เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 ทรงบันลือสีหนาท ประกาศจตุราริยสัจ (อริยสัจสี่) 563
 
เนื้อหาในพระสูตรนี้พอสังเขป

อุปมาเหมือน พระยาสัตว์ชื่อสีหะ ออกจากถ้ำที่อาศัย ในเวลาเย็นเหยียดกายแล้ว
เหลียวดูทิศทั้งสี่โดยรอบ บันลือสีหนาท ๓ ครั้ง แล้วเที่ยวไปเพื่อหาอาหาร
บรรดาสัตว์เดรัจฉานเหล่าใด ได้ยินสีหนาท สัตว์เหล่านั้นก็สะดุ้งกลัว เหี่ยวแห้งใจ


 
 
 


อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคนำ (ตอน1) หน้า
 58 

ทรงบันลือสีหนาท ประกาศจตุราริยสัจ (อริยสัจสี่)

ภิกษุ ท. ! พระยาสัตว์ชื่อสีหะ ออกจากถ้ำที่อาศัย ในเวลาเย็นเหยียดกายแล้ว เหลียวดูทิศทั้งสี่โดยรอบ บันลือสีหนาท ๓ ครั้ง แล้วเที่ยวไปเพื่อหาอาหาร

บรรดาสัตว์เดรัจฉานเหล่าใด ได้ยินสีหนาท สัตว์เหล่านั้นก็สะดุ้งกลัว เหี่ยวแห้งใจ พวกที่อาศัยโพรง ก็เข้าโพรง พวกที่อาศัยในน้ำ ก็ลงน้ำ พวกที่อยู่ป่า ก็เข้าป่า ฝูงนกก็โผบินขึ้นสู่อากาศ เหล่าช้างของพระราชาในหมู่บ้าน และนิคมและเมืองหลวง ที่ผูกล่ามไว้ด้วยเชือกอันเหนียวก็พากันกลัว เหนี่ยวกระชากเชือก ให้ขาดแล้ว ถ่ายมูตรและกรีส (อุจจาระ) พลางแล่นหนีไป โดยข้างโน้นข้างนี้ 

ภิกษุ ท. ! พระยาสัตว์ชื่อสีหะ เป็นสัตว์มีฤทธิ์มาก มีศักดิ์มาก มีอานุภาพมาก กว่าบรรดาสัตว์เดรัจฉานทั้งหลาย ด้วยอาการอย่างนี้แล

ภิกษุ ท. ! ฉันใดก็ฉันนั้น ในกาลใด ตถาคตอุบัติขึ้นในโลกเป็นพระอรหันต์ ผู้ตรัสรู้ ชอบเอง ผู้สมบูรณ์ด้วยวิชชา และข้อปฏิบัติให้ถึงวิชชาผู้ไปดี ผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง เป็นผู้ฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้ ไม่มีใครยิ่งกว่าเป็นครูผู้สอน ของเทวดา และมนุษย์ ทั้งหลาย เป็นผู้ปลุกให้ตื่น เป็นผู้จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์

ตถาคตนั้น แสดงธรรมว่า สักกายะ (ความยึดถือตัวตน) เป็นเช่นนี้, สักกายสมุทัย เป็นเช่นนี้, สักกายนิโรธ เป็นเช่นนี้,สักกายนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นเช่นนี้

พวกเทพเหล่าใด เป็นผู้มีอายุยืนนานมีวรรณะ มากไปด้วยความสุข ดำรงอยู่นมนาน มาแล้ว ในวิมานชั้นสูง พวกเทพนั้น ๆ ได้ฟังธรรมเทศนาของตถาคตแล้ว โดยมาก ก็สะดุ้งกลัวเหี่ยวแห้งใจ สำนึกได้ว่า 

“ท่านผู้เจริญเอ๋ย ! พวกเรา เมื่อไม่เที่ยง ก็มาสำคัญว่า เราเป็นผู้เที่ยง เมื่อไม่ยั่งยืน ก็มาสำคัญว่า เราเป็นผู้ยั่งยืน เมื่อไม่มั่นคง ก็มาสำคัญว่า เราเป็นผู้มั่นคง.

พวกเราทั้งหลาย เป็นผู้ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่มั่นคง และถึงทั่วแล้ว ซึ่ง สักกายะ (ความยึดถือตัวตน)”ดังนี้

ภิกษุ ท. ! ตถาคตเป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีศักดิ์มาก มีอานุภาพมากกว่าสัตว์โลก พร้อมทั้งเทวโลก ด้วยอาการอย่างนี้แล. 

..........................................................................................................................................................
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคนำ (ตอน1) หน้า 60 

ทรงประกาศ อนุตตรธรรมจักร ซึ่งใครๆ ประกาศไม่ได้

ภิกษุ ท. ! ณ ป่าอิสิปตนมิคทายวัน ใกล้กรุงพาราณสี เราตถาคต ผู้อรหันตสัมมา สัมพุทธะ ได้ประกาศให้เป็นไปแล้ว ซึ่งอนุตตรธรรมจักรชนิดที่ไม่ประกาศให้เป็นไปได้ โดยสมณะ หรือพราหมณ์ หรือเทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลก

ภิกษุ ท. ! การประกาศธรรมจักร นี้ คือการบอก การแสดงการบัญญัติ การแต่งตั้ง การเปิดเผย การจำแนก และการทำให้เข้าใจได้ ซึ่งอริยสัจ (ความจริงอันประเสริฐ) สี่อย่าง 

สี่อย่างเหล่าไหนเล่า ? สี่อย่างคือ การบอก การแสดง ฯลฯ การทำให้เข้าใจได้ ซึ่งความจริงอันประเสริฐ คือทุกข์- เหตุให้เกิดทุกข์ – ความดับไม่เหลือของทุกข์ - และทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์

ภิกษุ ท. ! เราตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ ได้ประกาศให้เป็นไปแล้ว ซึ่งอนุตตรธรรมจักร ฯลฯ ดังนี้แล. 

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์