เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  ทิฏฐิ ๖๒ (กลุ่ม ๑/๓) อันตานันติกทิฏฐิ ๔ ลัทธิ เห็นว่าโลกมีที่สุด และไม่มีที่สุด 735
 
  ทิฏฐิ 62
Page ปุพพันตกัปปิกะ (ความเห็นปรารภเบื้องต้น, ๑๘ ลัทธิ)
733 (๑) สัสสตทิฏฐิ มี ๔ ลัทธิ
734 (๒) เอกัจจสัสสตทิฏฐิ มี ๔ ลัทธิ
735 (๓) อันตานันติกทิฏฐิ มี ๔ ลัทธิ
736 (๔) อมราวิกเขปิกทิฏฐิ มี ๔ ลัทธิ
737 (๕) อธิจจสมุปปันนิกะ มี ๒ ลัทธิ
  รวม 18 ลัทธิ  
  อปรันตกัปปิกะ ผู้ปรารภเบื้องปลาย ได้แก่ส่วนที่เป็นอนาคต มี ๕ กลุ่ม แบ่งย่อยออกเป็น ๔๔ สำนัก
738 (๑) หมวดเห็นว่ามีสัญญา (สัญญีทิฏฐิ) ๑๖
739 (๒) หมวดเห็นว่าไม่มีสัญญา (อสัญญีทิฏฐิ) ๘
740 (๓) หมวดเห็นว่ามีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ (เนวสัญญีนาสัญญีทิฏฐิ) ๘
741 (๔) หมวดเห็นว่า ขาดสูญ (อุจเฉททิฏฐิ) ๗
742 (๕) หมวดเห็นสภาพบางอย่างเป็นนิพพานในปัจจุบัน (ทิฏฐธรรมนิพพานทิฏฐิ) ๕
  รวม 44 ลัทธิ
743 ฐานะของผู้ถือทิฏฐิ  
     
 
 

(ดูอาการจิตของมนุษย์ทั้ง ๖๒ ทิฐิ)

(๓) อันตานันติกทิฏฐิ มี ๔ ลัทธิ

๙. เห็นว่าโลกมีที่สุด
๑๐. เห็นว่าโลกไม่มีที่สุด
๑๑. เห็นว่าโลกมีที่สุด เฉพาะด้านบน-ด้านล่าง ส่วนด้านกว้าง-ด้านขวางไม่มีที่สุด
๑๒. นักเดา เดาตามความคิดคาดคะเนว่า โลกมีที่สุดก็ไม่ใช่ ไม่มีที่สุดก็ไม่ใช่



พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๙ สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค หน้าที่ ๑๑  -  ๔๔

ทิฏฐิ ๖๒ (กลุ่ม ๑)

อันตานันติกทิฏฐิ ๔ ลัทธิ

                [๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีทิฏฐิว่า โลกมีที่สุด และหาที่สุดมิได้ บัญญัติว่า โลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้ ด้วยเหตุ ๔ ประการ ก็สมณ พราหมณ์ผู้เจริญพวกนั้นอาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีทิฏฐิว่า โลกมีที่สุดและหาที่สุด มิได้ บัญญัติว่า โลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้ ด้วยเหตุ ๔ ประการ.

                ๙. (๑) ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ อาศัย ความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบ เนืองๆ อาศัยความไม่ประมาทอาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิอันเป็นเครื่อง ตั้งมั่นแห่งจิต ย่อมมีความสำคัญในโลกว่ามีที่สุด เขากล่าวอย่างนี้ว่า โลกนี้มีที่สุด กลมโดยรอบ ข้อนั้นเพราะเหตุไร?
               เพราะเหตุว่าข้าพเจ้าอาศัยความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส อาศัยความ เพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนืองๆอาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดย ชอบแล้ว บรรลุเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องตั้งมั่นแห่งจิต จึงมีความสำคัญในโลก ว่ามีที่สุด. ด้วยการบรรลุ คุณวิเศษนี้ ข้าพเจ้าจึงรู้อาการที่โลกนี้มีที่สุด กลมโดยรอบ.
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๑ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัย แล้ว ปรารภแล้ว มีทิฏฐิว่าโลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้ ย่อมบัญญัติว่าโลกมีที่สุด และ หาที่สุดมิได้.

 

                [๓๖] ๑๐. (๒) อนึ่ง ในฐานะที่ ๒ สมณพราหมณ์ผู้เจริญ อาศัยอะไร ปรารภอะไรจึงมีทิฏฐิว่า โลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้ บัญญัติว่า โลกมีที่สุดและหา ที่สุดมิได้?
                ดูกรภิกษุทั้งหลายสมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ อาศัยความเพียร เป็นเครื่องเผา กิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่นอาศัยความประกอบเนืองๆ อาศัยความ ไม ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องตั้งมั่นแห่งจิต จึงมีความ สำคัญในโลกว่าไม่มีที่สุด เขากล่าวอย่างนี้ว่า โลกนี้ไม่มีที่สุด หาที่สุดรอบ มิได้ สมณพราหมณ์พวกที่พูดว่า โลกนี้มีที่สุดกลมโดยรอบ นั้นเท็จโลกนี้ไม่มีที่สุด หาที่สุดรอบมิได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไ
               เพราะเหตุว่า ข้าพเจ้าอาศัยความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส อาศัยความ เพียรเป็น ที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการ โดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องตั้งมั่นแห่งจิต จึงมีความสำคัญในโลก ว่าหาที่สุด มิได้ ด้วยการบรรลุคุณวิเศษนี้ ข้าพเจ้าจึงรู้อาการที่โลกนี้ไม่มีที่สุด หาที่สุด รอบมิได้
               ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๒ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว มีทิฏฐิว่า โลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้ ย่อมบัญญัติว่า โลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้.

 

                [๓๗] ๑๑. (๓) อนึ่ง ในฐานะที่ ๓ สมณพราหมณ์ผู้เจริญ อาศัยอะไร ปรารภอะไรจึงมีทิฏฐิว่า โลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้ บัญญัติว่า โลกมีที่สุดและหาที่สุด มิได้?
                ดูกรภิกษุทั้งหลายสมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ อาศัยความเพียร เป็นเครื่อง เผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่นอาศัยความประกอบเนืองๆ อาศัยความ ไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องตั้งมั่นแห่งจิต จึงมีความ สำคัญในโลกว่า ด้านบนด้านล่างมีที่สุด ด้านขวางหาที่สุดมิได้ เขากล่าว อย่างนี้ว่า โลกนี้ทั้งมีที่สุดทั้งไม่มีที่สุด สมณพราหมณ์พวกที่ กล่าวว่าโลกนี้ มีที่สุด กลมโดยรอบ นั้นเท็จ ถึงสมณพราหมณ์พวกที่กล่าวว่า โลกนี้ไม่มีที่สุดหาที่สุดรอบ มิได้ นั้นก็เท็จ โลกนี้ทั้งมีที่สุดทั้งไม่มีที่สุด ข้อนั้นเพราะเหตุไร
                เพราะเหตุว่า ข้าพเจ้าอาศัยความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส อาศัยความ เพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการ โดยชอบ แล้วบรรลุ เจโตสมาธิ อันเป็นเครื่องตั้งมั่นแห่งจิต ย่อมมีความสำคัญในโลก ว่า ด้านบนด้านล่าง มีที่สุด ด้านขวางไม่มีที่สุด ด้วยการบรรลุคุณวิเศษนี้ข้าพเจ้าจึงรู้ อาการที่โลกนี้ ทั้งมี ที่สุดทั้งไม่มีที่สุด
               ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๓ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว มีทิฏฐิว่า โลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้ ย่อมบัญญัติว่าโลกมีที่สุด และหาที่สุดมิได้.

 

                [๓๘] ๑๒. (๔) อนึ่ง ในฐานะที่ ๔ สมณพราหมณ์ผู้เจริญ อาศัยอะไร ปรารภอะไรจึงมีทิฏฐิว่า โลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้ บัญญัติว่า โลกนี้มีที่สุดและหา ที่สุดมิได้?
                ดูกรภิกษุทั้งหลายสมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ เป็นนักตรึก เป็นนักค้นคิด กล่าวแสดงปฏิญาณของตนตามที่ตรึกได้ ตามที่ค้นคิดได้อย่างนี้ว่า โลกนี้มีที่สุดก็มิใช่ ไม่มีที่สุดก็มิใช่ สมณพราหมณ์พวกที่กล่าวว่า โลกนี้มีที่สุด กลมโดยรอบ นั้นเท็จ ถึงสมณพราหมณ์พวกที่กล่าวว่า โลกนี้ไม่มีที่สุดหาที่สุดรอบ มิได้ นั้นก็เท็จ ทั้งสมณ พราหมณ์พวกที่กล่าวว่า โลกนี้ทั้งมีที่สุดทั้งไม่มีที่สุดนั้นเท็จ โลกนี้มีที่สุดก็มิใช่ ไม่มีที่สุดก็มิใช่
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๔ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว มีทิฏฐิว่า โลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้ ย่อมบัญญัติว่าโลกมีที่สุด และหาที่สุดมิได้.

 

                ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้นมีทิฏฐิว่า โลกมีที่สุดและ หาที่สุดมิได้ ย่อมบัญญัติว่า โลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้ ด้วยเหตุ ๔ ประการนี้แล.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง มีทิฏฐิว่า โลกมี ที่สุดและหาที่สุดมิได้ จะบัญญัติว่า โลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้ สมณพราหมณ์ พวกนั้นทั้งหมด ย่อมบัญญัติด้วยเหตุ ๔ ประการนี้เท่านั้น หรือแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง นอกจากนี้ไม่มี.
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฐานะที่ตั้งแห่งทิฏฐิเหล่านี้ บุคคลถือไว้อย่างนั้นแล้ว ยึดไว้อย่างนั้นแล้ว ย่อมมีคติอย่างนั้น มีภพเบื้องหน้า อย่างนั้น และตถาคตย่อมรู้เหตุนั้นชัดทั้งรู้ชัดยิ่งกว่านั้น ทั้งไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย เมื่อไม่ยึดมั่นก็ทราบความเกิดนั้น ความดับไปคุณและโทษของเวทนาทั้งหลาย กับทั้ง อุบายเป็นเครื่องออกไปจากเวทนาเหล่านั้น ตามความเป็นจริงจึงทราบความดับ ได้เฉพาะตน เพราะไม่ถือมั่น ตถาคตจึงหลุดพ้น.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แลที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีตจะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ซึ่งตถาคตทำให้แจ้ง ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ที่เป็นเหตุให้กล่าวชมตถาคต ตามความ เป็นจริงโดยชอบ.

........................................................................................................

พระสูตรโดยย่อ

(๓) หมวดเห็นว่ามีที่สุด และไม่มีที่สุด (อันตานันติกทิฏฐิ) ๔
๙. เห็นว่าโลกมีที่สุด
๑๐. เห็นว่าโลกไม่มีที่สุด
๑๑. เห็นว่าโลกมีที่สุด เฉพาะด้านบนกับด้านล่าง ส่วนด้านกว้างหรือด้านขวางไม่มีที่สุด
๑๒. นักเดา เดาตามความคิดคาดคะเนว่า โลกมีที่สุดก็ไม่ใช่ ไม่มีที่สุดก็ไม่ใช่

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์