เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 ลักษณะของผู้ไม่ประมาท (นัยที่ ๑) และ (นัยที่ ๒) 536
 
เนื้อหาในพระสูตรนี้พอสังเขป
นัยยะ1
สำรวมอินทรีย์ เมื่อห็นรูปแล้วจิตไม่ฟุ้งซ่าน ปราโมทย์เกิด ปิติเกิด กายสงบ-จิตสงบ ย่อมเป็นสุข จิตก็ตั้งมั่น ธรรมก็ปรากฏ


นัยยะ2

การเจริญมรณานุสติ ให้พิจารณาคำสอนทุกคำข้าว เพราะเราอาจมีชีวิตเพียงแค่ ลมหายใจเข้า-ออก
 
 
 


หนังสือ ปฏิบัติ สมถะวิปัสสนา-พุทธวจน หัวข้อ 39-40



ลักษณะของผู้ไม่ประมาท (นัยที่ ๑)
 
-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๙๘/๑๔๔.


ภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาทเป็นอย่างไรเล่า

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุสำรวมอินทรีย์ คือ ตา อยู่ จิต ก็ไม่ซ่านไปในรูปทั้งหลาย ที่พึงรู้แจ้งด้วยตา เมื่อภิกษุนั้นมีจิตไม่ซ่านไปแล้ว ปราโมทย์ก็เกิด เมื่อภิกษุเกิด ปราโมทย์แล้ว ปีติก็เกิด เมื่อภิกษุมีใจเกิดปีติ แม้กายก็สงบ แม้จิตก็สงบ

ภิกษุผู้มีกายและจิตสงบ ย่อมอยู่เป็นสุข จิตของภิกษุผู้มีสุขก็ตั้งมั่นเมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ธรรมทั้งหลายก็ปรากฏ เพราะธรรมทั้งหลายปรากฏ ภิกษุนั้นก็ถึงความ นับว่า เป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาทแท้จริง(ในกรณีแห่งอินทรีย์ คือ หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ก็มีนัยอย่างเดียวกัน)

ภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท ด้วยอาการอย่างนี้.

(ไม่ประมาทคือ สำรวมอินทรีย์ เมื่อตาเห็นรูปแล้วไม่ฟุ้งซ่าน ปราโมทย์เกิด ปิติเกิด กายสงบ-จิตสงบ ย่อมเป็นสุข จิตก็ตั้งมั่น ธรรมก็ปรากฏ นับว่าเป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท)


ลักษณะของผู้ไม่ประมาท (นัยที่ ๒) 
-บาลี อฏฺ.ก. อํ. ๒๓/๓๒๗/๑๗๐.

ภิกษุทั้งหลาย. ส่วนภิกษุใดเจริญมรณสติอย่างนี้ว่า โอหนอ เราอาจมีชิวิต อยู่ชั่วระยะเวลา เคี้ยวข้าวคำหนึ่ง แล้วกลืนกิน เราพึงมนสิการถึงคำสอน ของพระผู้มีพระภาคเถิด

การกระทำตามคำสอนของพระผู้มีพระภาค เราควรทำ ให้มากหนอ และภิกษุใด เจริญมรณสติอย่างนี้ว่า โอหนอ เราอาจมีชีวิตอยู่ชั่วระยะเวลาหายใจออก แล้วหายใจเข้า หรือหายใจเข้า แล้วหายใจออก

เราพึงมนสิการถึงคำสอนของ พระผู้มีพระภาคเถิด การกระทำ ตามคำสอนของ พระผู้มีพระภาค เราควร ทำให้มากหนอ. 

ภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านี้เรากล่าวว่าเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่ ย่อมเจริญมรณสติ เพื่อความสิ้นอาสวะ
 
ภิกษุทั้งหลาย. เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักไม่เป็นผู้ประมาทอยู่ จักเจริญมรณสติเพื่อความ สิ้นอาสวะ

ภิกษุทั้งหลาย.เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล

(การไม่ประมาทตามนัยยะนี้คือ : การเจริญมรณานุสติ ให้พิจารณาคำสอน ทุกคำข้าว เพราะเราอาจมีชีวิตเพียงแค่ ลมหายใจเข้า-ออก



 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์