เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  ทิฏฐิ ๖๒ (กลุ่ม ๒/๔) อุจเฉททิฏฐิ ๗ ลัทธิ เห็นว่าขาดสูญ เมื่อสิ้นชีพก็ขาดสูญไม่เกิดอีก 741
 
  ทิฏฐิ 62
Page ปุพพันตกัปปิกะ (ความเห็นปรารภเบื้องต้น, ๑๘ ลัทธิ)
733 (๑) สัสสตทิฏฐิ มี ๔ ลัทธิ
734 (๒) เอกัจจสัสสตทิฏฐิ มี ๔ ลัทธิ
735 (๓) อันตานันติกทิฏฐิ มี ๔ ลัทธิ
736 (๔) อมราวิกเขปิกทิฏฐิ มี ๔ ลัทธิ
737 (๕) อธิจจสมุปปันนิกะ มี ๒ ลัทธิ
  รวม 18 ลัทธิ  
  อปรันตกัปปิกะ ผู้ปรารภเบื้องปลาย ได้แก่ส่วนที่เป็นอนาคต มี ๕ กลุ่ม แบ่งย่อยออกเป็น ๔๔ สำนัก
738 (๑) เห็นว่ามีสัญญา (สัญญีทิฏฐิ) ๑๖
739 (๒) เห็นว่าไม่มีสัญญา (อสัญญีทิฏฐิ) ๘
740 (๓) เห็นว่ามีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ (เนวสัญญีนาสัญญีทิฏฐิ) ๘
741 (๔) เห็นว่า ขาดสูญ (อุจเฉททิฏฐิ) ๗
742 (๕) เห็นสภาพบางอย่างเป็นนิพพานในปัจจุบัน (ทิฏฐธรรมนิพพานทิฏฐิ) ๕
  รวม 44 ลัทธิ
743 ฐานะของผู้ถือทิฏฐิ  
     
 
 

(ดูอาการจิตของมนุษย์ทั้ง ๖๒ ทิฐิ)

(๔) หมวดเห็นว่า ขาดสูญ (อุจเฉททิฏฐิ) ๗
๕๑. ตนที่เป็นของมนุษย์และสัตว์
๕๒. ตนที่เป็นของทิพย์ มีรูป กินอาหารหยาบ
๕๓. ตนที่เป็นของทิพย์ มีรูป สำเร็จจากใจ
๕๔. ตนที่เป็นอากาสานัญจายตนะ
๕๕. ตนที่เป็นวิญญาณาสัญญายตนะ
๕๖. ตนที่เป็นอากิญจัญญายตนะ
๕๗. ตนที่เป็นเนวสัญญานาสัญญายตนะ
ทั้ง ๗ ประเภทนี้ เมื่อสิ้นชีพแล้วก็ขาดสูญ ไม่เกิดอีก



พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๙ สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค หน้าที่ ๑๑  -  ๔๔

ทิฏฐิ ๖๒ (กลุ่ม ๒)

อุจเฉททิฏฐิ
ลัทธิ

 

                [๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีทิฏฐิว่าขาดสูญ ย่อมบัญญัติ ความขาดสูญ ความพินาศ ความเลิกเกิดของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ ด้วยเหตุ ๗ ประการ ก็สมณ พราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีทิฏฐิว่า ขาดสูญย่อมบัญญัติความ ขาดสูญ ความพินาศ ความเลิกเกิด ของสัตว์ผู้ปรากฏ อยู่ด้วยเหตุ ประการ?

                ๕๑. (๑) ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เพราะอัตตานี้ มีรูป สำเร็จด้วยมหาภูต รูป ๔ มีมารดาบิดาเป็นแดนเกิด เพราะกายแตก ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ เบื้องหน้า แต่ตาย ย่อมเลิกเกิดฉะนั้นอัตตานี้ จึงเป็น อันขาดสูญอย่างเด็ดขาด พวกหนึ่งย่อม บัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความเลิกเกิด ของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่อย่างนี้.

                ๕๒. (๒) สมณะหรือพราหมณ์พวกอื่น กล่าวกะสมณะ หรือ พราหมณ์ พวกนั้น อย่างนี้ว่าท่านผู้เจริญ มีอยู่จริง อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนั้น ข้าพเจ้ามิได้กล่าวว่า ไม่มี ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้ใช่จะขาดสูญอย่างเด็ดขาด ด้วยเหตุเพียงเท่านี้หามิได้ ท่านผู้เจริญ ยังมีอัตตา อย่างอื่นที่ เป็นทิพย์มีรูป เป็นกามาพจร บริโภคกวฬิงการาหาร ท่านยังไม่รู้ ท่านยังไม่เห็น อัตตาใด ข้าพเจ้ารู้ข้าพเจ้าเห็น อัตตา นั้นท่านผู้เจริญ เพราะกายแตก อัตตานั้นแลย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ เบื้องหน้า แต่ตาย ย่อมเลิกเกิด อัตตานี้จึงเป็นอันขาดสูญอย่างเด็ดขาด พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติ ความขาดสูญความ พินาศ ความเลิกเกิด ของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ อย่างนี้.

                ๕๓. (๓) สมณะหรือพราหมณ์พวกอื่น กล่าวกะสมณะ หรือ พราหมณ์ พวกนั้น อย่างนี้ว่าท่านผู้เจริญ มีอยู่จริง อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนั้น ข้าพเจ้ามิได้กล่าวว่า ไม่มี ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้ใช่จะขาดสูญอย่างเด็ดขาด ด้วยเหตุเพียงเท่านี้หามิได้ ท่านผู้เจริญ ยังมีอัตตา อย่างอื่นอีกที่ เป็นทิพย์ มีรูป สำเร็จด้วยใจ มีอวัยวะใหญ่ น้อย ครบครัน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง ท่านยังไม่รู้ท่านยังไม่เห็นอัตตาใด ข้าพเจ้ารู้ ข้าพเจ้า เห็นอัตตานั้น ท่านผู้เจริญ เพราะ กายแตก อัตตานี้จึงเป็นอันขาดสูญอย่าง เด็ดขาด พวกหนึ่งย่อมบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความเลิกเกิดของสัตว์ ผู้ปรากฏอยู่ อย่างนี้.

                ๕๔. (๔) สมณะหรือพราหมณ์พวกอื่น กล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์ พวกนั้น อย่างนี้ว่าท่านผู้เจริญ มีอยู่จริง อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนั้น ข้าพเจ้ามิได้กล่าวว่า ไม่มี ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้ใช่จะขาดสูญอย่างเด็ดขาด ด้วยเหตุเพียงเท่านี้หามิได้ ท่านผู้เจริญ ยังมีอัตตา อย่างอื่นที่เข้าถึงชั้น อากาสานัญจายตนะ มีอารมณ์ว่า อากาศ หาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญาเพราะไม่ใส่ใจใน นานัตตสัญญา โดยประการทั้งปวง ท่านยังไม่รู้ ท่านยัง ไม่เห็นอัตตาใด ข้าพเจ้ารู้ ข้าพเจ้าเห็นอัตตานั้น ท่านผู้เจริญ เพราะกายแตก อัตตานั้นแล ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศเบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมเลิกเกิด อัตตานี้ จึงเป็นอันขาดสูญอย่าง เด็ดขาด พวกหนึ่งย่อมบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความเลิกเกิด ของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ อย่างนี้.

                ๕๕. (๕) สมณะหรือพราหมณ์พวกอื่น กล่าวกะสมณะ หรือพราหมณ์ พวกนั้น อย่างนี้ว่าท่านผู้เจริญ มีอยู่จริง อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนั้น ข้าพเจ้ามิได้ กล่าวว่าไม่มี ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้ใช่จะขาดสูญอย่างเด็ดขาด ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ หามิได้ ท่านผู้เจริญ ยังมีอัตตา อย่างอื่นที่เข้าถึงชั้น วิญญาณัญจายตนะ มีอารมณ์ว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วง อากาสานัญจายตนะได้โดยประการ ทั้งปวง ท่านยังไม่รู้ ท่านยังไม่เห็นอัตตาใด ข้าพเจ้ารู้ ข้าพเจ้าเห็นอัตตานั้น ท่านผู้เจริญ เพราะกายแตก อัตตานั้นแล ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ เบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมเลิกเกิด อัตตานี้ จึงเป็นอันขาดสูญอย่างเด็ดขาด พวกหนึ่งย่อมบัญญัติ ความขาดสูญ ความพินาศ ความเลิกเกิด ของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ อย่างนี้.

                ๕๖. (๖) สมณะหรือพราหมณ์พวกอื่น กล่าวกะสมณะ หรือ พราหมณ์ พวกนั้น อย่างนี้ว่าท่านผู้เจริญ มีอยู่จริง อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนั้น ข้าพเจ้ามิได้กล่าว ว่า ไม่มี ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้ใช่จะขาดสูญอย่างเด็ดขาด ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ หามิได้ ท่านผู้เจริญ ยังมีอัตตา อย่างอื่นที่เข้าถึงชั้น อากิญจัญญายตนะ มีอารมณ์ ว่าไม่มีอะไร เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะ ได้โดยประการทั้งปวงท่านยังไม่รู้ ท่านยังไม่เห็นอัตตาใด ข้าพเจ้ารู้ข้าพเจ้าเห็นอัตตานั้น ท่านผู้เจริญ เพราะกายแตก อัตตานั้นแล ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ เบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมเลิก เกิด อัตตานี้ จึงเป็นอันขาดสูญอย่างเด็ดขาด พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความเลิกเกิดของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ อย่างนี้.

                ๕๗. (๗) สมณะหรือพราหมณ์พวกอื่น กล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์ พวกนั้น อย่างนี้ว่าท่านผู้เจริญ มีอยู่จริง อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนั้น ข้าพเจ้ามิได้กล่าวว่า ไม่มี ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้ใช่จะขาดสูญอย่างเด็ดขาด ด้วยเหตุเพียงเท่านี้หามิได้ ท่านผู้เจริญ ยังมีอัตตา อย่างอื่นที่เข้าถึงชั้น นวสัญญานาสัญญายตนะ (มีอารมณ์ว่า นั่นละเอียด นั่นประณีต) เพราะ ล่วงอากิญจัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวง ท่านยังไม่รู้ ท่านยังไม่เห็นอัตตาใด ข้าพเจ้ารู้ ข้าพเจ้าเห็นอัตตานั้น ท่านผู้เจริญ เพราะกายแตก อัตตานั้นแล ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ เบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมเลิกเกิด อัตตานี้ จึงเป็นอันขาดสูญอย่างเด็ดขาด พวกหนึ่งย่อมบัญญัติ ความขาดสูญความ พินาศ ความเลิกเกิด ของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่อย่างนี้.

                ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น มีทิฏฐิว่าขาดสูญ ย่อมบัญญัติ ความขาดสูญ ความพินาศ ความเลิกเกิด ของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ ด้วยเหตุ ๗ ประการนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง มีทิฏฐิว่า ขาดสูญ ย่อมบัญญัติ ความขาดสูญความพินาศ ความเลิกเกิด ของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมบัญญัติด้วยเหตุ ๗ ประการนี้เท่านั้น หรือแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง นอกจากนี้ไม่มี ?

                ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฐานะที่ตั้งแห่งทิฏฐิเหล่านี้ บุคคลถืออย่างนั้นแล้ว ยึดอย่างนั้นแล้ว ย่อมมีคติอย่างนั้น มีภพเบื้องหน้าอย่างนั้น และ ตถาคตย่อมรู้ หตุนั้นชัดทั้งรู้ชัดยิ่งกว่านั้น ทั้งไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย เมื่อไม่ ยึดมั่นก็ทราบความเกิดขึ้น ความดับไป คุณ และโทษ ของเวทนาทั้งหลาย กับทั้ง อุบายเป็นเครื่องออกไปจากเวทนา เหล่านั้น ตามความเป็นจริงจึงทราบ ความดับได้ เฉพาะตน เพราะไม่ยึดมั่น ตถาคตจึงหลุดพ้น.

                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แลที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต จะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ซึ่งตถาคตทำให้แจ้ง ด้วยปัญญา อันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ที่เป็นเหตุให้กล่าวชมตถาคต ตามความ เป็นจริงโดยชอบ.
........................................................................................................

พระสูตรโดยย่อ
(๔) หมวดเห็นว่า ขาดสูญ (อุจเฉททิฏฐิ) ๗
๕๑. ตนที่เป็นของมนุษย์และสัตว์
๕๒. ตนที่เป็นของทิพย์ มีรูป กินอาหารหยาบ
๕๓. ตนที่เป็นของทิพย์ มีรูป สำเร็จจากใจ
๕๔. ตนที่เป็นอากาสานัญจายตนะ
๕๕. ตนที่เป็นวิญญาณาสัญญายตนะ
๕๖. ตนที่เป็นอากิญจัญญายตนะ
๕๗. ตนที่เป็นเนวสัญญานาสัญญายตนะ
ทั้ง ๗ ประเภทนี้ เมื่อสิ้นชีพแล้วก็ขาดสูญ ไม่เกิดอีก

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์