เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ  

 
  พราหมณสัจจ์ พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ หน้าที่ ๑๘๓ 965
 
(เนื้อหาพอสังเขป)

พราหมณสัจจ์ ๔ คืออะไรเล่า ?

(1) ปริพพาชก ท. ! ในธรรมวินัยนี้ พราหมณ์ได้พูดกันอย่างนี้ว่า
“สัตว์ทั้งปวง ไม่ควรฆ่า” พราหมณ์ที่พูดอยู่อย่างนี้ ชื่อว่าพูดคำสัจจ์ ไม่ใช่กล่าวมุสา

(2) ปริพพาชก ท. ! อีกข้อหนึ่ง พราหมณ์ได้พูดกันอย่างนี้ว่า
“กามทุกชนิด ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีอันแปรปรวนเป็นธรรมดา” พราหมณ์ที่พูดอยู่อย่างนี้ ชื่อว่าพูดคำสัจจ์ ไม่ใช่กล่าวมุสา

(3) ปริพพาชก ท. ! อีกข้อหนึ่ง พราหมณ์ได้พูดกันอย่างนี้ว่า
“ภพทุกภพ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีอันแปรปรวนเป็นธรรมดา” พราหมณ์ที่กล่าวอยู่อย่างนี้ ชื่อว่าพูดคำสัจจ์ ไม่ใช่กล่าวมุสา

(4) ปริพพาชก ท. ! อีกข้อหนึ่ง พราหมณ์ได้พูดกันอย่างนี้ว่า
“ไม่มีอะไรที่เป็นตัวเรา ความกังวล ต่อสิ่งใดหรือในอะไรๆ ก็ไม่มีว่าเป็นตัวเรา และไม่มีอะไรที่เป็นของเรา  ความกังวล ในสิ่งใด ๆ ก็ไม่มีว่าเป็นของเรา” พราหมณ์ที่พูดอยู่อย่างนี้ ชื่อว่าพูดคำสัจจ์ ไม่ใช่กล่าวมุสา.

และพราหมณ์นั้น ก็ไม่ถือเอาการที่พูดคำสัจจ์นั้น ขึ้นเป็นเหตุสำคัญตัวว่า
“เราเป็นสมณะ เราเป็นพราหมณ์ เราดีกว่าเขา เราเสมอกับเขา เราเลวกว่าเขา” (ไม่ยกตนข่มท่าน)

 
 

พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ หน้าที่ ๑๘๓
- บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๒๓๙/๑๘๕.

ตรัสแก่ที่ประชุมปริพพาชกซึ่งกำลังสนทนากันอยู่ด้วยเรื่องพราหมณสัจจ์ ที่ปริพพาชการาม ริมฝั่งแม่น้ำสัปปินี, แต่นี่พราหมณสัจจ์อย่างพุทธศาสนา.


ทรงทราบพราหมณสัจจ์

ปริพพาชกทั้งหลาย ! พราหมณสัจจ์ ๔ อย่างนี้ เราทำให้แจ้งด้วยปัญญา อันยิ่งเอง แล้ว ประกาศให้รู้ทั่วกัน.

พราหมณสัจจ์ ๔ คืออะไรเล่า ?

(1) ปริพพาชก ท. ! ในธรรมวินัยนี้ พราหมณ์ได้พูดกันอย่างนี้ว่า
“สัตว์ทั้งปวง ไม่ควรฆ่า”
พราหมณ์ที่พูดอยู่อย่างนี้ ชื่อว่าพูดคำสัจจ์ ไม่ใช่กล่าวมุสา

และพราหมณ์นั้น ไม่ถือเอาการที่พูดคำสัจจ์นั้น เป็นเหตุสำคัญตัวว่า
“เราเป็นสมณะ เราเป็นพราหมณ์ เราดีกว่าเขา เราเสมอกับเขา เราเลวกว่าเขา”
เป็นแต่ว่าความจริงอันใดมีอยู่ในข้อนั้น ครั้นรู้ความจริงนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว ก็เป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อความเอ็นดูสงสารสัตว์ทั้งหลายเท่านั้นเอง.
------------------------------------------------------------------------------

(2) ปริพพาชก ท. ! อีกข้อหนึ่ง พราหมณ์ได้พูดกันอย่างนี้ว่า
“กามทุกชนิด ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีอันแปรปรวนเป็นธรรมดา”
พราหมณ์ที่พูดอยู่อย่างนี้ ชื่อว่าพูดคำสัจจ์ ไม่ใช่กล่าวมุสา

และพราหมณ์นั้นไม่ถือเอาการที่พูดคำสัจจ์นั้นขึ้นเป็นเหตุสำคัญตัวว่า
“เราเป็นสมณะ เราเป็นพราหมณ์ เราดีกว่าเขา เราเสมอกับเขา เราเลวกว่าเขา”
เป็นแต่ว่าความจริงอันใดมีอยู่ในข้อนั้น ครั้นรู้ความจริงนั้นด้วย ปัญญาอันยิ่งเองแล้ว ก็เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อหน่ายกาม เพื่อคลายกำหนัดในกาม เพื่อดับกามทั้งหลายเสีย เท่านั้นเอง.
------------------------------------------------------------------------------

(3) ปริพพาชก ท. ! อีกข้อหนึ่ง พราหมณ์ได้พูดกันอย่างนี้ว่า
“ภพทุกภพ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีอันแปรปรวนเป็นธรรมดา”
พราหมณ์ที่กล่าวอยู่อย่างนี้ ชื่อว่าพูดคำสัจจ์ ไม่ใช่กล่าวมุสา

และพราหมณ์นั้น ไม่ถือเอาการที่พูดคำสัจจ์นั้นขึ้นเป็นเหตุสำคัญตัว ว่า “เราเป็นสมณะ เราเป็นพราหมณ์ เราดีกว่าเขา เราเสมอกับเขา เราเลวกว่าเขา” เป็นแต่ว่าความจริงอันใด มีอยู่ในข้อนั้น ครั้นรู้ความจริงนั้นด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว ก็เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อหน่ายภพ เพื่อคลายกำหนัดในภพ เพื่อดับภพเสีย เท่านั้นเอง.
------------------------------------------------------------------------------

(4) ปริพพาชก ท. !
อีกข้อหนึ่ง พราหมณ์ได้พูดกันอย่างนี้ว่า “ไม่มีอะไรที่เป็นตัวเรา ความกังวลต่อสิ่งใดหรือในอะไรๆ ก็ไม่มีว่าเป็นตัวเรา และไม่มีอะไรที่เป็นของเรา 
ความกังวลในสิ่งใด ๆ ก็ไม่มีว่าเป็นของเรา”

พราหมณ์ที่พูดอยู่อย่างนี้ ชื่อว่าพูดคำสัจจ์ ไม่ใช่กล่าวมุสา.

และพราหมณ์นั้น ก็ไม่ถือเอาการที่พูดคำสัจจ์นั้น ขึ้นเป็นเหตุสำคัญตัวว่า
“เราเป็นสมณะ เราเป็นพราหมณ์ เราดีกว่าเขา เราเสมอกับเขา เราเลวกว่าเขา”
เป็นแต่ว่าความจริงอันใดมีอยู่ในข้อนั้น ครั้นรู้ความจริงนั้นด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว ก็เป็นผู้ปฏิบัติให้เข้าแนวทางที่ไม่มีกังวลใด ๆ เท่านั้นเอง.

ปริพพาชก ท. ! นี้แล พรหมณสัจจ์ ๔ ประการ ที่เราทำให้แจ้ง ด้วยปัญญาอันยิ่ง เอง แล้วประกาศให้รู้ทั่วกัน.


 

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์