เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  โยคสูตร : โยคะ ๔ ประการเป็นไฉน กามโยคะ ภวโยคะ ทิฏฐิโยคะ อวิชชาโยคะ 944
 
 


ปฐมปัญณาสก์ ภัณฑคามวรรคที่ ๑


รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อนุพุทธสูตร  ๒. ปปติตสูตร  ๓. ขตสูตรที่๑  ๔. ขตสูตรที่๒   ๕. อนุโสตสูตร
๖. อัปปสุตสูตร  ๗. สังฆโสภณสูตร  ๘. เวสารัชชสูตร  ๙. ตัณหาสูตร  
๑๐. โยคสูตร


๑๐. โยคสูตร

โยคะ ๔ ประการเป็นไฉน
1) กามโยคะ..
ไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด โทษ และ อุบายเครื่องสลัดออก แห่งกาม ทั้งหลายตามความเป็นจริง เมื่อเขา ไม่รู้ชัดซึ่ง ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออก ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน เยื้อใย หมกมุ่น กระหาย เร่าร้อน หยังลง ทะยานหยาก เพราะกาม ย่อมเกิดขึ้น

2) ภวโยคะ..
ไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด โทษ และ อุบายเครื่องสลัดออก แห่งภพ ทั้งหลายตามความเป็นจริง....
ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน เยื้อใย หมกมุ่น กระหาย เร่าร้อน หยังลง ทะยานหยาก เพราะภพ ย่อมเกิดขึ้น

3) ทิฏฐิโยคะ ...
ไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด โทษ และ อุบายเครื่องสลัดออก แห่งทิฏฐิ ทั้งหลายตามความเป็นจริง....
ความกำหนัด เพราะทิฐิ ความเพลิดเพลิน ความหมกมุ่น ความเร่าร้อน ทะยานอยาก เพราะทิฐิ ย่อมเกิดขึ้น

4) อวิชชาโยคะ ...
ไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่ง ผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง.. ความไม่รู้ ความไม่หยั่งรู้ ในผัสสายตนะ ๖ ย่อมเกิดขึ้น
------------------------------------------------------------------------------------------------------------

บุคคลผู้ประกอบด้วยอกุศลธรรม อันลามก อันเป็นเครื่อง เศร้าหมอง เป็นเหตุ ให้เกิดในภพใหม่ มีความกระวน กระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก มีชาติ ชราและมรณะ ต่อไปอีก ฉะนั้น เราจึงเรียกว่า ผู้ไม่เกษม จากโยคะ
------------------------------------------------------------------------------------------------------------

- สัตว์ทั้งหลาย ผู้ประกอบด้วย กามโยคะ ภวโยคะ ทิฏฐิโยคะ และอวิชชาโยคะ ย่อมเป็นผู้มีปรกติ ถึงชาติ และ มรณะ ไปสู่สงสาร
- ส่วนสัตว์เหล่าใด กำหนดรู้กาม ทั้งหลายและ ภวโยคะโดยประการทั้งปวง ถอนขึ้นซึ่งทิฏฐิโยคะ และ สำรอก อวิชชา เสียได้ สัตว์เหล่านั้นแล เป็นผู้พรากจากโยคะทั้งปวง เป็นมุนีผู้ล่วงพ้นโยคะ เสียได้


 
 
 


ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๑ สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต หน้าที่ ๑ - ๑๑

10.โยคสูตร

โยคะ ๔ ประการเป็นไฉน คือ กามโยคะ ๑ ภวโยคะ ๑ ทิฏฐิโยคะ ๑ อวิชชาโยคะ ๑

         [๑๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โยคะ ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ กามโยคะ ๑ ภวโยคะ ๑ ทิฏฐิโยคะ ๑ อวิชชาโยคะ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

1) ก็กามโยคะเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด โทษ และ อุบายเครื่องสลัดออกแห่งกามทั้งหลายตามความเป็นจริง เมื่อเขาไม่รู้ชัดซึ่ง ความเกิด ความดับ* (ความตั้งอยู่ไม่ได้) คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่ง กามทั้งหลาย ตามความเป็นจริง ความกำหนัดเพราะกาม ความเพลิดเพลิน เพราะกาม ความเยื่อใยเพราะกาม ความหมกมุ่นเพราะกาม ความกระหายเพราะกาม ความเร่าร้อนเพราะกาม ความหยั่งลงในกาม และความทะยานอยากเพราะกาม ในกามทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น นี้เราเรียกว่ากามโยคะ กามโยคะเป็นดังนี้
*(อตฺถงฺคม) ชุด 5 เล่มจากกระโอษฐ์แปลว่า ความตั้งอยู่ไม่ได้ ส่วนความดับ หมายถึงนิโรธ

2) ก็ภวโยคะเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับคุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งภพทั้งหลาย ตามความเป็นจริง เมื่อเขาไม่รู้ชัด ซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งภพทั้งหลาย ตามความเป็นจริง ความกำหนัดเพราะภพ ความเพลิดเพลินเพราะภพ ความเยื่อใย เพราะภพ ความหมกมุ่นเพราะภพความกระหายเพราะภพ ความเร่าร้อนเพราะภพ ความหยั่งลงในภพ และความทะยานอยากเพราะภพ ในภพทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น นี้เราเรียกว่าภวโยค กามโยคะ ภวโยคะเป็นดังนี้

3) ก็ทิฏฐิโยคะเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งทิฐิทั้งหลาย ตามความเป็นจริง เมื่อเขา ไม่รู้ชัด ซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออก แห่งทิฐิ ทั้งหลาย ตามความเป็นจริง ความกำหนัดเพราะทิฐิ ความเพลิดเพลิน เพราะทิฐิ ความเยื่อใย เพราะทิฐิ ความหมกมุ่นเพราะทิฐิ ความกระหายเพราะทิฐิ ความเร่าร้อน เพราะทิฐิ ความหยั่งลงเพราะทิฐิ และความทะยานอยากเพราะทิฐิ ในทิฐิทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น นี้เราเรียกว่าทิฏฐิโยคะ กามโยคะ ภวโยคะ ทิฏฐิโยคะเป็นดังนี้

4) ก็อวิชชาโยคะเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ประการตาม ความเป็นจริง เมื่อเขาไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับคุณ โทษ และอุบาย เครื่องสลัด ออก แห่ง ผัสสายตนะ ๖ ประการ ตามความเป็นจริง ความไม่รู้ ความไม่หยั่งรู้ ในผัสสายตนะ ๖ ย่อมเกิดขึ้น นี้เราเรียกว่าอวิชชาโยคะ กามโยคะ ภวโยคะทิฏฐิโยคะ และอวิชชาโยคะ เป็นดังนี้

บุคคลผู้ประกอบด้วยอกุศลธรรม อันลามก อันเป็นเครื่อง เศร้าหมอง เป็นเหตุ ให้เกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก มีชาติ ชราและมรณะ ต่อไปอีก ฉะนั้นราจึงเรียกว่า ผู้ไม่เกษม จากโยคะ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย โยคะ ๔ ประการเหล่านี้แล ฯ


----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความพรากจากโยคะ ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ ความพรากจากกามโยคะ ๑ ความพรากจากภวโยคะ ๑ ความพรากจากทิฏฐิโยคะ ๑ ความพรากจากอวิชชาโยคะ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

1) ก็ความพรากจากกามโยคะเป็นไฉน

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมรู้ชัด ซึ่งความเกิดความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่อง สลัดออกแห่งกามทั้งหลาย ตามความเป็นจริง เมื่อเขารู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบาย เครื่องสลัดออก แห่งกามทั้งหลาย ตามความเป็นจริง ความกำหนัด เพราะกาม ความเพลิดเพลินเพราะกาม ความเยื่อใยเพราะกาม ความหมกมุ่น เพราะกาม ความกระหายเพราะกาม ความเร่าร้อนเพราะกาม ความหยั่งลงในกาม ความทะยานอยาก เพราะกาม ในกามทั้งหลาย ย่อมไม่เกิดขึ้น นี้เราเรียกว่าความ พรากจากกามโยคะ ความพรากจากกามโยคะเป็นดังนี้

2) ก็ความพรากจากภวโยคะ เป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมรู้ชัด ซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งภพทั้งหลาย ตามความเป็นจริงเมื่อเขารู้ชัด ซึ่ง ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งภพทั้งหลาย ตามความเป็นจริง ความกำหนัดเพราะภพ ความเพลิดเพลินเพราะภพ ความเยื่อใย เพราะภพ ความหมกมุ่นเพราะภพ ความกระหายเพราะภพ ความเร่าร้อนเพราะภพ ความหยั่งลง ในภพ และความทะยานอยากเพราะภพ ในภพทั้งหลายย่อมไม่เกิดขึ้น นี้เราเรียกว่า ความพรากจากภวโยคะ ความพรากจากกามโยคะความพราก จาก ภวโยคะ เป็นดังนี้

3) ก็ความพรากจากทิฏฐิโยคะเป็นไฉน

ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมรู้ชัด ซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งทิฐิทั้งหลาย ตามความเป็นจริง เมื่อเขารู้ชัด ซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งทิฐิทั้งหลาย ตามความเป็นจริง ความกำหนัดเพราะทิฐิ ความเพลิดเพลินเพราะทิฐิ ความเยื่อใย เพราะทิฐิ ความหมกมุ่นเพราะทิฐิ ความกระหายเพราะทิฐิ ความเร่าร้อนเพราะทิฐิ ความหยั่งลงในทิฐิ และความทะยานอยากเพราะทิฐิ ในทิฐิทั้งหลายย่อมไม่เกิดขึ้น นี้เราเรียกว่าความพรากจากทิฏฐิโยคะ ความพรากจากกามโยคะความพรากจาก ภวโยคะความพรากจากทิฏฐิโยคะ เป็นดังนี้

4) ก็ความพรากจากอวิชชาโยคะเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลายบุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมรู้ชัด ซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ประการ ตามความเป็นจริง เมื่อเขารู้ชัด ซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษและอุบายเครื่องสลัดออก แห่งผัสสายตนะ ๖ ประการ ตามความเป็นจริง ความไม่รู้ ความไม่หยั่งรู้ในผัสสายตนะ ๖ ประการ ย่อมไม่ เกิดขึ้น นี้เราเรียกว่าความพรากจากอวิชชาโยคะ ความพรากจาก กามโยคะ ความพรากจากภวโยคะ ความพรากจากทิฏฐิโยคะ เป็นดังนี้

บุคคลผู้พรากจาก อกุศลธรรมอันลามก อันเป็นเครื่องเศร้าหมอง เป็นเหตุให้เกิดใน ภพใหม่ มีความกระวน กระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก มีชาติ ชรา และมรณะต่อไปอีก ฉะนั้น เราจึงเรียกว่า ผู้เกษมจากโยคะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความพรากจากโยคะ ๔ ประการ นี้แล ฯ

สัตว์ทั้งหลายผู้ประกอบด้วย กามโยคะ ภวโยคะ ทิฏฐิโยคะ และอวิชชาโยคะ ย่อมเป็นผู้มีปรกติถึงชาติ และมรณะไปสู่สงสาร ส่วนสัตว์เหล่าใด กำหนดรู้กาม ทั้งหลายและ  ภวโยคะโดยประการทั้งปวง ถอนขึ้นซึ่งทิฏฐิโยคะและสำรอก    อวิชชาเสียได้ สัตว์เหล่านั้นแล เป็นผู้พรากจากโยคะทั้งปวง เป็นมุนีผู้ล่วงพ้นโยคะ เสียได้ ฯ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อนุพุทธสูตร ๒. ปปติตสูตร ๓. ขตสูตรที่ ๑ ๔. ขตสูตรที่ ๒  ๕. อนุโสตสูตร
๖. อัปปสุตสูตร ๗. สังฆโสภณสูตร ๘. เวสารัชชสูตร๙. ตัณหาสูตร ๑๐. โยคสูตร

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์