่ ๑  ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่งอาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมีวาทะว่า เที่ยง บัญญัติ อัตตาและโลกว่าเที่ยง

มูลเหตุที่ ๒

            {๒๘}[๓๒]  ๒. อนึ่ง  ในมูลเหตุที่ ๒  สมณพราหมณ์ผู้เจริญอาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีวาทะว่าเที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง

            สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้  อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส  ความเพียร ที่ตั้งมั่น  ความหมั่นประกอบ  ความไม่ประมาท  และอาศัยการใช้ความคิด อย่างถูกวิธี แล้วบรรลุเจโตสมาธิ ที่เป็นเหตุทำจิตให้ตั้งมั่น  ระลึกชาติ ก่อนได้หลาย ชาติ คือ๑  สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัป๑ บ้าง ๒ สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปบ้าง ๓  สังวัฏฏกัป และ วิวัฏฏกัปบ้าง  ๔  สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปบ้าง ๕  สังวัฏฏกัปและ วิวัฏฏกัปบ้าง ๑๐ สังวัฏฏกัป และวิวัฏฏกัปบ้าง ว่า ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล  มีวรรณะ มีอาหาร  เสวยสุขทุกข์  และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้น ก็ไปเกิดในภพโน้น  แม้ในภพนั้นเราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ  มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุ อย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้น จึงมาเกิดในภพนี้ เขาระลึกชาติ ก่อน ได้หลาย ชาติ พร้อมทั้งลักษณะ ทั่วไป และชีว ประวัติอย่างนี้

            เขาจึงพูดอย่างนี้ว่า อัตตาและโลกเที่ยง ยั่งยืน ตั้งมั่นอยู่ดุจยอดภูเขาดุจ เสาระเนียด ส่วนสัตว์ เหล่านั้น ย่อมแล่นไป ท่องเที่ยวไป จุติและเกิด  แต่มีสิ่งที่เที่ยง อยู่แน่ เพราะเหตุอะไร เพราะว่าเราอาศัย ความเพียร เครื่องเผากิเลส  ความเพียร ที่ตั้งมั่น ความหมั่นประกอบ ความไม่ประมาท และอาศัยการใช้ความคิด อย่างถูกวิธี แล้วบรรลุเจโตสมาธิ ที่เป็นเหตุทำจิตให้ตั้งมั่น  ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ  คือ ๑ สังวัฏฏกัป และ วิวัฏฏกัปบ้าง ๒  สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปบ้าง  ๓  สังวัฏฏกัป และวิวัฏฏกัปบ้าง ๔  สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัป บ้าง ๕  สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปบ้าง ๑๐  สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปบ้าง ว่าในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น  มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นจึงไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มี ชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์  และมี

๑ สังวัฏฏกัป คือ กัปฝ่ายเสื่อม, ช่วงระยะเวลาที่โลกกำลังพินาศ วิวัฏฏกัป คือ กัปฝ่ายเจริญ, ช่วงระยะเวลา   ที่โลกกลับฟื้น ขึ้นมาใหม่  (วิ.อ. ๑/๑๒/๑๕๘)

            อายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นจึงมาเกิดในภพนี้  เราระลึกถึงชาติก่อน ได้หลายชาติ พร้อมทั้ง ลักษณะทั่วไป และชีวประวัติอย่างนี้ เพราะการได้บรรลุ คุณวิเศษนี้  เราจึงรู้อาการที่อัตตา และโลกเที่ยง ยั่งยืน ตั้งมั่นอยู่ดุจ ยอดภูเขาดุจเสา ระเนียด ส่วนสัตว์เหล่านั้นย่อมแล่นไป ท่องเที่ยวไป จุติและเกิด แต่มีสิ่งที่เที่ยงอยู่แน่

            ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นมูลเหตุที่ ๒ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่งอาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมีวาทะว่าเที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง

มูลเหตุที่ ๓

            {๒๙}[๓๓]  ๓.  อนึ่ง  ในมูลเหตุที่ ๓  สมณพราหมณ์ผู้เจริญ อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีวาทะ ว่าเที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง

            สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส  ความเพียรที่ตั้งมั่น ความหมั่นประกอบ ความไม่ประมาท  และอาศัยการใช้ความคิด อย่างถูกวิธี แล้วบรรลุเจโตสมาธิ ที่เป็นเหตุทำจิตให้ตั้งมั่น ระลึกชาติ ก่อนได้หลาย ชาติ  คือ ๑๐ สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปบ้าง  ๒๐ สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปบ้าง ๓๐  สังวัฏฏกัป และ วิวัฏฏกัปบ้าง ๔๐ สังวัฏฏกัป และวิวัฏฏกัปบ้าง ว่าในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้นมีตระกูล  มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์  และมีอายุอย่างนั้น ๆ  จุติจากภพนั้นก็ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล  มีวรรณะ มีอาหาร  เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นจึงมาเกิด ในภพนี้ เขาระลึกถึง ชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติ อย่างนี้

            เขาจึงพูดอย่างนี้ว่า  อัตตาและโลกเที่ยง ยั่งยืน ตั้งมั่นอยู่ดุจยอดภูเขา ดุจเสาระเนียด ส่วนสัตว์เหล่านั้น ย่อมแล่นไป ท่องเที่ยวไป จุติและเกิดแต่มีสิ่งที่เที่ยง อยู่แน่  เพราะเหตุอะไร เพราะว่าเราอาศัยความเพียร เครื่องเผากิเลส  ความเพียร ที่ตั้งมั่น ความหมั่นประกอบ  ความไม่ประมาท และอาศัยการใช้ความคิดอย่างถูกวิธี แล้วบรรลุเจโตสมาธิที่เป็นเหตุทำจิตให้ตั้งมั่น  ระลึกถึงชาติก่อนได้หลายชาติ  คือ ๑๐  สังวัฏฏกัปและ วิวัฏฏกัป บ้าง  ๒๐  สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัป บ้าง  ๓๐  สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปบ้าง  ๔๐  สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปบ้าง ว่า  ในภพโน้นเรามีชื่อ อย่างนั้น มีตระกูล  มีวรรณะ  มีอาหาร  เสวยสุขทุกข์  และมีอายุอย่างนั้น ๆ  จุติจากภพนั้น ก็ไปเกิดในภพโน้น  แม้ในภพนั้นเราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น  มีตระกูล  มีวรรณะ  มีอาหารเสวยสุขทุกข์  และมีอายุอย่าง นั้น ๆ  จุติจากภพนั้นจึงมาเกิด ในภพนี้  เขาระลึกถึงชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไป และ ชีวประวัติ อย่างนี้  เพราะการได้บรรลุคุณวิเศษนี้  เราจึงรู้อาการ ที่อัตตาและโลกเที่ยง  ยั่งยืน  ตั้งมั่นอยู่ดุจยอดภูเขา ดุจเสา ระเนียด  ส่วนสัตว์เหล่านั้นย่อมแล่นไป  ท่องเที่ยวไป  จุติและเกิด แต่มีสิ่งที่เที่ยงอยู่แน่

            ภิกษุทั้งหลาย  นี้เป็นมูลเหตุที่  ๓ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่งอาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมีวาทะ ว่าเที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง

มูลเหตุที่ ๔

            {๓๐}[๓๔]  ๔.  อนึ่ง ในมูลเหตุที่ ๔  สมณพราหมณ์ผู้เจริญอาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีวาทะว่าเที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง

            สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้เป็นนักตรรกะ๑  เป็นนักอภิปรัชญา๒ แสดงทรรศนะของตน ตามหลักเหตุผล และการคาดคะเนความจริงอย่างนี้ว่า  อัตตา และโลกเที่ยง ยั่งยืน ตั้งมั่นอยู่ ดุจยอดภูเขา ดุจเสาระเนียด ส่วนสัตว์เหล่านั้นย่อม แล่นไป ท่องเที่ยวไป จุติและเกิด แต่มีสิ่งที่เที่ยงอยู่แน่

            ภิกษุทั้งหลาย  นี้เป็นมูลเหตุที่ ๔  ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่งอาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมีวาทะว่าเที่ยง  บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง

๑ นักตรรกะ(ตกฺกี)  ผู้ที่ให้เหตุผลตามแนวของตรรกศาสตร์ (Logic)  มี  ๔  จำพวก คือ  อนุสสติกะ  อนุมาน  จากข้อมูลที่เป็นประสบการณ์  ชาติสสระ  อนุมานโดยการระลึกชาติ  ลาภิตักกิกะ  อนุมานจากประสบการณ์ภายในของตน  และ สุทธิตักกิกะ  อนุมานโดยใช้ เหตุผล ล้วน ๆ  (ที.สี.อ.  ๓๔/๙๘)

๒ นักอภิปรัชญา(วีมํสี) ผู้ที่ให้เหตุผลโดยการคาดคะเนความจริง เอาจากการเทียบเคียง จนพอใจ ถูกใจแล้วยึดถือเป็นทฤษฎี  เช่น  คาดคะเนในเรื่อง ที่เกี่ยวกับปฐมเหตุของโลก และจักรวาล  (ที.สี.อ.  ๓๔/๙๙)


สรุปสัสสตวาทะ

            [๓๕]   ภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้นมีวาทะว่าเที่ยง บัญญัติอัตตา และ โลกว่าเที่ยง ด้วยมูลเหตุ ๔ อย่างนี้แล ก็สมณพราหมณ์เหล่านั้นทุกจำพวก มีวาทะ ว่าเที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง ด้วยมูลเหตุทั้ง ๔ อย่างนี้ หรือ ด้วยมูลเหตุ อย่างใดอย่างหนึ่งใน ๔ อย่างนี้ ไม่พ้นไปจากนี้

            [๓๖]   ภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า  มูลเหตุแห่งทิฏฐิเหล่านี้ ที่บุคคลยึดถืออย่างนี้แล้วย่อมมี คติ และภพหน้าอย่างนั้น ๆ ตถาคตรู้มูลเหตุนั้นชัด  และยังรู้ชัดยิ่งขึ้นไปกว่านั้นอีกจึงไม่ยึดมั่น เมื่อไม่ยึดมั่น จึงรู้ความดับด้วยตนเองรู้ ความเกิดความดับคุณ โทษ และอุบาย เครื่องสลัดเวทนา ออกตามความ เป็นจริง ตถาคต จึงหลุดพ้นเพราะไม่ยึดมั่นถือมั่น

            [๓๗]   ภิกษุทั้งหลาย  ธรรมเหล่านี้แล ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก  สงบประณีต ใช้เหตุผล คาดคะเน เอาไม่ได้  ละเอียด  รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ซึ่งตถาคต รู้แจ้งได้เองแล้ว สั่งสอน ผู้อื่นให้รู้แจ้ง ตามอันเป็นเหตุ ให้ คนกล่าวยกย่องตถาคต ถูกต้องตามความเป็นจริง

ภาณวารที่ ๑ จบ

เอกัจจสัสสตวาทะ ๔
เห็นว่าอัตตาและโลกเที่ยงเป็นบางอย่าง

            {๓๑}[๓๘]  ภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะว่า บางอย่าง เที่ยง บางอย่าง ไม่เที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ด้วยมูลเหตุ ๔ อย่าง 

            ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้นอาศัยอะไรปรารภอะไร จึงมีวาทะว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง  บางอย่างไม่เที่ยง ด้วยมูลเหตุ ๔  อย่าง

            [๓๙]   ภิกษุทั้งหลาย สมัยหนึ่งเมื่อล่วงไปนาน ๆ โลกนี้พินาศ เมื่อโลก กำลังพินาศ เหล่าสัตว์ ส่วนมากไปเกิดที่อาภัสสรพรหม โลก นึกคิดอะไรก็สำเร็จได้ ตามปรารถนามีปีติเป็นอาหาร  มีรัศมีซ่านออกจาก ร่างกาย เที่ยวสัญจรไปในอากาศ อยู่ในวิมานอันงดงาม สถิตอยู่นานแสนนาน

            [๔๐]   สมัยหนึ่ง เมื่อล่วงไปนาน ๆ โลกนี้กลับฟื้นขึ้น เมื่อโลกกำลังฟื้นขึ้น วิมาน ของพรหม ปรากฏว่า ว่างเปล่า เวลานั้นสัตว์ ผู้จุติ จากชั้นอาภัสสรพรหมโลก เพราะสิ้นอายุหรือสิ้นบุญ ย่อมเกิด ที่วิมานพรหม อันว่างเปล่า นึกคิดอะไรก็สำเร็จได้ ตามปรารถนามีปีติเป็นอาหาร มีรัศมีซ่านออก จากร่างกาย เที่ยวสัญจร ไปในอากาศอยู่ในวิมาน อันงดงามสถิตอยู่นานแสนนาน

            [๔๑]   เพราะสัตว์ผู้นั้นอยู่ในวิมานแต่ผู้เดียวเป็นเวลานานจึงเกิดเบื่อหน่าย ว่าโอหนอ แม้สัตว์เหล่าอื่น พึงมาเป็นอย่างนี้บ้าง ต่อมาสัตว์เหล่าอื่น จุติจากชั้น อาภัสสรพรหมโลก เพราะสิ้นอายุ หรือสิ้นบุญย่อมเกิด ที่วิมานพรหม เป็นผู้อยู่ร่วมกับ สัตว์นั้น แม้สัตว์พวกนั้นนึกคิดอะไร ก็สำเร็จได้ตามปรารถนา มีปีติเป็นอาหาร มีรัศมี ซ่านออกจากร่างกาย เที่ยวสัญจรไปในอากาศ อยู่ในวิมาน อันงดงาม  สถิตอยู่นาน แสนนาน

            [๔๒]   ภิกษุทั้งหลาย บรรดาสัตว์พวกนั้น ผู้เกิดก่อนมีความคิดอย่างนี้ว่า เราเป็นพรหม เป็นท้าวมหาพรหม ผู้ยิ่งใหญ่ ไม่มีใครข่มเหงได้ เห็นถ่องแท้ เป็นผู้กุม อำนาจ เป็นอิสระ เป็นผู้สร้าง ผู้บันดาล ผู้ประเสริฐ ผู้บงการ ผู้ทรงอำนาจ เป็นบิดา ของสัตว์ผู้เกิดมาแล้วและกำลัง จะเกิด เราบันดาลสัตว์เหล่านี้ ขึ้นมา เพราะเหตุไร เพราะว่า เรามีความคิดมาก่อนว่า โอหนอ แม้สัตว์เหล่าอื่นพึงมา เป็นอย่างนี้บ้าง เรามีความตั้งใจอย่างนี้และสัตว์เหล่านี้ก็ได้มาเป็นอย่างนี้แล้ว

            แม้พวกสัตว์ที่เกิดภายหลังก็มีความคิดอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญนี้เป็น พระ พรหม เป็นท้าว มหาพรหม ผู้ยิ่งใหญ่ ไม่มีใครข่มเหงได้  เห็นถ่องแท้เป็นผู้กุมอำนาจ เป็นอิสระเป็นผู้สร้าง ผู้บันดาล ผู้ประเสริฐ ผู้บงการ ผู้ทรงอำนาจ เป็นบิดาของสัตว์ ผู้เกิดมาแล้วและกำลังจะเกิด พระพรหมผู้เจริญ บันดาล พวกเราขึ้นมาเพราะเหตุไร เพราะว่าพวกเราได้เห็น พระพรหมองค์นี้ เกิดในที่นี้ก่อน ส่วนพวกเราเกิดมา ภายหลัง

            [๔๓]   ภิกษุทั้งหลาย บรรดาสัตว์พวกนั้น ผู้เกิดก่อนมีอายุยืนผิวพรรณ งดงามและ มีศักดิ์มากกว่า ส่วนผู้เกิด ภายหลัง มีอายุสั้นผิวพรรณทรามและมีศักดิ์ น้อยกว่า  

มูลเหตุที่ ๑

            [๔๔]   ๕.  (๑) ข้อที่สัตว์ผู้จุติ  (เคลื่อน)จากชั้นนั้นแล้วมาเป็นอย่างนี้๑  เป็นเรื่องที่เป็นไปได้  เมื่อเขามาเป็นอย่างนี้ แล้วออกจากเรือนไปบวชเป็น บรรพชิต  เมื่อบวชแล้วอาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส  ความเพียรที่ตั้งมั่น ความหมั่นประกอบ ความไม่ประมาท  และอาศัยการใช้ความคิดอย่างถูกวิธี แล้วบรรลุเจโตสมาธิ ที่เป็น เหต ทำจิตให้ตั้งมั่น ระลึกถึงชาติ ก่อนนั้นได้  ถัดจากนั้นไประลึกไม่ได้

            เขาจึงพูดอย่างนี้ว่า ท่านผู้เป็นพระพรหมผู้เจริญ เป็นท้าวมหาพรหม  ผู้ยิ่งใหญ่ไม่มีใคร ข่มเหงได้ เห็นถ่องแท้ เป็นผู้กุมอำนาจ เป็นอิสระ เป็นผู้สร้าง  ผู้บันดาล ผู้ประเสริฐ ผู้บงการ  ผู้ทรงอำนาจ  เป็นบิดา ของสัตว์ผู้เกิดแล้ว และกำลัง จะเกิด พระพรหมผู้เจริญบันดาลพวกเราขึ้นมา  ท่านเป็นผู้เที่ยงแท้  ยั่งยืน  คงทน ไม่ผันแปร จักดำรงอยู่เที่ยงแท้ไปเช่นนั้นทีเดียว  ส่วนพวกเราที่พระพรหมผู้เจริญนั้น บันดาลขึ้นมา กลับเป็นผู้ ไม่เที่ยงแท้ ไม่ยั่งยืน อายุสั้น ต้องจุติมาเป็นอย่างนี้

            ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นมูลเหตุที่ ๑ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่งอาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมีวาทะว่า  บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง บัญญัติอัตตา และโลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง

มูลเหตุที่ ๒

            {๓๒}[๔๕]  ๖. (๒) อนึ่ง ในมูลเหตุที่ ๒ สมณพราหมณ์ผู้เจริญอาศัย อะไร ปรารภอะไร จึงมีวาทะว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง บัญญัติอัตตา และโลก ว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ภิกษุทั้งหลาย  มีเทวดาพวกหนึ่งชื่อว่า ขิฑฑาปโทสิกะ เทวดาพวกนั้น หมกมุ่นอยู่ในความสนุกสนาน สรวลเสเฮฮาเกินเวลา เมื่อหมกมุ่นอยู่ในความ สนุกสนาน สรวลเสเฮฮา เกินเวลาย่อมหลงลืมสติ เพราะหลงลืม สติ จึงพากันจุติจากชั้นนั้น๑ จากพรหมโลกมาเกิดเป็นมนุษย์ 


            [๔๖]  ข้อที่สัตว์ผู้จุติจากชั้นนั้นแล้วมาเป็นอย่างนี้  เป็นเรื่องที่เป็นไปได้  เมื่อเขามาเป็นอย่างนี้แล้ว ออกจากเรือน ไปบวชเป็นบรรพชิต  เมื่อบวชแล้วอาศัย ความเพียร เครื่องเผากิเลส ความเพียร ที่ตั้งมั่น ความหมั่นประกอบ ความไม่ประมาท และอาศัยการใช้ความคิดอย่างถูกวิธีแล้วบรรลุเจโตสมาธิ ที่เป็นเหตุทำจิตให้ตั้งมั่น ระลึกถึง ชาติก่อน นั้นได้ ถัดจากนั้นไประลึกไม่ได้

            เขาจึงพูดอย่างนี้ว่า พวกเทวดาผู้เจริญ ผู้ไม่ใช่เหล่าขิฑฑาปโทสิกะ ย่อมไม่หมกมุ่นอยู่ใน ความสนุก สนาน สรวลเสเฮฮาเกินเวลา เมื่อไม่หมกมุ่น อยู่ใน ความสนุกสนาน สรวลเสเฮฮา เกินเวลาย่อมไม่หลงลืมสติ  เพราะไม่หลงลืมสติ จึงไม่จุติจากชั้นนั้น  เป็นผู้เที่ยงแท้  ยั่งยืน  คงทน  ไม่ผันแปร  จักดำรงอยู่เที่ยงแท้ ไป เช่นนั้นทีเดียว ส่วนพวกเราเหล่าขิฑฑาปโทสิกะ มัวแต่หมกมุ่นอยู่ในความ สนุกสนา นสรวลเสเฮฮาเกินเวลา  เมื่อหมกมุ่นอยู่ในความสนุกสนาน สรวลเส เฮฮาเกินเวลา ย่อมหลงลืมสติเพราะหลงลืมสติ จึงต้องจุติจากชั้นนั้น  เป็นผู้ไม่เที่ยงแท้  ไม่ยั่งยืนอายุสั้นต้องจุติมาเป็นอย่างนี้

            ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นมูลเหตุที่  ๒  ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่งอาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมีวาทะว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง บัญญัติอัตตา และโลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง


มูลเหตุที่ ๓

            {๓๓}[๔๗]  ๗.  (๓)  อนึ่ง ในมูลเหตุที่ ๓ สมณพราหมณ์ผู้เจริญอาศัย อะไร ปรารภอะไร จึงมี วาทะว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง บัญญัติอัตตา และโลก ว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ภิกษุทั้งหลาย  มีเทวดาพวกหนึ่ง ชื่อว่า มโนปโทสิ กะเทวดาพวกนั้น มัวจ้องจับผิดกันและกันเกินควร เมื่อมัวจ้อง จับผิดกันและกัน เกินควรจึงคิด มุ่งร้ายต่อกัน เมื่อคิดมุ่งร้ายต่อกันจึงเหนื่อยกาย เหนื่อยใจ พากันจุติจากชั้นนั้น

            [๔๘]   ข้อที่สัตว์ผู้จุติจากชั้นนั้นแล้วมาเป็นอย่างนี้  เป็นเรื่องที่เป็นไปได้  เมื่อเขามา เป็นอย่างนี้ แล้วออกจากเรือนไปบวชเป็นบรรพชิต เมื่อบวชแล้ว อาศัย ความเพียรเครื่องเผากิเลส  ความเพียรที่ตั้งมั่น ความหมั่นประกอบ ความไม่ประมาท และอาศัยการใช้ความคิด อย่างถูกวิธี แล้วบรรลุเจโตสมาธิ ที่เป็นเหตุทำจิต ให้ตั้งมั่น ระลึกถึง ชาติก่อนนั้นได้ ถัดจากนั้นไประลึกไม่ได้

            เขาจึงพูดอย่างนี้ว่า พวกเทวดาผู้เจริญ ผู้ไม่ใช่เหล่า มโนปโทสิกะ ย่อมไม่มัวจ้อง จับผิดกัน และกันเกินควร เมื่อไม่มัวจ้องจับผิดกัน และกัน เกินควร ก็ไม่คิด มุ่งร้ายต่อกัน เมื่อไม่คิดมุ่งร้าย ต่อกันก็ไม่เหนื่อยกาย เหนื่อยใจ จึงไม่จุติจาก ชั้นนั้น เป็นผู้เที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร  จักดำรงอยู่เที่ยงแท้ ไปเช่นนั้นทีเดียว ส่วนพวกเรา เหล่ามโนปโทสิกะ มัวจ้องจับผิดกัน และกันเกินควรเมื่อมัวจ้องจับผิดกัน และกันเกิน ควรจึงคิด มุ่งร้ายต่อกัน เมื่อคิดมุ่งร้ายต่อกัน จึงเหนื่อยกายเหนื่อยใจ พากันจุติจากชั้นนั้น เป็นผู้ไม่เที่ยงแท  ไม่ยั่งยืน ไม่คงทนอายุสั้น ต้องจุติมาเป็น อย่างนี้

            ภิกษุทั้งหลาย  นี้เป็นมูลเหตุที่  ๓ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่งอาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมีวาทะ ว่าบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง

มูลเหตุที่ ๔

            {๓๔}[๔๙]  ๘. (๔)  อนึ่ง ในมูลเหตุที่ ๔  สมณพราหมณ์ผู้เจริญอาศัย อะไร ปรารภอะไร  จึงมีวาทะว่า บางอย่างเที่ยง  บางอย่างไม่เที่ยง บัญญัติอัตตา และโลก ว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์บางคน ในโลกนี้ เป็นนักตรรกะ เป็นนักอภิปรัชญา แสดงทรรศนะของตน ตามหลัก เหตุผล และการ คาดคะเนความจริงอย่างนี้ว่า สิ่งที่เรียกว่าตา หู จมูก  ลิ้น กาย  นี้เรียกว่า อัตตา เป็นของไม่เที่ยงแท้ ไม่ยั่งยืน ไม่คงทน ต้องผันแปร  ส่วนสิ่งที่เรียกว่าจิต ใจ  วิญญาณนี้เรียกว่าอัตตา เป็นของเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร  จักดำรงอยู่เที่ยง แท้ ไปเช่นนั้นทีเดียว

            ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นมูลเหตุที่  ๔  ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่งอาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมีวาทะว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง บัญญัติอัตตา และโลก ว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง

สรุปเอกัจจสัสสตวาทะ

            [๕๐]   ภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้นมีวาทะว่า  บางอย่างเที่ยง  บางอย่างไม่เที่ยง บัญญัติ อัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ด้วยมูลเหตุ๔ อย่างนี้แล ก็สมณพราหมณ์เหล่านั้น ทุกจำพวกมีวาทะว่า  บางอย่า งเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่าง ไม่เที่ยง ด้วยมูลเหตุทั้ง ๔ อย่างนี้ หรือด้วยมูลเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งใน  ๔ อย่างนี้ ไม่พ้นไปจากนี้

            [๕๑]   ภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า มูลเหตุแห่งทิฏฐิเหล่านี้ ที่บุคคลยึดถือ อย่างนี้แล้ว ย่อมมีคติ และภพหน้าอย่างนั้น ๆ ตถาคตรู้มูลเหตุนั้นชัด และ ยังรู้ชัดยิ่งขึ้นไปกว่านั้น อีกจึงไม่ยึดมั่น เมื่อไม่ยึดมั่น จึงรู้ความดับด้วยตนเอง  รู้ความเกิดความดับ คุณ โทษ และอุบาย เครื่องสลัดเวทนาออกตามความเป็นจริง  ตถาคตจึงหลุดพ้น เพราะไม่ยึดมั่นถือมั่น

            [๕๒]   ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แล ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก  สงบประณีต ใช้เหตุผล คาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต  ซึ่งตถาคต รู้แจ้ง ได้เองแล้วสั่งสอนผู้อื่น ให้รู้แจ้งตามอันเป็นเหตุ ให้คนกล่าวยกย่องตถาคต ถูกต้องตามความเป็นจริง

อันตานันติกวาทะ ๔
เห็นว่าโลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด๑

            {๓๕}[๕๓]  ภิกษุทั้งหลาย  มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะว่า  โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด บัญญัติว่า โลกมีที่สุด  โลกไม่มีที่สุด ด้วยมูลเหตุ  ๔  อย่าง  ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีวาทะว่า โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด บัญญัติว่า โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ด้วยมูลเหตุ  ๔  อย่าง

๑ คำว่า ที่สุด ในที่นี้หมายถึงขอบเขตของโลก ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง และตามขวาง ซึ่งเป็นข้อ ที่ยกขึ้น โต้แย้งกัน  ว่า โลกมีขอบเขตกำจัด หรือไม่มีขอบเขตจำกัด (ที.สี.อ. ๕๔/๑๐๖)

มูลเหตุที่ ๑

            [๕๔]  ๙.  (๑)  ภิกษุทั้งหลาย  สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ อาศัยความเพียร เครื่องเผากิเลส ความเพียรที่ตั้งมั่น ความหมั่นประกอบ  ความไม่ ประมาท และอาศัยการใช้ ความคิดอย่างถูกวิธีแล้ว บรรลุเจโตสมาธิที่เป็นเหตุ ทำจิตให้ตั้งมั่น จึงเข้าใจว่าโลกมีที่สุด

            เขาจึงพูดอย่างนี้ว่า โลกนี้มีที่สุด มีสัณฐานกลม เพราะเหตุไร เพราะเรา อาศัย ความเพียร เครื่องเผากิเลส ความเพียรที่ตั้งมั่น ความหมั่น ประกอบความ ไม่ประมาท และอาศัยการใช้ความคิดอย่างถูกวิธี แล้วบรรลุเจโตสมาธิ ที่เป็นเหตุทำ จิต ให้ตั้งมั่น จึงเข้าใจว่าโลก มีที่สุด เพราะการบรรลุคุณวิเศษนี้ เราจึงรู้อาการ ที่โลกนี้ มีที่สุด และมีสัณฐานกลม

            ภิกษุทั้งหลาย  นี้เป็นมูลเหตุที่ ๑ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่งอาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมีวาทะว่า โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด บัญญัติว่า โลกมีที่สุด โลกไม่มี ที่สุด

มูลเหตุที่ ๒

            {๓๖}[๕๕]  ๑๐. (๒)  อนึ่ง ในมูลเหตุที่ ๒  สมณพราหมณ์ผู้เจริญอาศัย อะไร ปรารภอะไร  จึงมีวาทะว่า โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด บัญญัติว่าโลกมีที่สุด  โลกไม่มีที่สุด  ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ อาศัยความเพียร เครื่องเผากิเลส  ความเพียร ที่ตั้งมั่น ความหมั่นประกอบ ความไม่ประมาท และ อาศัยการใช้ ความคิดอย่างถูกวิธีแล้วบรรลุ เจโตสมาธิ ที่เป็นเหตุทำจิตให้ตั้งมั่น  จึงเข้าใจว่าโลกไม่มีที่สุด

            เขาจึงพูดอย่างนี้ว่า โลกนี้ไม่มีที่สุด หาที่สุดไม่ได้  สมณพราหมณ์ ที่กล่าว อย่างนี้ว่า โลกนี้มีที่สุด  มีสัณฐานกลม เป็นผู้กล่าวเท็จ (ที่จริงแล้ว) โลกนี้ไม่มี ที่สุด หาที่สุดไม่ได้ เพราะเหตุไร เพราะเราอาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส  ความเพียร ที่ตั้งมั่น ความหมั่นประกอบ ความไม่ประมาท และอาศัยการใช้ความคิด อย่างถูกวิธี แล้ว บรรลุเจโตสมาธิที่เป็นเหตุ ทำจิตให้ตั้งมั่น จึงเข้าใจว่า โลกนี้ไม่มีที่สุด หาที่สุด ไม่ได้ เพราะการบรรลุคุณวิเศษนี้ เราจึงรู้อาการ ที่โลกนี้ไม่มีที่สุด หาที่สุดไม่ได้

            ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นมูลเหตุที่ ๒ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่งอาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมีวาทะว่า โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด บัญญัติว่า โลกมีที่สุด โลกไม่มี ที่สุด

มูลเหตุที่ ๓

            {๓๗}[๕๖]  ๑๑. (๓)  อนึ่ง ในมูลเหตุที่  ๓ สมณพราหมณ์ผู้เจริญ อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีวาทะว่าโลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด บัญญัติว่า โลกมีที่สุด  โลกไม่มี ที่สุด ภิกษุทั้งหลาย สมณะ หรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้อาศัยความเพียร เครื่องเผากิเลส  ความเพียรที่ตั้งมั่น ความหมั่น ประกอบความไม่ประมาท และ อาศัยการใช้ ความคิด อย่างถูกวิธีแล้วบรรลุเจโตสมาธิที่เป็นเหตุ ทำจิต ให้ตั้งมั่น  จึงเข้าใจโลกว่า ด้านบนด้านล่างมีที่สุด ด้านขวางไม่มีที่สุด

            เขาจึงพูดอย่างนี้ว่า โลกนี้ทั้งมีที่สุดและไม่มีที่สุด สมณพราหมณ์ที่กล่าว อย่างนี้ ว่าโลกนี้มีที่สุด มีสัณฐานกลม เป็นผู้กล่าวเท็จ แม้สมณพราหมณ์ ที่กล่าวอย่างนี้ว่า โลกนี้ไม่มีที่สุด หาที่สุดไม่ได้  ก็เป็นผู้กล่าวเท็จ (ที่จริงแล้ว) โลกนี้ทั้งมีที่สุดและไม่มีที่สุด เพราะเหตุไร เพราะเรา อาศัยความเพียรเครื่องเผา กิเลส ความเพียรที่ตั้งมั่น ความหมั่นประกอบ  ความไม่ประมาท และอาศัยการ ใช้ความคิด อย่างถูกวิธีแล้ว บรรลุเจโตสมาธิที่เป็นเหตุทำจิตให้ตั้งมั่น จึงเข้าใจโลก ว่า ด้านบนด้านล่างมีที่สุดด้านขวางไม่มีที่สุด เพราะการบรรลุคุณวิเศษนี้  เราจึงรู้อาการ ที่โลกนี้ ทั้งมีที่สุด และไม่มีที่สุด

            ภิกษุทั้งหลาย  นี้เป็นมูลเหตุที่ ๓ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่งอาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมีวาทะว่าโลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด บัญญัติว่า โลกมีที่สุด โลกไม่มี ที่สุด

มูลเหตุที่ ๔

            {๓๘}[๕๗] ๑๒. (๔)  อนึ่ง ในมูลเหตุที่ ๔  สมณพราหมณ์ผู้เจริญอาศัย อะไร ปรารภอะไร  จึงมีวาทะ ว่า โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด บัญญัติว่า โลกมีที่สุด โลกไม่มี ที่สุดภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคน ในโลกนี้ เป็นนักตรรกะ เป็นนัก อภิปรัชญา แสดงทรรศนะของตน ตามหลักเหตุผล และการคาดคะเน ความจริง อย่างนี้ว่า โลกนี้มีที่สุด ก็มิใช่ ไม่มีที่สุดก็มิใช่  สมณพราหมณ์ที่กล่าว อย่างนี้ว่า โลกนี้มีที่สุดมีสัณฐานกลม  เป็นผู้กล่าวเท็จ แม้สมณพราหมณ์ ที่กล่าวอย่างนี้ว่า โลกนี้ไม่มีที่สุด หาที่สุดไม่ได้  ก็เป็นผู้กล่าวเท็จ แม้สมณพราหมณ์ ที่กล่าวอย่างนี้ว่า โลกนี้ทั้งมีที่สุดและไม่มีที่สุด  ก็เป็นผู้กล่าวเท็จ (ที่จริงแล้ว) โลกนี้มีที่สุดก็มิใช่ ไม่มีที่สุดก็มิใช่

            ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นมูลเหตุที่ ๔ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่งอาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมีวาทะว่า โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด  บัญญัติว่า โลกมีที่สุด โลกไม่มี ที่สุด

สรุปอันตานันติกวาทะ

            [๕๘]  ภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้นมีวาทะว่า โลกมีที่สุด โลก ไม่มีที่สุด บัญญัติว่าโลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ด้วยมูลเหต ๔ อย่างนี้แล ก็สมณพราหมณ์เหล่านั้นทุกจำพวก บัญญัติว่า โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ด้วยมูลเหตุ ทั้ง ๔ อย่างนี้หรือด้วยมูลเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง ใน ๔ อย่างนี้ ไม่พ้นไปจากนี้

            [๕๙]  ภิกษุทั้งหลาย  เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า  มูลเหตุแห่งทิฏฐิเหล่านี้ ที่บุคคล ยึดถือ อย่างนี้แล้วย่อมมีคติและภพหน้าอย่างนั้น ๆ ตถาคตรู้มูลเหตุนั้นชัด  และยังรู้ชัดยิ่งขึ้นไปกว่านั้น อีกจึงไม่ยึดมั่น เมื่อไม่ยึดมั่นจึงรู้ความดับด้วยตนเอง รู้ความเกิดความดับ คุณ โทษ และอุบาย เครื่องสลัดเวทนาออกตามความเป็นจริง ตถาคตจึงหลุดพ้นเพราะไม่ยึดมั่นถือมั่น

            [๖๐]  ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แล ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบประณีต ใช้เหตุผล คาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด  รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ซึ่งตถาคต รู้แจ้งได้เองแล้วสั่งสอนผู้อื่น ให้รู้แจ้งตาม อันเป็นเหตุให้คนกล่าวยกย่อง ตถาคต ถูกต้องตามความเป็นจริง

อมราวิกเขปวาทะ๑ ๔
ความเห็นหลบเลี่ยง ไม่แน่นอน

          {๓๙}[๖๑]  ภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะหลบเลี่ยง ไม่แน่นอน พอถูกถามปัญหา ในประเด็นนั้น ๆ ย่อมกล่าวหลบเลี่ยง ไม่แน่นอน ด้วยมูลเหตุ ๔ อย่าง ก็สมณ พราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น อาศัยอะไรปรารภอะไรจึงมี วาทะหลบเลี่ยง

๑ ลัทธิที่มีความเห็นหลบเลี่ยงไม่แน่นอนว่าใช่หรือไม่ใช่  เป็นความเห็นที่ลื่นไหลจับได้ยาก เหมือน ปลาไหล ไม่แน่นอน  พอถูกถามปัญหาในประเด็นนั้น  ๆ  ย่อมกล่าวหลบเลี่ยง ไม่แน่นอน ด้วยมูลเหตุ  ๔  อย่าง

มูลเหตุที่ ๑

            [๖๒]  ๑๓.  (๑)  ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ ไม่รู้ชัด ตามความเป็นจริงว่าสิ่งนี้เป็นกุศลหรือเป็นอกุศล เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า เราไม่รู้ชัด ตามความเป็นจริงว่า สิ่งนี้เป็นกุศลหรือเป็น อกุศล ก็ถ้าเราไม่รู้ชัดว่า สิ่งนี้เป็นกุศลหรือเป็นอกุศล จะพึงตอบว่า สิ่งนี้เป็นกุศลหรือเป็นอกุศล คำตอบ ก็จะเป็น เท็จคำเท็จนั้นจะนำความเดือดร้อน ซึ่งจะนำอันตรายมาให้แก่เราได้ ดังนั้น เขาจึงตอบว่าสิ่งนี้เป็นกุศลก็หามิได้  เป็นอกุศลก็หามิได้ เพราะกลัว และรังเกียจการกล่าวเท็จ  เมื่อถูกถามปัญหาในประเด็นนั้น ๆ จึงกล่าวหลบเลี่ยง ไม่แน่นอนว่า เรามีความเห็นว่าอย่างนี้ก็มิใช่ อย่างนั้นก็มิใช่  อย่างอื่นก็มิใช่ จะว่าไม่ใช่ก็มิใช่ จะว่ามิใช่ไม่ใช่ ก็มิใช่

            ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นมูลเหตุที่ ๑ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่งอาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมีวาทะหลบเลี่ยง ไม่แน่นอน พอถูกถามปัญหาในประเด็นนั้น ๆ  ย่อมกล่าวหลบเลี่ยงไม่แน่นอน

มูลเหตุที่ ๒

            {๔๐}[๖๓]  ๑๔. (๒)  อนึ่ง ในมูลเหตุที่ ๒  สมณพราหมณ์ผู้เจริญอาศัย อะไร ปรารภอะไร จึงมีวาทะหลบเลี่ยง ไม่แน่นอน พอถูกถามปัญหาในประเด็นนั้น ๆ ย่อมกล่าว หลบเลี่ยงไม่แน่นอน ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือ พราหมณ์บางคนในโลกนี้ ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า สิ่งนี้เป็นกุศล หรือเป็นอกุศล เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า เราไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า สิ่งนี้เป็นกุศลหรือ เป็นอกุศล ก็ถ้าเราไม่รู้ชัดว่า สิ่งนี้เป็นกุศลหรือเป็นอกุศล จะพึงตอบว่า สิ่งนี้เป็นกุศลหรือ เป็นอกุศล ฉันทะ (ความพอใจ)ราคะ (ความกำหนัด) โทสะ (ความขัดเคือง) ปฏิฆะ (ความขัดใจ) จะพึงมีแก่เราได้เรื่องนี้จะเป็นเหตุให้เรายึดมั่น อันจะนำความเดือดร้อน ซึ่งจะนำ อันตราย มาให้แก่เราได้

            ดังนั้น เขาจึงตอบว่า สิ่งนี้เป็นกุศลก็หามิได้  เป็นอกุศลก็หามิได้เพราะกลัว และรังเกียจ การยึดมั่น เมื่อถูกถามปัญหาในประเด็นนั้น ๆ จึงกล่าว หลบเลี่ยง ไม่แน่นอนว่า เรามีความเห็นว่า อย่างนี้ก็มิใช่ อย่างนั้นก็มิใช่ อย่างอื่นก็มิใช่ จะว่าไม่ใช่ก็มิใช่จะว่ามิใช่ไม่ใช่ก็มิใช่

            ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นมูลเหตุที่ ๒ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่งอาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมีวาทะ หลบเลี่ยง ไม่แน่นอน พอถูกถามปัญหาในประเด็นนั้น ๆ ย่อมกล่าว หลบเลี่ยง ไม่แน่นอน

มูลเหตุที่ ๓

            {๔๑}[๖๔]  ๑๕.  (๓) อนึ่ง  ในมูลเหตุที่  ๓ สมณพราหมณ์ผู้เจริญอาศัย อะไรปรารภ อะไร  จึงมีวาทะ หลบเลี่ยงไม่แน่นอน  เมื่อถูกถามปัญหา ในประเด็นนั้น ๆ  ย่อมกล่าวหลบเลี่ยง ไม่แน่นอน ภิกษุทั้งหลาย  สมณะหรือพราหมณ์บางคน ในโลกนี้ ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า  สิ่งนี้เป็นกุศลหรือเป็นอกุศล  เขามีความเห็น อย่างนี้ว่า  เราไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า สิ่งนี้เป็นกุศลหรือเป็นอกุศล ก็ถ้าเรา ไม่รู้ชัดว่า  สิ่งนี้เป็น กุศลหรือเป็น อกุศล  จะพึงตอบว่า  สิ่งนี้เป็นกุศลหรือเป็นอกุศล  สมณพราหมณ์ผู้เป็น บัณฑิต  มีปัญญาลึกซึ้ง ชำนาญการโต้วาทะ แม่นยำดุจขมังธนู มีอยู่แน่แท้ 

            สมณพราหมณ์ เหล่านั้น จะเที่ยวกล่าวแก้ทิฏฐิด้วยปัญญา  พวกเขาจะ ซักไซ้ ไล่เลียง สอบสวนเราในเรื่องนี้  เราจะไม่อาจโต้ตอบได้  การโต้ตอบไม่ได้นั้น จะทำให้เราเดือดร้อน ซึ่งจะนำอันตรายมาให้แก่เราได้  ดังนั้น เขาจึงตอบว่า สิ่งนี้เป็น กุศล ก็หามิได้ เป็นอกุศลก็หามิได้ เพราะกลัวและรังเกียจการซักถาม เมื่อถูกถาม ปัญหา ในประเด็นนั้น ๆ จึงกล่าวหลบเลี่ยง ไม่แน่นอนว่า เรามีความเห็นว่า อย่างนี้ ก็มิใช่ อย่างนั้นก็มิใช่ อย่างอื่นก็มิใช่ จะว่าไม่ใช่ก็มิใช่ จะว่ามิใช่ไม่ใช่ ก็มิใช่

            ภิกษุทั้งหลาย  นี้เป็นมูลเหตุที่ ๓ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่งอาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมีวาทะหลบเลี่ยงไม่แน่นอน พอถูกถามปัญหาในประเด็นนั้น ๆ  ย่อมกล่าวหลบเลี่ยงไม่แน่นอน

มูลเหตุที่ ๔

            {๔๒}[๖๕]  ๑๖. (๔)   อนึ่ง ในมูลเหตุที่ ๔  สมณพราหมณ์ผู้เจริญอาศัย อะไรปรารภอะไร จึงมีวาทะ หลบเลี่ยงไม่แน่นอน  เมื่อถูกถามปัญหาในประเด็นนั้น ๆ ย่อมกล่าวหลบเลี่ยงไม่แน่นอน ภิกษุทั้งหลาย สมณะ หรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ เป็นคนเขลางมงาย  เพราะความเขลางมงาย พอถูกถามปัญหาในประเด็นนั้น ๆ ย่อม กล่าวหลบเลี่ยง ไม่แน่นอนว่า ถ้าท่านถามเราอย่างนี้ว่า โลกหน้ามีจริง หรือ หากเราม ีความเห็นว่า โลกหน้า มีจริง  ก็จะตอบว่า  มีจริง  แต่เรามีความเห็นว่า อย่างนี้ก็มิใช่ อย่างนั้น ก็มิใช่ อย่างอื่นก็มิใช่  จะว่าไม่ใช่ ก็มิใช่  จะว่ามิใช่ไม่ใช่ก็มิใช่ ถ้าท่านถาม เราว่า โลกหน้าไม่มีหรือ หากเรามีความเห็นว่า โลกหน้าไม่มี ก็จะตอบว่า ไม่มี ฯลฯ ถ้าท่านถามเราว่า โลกหน้ามีและไม่มีหรือ ฯลฯ โลกหน้าจะว่ามีก็มิใช่  จะว่าไม่มีก็มิใช่ หรือ ฯลฯ

            สัตว์ที่ผุดเกิด๑  มีจริงหรือ ฯลฯ สัตว์ที่ผุดเกิดไม่มีหรือ ฯลฯ สัตว์ที่ผุดเกิดมี และไม่มี หรือ ฯลฯ สัตว์ที่ผุดเกิดจะว่ามีก็มิใช่ จะว่าไม่มีก็มิใช่หรือ ฯลฯ ผลวิบากแห่ง กรรมดีกรรมชั่ว มีจริงหรือ ฯลฯ  ผลวิบากแห่งกรรมดีกรรมชั่วไม่มีหรือ ฯลฯ ผลวิบาก แห่ง กรรมดี กรรมชั่วมีและไม่มี หรือฯลฯ  ผลวิบากแห่งกรรมดีกรรมชั่วจะว่ามี ก็มิใช่ จะว่าไม่มี ก็มิใช่ หรือ ฯลฯ หลังจากตายแล้ว  ตถาคต๒  เกิดอีกหรือฯลฯ  หลังจากตายแล้วตถาคต ไม่เกิดอีกหรือ ฯลฯ หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก และไม่เกิดอีกหรือ ฯลฯ หลังจาก ตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่  จะว่าไม่เกิดอีก ก็มิใช่หรือ  หากเรามีความเห็นว่า หลังจาก ตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่  ก็จะตอบว่า  หลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีก ก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ แต่เรามีความเห็นว่า อย่างนี้ก็มิใช่ อย่างนั้นก็มิใช่  อย่างอื่นก็มิใช่จะว่าไม่ใช่ก็มิใช่ จะว่ามิใช่ไม่ใช่ก็มิใช่

            ภิกษุทั้งหลาย  นี้เป็นมูลเหตุที่ ๔ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่งอาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมีวาทะ หลบเลี่ยง ไม่แน่นอน พอถูกถามปัญหาในประเด็นนั้น ๆ ย่อมกล่าวหลบเลี่ยงไม่แน่นอน

๑ โอปปาติกะ สัตว์ที่เกิดและเติบโตเต็มที่ทันที และเมื่อจุติ(ตาย) ก็หายวับไป ไม่ทิ้งซากศพไว้ เช่น เทวดา และสัตว์นรก เป็นต้น (ที.สี.อ. ๑๗๑/๑๔๙)

๒ ตถาคต ในที่นี้เป็นคำที่ลัทธิอื่น ๆ ใช้กันมาก่อนพุทธกาล หมายถึงอัตตา (อาตมัน) ไม่ได้หมาย ถึงพระพุทธเจ้า อรรถกถาอธิบายว่า หมายถึง สัตตะ (ที.สี.อ. ๖๕/๑๐๘)


สรุปอมราวิกเขปวาทะ

            [๖๖]  ภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้น มีวาทะหลบเลี่ยงไม่แน่นอน  พอถูกถามปัญหา ในประเด็นนั้น ๆ ย่อมกล่าวหลบเลี่ยงไม่แน่นอน ด้วยมูลเหต  อย่างนี้แล ก็สมณพราหมณ์เหล่านั้นทุกจำพวก พอถูกถามปัญหาในประเด็นนั้น ๆ ย่อมกล่าวหลบเลี่ยง ไม่แน่นอน  ด้วยมูลเหตุทั้ง ๔ อย่างนี้ หรือด้วยมูลเหตุ อย่างใด อย่างหนึ่งใน ๔ อย่างนี้ ไม่พ้น ไปจากนี้ ฯลฯ ๑  อันเป็นเหตุให้คนกล่าวยกย่อง ตถาคต ถูกต้อง ตามความเป็นจริง

อธิจจสมุปปันนวาทะ ๒
เห็นว่าอัตตาและโลกเกิดขึ้นเองไม่มีเหตุปัจจัย

            {๔๓}[๖๗]  ภิกษุทั้งหลาย  มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะว่า อัตตาและ โลก เกิดขึ้นเอง ไม่มีเหตุปัจจัย บัญญัติอัตตาและโลกว่า เกิดขึ้นเองไม่มีเหตุปัจจัย  ด้วยมูลเหตุ ๒ อย่าง ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น อาศัยอะไรปรารภอะไรจึงมีวาทะ ว่า อัตตาและ โลกเกิดขึ้นเอง ไม่มีเหตุปัจจัย บัญญัติอัตตาและโลกว่า เกิดขึ้นเอง ไม่มีเหตุปัจจัย ด้วยมูลเหตุ  ๒  อย่าง

มูลเหตุที่ ๑

            [๖๘]  ๑๗. (๑) ภิกษุทั้งหลาย  มีทวยเทพชื่ออสัญญีสัตว์จุติ (เคลื่อน)  จากชั้นนั้น เพราะเกิด สัญญาขึ้น  ข้อที่สัตว์ผู้จุติจากชั้นนั้นแล้วมาเป็น อย่างนี้  เป็นสิ่งที่เป็นไปได้  เมื่อเขามาเป็นอย่างนี้ แล้วออกจากเรือนไปบวช เป็นบรรพชิต  เมื่อบวชแล้วอาศัย ความเพียรเครื่องเผากิเลส ความเพียรที่ตั้งมั่น ความหมั่นประกอบ ความไม่ประมาท และอาศัยการใช้ความคิดอย่างถูกวิธีแล้ว บรรลุเจโตสมาธิ ที่เป็นเหตุทำจิตให้ตั้งมั่น ตามระลึก ถึง ความเกิดสัญญา ถัดจากนั้นไประลึกไม่ได้  เขาจึงพูดอย่างนี้ว่า อัตตาและ โลก เกิดขึ้นเองไม่มีเหตุปัจจัย เพราะเหตุไร เพราะเมื่อก่อนเรา ไม่ได้มีแล้วบัดนี้ก็ไม่มี จึงน้อมไปเพื่อเป็นผู้สงบ

            ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นมูลเหตุที่ ๑ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่งอาศัยแล้ว ปรารภ แล้ว จึงมีวาทะว่า อัตตาและโลก เกิดขึ้นเอง ไม่มีเหตุปัจจัย บัญญัติอัตตา และโลกว่า เกิดขึ้นเองไม่มีเหตุปัจจัย

มูลเหตุที่ ๒

            {๔๔}[๖๙]  ๑๘.  (๒)  อนึ่ง ในมูลเหตุที่  ๒  สมณพราหมณ์ผู้เจริญอาศัย อะไร ปรารภอะไร จึงมีวาทะว่าอัตตา และโลกเกิดขึ้นเองไม่มีเหตุปัจจัย บัญญัติอัตตา และโลกว่า เกิดขึ้นเอง ไม่มีเหตุปัจจัย  ภิกษุทั้งหลาย สมณะ หรือพราหมณ์บางคน ในโลกนี้ เป็นนักตรรกะ เป็นนักอภิปรัชญา แสดงทรรศนะของตนตามหลักเหตุผล และการ คาดคะเน ความจริงอย่างนี้ว่า อัตตาและโลกเกิดขึ้นเองไม่มีเหตุปัจจัย

            ภิกษุทั้งหลาย  นี้เป็นมูลเหตุที่ ๒  ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่งอาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมีวาทะว่า  อัตตาและโลกเกิดขึ้นเองไม่มีเหตุปัจจัย บัญญัติอัตตา และโลกว่ าเกิดขึ้นเอง ไม่มีเหตุปัจจัย

สรุปอธิจจสมุปปันนวาทะ

            [๗๐]  ภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้นมีวาทะว่า อัตตาและโลก เกิดขึ้น เอง ไม่มีเหตุปัจจัย บัญญัติอัตตาและโลกว่า เกิดขึ้นเองไม่มีเหตุปัจจัย ด้วยมูลเหตุ  ๒อย่างนี้แล ก็สมณพราหมณ์เหล่านั้น ทุกจำพวกมีวาทะว่า อัตตาและ โลก เกิดขึ้นเอง ไม่มีเหตุปัจจัย บัญญัติอัตตาและโลกว่า เกิดขึ้นเองไม่มีเหตุปัจจัย ด้วยมูลเหตุทั้ง  ๒อย่างนี้หรือด้วยมูลเหตุ อย่างใดอย่างหนึ่งใน ๒ อย่างนี้ ไม่พ้นไปจากนี้ ฯลฯ อันเป็นเหตุ ให้คนกล่าวยกย่อง ตถาคต ถูกต้องตามความเป็นจริง

สรุปปุพพันตกัปปิกวาทะ ๑๘

            [๗๑]   ภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้นกำหนดขันธ์ (สรรพสิ่ง) ส่วนอดีต มีความเห็นคล้อย ตามขันธ์ส่วนอดีต  ปรารภขันธ์ส่วนอดีต ประกาศวาทะ แสดงทิฏฐิต่าง ๆ ด้วยมูลเหตุ ๑๘  อย่างนี้แล ก็สมณะ หรือพราหมณ์เหล่านั้น ทุกจำพวก  กล่าวยืนยันด้วย มูลเหตุทั้ง  ๑๘  อย่างนี้หรือด้วยมูลเหตุอย่างใด อย่างหนึ่งใน  ๑๘  อย่างนี้ไม่พ้นไปจากนี้

            [๗๒]   ภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า มูลเหตุแห่งทิฏฐิเหล่านี้ ที่บุคคลยึดถืออย่างนี้ แล้ว ย่อมมีคติ และ ภพหน้าอย่างนั้น ๆ ตถาคตรู้มูลเหตุนั้น ชัด และยังรู้ชัดยิ่งขึ้นไปกว่านั้น อีก จึงไม่ยึดมั่น เมื่อไม่ยึดมั่นจึงรู้ความดับ ด้วยตนเอง รู้ความเกิด ความดับ คุณ  โทษแห่ง เวทนา และอุบายเครื่องสลัดเวทนาออก ตามความเป็นจริง ตถาคตจึงหลุดพ้น เพราะไม่ยึด มั่น ถือมั่น

            [๗๓]   ภิกษุทั้งหลาย  ธรรมเหล่านี้แล ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก  สงบ ประณีต ใช้เหตุผล คาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ซึ่งตถาคต รู้แจ้งได้เอง แล้ว สั่งสอนผู้อื่น ให้รู้แจ้งตาม อันเป็นเหตุ ให้คนกล่าวยกย่องตถาคต ถูกต้องตามความ เป็นจริง



อปรันตกัปปิกวาทะ ๔๔
ความเห็นกำหนดขันธ์ส่วนอนาคต

            {๔๕}[๗๔]  ภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งกำหนดขันธ์ (สรรพสิ่ง) ส่วนอนาคต เห็นคล้อย ตามขันธ์ส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ส่วนอนาคต  ประกาศวาทะแสดง ทิฏฐิต่าง ๆ ด้วยมูลเหตุ ๔๔ อย่าง ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญ เหล่านั้น อาศัยอะไรปรารภ อะไร จึงกำหนดขันธ์ ส่วนอนาคต เห็นคล้อยตามขันธ์ ส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ส่วน อนาคต ประกาศวาทะแสดงทิฏฐิต่าง ๆ ด้วยมูลเหตุ ๔๔ อย่าง

สัญญีวาทะ๑ ๑๖
เห็นว่าอัตตาหลังจากตายแล้วมีสัญญา

            {๔๖}[๗๕]  ภิกษุทั้งหลาย  มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะว่า อัตตา หลังจากตาย แล้ว มีสัญญา บัญญัติ อัตตา หลังจากตายแล้ว ว่ามีสัญญา ด้วยมูลเหตุ ๑๖ อย่าง ก็สมณพราหมณ์ ผู้เจริญ เหล่านั้น อาศัย อะไร ปรารภอะไรจึงมีวาทะว่า อัตตาหลังจากตายแล้ว มีสัญญา บัญญัติอัตตา หลังจากตายแล้วว่ามี สัญญา  ด้วยมูลเหตุ ๑๖  อย่าง

๑ ลัทธิที่ถือว่า หลังจากตายแล้วอัตตายังมีสัญญาเหลืออยู่ คำว่า สัญญา ในที่นี้ไม่ได้ หมายถึง ความจำได้ หมายรู้ธรรมดา  แต่หมายถึงภาวะที่เป็นความรู้สึกรู้ขั้นละเอียด

            [๗๖]   สมณพราหมณ์เหล่านั้นย่อมบัญญัติว่า
๑๙.   (๑)  อัตตาที่มีรูป  ยั่งยืน  หลังจากตายแล้วมีสัญญา
๒๐.   (๒)  อัตตาที่ไม่มีรูป  ยั่งยืน  หลังจากตายแล้วมีสัญญา
๒๑.   (๓)  อัตตาทั้งที่มีรูปและไม่มีรูป  ยั่งยืน  หลังจากตายแล้วมีสัญญา
๒๒.   (๔)  อัตตาที่มีรูปก็มิใช่  ไม่มีรูปก็มิใช่  ยั่งยืน  หลังจากตายแล้วมีสัญญา
๒๓.   (๕)  อัตตาที่มีที่สุด  ยั่งยืน  หลังจากตายแล้วมีสัญญา
๒๔.   (๖)  อัตตาที่ไม่มีที่สุด  ยั่งยืน  หลังจากตายแล้วมีสัญญา
๒๕.   (๗)  อัตตาทั้งที่มีที่สุดและไม่มีที่สุด  ยั่งยืน  หลังจากตายแล้วมีสัญญา
๒๖.  (๘)  อัตตาที่มีที่สุดก็มิใช่ ไม่มีที่สุดก็มิใช่  ยั่งยืน หลังจากตายแล้วมีสัญญา
๒๗.  (๙)  อัตตาที่มีสัญญาอย่างเดียวกัน  ยั่งยืน  หลังจากตายแล้วมีสัญญา
๒๘.  (๑๐)  อัตตาที่มีสัญญาต่างกัน  ยั่งยืน  หลังจากตายแล้วมีสัญญา
๒๙.  (๑๑)  อัตตาที่มีสัญญาเล็กน้อย  ยั่งยืน  หลังจากตายแล้วมีสัญญา
๓๐.  (๑๒)  อัตตาที่มีสัญญาหาประมาณมิได้  ยั่งยืน  หลังจากตายแล้วมีสัญญา
๓๑.  (๑๓)  อัตตาที่มีสุขอย่างเดียว  ยั่งยืน  หลังจากตายแล้วมีสัญญา
๓๒.  (๑๔)  อัตตาที่มีทุกข์อย่างเดียว  ยั่งยืน  หลังจากตายแล้วมีสัญญา
๓๓.  (๑๕)  อัตตาที่มีทั้งสุขและทุกข์  ยั่งยืน  หลังจากตายแล้วมีสัญญา
๓๔.  (๑๖)  อัตตาที่มีทุกข์ก็มิใช่  มีสุขก็มิใช่  ยั่งยืน  หลังจากตายแล้วมีสัญญา

สรุปสัญญีวาทะ ๑๖

            [๗๗]  ภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้นมีวาทะว่า อัตตาหลังจาก ตายแล้ว มีสัญญา บัญญัติอัตตา หลังจากตายแล้วว่ามีสัญญา ด้วยมูลเหตุ ๑๖  อย่างนี้แลก็สมณพราหมณ์ เหล่านั้นทุกจำพวกมี วาทะว่า อัตตาหลังจากตายแล้ว มีสัญญาบัญญัติอัตตา หลังจากตายแล้วว่า มีสัญญา ด้วยมูลเหตุทั้ง ๑๖ อย่างนี้  หรือด้วยมูลเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๑๖ อย่างนี้ ไม่พ้นไปจากนี้ ฯลฯ  อันเป็นเหตุ ให้คนกล่าวยกย่อง ตถาคต ถูกต้องตามความเป็นจริง

ภาณวารที่ ๒ จบ

อสัญญีวาทะ ๘
เห็นว่าอัตตาหลังจากตายแล้วไม่มีสัญญา

            {๔๗}[๗๘]  ภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะว่า  อัตตา หลังจากตายแล้ว ไม่มีสัญญา  บัญญัติอัตตาหลังจากตายแล้วว่าไม่มีสัญญา  ด้วยมูล เหตุ ๘ อย่าง ก็สมณพราหมณ์ ผู้เจริญเหล่านั้น อาศัยอะไร ปรารภอะไรจึงมีวาทะว่า อัตตาหลังจากตายแล้วไม่มีสัญญา บัญญัติ อัตตาหลังจากตายแล้ว ว่าไม่มีสัญญา ด้วยมูลเหตุ  ๘  อย่าง

            [๗๙]   สมณพราหมณ์เหล่านั้นย่อมบัญญัติว่า
๓๕.   (๑)  อัตตาที่มีรูป  ยั่งยืน  หลังจากตายแล้วไม่มีสัญญา
๓๖.   (๒)  อัตตาที่ไม่มีรูป ยั่งยืน  หลังจากตายแล้วไม่มีสัญญา
๓๗.   (๓)  อัตตาทั้งที่มีรูปและไม่มีรูป  ยั่งยืน  หลังจากตายแล้วไม่มีสัญญา
๓๘.   (๔)  อัตตาที่มีรูปก็มิใช่  ไม่มีรูปก็มิใช่  ยั่งยืน  หลังจากตายแล้วไม่มีสัญญา
๓๙.   (๕)  อัตตาที่มีที่สุด  ยั่งยืน  หลังจากตายแล้วไม่มีสัญญา
๔๐.   (๖)  อัตตาที่ไม่มีที่สุด  ยั่งยืน  หลังจากตายแล้วไม่มีสัญญา
๔๑.   (๗)  อัตตาทั้งที่มีที่สุดและไม่มีที่สุด  ยั่งยืน หลังจากตายแล้วไม่มีสัญญา
๔๒.   (๘)  อัตตาที่มีที่สุดก็มิใช่ ไม่มีที่สุดก็มิใช่  ยั่งยืน  หลังจากตายแล้วไม่มีสัญญา

            [๘๐]   ภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้นมีวาทะว่า อัตตาหลังจาก ตายแล้ว ไม่มีสัญญา บัญญัติอัตตา หลังจากตายแล้วว่าไม่มีสัญญา ด้วยมูลเหตุ  ๘  อย่างนี้แล 

            สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ทุกจำพวกมีวาทะว่า อัตตาหลังจากตายแล้ว ไม่มี สัญญา บัญญัติ อัตตา หลังจาก ตายแล้วว่า ไม่มีสัญญา ด้วยมูลเหตุทั้ง  ๘  อย่างนี้หรือ ด้วยมูลเหตุอย่างใด อย่างหนึ่งใน ๘ อย่างนี้ ไม่พ้น ไปจากนี้ ฯลฯ  อันเป็นเหตุให้คนกล่าวยกย่องตถาคต ถูกต้องตามความเป็นจริง

เนวสัญญีนาสัญญีวาทะ ๘
เห็นว่าอัตตาหลังจากตายแล้วมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่

            [๘๑]  ภิกษุทั้งหลาย  มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะว่า อัตตาหลังจาก ตายแล้ว มีสัญญา ก็มิใช่  ไม่มีสัญญาก็มิใช่ บัญญัติอัตตาหลังจากตายแล้ว ว่ามีสัญญา ก็มิใช่ ไม่มีสัญญา ก็มิใช่ด้วยมูลเหตุ  ๘  อย่าง ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญ เหล่านั้น อาศัยอะไรปรารภอะไรจึงมีวาทะว่า อัตตาหลังจากตายแล้วมีสัญญาก็มิใช่  ไม่มีสัญญาก็มิใช่  บัญญัติอัตตาหลังจากตายแล้วว่า มีสัญญา ก็มิใช่ ไม่มีสัญญา ก็มิใช่  ด้วยมูลเหตุ๘  อย่าง

            [๘๒]  สมณพราหมณ์เหล่านั้นย่อมบัญญัติว่า
๔๓.  (๑) อัตตาที่มีรูป  ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว  มีสัญญาก็มิใช่  ไม่มี สัญญาก็มิใช่
๔๔.  (๒) อัตตาที่ไม่มีรูป ยั่งยืน  หลังจากตายแล้ว มีสัญญาก็มิใช่  ไม่มีสัญญาก็มิใช่
๔๕.  (๓) อัตตาทั้งที่มีรูปและไม่มีรูป ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว มีสัญญา ก็มิใช่ ไม่มีสัญญา ก็มิใช่
๔๖. (๔) อัตตาที่มีรูปก็มิใช่ ไม่มีรูปก็มิใช่ ยั่งยืน หลังจากตายแล้วมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มี สัญญาก็มิใช่
๔๗. (๕) อัตตาที่มีที่สุด ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่
๔๘.  (๖) อัตตาที่ไม่มีที่สุด ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว มีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่
๔๙.  (๗) อัตตาทั้งที่มีที่สุดและไม่มีที่สุด ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว มีสัญญาก็มิใช่  ไม่มีสัญญา ก็มิใช่
๕๐.  (๘)  อัตตาที่มีที่สุดก็มิใช่ ไม่มีที่สุดก็มิใช่  ยั่งยืน หลังจากตายแล้วมีสัญญา ก็มิใช่ ไม่มี สัญญาก็มิใช่

            {๔๘}[๘๓]  ภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้นมีวาทะว่า  อัตตา หลังจาก ตายแล้ว มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่  บัญญัติอัตตาหลังจากตายแล้ว ว่า มีสัญญา ก็มิใช่  ไม่มีสัญญา ก็มิใช่  ด้วยมูลเหตุ ๘  อย่างนี้แล  ก็สมณพราหมณ์ เหล่านั้น ทุกจำพวกมีวาทะว่า  อัตตาหลังจาก ตายแล้วมีสัญญาก็มิใช่  ไม่มีสัญญา ก็มิใช่  บัญญัติอัตตา หลังจากตายแล้วว่า  มีสัญญาก็มิใช่  ไม่มีสัญญาก็มิใช่  ด้วยมูลเหตุทั้ง ๘  อย่างนี้  หรือด้วยมูลเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งใน  ๘  อย่างนี้  ไม่พ้นไปจากนี้  ฯลฯ  อันเป็นเหตุให้คนกล่าวยกย่อง ตถาคตตามความเป็นจริง


อุจเฉทวาทะ๑ ๗
เห็นว่าหลังจากตายแล้วอัตตาขาดสูญ


            {๔๙}[๘๔]  ภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะว่าหลังจาก ตายแล้ว อัตตา ขาดสูญ  บัญญัติ ความขาดสูญ  ความพินาศ และความไม่เกิดอีก ของสัตว์ ด้วยมูลเหตุ ๗  อย่าง ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น อาศัยอะไรปรารภ อะไร จึงมีวาทะว่า หลังจากตายแล้ว อัตตาขาดสูญ บัญญัติความขาดสูญ  ความพินาศ และ ความไม่เกิดอีก ของสัตว์ ด้วยมูลเหตุ ๗ อย่าง

            [๘๕]  ๕๑.  (๑)  สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ มีวาทะมีทรรศนะ อย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ  อัตตานี้มีรูปมาจากมหาภูตรูป ๔ เกิดจากบิดามารดา หลังจากตายแล้ว อัตตาย่อมขาดสูญพินาศ  ไม่เกิดอีก  ด้วยเหตุเพียงเท่านี้อัตตานี้ จึงขาดสูญเด็ดขาด สมณพราหมณ์ พวกหนึ่งบัญญัติความขาดสูญความพินาศ  และความไม่เกิดอีกของสัตว์อย่างนี้

๑ ลัทธิที่ถือว่าตายแล้วไม่เกิดอีก เป็นแนวคิดเชิงวัตถุนิยม ลัทธินี้ทำให้หมกมุ่นในกามสุข (ที.สี.อ. ๘๔/๑๑๐)

            [๘๖]  ๕๒.  (๒)  สมณะหรือพราหมณ์คนอื่นกล่าวกับสมณะ หรือพราหมณ์ คนนั้น อย่างนี้ว่าท่านผู้เจริญอัตตาที่ท่านพูดถึงนั้นมีจริง เราไม่ปฏิเสธว่าไม่มี  แต่ อัตตานี้ ไม่ใช่ขาดสูญเด็ดขาด เพราะเหตุเพียงเท่านี้  ยังมี อัตตาอื่นที่เป็นทิพย์ มีรูปเป็นกามาวจร บริโภคข้าวเป็นอาหาร ท่านยังไม่รู้ไม่เห็น แต่เรารู้เราเห็น อัตตานั้น หลังจากตายแล้ว จะขาดสูญพินาศ ไม่เกิดอีกด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อัตตา จึงขาดสูญเด็ดขาด สมณพราหมณ์ พวกหนึ่งบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ  และ ความไม่เกิดอีกของสัตว์อย่างนี้
เทวดาชั้นกามาวจร ๖ ชั้น  คือ จาตุมหาราชิกา  ดาวดึงส์  ยามา ดุสิต นิมมานรดี ปรนิมมิตวสวัตดี
            [๘๗]  ๕๓. (๓) สมณะหรือพราหมณ์คนอื่นกล่าว กับสมณะหรือพราหมณ์ คนนั้น อย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ อัตตาที่ท่านพูดถึงนั้นมีจริง เราไม่ปฏิเสธว่าไม่มี  แต่อัตตานี้ ไม่ใช่ขาดสูญ เด็ดขาดเพราะเหตุเพียงเท่านี้  ยังมีอัตตาอื่นที่เป็นทิพย์  มีรูปสำเร็จด้วยใจ  มีอวัยวะครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง ท่านยังไม่รู้ไม่เห็น แต่เรารู้ เราเห็น  อัตตานั้น หลังจากตายแล้ว จะขาดสูญพินาศไม่เกิดอีก  ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อัตตาจึงขาดสูญเด็ดขาด สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง บัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ และความไม่เกิดอีก ของสัตว์อย่างนี้

            [๘๘]  ๕๔. (๔)  สมณะหรือพราหมณ์คนอื่นกล่าวกับสมณะ หรือพราหมณ์ คนนั้น อย่างนี้ ว่า ท่านผู้เจริญ  อัตตาที่ท่านพูดถึงนั้นมีจริง เราไม่ปฏิเสธว่าไม่มี แต่อัตตานี้ไม่ใช่ขาดสูญ เด็ดขาดเพราะเหตุเพียงเท่านี้ ยังมีอัตตาอื่นที่ถึงชั้น อากาสานัญจายตนะ โดยกำหนดว่า อากาศหาที่สุดมิได้เพราะล่วง รูปสัญญา  ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญา โดยประการ ทั้งปวง ท่านยังไม่รู้ ไม่เห็น แต่เรารู้เราเห็น อัตตานั้นหลังจากตายแล้ว จะขาด สูญพินาศไม่เกิดอีก ด้วยเหตุเพียงเท่านี้อัตตาจึงขาดสูญเด็ดขาด สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง บัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ และความไม่เกิดอีกของสัตว์อย่างนี้

            [๘๙]  ๕๕. (๕) สมณะหรือพราหมณ์คนอื่นกล่าวกับสมณะ หรือพราหมณ์ คนนั้น อย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ อัตตาที่ท่านพูดถึงนั้นมีจริงเราไม่ปฏิเสธว่าไม่มี แต่ อัตตานี้ไม่ใช่ขาดสูญเด็ดขาด พราะเหตุเพียงเท่านี้  ยังมีอัตตาอื่นที่ถึงชั้นวิญญาณัญ-จายตนะ โดยกำหนดว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะได้ โดย ประการทั้งปวง ท่านยังไม่รู้ไม่เห็น แต่เรารู้เราเห็น อัตตานั้นหลังจากตายแล้ว จะขาดสูญ พินาศไม่เกิดอีก ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อัตตาจึงขาดสูญเด็ดขาด  สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง บัญญัติ ความขาดสูญ ความพินาศ  และความไม่เกิดอีก ของสัตว์อย่างนี้

            [๙๐]   ๕๖. (๖)  สมณะหรือพราหมณ์คนอื่นกล่าวกับสมณะ หรือพราหมณ์ คนนั้น อย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ อัตตาที่ท่านพูดถึงนั้น มีจริงเราไม่ปฏิเสธว่าไม่มี  แต ่อัตตานี้ ไม่ใช่ ขาดสูญ เด็ดขาดเพราะ เหตุเพียงเท่านี้ ยังมีอัตตาอื่นที่ถึงชั้น อากิญจัญญายตนะ โดยกำหนดว่าไม่มีอะไร เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะ ได้โดย ประการทั้งปวง ท่านยังไม่รู้ ไม่เห็น  แต่เรารู้เราเห็นอัตตานั้น หลังจากตายแล้ว จะขาดสูญพินาศไม่เกิดอีก ด้วยเหตุ เพียงท่านี้ อัตตาจึงขาดสูญเด็ดขาด สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง บัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ และความไม่เกิดอีก ของสัตว์อย่างนี้

            [๙๑]  ๕๗. (๗) สมณะหรือพราหมณ์คนอื่นกล่าวกับสมณะ หรือพราหมณ์ คนนั้น อย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ อัตตาที่ท่านพูดถึงนั้นมีจริง เราไม่ปฏิเสธว่าไม่มี แต่อัตตานี้ไม่ใช่ ขาดสูญ เด็ดขาดเพราะเหตุเพียงเท่านี้  ยังมี อัตตาอื่นที่ถึงชั้นเนว- สัญญานาสัญญายตนะ โดยกำหนดว่านั่นละเอียด นั่นประณีต เพราะล่วง อากิญจัญญายตนะ ได้โดยประการ ทั้งปวง ท่านยังไม่รู้ไม่เห็น แต่เรารู้เราเห็น อัตตานั้นหลังจากตายแล้ว จะขาดสูญ พินาศ ไม่เกิดอีก ด้วยเหตุเพียงเท่านี้  อัตตาจึงขาดสูญเด็ดขาด สมณพราหมณ์ พวกหนึ่ง บัญญัติ ความขาดสูญ ความพินาศ และความไม่เกิดอีกของสัตว์อย่างนี้

            [๙๒]  ภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้นมีวาทะว่า หลังจากตายแล้ว อัตตา ขาดสูญ บัญญัติ ความขาดสูญ ความพินาศ และความไม่เกิดอีก ของสัตว์ ด้วยมูลเหตุ ๗ ย่างนี้แล ก็สมณพราหมณ์เหล่านั้น ทุกจำพวกมีวาทะว่า หลังจาก ตายแล้ว อัตตาขาดสูญ  บัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ  และความไม่เกิดอีก ของสัตว์ด้วยมูลเหตุ ทั้ง ๗  อย่างนี้ หรือด้วยมูลเหตุอย่างใด อย่างหนึ่งใน ๗  อย่างนี้ไม่พ้นไปจากนี้ ฯลฯ อันเป็นเหตุให้คนกล่าวยกย่องตถาคตตามความเป็นจริง


ทิฏฐธัมมนิพพานวาทะ๑ ๕
เห็นว่ามีสภาพบางอย่างเป็นนิพพานในปัจจุบัน

            {๕๐}[๙๓]  ภิกษุทั้งหลาย  มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะว่า  มีสภาพบางอย่างเป็นนิพพาน ในปัจจุบัน  บัญญัตินิพพานในปัจจุบันว่า เป็นบรมธรรมของสัตว์  ด้วยมูลเหต ๕  อย่าง ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น อาศัยอะไรปรารภอะไรจึงมีวาทะว่า มีสภาพบางอย่างเป็นนิพพาน ในปัจจุบัน บัญญัตินิพพานในปัจจุบันว่า เป็นบรมธรรมของสัตว์  ด้วยมูลเหตุ ๕  อย่าง

            [๙๔]  ๕๘. (๑) สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้มีวาทะ มีทรรศนะ อย่างนี้ว่าท่านผู้เจริญ เพราะเหตุที่อัตตานี้ เอิบอิ่มเพลิดเพลินอยู่ด้วยกามคุณ ๕  จึงชื่อว่าบรรลุนิพพาน ในปัจจุบันอันเป็น บรมธรรม สมณพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติ นิพพานในปัจจุบันว่า เป็นบรมธรรม ของสัตว์ อย่างนี้

            [๙๕]  ๕๙. (๒) สมณะหรือพราหมณ์คนอื่นกล่าวกับสมณะ หรือพราหมณ์ คนนั้น อย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ อัตตาที่ท่านพูดถึงนั้นมีจริง  เราไม่ปฏิเสธว่าไม่มี  แต่อัตตานี้ไม่ใช่จะบรรลุ นิพพานในปัจจุบัน อันเป็นบรมธรรมได้เพราะเหตุเพียงเท่านี้  เพราะเหตุไร  เพราะกามไม่เที่ยง เป็นทุกข์  ผันแปรเป็นธรรมดา เพราะกามนั้นผันแปร ไปเป็นอื่น  ความโศกเศร้า ความคร่ำครวญ ความไม่สบายกาย  ความไม่สบายใจ และความคับแค้นใจจึงเกิดขึ้น เพราะเหตุที่อัตตานี้สงัด จากกาม และอกุศลธรรม ทั้งหลายแล้ว  บรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขเกิดจากวิเวกอยู่ จึงชื่อว่า บรรลุนิพพานในปัจจุบัน อันเป็นบรมธรรม สมณพราหมณ์ พวกหนึ่ง บัญญัตินิพพาน ในปัจจุบันว่า เป็นบรมธรรมของสัตว์อย่างนี้

            [๙๖]  ๖๐. (๓)  สมณะหรือพราหมณ์คนอื่นกล่าวกับสมณะ หรือพราหมณ์ คนนั้น อย่างนี้ ว่า ท่านผู้เจริญ อัตตาที่ท่านพูดถึงนั้นมีจริง  เราไม่ปฏิเสธว่าไม่มี  แต่อัตตานี้ไม่ใช่จะบรรลุนิพพาน ในปัจจุบัน อันเป็นบรมธรรมได้เพราะเหตุเพียงเท่า

๑ ลัทธิที่ถือว่า  สามารถบรรลุนิพพาน  หรือสามารถดับทุกข์ได้โดยง่ายในอัตภาพนี้  เป็น ความเข้าใจของ พวกที่เห็นความ เพลิดเพลินจากกามคุณว่าเป็นนิพพาน  หรือเห็นความสุข จากฌานว่าเป็นนิพพาน 

นี้ เพราะเหตุไร เพราะปฐมฌานที่มีวิตกมีวิจารนั้นบัณฑิตกล่าวว่า ยังหยาบอยู่ เพราะเหตุที่วิตกวิจาร สงบไป อัตตานี้จึงบรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร  มีแต่ปีติและสุข อันเกิดจากสมาธิอยู่ จึงชื่อว่าบรรลุนิพพานในปัจจุบันอันเป็นบรมธรรม สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง บัญญัตินิพพานในปัจจุบัน ว่าเป็นบรมธรรมของสัตว์อย่างนี้

            [๙๗]  ๖๑. (๔)  สมณะหรือพราหมณ์คนอื่นกล่าวกับสมณะ หรือพราหมณ์ คนนั้น อย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ  อัตตาที่ท่านพูดถึงนั้นมีจริง เราไม่ปฏิเสธว่าไม่มี  แต่อัตตานี้ไม่ใช่จะบรรลุนิพพาน ในปัจจุบัน อันเป็นบรมธรรมได้เพราะเหตุ เพียงเท่านี้ เพราะเหตุไรเพราะทุติยฌาน ที่ยังมีปีติเป็นเหตุ ให้จิตเบิกบานนั้น บัณฑิตกล่าวว่า ยังหยาบอยู่ เพราะเหตุที่ปีติจางคลายไป  อัตตานี้จึงมีอุเบกขา  มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุข ด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า  ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข  จึงชื่อว่าบรรลุ นิพพาน ในปัจจุบันอันเป็นบรมธรรม สมณพราหมณ์ พวกหนึ่ง บัญญัติ นิพพานในปัจจุบัน ว่าเป็นบรมธรรม ของสัตว์อย่างนี้

            [๙๘]  ๖๒. (๕)  สมณะหรือพราหมณ์คนอื่นกล่าวกับสมณะ หรือพราหมณ์ คนนั้น อย่างนี้ว่า  ท่านผู้เจริญ อัตตาที่ท่านพูดถึงนั้นมีจริง เราไม่ปฏิเสธว่าไม่มี  แต่ อัตตานี้ไม่ใช่จะบรรลุนิพพาน ในปัจจุบัน อันเป็นบรมธรรม ได้เพราะเหตุเพียงเท่านี้ เพราะเหตุไร เพราะตติยฌานที่จิตยังคำนึง ถึงสุข อยู่นั้นบัณฑิตกล่าวว่า  ยังหยาบ อยู่  เพราะเหตุ ที่ละสุข และทุกข์ได้  เพราะโสมนัสและ โทมนัสก่อนดับไปก่อน  อัตตานี้จึงบรรลุจตุตถฌาน ที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะ อุเบกขา อยู่  จึงชื่อว่าบรรลุนิพพาน ในปัจจุบันอันเป็น บรมธรรม  สมณพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติ นิพพาน ในปัจจุบันว่าเป็นบรมธรรมของสัตว์อย่างนี้

สรุปทิฏฐธัมมนิพพานวาทะ

            [๙๙]  ภิกษุทั้งหลาย  สมณพราหมณ์เหล่านั้นมีวาทะว่า  มีสภาพบางอย่าง เป็นนิพพานในปัจจุบัน  บัญญัติ นิพพานในปัจจุบันว่า เป็นบรมธรรมของสัตว์  ด้วยมูลเหตุ ๕ อย่างนี้แล ก็สมณพราหมณ์ เหล่านั้นทุกจำพวกมี วาทะว่า มีสภาพ บางอย่างเป็นนิพพานในปัจจุบัน บัญญัตินิพพานในปัจจุบันว่า เป็นบรมธรรม ของสัตว์ ด้วยมูลเหตุ ทั้ง ๕ อย่างนี้ หรือ ด้วยมูลเหตุอย่างใด อย่างหนึ่งใน ๕  อย่างนี้ ไม่พ้นไปจากนี้ ฯลฯ อันเป็นเหตุ ให้คนกล่าวยกย่องตถาคตถูกต้อง ตามความเป็นจริง

            [๑๐๐]  ภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้นกำหนดขันธ์ (สรรพสิ่ง)  ส่วนอนาคต เห็นคล้อยตาม ขันธ์ส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ส่วนอนาคต  ประกาศวาทะ แสดงทิฏฐิต่าง ๆ ด้วยมูลเหตุ ๔๔ อย่างนี้แล  ก็สมณ พราหมณ์เหล่านั้น ทุกจำพวก กำหนดขันธ์ส่วนอนาคต  เห็นคล้อยตามขันธ์ส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ส่วนอนาคต ประกาศวาทะแสดงทิฏฐิต่าง ๆ ด้วยมูลเหตุทั้ง ๔๔ อย่างนี้  หรือด้วยมูลเหตุ อย่างใด อย่างหนึ่งใน ๔๔ อย่างนี้ ไม่พ้นไปจากน้ ฯลฯ อันเป็นเหตุให้คนกล่าว ยกย่องตถาคตถูกต้องตามความเป็นจริง

            [๑๐๑]  ภิกษุทั้งหลาย  สมณพราหมณ์พวกที่กำหนดขันธ์ส่วนอดีต  พวกที่กำหนดขันธ์ส่วนอนาคต และพวก ที่กำหนดขันธ์ทั้งส่วนอดีตและอนาคต  ล้วนมีความเห็นคล้อยตามขันธ์ทั้งส่วนอดีต และ อนาคต ปรารภขันธ์ ทั้งส่วนอดีต และอนาคต  ประกาศวาทะแสดงทิฏฐิต่าง ๆ ด้วยมูลเหตุ  ๖๒  อย่างนี้แล

            [๑๐๒]   ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ทุกจำพวกที่กำหนดขันธ์ส่วนอดีต  ที่กำหนดขันธ์ ส่วน อนาคต หรือ ที่กำหนดขันธ์ทั้งส่วนอดีตและอนาคต  ล้วนมีความเห็นคล้อยตามขันธ์ทั้งส่วนอดีต และอนาคต ปรารภขันธ์ ทั้งส่วนอดีต และอนาคตประกาศวาทะแสดงทิฏฐิต่าง ๆ ด้วยมูลเหตุทั้ง  ๖๒  อย่างนี้  หรือด้วยมูลเหตุอย่างใด อย่างหนึ่งใน ๖๒  อย่างนี้  ไม่พ้นไปจากนี้

            [๑๐๓]  ภิกษุทั้งหลาย  เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า มูลเหตุแห่งทิฏฐิเหล่านี้ ที่บุคคลยึดถืออย่างนี้แล้ว ย่อมมีคติ และภพหน้าอย่างนั้น ๆ ตถาคตรู้มูลเหตุนั้นชัด  และยังรู้ชัดยิ่งขึ้นไปกว่านั้นอีกจึงไม่ยึดมั่น  เมื่อไม่ยึดมั่นจึงรู้ ความดับด้วยตนเอง  รู้ความเกิดความดับ คุณ โทษแห่งเวทนา และอุบาย เครื่องสลัดเวทนาออก ตามความ เป็นจริงตถาคตจึงหลุดพ้นเพราะไม่ยึดมั่นถือมั่น

            [๑๐๔]  ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แล ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก  สงบประณีต  ใช้เหตุผล คาดคะเน เอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ซึ่งตถาคต รู้แจ้งได้เองแล้วสั่งสอนผู้อื่น ให้รู้แจ้งตามอันเป็นเหตุให้คน กล่าวยกย่องตถาคต ถูกต้อง ตามความเป็นจริง

(ทิฏฐิ ๖๒ จบ)




 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์